You are here


การกำกับดูแลสื่อและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สมัชชาครั้งที่: 
6
มติที่: 
6
ชื่อมติ: 
การกำกับดูแลสื่อและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรวิชาชีพสื่อ องค์กรวิชาชีพด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาด และผู้ประกอบการสื่อทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จัดทำข้อบังคับจริยธรรม แนวทางปฏิบัติของแต่ละกลุ่มองค์กรเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลกันเองในการผลิตสื่อ และการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ เนื้อหาสาระในข้อบังคับจริยธรรม และแนวทางปฏิบัติจะต้องครอบคลุมสาระสำคัญตามกฎหมายที่บังคับใช้ และสามารถพัฒนาต่อยอดอย่างเท่าทันกลยุทธ์การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย พร้อมกำหนดบทลงโทษทางสังคมหรืออื่นๆ หากพบว่ามีการฝ่าฝืน
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 17 มกราคม ผศ.ปกป้อง ศรีสนิท ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองประธานคณะกรรมการพิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าวถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ…. ฉบับใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณา ว่าจากกรณีสภาหอการค้าอเมริกันแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจอเมริกัน-อาเซียน และสภาหอการค้าอเมริกันจากรัฐวอชิงตัน ส่งจดหมายถึง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่าง พ.ร.บ.นั้น ว่าอาจมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า จากกรณีร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้สามารถออกกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบได้ในอนาคตตามข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ข้อเท็จจริงคือ สหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศว่ากฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบไม่ขัดต่อกฎหมาย และประเทศสมาชิกสามารถออกกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบได้ ซึ่งตรงนี้เป็นการปกป้องสุขภาพของเด็กและเยาวชน ไม่ให้เข้าถึงจากการโฆษณาหรือภาพลักษณ์ แต่ไม่ได้เป็นการกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณากฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าวว่า เรียกร้องให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ได้รับจดหมายทักท้วงจากสภาหอการค้าอเมริกัน ไม่ต้องหวั่นไหวต่อคำขู่ สภาเหล่านี้เป็นธุรกิจเอกชน และสภาธุรกิจอเมริกันอาเซียน มีผู้แทนของบริษัทบุหรี่อยู่ในคณะกรรมการบริหาร
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกรมประชาสัมพันธ์ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี องค์กรวิชาชีพสื่อ องค์กรวิชาชีพด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (สคสบ.) และ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จัดทำเกณฑ์และกลไกการกำกับดูแลอย่างเท่าทันกลยุทธ์การโฆษณาและการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกำหนดกลไกการกำกับดูแลร่วม ควบคู่กับการกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ๒ เพื่อให้การกำกับดูแลการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพ เอื้อต่อการสื่อสารการสร้างสรรค์ผลงานสื่อและจรรโลงสังคม สามารถคุ้มครองประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนอย่างเข้มแข็งทั้งนี้ จะต้องครอบคลุมสาระสำคัญในกฎหมายที่บังคับใช้ และสามารถพัฒนาต่อยอดอย่างเท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดอื่นๆ ที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย พร้อมกำหนดบทลงโทษทางสังคมหรืออื่นๆ หากพบว่ามีการฝ่าฝืน
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 กรณีที่สมาคมกีฬาแห่งประเทศ ไทย คัดค้านข้อเสนอห้ามสมาคมกีฬารับเงินสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค สธ. เสนอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีวาระการห้ามโฆษณาทุกรูปแบบ หรือ Total Ban ด้วยว่า ขณะนี้การปรับปรุงกฎหมายอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายและการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งยังไม่ได้มีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าคณะกรรมการหรือนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมทบทวนกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ห้ามโฆษณาทุกรูปแบบ ยืนยัน ต้องรับฟังทุกฝ่าย ก่อนเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี
  • เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นายธนากร คุปตจิตต์ นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมหารือแนวทางปฏิบัติ ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายน 2558 และผ่อนผันให้เครื่องดื่มที่ผลิตก่อนที่ประกาศฯจะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 180 วัน โดยจะสิ้นสุดการผ่อนผันในวันที่ 18 ตุลาคม 2558 นี้ ข้อสรุปจากการหารือร่วมกับนายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย ใน 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 การปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย   ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ออกแนวทางทางวิชาการ และยินดีให้คำปรึกษา โดยนำฉลากมาให้ดูเพื่อให้คำแนะนำทางวิชาการที่ถูกต้อง รวมทั้งยินดีจัดประชุมชี้แจงผู้ประกอบการ ตามคำร้องของนายกสมาคมฯ เพื่อเป็นความรู้ทางวิชาการ และข้อแนะนำจากฉลากที่ได้นำมาปรึกษาแล้ว ประเด็นที่ 2 การที่ประกาศจะพ้นกำหนดผ่อนผันให้สำหรับสินค้าค้างสต๊อก มีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 ตุลาคม 2558 นั้น ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศ คือกระทำการใดๆ มิให้เห็นข้อความที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งนี้ได้ประสานกับทางสรรพสามิตแล้ว สามารถทำได้โดยไม่ขัดกับกฎหมายของสรรพสามิต และประเด็นที่ 3 กรณีผู้ค้ารายย่อยทำผิด คงดูเป็นกรณี ๆ ไปตามข้อเท็จจริง ในแนวทางปฏิบัติคงเป็นการอายัดผลิตภัณฑ์และให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้ห้ามการแสดงตราสินค้า แต่ห้ามข้อความที่ไม่ธรรมต่อผู้บริโภค หรืออวดอ้างสรรพคุณ รายละเอียดตามประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ 2558 โดยผู้กระทำผิดมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งทีมงานเจ้าหน้าที่ 3 ทีม ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ดำเนินการเฝ้าระวังและประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยดำเนินการใน 6 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี อ่างทอง ราชบุรี เพชรบุรี กำแพงเพชร และพิจิตร  จากการตรวจสอบ พบว่า ห้างสรรพสินค้ายังการจัดแสดงสินค้า (displays) ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเทคนิคการส่งเสริมการขายในการตกแต่ง การจัดแสดงสินค้า ณ แหล่งซื้อหรือแหล่งขาย ซึ่งถือว่าผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา 32 การโฆษณา ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เป้าหมายหลักในการลงพื้นที่ครั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้เกิดความร่วมมือ เพราะจากการดำเนินงานที่ผ่านมาผู้จำหน่ายทั้งรายใหญ่และรายย่อยเริ่มรับรู้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากแต่ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจสาระสำคัญของการส่งเสริมการตลาดที่มีวิวัฒนาการที่แปลกใหม่ และดึงดูดใจให้ผู้จำหน่ายตกเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดให้กับตราสินค้าต่างๆ โดยไม่รู้เท่าทัน  จากการดำเนินการในวันแรกของการเฝ้าระวังในวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ในสถานประกอบการห้างสรรพสินค้าทั้ง 7 แห่ง พบว่า ยังมีการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำผิดตามมาตรา 32 หลายแห่ง ซึ่งทีมเฉพาะกิจได้ทำการชี้แจงและบันทึกข้อกล่าวหาเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง ได้มีการลงพื้นที่โดยพร้อมเพียงกันเพื่อป้องกันการละเมิดกฎหมายอีกด้วย
  • เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2560 จากที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้เฝ้าระวังเกี่ยวกับการกระทำความผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในโซเซียลเน็ตเวิร์ค พบว่า มีการโพสต์เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ดารา หรือผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง การกีฬา หรือเน็ตไอดอล หรือบุคคลที่เป็นที่รู้จักในสาธารณชนทั่วไป หรือสถานประกอบการหรือสถานบริการ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค เห็นว่าควรมีมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณา ตามมาตรา 32 ซึ่งใช้โซเซียลเน็ตเวิร์คในการโฆษณาแฝงโดยใช้ศิลปินดารา หรือผู้มีชื่อเสียงในสาธารณชน   ดังนั้นเพื่อป้องกันการเข้าถึงของเยาวชนและลอกเลียนแบบ หรือชักจูงในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีพบกระทบทั้งทางด้านร่างกาย ทรัพย์สิน รวมไปถึงบุคคลอื่น จึงขอวิงวอนศิลปิน ดารา นักร้อง หรือผู้มีชื่อเสียงหยุดการกระทำการโฆษณาดังกล่าว กลุ่มศิลปิน ดารา นักร้อง รวมไปถึงผู้มีชื่อเสียงในสาธารณชน เป็นบุคคลสาธารณะ    จึงไม่ควรกระทำในสิ่งที่ผิดและไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงการมีเจตนาโพสต์กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ทางการค้าในโซเซียลเน็ตเวิร์ค ถือเป็นการส่งเสริมการตลาดของบริษัทแอลกอฮอล์ จึงเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และทางบริษัทก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมในการโฆษณาด้วยเช่นกัน ส่วนในกรณีที่ประชาชนทั่วไปมีการโพสต์ภาพร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโซเซียลเน็ตเวิร์ค จะเป็นความผิดตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 หรือไม่นั้น  กรมควบคุมโรค ขอชี้แจงว่าถ้าการกระทำของประชาชนนั้นกระทำเพื่อการส่งเสริมการตลาดหรือเพื่อประโยชน์ในทางการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีข้อความชักจูงหรือจูงใจให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 32 หากการกระทำดังกล่าวมิได้มีเจตนาเพื่อประโยชน์ในการค้าหรือส่งเสริมการตลาดก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 32  แต่หากการโพสต์ภาพร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามจำหน่าย หรือห้ามดื่ม หรือเวลาขับขี่ ก็จะต้องรับผิดในมาตราอื่นตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 แล้วแต่กรณี
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กรมประชาสัมพันธ์ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (สคสบ.) องค์กรศาสนา ภาคประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชน พัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนหลักสูตรและกิจกรรม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เท่าทันสื่อและทักษะการเฝ้าระวังการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคม และองค์กรพัฒนาเอกชนในการกำหนดยุทธศาสตร์การสื่อสารทางสังคม และการผลิตสื่อ เพื่อตอบโต้และรู้เท่าทันกลยุทธ์ทางสื่อและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ เป็นคณะกรรมการระดับชาติเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังสื่อและการสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมทั้งกำหนดกลไกการรับและการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวให้ดำเนินการโดยองค์กรวิชาชีพ๒ สถาบันวิชาการ องค์กรศาสนา ภาคประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชนในขณะที่ในส่วนภูมิภาค ให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบในระดับจังหวัดในการนำยุทธศาสตร์ระดับชาติไปดำเนินการให้เกิดปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลสื่อและการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เร่งรัดการดำเนินคดีอย่างเคร่งครัด และพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายควบคุมยาสูบ กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค ได้จัดสัมมนาเพื่อซักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 โดย พญ.ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาฯ วัตถุประสงค์การสัมมนาเพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนสามารถปฏิบัติและปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 พร้อมกันทั่วประเทศ
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8