You are here


การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ
สมัชชาครั้งที่: 
9
มติที่: 
2
ชื่อมติ: 
การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านสาธารณสุข และการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น ปรับระบบการบริหารจัดการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิให้เป็นรูปแบบ Primary Care Cluster เพิ่มแหล่งทุนเพื่อการสร้างสุขภาพป้องกันโรคของประเทศเป็นร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แก้ไขปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งเตรียมความพร้อมสังคมและคนทุกวัยเพื่อเป็นสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ เป็นต้น ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้            1. เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 เรื่อง การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ และมอบหมายให้คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาดำเนินการ โดยนำข้อเสนอแนะจากกรรมการไปพิจารณาร่วมด้วย และนำมารายงานให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรับทราบความคืบหน้าต่อไป            2. เห็นชอบให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 จำนวน 4 มติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป            3. มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนของมติที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควร เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานปัญญา เพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ภาคกลาง-ตะวันตก ณ ห้องประชุมทวารวดี 1 โรงแรมไมด้าทวารวดีแกรนด์ จังหวัดนครปฐม มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 100 คน ที่ประชุมมีการนำเสนอรายละเอียดของแต่ละมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทั้ง 4 ประเด็นได้แก่ น้ำดื่มปลอดภัยสำหรับประชาชน การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนและเมืองเพื่อสุขภาวะ การสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัยด้วยการบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม และสานพลังปราบยุงลายโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน โดยเน้นหนุนเสริมการทำงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ซึ่งขับเคลื่อนมติอยู่ปัจจุบันให้เกิดพลังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยกลไกประชารัฐ ตัวแทนภาครัฐ วิชาการ ประชาสังคม ทำงานอย่างสอดคล้องเป็นทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจให้ภาคีเครือข่าย และแลกเปลี่ยนสถานการณ์ และความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด มีการประเมินสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ แผนงาน กิจกรรม และงบประมาณของแต่ละหน่วยงานที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้เห็นต้นทุนของจังหวัด ก่อนร่วมกันออกแบบกิจกรรมการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม โดยจะมีการติดตามความก้าวหน้าและนำมาสรุปเป็นความรู้ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกันต่อไป
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชน ดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

1.1 ศึกษาเพื่อปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ โดยเพิ่มการมีส่วนร่วมของ องค์กรชุมชน ภาคเอกชน และภาควิชาการ ให้ความสำคัญกับการบูรณาการและขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์ชาติด้านสุขภาวะของที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองทุกระดับไปสู่การปฏิบัติ ร่วมกับหน่วยงานและคณะกรรมการด้านที่อยู่อาศัยชุดต่าง ๆ  ของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

1.2 ปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง เพื่อสุขภาวะโดยใช้กรอบของหลักการและพันธกิจในการพัฒนาการอยู่อาศัย และเมือง (UN-Habitat 3) และเมืองสุขภาวะ (Healthy Cities) โดยให้มีกลไกคณะทำงานในระดับเขตในกรุงเทพมหานคร ระดับเมือง และระดับจังหวัดเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ตลอดจนการขับเคลื่อนแผนงานด้านที่อยู่อาศัยเพื่อสุขภาวะในแต่ละระดับ

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 มิถุนายน 2560 โดย การเคหะแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในโครงการเคหะชุมชน ภายใต้โครงการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี (พ.ศ.2559-2568) ได้ดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (ประเภทเช่าซื้อ) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 พบว่า หน่วยเริ่มก่อสร้าง 42 หน่วย ยังไม่สามารถดำเนินการเริ่มก่อสร้างได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการทบทวนราคากลาง เพราะไม่มีผู้เสนอราคา ในส่วนหน่วยก่อสร้างแล้วเสร็จ ดำเนินการไปแล้ว 74.69% ของเป้าหมาย 9 เดือน (4,538 หน่วย) และคิดเป็น 53.25% ของเป้าหมายทั้งปี (6,366 หน่วย) คาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างจำนวน 527 หน่วย และก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 6,366 หน่วย ภายในเดือนกันยายน 2560
  • เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการ กคช. มีมติให้ทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยก่อนนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาในวาระพิเศษ วันที่ 7 กรกฎาคม 2560 อีกครั้ง คาดว่าจะสามารถนำเสนอรายละเอียดโครงการฯ ต่อคณะกรรมการ กศช. พิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนกันยายน 2560
  • เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ โดยให้ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยดังกล่าว ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย เมื่อมียุทธศาสตร์ชาติแล้ว ให้ พม. พิจารณาทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) อีกทั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไปด้วย
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) การเคหะแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นแกนประสานหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการจัดเวทีพัฒนา นโยบายสาธารณะ และพื้นที่นำร่อง เพื่อศึกษาการจัดการและการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) และการเคหะแห่งชาติ เป็น หน่วยงานหลัก ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวทาง การพัฒนาระบบการเงิน การออมเพื่อที่อยู่อาศัย และการพัฒนากองทุนสนับสนุนที่อยู่อาศัยเพื่อให้มีมาตรการสนับสนุนและส่งเสริม ด้านการเงินและการคลังเพื่อเอื้อให้ชุมชน ภาคเอกชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อสุขภาวะ ให้สอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัย ในทุกกลุ่มรายได้และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบรายละเอียดโครงการการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559 และลงนามในสัญญาจ้างบริษัท อวานการ์ด แคปปิตอ จำกัด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 และได้รับ (ร่าง) รายงานฉบับสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2560 และดำเนินการประชุมตรวจรับและแก้ไข (ร่าง) รายงานฯ ในวันที่ 3 และ 24 พฤษภาคม 2560 และประชุมระดมความคิดเห็นฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 คาดว่าจะสามารถนำเสนอรายละเอียดโครงการฯ ต่อคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนกันยายน 2560
  • เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) มีข้อสั่งการหลังจากได้รับข้อเสนอจากผู้แทนกลุ่มชุมชนริมคลองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตามโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะของรัฐบาล ดังนี้ 1) รับในหลักการข้อเสนอขอเงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ โดยให้ไปศึกษาความเป็นไปได้และข้อกฎหมายว่าดำเนินการได้หรือไม่ 2) มอบหมายให้นายสมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ในฐานะประธานกองอำนวยการร่วมพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง และริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (กอร.ชค.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) ประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อมูลตัวเลขให้ชัดเจน ตรงกัน 3) ให้วางแผนกระบวนการระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน และ 4) จัดทำข้อเสนอเพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชน เช่น กลุ่มการรับเงินแล้วออกนอกพื้นที่ กลุ่มรับเงินแล้วขึ้นมาอยู่บนริมฝั่ง หรือกลุ่มรับเงินแล้วเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ จะนำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายมาตรวจสอบความถูกต้องกับพอช. ภายใน 1 สัปดาห์ กระทรวง พม. โดย พอช. ร่วมกับทุกภาคส่วน ดำเนินการสนับสนุนให้แก่ประชาชน ที่เข้าร่วมโครงการฯ แต่ละครัวเรือน ดังนี้ 1) งบพัฒนาระบบสาธารณูปโภค จำนวน 50,000 บาท 2) งบซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน สมทบในการปลูกสร้างบ้าน สมทบซื้อที่ดิน จำนวน 25,000 บาท และ 3) งบช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ (ตามมติ ครม. วันที่ 8 มี.ค. 59) อาทิ งบปลูกสร้างที่พักชั่วคราวค่าเช่าที่พักระหว่างรอการปลูกสร้างบ้านถาวรงบในการรื้อถอนที่อยู่อาศัยเดิมเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่งบขนย้ายสิ่งของ อุปกรณ์ระหว่างที่อยู่อาศัยปัจจุบันมายังที่พักอาศัยชั่วคราวและจากที่พักอาศัยชั่วคราวไปยังบ้านถาวร เป็นต้น จำนวน 72,000 บาท ซึ่งการดำเนินงานภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวเป็นการสนับสนุนแก่ผู้เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง ผ่านสหกรณ์ที่กลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกเท่านั้น
  • สรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 มิถุนายน 2560 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ..... อยู่ในขั้นตอนดำเนินการของการเคหะแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์ และสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการตามที่กฎหมายให้การรับรองไว้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เป็นองค์กรหลักร่วมกับ สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน สมาคมผู้ประกอบการวัสดุอุปกรณ์สร้างบ้าน สภาหอการค้า ภาควิชาการ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมและสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะในทุกกลุ่ม
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงการถ่ายโอน อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับให้ครอบคลุมอำนาจหน้าที่ในการจัดการและการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมือง เพื่อสุขภาวะ
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สถาบันการศึกษา ชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคีและเครือข่ายวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง พัฒนาหลักเกณฑ์ผังเมืองและเกณฑ์ที่อยู่อาศัยเพื่อสุขภาวะที่เหมาะสม กับบริบทของพื้นที่ ชุมชน และเมือง เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละพื้นที่ในการดำเนินงานและนำไปสู่การออกข้อบัญญัติและเทศบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยเฉพาะ เครือข่ายองค์กรชุมชน การพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชนและเมือง ร่วมกับคณะทำงานจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะในระดับเขตในกรุงเทพมหานคร ระดับเมือง และระดับจังหวัด ดังกล่าวในข้อ 1.2 สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาข้อเสนอนโยบายสาธารณะ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะในระดับนั้น ๆ
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11
เอกสารหลัก: