You are here


การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย
สมัชชาครั้งที่: 
1
มติที่: 
2
ชื่อมติ: 
การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ให้การรับรองยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย ตามภาคผนวกที่แนบมตินี้
ผลการปฏิบัติงาน: 

สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551 ได้ให้การรับรองยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียด: 

2.1 นำเสนอยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทยต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบและสั่งการให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ฯ

2.2 จัดให้มีกลไกเพื่อยกร่างแผนปฏิบัติการโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.3 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ

2.4 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการในยุทธศาสตร์ที่มีความเร่งด่วนหรือจำเป็นต้องดำเนินการทันที

2.5 ให้รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย ต่อการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3

ผลการปฏิบัติงาน: 
  1. < >. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 และเห็นชอบให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี< >. ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 เห็นชอบกับข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย ตามที่ คสช. เสนอและมอบหมายคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เป็นกลไกหลักในการจัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ฯ แบบมีส่วนร่วม< > : มีการดำเนินงานดังนี้

    สช. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทยขึ้น ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2552 โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ มีองค์ประกอบจากทั้งภาครัฐ ภาควิชาการวิชาชีพ และภาคประชาชน ทำการยกร่างแผนปฏิบัติการไปก่อน ในระหว่างที่องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ (คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นกลไกจัดทำแผนปฏิบัติการ) ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

  2. < >คณะอนุกรรมการที่ประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 5 คณะ คือ< >2 พ.ศ.2552 เรื่อง ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม: เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสุขภาพของผู้ป่วย และได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 < >. ปรากฎว่ามีเนื้อหาในส่วนของยาและเวชภัณฑ์ (ยุทธศาสตร์ที่ 5 เรื่องการใช้ประโยชน์และ/หรือลดอุปสรรคจากข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงยา) ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทยที่เสนอ ครม. ไปก่อนหน้า นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ไปหาทางออกร่วมกันwwwapp1.fda.moph.go.th/drug/)
     

    6. แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ได้จัดประชุมวิชาการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 เรื่องการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยา (ร่วมจัดโดย ReAct) และการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ระยะที่ 2 (2554-2557) เมื่อวันที่ 3 - 4 พฤษภาคม 2554 เป็นการประชุมประจำปีครั้งที่ 2 ของ กพย. มีเครือข่ายเข้าร่วมประชุม 180 คน เพื่อร่วมกันสรุปประเด็นการเรียนรู้ของเครือข่ายและพัฒนาข้อเสนอต่อการทำงานของ กพย. ในระยะที่ 2 (2554-2557) โดยใช้ข้อเสนอที่ได้จากการประชุมในวันที่ 19 เมษายน 2554 เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณา โดยผลสรุปที่ได้จากการประชุมสอดคล้องกับการประชุมใน ครั้งที่ 1 ดังนี้

         1) การที่ กพย.ต้องทำหน้าที่ เป็นศูนย์เฝ้าระวังระบบยาที่เข้มแข็ง (Drug System Watchdog) และเครือข่ายจะทำหน้าที่เป็นกลไกในการส่งสัญญาณปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบยาอย่างมีประสิทธิภาพ และเท่าทันสถานการณ์ และมีข้อเสนอเพื่อปรับยุทธศาสตร์ สสส. คือ “สื่อสารที่หลากหลาย สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง เสริมภูมิคุ้มกันที่เท่าทันของชุมชน”

         2)  5 ประเด็นปัญหาสำคัญในระบบยาที่ กพย. ต้องมุ่งพัฒนา ทั้งนี้มุ่งเน้นการทำงานระดับจังหวัดหรือระดับภาค มากขึ้น

    7. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการ 3 กองทุน ได้ลงนามความร่วมมือจัดทำ “ราคากลางยา” และเครื่องมือแพทย์โดยจะเริ่มใช้ในกลุ่มยาราคาแพงหรือที่เรียกว่า บัญชียา จ (2) จำนวน 7 รายการ รักษาโรคสำคัญ อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด เกล็ดเลือดต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คาวาซากิ อาการติดเชื้ออย่างรุนแรง รวมถึงจอประสาทตาเสื่อม โดยมีเป้าหมายคือ ช่วยให้รัฐลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น และทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น

    8. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หารือร่วมกับนักธุรกิจสหรัฐอเมริกา ผลการประชุมจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กับ บริษัทยาข้ามชาติ เพื่อกำหนดราคายาและเวชภัณฑ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งหากคณะกรรมการชุดนี้เกิดขึ้นจริง นับเป็นคณะทำงานชุดที่ 2 ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการร่วม 3 กองทุน ที่ได้ประชุมเพื่อจัดทำราคากลางยา

    9. เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ได้มอบคู่ใอการตรวจสอบสิทธิบัตรเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ทางยาให้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำไปปรับปรุงระบบการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร เพราะบริษัทผลิตยาที่ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรที่ได้รับการคุ้มครองแบบไม่รู้จบ (เอเวอร์กรีนนิ่ง) จนส่งผลให้ยามีราคาแพงและผู้ป่วยในไทยเข้าถึงยาได้ยาก ดังนั้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรเร่งขจัดข้อถือสิทธิในสูตรตำรับใหม่ที่ใช้องค์ประกอบของสารเคมีเดิม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้วรวมถึงกรรมวิธีการเตรียมสูตรตำรับดังกล่าว หากตัวยาสำคัญเป็นที่รู้จักก็ไม่สมควรได้รับสิทธิบัตรและวิธีรักษาบำบัด รวมถึงการวินิจฉัยไม่ควรได้รับ

เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: