You are here


ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
สมัชชาครั้งที่: 
1
มติที่: 
1
ชื่อมติ: 
ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
เห็นชอบกับสาระในร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ..... ตามที่ปรากฏในภาคผนวก โดยมีความเห็นเพิ่มเติม ดังแนบ
ผลการปฏิบัติงาน: 

สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551 ได้ให้ฉันทมติเห็นชอบต่อร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2551 โดยมีความเห็นเพิ่มเติมเพื่อขอเพิ่มเติม แก้ไขร่างให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียด: 

2.1 นำความเห็นเพิ่มเติมจากที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 เสนอคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อประกอบการปรับปรุงร่างธรรมนูญฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจารณารับรองต่อไป ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

2.2  เผยแพร่ ประสาน สนับสนุนและผลักดันให้หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศมีการดำเนินงานตามธรรมนูญฯ อย่างกว้างขวาง2.2  เผยแพร่ ประสาน สนับสนุนและผลักดันให้หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศมีการดำเนินงานตามธรรมนูญฯ อย่างกว้างขวาง

2.3 ติดตามผลการนำธรรมนูญฯ ไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติเพื่อรายงานความคืบหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทุกสองปี

 

ผลการปฏิบัติงาน: 

- สช. ได้นำความเห็นเพิ่มเติมและข้อสังเกตจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เสนอต่อคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2552 ณ ห้องประชุมสภาการพยาบาล ได้นำเสนอต่อ คสช. ในการประชุม คสช. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552 มีนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นประธานการประชุม มีมติเห็นชอบต่อร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและดำเนินการตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ต่อไป

- ครม. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 และได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่เสนอทั้งฉบับ โดยไม่มีการแก้ไข และให้นำเสนอต่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ตามลำดับ

- ในวันที่ 7 กันยายน 2552 วุฒิสภารับทราบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่ครม.เห็นชอบแล้ว ไม่มีสมาชิกวุฒิสภาอภิปรายเพิ่มเติม

- ในวันที่ 10 กันยายน 2552 สภาผู้แทนราษฎรรับทราบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่ ครม.เห็นชอบแล้ว โดยมีส.ส.ทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านจำนวน 6 ท่านอภิปรายสนับสนุนและให้ข้อสังเกตเพื่อการปฏิบัติให้เป็นผล

- เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ได้นำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 175 ง. วันที่ 2 ธันวาคม 2552

- กลไกขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ : สช. ได้นำเสนอต่อ คสช. เพื่อจัดให้มีกลไกในการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ไปสู่การปฏิบัติ จำนวน 2 กลไก คือ

1. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552 คสช. ได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม สนับสนุน และประเมินผลการดำเนินงานตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ที่มี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธานกรรมการ และเลขาธิการ คสช. เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2552 คสช.เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการวิจัยระบบสุขภาพสนับสนุนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ มี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ สวรส. เป็นกรรมการและเลขานุการ

- ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ :

1. คณะกรรมการติดตาม สนับสนุนและประเมินผลการดำเนินงานตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การผลักดันธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 สู่การปฏิบัติ โดยมี นพ.ณรงค์ศักดิ์  อังคะสุวพลา เป็นประธานอนุกรรมการ ทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์และแนวทางการผลักดันธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ ขณะนี้ได้นำเสนอร่างยุทธศาสตร์ต่อคณะกรรมการติดตาม สนับสนุน และประเมินผลการดำเนินงานตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติพิจารณา และได้มีข้อเสนอให้แก้ไขปรับปรุง ซึ่งอนุกรรมการได้ปรับแก้ไขตามที่คณะกรรมการติดตามฯ เสนอเสร็จเรียบร้อยแล้ว

2. ยุทธศาสตร์การผลักดันธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 สู่การปฏิบัติ (ปี 2553-2556)

1. เป้าหมาย 3 ประการคือ 1) การได้รับการยอมรับและผูกพันเป็นฐานอ้างอิง เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานจากหน่วยงานและองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 2) เกิดการดำเนินงานทางด้านสุขภาพที่มีทิศทางสอดคล้องกับเป้าหมายของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และ 3) มีองค์ความรู้อย่างพอเพียงเพื่อการขับเคลื่อนและ/หรือทบทวนปรับปรุงธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติฉบับต่อไป

2. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน ประกอบด้วย 1) ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเป็นฐานอ้างอิงในการจัดทำแผนทุกระดับ 2) สร้างกระบวนการขับเคลื่อนสาระที่เป็นประเด็นสำคัญของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติด้วยหลักการตลาดเชิงสังคม 3) การสื่อสารทางสังคม 4 การจัดการความรู้ และ 5) ติดตามและประเมินผล และสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อน

- การเผยแพร่ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ : สช. ได้ดำเนินการในหลากหลายช่องทาง ที่สำคัญได้แก่

1. เผยแพร่ต่อ อปท. โดยจัดทำเป็นชุดความรู้และคู่มือ “การนำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบสุขภาพของ อปท.” จัดส่งให้แก่ อปท. ทั่วประเทศ รวม 8,000 แห่ง ผ่านช่องทางของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2. เผยแพร่ต่อเครือข่าย อสม. โดยจัดทำชุดความรู้และคู่มือ “การนำธรรมนูญสุขภาพไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน” จัดส่งให้แก่แกนประสานเครือข่าย อสม. รวม 5,000 แห่ง ผ่านช่องทางของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

3. ผลิตเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวีดิทัศน์ อาทิ หนังสือประชาเสวนากับการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ บทเรียนความสำเร็จการยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เรื่องเล่าจากชะแล้ วีดิทัศน์เรื่องธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ เป็นต้น และเผยแพร่สู่สาธารณะหลายช่องทาง เช่น เว็ปไซต์ www.nationalhealth.or.th การจัดเวทีสาธารณะ การประชุมและการอบรมต่างๆ

4. จัดกระบวนการเรียนรู้การนำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติไปใช้ประโยชน์ทั้งในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ และเชิงประเด็น อย่างต่อเนื่อง อาทิ จัดเวที สธ.- สช. ใบไม้ต้นเดียวกัน กับผู้บริหารระดับรองอธิบดีและผู้อำนวยการกองแผนงานของกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

- เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 ในการประชุม คสช. ณ ทำเนียบรัฐบาล ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่มี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการ คสช. เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการทบทวนธรรมนูญฯ โดยให้ความสำคัญกับการใช้ฐานความรู้และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ด้วยกระบวนการและเครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสมนำไปสู่ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงใหม่หรือฉบับที่สอง ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งกว่าที่ผ่านมา นำไปสู่การยกระดับสุขภาวะของประชาชนได้อย่างแท้จริง

- เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ตามพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธาน ประชุมเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทาง กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และการดำเนินงาน ด้านสุขภาพของประเทศ ที่ระบุว่า ต้องมีการ ทบทวนธรรมนูญฯ ทุก 5 ปี หลังเริ่มใช้ธรรมนูญ ระบบสุขภาพ เมื่อปีพ.ศ. 2552 ในการประชุม ครั้งนี้พิจารณา 3 หมวด คือ หมวดที่ 1 ว่าด้วย ปรัชญาและแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ ซึ่งเห็นควรให้กำหนดสุขภาพเป็นทั้งสิทธิ และเป็นหน้าที่ของประชาชน ที่ต้องระวังเรื่องการกำหนดโทษที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตโดยบกพร่องในการดูแลสุขภาพและผู้ที่อยู่ในความ รับผิดชอบ ซึ่งมีปัจจัยที่ละเอียดอ่อนยากต่อการ วินิจฉัย ส่วนประเด็นการเกี่ยวโยงหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง กับสาระสำคัญของธรรมนูญฯ นั้นให้คงไว้เป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของ ทุกชีวิต ถือเป็นรากฐานการดูแลสุขภาพ กายใจเช่นกัน  ส่วนหมวดที่ 2 ว่าด้วยคุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป้าหมายของระบบสุขภาพนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน และหมวดที่ 3 ว่าด้วย การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ ที่ต้องครอบคลุมประชาชนทุกคนบนแผ่นดินไทย และทุกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ เพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียม ทั้งนี้ เตรียมที่จะนำเข้าสู้คณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนตุลาคมนี้

- เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2558 สช.ร่วมกับสำนักสนับสนุนการปฏิบัติการพื้นที่ (สปพ.) จะจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้หัวข้อ “จากธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่สู่การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายนที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เพื่อให้ภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานผ่านกระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ให้นำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนตลอดทั้งมีข้อเสนอนโยบายเพื่อการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติทุก 5 ปี 

ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรวิชาการ องค์กรวิชาชีพ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในทุกภาคส่วน ทุกระดับ พิจารณาดำเนินการ
รายละเอียด: 

3.1 นำธรรมนูญฯ ไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ของตน

3.2 สนับสนุนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมในทุกระดับ และร่วมผลักดันให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

 

ผลการปฏิบัติงาน: 

สช. ได้ทำการติดตามผลการดำเนินงานตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งพบว่ามีการดำเนินการที่สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่สำคัญ ดังนี้

  1. การขับเคลื่อนระดับนโยบาย : มีผลงานที่สำคัญ เช่น

    1.1 มีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อ คสช. เพื่อนำเสนอประเด็นของระบบสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติบรรจุเป็นสาระสำคัญของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 11 ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว

    1.2 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กำลังเตรียมการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 โดยวางกรอบการจัดทำแผนอ้างอิงจากการพัฒนาระบบสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

    1.3 มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่ออ้างอิงสาระจากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ

    2) การขับเคลื่อนเชิงประเด็น : มีผลงานที่สำคัญ เช่น

    2.1 การสร้างเสริมสุขภาพ : (1) คณะกรรมการพัฒนาการวิจัยระบบสุขภาพสนับสนุนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติได้มีการพัฒนาแผนงานวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบชุมชน (2) กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยนำไปเป็นฐานอ้างอิงในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557) ซึ่ง ครม. ได้ให้ความเห็นชอบประกาศเป็นนโยบายของรัฐเรียบร้อยแล้ว และ (3) กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ระหว่างการพัฒนายุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติ

    2.2 การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ (1) มีการพัฒนาระบบและกระบวนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จนในปัจจุบันได้มีการประกาศ คสช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ พ.ศ.2552 ซึ่งนำไปแก้ไขปัญหาที่ในการนำมาตรการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 67 ไปสู่การปฏิบัติได้ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาการนำระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพไปใช้ในพื้นที่อีกหลายชุมชน (2) เป็นฐานในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย “โรคติดต่ออุบัติใหม่” นำเข้าสู่การพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งปัจจุบัน ครม.ได้ให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขนำไปดำเนินการ (3) มีการจัดตั้งเครือข่าย “ถมช่องว่างทางสังคม” เพื่อเป็นกลไกร่วมกันจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เคลื่อนไหวทางสังคม เผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพ

    2.3 การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ : (1) นำไปเป็นฐานในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง “การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ” “การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย” ซึ่งนำได้นำเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 และ 2 ที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ (2) นำไปเป็นฐานการพัฒนาข้อเสนอนโยบาย เรื่อง “นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ” และนำเข้าสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3

    2.4 การส่งเสริมสนับสนุนการใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ : (1) นำไปเป็นฐานในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง “การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกให้เป็นระบบบริการสุขภาพหลักของประเทศคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน” เสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 (2) นำไปเป็นฐานการจัดทำแผนงานโครงการ อาทิ ที่จังหวัดสกลนครได้มีรวมตัวกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เป็นต้น

    2.5 การคุ้มครองผู้บริโภค : (1) นำไปเป็นฐานอ้างอิงในการจัดทำร่างกฎหมายจัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้อยู่ในการทำงานร่วมกับทางรัฐสภา (2) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังจัดทำดัชนีชี้วัดการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

    2.6 การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ : นำไปเป็นฐานในการจัดทำยุทธศาสตร์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2554-2559 “การจัดการความรู้สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืน” 

    2.7 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ : นำไปเป็นฐานในการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพแห่งชาติ โดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นเป็นเครื่องมือ ที่ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สสส. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ สช. และ สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ ซึ่ง ครม. ได้ให้ความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว

    2.8 การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข : (1) นำไปเป็นฐานในการจัดทำโครงการจัดการกำลังคนในระดับพื้นที่ โดยปัจจุบันได้เริ่มต้นโครงการขับเคลื่อนแผนแม่บทกำลังคนด้านสุขภาพในภาคอีสานแล้ว (2) นำไปเป็นฐานในการจัดเวทีสาธารณะ เรื่อง หลักสูตรนานาชาติสังคมได้อะไร (3) คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติอยู่ระหว่างการจัดทำแผนการลงทุนกำลังคนด้านสุขภาพ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายเดือนธันวาคม 2553 นี้

    2.9 การเงินการคลังด้านสุขภาพ : นำไปเป็นฐานในการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการสร้างความเป็นธรรมของคนไทยที่มีหลักประกันสุขภาพแตกต่างกัน

3) การขับเคลื่อนระดับพื้นที่ :

3.1 หน่วยงานในพื้นที่มีการนำแนวคิดการจัดทำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติไปจัดทำเป็นธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ไปแล้ว ได้แก่ ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา ธรรมนูญสุขภาพอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ธรรมนูญสุขภาพตำบลริมปิง จังหวัดลำพูน ธรรมนูญสุขภาพตำบลเหมืองหม้อ จังหวัดแพร่ ธรรมนูญสุขภาพตำบลแม่ถอด จังหวัดลำปาง ธรรมนูญสุขภาพตำบลวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

3.2 หน่วยงานในพื้นที่มีการนำแนวคิดการจัดทำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติไปจัดทำเป็นธรรมนูญสุขภาพเชิงประเด็นไปแล้ว ได้แก่ ธรรมนูญสุขภาพลุ่มน้ำภูมี จังหวัดสงขลา และธรรมนูญสุขภาพกองทุนกลาง จังหวัดสงขลา

3.3 นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดทำธรรมนูญสุขภาพในระดับพื้นที่ อีกหลายแห่ง อาทิ พื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เชียงราย อุดรธานี สุรินทร์ เลย อำนาจเจริญ ขอนแก่น ลพบุรี ชัยนาท นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และพะเยา

4) วันที่ 13 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ..... ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่..) พ.ศ..... และร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่..) พ.ศ.... รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และแจ้งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีในประเด็นนี้มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฯ ในหมวดที่ 7 ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนงานในระดับชาติ

5) วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนแม่บทการแก้ปัญหาและพัฒนาแรงงานสาธารณสุขชายแดน พ.ศ. 2555 – 2559 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ โดยมีสาระสำคัญของแผนแม่บทการแก้ปัญหาและพัฒนาแรงงานสาธารณสุขชายแดน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555 – 2559) สรุปได้ดังนี้

1. กรอบแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทการแก้ปัญหาและพัฒนาแรงงานสาธารณสุขชายแดน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555 – 2559)

1.1 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อ 4 สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

1.2 ความครอบคลุมของประชากรทุกกลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทย ได้แก่ คนไทย คนไทยพลัดถิ่น ชนกลุ่มน้อย แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย และผู้หนีภัยจากการสู้รบที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว

1.3 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ข้อ 16 หลักประกันสุขภาพและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพจะต้องครอบคลุมทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย โดยไม่มีการแบ่งแยกตามฐานะเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกาย ความพิการ เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ และอุดมการณ์ทางการเมือง

1.4 การกระจายอำนาจ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นในด้านสุขภาพ

1.5 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 52 วรรคสาม บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้...” ดังนั้น จังหวัดสามารถนำยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ตั้งคำของบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานแก้ปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขชายแดนได้

1.6 การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เนื่องจากการดำเนินงานสาธารณสุขชายแดน โดย สธ. เพียงหน่วยงานเดียวไม่สามารถประสบความสำเร็จ เพราะปัญหาสาธารณสุขชายแดนมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐอื่น โดยเฉพาะปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ นอกจากนี้พบว่า จังหวัดชายแดนมีองค์การระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชนร่วมและ/หรือ สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานสาธารณสุขในจังหวัดชายแดน

1.7 สถานการณ์และสภาพปัญหาสาธารณสุขชายแดนที่สำคัญ ได้แก่

- โรคติดต่อ เช่น โรคมาเลเรีย วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ ฯลฯ

- อนามัยวัยเจริญพันธุ์และอนามัยแม่และเด็ก รวมทั้งค่านิยมการมีบุตรมากของประชากรต่างด้าว ส่งผลต่ออัตราการเกิดของเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยสูงกว่าอัตราการเกิดของเด็กไทย

- ข้อจำกัดของระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อระหว่างประเทศและพื้นที่พักพิงชั่วคราวในกรณีเกินศักยภาพของสถานบริการ

- การลักลอบนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยและผิดกฎหมาย

- ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพ เช่น ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน ภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ และการเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าวที่ไม่เป็นระบบ

สช.ได้ร่วมกับเครือข่ายสนับสนุนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ดังนี้

  1. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 สช. ร่วมกับแกนนำสมัชชาสุขภาพโซนตะวันออก 9 จังหวัด ประกอบด้วย ตราด จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทา สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ได้จัดประชุมคณะทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมภาคตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอประเด็นระดับพื้นที่ การศึกษากรณีจังหวัดสระแก้วในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพของวังน้ำเย็น ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนากลไกโซนตะวันออกเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานร่วมกันของโซนตะวันออก 9 จังหวัดในอนาคต
เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: