You are here


ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ
สมัชชาครั้งที่: 
4
มติที่: 
1
ชื่อมติ: 
ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเรื่อง ความปลอดภัยทางอาหาร: การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพและมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555 ในประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2555 ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 เรื่อง “ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ” และให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นแนวทางร่วมในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  • เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ปี 2554 เรื่องความปลอดภัยทางอาหารและการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ โดยเห็นชอบมาตรการความปลอดภัยทางอาหารเกี่ยวกับการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ โดยกำหนดปริมาณสารโพลาร์ในอาหารมีได้ไม่เกิน 25% ของน้ำหนัก ผู้ใดฝ่าฝืนผิดตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.อาหาร ระวางโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมอนามัย เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อ
รายละเอียด: 

2.1 ร่วมกันกำหนดนโยบาย กฎหมาย และให้การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ทั้งความรู้วิชาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

2.2 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่ผลิตและใช้น้ำมันเกี่ยวกับการทอดอาหารร่วมกันประกาศมาตรการ และกำหนดแนวทางการประกันความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคมิให้ได้รับการบริโภคน้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมสภาพรวมถึงการสร้างแรงจูงใจไม่ให้ใช้น้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมสภาพ

2.3 สนับสนุนให้ภาคประชาสังคมตระหนักรู้ ตรวจสอบปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ผ่านการรณรงค์ให้การศึกษาและสื่อสารประชาสัมพันธ์จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เครื่องมือและรูปแบบที่ทันสมัยในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางที่เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในและนอกระบบการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

2.4 จัดทำยุทธศาสตร์การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพภายในระยะเวลา 1 ปี เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ร่างยุทธศาสตร์ความปลอดภัยทางอาหาร: การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ ตามภาคผนวกท้ายเอกสารหลักเป็นพื้นฐาน

2.5 กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและการจัดการน้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมสภาพมิให้กลับสู่วงจรอาหาร รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดให้การซื้อขาย นำเข้า ส่งออก น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพเป็นกิจการที่ต้องการการควบคุม

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 สช.ได้จัดประชุมหารือการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 มติที่ 4.1 ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อการขับเคลื่อนมติเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นเจ้าภาพจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้จะจัดให้เป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะมีการสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาฉลากให้ความรู้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ การรณรงค์ สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้วยข้อมูลที่ง่าย ชัดเจน และปฏิบัติได้ รวมทั้งการทบทวนมาตรการทางกฎหมาย บทลงโทษผู้กระทำผิดที่เหมาะสม การควบคุมการนำเข้าน้ำมันทอดซ้ำจากต่างประเทศ การพัฒนาชุดทดสอบอย่างง่ายเพื่อให้ใช้ได้จริงและราคาถูก อีกทั้งให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีพื้นที่นำร่องในการควบคุมปัญหาและสามารถนำน้ำมันทอดซ้ำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นๆ
  • วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลง “นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ” ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ พร้อมมอบนโยบาย “ความปลอดภัยด้านอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ” ให้แก่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 100 คน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ขอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ดำเนินการร่วมกัน 4 ประการคือ (1) ร่วมสนับสุนนด้านวิขาการ เทคโนโลยี และเครื่องมือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม (2) ส่งเสริมผู้ประกอบการ ประกาศมาตรการและสร้างแรงจูงใจไม่ให้ใช้น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพรวมถึงกำหนดแนวทางประกันความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค (3) สนับสนุนให้ภาคประชาสังคมตรวจสอบปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น และ (4) สนับสนุนจัดทำระบบเฝ้าระวังไม่ให้น้ำมันทอดซ้ำกลับสู่วงจรอาหาร รวมถึงพิจารณาการกำหนดให้การซื้อ ขาย นำเข้า ส่งออก น้ำมันทอดซ้ำเป็นกิจการควบคุม ทั้งนี้การดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ สสจ. มีหน้าที่ในการประสานและวางแผนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละจังหวัด เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจวิธีการดำเนินการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพรวมทั้งมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันสำหรับทอดอาหารทุกประเภทที่จำหน่ายในพื้นที่และให้บังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดสำหรับผู้เจตนาฝ่าฝืน ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามตัวขี้วัดอาหารปลอดภัยที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ในตัวชี้วัดของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ขอให้ฝ่ายโภชนาการของโรงพยาบาลแต่ละจังหวัดมีระบบการจัดการน้ำมันทอดอาหารปลอดภัยและรายงานผลสำเร็จไปยังส่วนกลาง
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อยู่ระหว่างการศึกษาผลการใช้น้ำมันเสื่อมสภาพเพื่อนำไปสู่การออกประกาศให้มีผลทางกฎหมายที่ใช้ควบคุมลงโทษผู้ฝ่าฝืนได้ โดยจะต้องหาช่องทางที่จะสามารถทำให้เกิดกระบวนการควบคุมและบังคับใช้ได้จริง จึงจำเป็นต้องออกกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้จริงและกำหนดเงื่อนไขว่าน้ำมันประเภทใด ลักษณะอย่างไร จึงจะต้องกำจัดทิ้งหรือแปรรูปเป็นพลังงานทางเลือกไม่ให้กลับเข้ามาสู่วงจรการบริโภคได้อีก
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างการให้การสนับสนุนการผลิตเครื่องผลิตไบโอดีเซลขนาดมาตรฐานที่เหมาะแก่การใช้ในอุตสาหกรรมชุมชน แต่จะใช้ได้ในกรณีของน้ำมันที่เป็นเนื้อเหลวเท่านั้น แต่หากในอนาคตรัฐบาลและหน่วยงานด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมให้ความสำคัญมากขึ้นอาจจะต้องปรับปรุงเทคโนโลยีเพิ่มเติมเพื่อสกัดน้ำมันจากกากอาหารที่มี
  • วันที่ 15 มิถุนายน 2555 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในที่ประชุม และมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมอนามัย ตัวแทนเครือข่าย ได้ประชุมเพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 สามารถสรุปสาระสำคัญจากข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาต่อเรื่องนี้ และรายงานสรุปการขับเคลื่อนในส่วนของจังหวัด อปท. และรับฟังความเห็นจากที่ประชุมแล้ว มีข้อสรุปจากอธิบดี ดังนี้

          - มอบหมายกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย และอย.เป็นเจ้าภาพหลักในเรื่องต่อไปนี้ 

            = ส่วนของโครงสร้างกลไก เห็นควรรีบหารือกันว่าองค์ประกอบ หน้าที่เป็นอย่างไร ส่วนของโครงสร้างกลไก เห็นควรรีบหารือกันว่าองค์ประกอบและหน้าที่เป็นอย่างไร

            = เชิญภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมจัดงาน  รวมทั้งนำกรณีตัวอย่างที่ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำมานำเสนอร่วมด้วย ในขณะเดียวกันก็จะมี MOU

            = จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คู่ขนานไปกับการเตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อจะได้มีข้อมูลนำเสนอในคณะกรรมการ

            = ส่วนของแผนยุทธศาสตร์: จากการที่สช.เคยชวนมาหารือกันเมื่อครั้งที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่า อย. ได้ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในส่วนนี้จึงรอให้ทางกรมอนามัย และกรมวิทย์นำยุทธศาสตร์ของตัวเองมาบูรณาการกัน ทั้งนี้จะไม่จัดทำเพียงแค่ยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่จะลงถึงแผนปฏิบัติการด้วย

             ทั้ง 4 ส่วนที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติงานของทั้ง 3 กรมได้พิจารณากันเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเสนอต่ออธิบดีทั้ง 3 กรมพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อ

       - ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังดำเนินการอยู่ อย่างไรก็ตามอาจมีการให้องค์การเภสัชกรรมรับไปดำเนินการจัดทำหรือเสนอให้ภาคเอกชนรับไปผลิตและขาย

  • เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 347) พ.ศ.2555 เรื่องวิธีการผลิตอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ โดยผู้ผลิตหรือขายอาหารที่มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำซึ่งมีสารโพลาร์เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก จะต้องได้รับโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ประกาศฯ ฉบับดังกล่าวใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2556 
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า สามารถตรวจสอบได้เอง นำไปสู่ความปลอดภัยของผู้บริโภค 
  • เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2556 โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้มีขอเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับผู้ประกอบการอาหารและท้องถิ่นเทศบาล จัดการอย่างเป็นระบบ โดยนำน้ำมันทอดซ้ำไปทำเป็นไบโอดีเซลและให้ประชาชนมีความรู้ในการเลือกน้ำมันในการนำมาใช้ทอด 
  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เป็นองค์กรที่มีการคิดค้นและจัดการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สามารถตัดตอนน้ำมันทอดซ้ำไม่ให้กระจายสู่ชุมชนและผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จ.สระบุรี มีการผลิตสินค้าประเภททอดเดือนละกว่า 600 ตัน ทำให้มีน้ำมันพืชที่ใช้ในกระบวนการทอดเหลืออดมาประมาณ 8 หมื่นลิตรต่อเดือน โรงงานจึงนำน้ำมันเหล่านี้มาผลิตเป็นไบโอดีเซลหรือ B100 ที่สามารถทดแทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียมดีเซลได้ 100 % โดยจัดตั้งโรงผลิตน้ำมันไปโอดีเซลสามารถผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้ร่วม 7.6 หมื่นลิตรต่อเดือน นำมาใช้กับรถยนต์ภายในโรงงาน การดำเนินงานของบริษัทนับว่าดีต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งทางบริษัทได้ยังได้รับผลพลอยได้ในด้านการลดต้นทุนพลังงาน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเชื้อเพลิง นอกจากนี้บริษัทได้ขยายผลในเรื่องการตัดวงจรน้ำมันทอดซ้ำไปยังโรงงานอื่นๆ ด้วย 
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในพื้นที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งการผลิตและใช้น้ำมันเกี่ยวกับการทอดอาหาร ร่วมมือกันประกาศมาตรการและดำเนินการจัดการอย่างครบวงจรเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงพลังงานกำหนดทิศทางการจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพเป็นพลังงานทดแทนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมกับกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนส่งเสริมการนำน้ำมันทอดซ้ำเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลอย่างจริงจังและต่อยอดการจำหน่าย เพื่อการพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: