You are here


ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สมัชชาครั้งที่: 
5
มติที่: 
5
ชื่อมติ: 
ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลการปฏิบัติงาน: 
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ประชุมมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 และมอบหมายให้ 1) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป  และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่ามติใดสมควรเสนอให้ คสช. พิจารณา ให้เสนอ คสช. พิจารณาต่อไป เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็นเรื่อง"นโยบายเกษตรเพื่อสุขภาพ : แบน 4 สารเคมีเกษตรก่อมะเร็ง" ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.เมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.อัมรา เวียงวีระผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นพ.พิบูลย์ อิสระพันธ์ รองผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นายน้ำค้าง มั่นศรีจันทร์ ชาวบ้าน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมให้ข้อมูล สภาที่ปรึกษาฯจึงเห็นควรให้มีการทบทวนและปรับวิธีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายใหม่ทั้งระบบและเสนอให้ มีคณะกรรมการเคมีแห่งชาติ เปิดให้นำเสนอข้อมูลและเอกสารทางวิชาการมาประกอบการพิจารณา มีการจำกัดระยะเวลาในการใช้ ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนแล้วจะวางจำหน่ายได้ตลอดไป เช่น เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วทุกๆ 3 ปี ต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ให้กรมวิชาการเกษตรพิจารณา นอกจากนั้น ยังควรมีการควบคุมการโฆษณาการขายสารเคมีเกษตรที่เป็นวัตถุเคมีอันตรายอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันกรมการข้าวไม่แนะนำทางห้มีการใช้สารเคมีเกษตรทั้ง 4 ชนิดในการปลูกข้าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะพิษของสารเคมีจะไปทำลายตัวห้ำ ตัวเบียน ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ในการกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว และยังมีผลให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการระบาดเพิ่มขึ้น ชาวนาก็ต้องเพิ่มปริมาณการใช้สารเคมีมากขึ้นทุกปี ผลผลิตข้าวลดลง ต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่ธรรมชาติก็เสียความสมดุล เสนอให้รัฐบาลเร่งยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตราย และหากมีสินค้าที่ออกวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดก็ให้เร่งเก็บคืนให้หมดโดยเร็ว รวมถึงพัฒนาเกษตรกรรมทางเลือกอย่างจริงจัง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรอินทรีย์ พืชสมุนไพรไทย ซึ่งสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี แต่อาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งเชื่อว่าจะลดปัญหาสุขภาพและสร้างสมดุลให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) จัดทำโครงการสายสืบผักสด โดยร่วมกับทางกรมวิชาการเกษตร  ไทยแปลน  มูลนิธิผู้บริโภค ฯลฯ  เป็นกลไกขับเคลื่อนเรื่องสารเคมี เสื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ผลการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องความปลอดภัยทางอาหาร มีข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ทั้ง กกร. และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  ได้มีการผลักดันเรื่องอาหารปลอดภัย มีการพูดคุยเรื่องระบบห่วงโซ่อาหาร (supply chain)  สิ่งที่ภาคเอกชนเห็นชัด คือเรื่องของปัญหามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าในประเทศ เราจะพัฒนาในเรื่องของคุณภาพความปลอดภัยอย่างไร ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคตระหนักในการเลือกบริโภคสินค้า  ขณะนี้ ภาคเอกชนได้แสวงหาความร่วมมือกับหลายฝ่าย เช่น แม็คโครโลตัสในการพัฒนามาตรฐานของสินค้ายกระดับเข้าสู่สากล มีการผลักดันให้ผู้บริโภคได้เกิดการรับรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร  แต่การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้เกิดขึ้นเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศเป็นเรื่องยาก เพราะยังมีความเหลื่อมล้ำในประเทศ  จึงอาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษาความรู้ ความเข้าใจ เพื่อยกระดับสังคมให้ไปถึง ณ จุดนั้นได้ ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาจึงต้องขับเคลื่อนทางนโยบาย  ตระหนักในระบบห่วงโซ่อาหาร (supply chain)  มีอะไรที่ยังเป็นช่องว่าง (gap)  ควรมีงานวิชาการมาสนับสนุนและหนุนเสริมด้วยข้อมูลในระดับพื้นที่  ควรมีการคิด การพูดคุยร่วมกัน ซึ่งน่าจะเป็นการแก้ปัญหาเชิงระบบได้มากขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย ที่มี รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธาน มีการรายงานว่า ขณะนี้ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาระบบการจัดการ เฝ้าระวังและเตือนภัย สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ มีการนำโมเดลตัวอย่างของ ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัย ในประเทศต่างๆ มาศึกษาเปรียบเทียบ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพยุโรป เป็นต้น เชื่อว่า ถ้าใช้หลักวิชาการนำหน้า บวกกับการมีระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีในระยะยาว เกิดการปรับปรุง ไปสู่การผลิตที่ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งหลังจากได้แนวทางที่ชัดเจนแล้ว จะจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างต่อไป ด้านตัวแทนกระทรวงอุตสาหกรรม รายงานความก้าวหน้าของการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 อาทิ เกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรสาธารณะประโยชน์ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งอยู่ในขั้นตอน การเสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลงนาม และจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ส่วนร่าง พ.ร.บ.สารเคมี นั้น ทางศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) รายงานว่า อยู่ระหว่างดำเนินการโดย คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี สำหรับการจัดทำ ทำเนียบสารเคมี ยังคงดำเนินการต่อเนื่องเป็นเล่มที่ 2 พร้อมแนวคิดจัดตั้ง “องค์กรกลาง” ขึ้นมาดูแล คาดว่าจะมีงบประมาณ มารองรับการจัดตั้งได้ในปี 2561 ซึ่ง รศ.จิราพร เสนอแนะเพิ่มทางเลือกความร่วมมือ ไปสู่ภาคีเครือข่ายอื่นๆ เพื่อสนับสนุนงบประมาณ นอกเหนือจากการรองบประมาณภาครัฐเพียงอย่างเดียว คณะทำงานฯ ยังได้แลกเปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือก พื้นที่ต้นแบบ ที่มีระบบการทำเกษตรและอาหารปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร โดย สช.ประสานงานกับ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั้ง 77 จังหวัด แล้วให้เสนอพื้นที่หรือโครงการ ที่จะเป็น ต้นแบบ ส่งให้กับคณะกรรมการคัดเลือกเหลือประมาณ 8 พื้นที่ เพื่อถอดบทเรียน สื่อสารสาธารณะ และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย ที่มี รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธาน มีการรายงานว่า ขณะนี้ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาระบบการจัดการ เฝ้าระวังและเตือนภัย สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ มีการนำโมเดลตัวอย่างของ ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัย ในประเทศต่างๆ มาศึกษาเปรียบเทียบ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพยุโรป เป็นต้น เชื่อว่า ถ้าใช้หลักวิชาการนำหน้า บวกกับการมีระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีในระยะยาว เกิดการปรับปรุง ไปสู่การผลิตที่ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งหลังจากได้แนวทางที่ชัดเจนแล้ว จะจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างต่อไป ด้านตัวแทนกระทรวงอุตสาหกรรม รายงานความก้าวหน้าของการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 อาทิ เกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรสาธารณะประโยชน์ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งอยู่ในขั้นตอน การเสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลงนาม และจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ส่วนร่าง พ.ร.บ.สารเคมี นั้น ทางศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) รายงานว่า อยู่ระหว่างดำเนินการโดย คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการสารเคมี สำหรับการจัดทำ ทำเนียบสารเคมี ยังคงดำเนินการต่อเนื่องเป็นเล่มที่ 2 พร้อมแนวคิดจัดตั้ง “องค์กรกลาง” ขึ้นมาดูแล คาดว่าจะมีงบประมาณ มารองรับการจัดตั้งได้ในปี 2561 ซึ่ง รศ.จิราพร เสนอแนะเพิ่มทางเลือกความร่วมมือ ไปสู่ภาคีเครือข่ายอื่นๆ เพื่อสนับสนุนงบประมาณ นอกเหนือจากการรองบประมาณภาครัฐเพียงอย่างเดียว คณะทำงานฯ ยังได้แลกเปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือก พื้นที่ต้นแบบ ที่มีระบบการทำเกษตรและอาหารปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร โดย สช.ประสานงานกับ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั้ง 77 จังหวัด แล้วให้เสนอพื้นที่หรือโครงการ ที่จะเป็น ต้นแบบ ส่งให้กับคณะกรรมการคัดเลือกเหลือประมาณ 8 พื้นที่ เพื่อถอดบทเรียน สื่อสารสาธารณะ และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) และเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรและเครือข่ายต่างๆ มากกว่า 40 องค์กร รู้สึกผิดหวังต่อคำแถลงและผลการพิจารณาของกรมวิชาการเกษตร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอย่างยิ่ง ที่ยื้อการเพิกถอนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอสออกไป เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2560 คณะทำงานสมัชชาสุขภาพสุรินทร์รวมพลังสนับสนุนการแบนสารพิษ พาราควอต ไกลโฟเซต คลอไพรีฟอส
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการ
รายละเอียด: 

1.1 มอบหมายกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.1.1 ทบทวนการอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในกระบวนการผลิตภาคการเกษตร โดยเฉพาะคาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น เพื่อผลักดันเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๔

1.1.2 ปรับปรุงวิธีการขึ้นทะเบียน และเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการวิชาการให้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการจากสถาบันวิชาการ ผู้แทนองค์การสาธารณะประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยใช้ข้อมูลพิษวิทยา ปัญหาสุขภาพ ปัญหาจากประเทศที่เป็นฐานการผลิต และประกาศเปิดเผยข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน

1.1.3 กำหนดหลักเกณฑ์ในการยกเลิกการใช้วัตถุอันตราย หรือการยกระดับประเภทวัตถุอันตราย โดยเร่งรัดการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีผลกระ ทบรุนแรงและหลายประเทศห้ามใช้แล้วเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ และเพิ่มรายการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรงในบัญชีเฝ้าระวัง

1.1.4 เสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย ให้ดำเนินการควบคุมการโฆษณา และการขายตรงวัตถุอันตรายทางการเกษตรอย่างเข้มงวด ตามนโยบายการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดผลกระทบทาง สุขภาพตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 และดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ให้มีบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการโฆษณาและการขายตรงวัตถุอันตรายทางการเกษตร รวมถึงการให้ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามามีส่วน ร่วมในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย

1.1.5 ให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้บริโภคเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

1.2 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนดค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด  (Maximum Residue Limit: MRL) ตามมาตรฐานสากล และส่งเสริมความรู้แก่สังคมเพื่อปกป้องสุขภาวะประชาชน

1.3 จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรฐาน แนวทาง และการดำเนินการเพื่อให้เกิดการผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก โดยมีกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันอาหาร และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมทั้งภาคประชาชน เป็นฝ่ายสนับสนุน เพื่อดำเนินการผลักดัน GAP ให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย เน้นระบบตลาดภายในประเทศ ตลาดในห้างสรรพสินค้า และตลาดส่งออก โดยมีกลไกการบริหารจัดการในแต่ละระดับเพื่อเอื้ออำนวยให้เกษตรกรได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556 กรมวิชาการเกษตรได้ประชุมหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบหมายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุอันตรายทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ การขึ้นทะเบียนและการห้ามใช้ในต่างประเทศ สารที่จะใช้ทดแทนพร้อมด้วยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษ และการจัดทาการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะกาหนดจัดในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  • เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 นายยุคล  ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมหารือเชิงบูรณาการเมื่อต้นเดือนมกราคม 2556 ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำกับดูแลสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภค ทั้งสินค้าพืชผัก สินค้าประมงและปศุสัตว์ที่วางจำหน่ายภายในประเทศให้มีความปลอดภัยและทัดเทียมสินค้าที่ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากลกำหนด และมีเปอร์เซ็นต์การตกค้างของยาและสารเคมีต้องห้ามน้อยเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตรายอื่นๆ โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการผลิต ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาหารปลอดภัยของกระทรวงเกษตรฯ ทั้ง 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อกำหนดแนวทางเชิงบูรณาการกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรมในการกำกับดูแลอาหารปลอดภัยในประเทศ
  • กรมวิชาการเกษตร ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง 4 ชนิด ในวันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ ณ ห้องประชุม 501 (ชั้น 5) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สานักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเวลา 08.30 16.00 น. สาหรับผู้ที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวนั้นจะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายทั้ง 4 ชนิดในทุกภาคส่วน จานวน 150 คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ เกษตรกร และสื่อมวลชน
  • เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการในการแก้ปัญหาสารเคมีป้องกัน-กำจัดศัตรูพืชตกค้างในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยตั้งแต่ระดับชุมชน โดยการตั้งคลินิกบริการเกษตรกรภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนหรือสถานีอนามัยที่ใกล้กับชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยเน้นการให้ความรู้กับเกษตรกรตั้งแต่เริ่มใช้สารเคมีจนถึงการป้องกัน ทั้งนี้ปัจจุบันมี 18 แห่ง 
  • เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2557 การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.)  ได้มีมติเห็นชอบให้มีการประชุมกับหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดความชัดเจนของเป้าหมาย ขอบเขตและกรอบการดำเนินงานตามมติฯ อันเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนในระยะถัดไป  โดยมอบหมายให้ คุณทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ เป็นประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกลุ่มประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค อาหาร โภชนาการ การสื่อสารและการเกษตร 
  • วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2557 ประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอฯ โดยฝ่ายเลขาฯ ได้จัดให้มีการประชุมหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความชัดเจนของเป้าหมาย ขอบเขตและกรอบการดำเนินงานตามมติฯ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน เครือข่ายเกษตรอินทรีย์  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ  กรมอนามัย  กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย กรมวิชาการเกษตร  สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ  ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี   เครือข่ายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กรมประชาสัมพันธ์  และมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา  ผลการประชุม สรุปภารกิจที่ต้องดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ 

          (1) การควบคุมสารอันตราย ด้วยการแก้ไขกระบวนการจัดการสารเคมี มาตรฐานการนำเข้า การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          (2) การสื่อสาร เน้นการชูคุณค่าเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก ส่วนเกษตรสารเคมีเป็นทางเลือกกองทุนเพื่อเยียวยาฯ  การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภค

          (3) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดนโยบายระดับจังหวัดแบบครบวงจร  การดูแล ควบคุมความปลอดภัยของอาหารตั้งแต่ต้นทางการผลิต (วัตถุดิบ) กระบวนการผลิต และการบริโภค

          (4) สนับสนุนการถอดบทเรียน และการจัดการความรู้

          (5) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาคธุรกิจ และเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และชุมชน

  • วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2557 ประชุมผู้เกี่ยวข้องกับมติ 5.5 ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยมีข้อสรุปจากการประชุมได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การทบทวนและปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535  กลุ่มที่ 2 อาหารปลอดภัย  และกลุ่มที่ 3 เกษตรอินทรีย์ ซึ่งกำหนดดำเนินการใน 2 กลุ่มแรกก่อน
  • วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2557 ประชุมผู้เกี่ยวข้องฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

          กลุ่มที่ 1 การทบทวนและปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535  มี รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธาน  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) สำนักกฎหมาย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) กรมควบคุมมลพิษ กรมวิชาการเกษตร  เครือข่ายเกษตรอินทรีย์  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)  บริษัทบีเอเอสเอฟ (ไทย) จำกัด เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ในการหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายต่อไป

          กลุ่มที่ 2 อาหารปลอดภัย มี คุณทิพย์รัตน์ นพลดารมย์เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สมาคมตลาดสดไทย มูลนิธิชีววิถี คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง(ประเทศไทย)จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อน มาตรฐาน แนวทางและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกำหนดให้มีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ในเรื่อง การเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  และ รูปแบบการจัดการประสานความร่วมมือจัดทำระบบรับรองให้อาหารปลอดภัย โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย จนถึงระดับชุมชนที่มีกระบวนการจัดทำระบบรับรองให้อาหารปลอดภัย

  • วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ได้มีการประชุมติดตามความก้าวหน้าการปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาปรับปรุงเป็นรายข้อ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ (สาระประกอบด้วย 1) ให้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕  ครอบคลุมสารเคมีทั้งหมดในประเทศ  2)  คณะกรรมการวัตถุอันตราย

         1)  องค์ประกอบ

             -   ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ด้าน คือ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพอนามัย เกษตรยั่งยืน   การจัดการปัญหาวัตถุอันตราย และการจัดการด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยด้านละ 1 คน   รวม 5 คน 

        2) นิยามขององค์กรสาธารณประโยชน์

            -  ระบุให้ชัดเจนว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับในเรื่องของธุรกิจสารเคมี 

        3) ระบบการขึ้นทะเบียน/การเพิกถอนทะเบียนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร  ให้มีส่วนร่วมจากภาคประชาชนครอบคลุม ครบถ้วน 

        4) การโฆษณา และส่งเสริมการขายสารเคมีทางการเกษตร 

            - การโฆษณา โดยควบคุมการโฆษณาในทุกสื่อ และเป็นระดับที่มีประสิทธิภาพที่จะควบคุม   การโฆษณา หรือมีกลไกการปรับใช้กติกาสากลของ FAO Code of conduct 

            - ส่งเสริมการขาย ห้ามมิให้มีการส่งเสริมการขายสารเคมีเกษตรหรือมีกลไกการปรับใช้ กติกาสากลของ FAO Code of conduct

       5) การควบคุมการจำหน่าย (รวมถึงการขายตรง เช่น รถเร่ขายเคลื่อนที่ และการขายทั้งมี และไม่ มีใบอนุญาต) ควรมีมาตรการที่เข้มงวดในขณะเดียวกันควรส่งเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรรู้เท่าทัน และมีระบบเฝ้าระวัง

       6) บทลงโทษตามข้อ 4, 5   ต้องรุนแรงพอที่จะปรามการกระทำได้

       7) การนำผ่านสารเคมี

          - ทำคำนิยามให้ชัดเจน

          - ต้องมีการแจ้งและในการนำผ่านต้องขนส่งทั้งจำนวน

          - ควรมีระยะเวลากำหนดที่ไม่ยาว เช่น ไม่เกิน 7 วัน หรือเท่าที่จำเป็น

  • เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้แทนจาก ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) สำนักกฎหมาย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) กรมควบคุมมลพิษ  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร) สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน  สมาคมอารักขาพืชไทย  เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็นและกลไกการขับเคลื่อนปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ จำนวน ๗ ประเด็น โดย มติที่ประชุม เห็นชอบ 

         1. สรุปข้อเสนอแนะจากที่ประชุมในการพิจารณาประเด็นและกลไกการขับเคลื่อนปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย  พ.ศ. 2535  โดยได้พิจารณาแล้ว จำนวน 3 ประเด็นดังนี้

            1.1 ให้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ ครอบคลุมสารเคมีทั้งหมดในประเทศ และที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้ครอบคลุมสารเคมีทั้งหมดที่นำเข้าและผลิตในประเทศไทย

            1.2 คณะกรรมการวัตถุอันตราย

                 (1) องค์ประกอบ

                     - ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ด้าน คือ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพอนามัย เกษตรยั่งยืนการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายและการจัดการด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยด้านละ 1 คน รวม 5 คน

                (2) นิยามขององค์กรสาธารณประโยชน์

                      - ระบุให้ชัดเจนว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับในเรื่องของธุรกิจสารเคมี

                (3) ระบบการขึ้นทะเบียน/การเพิกถอนทะเบียน ให้เป็นระบบที่โปร่งใสตรวจสอบได้ โดยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนครอบคลุมครบถ้วน

          2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำหนังสือขอความอนุเคราะห์ ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไข) ไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการประชุมครั้งถัดไป เพื่อนำมาพิจารณาในกรอบการดำเนินงานของกฎหมายให้สอดคล้องกับการทำงานของคณะทำงานที่กำลังดำเนินการอยู่

          3. เจ้าภาพหลักในการดำเนินการจัดทำร่างกฎหมาย โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และหลังจากที่ได้ข้อเสนอจากการพิจารณาประชุมติดตามความก้าวหน้าการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ ของภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจะเสนอเข้าคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาการยกร่าง และปรับปรุง กฎหมาย และการเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อไป

  • เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 คณะทำงานคณะทำงานอาหารปลอดภัย โดยมีคุณทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ เป็นประธาน ได้จัดการประชุมโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจาก สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย(ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กรมวิชาการเกษตร  สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมตลาดสดไทย มูลนิธิชีววิถี เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด  สมาคมไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืช เครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดกาญจนบุรี เครือข่ายเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทยจังหวัดยโสธร เครือข่ายทาญาติเกษตรมืออาชีพ คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาประเด็นการเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รูปแบบการจัดการประสานความร่วมมือในการผลักดันระบบอาหารปลอดภัย โดยการมีส่วนของทุกฝ่าย จนถึงระดับชุมชนที่มีกระบวนการจัดทำระบบรับรองให้ อาหารปลอดภัย  มติที่ประชุมเห็นชอบ มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยทางอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร และจัดทำระบบการแจ้งเตือนผลการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสาธารณะ โดยจะหารืออีกครั้งในการจัดทำแผนปฏิบัติร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพในการขับเคลื่อนต่อไป
  • เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2557  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)   กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็นปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (ต่อเนื่อง)   และข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ตัวอย่างการดำเนินการของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974    วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงแนวทางการให้มีพระราชบัญญัติสารเคมีการเกษตร โดยมติที่ประชุม เห็นชอบการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535  ดังนี้ 
  1. มาตรา 4 ให้เพิ่มคำนิยาม ดังนี้ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย นำผ่าน องค์การสาธารณประโยชน์  โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ  ไปศึกษาข้อมูลของ พระราชบัญญัติอื่นๆ   เปรียบเทียบว่าแต่ละกฎหมายเขียนอย่างไร
  2. หมวด 1 คณะกรรมการวัตถุอันตราย มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการวัตถุอันตราย “อย่างน้อยห้าคน ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนขององค์การสาธารณประโยชน์” ให้แต่ละหน่วยงานกลับไปหาข้อมูลมาสนับสนุนว่าจะส่วนประกอบของตัวแทนจะเป็นอย่างไร
  3. หมวด 2 การควบคุมวัตถุอันตราย  มาตรา 20 ให้รัฐมนตรีรับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยใน วงเล็บข้อ 4 กำหนดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้เพิ่มเนื้อหาดังนี้ และการประเมินความเป็นอันตราย จึงสรุปว่าข้อความวงเล็บข้อ 4  กำหนดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและการประเมินความเป็นอันตราย
  4. ให้มีการพิจารณาข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ตัวอย่างการ ดำเนินการ ของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974
  5. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปพิจารณาสิ่งที่ต้องการแก้ไขในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535  และนำกลับมาพิจารณาต่ออีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไป วันพุธที่ 21 มกราคม 2558
  • เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558   มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)   กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็นปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (ต่อเนื่อง)   และข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ตัวอย่างการดำเนินการของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974    วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงแนวทางการให้มีพระราชบัญญัติสารเคมีการเกษตร ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535  ดังนี้

          1)    ให้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535  ตามมติที่ประชุมที่ได้มีการแก้ไข ดังนี้

             1.1  มาตรา 4  ให้เพิ่มคำนิยาม ดังนี้ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย นำผ่าน องค์การสาธารณประโยชน์ 

            “โฆษณา” หมายความว่า  การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า   และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด

             “ขาย”  หมายความว่า  จำหน่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า

             “การสื่อสารการตลาด”  หมายความว่า  การกระทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายสินค้า บริการหรือภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสาร การส่งเสริมการขาย  การแสดงสินค้า การจัดหรือสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษ   และการตลาดแบบตรง

                หมายเหตุ มีข้อสังเกต ในเรื่องการส่งเสริมการขาย ให้หมายรวมถึงการลด แลก แจก แถม

                 “นำผ่าน” หมายความว่า  นำหรือส่งวัตถุอันตรายผ่านราชอาณาจักรไม่ว่าจะมีการขนถ่ายหรือเปลี่ยนยานพาหนะหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีการใช้ประโยชน์ภายในราชอาณาจักร

               หมายเหตุ :  ให้รวมถึงการขนส่งในทุกช่องทาง ไม่ว่า ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

               “องค์การสาธารณประโยชน์”   หมายความว่า  เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่มุ่งแสวงหากำไรและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจวัตถุอันตรายโดยตรง

             1.2  มาตรา 51 การควบคุมการโฆษณาวัตถุอันตรายให้รัฐมนตรีกระทรวงที่รับผิดชอบออกประกาศเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมและแจ้งให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายทราบ โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ยกร่างบทลงโทษมาพิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป                               

          2)  ให้ดำเนินการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่อง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิองค์การสาธารณประโยชน์ มาจากกระบวนการด้วยกัน 3 วิธี คือ 1) วิธีการแต่งตั้งกรรมการ 2) วิธีการสรรหากรรมการขึ้นมา 3) วิธีการคัดเลือกกันเอง            

         3)   ให้ดำเนินการยกร่างกำหนดบทลงโทษให้สอดคล้องกับการแก้ไขมาตรา 51 และนำกลับมาพิจารณาต่ออีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไป วันจันทร์ที่  2  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

  • เมื่อวันที่  2 กุมภาพันธ์ 2558 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็น ปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535  และข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ตัวอย่างการดำเนินการของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974 วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงแนวทางการให้มีพระราชบัญญัติสารเคมีการเกษตร โดยมติที่ประชุมเห็นชอบการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ดังนี้

            1)  ให้ดำเนินการสรุปข้อเสนอจากการพิจารณาการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535  ตามมติที่ประชุมที่ได้มีการแก้ไขแล้วดำเนินการเสนอ คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.)  เสนอเข้าคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)  เพื่อเสนอต่อไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการพิจารณายกร่างและปรับปรุงกฎหมาย และการเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อไป

            2)   ในการดำเนินงานระยะต่อไปจัดทำข้อเสนอแนวทางการมีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งนำมาพิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2558 

  • เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย(ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร) กระทรวงสาธารณสุข  คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนสารเคมีฆ่าแมลงเพื่อทำให้เกิดอาหารปลอดภัยทั้งห่วงโซ่อาหาร มติที่ประชุม  โดยสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัยรับเป็นเจ้าภาพในการจัดทำแผนการขับเคลื่อน อาหารปลอดภัยระดับประเทศ ซึ่งมีโครงการพัฒนาระบบการส่งเสริม สนับสนุน การสื่อสาร และบูรณาการอาหารปลอดภัยกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่ายของประเทศ ปี 2558 และ 2559 และจะนัดหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • เมื่อวันที่  16 มีนาคม 2558 จากการดำเนินการจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕  แล้วเสร็จซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานระยะสั้นในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยแผนระยะยาว ให้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือการจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไปแล้ว จึงได้จัดการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)   กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้มีการพิจารณาข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชครั้งถัดไป   และมอบฝ่ายเลขาฯดำเนินการ ดังนี้

             1)  จัดทำการเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยกับต่างประเทศ

             2)  ยกร่างกรอบประเด็นในการพิจารณายกร่างกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

             3)  ให้ดำเนินการเชิญนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อมาร่วมพิจารณากรอบประเด็น  ได้แก่ รศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร  ดร.รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล และ ดร.ศราภา  ศมทรินทร์

  • เมื่อวันที่  28 เมษายน 2558 ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเรื่อง การจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานจัดทำร่างพระราชบัญญัติควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนี้

            1)  การหาเจ้าภาพหลักในการดำเนินการจัดทำร่างกฎหมาย  หลังจากได้ร่างกฎหมายแล้วเตรียมการเข้าพบปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อหารือแนวทางการจัดทำกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

            2)   การจัดเวทีวิชาการรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการร่างกฎหมาย 

            3)  การจัดเวทีรับฟัง 4 ภาค

            4)  การยกร่างและปรับปรุงกฎหมาย

            5)  การเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

  • เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 กรมวิชาการเกษตร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แถลงแนวทางการดำเนินการพิจารณาจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตามที่มีข้อเสนอของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 5 เม.ย. เสนอให้พิจารณาลด ละ เลิกใช้ วัตถุอันตรายเนื่องจากมีข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยเสนอให้ ห้ามใช้วัตถุอันตราย พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ภายในต้นเดือนธันวาคม 2562 และ จำกัดการใช้ ไกลโฟเซต อย่างเข้มงวด ซึ่งภายหลังที่กรมจัดประชุมรวบรวมและรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องรอบด้าน  โดยอิงข้อมูลวิชาการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ได้จำกัดการใช้สารไกลโฟเซตตามข้อเสนอ  ส่วนอีก 2 ชนิดส่งเรื่องหารือคณะกรรมการวัตถุอันตราย
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ดำเนินการปรับปรุงประกาศกฎเกณฑ์การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย โดยให้องค์กรสาธารณะประโยชน์ เป็นผู้คัดเลือกตัวแทนของตนแต่ละสาขาเพื่อให้ได้ตัวแทนที่แท้จริงตามเจตนารมณ์
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ตัวแทนภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้สารเคมีเกษตรอันตราย เรียกร้องให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งออกประกาศ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศแบนสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพทั้ง 4 ชนิด
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นศูนย์กลางในการจัดการข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยทางอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร และจัดทำระบบการแจ้งเตือนผลการตรวจสอบ การปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงการคลังจัดตั้งกองทุนเพื่อนำมาใช้ในการเยียวยา ชดเชยผลกระทบทางสุขภาพและเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และให้สนับสนุนการผลิตที่ปลอดภัยตาม GAP และระบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่นำเข้า ผลิต และจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการศึกษาวิจัย และขับเคลื่อนแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP, ThaiGAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และเป็นศูนย์กลางการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์ของภูมิภาคเพื่อเสนอต่อรัฐบาลภายใน 1 ปี
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6
เอกสารหลัก: