You are here


การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสี...
สมัชชาครั้งที่: 
4
มติที่: 
5
ชื่อมติ: 
การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานอัยการสูงสุด และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
รายละเอียด: 

1.1 สนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูล พัฒนารูปแบบการสื่อสาร และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโฆษณาที่ทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย และผู้บริโภคสามารถเข้าถึง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการรายงานอันประกอบด้วย ข้อมูลการอนุญาตการโฆษณา ข้อมูลโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสื่อโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ข้อมูลโฆษณาและกลยุทธ์หรือรูปแบบการโฆษณาที่ต้องเฝ้าระวังและข้อเท็จจริงเชิงวิชาการของผลิตภัณฑ์ และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น

1.2 ปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มบทลงโทษ สนับสนุนมาตรการลงโทษทางสังคม การกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกขั้นตอน ตลอดจนการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองในการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต

1.3 ให้มีการจัดทำกลไกหรือช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาการโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นทางการ และประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก ทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่

1.4 เฝ้าระวัง จัดการ ดำเนินคดีกับโฆษณาที่ผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน มีแนวทางมาตรฐานที่ใช้ปฏิบัติร่วมกัน รายงานผลการดำเนินคดีและวิธีการจัดการปัญหาสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคและสังคมไทยรู้เท่าทัน

1.5 พัฒนาระบบให้คำปรึกษาการดำเนินคดีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่อย่างรวดเร็วและทันต่อการแก้ปัญหา

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 อย.ประกาศร่วมมือกับ DSI คุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ยา อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย พร้อมส่งต่อข้อมูล ขยายผลจับกุมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ณ ห้องประชุมชั้น 1 กรมสอบสวนคดีพิเศษ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมหารือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI โดยมีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะ โดยหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยยา อาหาร เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย ตามกฎกระทรวงฯ ว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 ลงวันที่ 12 เมษายน 2555 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคกับDSI โดย อย.มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย เป็นต้น โดย อย. มีกฎหมายอยู่ในความรับผิดชอบ 8 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พระราชบัญญัติยา พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย ซึ่งนับจากนี้ไปทั้ง 2 หน่วยงานก็จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ส่งต่อข้อมูลและขยายผลจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี ที่สำคัญการกระทำความผิดที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติ คดีใหญ่ ๆ เช่น กรณีซูโดอีเฟดรีน การผลิตยาปลอม อาหารปลอม ลักลอบผลิต ลักลอบนำเข้า อย.จะได้ประสานการดำเนินงานกับ DSI ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานปราบปรามผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายครอบคลุมทั่วถึงยิ่งขึ้น
  • วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 นพ.วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ถูกต้อง เพื่อผู้บริโภคปลอดภัย” ในการสัมมนาประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กับภาคธุรกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักและมุ่งมั่นให้ประชาชนคนไทยได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคธุรกิจให้ประกอบการอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้คุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังพัฒนาแก้ไขกฎหมาย หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย ตลอดจนการพัฒนาการให้บริการ โดยลดขั้นตอนและนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ ที่สำคัญ ยังมีการส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการที่มีคุณธรรมในการประกอบการโดยมอบรางวัล อย.ควอลิตี้อวอร์ด ประจำปี พ.ศ.2555        โดย อย. ได้ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 พบการกระทำความผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีการร้องทุกข์ดำเนินคดีจำนวน 321 ราย เปรียบเทียบปรับ จำนวน 1,153 ราย สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จนถึงเดือนเมษายน 2555 มีการร้องทุกข์ดำเนินคดีไปแล้ว 217 ราย และเปรียบเทียบปรับ 719 ราย ทั้งนี้ อย. จะดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังสถานประกอบการ/ผลิตภัณฑ์/การโฆษณา และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารกฎระเบียบการดำเนินการที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับเตรียมรับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558
  • กันยายน 2555 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกปฏิบัติการผู้ผลิตเครื่องสำอาง อาหารเสริม และยาที่ลักลอบโฆษณาทีวีดาวเทียม นิตยสาร และแผ่นพับโดยไม่ได้รับอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ในลักษณะความผิดฐานโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ที่ยังมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องทั้งทางทีวีดาวเทียม นิตยสาร และแผ่นพับ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจพบโฆษณาเครื่องดื่มมอลต์สกัดรสช็อกโกแลตปรุงสำเร็จชนิดผงผสมแอลคาร์นิทีนและวิตามินบี 12 (ตราเนเจอร์กิฟมอลต์วีต้า) แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณาจากอย. เช่นเดียวกับแบนด์เนมชื่อดังอีกหลายรายก็มีการโฆษณาสินค้าไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เมดโดซิน จำกัด ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชื่อดังแบรนด์”ยันฮี” ได้โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยันฮี แอล คาร์นิทีน,เวจจี้ ไฟเบอร์ ไดเอ็ท และผลิตภัณฑ์กลูทาแคป  บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด ตั้งอยู่ที่ถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีสำนักงานอยู่ใกล้กับอย. แต่ก็ไม่ได้ยื่นขออนุญาตโฆษณาให้ถูกต้องเช่นกัน โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบการโฆษณาขายยาทางแผ่นพับ ใบปลิวพิเศษ Friday รอบจำหน่ายที่ 8/2012 แสดงข้อความ เช่น “มหกรรมสินค้าราคาถูก...ปวดหัว เป็นไข้เลือกซาร่า..”ซึ่งการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณาจากอย. 
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “สานพลัง คุ้มครองผู้บริโภคโฆษณายา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย” มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แผนงานัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ การดำเนินงานของ อย. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมาย 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยา ได้แก่ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โดยเฉพาะการเพิ่มโทษปรับผู้ประกอบการที่โฆษณาเกินจริงและไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. จาก 5,000 บาท เป็น 500,000 บาท ไปจนถึงโทษจำคุกและปรับรายวัน เพื่อสะท้อนให้ผู้ประกอบการเห็นความจริงในการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ยังกำหนดแนวทางจัดการปัญหาโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายซ้ำซาก เชื่อมโยงกับการพักใบอนุญาตผลิต การเพิกถอนทะเบียนตำรับและเลขสาระบบ ส่วนสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุคลื่นใดที่ปล่อยให้มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย หาก อย.ตรวจพบจะประสานกับ กสทช. ให้ดำเนินการกับเจ้าของสื่อ และ อย.จะดำเนินการกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้วย
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “สานพลัง คุ้มครองผู้บริโภคโฆษณายา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย” มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แผนงานัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ   บก.ปคบ. กำหนดมาตรการสำคัญในการตรวจสอบจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณา 2 ด้าน คือ 

         (1) มาตรการป้องกัน มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งแผ่นพับ เวปไซต์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนและผู้บริโภคตระหนักถึงพิษภัยของการโฆษณาอาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นการปิดช่องทางของผู้จงใจกระทำความผิดให้น้อยลง และยังมีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับสื่อที่มีคุณภาพให้เป็นหูเป็นตาร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

         (2) มาตรการปราบปราม ถือเป็นมาตรการในเชิงรุก โดยมีศูนย์ปฏิบัติการ บก.ปคบ. เฝ้าระวังรายการหรือโฆษณาตามสื่อต่างๆ ทั้งทางเคเบิลทีวี ฟรีทีวี อินเตอร์เน็ต และวิทยุ รวมทั้งการออกหาข่าวในพื้นที่ ตลอด 24 ชั่วโมง และจับกุมผู้กระทำความผิดในทุกรูปแบบ พร้อมเปิดช่องทางให้ผู้บริโภคร้องเรียนได้ที่สายด่วน 1135 และตู้ ปณ. 459 รวมถึงประสานข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นต้น ซึ่งทำให้กลไกการดูแลผู้บริโภคเข้มแข็งขึ้น

  • เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดโครงการอบรมผู้ประกอบการเรื่อง “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่การแก้ไขปัญหาโฆษณา” โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ผู้ประกอบการจากสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (แห่งประเทศไทย) สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย และพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ จากโทรทัศน์ดาวเทียม/เคเบิลทีวีเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสร้างทัศนคติที่ดี ในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และทัศนคติต่อการกำกับดูแลของภาครัฐ ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมายได้ นอกจากนี้ อย.และภาคีเครือข่ายได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต และคณะทำงานพัฒนาระบบการกำกับดูแลปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนและจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางสื่อต่างๆ ให้หมดไปจากทีวีไทยอย่างจริงจัง
  • เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ให้ข้อมูลว่า อย. ได้มีการปรับแก้บทลงโทษต่างๆ ทั้งพ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522, พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 โดยเฉพาะ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ได้มีการเพิ่มโทษกรณีการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต เดิมมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท เพิ่มเป็นโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนกรณีโฆษณาอาหารเป็นเท็จ หรือเกินความจริง เดิมมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ได้มีการเพิ่มโทษปรับเป็น 3 แสนบาท ส่วนโทษจำคุกยังเหมือนเดิม คือ ไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยการการปรับปรุงกฎหมายได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ แล้วเหลือเพียงเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่เนื่องจากมีการยุบสภาทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก ซึ่งระหว่างรอการปรับปรุงบทลงโทษ ย.ยังร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกันในการเฝ้าระวังโฆษณาผิดกฎหมายผ่านอำนาจของ กสทช.ที่เข้มงวด โดย อย.ทำหน้าที่มอนิเตอร์โฆษณาบนสื่อต่างๆ ทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี รวมทั้งทีวีดิจิตอล ซึ่งเมื่อพบช่องใดมีการ กระทำผิด พบมีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ระบุว่า คำ อาทิ ยอดเยี่ยม รักษาหาย ฯลฯ ก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย อย. ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อส่งเรื่องไปยัง กสทช. แล้ว กสทช.จะทำหนังสือแจ้งเตือนช่องนั้นๆ แต่หากยังพบการกระทำผิดซ้ำซากอาจไม่ต่อใบอนุญาตให้
  • เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารย่านสุพรรณบุรี พบผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดแสดงฉลากไม่ถูกต้อง อวดสรรพคุณลดน้ำหนักพร้อมพบวัตถุดิบที่สงสัยเป็นยาลดความอ้วน และบางผลิตภัณฑ์เคยตรวจพบลักลอบใส่ยาไซบูทรามีน จึงได้ยึดของกลางทุกผลิตภัณฑ์ในโรงงานมูลค่า 10 ล้านบาทและส่งดำเนินคดีอย่างเข้มงวด
  • เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงต่อสื่อมวลชน, เปรียบเทียบปรับ/ฟ้องคดีต่อศาลตามกฎหมาย รวมทั้งให้ใช้มาตรการทางการปกครองแก่ผู้ผลิต/นำเข้า ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโฆษณาดังกล่าวอย่างเข้มงวด ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีมาตรการดำเนินงานเฝ้าระวังและตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพในปีงบประมาณ 2558 โดยมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้น และได้บูรณาการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) , กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวง ICT) , และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การปรับแก้กฎหมายโฆษณาให้มีบทลงโทษมากขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น แก้ไขบทกำหนดโทษโฆษณาอาหารและยา โดยเพิ่มอัตราโทษให้สูงขึ้นทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ , ปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับอำนาจในการระงับโฆษณาและดำเนินคดีทางอาญาโฆษณาเครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันการควบคุมกฎหมายโฆษณาเครื่องสำอาง อย. ได้ใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อยู่ เมื่อปรับแก้ร่างแล้ว อย. จะมีอำนาจดำเนินการได้เอง พร้อมกันนี้ อย. จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ สื่อ และพิธีกร ผู้ดำเนินรายการ กรณีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย
  • วันที่ 24 เมษายน 2558 จากเอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานเรื่องการจัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้กำหนดเวลามาตรฐานในการจัดเรื่องร้องเรียนและมีนโยบายให้เข้มงวดในการปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมาโดยตลอด ซึ่งได้มีการดำเนินการ ดังนี้ 1) การจัดการเรื่องร้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวน 163 เรื่อง และดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภาพในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำนวน 161 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 98.8 2) การตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ ฉลาก และโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ จำนวน 351,328 รายการ พบผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้ามาตรฐานร้อยละ 99.21 ฉลากเข้ามาตรฐาน 99.99 และโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เข้ามาตรฐานร้อยละ 90.51 โดยในปีนี้เน้นการตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทาง Social Media ซึ่งมีการตรวจสอบแล้ว จำนวน 485 เรื่อง ทั้งนี้หากพบโฆษณาไม่เข้ามาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะประสานและร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการทางกฎหมายแล้ว
  • เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2559 กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหรือหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ ผ่านทางสื่อต่าง ๆ รวมทั้งหาทางแก้ไขปัญหาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยบูรณาการร่วมมือกับ สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) บังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.2557-2561 ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ 1.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการตรวจสอบโฆษณาสื่อ  รวมทั้งสิ้น 21,258 รายการ ประกอบด้วยโทรทัศน์ 3,362 รายการ  วิทยุ 640 รายการ  สื่อสิ่งพิมพ์ 15,654รายการ  และสื่ออินเตอร์เน็ต 1,602 รายการ  ดำเนินคดี 479 รายการ  2.กสทช.แจ้งระงับโฆษณา 170 รายและดำเนินคดี 96 ราย  3.กระทรวงไอซีทีสั่งปิดเว็บไซต์ 29 URL ดำเนินคดี 9 URL  และ4.ตำรวจคุ้มครองผู้บริโภค บก.ปคบ. ดำเนินคดีผลิตภัณฑ์ 150 รายการ จำนวนของกลาง 917 รายการ มีมูลค่า 140.8 ล้านบาท  เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังครอบคลุม โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทำผิดกฎหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างเคร่งครัด โดยบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะช่วยประสานและบูรณาการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมเฝ้าระวัง และบังคับใช้กฏหมายแบบบูรณาการอย่างเข้มงวด  ขยายเครือข่ายไปถึงระดับท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้  ตระหนักถึงกฎหมายการโฆษณา จรรยาบรรณวิชาชีพ หลักสิทธิชุมชน มนุษยชน รวมทั้งการรู้เท่าทันสื่อในสถาบันการศึกษา
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ดำเนินการ
รายละเอียด: 

2.1 ประกาศและบังคับใช้หลักเกณฑ์การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งกำหนดกลไกการกำกับดูแลและบทลงโทษแก่ผู้ประกอบการอย่างชัดเจนและรวดเร็ว ทั้งนี้ให้มีการนำข้อมูลการกระทำผิดเกี่ยวกับการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ มาประกอบการพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคม

2.2 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ จัดสรรเวลาอย่างชัดเจน และเพียงพอในช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่หน่วยงานหรือองค์กรหรือองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ได้นำเสนอข้อมูลให้เท่าทันการโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

2.3 ให้มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอและต่อเนื่องจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน ส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 52 (4)) ให้หมายรวมถึง

2.3.1 การสนับสนุนชุมชนที่มีความพร้อมหรือผู้ประกอบการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชนที่มีคุณภาพและปฏิบัติตามจริยธรรม จรรยาบรรณของการสื่อสาร

2.3.2 การสนับสนุนให้ภาคประชาชนทำหน้าที่เฝ้าระวังการโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ฝ่าฝืนกฎหมายรวมทั้งการจัดการปัญหาในพื้นที่

2.3.3 การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน ภาคประชาชน องค์กรวิจัยและหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย (เช่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น) ในการดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบกลไกในการเฝ้าระวังและจัดการกับปัญหาการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ การประเมินผลกระทบจากการโฆษณา รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อทดลองระบบและกลไกที่ได้พัฒนาขึ้น

2.4 พัฒนามาตรการและกลไกในการเฝ้าระวังและกำกับดูแลด้านจริยธรรมของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 19 เมษายน 2555 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เข้าพบปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อหารือร่วมกันในการกำกับดูแลการโฆษณาและเผยแพร่ออกอากาศของผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงผ่านทางดาวเทียมไทยคมของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) โดยเบื้องต้นมีการเจรจาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย เนื่องจากในอดีตการกำกับดูแลดาวเทียมไทยคมเป็นเรื่องของกระทรวงไอซีทีโดยตรง ทว่าหลังมี กสทช. หน้าที่ดูแลในส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ กสทช. ตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการออกใบอนุญาตยังไม่เสร็จ อีกทั้งอยู่ในช่วงรอยต่อของการดำเนินงานจึงเข้าพบเพื่อขอความร่วมมือกับกระทรวงไอซีที ในส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีความต้องการเรื่องฐานข้อมูลช่องรายการ เพื่อตรวจสอบผังข้อมูลที่ออกโฆษณาผิดกฎหมายว่าอยู่ตรงไหน จะได้ดำเนินการแจ้งเตือน ปรับ หรือจับได้ทันที แต่ขณะนี้เวลาเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น อย.ไม่ทราบจะส่งเรื่องไปที่ไหน จึงต้องส่งไปที่ไทยคมที่เดียว ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานอาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับไทยคม เบื้องต้นกระทรวงไอซีทียินดีให้ความร่วมมือ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญและจะเป็นเจ้าภาพเชิญบริษัทไทยคม มาหารือกับ กสทช. และ อย. ในอนาคต อย่างไรก็ตามระหว่างที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการโฆษณาและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์และสินค้าต่างๆ ในทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี และวิทยุชุมชนควรยึดหลักเกณฑ์และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากทาง อย.และ สคบ. ชี้แล้วว่าผลิตภัณฑ์โฆษณาเกินจริงผิดกฎหมายสถานีต่างๆ ไม่สามารถนำออกอากาศได้ เพราะเข้าข่ายขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 37
  • 2.                   วันที่ 6 มิถุนายน 2555 นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการกสทช. เภสัชกรหญิงศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย. นายนพปฏล เมฆเมฆา รองเลขาธิการ สคบ. พลตำรวจตรีนิพนธ์ เจริญผล ผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง เรื่อง การกำกับดูแลโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยมี พันเอกนที ศุกลรัตน์ พันตำรวจเอกทวีศักดิ์ งามสง่า ผศ.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เครือข่ายแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสำคัญครั้งนี้ โดยสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงคือ ความร่วมมือที่จะบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ทั้งในด้านแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ฐานข้อมูล และความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านต่าง ๆ และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหยุดยั้งการโฆษณาที่ผิดกฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ ได้มีการเตรียมตั้งคณะทำงานจาก 4 หน่วยงาน และเชิญตัวแทนคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ นักวิชาการ และเครือข่ายผู้บริโภคเข้าร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อร่วมวางแนวทางการขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อไป บันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนาม
  • วันที่ 8 มีนาคม 2556 ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายกำชัย น้อยบรรจง เลขาธิการสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค จ. สระบุรี พร้อมเครือข่ายผู้บริโภค 4 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ น.ส.อภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เพื่อให้ตรวจสอบและมีมาตรการเกี่ยวกับโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริงและผิดกฎหมายในเคเบิลทีวี โดยมีข้อเสนอแนะต่อ กสทช. ให้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์เงื่อนไขประกอบการขอรับใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาอาหารและยาที่เอาเปรียบผู้บริโภค ต้องพิจารณาประวัติของการกระทำผิดที่เกี่ยวกับโฆษณาสำหรับขอรับใบอนุญาตของผู้ประกอบการใหม่ ตรวจสอบการโฆษณาในเคเบิลทีวีอย่างจริงจัง ทบทวนการให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่เข้าข่ายการโฆษณาเกินจริง มีการลงโทษปรับผู้ประกอบการที่กระทำผิดกฎหมาย โดยต้องคำนึงถึงรายได้ของผู้ประกอบการที่กระทำผิดกฎหมาย ที่สำคัญต้องมีระบบรับเรื่องร้องเรียนของ กสทช. ในส่วนที่เกี่ยวกับโฆษณาเกินจริงที่เข้าถึงได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ 
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “สานพลัง คุ้มครองผู้บริโภคโฆษณายา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย” มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แผนงานัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ คณะกรรมการกสทช.พร้อมจะให้ความร่วมมือกับ อย.ที่ประสานงานมาเพื่อลงโทษผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย ทั้งเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม หรือวิทยุชุมชนทั่วประเทศที่มีการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตกับกสทช.ไว้ ซึ่งที่ผ่านมา กสทช.ได้เปิดสายด่วนให้ประชาชนที่ติดตามสื่อร้องเรียนได้ที่หมายเลข 1200 ปัจจุบันกสทช.เฝ้าระวังการโฆษณาและออกอากาศในทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภคอย่างเต็มที่ และเชื่อว่าสามารถดูแลได้ในระดับหนึ่งโดยเฉพาะระบบทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตกับ กสทช.แล้ว 98% ยกเว้นวิทยุชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศถึง 6,000-7,000 สถานี ยังสามารถขึ้นทะเบียนได้เพียง 20% เท่านั้น ทำให้การตรวจสอบติดตามให้ทั่วถึงเป็นเรื่องยาก เมื่อมีการสั่งปิดวิทยุชุมชนก็ลักลอบเปิดใหม่ได้ง่าย จึงต้องผนึกกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายภาคประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลการโฆษณาที่ผิดปกติด้วย
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคม
รายละเอียด: 

3.1 จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และสื่ออื่นๆ ด้วยกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากหน่วยงานทุกระดับ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และนำเสนอเพื่อรับรองในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 

3.2 เร่งดำเนินการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชน มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการโฆษณาและตระหนักในเรื่องการใช้สิทธิผู้บริโภค รวมทั้งพัฒนากระบวนการรู้เท่าทันเพื่อสร้างมาตรการป้องกันปัญหาอิทธิพลโฆษณาและการจัดการความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมและรูปแบบพฤติกรรมเพื่อสุขภาพดี รวมทั้งให้รู้เท่าทันการโฆษณา โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและหน่วยงานอื่นๆ 

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “สานพลัง คุ้มครองผู้บริโภคโฆษณายา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย” มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แผนงานัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ  อย. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมาย 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและยา ได้แก่ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โดยเฉพาะการเพิ่มโทษปรับผู้ประกอบการที่โฆษณาเกินจริงและไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. จาก 5,000 บาท เป็น 500,000 บาท ไปจนถึงโทษจำคุกและปรับรายวัน เพื่อสะท้อนให้ผู้ประกอบการเห็นความจริงในการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บูรณาการเฝ้าระวังโฆษณายา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเอกภาพ และพิจารณาปรับปรุงกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับจัดตั้งกลไกการควบคุมและเฝ้าระวังการโฆษณาแบบมีส่วนร่วม สนับสนุนงบประมาณและการดำเนินงานขององค์กรภาคีเครือข่ายในพื้นที่
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน โฆษณาและการตลาด เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจ องค์กรทางสังคม และวิชาชีพอื่นๆ เช่น วิชาชีพด้านสุขภาพ ครู ทนายความ กำหนดมาตรการและแนวทางการกำกับดูแล จริยธรรม จรรยาบรรณในการสื่อสารเรื่องยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่ผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ให้มีองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและขอให้รัฐสนับสนุนการทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณายา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ร่วมในกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์และเป็นเครือข่ายควบคุม ศึกษา ตรวจสอบ เฝ้าระวังวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ ทุกประเด็นในพื้นที่
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “สานพลัง คุ้มครองผู้บริโภคโฆษณายา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย” มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แผนงานัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ  กพย.ยังได้จัดทำโครงการนำร่องจังหวัดต้นแบบให้ประชาชนรู้เท่าทันโฆษณาใน 4 จังหวัด ได้แก่ พะเยา สงขลา ขอนแก่น สระบุรี และในปี 2556 ขยายอีก 10 จังหวัด เป็น 14 จังหวัดทั่วประเทศ โดยแนวทางการจัดการจะแตกต่างกัน ตามลักษณะของปัญหาและมีการใช้กลยุทธ์หลากหลาย อาทิ จังหวัดสระบุรี ขับเคลื่อนโดยประสานความร่วมมือกับกสทช. จังหวัดขอนแก่น รวมกลุ่มเหยื่อจากการโฆษณา เดินสายถ่ายทอดประสบการณ์กับผู้บริโภค จังหวัดพะเยา ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มุ่งเน้นแก้ปัญหาโฆษณายาเป็นหลัก และจังหวัดสงขลา เน้นแก้ปัญหาการขายตรง และรวมกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภค โดย กพย.จะถอดบทเรียนและนำเสนอในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติต่อไป
  • เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2556 สช. ได้เปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อเอกสาร เชิงนโยบาย (ร่าง 1) เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีการเชิญผู้แทนจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ 77 จังหวัด พร้อมด้วยนักวิชาการและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อระดมความเห็นต่อแผนยุทธศาสตร์ การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เนต” เพื่อนำไปสู่ปรับปรุงแก้ไขร่างมติ ฉบับนี้ให้สมบูรณ์แบบ ก่อนนำไปรับฟังความคิดเห็นจากสมัชชาจังหวัดทั่วประเทศ จากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อผลักดันไปสู่การปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ เสียงจากเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมติ ได้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้สะท้อนถึงปัญหาและเสนอหัวข้อให้สำนักคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) พิจารณาเพิ่มเติมเรื่องการตัดทอนวงจรเหล่านี้ตั้งแต่ระดับ “ต้นทาง” คือผู้จำหน่ายยาและอาหารเสริม พร้อมตัดตอนแนวทางการชักชวนให้ ผู้บริโภคนำสินค้าไปขายต่อ รวมทั้งการควบคุมไม่ให้ แพทย์ พยาบาล มาทำหน้าที่เป็น “พรีเซ็นเตอร์” สินค้าเสียเอง นอกจากนั้น ยังเสนอให้มีการลงโทษด้วยการให้ กสทช.ขึ้นบัญชีดำหรือแบล็กลิสต์ สื่อที่เน้นการโฆษณาซ้ำๆ ให้กับสินค้าเหล่านี้ด้วย
  • เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นักวิชาการและเครือข่ายผู้บริโภคได้จัดเวทีเสวนา “สช.เจาะประเด็น” ในหัวข้อ “สื่อยุคทีวีดิจิทัล สร้างสุขหรือทุกขภาวะ” เนื่องจากสื่อมีอิทธิพลอย่างมากต่อประชาชน อีกทั้งยังเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว ขยายสู่ระบบออนไลน์ รวมทั้งทีวีระบบดิจิทัล อีกทั้งสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีมติเรื่อง การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต  เมื่อพิจารณากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่า กฎหมายยังมีความล้าสมัย บทบัญญัติไม่ได้ระบุว่า ห้ามโฆษณายาผ่านอินเตอร์เน็ตโดยตรง มีบทลงโทษต่ำ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท อีกทั้งการพิสูจน์ยืนยันว่าได้รับความเสียหายเป็นภาระของผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคไม่มีศักยภาพจะดำเนินการได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสื่อทีวีหลายรายยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวทางการโฆษณา โดยมักพบกลวิธีในการโฆษณาที่ส่งผลเสียต่อผู้บริโภค มีการสร้างข้อความที่ไม่ผิดชัดเจนแต่คนฟังเข้าใจ ดังนั้น สื่อต้องทำความเข้าใจร่วมกัน และเดินหน้าร่วมกันสร้างสื่อสีขาวให้เกิดขึ้น
ข้อที่: 
9
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5
รายละเอียด: 
  • ได้รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5  แล้ว
เอกสารหลัก: