You are here


ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม: เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และสุขภา...
สมัชชาครั้งที่: 
2
มติที่: 
4
ชื่อมติ: 
ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม: เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และสุขภาพของผู้ป่วย
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
รับรองยุทธศาสตร์ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ตามภาคผนวกท้ายมตินี้
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ได้มีมติเห็นชอบกับยุทธศาสตร์ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียด: 

2.1 นำเสนอยุทธศาสตร์ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามยุทธศาสตร์

2.2 นำเสนอคณะรัฐมนตรี

2.2.1 เพื่อมอบหมายคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จัดตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วนที่ไม่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจยาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่

     1) พัฒนาเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก รวมถึงแนวปฏิบัติทั้งในต่างประเทศและระหว่างประเทศให้เป็นเกณฑ์กลางของประเทศ และปรับปรุงให้ทันสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนการส่งเสริมการขายยา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา และธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ผลประโยชน์ทับซ้อนในระบบยาที่เกี่ยวข้อง

     2) ศึกษาระบบการนำหลักเกณฑ์จริยธรรมที่เป็นเกณฑ์กลางของประเทศมาบังคับใช้ในรูปของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งระบบบริหารกฎหมายที่เข้มแข็ง มีผลบังคับใช้ได้

     3) ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบและนำหลักเกณฑ์จริยธรรมฯ ไปประยุกต์ใช้หรือขยายเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง

2.2.2 เพื่อมอบหมายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ร่วมกันตั้งคณะทำงานศึกษาพัฒนาข้อเสนอในการจัดตั้งองค์กรที่ทำงานอย่างอิสระ ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบจัดทำกลไกติดตามตรวจสอบ รวบรวมและรายงานสถานการณ์การส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมในระดับประเทศ โดยมีองค์กรประกอบจากทุกภาคส่วนรวมถึงภาคประชาสังคมร่วมตรวจสอบ ให้รัฐจัดสรรและสนับสนุนงบประมาณเพื่อบริหารจัดการองค์การอิสระอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ให้คณะทำงานฯ ปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี

 

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงาน ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
  • วันที่ 2 กันยายน 2553 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ซึ่งมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และคณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ และมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. ... และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. ... ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.การ เข้าถึงยา 2.การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 3.การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยา ชีววัตถุ และสมุนไพร เพื่อการพึ่งพาตนเอง และ 4.การพัฒนาระบบการควบคุมยาเพื่อประกันคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของยา
  • วันที่ 14 มีนาคม 2554 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบนโยบายแห่งชาติด้านยาและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ มียุทธศาสตร์ย่อยส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยา และยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ดังนั้นคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนกลไกและดำเนินกิจกรรมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมขึ้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมติดังกล่าว
  • วันที่ 2 ก.ย.2553 ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบยาฯ ครั้งที่ 1/2553 ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลซึ่งมียุทธศาสตร์ย่อยส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยา และยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมเป็นประเด็นหนึ่งด้วย
  • เมื่อเดือนมกราคม 2554 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ได้มีมติการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาฯ เพื่อดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่ สมัชชาได้มีมติไว้ โดยจะกำหนดเกณฑ์การปฏิบัติไว้ในแนวทางเดียวกันเพื่อดูแลเรื่องการใช้ยาอย่างมีจริยธรรม
  • วันที่ 30 มีนาคม 2554 คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ได้ยกร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยเสร็จสิ้นแล้ว หลักเกณฑ์ดังกล่าว ชื่อว่า “ร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทและความสัมพันธ์ของแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ” มีสาระในการแยกยาออกจากสินค้าอุปโภค บริโภคอย่างอื่น จึงไม่ควรมีการส่งเสริมให้เกิดการบริโภคยาโดยไม่จำเป็น ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีความรู้ความเข้าใจและเกิดแนวทางการใช้ยาที่เหมาะสมของประชาชน สร้างสำนึกของผู้ผลิตยา ผู้ขายยา ตลอดจนผู้มีสิทธิสั่งใช้ยา จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนากฎหมายที่จะกำกับดูและการส่งเสริมการขายยาและการโฆษณาที่เหมาะสม ดังนี้
  1. การศึกษาดูงานที่องค์การเภสัชกรรมเป็นเจ้าของโครงการโดยเชิญผู้ตรวจราชการกระทรวงทุกเขต ร่วมศึกษาดูงาน ประมาณ 3-5 ท่าน
  2. การศึกษาดูงานเฉพาะกลุ่มผู้ตรวจราชการกระทรวง/สาธารณสุขนิเทศ/ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงทุกเขต โดยสำนักตรวจราชการกระทรวงเป็นเจ้าของโครงการ มอบหมาย นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง เป็นประธาน นพ.ยุทธนา พูนพานิช ผู้อำนวยการสำนักตรวจและประเมินผล เป็นผู้ดำเนินการ โดยประสานกับองค์การเภสัชกรรมในการจัดทำโครงการฯ และพิจารณารายละเอียดต่อไป
  3. ในส่วนของภูมิภาค องค์การเภสัชกรรมจะสนับสนุนเงินโดยให้ สสจ.และรพ.นำไปบริหารจัดการเอ
  • เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ในการประชุมปรึกษาหารือข้อราชการของกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงรูปแบบในการสนับสนุนการศึกษาดูงานขององค์การเภสัชกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้ขัดต่อหลักเกณฑ์และจริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย< > 26 กรกฎาคม 2554 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ นำโดย .(คลินิก) นพ. ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ ประธานอนุกรรมการฯ และ นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม ภายใต้อนุกรรมการฯ ร่วมกับ แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย โดยมีกลุ่มที่เกี่ยวข้องทั้งบุคลากรสาธารณสุขผู้สั่งใช้ยา เภสัชกรในสถานพยาบาล  สถานบริการเภสัชกรรม บริษัทยา  ผู้แทนยา ผู้บริหาร ผู้จัดซื้อจัดหายาของสถานพยาบาล  บุคลากรจากสถานศึกษา สภาวิชาชีพ และนักกฎหมาย เข้าร่วมกว่า 100 คน ก่อนสรุปผลเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ  เพื่อขอความเห็นชอบและคาดหวังให้สภาวิชาชีพและหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องนำไปประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
  • ร่างเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาที่จะใช้เป็นเกณฑ์หรือแบบแผนการปฏิบัติของประเทศได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 ต่อมา คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลได้มีมติเห็นชอบเหลือเพียงการนำเสนอร่างดังกล่าวต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติและประกาศใช้เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากร่างเกณฑ์นี้โดยเร็ว อีกทั้งจะเป็นการช่วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลดงบประมาณการเบิกใช้ยาเกินความจำเป็นอีกด้วย
  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 นักวิชาการด้านยา และเครือข่ายภาคประชาชน เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี เร่งออกกฎหมายยาฉบับใหม่ที่ครอบคลุมปัญหา การขายยาราคาแพง และการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม เพราะพบว่าบริษัทยาของสหรัฐอเมริกากระทำผิดหลายข้อหา จนต้องเสียค่าปรับเกือบ 100,000 ล้านบาท แต่ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดคดีอาญาได้ ขณะที่สถานการณ์การขายยาราคาแพง และการส่งเสริมการขายยาอย่างขาดจริยธรรมในประเทศไทย ก็น่าวิตกกังวลไม่น้อยไปกว่าคดีนี้ เพราะ พ.ร.บ.ยา ปี 2510 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังมีช่องว่าง และไม่ครอบคลุมปัญหา  นักวิชาการ และเครือข่ายภาคประชาชน ยังเรียกร้อง ให้ผู้บริโภคร่วมกันตรวจสอบ และเฝ้าระวังพฤติกรรมการขายยาที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม หากพบการกระทำที่ไม่เหมาะสมให้แจ้งมาที่สภาเภสัชกรรม เพื่อดำเนินการเอาผิดต่อไป และขอให้นายกรัฐมนตรี เร่งลงนามร่างแก้ไข พ.ร.บ.ยา ฉบับภาคประชาชน และผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับของกระทรวงสาธารณสุข เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ออกเป็นกฎหมายโดยเร็ว เพื่อปกป้องไม่ให้ผู้ป่วยถูกเอาเปรียบจากบริษัทยา
  • เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติ ว่านโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559 กำหนดให้พัฒนาเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาเป็นเกณฑ์กลางของประเทศ และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนนำไปประยุกต์ใช้และขยายเพิ่มเติมให้เหมาะสม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนสภาวิชาชีพรวม 24 หน่วยงาน ได้เห็นพ้องต้องกันร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในระบบยาเพื่อพัฒนาเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาที่สามารถนำไปปฏิบัติร่วมกันภายใน 3 เดือน
  • เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข นายยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2558 ที่ประชุมได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมยา สมุนไพร และชีววัตถุ เพื่อส่งเสริมการพัฒนายาของไทย โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน 2. การปรับปรุงเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตยา บริษัทยา สมาคมผู้บริโภคยา สภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับยา จะต้องไม่ให้ผลประโยชน์ที่นำมาซึ่งการสั่งใช้ยาของบริษัทตัวเอง และ 3.การปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการจัดทำราคากลางยา ซึ่งบริษัทยาขอมีส่วนร่วมในการจัดทำราคากลาง โดยให้คณะอนุกรรมการการอุทธรณ์ราคากลางยา ปรับปรุงการจัดทำราคากลางยาและจะนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว  นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาค่ารักษาพยาบาลราคาแพง ที่เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ราคายา จะต้องจำหน่ายไม่ให้เกินราคาที่ติดมาจากโรงงานผู้ผลิตและโรงพยาบาลเอกชนสามารถเรียกเก็บค่าบริบาลทางเภสัชกรรมได้ในราคาที่เหมาะสม โดยจะต้องแจ้งราคายาและแจกแจงรายละเอียดให้ผู้มารับบริการทราบก่อนชำระค่ายา ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการสามารถนำใบสั่งยาไปซื้อนอกโรงพยาบาลได้หากเห็นว่าราคายาในโรงพยาบาลสูงเกินไป 2.ระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินวิกฤติ สามารถรับการรักษาที่เร่งด่วนตามมาตรฐานในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และ3.เร่งจัดทำระบบตรวจสอบอัตราค่ารักษาพยาบาลและให้ข้อมูลแก่ประชาชนตลอดจนเปิดสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนค่ารักษาพยาบาลแพงตลอด 24 ชั่วโมง 2 หมายเลข คือ 02 1937 999, 1330 และโทร.1166 เฉพาะเวลาราชการ
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ได้รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 แล้ว