You are here


แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ....
สมัชชาครั้งที่: 
6
มติที่: 
4
ชื่อมติ: 
แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.2557-2561
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 จำนวน 6 มติ โดยมอบหมายให้ :- เลขาธิการตณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในมติที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่า มติใดสมควรเสนอให้ คสช.พิจารณาก็ให้เสนอ คสช.พิจารณาต่อไป เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธานที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 จำนวน 8 มติ และให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป 
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
รับรองแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของ ยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ. 2557 – 2561 ตามผนวกแนบท้ายมตินี้
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 17-18 มิถุนายน 2557 สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้มีฉันทมติรับรองมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 มติ 4 เรื่อง “แผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.2557-2561” 
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของ ยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ. 2557 - 2561 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศเป็นวาระแห่งชาติ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2557 ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 เรื่องแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฏหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.2557-2561 โดยให้มีการดำเนินงานดังนี้

          1. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประสานการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนการขับคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

         2. ให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ พร้อมแผนการขับเคลื่อนมติฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

            2.1 ให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฏหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.2557-2561 เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติ

            2.2 มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนการขับเคลือนมติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 

ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอชื่นชมที่ทราบว่ากระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับเป็นแกนดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วม ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรหรือตัวแทนจากผู้ประกอบการ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ จากนโยบายระดับชาติ สู่การปฏิบัติในท้องถิ่น แทนคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ชุดเดิมที่ยกเลิกไป
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2557ณ ห้องประชุม สานใจ 1/2 ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อขับเคลื่อนมติฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
    • วิเคราะห์เครือข่ายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ
    • พิจารณา (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยมีแนวทางในการจัดตั้ง คือ เสนอเป็นมติคณะรัฐมนตรีไปพร้อมกับความเห็นชอบยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน หรือเสนอเป็นคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข
    • เตรียมการจัดทำแผนบูรณาการจัดการปัญหาโฆษณาฯ (พ.ศ.2559-2561) โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา วางแผนเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2558
  • ฝ่ายเลขาฯ ได้ประสาน อย. (ฝ่ายเลขาฯ) เพื่อทราบเรื่องการจัดทำแผนการขับเคลื่อนมติฯ ได้รับแจ้งว่า ทาง อย. มีความเห็นที่ขอให้เสนอแผนยุทธศาสตร์ฯ ต่อคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศเป็นวาระแห่งชาติก่อน  ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเรื่องตั้งต้นในการประสานให้เกิดความร่วมมือจากภาคีที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนต่อไป
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด มีหน้าที่ส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย และร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์นี้อย่างเข้มแข็ง
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2557 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเสวนาเรื่องทิศทางการสื่อสารเพื่อคุ้มครองสุขภาพคนไทยในอนาคต ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะดังนี้ 
    • สื่อมวลชนไม่ควรโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต พร้อมกันนั้นก็ให้ความรู้กับประชาชนให้รู้เท่ากัน และต้องพูดความจริง สำหรับเรื่องการโฆษณาในสื่อต่างๆ ในมุมของผู้ประกอบอาชีพสื่อนั้น สื่อมีกรอบเกณฑ์ในการพิจารณาลงโฆษณาประชาสัมพันธ์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.เกี่ยวกับการพิมพ์ รวมทั้งกรอบเกณฑ์ทางจรรยาบรรณของผู้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน การสื่อสารความรู้ทางสุขภาพที่ผ่านมา มีประเด็นน่าคิดว่า เมื่อมีการละเมิดในเรื่องโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนมากมาย แต่องค์ความรู้ที่เชื่อถือได้ซึ่งมีต้นทางมาจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขทำไมไม่ออกมาอธิบายให้สังคมทราบอย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามเรื่องข้อมูลข่าวสารนั้น สื่อก็มีข้อจำกัดในเรื่องความรู้ต้องอาศัยจากนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุข ปัญหาเกิดขึ้นที่ผ่านมาต้นทางองค์ความรู้ที่เชื่อถือได้นั้นออกมาอธิบายกับสังคมช้า ไม่ทันท่วงที บางครั้งทำให้ประชาชนถูกหลอก หรือไม่ก็เกิดความเสียหายไปมากแล้วถึงจะมีคำอธิบายที่ชัดเจนออกมา
    • กระทรวงสาธารณสุข มีข้อจำกัดไม่น้อย เป็นต้นว่าแต่ละหน่วยงานถือกฎหมายต่างกัน ส่วนการทำข้อมูลเพื่อให้ประชาชนได้ถึงนั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงฯ จะต้องทำเพื่อการสื่อสารของรัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย และเห็นด้วยที่จะต้องมีศูนย์เฝ้าระวัง เพื่อรับรู้ปัญหาต่างๆ ส่วนเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องกล้าใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายที่มีอยู่ 
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ให้กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเผยแพร่ให้ความรู้การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องและเหมาะสม ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 และครั้งที่ 11
เอกสารหลัก: