You are here


เร่งรัดการสร้างเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ
สมัชชาครั้งที่: 
5
มติที่: 
10
ชื่อมติ: 
เร่งรัดการสร้างเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ
ผลการปฏิบัติงาน: 
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ประชุมมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 และมอบหมายให้ 1) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป  และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่ามติใดสมควรเสนอให้ คสช. พิจารณา ให้เสนอ คสช. พิจารณาต่อไป วันที่ 17 กันยายน 2556 รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางแบบบูรณาการในการสนับสนุนให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีคุณภาพและเป็นธณรม โดยการเร่งรัดค้นหาและขึ้นทะเบียนคนพิการ จัดงบประมาณสนับสนุนในเรื่องของกายอุปกรณ์ให้เพียงพอ ตอบสิทธิด้านการเบิกจ่ายค่ากายอุปกรณ์ทุกกองทุนให้เท่าเทียมกัน พัฒนาเทคโนโลยีและนวตกรรมด้านกายอุปกรณ์ของไทยเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มการเข้าถึงกายอุปกรณ์ของผู้พิการ รวมถึงการฝึกอบรมคนพิการและรับเข้าทำงานนโรงงานกายอุปกรณ์ วันที่ 26 กันยายน 2556 ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลัง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์บูรณาการการทำงานเพื่อช่วยเหลือคนพิการเป็นระยะเร่งรัดและระยะยาว โดยระยะเร่งรัดมี 4 มาตรการคือ  ให้ผู้พิการที่ยังไม่มีขาเทียม ลงทะเบียนผ่านระบบสารสนเทศเพื่อใช้สิทธิได้ง่ายด้วยตนเอง ค้นหาผู้พิการในทุกหมู่บ้านทุกชุมชน โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลงทะเบียนและจัดทำขาเทียมครบร้อยละ 100 ภายในปี พ.ศ.2559 เพิ่มศักยภาพการผลิตขาเทียมให้ได้มากกว่า 16,000 ชิ้นต่อปี ให้กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคมและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เร่งรัดปรับบัญชีกายอุปกรณ์เพื่อให้ผู้พิการทั้ง 3 กองทุนมีสิทธิเบิกจ่ายค่ากายอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน       สำหรับแผนในระยะยาว มีดังนี้ ให้ศูนย์สิรินธรฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มปริมาณการผลิตลดการนำเข้าและลดต้นทุนการผลิตขาเทียม ให้มีคุณสมบัติดีและเร่งให้พัฒนาหาวัสดุที่ผลิตขาเทียมในประเทศ ฝึกอบรมคนพิการขาขาดให้เป็นช่างทำขาเทียมและทำงานในโรงงานกายอุปกรณ์ การป้องกันและลดจำนวนคนพิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำร่องจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในระดับจังหวัด เพื่อดูแลช่วยเหลือคนพิการอย่างครบวงจรกับการใช้กลไกท้องถิ่นในพื้นที่ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2559 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกับคณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ ในคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ณ ห้องประชุมจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ นายมณเฑียร บุญตัน ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มีสาระสำคัญดังนี้ ควรปรับปรุงพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 ในประเด็นการจัดตั้งศูนย์การเรียนเฉพาะคนพิการ ภาคประชาชน โดยขอให้ตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ควรจัดการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเร็วและสม่ำเสมอ ควรแก้ไขปัญหาการเข้าถึงสิทธิของคนพิการในการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ  และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา มีประเด็นปัญหาสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1) ปัญหาคนพิการยังได้รับอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนและไม่ตรงตามความต้องการจำเป็นพิเศษ และ 2) ปัญหาการยืมสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อทางการศึกษาตามบัญชีแนบท้าย ก. เนื่องจากอุปกรณ์ในบัญชีดังกล่าวมีราคาสูง การยืมอุปกรณ์จึงต้องมีบุคคลค้ำประกัน ทำให้คนพิการไม่สามารถยืมไปใช้ได้ ควรจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา สำหรับนักเรียนคนพิการให้เป็นไปตามมาตรฐานการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล เช่น ePUB3 html5 และ WCAG 2.0 ควรปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคล ที่รัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่โรงเรียนเอกชนการกุศล ที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เนื่องจากโรงเรียนเอกชนการกุศลมีค่าใช้จ่ายรายบุคคลสูงกว่าที่ได้รับการอุดหนุน ปัจจุบันได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายบุคคล จำนวน 30,800 บาท ควรปรับเพิ่มเป็นอย่างน้อย 40,000 บาท และปรับอัตราส่วนครูสอนผู้เรียนพิการ จาก 1 ต่อ 25 เป็น 1 ต่อ 8 ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเดียวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของกระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เร่งดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

1.1 สร้างความเป็นธรรมของสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552 ซึ่งครอบคลุมบริการ อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ  ยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา และระบบการเงินการคลัง ทั้งนี้ ควรมีกลไกที่จะทบทวนและปรับปรุงสิทธิประโยชน์ บริการ และการคลังอย่างต่อเนื่อง โดยให้ภาคประชาชนและผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ มีส่วนร่วม

1.2 เร่งรัดตรวจสอบ  และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ เพื่อขจัดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วม เป็นหน่วยร่วมจัดบริการสุขภาพสำหรับคนพิการ ขององค์กรด้านคนพิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้รวมถึงการจัดทำมาตรฐาน ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น

1.3 ในชั้นต้นระหว่างการดำเนินงานตามข้อ 1.2 ขอให้ สปสช. สนับสนุนหน่วยงานต่างๆ เช่น สมาคม ชมรมคนพิการ ให้ดำเนินการร่วมจัดบริการในรูปแบบรายโครงการ (project based) ต่อไปก่อน ทั้งนี้โดยให้ครอบคลุมทุกประเภทความพิการ

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • การสร้างความเป็นธรรมของสิทธิประโยชน์บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ หลังจากที่สำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) ถูกยุปไปเมื่อปีพ.ศ.2554 ทำให้ไม่มีกลไกกลางที่จะทำหน้าที่ลดความยศูนย์สิรินธรฯ ร่วมกับกองทุนต่างๆ (ตามมติ 5.10) ซึ่งแต่ละกองทุนต้องมีการปรับตัวเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นธรรมฯ ในระบบต่อไป
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ พ.ศ.2552 ได้มีการประกาศใช้แล้ว ยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดรูปธรรมในการนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินงานดังนี้
  1. ศูนย์สิรินธรฯ ได้ทำแนวทางการดำเนินงานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ เรื่องการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวยการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการและสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ พ.ศ.2552 แต่ในทางปฏิบัติการใช้บริการจะขึ้นอยู่กับสิทธิของแต่ละกองทุนฯ โดยจะมีการสำรวจข้อมูลการใช้บริการของผู้พิการ ตามประกาศฯ ดังกล่าว ในปี พ.ศ.2558
  2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนหลักประกันฯ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้อิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ดังกล่าว จากรายงาผลการวิจัยเรื่องการทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ้เครื่องช่วยความพิการของสำนักโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพพบว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ.2552-2555 กองทุนหลักประกันสุขภาพ 3 กองทุน (กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ) มีการจัดสรรอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยพบว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มทั้งเชิงปริมาณและมูลค่ามากที่สุด (จัดสรรได้เพิ่มขึ้น 7 เท่า) โดยเบิกจ่ายเครื่องช่วยฟังมากที่สุด ในส่วนของกองทุนประกันสังคมพบว่า มีการเบิกไม้ค้ำยันสูงที่สุด และระบบสวัสดิการข้าราชการพบว่า มีการเบิกอุปกรณ์ช่วยเดิน 4 ขามากที่สุดในเชิงปริมาณ และเบิกประสาทหูเทียมมากที่สุดในเชิงมูลค่า
  • การทบทวนอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการตามสิทธิประโยชน์ของ 3 กองทุน (กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ) พบว่า รายการอุปกรณ์เครื่องช่วยด้านการฟื้นฟูทางการแพทย์จำนวน 86 ชิ้น พบว่า สิทธิประโยชน์ของ 3 กองทุนมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้
  1. ผู้พิการด้านการได้ยินและสื่อความหมาย สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ได้รับสิทธิในการเบิกประสารทหูเทียมและเรื่องช่วยพูด แต่มีสิทธิในการเบิกอุปกรณ์เครื่องช่วยด้านการได้ยินได้หลายรูปแบบมากกว่า
  2. ผู้พิการทางด้านกายและการเคลื่อนไหว สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้รับสิทธิเบิกแขนเทียมและขาเทียมได้เหมือนสิทธิข้าราชการและประกันสังคม ซึ่งสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีสิทธิในการเบิกในมูลค่าที่สูงกว่าในบางรายการ

              ทั้งนี้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้รับสิทธิประโยชน์มากว่าสิทธิข้าราชการและสิทธิประกันสังคม คือสิทธิในการเบิกอุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมแขนเทียมและขาเทียม และสิทธิในการเบิกรถโยก

  • วันที่ 24 เมษายน 2558 จากเอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานเรื่อง การดูแลสุขภาพคนพิการ (ขาขาด) ได้จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่/เชิงรุก ทำกายอุปกรณ์เทียมและอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการตามภูมิภาค (จำนวน 4 จังหวัดในแต่ละภูมิภาค จังหวัดละไม่น้อยกว่า 200 ราย) และออกหน่วยพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม 2557 โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ร่วมกับโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการดำเนินงานมีคนพิการมาเข้ารับบริการทั้งสิ้น 417 ราย ในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

            - คัดกรอง/ตรวจประเมินความพิการ 164 ราย

            - ออกเอกสารรับรองความพิการและจดทะเบียนคนพิการ จำนวน 39 ราย

            - บริการจดทะเบียนคนพิการและต่ออายุสมุดคนพิการ 43 ราย

            - ให้บริการผลิตขาเทียม จำนวน 103 ราย

            - ให้บริการผลิตแขนเทียม จำนวน 9 ราย

            - ให้บริการซ่อมและเปลี่ยนกายอุปกรณ์ที่ชำรุด จำนวน 33 ราย

            - ให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทอื่นๆ จำนวน 24 ราย

            - ให้คำแนะนำ/ปรึกษา จำนวน 2 ราย

            นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนวิทยากรในการ “อบรมเพิ่มพูนทักษะการตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการ” ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 340 ราย โดยมีความพึงพอใจต่อการอบรม ร้อยละ 81.94 ให้บริการเชิงรุกแก่คนพิการขาขาด ณ เขตศาลาประชาคม อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน ในวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2558 ผลการดำเนินงานมีคนพิการมาเข้ารับบริการทั้งสิ้น 184 ราย ในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

            - คัดกรอง/ตรวจประเมินความพิการ 66 ราย

            - ออกเอกสารรับรองความพิการและจดทะเบียนคนพิการ จำนวน 4 ราย

            - บริการจดทะเบียนคนพิการและต่ออายุสมุดคนพิการ 3 ราย

            - จดทะเบียนคนพิการ จำนวน 4 ราย

            - ให้บริการผลิตขาเทียม จำนวน 39 ขา

            - ให้บริการผลิตแขนเทียม จำนวน 8 แขน

            - ให้บริการซ่อมและเปลี่ยนกายอุปกรณ์ที่ชำรุด จำนวน 27 ราย

            - ให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทอื่นๆ จำนวน 33 ราย นอกจากนี้ยังให้การอบรมเรื่อง “อบรมเพิ่มพูนทักษะการตรวจประเมินและวินิจฉัยความพิการ” ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 102 ราย โดยมีความพึงพอใจต่อการอบรม ร้อยละ 83.35

- ตรวจสอบ  และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ 

            

  1. พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 29 มีนาคม 2556 ซึ่งมีประเด็นที่มีการบังคับใช้หรือการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการให้เป็นไปได้ดียิ่งขึ้น โดยในมาตรา 20/3 และมาตรา 20/4 ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานให้ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ลงนามในประกาศจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด
  • คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2554 กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด เพื่อจัดบริการทางการแพทย์ที่จำเป็นและสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาะรบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพของหน่วยบริการทุกระดับ พัฒนารูปแบบการดูแลช่วยเหลือ สนับสนุนและฟื้นฟูสมรรถภาพ พัฒนาศักยภาพและการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรคนพิการและองค์กรอื่นๆ ให้ร่วมมือกับหน่วยบริการและมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
  • มีการเข้าร่วมจัดบริการขององค์กรคนพิการเป็นรายโครงการในกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการให้มีการร่วมจัดบริการในรูปแบบรายโครงการ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรของคนพิการสามประเภทความพิการ ได้แก่ สมองพิการ สติปัญญา และออทิสติก อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2558
  • จัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอดด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว ศูนย์ฝึกทักษะคนพิการทางสติปัญญา ศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ ศูนย์ช่วยเหลือคนพิการและศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก 
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 ในแผนงานที่ 6 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยได้จัดการอบรมเพิ่มพูนทักษะด้านการคัดกรองและประเมินความพิการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ให้แก่แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในเขตพื้นที่ 2 ครั้ง มีผู้เข้าอบรม 350 คน
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เร่งประกาศใช้ “แนวทางการดำเนินงานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2552” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบริการ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข รายการบริการฯตาม ม. 20(1) ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 โดยเร็วที่สุด
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ศูนยสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งขาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้ 
  1. มีการประกาศใช้แนวทางดำเนินงานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ พ.ศ.2442
  2. ดำเนินการให้บริการเกี่ยวกับกายอุปกรณ์เทียม กายอุปกรณ์เสริม เครื่องช่วยคนพิการหรือสื่อส่งเสริมพัฒนาการ โดยพัฒนาระบบบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการมูลค่าสูง ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องช่วยที่ไม่มีให้บริการใน 3 กองทุน มีมูลค่าสูง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนพิการสามารถใช้ประโยชน์และเข้าถึงอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งนี้ศูนย์สิรินธรฯ ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงาน สนับสนุนวิชาการในการกำหนดรายการ คุณลักษณะ ข้อบ่งชี้ การจัดทำคู่มือแนวทางการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่มีมูลค่าสูงเพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานสำหรับเครือข่ายเพื่อให้มีทิศทางเดียวกัน รวมถึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ/การอบรมการใช้และให้อุปกรณ์ฯ การส่งมอบอุปกรณ์ สำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลเครือข่าย และการติดตามประเมินผลการใช้อุปกรณ์
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการประกาศใช้แนวทางการดำเนินงานฯ 9 รายการ ประกอบด้วย 1) กายภาพบำบัด 2) กิจกรรมบำบัด 3) การประเมิน/แก้ไขการพูด 4) จิตบำบัด 5) พฤติกรรมบำบัด 6) การฟื้นฟูการได้ยิน 7) การฟิ้นฟูการเห็น 8) Early Intervention 9) Phenol block 
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ประสานและสนับสนุนการดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่สาม เรื่อง “ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ” และการดำเนินการตามมตินี้ แล้วเสนอความคืบหน้า รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค ต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ได้มีการเสนอความคืบหน้า รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7
  • เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 1/2558 ที่มีประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์) รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม มีมติรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ดังนี้
    • การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ได้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอมทุก 2 เดือน ประชุมไปแล้ว 14 ครั้ง และได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเป็นกลไกดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คณะ ได้แก่ 1) คณะทำงานจัดทำรายงานความก้าวหน้ามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประเด็น “ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพคนพิการ” เพื่อรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557  และ 2) คณะทำงานจัดทำกรอบความคิด ขอบเขต กระบวนการขับเคลื่อนและแนวทางการยกร่างแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางสติปัญญา ออทิสติก และการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
    • รวบรวมและวิเคราะห์มติสมัชชสุขภาพแห่งชาติ พิจารณาความเกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพคนพิการรวม 11 มติ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่มีมติเกี่ยวข้องใน 3 จังหวัด (ตรัง สงขลา และพิจิตร) และสาระสำคัญในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 อีก 3 หมวด จำนวน 4 ข้อ เพื่อวางกรอบการติดตามและสนับสนุนให้มติต่างๆ ดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยได้กำหนดประเด็นและแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญไว้ 11 ประเด็น ในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ปี 2556-2557)
    • ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 คณะกรรมการสุขภาพคนพิการได้เสนอปรับปรุงมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ โดยที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้มีฉันทมติในระเบียบวาระ “เร่งรัดการสร้างเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ” ซึ่งได้ช่วยทำให้การขับเคลื่อนมติฯ เป็นไปได้มากขึ้น
    • คณะกรรมการสุขภาพคนพิการได้สนับสนุนการพัฒนาความรู้ทางวิชาการและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเป็นนโยบายหรือนำสู่การปฏิบัติที่สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการได้แก่ 
      • จัดทำข้อเสนอต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในประเด็นการจดทะเบียนคนพิการเชิงประจักษ์ที่เสนอให้มีการมอบอำนาจการจดทะเบียนคนพิการไปที่ระดับอำเภอ ซึ่งจะทำให้สอดคล้องกับบริบทที่จะช่วยให้คนพิการเข้าถึงการขอมีบัตรคนพิการได้ง่ายขึ้น
      • จัดทำข้อเสนอต่อคณะกรรมการสามกองทุนเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการระหว่างระบบหลักประกันสุขภาพ (ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และประกันสุขภาพถ้วนหน้า) ในประเด็นการทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ 
  • เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ครั้งที่ 2/2559 มี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน ที่ประชุมเห็นชอบแผนพัฒนาการดูแลสุขภาพคนพิการและการผลักดันให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งรัดแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและกองทุนประกันสังคม รวมถึงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการและสร้างความร่วมมือการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต 
  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ โดย ดร.ศิวพร ภู่พันธ์ และคณะ มีข้อเสนอแนะในการออกแบบเชิงโครงสร้างหน้าที่ และที่มาของคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ โดยสรุปดังนี้

          1. การจัดโครงสร้างองค์ประกอบของคณะกรรมการ ควรพิจารณา

             1.1 การวิเคราะห์เครือข่ายในแต่ละองค์ประกอบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเคลื่อนไหวในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และทิศทางการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการฯ

            1.2 พิจารณาสัดส่วนของกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการที่ระบุตัวบุคคลให้เหมาะสม

            1.3 ควรมีกรรมการฯ ชุดเดิมเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการสุขภาพคนพิการขุดใหม่ด้วย เพื่อความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนภารกิจ

         2. ประธานกรรมการฯ ควรเป็นผู้มีทุนความรู้ มีความเชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเชื่อถือในการประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ

         3. ฝ่ายเลขานุการที่เป็นรูปแบบพหุภาคี ควรมีแนวทางการทำงานร่วมกันที่ชัดเจน และมีระบบสนับสนุนที่เหมาะสม

         4. ควรมีผู้แทนจาก สช. ร่วมเป็นกรรมการฯ เพื่อทำหน้าที่เชื่อมประสานการทำงานระหว่างคณะกรรมการฯ สช. และ คสช.

  • เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 และ วันที่ 29 สิงหาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพคนพิการได้จัดกระบวนการทบทวนการดำเนินงาน โดยมีข้อเสนอเพื่อการพัฒนาโครงสร้างและขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการฯ โดยสรุปดังนี้

            1. ควรปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการให้ครอบคลุมภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานสาธารณสุขฝ่ายที่ดูแลเรื่องคนพิการทางจิตสังคม สติปัญญาและการเรียนรู้ ภาคธุรกิจเพื่อสังคม สื่อมวลชน เป็นต้น

            2. รองประธานฯ ควรมาจาก 3 ฝ่ายตือ ภาคประชาสังคมหรือองค์กรคนพิการ ภาครัฐ และภาควิชาการที่ระบุเป็นตัวบุคคล โดยต้องเป็นบุคคลที่สามารถเชื่อมงานในองค์กรต่นสังกัดของตนเองและองค์กรอื่นๆ ได้

            3. กลไกฝ่ายเลขานุการ ในฐานะเป็นแกนกลางที่ประสานเชื่อมโยงกับคณะกรรมการ เพื่อจัดระเบียบวาระการประชุมและการขับเคลื่อน ควรเป็นรูปแบบคณะเลขานุการร่วม มีองค์ประกอบดังนี้

               1) ฝ่ายเลขานุการที่เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 คน ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข

               2) ฝ่ายเลขานุการที่มาจากภาคประชาสังคม จำนวน 1 คน

               3) ฝ่ายเลขานุการที่มาจากภาควิชาการ จำนวน 1 คน

           4. ขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการชุดใหม่ ควรเพิ่มเติมบทบาทหน้าที่ในเรื่องการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพนักวิชาการและเกิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่เพื่อช่วยผลักดันการทำงาน รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพคนพิการ

  • เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2559 ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ประมวลข้อมูลจากการประเมินผลและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ต่อการดำเนินงานในอนาคต จึงเห็นสมควรเสนอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพคนพิการชุดใหม่ โดยปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจใหม่ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพคนพิการชุดใหม่ ที่มี
  1. นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรมการ
  2. มีเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาพ ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ผู้แทนอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
  3. ให้มีกรรมการไม่เกิน 30 คน โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการ มอบหมายให้ประธานและเลขานุการพิจารณา เสนอประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป
  4. ให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจตามเสนอ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
เอกสารหลัก: