You are here


การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรม...
สมัชชาครั้งที่: 
4
มติที่: 
6
ชื่อมติ: 
การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ในคณะกรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้  1. นายอาทิตย์ อิสโม ประธานกรรมการ  2. นายประพันธ์ ปุษยไพบูลย์ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 3. นายพิชิต  พระปัญญา กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง  4. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  5. นายสุชาติ  วิริยะอาภา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  6. นางสาว  สุดธิดา  กรุงไกรวงศ์  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ   ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

1.1 เร่งรัดให้มีการดำเนินการตามมาตรา ๓ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัติ

1.2 ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) และสมาคมวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อนาไปสู่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ในการทำงาน

1.3 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำและพัฒนาแนวทางและมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยในเรื่องต่อไปนี้

1.3.1 การควบคุมคุณภาพการบริการอาชีวอนามัย ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ

1.3.2 การตรวจและการประเมินการสัมผัสสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

1.3.3 การตรวจสุขภาพคนทำงานตามปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน

1.3.4 ระบบสารสนเทศด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

1.4 จัดสรรเงินกองทุนจากดอกผลของกองทุนเงินทดแทน ในการสนับสนุนการจัดบริการด้านอาชีวอนามัย ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ครอบคลุมอย่างทั่วถึงเพื่อให้สถานประกอบกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางมีความสามารถเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยให้กับคนทำงานได้ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 28 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537

1.5 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และศึกษาข้อมูลเตรียมความพร้อม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อการจัดบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ 

- ฉบับที่ 155 ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524) 

- ฉบับที่ 161 ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) 

- ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549)

1.6 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสุขภาพในสถานประกอบการให้มีคุณภาพ และมีความสอดคล้องกัน เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) เรื่องหลักเกณฑ์การยกเว้นสถานพยาบาลซึ่งไม่ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ 
  • เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจเยี่ยมและรับฟังภารกิจของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ณ ห้องประชุม ศ. นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมีนายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้การต้อนรับ โอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการว่า การดำเนินงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานต้องถือว่าเป็นส่วนที่ทำให้แรงงานมีความมั่นคง ชีวิตการทำงานมีความปองดองสมานฉันท์มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและต่อเนื่องจากพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ จะสานต่อโยบายเหล่านั้นเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 
  • สภาเครือข่ายและเครือข่ายแรงงานได้มีความพยายามในการดำเนินการ อาทิ การจัดเวทีกิจกรรมรณรงค์  การเข้าพบรัฐมนตรีเพื่อเสนอเรื่องการอบรมให้แก่แรงงาน และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายแรงงานในการร่วมกับกระทรวงแรงงานในการออกกฎหมายลูก ในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554
  • สภาเครือข่ายและเครือข่ายแรงงานได้ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม โดยมี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมเป็นประธาน  ดำเนินการเรื่องอาชีวอนามัยในพื้นที่อยุธยา ชลบุรี ระยอง รังสิต จ.ปทุมธานีและใกล้เคียง เพื่อเป็นการสร้างผู้นำเครือข่ายสุขภาพ
  • เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2556 สำนักงานประกันสังคมได้จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการคลินิกโรคจากการทำงานให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 90 แห่งเพื่อให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของคลินิกโรคจากการทำงาน เป็นการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานด้านการป้องกันและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและสร้างแนวทางในการบูรณาการงานร่วมกัน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ลูกจ้างมีช่องทางเข้าถึงการวินิจฉัยโรค รวมถึงการรายงานการดำเนินงานให้บริการตรวจวินิจฉัย การรักษา การดำเนินงานด้านการป้องกันและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานของคลินิกโรคจากการทำงาน  
  • เดือนกุมภาพันธ์ 2556 สำนักงานประกันสังคม ให้ทุนการศึกษาแพทย์เฉพาะทางสาขาอาชีวเวชศาสตร์ และพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลอาชีวอนามัย ซึ่งเป็นภารกิจหลักของสำนักงานประกันสังคมในส่วนของกองทุนเงินทดแทนที่ต้องดูแลลูกจ้างให้มีความปลอดภัยในการทำงานเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจาการทำงานต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ นอกจากนั้นต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัย เป็นการส่งเสริมให้การดูแลลูกจ้างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2558 พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานหารือร่วมกับคณะองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) ประเด็นพระราชบัญญัติประกันสังคมที่มีแก้ไขเพิ่มเติม และจะมีผลบังคับ ต้องจัดให้ความรู้แก่ผู้ประกันตน ประเด็นความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานควรกำหนดเป็นวาระแห่งชาติในการแก้ไข  และการจัดให้มีธนาคารแรงงานเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินและเศรษฐกิจภาคแรงงาน ณ  ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อาคารกระทรวงแรงงงาน ด้านประเด็นความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กระทรวงแรงงานได้วางแนวทางการจัดตั้งสภาวิชาชีพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพเป็นบุคลากรที่กฎหมายกำหนดให้เป็นบุคลากรหลักในการดูแลความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานของลูกจ้างซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ และทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงาน จากระบบการศึกษาหรือการอบรม อย่างไรก็ตาม ต้องสร้างจิตสำนึกแก่ทุกฝ่ายทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อทำให้สถานประกอบการปลอดภัย คือความคิด ทัศนะคติของสถานประกอบการและผู้ใช้แรงงานว่าทำอย่างไรให้สถานประกอบการปลอดภัย ถ้าทุกคนมีจิตสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าต้องปลอดภัยไว้ก่อน อุบัติเหตุทุกอย่างก็จะไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานในฐานะภาครัฐต้องมีการบริหารจัดการที่ดี โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น นำนายจ้างไปดูศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน การให้นายจ้างจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน จัดโครงการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขอนามัยดี

    - กรมควบคุมโรค มีการดำเนินการ ดังนี้

  • กรมควบคุมโรค  โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้พัฒนามาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนมาตั้งแต่ปี 2554 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการอาชีวอนามัยแก่กลุ่มเป้าหมายให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และในปี 2556 จะดำเนินการทดลองนำร่องมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยฯดังกล่าวในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่  ลำพูน  อุดรธานี  สุพรรณบุรี  ระยอง  และสงขลา ก่อนที่จะนำไปขยายผลในระดับประเทศ
  • สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ ได้ดำเนินการมอบเครื่องมือต้นแบบสำหรับตรวจประเมินอย่างง่ายให้กับเครือข่ายนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง โดยมีเป้าหมายให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่มีอยู่ในสถานประกอบการสามารถใช้ประเมินพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของคนงานในสถานประกอบการของตนและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่วกับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว และดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ/สถานการณ์ความเสี่ยงจากการสัมผัสแร่ใยหินที่เกิดจากการปนเปื้อนจากกิจการเป่าผม/อบผม
  • ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายการลดละเลิก การใช้แร่ใยหินอย่างต่อเนื่อง และเตรียมดำเนินการผลักดันนโยบายการลดละเลิก การใช้ สารกำจัดศัตรูพืชบางชนิดที่เป็นอันตรายร้ายแรงแก่สุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคซึ่งได้แก่ประชาชนโดยทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการตกค้าง ของสารกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรใช้
  • กรมควบคุมโรคร่วมกับ สปสช. โดยมอบหมายให้ สปสช. สาขาจังหวัด (สสจ.) เป็นผู้จัดการในระดับจังหวัด รับผิดชอบการจัดระบบและกลไกการบริหารจัดการในระดับจังหวัดอย่างมีส่วนร่วม การสนับสนุนหน่วยบริการในการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกลุ่มสิทธิประกันสังคมและสิทธิสวัสดิการข้าราชการในจังหวัด และการค้นหาสถานประกอบการหรือหน่วยราชการ “ต้นแบบ” ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับ หน่วยบริการ ที่จะจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับกลุ่มสิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการ อาทิ หน่วยบริการภาครัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน หรือ ภาคเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลเอกชน คลินิก และอาจเป็นหน่วยบริการที่ให้บริการอาชีวอนามัย บริการตรวจสุขภาพประจำปี หรือบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แก่กลุ่มสิทธิประกันสังคม หรือ กลุ่มสวัสดิการข้าราชการอยู่แล้ว หรือ มีความสนใจแต่ยังไม่เคยจัดบริการ
  • สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างดำเนินการ คือ พัฒนาระบบการรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยโดยได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ ได้แก่ แบบรายงานสรุปโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพ (OCC 01) และแบบรายงานการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพ (OCC 02) โดยแบบรายงานสรุปโรคและภัยฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการป่วย และตายอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อทราบการเกิด การกระจายตัว ขนาด และแนวโน้มของการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ สำหรับแบบรายงานการเฝ้าระวังรายงานการเฝ้าระวังโรคฯ(OCC 02) เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อทราบความเสี่ยงอันตรายต่อการสัมผัสกับสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน ซึ่งข้อมูลจากแบบรายงานที่ได้ดังกล่าวมานี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลด้านโรคและความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพของหน่วยงาน เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน การจัดการปัญหา ป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพได้
  • พัฒนาระบบการรายงานข้อมูลโรค และภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพ เป็นระบบข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังแบบเชิงรับ ( Passive surveillance) โดยเป็นการรายงานจากหน่วงงานเวชกรรมของโรงพยาบาลที่มีการจัดบริการอาชีวอนามัย และมีโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน  
  • เครือข่ายแรงงานขอให้พิจารณาจัดสรรเงินดอกผลของกองทุน 15% จาก 22% มาใช้ในเรื่องการส่งเสริม ป้องกัน 
  • กองทุนทดแทนเรื่องป้องกันและส่งเสริมได้มอบให้ สปสช. โดยให้ สปสช. ทำงานเชิงรุกเรื่องการตรวจสุขภาพ จำนวน 4 แห่ง แต่ไม่มีเรื่องความเสี่ยงในการทำงาน ทั้งนี้ ได้มีพยายามยื่นข้อเสนอเรื่องการเพิ่มการตรวจโรคจากการทำงานที่มีความเสี่ยงให้กับ สปสช. ดำเนินการต่อไป
  • วันที่ 30 เมษายน 2558 ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 1/2558 ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ว่าที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบผลการดำเนินการและการขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนแม่บทด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559)  เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการและประกาศนโยบายระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ช่วงที่ 2 เป็นแผนกรอบระยะเวลาการดำเนินการ 10 ปี พ.ศ.2560-2569 และการจัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564) พร้อมเตรียมให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) พร้อมเร่งรัดตั้งกรมความปลอดภัยแรงงานเพื่อให้เป็นหน่วยงานส่งเสริมและดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะเป็นไปตามข้อเรียกร้องของพี่น้องแรงงานในวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2558 นี้
  • เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2558 พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชิ้แจงว่า พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรณ รองนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้จัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติด้านความปลอดภัยในการทำงานตั้งแต่ปี 2560 -2569 ซึ่งภายในปีนี้และปีหน้าจะมีการทำงานกัน ส่วนการรับรองอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อให้คนทำงานได้มีความปลอดภัยในสถานที่ทำงานที่เป็นมาตรฐานสากล เมื่อรับรองแล้วจะต้องมีการปฏิบัติตามนั้น ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติไปแล้ว ยังเหลือขั้นตอนในการติดตามทางกฎหมาย จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในเรื่องของนโยบาย ระเบียบคำสั่งของประเทศไทยในวันนี้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ที่เหลือเป็นเรื่องการปฏิบัติที่ต้องเร่งสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยต่อนายจ้างในโรงงาน สถานประกอบการต้องมีความปลอดภัย สร้างจิตสำนึกคนทำงานซึ่งต้องรู้ตนเองว่าทำอย่างไรตามระเบียบขั้นตอนซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

   - กระทรวงสาธารณสุขได้มีการดำเนินการ ดังนี้ 

  • ได้รับเงินดอกผลจากกองทุนเงินทดแทนมาใช้ในการดำเนินการส่งเสริมคลินิกโรคจากการทำงาน ระยะที่ 1 - 5  โดยมีวัตถุประสงค์ให้โรงพยาบาลจัดบริการดูแลทั้งเชิงรับและเชิงรุกแก่ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ลูกจ้างที่เจ็บป่วยจากการทำงาน สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลการเจ็บป่วยได้ โดยมีการดำเนินงานคลินิกโรคจากการทำงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคและศูนย์โรคจากการทำงานโดยโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรมการแพทย์ 
  • กรมควบคุมโรค ทำหน้าที่บริหารเชิงหลักการ แต่การปฏิบัติจะขึ้นกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ขึ้นกับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • กองทุนทดแทน ได้จัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาล 200,000 บาท/ปี โดยสามารถจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นที่สงสัยว่าเจ็บป่วยจากการทำงาน ทั้งนี้มีฐานคิดจากเหมาจ่ายรายปี ยกเว้นกรณีมีโครงการเฝ้าระวังโรคที่สำคัญในจังหวัดนั้นๆ
  • คลินิกโรคจากการทำงานมี 72 แห่งจาก 95 แห่ง ทั้งนี้ในระดับจังหวัดต้องมี 76 แห่ง คลินิกจังหวัดละ 1 แห่ง แต่บางจังหวัดมีมากกว่า 1 แห่ง ได้แก่ ราชบุรี สงขลา ตาก สระบุรี อยุธยา สุราษฎร์ธานี แต่มี 10 จังหวัดที่ยังไม่มีคลินิกโรคจากการทำงานเนื่องจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติยังขาดความพร้อมในการให้บริการ ได้แก่ ตราด พิษณุโลก หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ บึงกาฬ ชุมพร ระนอง พัทลุง ศรีสะเกษ
  • มีโครงการพัฒนาหน่วยบริการในสถานประกอบการให้มีความสามารถในการให้คำปรึกษา การคัดกรองคนงานที่บาดเจ็บจากการทำงาน 
  • ฉบับที่ 155 ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)  กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการสนับสนุนให้หน่วยงาน สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในฐานะองค์กรมหาชนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งแก่องค์กรแรงงาน และภาคประชาสังคม เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิเรื่องการบริการอาชีวอนามัยมากยิ่งขึ้น
  • ฉบับที่ 161 ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) กรมควบคุมโรคและกรมการแพทย์ได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบบริการอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลทุกระดับ
  • ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ได้ประสานและเตรียมการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการทุกแห่ง โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการและได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่ และจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการ

- วันที่ 18 มกราคม 2559 กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รายงานว่า นางสาวพรรณี ศรียุทธศักดิ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับใดๆ ในด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ดังนั้นองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO จึงได้แสดงท่าทีเกี่ยวกับการดำเนินงานความปลอดภัย โดยพยายามผลักดันการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา 187 หลังจากที่ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้ให้สัตยาบันแล้ว สำหรับประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการลงนามสัตยาบันสาร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลังจากนั้นจะมอบหมายให้ผู้แทนไทยเป็นผู้นำสัตยาบันสารไปยื่นแจ้งจดทะเบียนต่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และจะมีผลนับแต่วันที่ยื่น ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 นี้

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 กระทรวงแรงงานโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้เตรียมการเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ.2549 มาอย่างต่อเนื่อง โดยปลัดกระทรวงแรงงานเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการยื่นจดทะเบียนให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับดังกล่าว กับ Mr.Guy Ryder ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยถือเป็นอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 16 ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้ในอีก 12 เดือนถัดไปนับจากวันที่ให้สัตยาบัน ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้ ต้องมีกลไกดังกล่าวพร้อม ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินการตามแผนที่รองรับอยู่แล้ว ทั้งนโยบายระดับชาติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลที่ประกาศเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา และขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำระเบียบวาระแห่งชาติในระยะที่ 2 เพื่อประกาศใช้ต่อไป  มีระบบดำเนินงานระดับชาติ ได้แก่ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 และมีการพัฒนากฎหมายลำกับรองที่ครอบคลุมประเด็นด้านต่างๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่าง/พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ มีแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ พ.ศ.2545 -2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่างแผนแม่บทความปลอดภัยฯ แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี 2560-2564 ซึ่งมีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ตามยุทธศาสตร์ภายใต้แผนแม่บทฉบับนี้ ตลอดจนมีการรายงานข้อมูลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ โดยได้มีการจัดทำรายงานสถานการณ์การดำเนินงานเผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างชัดเจนด้วย

  • เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายความปลอดภัยฯ ตามแนวทางประชารัฐร่วมกันจัดงาน “วันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล” 
  • เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้จัดงาน “10 พฤษภาคม วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เพื่อสร้างการรับรู้ รณรงค์และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง และขยายการรับรู้ไปสู่กลุ่มต่างๆ ในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น
  • เมื่อเดือนกันยายน 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้แสดงผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานรอบ 1 ปี โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมืองานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย ระหว่าง 6 กระทรวงได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงแรงงาน เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีให้เกิดขึ้นกับคนทำงานและประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน
  • เมื่อเดือนกันยายน 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการเป็นแหล่งเงินทุนให้ให้นายจ้างกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 วงเงินกู้ยืมสูงถึง 2 ล้านบาท โดยผ่านกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้นายจ้างนำไปดำเนินการปรับปรุงสถานประกอบกิจการให้ลูกจ้างเกิดความปลอดภัย ซึ่งในปี 2559 ได้สนับสนุนไปแล้ว 19 ราย ในวงเงิน 7,186,090 บาท
  • เมื่อเดือนกันยายน 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการพัฒนาและสร้างมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยให้มีการรายงานผลการดำเนินการตามกฎหมายในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์และจัดโครงการสถานประกอบกิจการต้นแบบความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งในระดับประเทศและระดับอาเซียน รวมทั้งสร้างมาตรฐานความปลอดภัยฯ สำหรับสถาบันการศึกษาโดยจัดโครงการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี
  • เมื่อเดือนกันยายน 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ 15,997 แห่ง ดูแลลูกจ้างรวม 965,167 คน มีการออกคำสั่งให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน 4,970 แห่ง โดยนายจ้างปฏิบัติตามคำสั่ง 4,682 ราย และส่งดำเนินคดี 288 ราย นอกจากนี้ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยจัดโครงการ 90 วันยุทธการลดอันตรายจากการทำงาน ส่งผลให้อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานรวมทุกกรณีต่อจำนวนลูกจ้าง 1,000 คน ลดลงร้อยละ 4.15 กรณีร้ายแรงลดลงร้อยละ 4.53 และอัตราการตายจากการทำงานต่อจำนวนลูกจ้าง 100,000 คนลดลงร้อยละ 5.73 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน 
  • เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 1/2559  ที่มี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบวาระแห่งชาติแรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2560-2564) พร้อมทั้งให้กระทรวงแรงงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณธฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรืคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ..... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลและการขึ้นทะเบียน เพื่อให้นายจ้างและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดำเนินการ อันจะเป็นกลไกสำคัญในการกำกับดูแลและบริหารจัดการด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข อาทิ การเพิ่มเติมคำจำกัดความ เพิ่มข้อความ เพิ่มรายละเอียด ตลอดจนแก้ไขหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพบางประการ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
  • เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องร่างระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ระยะที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) และร่างแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564) ดังนี้

       1. เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้

          1.1 เห็นชอบและประกาศนโยบายระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ระยะที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินการได้แก่ (1) การส่งเสริมคนทำงานให้มีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี (2) การให้ความสำคัญในการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายและการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน (3) การสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการโดยอาศัยแนวทางประชารัฐ (4) การเสริมสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (5) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการและการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในทุกระดับ

          1.2 เห็นชอบร่างแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564) เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางการดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ (1) การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (2) การส่งเสริม กำกับ ดูแล และพัฒนามาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (3) การเสริมสร้างความร่วมมือและพัฒนาภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และ (4) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

       2. ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโ,ยี สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ที่ 1 กลยุทธ์ที่ 1 สร้างและพัฒนาระบบองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ นายจ้าง ลูกจ้าง นักเรียน นักศึกษา และภาคีเครือข่าย ควรพิจารณาเพิ่มเติมประเด็นการให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี (RSO) เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านนิวเคลียร์และรังสีตระหนักด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้ยในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ส่วนปีต่อๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณพร้อมทั้งรายละเอียดตามขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม นอกจากนี้ร่างแผนแม่บทฯ ควรมีมาตรการเชิงป้องกันสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีงานสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลการประสบอันตรายและเจ็บป่วยจากการทำงานและสาเหตุของการเกิดโรคทั้งกลุ่มแรงงานในระบบและนอกระบบ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

        3. เมื่อแผนยุทธศาสตร์ชาติประกาศใช้แล้ว ให้กระทรวงแรงงานพิจารณาปรับปรุงระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ระยะที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) และแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564) ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

  • เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องร่าง พ.ร.บ.โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ..... ดังนี้

        1. อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ..... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดกลไก หลักเกณฑ์ และมาตรการเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เพื่อคุ้มครอบสุขภาพของประชาชนจากความเสี่ยงและการได้รับผลกระทบของโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานศาลยุติธณรม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาทิ การให้ผู้ซึ่งเป็นโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมหรือญาติของบุคคลดังกล่าวอาจขอรับการสนับสนุนเพื่อการรักษาพยาบาลหรือฟ้นฟูสมรรถภาพจากกรมควบคุมโรคได้อาจเกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่และงบประมาณได้ รวมทั้งเห็นควรให้มีหน้าที่รับผิดชอบผลกระทบจากปัญหาหมอกควันและควรกำหนดมาตรกรลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรรวมถึงควบคุม กำกับ ดูแล เกษตรกรให้มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกวิธีเพื่อลดผลกระทบจากการใช้สารเคมี นอกจากนี้เห็นว่าการเข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ใดๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานประกอบกิจการหรือสถานที่นั้น ไม่สอดคล้องกับหลักการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการกำหนดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัตินิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” ไว้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดในร่าง พ.ร.บ.นี้อีก และเห็นว่านิยามของสถานประกอบกิจการไม่มีความชัดเจนว่าครอบคลุมเพียงใด เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

       2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

       3. มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นควรมีฐานข้อมูลกลางของประเทศที่เชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในฐานะองค์กรมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งแก่องค์กรแรงงาน และภาคประชาสังคม เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิเรื่องการบริการอาชีวอนามัยมากยิ่งขึ้น
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยมี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ..... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย
  • เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ...... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
  • เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) โดยคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงานจัดการประชุมหารือและติดตามความคืบหน้าร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ… ณ ห้องประชุมชั้น 16 สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการและแรงงานร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เนื่องจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยในสมัชชาคนจน ที่ขอให้ระงับร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อา    ชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ…ที่ยังขาดการมีส่วนร่วมของแรงงาน คปก.จึงมีความเป็นห่วงว่าหากออกร่างฯดังกล่าวมาอาจไม่เป็นผลดีนัก เนื่องจากเห็นชัดว่าขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทุกฝ่ายนั้นเริ่มจากเจตนาที่ดี แต่หลายประเด็นในร่างฯยังมีปัญหาและมีความสลับซับซ้อน กระทรวงแรงงานจึงควรชะลอร่างฯดังกล่าวไว้เพื่อให้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนอีกครั้ง โดยคปก.พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้ร่างฯดังกล่าวสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 กลุ่มงานส่งเสริมความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานชี้แจงความคืบหน้าของร่างฯว่า  ได้รับการจัดสรรงบประมาณเมื่อปี 2556  จึงได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน โดยที่ผ่านมาหลายๆเรื่องได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้มีการประชุมหารือล่าสุดกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้มีการเชิญหน่วยงานต่างๆไปให้ความเห็นอีกครั้งและขณะนี้กฤษฎีกาอยู่ระหว่างการปรับแก้ไขร่างฯ  ในส่วนของภาคเอกชนเห็นด้วยกับการตั้งเป็นองค์การมหาชน
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการในเรื่องต่อไป
รายละเอียด: 

3.1 ให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดบริการด้านอาชีวอนามัย และอาชีวเวชศาสตร์ ให้มีคุณภาพ ครอบคลุมและเข้าถึงได้ง่าย เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งบริการเชิงรุกและเชิงรับ 

3.2 จัดทำและพัฒนาแนวทางในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพการตรวจวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจากการทำงาน 

3.3 สนับสนุนและร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และองค์กรวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการผลิตเพิ่มและพัฒนานักอาชีวอนามัย นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และพยาบาล อาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมาย และบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่บริการด้านอาชีวอนามัย

ผลการปฏิบัติงาน: 

- กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ ได้ดำเนินการดังนี้

  • กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์สำหรับการบริการทุติยภูมิในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (คลินิกโรคจากการทำงาน) มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน    เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาการจัดบริการอาชีว-อนามัยของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปรวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพ และสามารถดำเนินการจัดบริการอาชีวอนามัย เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนโดยเฉพาะกรณีเกิดโรคจากการประกอบอาชีพและผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม  ซึ่งในปัจจุบัน มีการจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานในโรงพยาบาลศูนย์และทั่วไปแล้ว รวม ๗๒ แห่ง ใน ๖๖ จังหวัด กระจายตัวในทุกภูมิภาคของประเทศ (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีคลินิกโรคจากการทำงานที่ รพ.นพรัตน์ราชธานี และ รพ.ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยบางแห่ง)
  • กรมควบคุมโรคโดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำแนวทางการวินิจฉัยโรคและภัยจากการประกอบอาชีพเบื้องต้น สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข ในโครงการการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการสาธารณสุขสำหรับแรงงานนอกระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยรักษาแก่ผู้ป่วยกรณีโรคจากการทำงาน
  • กรมควบคุมโรคได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตด้านอาชีวอนามัยภายใต้แผนการลงทุนด้านสุขภาพ พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๐) โดยความร่วมมือกับหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหิดล  สงขลานครินทร์  บูรพาและขอนแก่น  เพื่อผลิต บุคลากรในระดับปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัยและสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณานำเสนอกระทรวงสาธารณสุขผ่านไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณ ตามลำดับ 
  •  
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดสรรงบประมาณในการดูแลสุขภาพให้กับคนทำงานเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางสุขภาพจากกองทุนอื่นๆ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สปสช. มีงบประมาณตรวจโรคจากการทำงาน แต่ไม่มีงบประมาณสนับสนุนการตรวจโรคตามความเสี่ยง เนื่องจากสถานบริการขนาดเล็กและขนาดกลางไม่สามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน 
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง พร้อมทั้งให้ภาคีเครือข่ายผู้หญิงและเครือข่ายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคนทำงาน ติดตามผลการดำเนินงาน และรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5
เอกสารหลัก: