You are here


การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
สมัชชาครั้งที่: 
4
มติที่: 
3
ชื่อมติ: 
การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กปภ.ช.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะหน่วยงานเลขานุการ เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กระทรวงศึกษาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอวกาศและสารสนเทศ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงคมนาคม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังนี้
รายละเอียด: 

1.1 จัดให้มีกระบวนการทบทวนและปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ โดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางและให้คำนึงถึงกลุ่มเปราะบางด้วย ทั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ตามภาคผนวกท้ายเอกสารหลัก ไปพิจารณาร่วมด้วย

1.2 จัดตั้งกลไกและระบบสนับสนุนงบประมาณ และ/หรือเงินกองทุนในทุกระดับที่มีรูปแบบการจัดการที่คล่องตัว เพื่อดำเนินงานตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกระดับโดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ตั้งสถานีวิทยุแม่ข่ายย่านคลื่นความถี่กลาง ในการสื่อสารแจ้งเหตุ ตามประกาศ กสทช. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่กลางสำหรับการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชน
  • จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและการฝึกซ้อมการเตือนภัย การอพยพ และเผชิญเหตุคลื่นสึนามิขนาดรุนแรง ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2555
  • ดำเนินโครงการศึกษาและอบรมตามวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เพื่อสร้างความปลอดภัยจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ 11 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐานเน้นแนวคิด “เรียนรู้ สู้ภัย ใช้ชีวิตคู่น้ำ” แนะชุมชนใช้หลัก 3 รู้ 4 ต้อง 2 ปรับ ใช้ชีวิตคู่น้ำ
  • ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย ระยะที่ 2 โดย การจัดกิจกรรมลดภัยพิบัติและยกระดับมาตรฐานการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของท้องถิ่น ที่มีความเชื่อมโยงกับแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย (Project Site) จังหวัดลำพูนและ จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่นำร่อง และจัดทำโครงการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table – Top Exercise : TTX) โดยเป็นการฝึกซ้อมร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบล เวียงมอก อำเภอเถิน เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เทศบาลตำบลลี้และองค์การบริหารส่วน ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง เพื่อทดสอบการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถ นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นการเตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติโดยเฉพาะอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่
  • ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ทบทวนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2553-2557 และการฝึกซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555
  • สำนักงานป้องและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ  จัดการประชุมสัมมนาการทบทวนแผนป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย  และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประจำปี  2555 วันที่ 17 กันยายน 2555
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน มีการดำเนินงานดังนี้

         - มียุทธศาสตร์เรื่องการจัดการภัยพิบัติโดยให้จังหวัดประเมินตนเองเรื่องการจัดการภัยพิบัติ มีการประชุมเพื่อการประยุกต์กรอบการประเมินตนเอง (การจัดการภัยพิบัติด้านการแพทย์) ขณะนี้เครื่องมือการประเมินเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการปรับปรุงเครื่องมือ รวมทั้งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่นำร่อง ทั้งนี้คาดหวังว่า ทางจังหวัดจะมีการพัฒนาปรับปรุงแผนของตนเอง

         - กลไกการทำงาน : ผลักดันโดยมีคณะอนุกรรมการ 2 ชุดคือ คณะอนุกรรมการกำกับติดตาม และคณะอนุกรรมการสาธารณภัย ซึ่งมีแผนร่วมกับองค์การอนามัยโลก โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเป็นแกนนำเรื่องแผนภัยพิบัติ สนับสนุนข้อมูลการอบรม

         - มีการกำกับติดตาม : ได้แก่ การให้ทุนวิจัยหน่วยงานที่ทำงานด้านภัยพิบัติ อยู่ระหว่างการทดสอบเครื่องมือและสื่อต่างๆ

         - อบรมทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว : อยู่ระหว่างการวางเครือข่ายให้ครบทุกพื้นที่

         - การสนับสนุนด้านวิชาการ : อบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

         - อบรมหลักสูตร ICS สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับกรมป้องกันสาธารณภัยและนักวิชาการต่างประเทศ โดยอบรมระดับปฏิบัติการและผู้บริหาร

         - ฝึกซ้อมแผนป้องกันภัยพิบัติ : ร่วมกับหน่วยงาน พลเรือน และต่างประเทศ

  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ปี 2553-2557 ได้มีการทบทวนในบทที่ 4 เรื่องการจัดการน้ำ ฝน ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนมีนาคม 2556  และได้นำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2558 เรื่องการเตรียมความพร้อมของท้องถิ่นในการป้องกันภัยพิบัติ
  • ประสานจังหวัด จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยทุกรูปแบบ
  1. จังหวัดประสบภัยหนาว ให้เร่งจัดทำบัญชีและวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยหนาวอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากอากาศหนาวและขาดแคลนเครื่องห่มกันหนาว อาทิ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ทุพพลภาพ เด็ก คนชรา สตรีมีครรภ์ ควบคู่กับการวางแผนการป้อง กันภัยในช่วงฤดูหนาว
  2. จังหวัดที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วง ให้เร่งสำรวจปริมาณน้ำและพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง ขุดเจาะและเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำฝน น้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนสำคัญ น้ำที่ใช้ในการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอต่อการใช้งาน และควบคุมสถานการณ์มิให้ขยายวงกว้าง
  3. จังหวัดภาคใต้ ให้จัดเจ้าหน้าที่และกำชับมิสเตอร์เตือนภัย เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ภัย เตรียมระบบการสื่อสารให้พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็วและอุปกรณ์ประจำ จุดเสี่ยงโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล ที่ลาดเชิงเขา แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อพร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย

 

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง โดยการสนับสนุนของกระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนเตรียมความพร้อมเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นเพื่อรับมือภัยพิบัติธรรมชาติและที่เกิดจากโครงสร้างการพัฒนาในท้องถิ่น โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงบทบาทหญิง-ชายในการบริหารจัดการภัยพิบัติ และความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ รวมถึงความครอบคลุมพื้นที่อำเภอเป้าหมายทั้งอำเภอและจัดสรรงบประมาณของท้องถิ่น กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กองทุนอื่นๆ เพื่ออุดหนุนการทำงานของเครือข่าย โดยมีเค้าโครงของสาระสำคัญดังนี้
รายละเอียด: 

2.1 การพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อม รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศ การจัดการผังเมืองและการซ้อมแผน

2.2 การป้องกันและลดผลกระทบ รวมถึงการจัดการลุ่มน้ำ

2.3 การจัดการในภาวะฉุกเฉินและการแพทย์สาธารณสุข

2.4 การฟื้นฟู รวมถึงการดูแลปัจจัยสี่ ได้แก่ การจัดสร้างที่พักชั่วคราว น้ำดื่มและอาหาร การดูแลด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ให้ได้มาตรฐานสากล

2.5 การสนับสนุนเครือข่ายจัดการภัยพิบัติของชุมชนท้องถิ่นและสังคม โดยการสร้างจิตสำนึกแห่งความปลอดภัย และการบริหารจัดการความขัดแย้งในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติและให้คำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น กลุ่มเปราะบาง

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เทศบาลนครหาดใหญ่เปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครหาดใหญ่ ประจำปี 2555 ขึ้น ในวันพฤหัสที่ 4 ตุลาคม 2555 มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ด้านการป้องกันก่อนเกิดเหตุอุทกภัย ระหว่างเกิดเหตุ การติดตามสถานการณ์ภูมิอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำในคลองสายหลัก การบริหารการจัดการน้ำ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังประสบเหตุ การฟื้นฟูเยียวยา โดยแบ่งออกเป็นฝ่าย ได้แก่ 1) ฝ่ายเตรียมการป้องกัน ทำหน้าที่ในการเตรียมการป้องกันและสื่อสารแจ้งภัยแก่ประชาชน และจัดเตรียมเสบียงอาหารแก่ผู้ประสบภัย 2) ฝ่ายปฏิบัติการ ทำหน้าที่ในการดำเนินการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยและทรัพย์สินของประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย 3) ฝ่ายฟื้นฟูบูรณะ  ทำหน้าที่ในการวางแผนดำเนินการทำความสะอาดเมือง ซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
  • เทศบาลตำบลอุโมงค์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาครัวในชุมชนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดลำพูน ดำเนินโครงการครอบครัวอบอุ่นเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยในตำบลอุโมงค์ ในการจัดการกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในที่เช่น การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดอุทกภัย ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการเกิดอุทกภัย และการฟื้นฟูหลังเกิดอุทกภัย
  • เทศบาลเมืองป่าตอง จ.ภูเก็ต ตั้งงบประมาณในการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและประชาชนในพื้นที่เสี่ยง รวมทั้งมีการฝึกซ้อมใหญ่การอพยพหนีสึนามิทุกๆ ปี
  • เทศบาลตำบลไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ฝึกปฏิบัติซ้อมแผนบรรเทาสาธารณภัย เตรียมรับมือภัยพิบัติในพื้นที่รับผิดชอบ หลายหน่วยงานร่วมบูรณาการถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกันเช่น ทหารฝ่ายป้องกันภัยศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 334 แม่อาย ทหารจากกองบังคับการควบคุมที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 4 กองกำลังผาเมือง ชุด EMS ของโรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลไชยปราการหน่วยกู้ภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในพื้นที่อำเภอฝาง และอำเภอไชยปราการเป็นต้น เตรียมพร้อมเครือข่ายการทำงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยในทุกรูปแบบ เช่น สาธิตและซ้อมแผนผจญเพลิง ตลอดจน ร่วมกับซ้อมแผนอพยพผู้ประสบอุทกภัย และการลำเลียงผู้บาดเจ็บข้ามแม่น้ำฝาง
  • เทศบาลตำบลปริก จัดตั้งศูนย์จัดการภัยพิบัติเทศบาลตำบลปริก
  • เทศบาลนครเชียงใหม่ วางแนวกั้นน้ำเตรียมรับมืออุทกภัยปี 2555 พร้อมติดตั้งระบบเตือนภัยและหอกระจายข่าวกว่า 10 จุด ในเขตพื้นที่เสี่ยง
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู ได้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือภัยพิบัติ โดยมีหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำแผนป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในแผนดังกล่าวเป็นอำนาจตาม พ.ร.บ. ปภ. พ.ศ.2553 กำหนดให้แผนของจังหวัดต้องมีแผนของท้องถิ่น การจัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งได้เวียนร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวไปยัง ปภ.จังหวัด เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับทราบ ทั้งนี้อยู่ระหว่างการประสานงานระหว่าง ปภ.จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนระดับชาติ และคณะกรรมการบริหารกองทุนที่มาจากหลายภาคส่วนเพื่อสนับสนุนให้เกิดกลไกการบริหารจัดการภัยพิบัติ การบริหารระบบโลจิสติกส์ การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย การส่งเสริมการจัดทำแผนเตรียมความพร้อม ระดับชุมชน และส่งเสริมการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านอื่นๆ โดยเฉพาะระดับชุมชนท้องถิ่น ด้วยการออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้มอบหมายให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบการดำเนินงาน
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ตั้งงบกลางฉุกเฉินเรื่องภัยพิบัติ 
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากองทุน และกลไกการประสานความร่วมมือจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ตำบล/ภูมินิเวศน์ โดยอาจจัดตั้งขึ้นมาใหม่หรือเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนที่มีอยู่แล้วในชุมชนท้องถิ่น เพื่อจัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและฟื้นฟูภายหลังประสบภัยพิบัติ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณสมทบกองทุนภัยพิบัติที่ชุมชนท้องถิ่นริเริ่มดำเนินการ
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนให้มหาวิทยาลัย หน่วยงานวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และชุมชนท้องถิ่น หรือทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการวิจัยและสร้างองค์ความรู้เรื่องภัยพิบัติ รวมทั้งรวบรวมองค์ความรู้และความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากบทเรียนและประสบการณ์ของภาคประชาชนที่หลากหลายรวมถึงการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และสาเหตุแห่งภัยพิบัติ อันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการบริหารจัดการในทุกระดับ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พัฒนางานวิจัยและการสนับสนุนงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อการจัดการ ด้านภัยพิบัติ จ.นครศรีธรรมราช  มีนักวิจัยเสนอโครงการเข้ามา 10 โครงการ
  • จัดประชุม สกว. (TRF Forum) เรื่อง “การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย: กรณีแผ่นดินไหวและสึนามิ” 19 เมษายน 2555
  • ร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ TK park  จัดนิทรรศการภัยพิบัติ : เตรียมตัว รู้ รอด 2 “ เตรียมรับมือ สู้ภัยพิบัติ ” เพื่อให้ความรู้การเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติต่างๆ ในวันเสาร์ที่ 2 – วันอาทิตย์ที่ 3 และ วันเสาร์ที่ 9 – วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน 2555  โดยนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับภัยพิบัติมาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเตรียมรับมือภัยพิบัติในรูปแบบนิทรรศการเชิงปฏิบัติการ (work shop)อาทิ ภัยพิบัติ...ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป และภัยพิบัติ 9 ด้านใกล้ตัวคนไทย, รู้ รอด เตรียมรับมือ สู้ภัยพิบัติ,เผยข้อมูลภัยพิบัติครั้งร้ายแรงในประวัติศาสตร์ไทยและของ โลก, เราจะเอาตัวรอดอย่างไรเมื่อภัย(พิบัติ)มาเยือน, งานวิจัย สกว.พร้อมรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ, เครือข่ายโซเซียลเน็ตเวิร์ค ช่วยเหลือเราได้อย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติ ฯลฯ
  • จัดการประชุมวิชาการ “การปรับตัวเพื่ออยู่กับน้ำ” 21 มิถุนายน 2555
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดสรรคลื่นความถี่อย่างเพียงพอเพื่อใช้สำหรับโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุสื่อสารในการรับมือภัยพิบัติธรรมชาติเป็นการเฉพาะ โดยมีหน่วยงานรัฐหรืองค์กรสาธารณะที่เกี่ยวข้องและมีศักยภาพเหมาะสมเป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารให้กับองค์กรชุมชนที่ทำงานจัดการภัยพิบัติ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่กลางสาหรับการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔  โดย ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่ดูแลการใช้คลื่นความถี่กลางในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด และจัดตั้งข่ายสื่อสารหลัก โดยนำความถี่กลางไปใช้เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ และประชาชน สามารถแจ้งผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่านคลื่นความถี่กลาง
  • ออกประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบกิจการเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉิน   ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555  ซึ่งผู้ประกอบกิจการทุกรายต้องจัดทำ “แผนขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือ เหตุฉุกเฉิน” ส่งให้ กสทช. เพื่อทราบภายใน 30 วันหลังประกาศฯมีผลบังคับใช้
  • มีกรอบแผนโทรคมนาคมเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งประกอบด้วย
  1. แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากกิจการโทรคมนาคมและวิทยุคมนาคม เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภั
  2. แนวทางเรื่องคลื่นความถี่ เครือข่ายสื่อสาร และมาตรฐานทางเทคนิค ต่าง ๆ เพื่อให้การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้งานคลื่นความถี่ด้านภารกิจเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ
  3. หลักเกณฑ์ในการนำเข้า-นำออก อุปกรณ์ด้านโทรคมนาคมและวิทยุคมนาคมในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ
  4. การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

      (นำเสนอในการประชุม คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 33 วันที่ 4 ตุลาคม 2555)

  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รับมอบหมายจาก กสทช. ให้ดูแลคลื่นความถี่กลาง จึงได้จัดประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างการหาแนวทาง และในปี 2557 จะมีการกำหนดคลื่นความถี่กลาง
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครภาคพลเมืองที่หลากหลายเพื่อรับมือภัยพิบัติในระดับชุมชนท้องถิ่นและระดับชาติ รวมทั้งการจัดการองค์ความรู้ด้านภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ และมีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่จำเป็นกับประชาชน ในภาวะภัยพิบัติทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กำหนดแนวทางป้องกันและรับมือภัยพิบัติระยะยาว 5 แนวทาง ได้แก่ 1.ทำแผนแม่บทและแนวทางปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติของประเทศ 2. พัฒนา “หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย” 3.อบรมอาสาสมัคร 4.พัฒนาชุมชนเข้มแข็งด้านรับมือภัยพิบัติ และ 5.สนับสนุนการจัดการความรู้และถอดบทเรียนการจัดการภัยพิบัติ โดยทุกแผนให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมระดับชุมชน
  • ร่วมกับมหาวิทยาลัยดำเนินโครงการ โครงการ “มหาวิทยาลัยช่วยเหลือชุมชนที่ประสบอุทกภัย” ตั้งแต่ มี.ค.-ธ.ค.55 รวม 20 โครงการ ประกอบด้วย ภาคกลาง 12 โครงการ เหนือ 3 โครงการ ตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โครงการ และใต้ 2 โครงการ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554 เน้นใน 3 เรื่อง คือ 1.ส่งเสริมการนำความรู้ทางวิชาการมาออกแบบกิจกรรมหรือคิดค้นนวัตกรรมเพื่อ ฟื้นฟูสภาพชุมชนหลังประสบอุทกภัย 2.สร้างเครือข่ายอาสาสมัครนักศึกษา และ 3.กระบวนการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยและชุมชนในการจัดการอุทกภัยในอนาคต
  •  ร่วมกับเครือข่ายภัยพิบัติชุมชน  ดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง (ระยะที่ 1)
  • สนับสนุนโครงการเพื่อการฟื้นฟูชุมชนที่ประสบอุทกภัย  ผ่าน 3 ชุดโครงการ ได้แก่

       1)  โครงการฟื้นฟูชุมชนหลังประสบอุทกภัยและเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ โดยสนับสนุนชุมชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ พัฒนาแผนการดำเนินงานหรือโครงการระดับท้องถิ่นเพื่อการจัดการและเตรียมพร้อม เมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนมีส่วนร่วม ลักษณะกิจกรรมที่สนับสนุน เช่น การให้ความรู้สร้างความตระหนัก การป้องกันและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การทำแผนที่รับมือภัยพิบัติเป็นแผนที่แสดงจุดเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติและ เส้นทางเพื่อใช้หนีภัย  กิจกรรมเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพกาย ใจ และสภาพแวดล้อม รวมทั้งการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการดำรงชีวิตขณะเกิดภัยพิบัติ

       2)  โครงการหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งพื้นที่ ฟื้นฟูชุมชนที่ประสบอุทกภัย สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยใน 26 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชนในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ให้ได้รับการฟื้นฟูในเบื้องต้น อย่างน้อย 26 พื้นที่ สร้างเครือข่ายอาสาสมัครนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในการจัดการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติใน อนาคต รวมถึงองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟูสภาพชุมชนหลังประสบอุทกภัย

       3)  โครงการ เยาวชนคนรุ่นใหม่ฟื้นฟูสุขภาวะชุมชนหลังประสบอุทกภัย โดยสนับสนุนเครือข่ายอาสาสมัคร 2 ภาคีหลัก ได้แก่ มูลนิธิโกมลคีมทอง และ สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยฯ ระดมอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา รวมถึงเชื่อมกับกลุ่มหรือองค์กรอาสาสมัครในพื้นที่ช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เป้าหมายอย่างน้อย 50 พื้นที่ ลักษณะกิจกรรมเน้นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม  การฟื้นฟูแหล่งอาหารในชุมชน การซ่อมแซมสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟูสุขภาพกายและใจ และการสื่อสารให้ความรู้ในการดูแลตนเอง

  • สนับสนุน อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำอาสาสมัครเพื่อป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟูชุมชนในภาวะวิกฤต แก่อาสาสมัครภาคประชาชน ผู้นำชุมชนจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในปี 2554 และพื้นที่เสี่ยงภัยใน 3 พื้นที่ทั้งภาคกลาง (เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี) ภาคอีสาน (ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร) และภาคใต้ (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง)
  • สนับสนุนสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย (พ.ต.ท.มล.กิติบดี ประวิตร) โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติประจำปี 2556 มี 3 หลักสูตร ได้แก่ กู้ชีพกู้ภัย ดับเพลิงก้าวหน้า และระบบบัญชาการเหตุการณ์ 
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับสมาชิกสมัชชาสุขภาพในพื้นที่เสี่ยง ทุกจังหวัด สนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานวิชาการและชุมชนท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนงานการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม เช่น จัดตั้งศูนย์ฝึกปฏิบัติการภัยพิบัติประจำจังหวัด
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ตั้งสถานีวิทยุแม่ข่ายย่านคลื่นความถี่กลาง ในการสื่อสารแจ้งเหตุ ตามประกาศ กสทช. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่กลางสำหรับการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชน
  • ประสานจังหวัด จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า เตรียมรับมือสถานการณ์ภัยทุกรูปแบบ
  1. จังหวัดประสบภัยหนาว ให้เร่งจัดทำบัญชีและวางแผนให้การช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยหนาวอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากอากาศหนาวและขาดแคลนเครื่องห่มกันหนาว อาทิ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ทุพพลภาพ เด็ก คนชรา สตรีมีครรภ์ ควบคู่กับการวางแผนการป้อง กันภัยในช่วงฤดูหนาว
  2. จังหวัดที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วง ให้เร่งสำรวจปริมาณน้ำและพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ ขุดลอกคูคลอง ขุดเจาะและเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำฝน น้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนสำคัญ น้ำที่ใช้ในการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอต่อการใช้งาน และควบคุมสถานการณ์มิให้ขยายวงกว้าง
  3. จังหวัดภาคใต้ ให้จัดเจ้าหน้าที่และกำชับมิสเตอร์เตือนภัย เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ภัย เตรียมระบบการสื่อสารให้พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็วและอุปกรณ์ประจำ จุดเสี่ยงโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล ที่ลาดเชิงเขา แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อพร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย
  • จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและการฝึกซ้อมการเตือนภัย การอพยพ และเผชิญเหตุคลื่นสึนามิขนาดรุนแรง ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2555
  • ดำเนินโครงการศึกษาและอบรมตามวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เพื่อสร้างความปลอดภัยจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ 11 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างตามหลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐาน เน้นแนวคิด “เรียนรู้ สู้ภัย ใช้ชีวิตคู่น้ำ” แนะชุมชนใช้หลัก 3 รู้ 4 ต้อง  2 ปรับ ใช้ชีวิตคู่น้ำ  
  • ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย ระยะที่ ๒ โดย การจัดกิจกรรมลดภัยพิบัติและยกระดับมาตรฐานการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของท้องถิ่น ที่มีความเชื่อมโยงกับแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย (Project Site) จังหวัดลำพูนและ จังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่นำร่อง และจัดทำโครงการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table – Top Exercise : TTX) โดยเป็นการฝึกซ้อมร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบล เวียงมอก อำเภอเถิน เทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เทศบาลตำบลลี้และองค์การบริหารส่วน ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน รวมทั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ๑๐ ลำปาง เพื่อทดสอบการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถ นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นการเตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติโดยเฉพาะอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่
  • ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ทบทวนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2553-2557 และการฝึกซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555
  • สำนักงานป้องและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ  จัดการประชุมสัมมนาการทบทวนแผนป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย  และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประจำปี  2555 วันที่ 17 กันยายน 2555
ข้อที่: 
9
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการและสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งในและนอกระบบ จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และจัดให้มีการเรียนการสอนในทุกระดับ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เตรียมตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติครบวงจร โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัด และสำนักนโยบายยุทธศาสตร์จัดทำยุทธศาสตร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอประกาศจัดตั้งศูนย์ และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฯ   ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรสถานศึกษาและหน่วยงานในสังกัดมีความรู้ความเข้าใจและ เตรียมพร้อมจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
  • โดยมีแผนงานหลัก ประกอบด้วย 1) การจัดทำแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ 2) การสร้างความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติ  3)การจัดระบบสื่อสารและสารสนเทศ 4) การประเมินสถานการณ์และเคลื่อนย้ายสิ่งของ 5) การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ช่วยเหลือ
  • มีแนวทางการดำเนินการในระยะต่างๆ ดังนี้

​          ก่อนเกิดเหตุ คือ 1. การจัดทำแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ 2. การสร้างความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติ 3. การจัดระบบสื่อสารและสารสนเทศ 4. การประเมินสถานการณ์และเคลื่อนย้ายสิ่งของ 5. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ช่วยเหลือ

         เมื่อเกิดเหตุ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้  1. การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระดับกระทรวงและระดับพื้นที่ 2. สนับสนุนที่พักพิง 3. การรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ 4. การสนับสนุนอาหารและน้ำดื่ม น้ำใช้ 5. การขนส่งประชาชน สิ่งของ 6. การจัดทำพนังกั้นน้ำและทางเดินเท้า 7. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 8. การเงินและงบประมาณ 9. การจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัย 10. การจับคู่จังหวัดให้ความช่วยเหลือ 11. การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ครูริมทาง 12. การจัดหน่วยอาสาช่วยเหลือประชาชน 13. การส่งข่าวสารทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก 14. บริการสายด่วน 1579 เป็นต้น

        การฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ  1. นโยบายการช่วยเหลือระหว่างสถานศึกษา 2. การฝึกวิชาชีพ 3. การจัดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) 4. การฟื้นฟูเยียวยาช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา 5. การกำจัดขยะและทำความสะอาด 6. การจัดสอนซ่อมเสริม 7. การจัดทำงบประมาณซ่อมแซมสถานศึกษา

  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency : JICA) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินโครงการให้การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ครอบคลุมกิจกรรมการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อนำร่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน การอบรมครูโรงเรียนต้นแบบในด้านการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการขยายผลให้นักเรียนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการและเตรียมความ พร้อมเผชิญสถานการณ์ภัยพิบัติ
ข้อที่: 
10
ชื่อรายการ: 
ขอให้รัฐบาลทบทวนโครงสร้างการจัดการภัยพิบัติ โดยให้มีศูนย์อำนวยการที่มีลักษณะเป็นหน่วยงานรัฐที่เป็นอิสระ ทำงานเป็นเอกภาพขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานที่ประสานความร่วมมือระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เครือข่ายอาสาสมัครด้านภัยพิบัติภาควิชาการ กรมสุขภาพจิต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศูนย์อำนวยการระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับตำบล
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ.2555) เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินและกิจการของบุคคลดังกล่าวที่อาจเกิดความเสียหายขึ้นในอนาคต และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศ 
ข้อที่: 
11
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 และครั้งที่ 6
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เครือข่ายภัยพิบัติชุมชนในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้ก่อตัวขึ้นจากภาคส่วนต่างๆ ทั้ง
  • ภาครัฐ เอกชน และองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ ได้รับการสนับสนุนจาก สช. เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนและติดตามมติฯ ดังนี้ 
  1. การจัดเวทีภัยพิบัติชุมชน เป็นประจำ ทุกเดือน
  2. การยกร่างแก้ไข ปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557
  3. การจัดทำข้อเสนอโครงการสนับสนุนเครือข่ายจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  4. การจัดทำข้อเสนอโครงการจัดตั้งสถานีวิทยุสาธารณะเพื่อเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  5. การจัดทำข้อเสนอโครงการจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติชุมชนที่เป็นอิสระเสนอต่อรัฐบาล
  6. การจัดทำระบบฐานข้อมูลองค์กรและกลุ่ม-เครือข่ายจิตอาสา
  • การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน วิชาการ และเครือข่ายในพื้นที่ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2556 มีข้อเสนอเพิ่มเติมสำหรับการขับเคลื่อนมติฯ ต่อไป คือ การจัดทำยุทธศาสตร์การสื่อสารสังคมเพื่อให้เข้าใจในบริบทเรื่องการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง  การจัดการความรู้ด้วยการประมวลองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะเรื่องกองทุนภัยพิบัติชุมชน
  • เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับสภากาชาดไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) กรมพัฒนาที่ดิน และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมลงนามความร่วมมือในการพัฒนาและบูรณาการระบบฐานข้อมูลภัยพิบัติและระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี นางปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมลงนามในครั้งนี้
  • เมื่อวันที่ 25-26 ธันวาคม 2559 สช.ในนามองค์กรร่วมสนับสนุนกับเพื่อนภาคีเครือข่าย อีก 7 องค์กร ในงานรำลึกฯ มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับทั้ง 3 ศาสนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และสะท้อนบทเรียนจากชุมชนและการขับเคลื่อนตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 (พ.ศ.2555) .การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยมีชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง พบว่ามีความก้าวหน้าและมีผลรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ และหลายเรื่อง อาทิ การสร้างแกนนำคนรุ่นใหม่,การรวมกลุ่มคนตามกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น,การสร้างกลไกเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรมและการเรียนรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง ทั้งในพื้นที่และระหว่างพื้นที่เชื่อมโยงกับระดับชาติและนานาชาติ,การสร้างกติกาทางสังคม ตลอดจนการพัฒนากิจกรรมใหม่. ที่ก้าวข้ามและเชื่อมโยงไปยังเรื่องอื่นๆ โดยอาศัยการรวมตัวจากกิจกรรมการจัดการภัยพิบัติ ในส่วนของ สช.ได้สนับสนุนให้เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ 14 จังหวัดภาคใต้เสนอประเด็นการจัดการภัยพิบัติ เมื่อปี 2554 และมีการพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายภัยพิบัติชุมชนร่วมกันยกร่างแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนและปรับปรุงแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมด้วย
เอกสารหลัก: