You are here


วิกฤตเศรษฐกิจและการปกป้องสุขภาวะคนไทย
สมัชชาครั้งที่: 
1
มติที่: 
14
ชื่อมติ: 
วิกฤตเศรษฐกิจและการปกป้องสุขภาวะคนไทย
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ให้รัฐบาลดำเนินมาตรการคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะเพิ่มการสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอสำหรับการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์รวมถึงการจัดหายาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ และการสนับสนุนการรักษาทดแทนไต การจัดมาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสำหรับผู้สูงอายุที่ยากจนและคนพิการ รวมทั้งการฟื้นฟูจิตใจสำหรับผู้ตกงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง และผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อวิกฤตเศรษฐกิจ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2551 มีฉันทามติเห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจและการปกป้องสุขภาวะคนไทย
  • ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ได้พิจารณามติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2551 และที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 29 มิถุนายน 2552 มีมติเห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจและการปกป้องสุขภาวะคนไทย นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6/2551
  • เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีติเห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจและการปกป้องสุขภาวะคนไทย ของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานประกันสังคม ร่วมกันดำเนินการดังนี้
รายละเอียด: 

2.1 ร่วมดำเนินงานอย่างแข็งขันตามมาตรการคุ้มครองทางสังคมในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจดังที่กล่าวในข้อ 1

2.2 ปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพให้ถูกต้อง ทันสมัยและครบถ้วน สำหรับใช้ในการติดตาม เฝ้าระวัง รวมทั้งเตือนภัยก่อนเกิดสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์ และสังเคราะห์บทเรียนและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ให้ครอบคลุมทุกแง่มุมอย่างรอบด้านและเป็นระบบ เพื่อเตรียมวางแผนกลยุทธ์หรือกำหนดมาตรการรองรับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ ในอนาคต

2.3 พัฒนาประสิทธิภาพระบบบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

2.4 พัฒนานโยบายและมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพในการจัดการกับพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อปัญหาความยากจน เช่น การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ

2.5 กำหนดมาตรการระยะสั้นและระยะยาวสำหรับป้องกันและรับมือกับผลกระทบดังกล่าวอย่างเหมาะสมและทันเวลา โดยปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานประกันสังคม ดังนี้

      1) การขอเปลี่ยนสถานพยาบาลของสำนักงานประกันสังคมให้สามารถทำได้ที่สถานบริการสาธารณสุขที่ผู้ตกงานไปขอใช้บริการ

      2) การขอขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพโดยให้ผู้ตกงานและใช้สิทธิประกันสังคมต่อจนครบแปดเดือนแล้ว สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพทันที โดยอนุโลมให้ใช้หลักการเดียวกับการใช้สิทธิครั้งแรก

      3) เร่งหารือให้มีข้อสรุปในการดำเนินการและแก้ไขระเบียบปฏิบัติร่วมกันโดยเร็วภายในเดือนมกราคม 2552 โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

      4) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาธารณะ สถานประกอบการ สถานบริการสาธารณสุข ตลอดจน Call Center  ของทุกหน่วยงานให้ประชาชนเข้าใจวิธีการรับบริการในกรณีดังกล่าว

      5) กระทรวงสาธารณสุขโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขร่วม กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกันสังเคราะห์องค์ความรู้และบทเรียนจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในรอบนี้

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2552 เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รองรับผลกระทบทางสุขภาวะอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การจัดการความรู้และข้อมูลสารสนเทศ การสร้างทักษะในการเผชิญวิกฤติ การสร้างคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสถานประกอบการและชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขผลกระทบทางสังคมที่ร้ายแรง และความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และและเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางการดำเนินงานตามแนวทางการรองรับผลกระทบทางสุขภาวะอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยมีนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้มีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง พิจารณากำหนดแนวทางการทำงานและจัดทำโครงการต่าง ๆ ในแต่ละยุทธศาสตร์และนำไปสู่การปฏิบัติด้วยแล้ว
  • เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 รายงานผลการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขตามนโยบายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบต่อสุขภาพจากวิกฤติ และมีแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รองรับผลกระทบทางสุขภาวะอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การจัดการความรู้และข้อมูลสารสนเทศ การสร้างทักษะในการเผชิญวิกฤติ การสร้างคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสถานประกอบการและชุมชนเข้มแข็ง การแก้ไขผลกระทบทางสังคมที่ร้ายแรง และความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางการดำเนินงานตามแนวทางการรองรับผลกระทบทางสุขภาวะอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยมีนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นประธานอนุกรรมการ และได้พิจารณากำหนดแนวทางการทำงานและจัดทำโครงการต่างๆ ในแต่ละยุทธศาสตร์และนำไปสู่การปฏิบัติด้วยแล้ว
  • เมษายน 2554 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ระดับชาติ ปี 2554-2558 จำนวน 2,000 เล่ม โดยได้กำหนดเป้าหมายระดับประชาชน 4 เป้าประสงค์ ได้แก่

            1) ชุมชนมีการเฝ้าระวังและสร้างมาตรการทางสังคมด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้ประชาชนใช้ศักยภาพในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้แข็งแรง โดยมีการจัดระเบียบการปกครองของคนในสังคมด้วยกลไกทางสังคม

            2) ประชาชนมีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มุ่งสร้างพลังขับเคลื่อนสังคมสุขภาพโดยประชาชนตามแนวคิดสุขภาพดีถ้วนหน้า

            3) ชุมชนมีนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มุ่งหวังว่าประสบการณ์ในการพัฒนาด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนด้วยตัวชุมชนเอง โดยอาศัยศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ให้เป็นรูปแบบเฉพาะพื้นที่ที่เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่นหรือชุมชน อีกทั้งสามารถขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ได้

            4) ประชาชนปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมสุขภาพ มุ่งให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและสามารถพัฒนาไปสู่สังคมสุขภาพ ทั้งนี้ภาครัฐและประชาชนต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด โดยเชื่อมั่นว่าประชาชนคิดเป็น ทำเป็น พึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้ พร้อมทั้งสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของครอบครัวและชุมชนซึ่งจะช่วยลดภาระในการดูแลสุขภาพและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งของประชาชนและรัฐลง

 

ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พิจารณาดำเนินการดังนี้
รายละเอียด: 

3.1 สนับสนุนจัดตั้ง “หน่วยเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาวะคนไทย” ขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ให้มีหน้าที่ดังนี้

    1) ติดตามผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาวะคนไทยในทุกๆ ด้าน โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ หรือจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นเพิ่มเติม

    2) รายงานผลการติดตามเฝ้าระวังดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะๆ

3.2 ให้รายงานผลการดำเนินงานตามมตินี้ต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติรับทราบในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่สอง ปี 2552

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาพและระบบบริการสุขภาพของไทย 1 ชุด มีทั้งหน่วยงานภายในกระทรวงฯ และหน่วยงานนอก จะทำให้สามารถวางแผนแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและได้ตั้งศูนย์ติดตามสถานะสุขภาพจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเป็นหน่วยเฉพาะกิจ โดยทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพของคนไทย ติดตามประเมินสถานการณ์ ผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาพและระบบบริการของคนไทย ทั้งภาครัฐเอกชนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องด้วย และนำเสนอผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทุก 3 เดือน เพื่อตัดสินใจเชิงนโยบายและกำหนดมาตรการต่างๆ ในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนไทย ทั้งนี้การดำเนินการใช้เวลา 2 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552-ธันวาคม 2553 อีกทั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติจะสำรวจข้อมูลผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจต่อผู้ใช้แรงงานในปี 2552 และ 2553 ด้วย
  • เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559 คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” หรือ คมส. ที่มี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานได้มีการประชุม คมส. ครั้งที่ 2/2559 ซึ่งในที่ประชุม น.พ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประธาน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข รายงานความก้าวหน้า คมส. มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและญาติ กับบุคลากรทางการแพทย์” ซึ่งมีการขับเคลื่อนมติสมัชชาฯสุขภาพ ไม่มากนัก และมอบให้ นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา อนุกรรมการฯ จากกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ตัวแทนภาคประชาชน เป็นเจ้าภาพหลักในการวิเคราะห์ปัญหา และทบทวนว่าต้องดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร
เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: