You are here


การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอ...
สมัชชาครั้งที่: 
5
มติที่: 
8
ชื่อมติ: 
การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร
ผลการปฏิบัติงาน: 
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ประชุมมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 และมอบหมายให้ 1) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป  และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่ามติใดสมควรเสนอให้ คสช. พิจารณา ให้เสนอ คสช. พิจารณาต่อไป เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 ที่ประชุม คมส.ได้มีมติเห็นชอบให้มีการประชุมกับหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดความชัดเจนของเป้าหมาย ขอบเขตและกรอบการดำเนินงานตามมติฯ โดยมอบหมายให้ คุณทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ เป็นประธานคณะทำงาน เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 จัดประชุมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดความชัดเจนของเป้าหมาย ขอบเขตและกรอบการดำเนินงานตามมติฯ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 ประชุมผู้เกี่ยวข้องกับมติ 5.5 ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ข้อสรุปจากการประชุมแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การทบทวนและปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535  กลุ่มที่ 2 อาหารปลอดภัย  และกลุ่มที่ 3 เกษตรอินทรีย์ ซึ่งกำหนดดำเนินการใน ๒ กลุ่มแรกก่อน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 ประชุมผู้เกี่ยวข้องฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การทบทวนและปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ2535  มี รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธาน กำหนดติดตามความก้าวหน้าการปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กลุ่มที่ 2 อาหารปลอดภัย มี คุณทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตรายพ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ประชุมหารือ กลุ่มที่ 2 อาหารปลอดภัย มติที่ประชุมเห็นร่วมกัน สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สธ.) รับเป็นเจ้าไปจัดทำแผนขับเคลื่อนประเด็นอาหารปลอด โดยบูรณการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ในการประชุม “ผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อมูลจังหวัด ที่เสนอเข้าร่วม การคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบการจัดการระบบเกษตรและระบบอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตร ภายใต้ คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย ที่มี รศ.ภก.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธานฯ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ รองเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา “กฤษฎา บุญชัย” รับผิดชอบในการ ถอดบทเรียน พื้นที่ต้นแบบระบบเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอนาคต
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ หน่วยงานที่กำกับดูแล และหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร กำหนดให้มีนโยบายและแผนดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้
รายละเอียด: 

1.1 เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการในการตรวจสอบกำกับดูแล โดยการพัฒนาระบบการตรวจสอบกำกับดูแล เพิ่มจุดตรวจสอบอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารที่ผลิตและนำเข้า และเพิ่มความถี่และความครอบคลุมใน การตรวจสอบให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงตลอดห่วงโซ่อาหารในสินค้านั้น

1.2 เพิ่มการลงทุนและสนับสนุนขีดความสามารถของบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญร่วมถึงการพัฒนาทักษะทางภาษา เพิ่มสมรรถนะห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัยอย่างเพียงพอและกระจายทั่วถึง

1.3 ในการตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร ให้คำนึงถึงการจัดให้มีผู้แทนภาคประชาสังคมที่เป็นองค์กรผู้บริโภค ผู้แทนชุมชน  นักวิชาการ และ ผู้แทนจากภาคเอกชน ร่วมเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้การคัดเลือกทุกภาคส่วน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

1.4 พัฒนาระบบการวิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านความปลอดภัยอาหาร คุณภาพและมาตรฐานของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับสากล

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • จากมติที่ประชุมให้มีการจัดตั้งกลไกคณะทำงานในการจัดทำข้อเสนอแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว จึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจัดทำข้อเสนอแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 โดยมี รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธาน ซึ่งได้จัดการประชุมไปแล้ว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2557 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) สำนักกฎหมาย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) กรมควบคุมมลพิษ กรมวิชาการเกษตร  เครือข่ายเกษตรอินทรีย์  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)  บริษัทบีเอเอสเอฟ (ไทย) จำกัด เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรึกษาหารือกับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ในการหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายต่อไป  มติที่ประชุม  เห็นชอบ หลักการ คือ ประเด็นห่วงใยไม่ได้หมายถึงเฉพาะการแก้ไขพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย แต่รวมถึงเช่น เรื่องกฎกระทรวง ฯลฯ  และ เห็นชอบ ประเด็นการขับเคลื่อนปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จำนวน 7 ประเด็น ดังนี้  

            1) ให้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ครอบคลุมสารเคมีทั้งหมดในประเทศ

            2) คณะกรรมการวัตถุอันตราย

                        2.1) องค์ประกอบ

- ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ด้าน คือ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองสุขภาพ อนามัย การเกษตร ยั่งยืน  การจัดการปัญหา วัตถุอันตราย และการจัดการด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยด้านละ 1 คน รวม 5 คน

                        2.2)  นิยามขององค์กรสาธารณประโยชน์

                               - ระบุให้ชัดเจนว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับในเรื่องของธุรกิจสารเคมี

            3) ระบบการขึ้นทะเบียน/การเพิกถอนทะเบียน ให้เป็นระบบที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนครอบคลุม ครบถ้วน

            4) การโฆษณา และส่งเสริมการขาย

                 - การโฆษณา โดยควบคุมการโฆษณาในทุกสื่อ และเป็นระดับที่มีประสิทธิภาพที่จะควบคุมการโฆษณาหรือมีกลไกการปรับใช้กติกาสากลของ FAO Code of conduct   

                 - ส่งเสริมการขาย ห้ามมิให้มีการส่งเสริมการขายสารเคมีเกษตรหรือมีกลไกการปรับใช้กติกาสากลของ  FAO Code of conduct   

            5) การควบคุมการจำหน่าย (รวมถึงการขายตรง เช่น รถเร่ขายเคลื่อนที่ และการขายทั้งมีและไม่มีใบอนุญาต) ควรมีมาตรการที่เข้มงวด  ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรรู้เท่าทันและมีระบบเฝ้าระวัง

            6) บทลงโทษตามข้อ 4 , 5   ต้องรุนแรงพอที่จะปรามการกระทำได้

            7) การนำผ่านสารเคมี

                - ทำคำนิยามให้ชัดเจน

               - ต้องมีการแจ้งและในการนำผ่านต้องขนส่งทั้งจำนวน

                - ควรมีระยะเวลากำหนดที่ไม่ยาว เช่น ไม่เกิน ๗ วัน หรือเท่าที่จำเป็น

            จังหวะก้าวในการดำเนินการต่อไป เพื่อให้การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 มติ 5 ความปลอดภัยทางอาหาร: การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ มติ 5.8 การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร ในการแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเสนอขั้นตอนการดำเนินการต่อไปดังนี้

            1)  การหาเจ้าภาพหลักในการดำเนินการแก้ไข  กฎกระทรวง  ประกาศ รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ

            2) การจัดเวทีวิชาการรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการร่างกฎหมาย 

            3) การยกร่าง และปรับปรุง กฎหมาย

            4)  การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น

            5)  การเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจาก ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) สำนักกฎหมาย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร) สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน  สมาคมอารักขาพืชไทย  เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็นและกลไกการขับเคลื่อนปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จำนวน 7 ประเด็น โดย มติที่ประชุม เห็นชอบ

    1) สรุปข้อเสนอแนะจากที่ประชุมในการพิจารณาประเด็นและกลไกการขับเคลื่อนปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย  พ.ศ. 2535  โดยได้พิจารณาแล้ว จำนวน 3 ประเด็นดังนี้           

       1.1) ให้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ครอบคลุมสารเคมีทั้งหมดในประเทศ

สรุปข้อเสนอแนะจากที่ประชุม        

             -  ให้ครอบคลุมสารเคมีทั้งหมดที่นำเข้ามา และผลิตในประเทศไ

       1.2) คณะกรรมการวัตถุอันตราย

             (1)องค์ประกอบ

             - ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ด้าน คือ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพอนามัย เกษตรยั่งยืนการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายและการจัดการด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยด้านละ 1 คน รวม 5 คน

             (2) นิยามขององค์กรสาธารณประโยชน์

             - ระบุให้ชัดเจนว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับในเรื่องของธุรกิจสารเคมี

            สรุปข้อเสนอแนะจากที่ประชุม    

            - เสนอให้มีการตัดผู้แทนสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติออกไม่ให้เป็นผู้ช่วยเลขาฯ แต่เป็นคณะกรรมการได้ เนื่องจากผู้แทนดังกล่าวไม่ได้ใช้กฎหมายนี้โดยตรง

            - เสนอนิยามองค์กรสาธารณประโยชน์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเป็นสมาคมหรือมูลนิธิ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานด้านสาธารณประโยชน์โดยไม่แสวงหากำไร

            - นิยามองค์กรสาธารณประโยชน์ในประกาศของกระทรวงการคลังและจำกัดเฉพาะสมาคมและมูลนิธิ โดยสามารถนำมาอ้างอิง  

            (3) ระบบการขึ้นทะเบียน/การเพิกถอนทะเบียน ให้เป็นระบบที่โปร่งใสตรวจสอบได้ โดยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนครอบคลุมครบถ้วน

            สรุปข้อเสนอแนะจากที่ประชุม    

            - เสนอให้ปรับประเด็นหัวข้อ (3) ได้แก่ ระบบการขึ้นทะเบียน/การเพิกถอนทะเบียนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรให้มีส่วนร่วมจากภาคประชาชนครอบคลุม ครบถ้วน

            - ในขั้นตอนการออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ ควรพิจารณาการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการให้ข้อเสนอแนะ โดยจัดให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกำหนดขั้นตอนและวิธีการว่าด้วยการนั้น   ในขณะเดียวกันให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการนำเสนอทบทวนบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย

            เหลืออีก 4 ประเด็นจะนำมาพิจารณาอีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไป ได้แก่  1) การโฆษณาและส่งเสริมการขาย   2) การควบคุมการจำหน่าย   3) บทลงโทษตามข้อ 4 , 5 ต้องรุนแรงพอที่จะปรามการกระทำได้   4) การนำผ่านสารเคมี

            2) มอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำหนังสือขอความอนุเคราะห์ ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 (ฉบับแก้ไข) ไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการประชุมครั้งถัดไป เพื่อนำมาพิจารณาในกรอบการดำเนินงานของกฎหมายให้สอดคล้องกับการทำงานของคณะทำงานที่กำลังดำเนินการอยู่

            3) เจ้าภาพหลักในการดำเนินการจัดทำร่างกฎหมาย โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และหลังจากที่ได้ข้อเสนอจากการพิจารณาประชุมติดตามความก้าวหน้าการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ของภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจะเสนอเข้าคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาการยกร่าง และปรับปรุง กฎหมาย และการเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อไป  

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2557  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็นปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (ต่อเนื่อง) และข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ตัวอย่างการดำเนินการของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974    วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงแนวทางการให้มีพระราชบัญญัติสารเคมีการเกษตร โดยมติที่ประชุม เห็นชอบการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕  ดังนี้

            1) มาตรา 4 ให้เพิ่มคำนิยาม ดังนี้ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย นำผ่าน องค์การสาธารณประโยชน์  โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ไปศึกษาข้อมูลของ พระราชบัญญัติอื่นๆ เปรียบเทียบว่าแต่ละกฎหมายเขียนอย่างไร

            2) หมวด 1 คณะกรรมการวัตถุอันตราย มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการวัตถุอันตราย “อย่างน้อยห้าคน ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนขององค์การสาธารณประโยชน์” ให้แต่ละหน่วยงานกลับไปหาข้อมูลมาสนับสนุนว่าจะส่วนประกอบของตัวแทนจะเป็นอย่างไร

            3)  หมวด 2 การควบคุมวัตถุอันตราย  มาตรา 20 ให้รัฐมนตรีรับผิดชอบโดยความเห็นของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยใน วงเล็บข้อ 4 กำหนดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้เพิ่มเนื้อหาดังนี้ และการประเมินความเป็นอันตราย จึงสรุปว่าข้อความวงเล็บข้อ 4 กำหนดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและการประเมินความเป็นอันตราย

            4) ให้มีการพิจารณาข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ตัวอย่างการ ดำเนินการ ของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974

            5) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปพิจารณาสิ่งที่ต้องการแก้ไขในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และนำกลับมาพิจารณาต่ออีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไป วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.258 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)   กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็นปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (ต่อเนื่อง)   และข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ตัวอย่างการดำเนินการของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974  วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงแนวทางการให้มีพระราชบัญญัติสารเคมีการเกษตร ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕  ดังนี้

            1)    ให้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕  ตามมติที่ประชุมที่ได้มีการแก้ไข ดังนี้

                   1.1  มาตรา 4  ให้เพิ่มคำนิยาม ดังนี้ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย นำผ่าน องค์การสาธารณประโยชน์ 

                        “โฆษณา” หมายความว่า  การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า   และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด

                        “ขาย”  หมายความว่า  จำหน่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า

                        “การสื่อสารการตลาด”  หมายความว่า  การกระทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายสินค้า บริการหรือภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสาร การส่งเสริมการขาย  การแสดงสินค้า การจัดหรือสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษ   และการตลาดแบบตรง

                        หมายเหตุ มีข้อสังเกต ในเรื่องการส่งเสริมการขาย ให้หมายรวมถึงการลด แลก แจก แถม

                        “นำผ่าน” หมายความว่า  นำหรือส่งวัตถุอันตรายผ่านราชอาณาจักรไม่ว่าจะมีการขนถ่ายหรือเปลี่ยนยานพาหนะหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีการใช้ประโยชน์ภายในราชอาณาจักร

                        หมายเหตุ :  ให้รวมถึงการขนส่งในทุกช่องทาง ไม่ว่า ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

                        “องค์การสาธารณประโยชน์”   หมายความว่า  เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่มุ่งแสวงหากำไรและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจวัตถุอันตรายโดยตรง

                     1.2  มาตรา 51  การควบคุมการโฆษณาวัตถุอันตรายให้รัฐมนตรีกระทรวงที่รับผิดชอบออกประกาศเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมและแจ้งให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายทราบ โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ยกร่างบทลงโทษมาพิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป  2)    ให้ดำเนินการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่อง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิองค์การสาธารณประโยชน์ มาจากกระบวนการด้วยกัน 3 วิธี คือ 1) วิธีการแต่งตั้งกรรมการ 2) วิธีการสรรหากรรมการขึ้นมา 3) วิธีการคัดเลือกกันเอง  3)   ให้ดำเนินการยกร่างกำหนดบทลงโทษให้สอดคล้องกับการแก้ไขมาตรา 51 และนำกลับมาพิจารณาต่ออีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไป วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

ครั้งที่ 5  เมื่อวันที่ 2  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2558   มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)   กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาประเด็น ปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535  และข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ตัวอย่างการดำเนินการของประเทศมาเลเซียที่มีกฎหมายที่ชื่อว่า The Pesticide Act 1974   วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงแนวทางการให้มีพระราชบัญญัติสารเคมีการเกษตร โดยมติที่ประชุม เห็นชอบการปรับปรุงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535  ดังนี้

            1)  ให้ดำเนินการสรุปข้อเสนอจากการพิจารณาการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ตามมติที่ประชุมที่ได้มีการแก้ไข (เอกสารแนบ 1) แล้วดำเนินการเสนอ คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.)  เสนอเข้าคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)  เพื่อเสนอต่อไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการพิจารณายกร่างและปรับปรุงกฎหมาย และการเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อไป

            2)   ในการดำเนินงานระยะต่อไปจัดทำข้อเสนอแนวทางการมีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช   ซึ่งนำมาพิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2558

          - จากการดำเนินการจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535  แล้วเสร็จซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานระยะสั้นในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  โดยแผนระยะยาว ให้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือการจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไปแล้ว เมื่อวันจันทร์ที่  16  มีนาคม พ.ศ.2558  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)   กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร   สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้มีการพิจารณาข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชครั้งถัดไป   และมอบฝ่ายเลขาฯดำเนินการ ดังนี้

            1)  จัดทำการเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยกับต่างประเทศ

            2)  ยกร่างกรอบประเด็นในการพิจารณายกร่างกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

            3)  ให้ดำเนินการเชิญนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อมาร่วมพิจารณากรอบประเด็น  ได้แก่ รศ.ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร  ดร.รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล และ ดร.ศราภา  ศมทรินทร์

            4)  นัดหมายประชุมครั้งต่อไปประชุมปรึกษาหารือเรื่อง การจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2  ในวันอังคารที่  28 เมษายน พ.ศ. 2558

  • ประชุมปรึกษาหารือเรื่อง การจัดทำข้อเสนอต่อการให้มีกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2  ในวันอังคารที่  28 เมษายน พ.ศ. 2558 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี (IPCS) สำนักควบคุมวัตถุอันตราย (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมควบคุมมลพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร  สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานจัดทำร่างพระราชบัญญัติควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนี้

            1)  การหาเจ้าภาพหลักในการดำเนินการจัดทำร่างกฎหมาย  หลังจากได้ร่างกฎหมายแล้วเตรียมการเข้าพบปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อหารือแนวทางการจัดทำกฎหมายควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

            2)   การจัดเวทีวิชาการรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการร่างกฎหมาย 

            3)  การจัดเวทีรับฟัง 4 ภาค

            4)  การยกร่างและปรับปรุงกฎหมาย

            5)  การเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

  • จากมติที่ประชุมให้มีการจัดตั้งกลไกคณะทำงานคณะทำงานอาหารปลอดภัย  เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว จึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน มาตรฐาน แนวทางและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยมีคุณทิพย์รัตน์ นพลดารมย์ เป็นประธาน ซึ่งได้จัดการประชุมไปแล้ว จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

          ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2557 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจาก สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สมาคมตลาดสดไทย มูลนิธิชีววิถี เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง(ประเทศไทย)จำกัด  มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อน มาตรฐาน แนวทางและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัด ตลอดกระบวนการทั้งห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 

           มติที่ประชุม เห็นชอบ ให้มีการพิจารณาประเด็นทิศทางการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ใน  2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรกการเฝ้าระวังสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในพืชผักและผลไม้  และประเด็นที่สองรูปแบบการจัดการประสานความร่วมมือในการผลักดันระบบอาหารปลอดภัย โดย การมีส่วนของทุกฝ่าย จนถึงระดับชุมชนที่มีกระบวนการจัดทำระบบรับรองให้อาหารปลอดภัย

          ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจาก สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย(ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กรมวิชาการเกษตร  สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร 3 สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมตลาดสดไทย มูลนิธิชีววิถี เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด  สมาคมไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืช เครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดกาญจนบุรี เครือข่ายเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทยจังหวัดยโสธร เครือข่ายทาญาติเกษตรมืออาชีพ  คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาประเด็นการเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รูปแบบการจัดการประสานความร่วมมือในการผลักดันระบบอาหารปลอดภัย โดยการมีส่วนของทุกฝ่าย จนถึงระดับชุมชนที่มีกระบวนการจัดทำระบบรับรองให้ อาหารปลอดภัย 

           มติที่ประชุม  เห็นชอบ มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยทางอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร และจัดทำระบบการแจ้งเตือนผลการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสาธารณะ โดยจะหารืออีกครั้งในการจัดทำแผนปฏิบัติร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพในการขับเคลื่อนต่อไป

           ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย(ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร) กระทรวงสาธารณสุข  คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนสารเคมีฆ่าแมลงเพื่อทำให้เกิดอาหารปลอดภัยทั้งห่วงโซ่อาหาร

          มติที่ประชุม  โดยสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัยรับเป็นเจ้าภาพในการจัดทำแผนการขับเคลื่อน อาหารปลอดภัยระดับประเทศ ซึ่งมีโครงการพัฒนาระบบการส่งเสริม สนับสนุน การสื่อสาร และบูรณาการอาหารปลอดภัยกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่ายของประเทศ ปี 2558 และ 2559   และจะนัดหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานที่ตรวจสอบ กำกับดูแลการผลิต นำเข้าอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร รวมถึงผู้ผลิตอาหารและสินค้าฯดังกล่าวให้ความสำคัญกับระบบการประกันคุณภาพตามมาตรฐานที่เหมาะสม ได้แก่ หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หลักการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รวมถึง ระบบการตรวจสอบสินค้าหรือใบรับรองจากแหล่งผลิตต้นทางในประเทศที่ผลิต และกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 นายวิมล  จันทรโรทัย โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และแข่งขันได้ของสินค้าเกษตรของไทย ซึ่งนอกจากกระทรวงเกษตรฯ จะได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรและปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างเข้มงวด ทั้งยังมีนโยบายเพิ่มศักยภาพในด้านการค้า และเคลื่อนย้ายสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ และแก้ไขปัญหาภาคเกษตรและความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ทันเหตุการณ์ ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล และส่งผลสัมฤทธิ์สู่เกษตรกรในทุกพื้นที่ได้มากขึ้นแล้ว  เพื่อให้ตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าว  คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายด้านการเกษตร และระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้มอบหมายสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดประชุมสัมมนา เรื่อง การบังคับใช้กฎหมายด้านการเกษตรและระบบตรวจสอบคุณภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพด่านตรวจสินค้าเกษตรในการนำเข้า-ส่งออกรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี (AEC) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกว่า 300  คน รับทราบนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย และได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านการเกษตร รวมถึงสถานการณ์การจับกุมและดำเนินคดี และการเร่งรัดตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตร ทั้งสินค้าพืช ปศุสัตว์ ประมง และปัจจัยการผลิตเป็นไปตามระบบมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการผลิตสินค้าเกษตรของไทย  ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับมาตรการทางสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชก่อนการนำเข้าและส่งออก ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าในกลุ่มประชาคมอาเซียน และช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับต่างประเทศได้
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนากลไกเพื่อบูรณาการข้อมูลความปลอดภัยด้านอาหาร ให้เป็นเอกภาพ ทันต่อสถานการณ์ เข้าถึงได้ง่าย และต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลความปลอดภัยของอาหารในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อการเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่อสาธารณะ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เช่น ความรู้เกี่ยวกับฉลากอาหาร เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และบริโภคได้อย่างปลอดภัย
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)ในฐานะเลขานุการของด้านการจัดทำมาตรฐาน ร่วมกับทางอาเซียน ได้พยายามจัดทำมาตรฐานของอาเซียนขึ้นมาเช่นมาตรฐานของด้านพืชสวน หรือด้านความปลอดภัยได้ทำ asean MRL ซึ่งตอนนี้กำหนดค่าประมาณ 800 กว่าค่าแล้ว นอกจากนี้ มกอช.ในฐานะได้ถูกมอบหมายให้ทำ asean food setting network ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งทางเว็บไซต์ ที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้หรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวกับด้านอาหารในอาเซียนขึ้น ได้เริ่มดำเนินงานประมาณ ๓ ปีที่แล้วเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
  • เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า  กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดูแลสุขภาพประชาชนทุกวัย ทุกอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรมีปัญหาที่น่าห่วงที่สุด จากความเสี่ยงใช้วัตถุเคมีทางการเกษตรในการเพิ่มผลผลิตหรือกำจัดศัตรูพืช สอดคล้องข้อมูลล่าสุดในปี 2555 ไทยนำเข้าสารเคมีเหล่านี้ 134 ล้านกว่ากิโลกรัม สารเคมีที่นำเข้ามากที่สุดคือ สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดแมลง สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ซึ่งในปี 2558 นี้ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการป้องกันผลกระทบสุขภาพเกษตรกรทั่วประเทศ ได้มอบสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค เฝ้าระวังตรวจคัดกรองสุขภาพเกษตรกรที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช หากพบว่าผิดปกติ รีบให้คำแนะนำการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยทันท่วงที ไม่ต้องรอให้มีอาการป่วยก่อน พร้อมตั้ง “คลินิกสุขภาพเกษตรกร” ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งเป็นสถานที่คุ้นเคย อยู่ใกล้ เข้าถึงสะดวก เพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรร่วมกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งในชุมชน ลดความเสี่ยงเกิดโรคในกลุ่มเกษตรกรให้ได้มากที่สุด ในปี 2557 เปิดบริการแล้วร้อยละ 19 จะเร่งขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตรทุกแห่ง
  • เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมหน่วยงานที่เก่ยวข้องได้ประชุมคณะกรรมการนโยบายด้านศาธารณสุขในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ครั้งที่ 2/2559 เพื่อติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพี ต่อการสาธารณสุขและระบบสุขภาพ ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ศึกษาผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมปรึกษาหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของทีพีพีต่อการสาธารณสุขและระบบสุขภาพเพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่เป็นผลกระทบทุกด้าน เช่น การเข้าถึงยา ภูมิปัญญาไทย การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อปกป้องระบบสาธารณสุขและระบบสุขภาพ อาทิ มาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคุ้มครองการลงทุนและนักลงทุน นโยบายระบบประกันสุขภาพ การยกเว้นของประเทศอื่นๆ วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างประเทศ เช่น ประเด็นที่ได้รับประโยชน์ของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิกอาเซียน และมตรการรองรับผลกระทบด้านสาธารณสุขและระบบสุขภาพของไทยหากเข้าร่วมทีพีพี ก่อนที่จะนำเสนอรัฐบาลต่อไป 
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการอาหารปลอดภัยในระดับพื้นที่ หรือทบทวน หรือจัดให้มีระบบ กลไกการพัฒนากระบวนการ รวมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร โดยคำนึงถึงบริบทด้านวัฒนธรรม ศาสนา ในพื้นที่ เช่น อาหารฮาลาล จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยให้มีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การคัดเลือกต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม รวมทั้งมีการกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำงานระหว่างจังหวัด ขอให้มีกลไกการทำงานในรูปแบบกลุ่มจังหวัดตามความเหมาะสม
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนในท้องถิ่น ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอด ภัยด้านอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร ทั้งทางด้าน สุขภาพ วิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนา และวัฒนธรรม รวมถึงการเผยแพร่ไปยังหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขีดความสามารถ และพัฒนาให้เกษตรกรผู้ผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร สามารถตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำกลไกการส่งเสริมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทยใน ๔ ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาผู้ประกอบการ  การขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ  การสร้างมูลค่าสินค้า และการสนับสนุนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า   นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures - SPS) เน้นส่วนของสินค้านำเข้า มีการกำหนดมาตรการของไทยและดำเนินการขึ้นทะเบียนหรือรับรองโดยกรมการค้าต่างประเทศ รวมทั้งศึกษามาตรการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการด้าน SPS
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ได้จัดให้มีการรายงานต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 ในระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน พ.ศ.2557  
เอกสารหลัก: