You are here


แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน
สมัชชาครั้งที่: 
6
มติที่: 
3
ชื่อมติ: 
แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 จำนวน 6 มติ โดยมอบหมายให้ :- เลขาธิการตณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในมติที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่า มติใดสมควรเสนอให้ คสช.พิจารณาก็ให้เสนอ คสช.พิจารณาต่อไป  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธานที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 จำนวน 8 มติ และให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป 
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
รับรองกรอบ แนวคิดและสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน ตามเอกสารผนวกแนบท้ายมติ นี้ อันประกอบด้วย
รายละเอียด: 

1.1 เป้าหมายร่วม ที่ประกอบด้วย วิสัยทัศน์เชิงนามธรรมและเป้าหมายเชิงรุกที่เป็นจุดหมายปลายทางในระยะเวลา 5 - 10 ปีข้างหน้า ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

1.2 หลักการร่วมในการทำงานสนับสนุนชุมชน 7 ประการ

1.3 การสร้างความเข้าใจและความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างหน่วยงานโดยเฉพาะภาคีสนับสนุน รวมถึงองค์กรอื่นๆ ที่จะเข้ามาร่วมในอนาคต

1.4 แผนยุทธศาสตร์ร่วมที่ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ร่วม พันธกิจร่วม วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์การขับเคลื่อน แผนงานและโครงการรูปธรรม 

1.5 การพัฒนาฐานข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็นร่วมกันในลักษณะเป็นการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลทั้งระดับพื้นที่และระดับชาติ

1.6 การมีคลังเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถเลือกใช้และแลกเปลี่ยนสนับสนุนกันและกัน 

1.7 การมีกลไกการจัดการในการประสานสนับสนุนพื้นที่และชุมชนใน 3 ระดับ คือ ระดับพื้นที่ (หมู่บ้าน ตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ระดับอำเภอ/จังหวัด และระดับชาติ

 

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานภาคีและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมมือรวมพลังกันทำงานสนับสนุนชุมชน สุขภาวะ/ชุมชนเข้มแข็งต่อไป โดยใช้ยุทธศาสตร์รวมพลังดุจการรวมแสงเลเซอร์เป็นเครื่องมือในการบูรณาการในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคี ใช้ทรัพยากรและงบประมาณแบบพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองเป็นหลัก และขยายความร่วมมือสู่องค์กรภาคีที่กว้างออกไปในทุกโอกาส ทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด อำเภอและพื้นที่ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบล หมู่บ้าน)
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอร์สนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง-ชุมชนสุขภาวะ เพื่อใช้ขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ และเป็นแกนประสานหลักในการขับเคลื่อนมติภายใต้โครงสร้างคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมว่าด้วยสุขภาวะชุมชน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากองค์กรภาคีที่ร่วมลงนามในประกาศเจตนารมณ์ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(คมส.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

                คณะทำงานขับเคลื่อนมติฯ ได้มีการจัดประชุมองค์กรภาคีแล้ว ๒ ครั้ง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน ข้อมูลความรู้ระหว่างองค์กร และมีการจัดทำฐานข้อมูลองค์กรชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมประมวลจากฐานข้อมูลขององค์กรภาคี เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลกลางที่นำไปสู่การสืบค้นและพัฒนาร่วมกันได้ในอนาคต นอกจากนี้ แผนการดำเนินงานขับเคลื่อนจะนำไปสู่การวางวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ทิศทางการสร้างสุขภาวะและความเข้มแข็งชุมชนร่วมกัน 

  • เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559 คณะทำงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชนจัดประชุมเพื่อรับฟังประสบการณ์ดีๆ จากแพทย์ชนบทดีเด่น อย่าง นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี ที่มาบอกเล่าตัวอย่างของความสำเร็จ ในชื่อหัวข้อว่า “ลำสนธิโมเดล ต้นแบบหมอประจำครอบครัว” ภายหลังจากการนำเสนอประสบการณ์โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี เรียบร้อยแล้ว ทางภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม ต่างแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อ “แชร์ความรู้” นำไปต่อยอด ดำเนินการในพื้นที่ รวมถึงเสนอ ช่องทางที่จะเชื่อมโยงงานองค์กรตนเองกับลำสนธิเพื่อให้กลายเป็นโมเดล ที่สามารถสร้างความสุขและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชนได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดประชุมการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดยมีภาคีเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ เครือข่าย 4PW จังหวัด ศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัด (ศปจ.) สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ จากทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมกว่า 300 คน เข้าร่วม ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้ความสำคัญกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนโยบายสาธารณะที่มุ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขภาพ” ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเป้าหมายในเรื่อง “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in all policies) และ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยใช้พื้นที่เป็นฐานการทำงาน เพื่อให้เครื่องมือและการพัฒนานโยบายสาธารณะลงไปสู่ระดับฐานราก ในระดับจังหวัด และอำเภอ ซึ่งการดำเนินงานแนวทางดังกล่าวต้องอาศัย ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่มีคุณภาพ มุ่งมั่น และมีอุดมการณ์ เพื่อสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในสังคม สช. จึงมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเพียงเจ้าหน้าที่ สช.เท่านั้น แต่เป็นการสร้างบุคลากรในระดับภาคีเครือข่ายให้มากเพียงพอจนถึงจุดที่จะสามารถสร้าง ‘สังคมสุขภาวะ’ ได้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10,000 คน กระจายทุกพื้นที่ ทุกจังหวัด ทุกอำเภอทั่วประเทศ ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า ภายใต้การดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ตามแผนงานหลักฉบับที่ ๓ ของ สช. “ระบบสุขภาพไทยพัฒนาจากกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา หรือ 4PW (Participatory Public Policy Process based on Wisdom) สช. ได้สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายในระดับจังหวัดได้ร่วมกันกำหนดประเด็นนโยบายสาธารณะที่สำคัญ 3 ประเด็นเพื่อร่วมมือกันหาทางออกต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ปัจจุบันรวบรวมได้แล้ว 206 ประเด็น โดยความร่วมมือกับ ศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัด (ศปจ.) ที่เป็นกลไกหลักขององค์กรพัฒนาสังคมในระดับจังหวัดที่เกิดขึ้นตาม มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 “แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน” ที่รวบรวมหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนชุมชนสุขภาวะมาทำงานแบบหลอมรวมกัน
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนรวมถึงเครือข่ายการสื่อสารและการเรียนรู้ทุกรูปแบบ เร่งพัฒนาศักยภาพของตนและแสดงบทบาทในการพัฒนา ดำเนินการฟื้นฟูและสร้างเสริมความเข้มแข็งที่ฐานรากของประเทศและสังคมไทยอย่างทันต่อสถานการณ์
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัดในทุกจังหวัด สนับสนุนให้มีกระบวนการประชุมปรึกษาหารือระหว่างหน่วยงานที่เป็นกลไกระดับพื้นที่ของหน่วยงานภาคีและองค์กรอื่นๆ รวมถึงเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันออกแบบและจัดตั้งกลไกประสานงานระดับพื้นที่ (หมู่บ้าน ตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และระดับอำเภอ/จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพการทำงานตามแนวทางของแผนยุทธศาสตร์ร่วมนี้
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานภาคีและองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตั้งกลไกในการติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบจากโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ที่อาจมีต่อชุมชนท้องถิ่น และจากนโยบายประชานิยมโดยให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมในเชิงคุณภาพของภาคประชาชน ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรวิชาชีพ ในทุกโครงการตามหลักธรรมาภิบาล
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 ครั้งที่ 12 และครั้งที่ 16
เอกสารหลัก: