You are here


การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นระบบบริการ...
สมัชชาครั้งที่: 
2
มติที่: 
7
ชื่อมติ: 
การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นระบบบริการสุขภาพหลักของประเทศคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติต่อ (ร่าง) แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วย การพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.256-2564            1. อนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้                1.1 อนุมัติ (ร่าง) แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วย การพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.256-2564 โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของอาเซียนภายใน พ.ศ.2564 และมูลค่าของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัวภายในปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ได้แก่ (1) ส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ (2) พัฒนาอุตสาหกรรมและการตลาดสมุนไพรให้มีคุณภาพระดับสากล (3) ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ และ (4) สร้างความเข้มแข็งของการบริหารและนโยบายภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน กรอบวงเงินงบดำเนินการและงบลงทุนรวมประมาณ 18,500 ล้านบาท              1.2 มอบหมายให้กระทรวงหลักทั้ง 9 กระทรวง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโ,ยี กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง              1.3 เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบายขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ รวมถึงให้ข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสมุนไพรของประเทศ โดยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ           2. ส่วนเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานภายใต้กรอบทิศทางตามแผนแม่บทฯ ให้มีความชัดเจน และปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปีแรก โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า และการบูรณาการการดำเนินงานเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน คลอดจนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโ,ยี กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีการประเมินผลเป็นรายปี และควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขในภาพรวม นโยบายส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness) 8ความคุ้มค่าด้านงบประมาณ สามารถเข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ ควรครอบคลุมการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่อันตรายเพื่อสร้างความเชื่อมมั่นต่อผู้บริโภค เช่น การสร้างระบบเฝ้าระวังและเครือข่ายในการจัดการปัญหา และระบบติดตามการตลาดหลังการขายที่เข้มงวดและมีบทลงโทษที่เหมาะสม รวมทั้งควรเพิ่มเติมกิจกรรมที่จะทำให้การขับเคลื่อนแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย            3. ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ                3.1 เร่งรัดการสรรหาบุคคลผู้ซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ แล้วนำเสนอประธานกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป                3.2 บูรณาการการทำงานตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยตามที่เสนอในครั้งนี้กับยุทธศาสตร์ Medicl Hub ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.2559-2568) ระยะ 10 ปี เพื่อให้การดำเนินการมีความเหมาะสมเป็นปัจจุบัน ไม่ซ้ำซ้อนและสอดคล่องกันต่อไป รวมทั้งกำหนดเป้าหมายการดำเนินการและผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมในปี 2560 ด้วย                3.3 พิจารณาทบทวนปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ..... ให้มีความเหมาะสมเป็นปัจจุบันไม่ซ้ำซ้อน และสอดคล้องกันต่อไป เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม มีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสคร์การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) และให้เสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 3            (พ.ศ. 2560 - 2564) มีเป้าประสงค์ ดังนี้ 1. ประชาชนเข้าถึงและใช้บริการระบบการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ประสิทธิผล ปลอดภัย และใช้อย่างสมเหตุสมผล 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านคุณภาพ การแพทย์แผนไทย ยาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพ และการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ 3. เพื่อให้ภาคีเครือข่ายทุกระดับใช้เป็นกรอบและทิศทางในการขับเคลื่อนภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทย ร่วมกัน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไทให้เข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการระบบบริการการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกและระบบยาจากสมุนไพรกับระบบการแพทย์อื่น ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน บุคลากรและเครือข่าย  
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ และกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกลไกหลักร่วมกับหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 7 ดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

1.1 กำหนดให้กลไกระดับจังหวัดที่ประกอบด้วย หมอพื้นบ้าน แพทย์แผนไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคม ทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนบทบาทและพัฒนาศักยภาพของหมอพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนนั้นๆ

1.2 ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคม ดำเนินการ

1.2.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เครือข่ายของหมอพื้นบ้านเป็นสภาการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อสนับสนุนและสร้างเสริมสถานภาพของหมอพื้นบ้าน รวมทั้งเพื่อเป็นเวทีและกลไกในการเสาะหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหมอพื้นบ้านและพัฒนาศักยภาพให้เป็นที่ยอมรับและสานต่อองค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพชนให้ดำรงอยู่ในชุมชน ในลักษณะสร้างเสริมสุขภาพวิถีไท ส่งเสริมการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างมีฐานรากหลากหลาย ให้นำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพแบบพึ่งตนเองและระบบการคุ้มครองผู้ป่วยและผู้บริโภค

1.2.2 ส่งเสริมให้จัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก และจัดสรรงบประมาณประจำปี โดยการมีส่วนร่วมและริเริ่มของชุมชน

1.3 ส่งเสริมการรวมกลุ่มเครือข่ายของแพทย์แผนไทย ได้แก่ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย และสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งเป็น สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยโดยทำหน้าที่ในการส่งเสริม ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้มีกรอบเวลาในการศึกษาภายใน 2 ปี อนึ่งสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยควรมีองค์ประกอบจากผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ในสัดส่วนที่เหมาะสม

1.4 สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้

1.4.1 เร่งรัดการจัดตั้งกลไกศึกษาความเป็นไปได้ในการตรากฎหมายว่าด้วยยาไทยและยาจากสมุนไพรไทย เพื่อการส่งเสริมการใช้ยาไทยและสมุนไพรของประเทศ โดยเป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

1.4.2 จัดทำแผนปฏิบัติการพร้อมจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาตำรับยาผลิตภัณฑ์ยาไทยและสมุนไพรไทย โดยพัฒนาตำรับยาระดับชาติ จำนวนอย่างน้อย 100 ตำรับภายใน 3 ปี

1.4.3 ประสานกับคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เพื่อให้พิจารณาทบทวน ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการและกระบวนการพิจารณาบรรจุยาไทย และยาจากสมุนไพรเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติตามบริบทของการแพทย์แผนไทย อย่างน้อย 20 รายการใน 3 ปี

1.4.4 เร่งรัดให้มีการจัดระบบบริการด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ควบคู่การแพทย์แผนปัจจุบัน ในหน่วยบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาระบบบริการและการส่งต่อที่เหมาะสม และให้สามารถเข้าสู่หลักประกันสุขภาพ ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนอื่นๆ เพื่อจะเป็นการบริการสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับ

1.4.5 ประสานกับคณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จัดการให้เกิดระบบสนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีการจัดระบบบริการด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ควบคู่การแพทย์แผนปัจจุบัน โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาระบบการส่งต่อที่เหมาะสม

1.4.6 ขอให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการดำเนินการจัดทำแผนการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบใน 4 ภูมิภาค อย่างน้อยภาคละ 1 แห่ง เพื่อเป็นรากฐานหลักในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ให้เป็นระบบบริการสุขภาพหลักของประเทศคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้ภาคีหลัก เช่น เครือข่ายแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน พระสงฆ์และเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการแพทย์แผนไทยเข้าร่วมวางแผนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับวัฒนธรรมและระบบนิเวศของชุมชน

1.4.7 ขอให้กองการประกอบโรคศิลปะ และคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย

1) เร่งเผยแพร่กฎหมาย เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนการสอนแบบรับมอบตัวศิษย์ รวมทั้งการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยทุกประเภทให้รู้ทั่วกัน เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนและนักเรียน ผู้สนใจเข้าศึกษา และร่วมกันพัฒนาการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย

2) ปรับเกณฑ์การสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยทุกประเภท ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาและความหลากหลายของความเชี่ยวชาญ

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ในภาพรวมของการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ สช. ได้ประสานงานให้มีการนำเสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินี้ต่อคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นกรรมการอยู่ด้วย เมื่อวันที่ 2-4 กันยายน 2552 คณะกรรมการฯ รับทราบและแต่งตั้งกลไกเพื่อการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินี้ สำหรับการกำหนดให้มีกลไกระดับจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนบทบาทและพัฒนาศักยภาพของหมอพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนนั้น มีการดำเนินการดังนี้

          (1) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กำหนดโครงสร้างทางระบบราชการ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดยนำร่องตั้งกลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเขตละ 1 แห่ง รวม 18 เขต ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่และประสานงานกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ในการดำเนินการจะมีนายทะเบียนกลางเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

          (2) สปสช. ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นประธาน

          (3) สถาบันสุขภาพวิถีไทย

                 (3.1) ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นแนวทางการพัฒนากลไกระดับจังหวัด กรณีสภาหมอเมืองล้านนาเชียงราย

                 (3.2) ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสถาบันสุขภาพวิถีไท ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ได้รายงานผลการศึกษาสถานการณ์งานวิจัยย้อนหลัง 10 ปี ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร และการพัฒนาโครงการเพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 มติ 7 ข้อ 1.1 และ 1.2 อยู่ระหว่างการดำเนินการ

                 (3.3) ได้ร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสมัชชาสุขภาพล้านนา เรื่อง ตำบลแม่สุกกับการขับเคลื่อนการแพทย์พื้นบ้าน ณ โรงแรมพะเยาเกทเวย์ จ.พะเยา เมื่อวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2554 มีข้อเสนอจากเครือข่ายในเรื่องต่างๆ ทั้งการจัดการด้านการดูแลสุขภาพภาคประชาชนอย่างไรให้เกิดความเข้มแข็ง การทำงานที่เชื่อมประสานกันแบบองค์รวมของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรชุมชนในการหนุนช่วยสนับสนุนหมอพื้นบ้านในด้านต่างๆ การไม่แบ่งขั้วเลือกข้างและรู้จักเลือกรับปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อเป้าหมายสูงสุดในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ

            (4) สช. สนับสนุนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพล้านนา (8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) จนเกิดการทำงานในลักษณะสภาหมอเมืองล้านนาเชียงราย 

  • ยังไม่มีกลไกระดับจังหวัด เนื่องจากอยู่ในระหว่างการพิจารณาศึกษากลไกที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดกลไกที่เหมาะสม ทั้งนี้แต่ละหน่วยงานมีกลไกในการทำงานอยู่ แต่ยังไม่ใช่กลไกระดับจังหวัด ในส่วนของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ มีกลไกของกรมภายใต้พรบ.คุ้มครองและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ อย่างไรก็ตามกลไกดังกล่าวเป็นเพียงกลไกการคัดเลือกตัวแทนมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ยังไม่มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนบทบาทและพัฒนาศักยภาพของหมอพื้นบ้านโดยตรง
  • สปสช. มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนหน่วยบริการระดับจังหวัดให้มีคุณภาพ ทั้งนี้มีการบูรณาการกับกองทุนฟื้นฟูระดับ อบต./เทศบาล แต่ยังไม่ใช่เรื่องหมอพื้นบ้าน
  • เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม 2555 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “สานพลังขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2” ณ โรงแรมรติล้านนา จ.เชียงใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมผลักดันสร้างสุขภาวะคนไทยด้วยศาสตร์ภูมิปัญญาไท การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555-2559) ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) แล้ว และรอเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 2 นี้จัดทำขึ้นโดยสานความต่อเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ฉบับที่ 1 มุ่งใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) และธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 เป็นหลัก โดยมี 6 ยุทธศาสตร์คือ (1) การสร้างและจัดการความรู้ ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท (2) การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนและระบบบริการสาธารณสุข (3) การพัฒนากำลังคน (4) การพัฒนาระบบยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร (5) การพัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองภูมิปัญญาไทย และ (6) การสื่อสารสาธารณะ สำหรับผลจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ก่อให้เกิดเครือข่ายนักวิจัยทุกระดับ มีชุดความรู้สำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มีการพัฒนามาตรฐานการบริการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและมาตรฐานบุคลากร การสร้างความเข้มแข็งของระบบยาไทย มีการส่งเสริมการปลูกสมุนไพร และผลิตยาสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้ในระบบยาของประเทศ ตลอดจนมีระบบการคุ้มครองภูมิปัญญาไทผ่านระบบฐานข้อมูลดิจิทัลภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทย (TKDI) เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบการละเมิดภูมิปัญญาไทยควบคู่ไปกับการพัฒนาบทบาทเชิงรุกของประเทศไทยในเวทีเจรจาระหว่างประเทศ  ทั้งนี้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจะให้การสนับสนุนงบประมาณและโจทย์การวิจัยเพื่อเป็นการทำงานร่วมกับภาคีภาควิชาการ
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2555 คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งตั้งขึ้นภายใต้อำนาจของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับกรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การนวดไทย มรดกไทยสู่มรดกโลก พ.ศ.2556-2559 ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นใน 3 เป้าประสงค์ ได้แก่ 1. การนวดไทยมีคุณภาพมาตรฐาน 2.การนวดไทยสามารถพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ที่สร้างสุขและสร้างรายได้ 3. อัตลักษณ์นวดไทยได้รับการยอมรับทั่วโลก  การนวดไทยถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาติ มีการจารึกและบันทึกในเอกสารโบราณโดยสืบทอดและใช้มายาวนานกว่า 200 ปี ในปัจจุบันเกิดสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งพบปัญหาหลายด้าน ทั้งการขาดความตระหนักรู้ว่าอะไรคือภูมิปัญญาดั้งเดิมการนวดไทยที่เป็นมรดกแห่งชาติ คุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการอบรมและการศึกษาวิชาชีพการนวดไทย การขาดมาตรฐานของการบริการการนวดไทย ขาดกลไกการจัดการความรู้ภูมิปัญญาด้านนี้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ฐานข้อมูลการนวดไทยกระจัดกระจาย ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาที่จะต้องเร่งรัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้โดยเร็ว  สำหรับภาคีที่เข้าร่วมจัดทำแผน อาทิ สธ. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มหาวิทยาลัย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา สมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระราชินูปถัมภ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย
  • วันที่ 5 กันยายน 2555 นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในการขับเคลื่อน “นโยบายและยุทธศาสตร์การนวดไทยมรดกไทยสู่มรดกโลก” ที่จะช่วยพัฒนาการรวดไทยไปในระดับสากลเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ 
  • เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในประชุมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้านแผนไทย บูรณาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพร เข้าสู่ระบบบริการสุขภาพอย่างครบวงจรในรูปแบบเขตสุขภาพ ในปีนี้ (2558) ตั้งเป้าให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ ให้บริการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยคู่ขนานกับแพทย์แผนปัจจุบันอย่างน้อย ร้อยละ 50 และรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้การแพทย์แผนไทยมากขึ้นให้ได้ ร้อยละ 18 ของผู้ป่วยที่ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับการแพทย์แผนไทยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ สำหรับต้นน้ำได้แก่ การพัฒนาแหล่งปลูกสมุนไพรที่มีคุณภาพและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลางน้ำได้แก่พัฒนาโรงงานผลิตยาสมุนไพรให้มีมาตรฐาน GMP และปลายน้ำได้แก่ส่งเสริมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ มุ่งเน้นและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้มีมาตรฐานในระดับสากล พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน ให้มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้มากยิ่งขึ้น ขณะนี้ได้บูรณาการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบริการตามเขตสุขภาพ ซึ่งมี 12 เขต และกรุงเทพมหานคร ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยพัฒนาระบบบริการ และสมุนไพร จะช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ 
  • เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 ผศ.(พิเศษ)ดร.นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ชี้แจงงว่าา จากการประเมินผลการจัดบริการแพทย์แผนไทยที่ผ่านมา พบว่าได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นปวดเมื่อย หรือผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต พบว่าการนวดไทยได้ช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่ปกติ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ผลดี ในปี 2557 สัดส่วนที่แผนกผู้ป่วยนอกมีผู้ใช้บริการการแพทย์แผนไทยร้อยละ 16.59 ของผู้ใช้บริการทั้งหมดและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในปีงบประมาณ 2558 นี้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1.พัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และทางเลือก ให้มีคุณภาพมาตรฐานได้รับการยอมรับในระดับสากล 2.นำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และทางเลือกบูรณาการเข้าสู่ระบบบริการอย่างครบวงจร 3.พัฒนาวิชาการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 4.พัฒนาระบบการจัดระบบความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย และ 5.คุ้มครอง อนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  นำไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไป

การส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม เครือข่ายหมอพื้นบ้านเป็นสภาการแพทย์พื้นบ้าน

    1. การรับรองหมอพื้นบ้าน

         1.1 การยกระดับและรับรองหมอพื้นบ้าน ช่วงแรกยกระดับหมอพื้นบ้านที่เป็นหมอแผนไทย แต่ต้องการยกระดับหมอพื้นบ้านที่เป็นหมอพื้นบ้าน โดยใช้ช่อง พรบ.คุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่กำหนดความหมายหมอพื้นบ้านว่าเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองท้องถิ่นโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 10 คน

          1.2 ขณะนี้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย กำลังจะเสนอกรรมการวิชาชีพให้เพิ่มประเภทการแพทย์พื้นบ้านในด้านการแพทย์แผนไทย และขณะนี้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ได้ร่างระเบียบ โดยนิติกรของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ให้มีหมอพื้นบ้าน ๒ ระดับ คือ  ระดับสาธารณสุขมูลฐาน จะต้องส่งเสริมให้มีการรับรองโดยพื้นที่ และรับรองโดยผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนและในพื้นที่ของตัวเองและส่งเสริมให้หมอพื้นบ้านมีศักยภาพได้รับการประเมินในระดับหมอพื้นบ้านคือท้องถิ่นต้องดูแลอย่างน้อย 2-3 ปี กลไกในระดับสาธารณสุขมูลฐานต้องเชื่อมกับกฎระเบียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎระเบียบโดยการดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ และทั้งหมดต้องไม่ขัดกับพรบ.การประกอบโรคศิลปะ และส่งเสริมหมอพื้นบ้านให้มีบทบาทการดูแลสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง

           1.3 สำนักการแพทย์พื้นบ้านร่วมกับสถาบันสุขภาพวิถีไทยทำ การวิจัยเรื่องสถานภาพทางกฏหมายและสังคมของหมอพื้นบ้าน  การรับรองหมอพื้นบ้านในระดับท้องถิ่น ซึ่งทำเรื่องการจัดการความรู้ การรับรองหมอในระดับพื้นที่เชื่อมกับระดับท้องถิ่น และการดูแลและคุ้มครองผู้บริโภคโดยกลุ่มในจังหวัด และมีการนำร่องการรับรองในระดับท้องถิ่น 8-9 จังหวัด ผลที่ได้คือ ระดับท้องถิ่นมีรูปแบบและศักยภาพที่จะรับรองหมอพื้นบ้านของตนเอง และเชื่อมโยงกับการรับรองในระดับอาชีพอย่างไร

           เครือข่ายหมอพื้นบ้านภาคเหนือมีการคิดกันว่าทำอย่างไรให้หมอพื้นบ้านได้รับการรับรอง โดยการรวมกลุ่มที่มาจากภาคประชาชนอย่างเดียว เพื่อจะไปจดทะเบียนเป็นสภาองค์กรชุมชนหมอพื้นบ้าน ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ไม่ต่ำกว่า 50 พื้นที่ ที่จะรวมตัวกัน และขณะอยู่ระหว่างการเชื่อมต่อกับองค์กรภาครัฐ คือ สสจ. สสอ. และ รพสต.

       2. การจัดตั้งสภาหมอพื้นบ้าน

           2.1 มูลนิธิสุขภาพไทย ทำการศึกษา สถานการณ์และรูปแบบสภาการแพทย์พื้นบ้าน

 มีการรวมตัวตั้งชมรมหมอพื้นบ้านถึงร้อยละ 80 ใน 77 จังหวัด แต่ศักยภาพในการเคลื่อนงานจะขึ้นอยู่กับพี่เลี้ยง บางจังหวัดทำได้ดี เช่น จ.อุดรธานี จ.สุรินทร์  มีจังหวัดที่สามารถรวมตัวกันได้จนจัดสมัชชาคือ จ.เชียงราย 

           2.2 รูปธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 2 ปีที่ผ่านมา จะพบการขยายตัวในระดับตำบลอย่างชัดเจน เช่นที่ จ.ลำปาง คือมีการขยายตัวจาก อบต.ในท้องถิ่นไปสู่อบต.ข้างเคียง ภาคกลาง จ.อ่างทอง ไม่มี อบต. แต่เกิดเครือข่ายหมอพื้นบ้านผสมกับแพทย์แผนไทยกัน  ที่ต.วังแสง จ.มหาสารคาม มีรูปธรรมชัดเจนในการรับรองหมอพื้นบ้าน เมื่อ 3 ปี เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างวิทยาลัยมหาสารคามและอปท. โดยได้แนวทางเบื้องต้นในการจัดทำทะเบียนหมอพื้นบ้าน ตรวจทานความรู้ และให้นายกอบต.มอบเกียรติบัตร และประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบว่าหมออยู่ที่ไหน  ที่อบจ.แพร่มีรูปธรรมที่ชัดเจน เริ่มจากอบต.แพร่ที่เด่นแม่พุง จากการทำงานทำให้ อบจ.พร้อมที่จะเข้ามามีบทบาท สิ่งสำคัญพบว่าแนวทางการรับรองหมอพื้นบ้านที่ไม่ผิดกฎหมายและสอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชน สามารถทำได้ และหมอพื้นบ้านกลับมามีบทบาทในชุมชน

            2.3 สถาบันสุขภาพวิถีไทย มี โครงการบูรณาการเชิงระบบการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านในระดับปฐมภูมิ และมีการพัฒนาโมเดล ตำบลสุขภาวะ สามประสาน คือ อปท. อบต.และหมอพื้นบ้าน จนมีข้อสรุปในเวที จ.พะเยาว่าควรจะเริ่มที่ระดับตำบลก่อน เช่น มีศูนย์สุขภาพตำบล การพัฒนาและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน โดยอปท.มีส่วนเกี่ยว เช่น กองทุนสุขภาพตำบล แผนแม่บทชุมชน กองทุนฟื้นฟูของ สปสช.

        ที่ผ่านมาการทำงานเรื่องการนวดแผนไทยไม่มีแผนยุทธศาสตร์ สธ.เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ จึงได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาทำแผน โดยภายหลังจากการนำเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาเฉพาะประเด็นเพื่อขอฉันทามติในวันที่ 6 กันยายน 2555 แล้วจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและบังคับใช้ต่อไป

      - การศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งเป็น สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

  • คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย  กรมสนับสนุนและคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทยได้จัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งเป็นสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อตั้งสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยนำเสนอหลักการว่าหากมีการก่อตั้งสภาวิชาชีพนี้ขึ้นมาจะต้องมีความพร้อมอย่างไรจึงจะทำให้การก่อตั้งสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิผล และมีผลการศึกษาเรียบร้อยแล้ว
  • มีการเคลื่อนไหวผลักดันด้านกฎหมายโดยการเสนอร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ...ฉบับประชาชน และการเสนอร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ...ฉบับกระทรวงสาธารณสุข 
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2554 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ..... ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่..) พ.ศ..... และร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่..) พ.ศ.... รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และแจ้งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน
  • วันที่ 5 กันยายน 2555 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แจ้งความก้าวหน้าของร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ.... ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา
  • เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. …. เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา โดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. …. (นายอร่าม อามระดิษ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นผู้เสนอ) มีความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทยว่า ควรเพิ่มองค์ประกอบโดยให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากสาขาวิชาอื่นๆ ประกอบอยู่ด้วย เนื่องจากการกำกับดูแลและควบคุมกันเองโดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย อาจมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การปกป้องช่วยเหลือกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน การมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาอื่นๆ จะช่วยทำให้ได้รับความเห็นและข้อเสนอแนะที่หลากหลายและกว้างขวางนอกเหนือจากความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย และยังจะถือได้ว่าเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของผู้รับบริการหรือผู้บริโภคอีกด้วย ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า

          = เพื่อให้การบริหารงานของคณะกรรรมการมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบของคณะกรรรมการสภาการแพทย์แผนไทยนี้ ควรมีสัดส่วนและจำนวนที่เหมาะสมด้วย

          = สำหรับกรณีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ คปก. มีความเห็นว่า การกำหนดระยะเวลา หลักเกณฑ์ และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแพทย์ฯ ควรให้คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทยกำหนดเป็นข้อบังคับ โดยคำนึงถึงพัฒนาการความก้าวหน้าของความรู้ และมาตรฐานวิชาชีพของสาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการสร้างภาระจนเกินควรแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทั้งสองสาขา

          = อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามร่างมาตรา 46 มาตรา 47 และ มาตรา 58 ในร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. …. อาจละเมิดเสรีภาพของประชาชนในเคหสถาน รวมทั้งบทบัญญัติในเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ อาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 33 ที่รับรองและคุ้มครองเสรีภาพในเคหสถาน ในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถาน หรือในที่รโหฐาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายศาล

           อย่างไรก็ตาม คปก. ไม่เห็นด้วยกับการให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจึงมีข้อเสนอว่า การบังคับใช้กฎหมายวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ในกรณีที่เกี่ยวกับความผิดและโทษทางอาญานั้น ให้ไปใช้ประมวลกฎหมายอาญา และให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่ควรกำหนดความผิดโทษทางอาญา และแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการเฉพาะ ในร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ….

  - การจัดตั้งกลไกศึกษาความเป็นไปได้ในการตรากฎหมายว่าด้วยยาไทยและยาจากสมุนไพรไทย

  • ณะอนุกรรมการพัฒนาระบบยาไทยและสมุนไพรภายใต้คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการศึกษาและทำรายงานแล้ว โดยมีประเด็นศึกษาได้ศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่จะไม่มีการแยกพรบ.ยาสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน เพราะหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องยาอยู่แล้ว
  • อย.มีการตั้งกรรมการย่อยในพรบ.ยา ดูเรื่องกฤษฎีกา และมีร่างอีกหนึ่งฉบับที่ภาคประชาชนและการเมือง ที่กำลังจะเข้าสภา อยู่ระหว่างการจัดทำรายชื่อ
  • แผนวิจัยยาไทยและยาสมุนไพร แห่งชาติ กรมพัฒน์ได้ตั้งกรรมการ 1 ชุด ทำวิจัยภาพรวมของชาติ มีการวิเคราะห์สถานการณ์ โดยมี ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน การพัฒนากลไกในการบริหารจัดการเรืองการวิจัย แยกเป็น กลไกที่มองงานวิจัยภาพรวมของประเทศ การพัฒนากลไกย่อย  ได้แก่ 1) จริยธรรมงานวิจัย 2)การพัฒนาโครงร่างงานวิจัย 3)การลงทุนงานวิจัยโดยใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลัก 4) พัฒนานักวิจัย เฉพาะคน กลุ่ม
  • กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “สานพลังขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2” เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมรติลานนา จ.เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อน (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555-2559) ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแล้ว และรอเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์คือ 1)การสร้างและจัดการความรู้ ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท 2) การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนและระบบบริการสาธารณสุข 3) การพัฒนากำลังคน 4) การพัฒนาระบบยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5) การพัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองภูมิปัญญาไทย และ 6) การสื่อสารสาธารณะ
  • ผลจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ จะก่อให้เกิดเครือข่ายนักวิจัยทุกระดับ มีชุดความรู้สำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มีการพัฒนามาตรฐานการบริการด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และมาตรฐานบุคลากร การสร้างความเข้มแข็งของระบบยาไทย มีการส่งเสริมการปลูกสมุนไพร และผลิตยาสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้ในระบบยาของประเทศ ตลอดจนมีระบบการคุ้มครองภูมิปัญญาไทผ่านระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์แผนไทยเพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบในกรณีมีการละเมิดภูมิปัญญาไท
  • กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ผลักดันร่างประกาศตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทย โดยในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะมีตำราการแพทย์แผนไทยและตำรับยาแพทย์แผนไทยจำนวน 3 เล่ม คือ 1) คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) ซึ่งเป็นตำรับยาที่เก่าแก่ที่สุดของไทย โดยบันทึกสูตรยาไว้ในใบลานมากถึง 81ตำรับ มีรูปแบบการปรุงยาหลายหลากรูปแบบ 2) ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่มที่ 1 มีตำรับบา 713 ตำรับ และ 3) ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงรัชกาลที่ 5 เล่มที่ 2 มีตำรับยา 1,066 ตำรับ ทั้งนี้เมื่อมีการประกาศใช้แล้วจะส่งผลให้ผู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า ทั้งการนำไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ขออนุญาตผลิตยา หรือนำไปทำการศึกษาวิจัยหรือพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่ ต้องยื่นคำขอรับอนุญาตใช้ประโยชน์และชำระค่าธรรมเนียมรวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับการใช้ประโยชน์ให้กับชาติ แต่สำหรับประชาชนทั่วไปไม่ต้องขออนุญาต
  • วันที่ 7 สิงหาคม 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
  • เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ผศ.(พิเศษ)ดร.นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและคณะ ร่วมแถลงข่าวเรื่อง “การออกกฎหมายคุ้มครองตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ” เพื่อป้องกันการฉกฉวยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติ ไปใช้ประโยชน์ทางการค้าและการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์อย่างไม่เหมาะสม หลังจากที่ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตั้งแต่พ.ศ.2542 เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎหมายลูกรวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ ตามมา ได้แก่ กฎกระทรวง 6 ฉบับ ประกาศกระทรวง 12 ฉบับ และระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริม ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2 ฉบับ และล่าสุดนี้ได้ออกกฎหมายลูกเพื่อใช้คุ้มครองตำรับตำรายาแผนไทยของชาติ เนื่องจากที่ผ่านมาได้เกิดกรณีตางชาตินำภูมิปัญญาด้านการแพทย์ของไทยไปใช้ประโยชน์ทั้งในทางการค้าและการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ในขณะที่ประเทศไทยเอง ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย และระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแพทย์แผนไทยที่เกิดจากการสืบทอดกันมา โดยเฉพาะตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยในสาขาที่มีศักยภาพและอยู่ในความสนใจของต่างชาติ มีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ สามารถพัฒนาและต่อยอดในเชิงอุตสาหกรรมได้กฎหมายดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 สนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ.2542 มาตรา17 มาตรา18 มาตรา 19 เรื่องการ คุ้มครองตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกกฎกระทรวง เป็นกฎหมายลูกเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของชาติและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยทั่วไปเรียบร้อยแล้ว จำนวน 3 ฉบับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามแล้ววันนี้ 13 กุมภาพันธ์ 2558 มีผลใช้บังคับในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ 

          1.เรื่องการประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป พ.ศ.2558 โดยเป็นตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีการใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายหรือที่พ้นอายุการคุ้มครองสิทธิตามมาตรา 33 ตำรับยาแผนไทยดังกล่าว ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้านในส่วนที่เป็นยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยากำหนดเพื่อใช้งานสาธารณสุขมูลฐาน หรือทางราชการ หรือหน่วยงานของรัฐรวบรวมพัฒนาหรือปรับปรุงขึ้น มีเอกสารหลักฐานการใช้ หรือการศึกษาวิจัยด้านความปลอดภัยและประโยชน์ในการรักษาโรค

            2.การประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ซึ่งเป็นตำรับยาที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐรวบรวม พัฒนาหรือปรับปรุงขึ้นมีเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงแหล่งที่มาของตำรับยาแผนไทย หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอาจนำมาพัฒนาเป็นตัวยาใหม่ได้ แก้ไขปัญหาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ และ3.การขอรับอนุญาต ข้อจำกัดสิทธิ และค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์จากตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ พ.ศ.2558

            ในการคุ้มครองดังกล่าวกฎหมายได้กำหนดให้นายทะเบียนคือ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำกับดูแล หากผู้ใดจะนำตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทยที่อยู่ในกฎหมายฉบับนี้ ไปใช้เพื่อการขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยาตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือนำไปศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือนำไปศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า จะต้องยื่นคำขออนุญาตก่อนและกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 20,000 บาท(สองหมื่นบาท) และหากนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าต้องจ่ายค่าตอบแทนจากผลประโยชน์ทางการค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่ายยาที่ผลิตได้ตามราคาที่ออกจากโรงงาน มูลค่าการใช้ประโยชน์จากตำรับยาใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยตำรับยาแผนไทยของชาติหรือมูลค่าการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ โดยค่าตอบแทนจะส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน ทั้งนี้หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542

            สำหรับบุคคลที่จะขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล เพื่อขอรับการคุ้มครองและส่งเสริมตามประกาศ จะต้องมีสัญชาติไทยและมีคุณสมบัติคือ 1.เป็นผู้คิดค้นตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทย 2.เป็นผู้ปรับปรุงหรือพัฒนาตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทย 3.เป็นผู้สืบทอดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทย

           กฎหมายฉบับนี้มีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้รับการคุ้มครอง 3 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทที่ 1 ได้แก่ ตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ คือ 1.คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์(ฉบับใบลาน)    2.ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 3.ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) 4.ตำราพระโอสถครั้งรัชกาล  ที่ 2 ลำดับที่ 5.ตำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ 6.ตำรายาพิเศษของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ 7.ตำราสรรพคุณยาของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท 8.ศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุ   พนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) 9.สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน และ 10.ตำราแผนปลิงของไทย ซึ่งเตรียมประกาศเป็นของชาติ รวมแล้วกว่า 4,387 รายการ ส่วนประเภทที่ 2 ได้แก่ ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1 ถึง เล่ม 3 ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาผดุงครรภ์ และรายการอื่นๆอีกไม่น้อยกว่า 33 รายการ ที่เตรียมประกาศตามกฎหมายนี้ และประเภทที่ 3. ได้แก่ตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล ซึ่งมีกฎหมายใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้สิทธิ์

 

​  - แผนปฏิบัติการพร้อมจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาตำรับยาผลิตภัณฑ์ยาไทยและสมุนไพรไทย 

  • คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบยาไทยและสมุนไพรได้บรรจุเนื้อหา แผนงานไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555-2559
  • กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯพัฒนากระบวนการผลิตยาแผนไทยสู่มาตรฐาน GACP,GMPในโรงพยาบาล, เตรียมจัดตั้งตลาดกลางวัตถุดิบสมุนไพร เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี(อุบลราชธานี อุดรธานี มหาสารคาม) และเตรียมการจัดตั้งสถาบันยาแผนไทยแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) อ.วังน้อย จ.อยุธยา
  • คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2  และได้ผ่านความเห็นชอบ คสช.  ขณะนี้ รอนำเสนอให้ ครม.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งเมื่อผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว จะนำไปสู่การจัดทำแผนชนปฏิบัติการฯ ต่อไป
  • เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2555 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง สานพลังขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ การพัฒนาภูมิปัญญาไทย สุขภาพวิถีไทย ฉบับที่ 2 ณ โรงแรมรติล้านนา จ.เชียงใหม่
  • เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555-2559) โดยมีสาระสำคัญคือ เพื่อให้การพัฒนาระบบการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก มีประสิทธิผล ปลอดภัย น่าเชื่อถือและคุ้มค่า เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพของประชาชน ทั้งในด้านองค์ความรู้ การบริการ กำลังคน ยาจากสมุนไพร และฐานทรัพยากรสมุนไพรและอาหาร โดยพัฒนานักวิจัยกลุ่มและเครือข่ายการวิจัยและบุคลากร อีกทั้งส่งเสริมชุมชนในการปลูกสมุนไพรและมีตลาดกลางสมุนไพร ส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบยาจากสมุนไพร โดยเพิ่มรายการยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ นอกจากนั้นยังพัฒนาศักยภาพ มาตรฐานของอุตสาหกรรมยาไทย โดยการจัดตั้งโรงงานกลางสมุนไพรแห่งชาติที่ได้มาตรฐาน และจัดทำระบบข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยส่วนกลางของประเทศ 

    - ทบทวน ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการและกระบวนการพิจารณาบรรจุยาไทย และยาจากสมุนไพรเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติตามบริบทของการแพทย์แผนไทย 

  • คณะกรรมการระบบยาแห่งชาติได้พิจารณาอนุมัติ และประกาศรายการยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้วจำนวน 71 รายการ ในปี 2554 ซึ่งเดิมมีเพียง 19 รายการ
  • เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2555 กระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่าในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศที่มี 10,580 แห่ง เพิ่มบริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์ทางเลือกที่แผนกผู้ป่วยนอกและใช้นาสมุนไพรักษาอาการเจ็บป่วยเพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันให้ลดลง โดยให้โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างน้อย 20 รายการจากที่มี 71 รายการ เป็นยาสมุนไพรเดี่ยว 21 รายการ ที่เหลือเป็นตำรับยาสมุนไพรแบบดั้งเดิม โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคมีมูลค่าร้อยละ 10 ของยาแผนปัจจุบัน ส่วนโรงพยาบาลชุมชนมูลค่าร้อยละ 5 รวมทั้งจัดแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์อย่างน้อย 1 คน ประจำโรงพยาบาลชุมชนให้ได้ 588 แห่งหรือร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ และจะมีการอบรมถ่ายทอดความรู้การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้เกิดการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยอย่างจริงจัง ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกทำหน้าที่ดูแลคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรที่จะนำมาผลิตเป็นยาและควบคุมมาตรฐานการผลิตให้อยู่ในมาตรฐานจีเอ็มพี ตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งจะเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า
  • กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศทุกระดับกว่า 10,000 แห่ง ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกด้วยแพทย์แผนไทยและใช้ยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบันอย่างน้อย 20 รายการ ขณะนี้ได้บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2554 แล้ว 71 รายการ และมอบให้กมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ ศึกษาวิจัยยาสมุนไพรอีก 4 รายการเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติภายในปี 2555 และจะเพิ่มอีกปีละประมาณ 5-10 รายการโดยมีเป้าหมายจะเพิ่มให้ไห้ทั้งหมด 100 รายการภายในปี 2558 
  • เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อผลักดันยาจากสมุนไพรเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ระหว่างกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปี 2556-2560 ได้กำหนดเป้าหมายให้มียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ อย่างน้อยร้อยละ 10 ของรายการยาทั้งหมด และต้องผลักดันให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรให้เป็นมาตรฐาน ไม่ใช่เป็นยางทางเลือกหรือยาสำรอง โดยนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ไอ เจ็บคอ ปวดท้อง เป็นต้น ซึ่งการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แพทย์ยอมรับในสรรพคุณว่ามีประโยชน์ในการรักษาและใช้ยาจากสมุนไพรให้เป็นมาตรฐานจ้องมีการวิจัยสรรพคุณและผลทดลองทางคลินิกที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการผลิตยาจากสมุนไพรต้องได้มาตรฐาน GMP เพื่อเป็นหลักประกันในประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา โดยในปี 2558 ตั้งเป้าให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรอย่างเป็นมาตรฐานไม่ใช่ยาทางเลือก นอกจากนี้สนับสนุนให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการจากทั้ง 3 หน่วยงาน รวมทั้งนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ สนับสนุนข้อมูลและคัดเลือกสมุนไพรที่จะวิจัยและพัฒนาต่อยอดเพื่อผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักเพิ่มอีกอย่างน้อย 15 รายการ เพื่อนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของประชาชนอย่างแพร่หลาย

   - การจัดระบบบริการด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ควบคู่การแพทย์แผนปัจจุบัน ในหน่วยบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน 

  • ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ สปสช. ได้ปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวสำหรับการให้บริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการจาก ๒ บาท เป็น ๖ บาท และจะปรับเพิ่มเป็น ๗.๕๕ บาท ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕และขยายการให้บริการไปสู่กลุ่มมารดาหลังคลอด และการจัดการสมุนไพรด้วย 
  • กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีการดำเนินการดังนี้ (ก) สนับสนุนให้มีตำแหน่งและอัตรา(นักการ)แพทย์แผนไทย.ในสถานบริการทุกระดับ (ข) จัดทำและสนับสนุนการใช้บัญชียาแผนไทย รหัสสุขภาพแผนไทย (ICD-10-TM) (ค) จัดทำแนวเวชปฏิบัติ (CPG) ในสถานบริการ (ง) เตรียมจัดตั้งอาโรคยศาลา: โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานสังกัดสถาบันแพทย์แผนไทยเพื่อการพัฒนาและฝึกปฏิบัติการเฉพาะด้านระดับสูง (จ) ร่วมกับสถาบันบรมราชชนก อบรมด้านการแพทย์แผนไทยสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเช่น ผู้บริหาร แพทย์แผนปัจจุบัน เภสัชกร เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. (ฉ) ร่วมกับ สปสช. และสสจ. อบรมผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (ช) ร่วมกับมหาวิทยาลัยและ สบช เตรียมจัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นพัฒนานักการแพทย์แผนไทย (Externship)
  • เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555 ในการประชุมผู้บริหาร บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข นักการแพทย์แผนไทย ใน 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อมอบนโยบายการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งดำเนินการสนองนโยบายนายกรัฐมนตรีในการลดค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรค จึงได้เร่งขับเคลื่อนส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรมาใช้ทดแทนการนำเข้ายาแผนปัจจุบันที่มีมูลค่าสูงปีละกว่า 1.3 แสนล้านบาทหรือร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพ ซึ่งสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่ใช้เพียงร้อยละ 20 ในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศที่มี 10,580 แห่ง เพิ่มบริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์ทางเลือกที่แผนกผู้ป่วยนอก และใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยเพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันให้ลดลง โดยให้โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักอย่างน้อย 20 รายการจากที่มี 71 รายการ เป็นยาสมุนไพรเดี่ยว 21 รายการ ที่เหลือเป็นตำรับยาสมุนไพรแบบดั้งเดิม โดยให้ รพ.สต.ใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคมีมูลค่าร้อยละ 10 ของยาแผนปัจจุบันในส่วนโรงพยาบาลชุมชนมูลค่าร้อยละ 5 รวมทั้งจัดแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์อย่างน้อย 1 คน ประจำโรงพยาบาลให้ได้ 588 แห่งหรือร้อยละ 80 ของโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ และจะอบรมถ่ายทอดความรู้การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนเพื่อให้เกิดการนำไปใช้รักษาผู้ป่วยอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกดูแลคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรที่จะนำมาผลิตเป็นยาและควบคุมมาตรฐานการผลิตให้อยู่ในมาตรฐานจีเอ็มพี ตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งจะรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยในอีก 3 ปีข้างหน้าด้วย 
  • เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2555 จากพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ทำให้เกิดมาตรการอนุรักษ์พืชสมุนไพรร่วมกันภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พืชสมุนไพรไทย ซึ่งปัจจุบันมีมาตรการควบคุมต่างๆ รวมถึงประกาศพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์พืชไปแล้ว 20 แห่ง และมีการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 จะมีการลงนามร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือต่อกัน และจัดตั้งกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งจะมีงบให้พื้นที่ต่างๆ ได้ทำงานเรื่องสมุนไพร เช่น การกระจายพันธุ์พืชให้ประชาชนปลูก การส่งเสริมเกษตรกร การให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง เป็นต้น
  • สปสช.ได้บรรจุการบริการด้านการแพทย์แผนไทยเป็นสิทธิประโยชน์ของโครงการบัตรทองในอัตราไม่เกิน 2,500 / 1 ชุดบริการ (5 ครั้ง) ในปี 2555 และดำเนินการแล้วในโรงพยาบาล 200 แห่ง มีเป้าหมายจะเพิ่มให้ได้ 800 แห่งภายในปี 2558
  • เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจรเพื่อศึกษาดู งานกระบวนการพัฒนาการแพทย์แผนไทย และขยายไปสู่โรงพยาบาลในจังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ยังร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในพื้นที่ซึ่งได้รับรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จุดประสงค์การเยี่ยมชมงานครั้งนี้ เดินทางไปที่โรงพยาบางวังน้ำเย็น ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านการแพทย์แผนไทยในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งก่อตั้งโดยแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ โรงพยาบาลวังน้ำเย็นได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 8 โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย โดยได้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยด้วยศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เช่น หัตถบำบัด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพแก่หญิงหลังคลอด การดูแลและฟื้นฟูผู้พิการ การปรุงยาเฉพาะราย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคลินิกเฉพาะทางเพื่อการรักษาโรคด้วยทฤษฎีแผนไทย ได้แก่ คลินิกทางโรคโลหิตสตรี คลินิกโรคสะเก็ดเงิน และยังเปิดคลินิกดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยยาสมุนไพร เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง สำหรับระยะแรกเริ่มในการพัฒนาการใช้สมุนไพร 

    - ระบบสนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีการจัดระบบบริการด้านการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ควบคู่การแพทย์แผนปัจจุบัน 

  • กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช. ดำเนินโครงการสนับสนุนการจัดบริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ส่งนักการแพทย์แผนไทย ใน รพสต.  ในหน่วยบริการ และจะ ให้มีนักการแพทย์แผนไทยใน รพสต.ทั่วประเทศ ภายใน 5 ปี
  • เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสำคัญ 2 เรื่องคือ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรและโครงการสานรักด้วยการฟัง 365 วัน แห่งปีมหามงคล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 

          1) การจัดบริการแพทย์แผนไทยในระดับโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่ง นอกจากนี้ยังผลิตนาสมุนไพรได้เองที่โรงพยาบาลบ้านนา

          2) การจัดบริการแพทย์แผนไทยในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยบริการตรวจรักษาโดยมีแพทย์แผนไทยประจำ ซึ่งมีใบประกอบโรคศิลปะด้านการแพทย์แผนไทยจำนวน 3 แห่งคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีสาลิกา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาเพิ่ม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิมพระเกียรติ ร.9 โดยมีผู้ช่วยแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 372 ชั่วโมง จำนวน 5 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละว้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางอ้อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหัวลิงใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรหมเพชร และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาใหม่

        3) การปลูกสมุนไพรสาธิตเพื่อการศึกษาและรักษาคนไข้

  • เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 นพ.ชลน่าน  ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงแผนการรองรับด้านการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุขหลังการเปิดประชาคมอาเซียน ดังนี้ 

         (1) เพิ่มบุคลากรด้านแพทย์แผนไทยให้เพียงพอ เบื้องต้นจะให้ประจำการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุกแห่ง ขณะนี้ทางกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เร่งสำรวจความเหมาะสมของอัตรากำลัง ตั้งเป้าภายในปี 2558 รพ.สต.ทุกแห่ง ต้องมีบริการแพทย์แผนไทยขั้นพื้นฐานคือ การใช้ยาสมุนไพรพื้นฐาน และบริการนวดไทย

         (2) พัฒนาศักยภาพสมุนไพรหรือยาไทย เพิ่มรายการยาสมุนไพรเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้ในสถานพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศ จาก 71 เป็น 87 รายการ รวมทั้งพัฒนาสมุนไพร อาทิ ไพล บัวบก กระชายดำ กวาวเครือขาว ฯลฯ และลูกประคบ ให้เป็นสมุนไพรยอดนิยม มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สร้างจุดแข็งสินค้าและบริการการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะตลาดยาสมุนไพร เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพของไทย ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

          (3) พัฒนาบริการการแพทย์แผนไทยโดยบูรณาการร่วมกับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น โครงการล่องแพ จ.กาญจนบุรี มีบริการนวดแผนไทย มีอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพเบ็ดเสร็จในแพ โดยหารือกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการแพท่องเที่ยว

  • เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแขม อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ดำเนินโครงการนวดแผนไทยให้กับชาวหนองแขมเพื่อเสริมสร้างและรักษาสุขภาพร่างกายของประชาชนทั่วไป โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเสริมสร้างสุขภาพร่างกายของประชาชนทั่วไป ให้สามารถนำความรู้ไปบำบัดบรรเทารักษาอาการของโรคภัยต่างๆ และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้ยั่งยืนสืบไป อันสอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2552 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกให้เป็นระบบบริการสุขภาพหลักของประเทศคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบันและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การส่งเสริมกลุ่มหมอพื้นบ้านเป็นการสานต่อองค์ความรู้ ภูมิปัญญาของบรรพชนให้ดำรงอยู่ในชุมชนอย่างยั่งยืน

    - รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการดำเนินการจัดทำแผนการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบใน 4 ภูมิภาค 

  • วันที่ 27 มีนาคม 2554 จังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดแรกที่ก่อตั้งรพ.การแพทย์แผนไทย คณะกรรมการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน เครือข่ายประชาสังคม
  • คณะกรรมการภูมิปัญญาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาฯเพื่อขับเคลื่อนและจัดทำร่างกรอบการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบ เพื่อการสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยในส่วนภูมิภาค ในปัจจุบันมีการดำเนินการในภูมิภาคแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสกลนคร (โดยมทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร คณะทรัพยากรธรรมชาติ สาขาการแพทย์แผนไทย : อยู่ระหว่างการดำเนินงาน จะเปิดในปีพ.ศ. 2555) สถาบันราชภัฏ จ.เชียงราย คณะแพทย์แผนไทย มอ. จ.สงขลา และอโรคยาศาลา ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
  • เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นประธานการลงนาม MOU การพัฒนาโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยระหว่างอธิบดีการแพทย์แผนไทยฯ และอธิการบดี มอ./มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร /มรภ.เชียงราย นับเป็นการเคลื่อนไหวพลิกโฉมแบบฉับพลันของ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เริ่มตั้งแต่การจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องความร่วมมือและแนวทางดำเนินงานฯ ก่อน จากนั้นจัดคณะฯ ไปเยี่ยมเยียน รพพท.ทั้งสามแห่ง จัดทำหนังสือโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย วีดิทัศน์ ที่ผนวก 3 รพพท.สังกัดมหาลัยฯ เข้ากับ 9 รพพท.สังกัด สธ. แล้วนำมาจัดพิธีลงนาม MOU ระหว่างกรมพัฒน์ฯ กับ 3 อธิการบดี โดยเชิญ รมต.ฯ มาเป็นประธานฯ และมีการแถลงข่าวสื่อมวลชน 

           ซึ่งผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย (นพ.ปราโมทย์) รายงานประธานโดยอ้างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นฯ และ สช. ทั้งนี้อธิบดีกรมพัฒน์ฯ ได้วางยุทธศาสตร์ OPD+IPD เชื่อมโยงชุมชนให้เป็นแหล่งฝึกงานและศูนย์เรียนรู้ประชาชน รวมทั้งงานวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาตำรับยา นอกจากนี้ยังจะร่วมกันวางแผนการผลิตกำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยใน 10 ปีข้างหน้าด้วย นอกจากนี้ท่านรัฐมนตรีฯ ได้ให้ความสำคัญเรื่อง Unity การแพทย์แผนไทยที่ยังกระจัดกระจายให้มีทิศทางที่ชัดเจน และการดำเนินการนี้ต้องมีความกล้าที่จะพัฒนาจนสามารถบอกกับสังคมได้ว่าเป็นทางเลือกของประชาชนและทำให้ประเทศไทยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจนเป็นระบบสุขภาพที่มีความยั่งยืน

            จากการสอบถามและแลกเปลี่ยนกับแกนหลักของทั้ง 3 รพพท. พบว่า 1) รศ.ดร.สนั่น ศุภธีรสกุล คณบดีคณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การดำเนินงานค่อนข้างดีกว่าอีก 2 แห่งเพราะเปิดบริการได้แล้วทั้งด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การนวดไทยและการผดุงครรภ์ไทย รวมทั้งมหาวิทยาลัยฯ ได้ให้การสนับสนุนการสร้างอาคารสหเวชศาสตร์ น่าจะใช้เป็น IPD ต่อไปได้ 2) ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย การทำงานค่อนข้างยากเพราะมหาวิทยาลัยยังไม่มีการสนับสนุนการสร้าง รพพท. ส่วนงบไทยเข้มแข็งถูกตัดงบประมาณสมัยรัฐบาลชุดก่อน (ปชป.) ดังนั้นจึงต้องไปเปิดเป็นคลินิกกับ 6 เทศบาลฯ / 4 อบต./ 1 เรือนจำ รวมทั้งการออกหน่วยสัญจรใน 24 อบต. เพื่อบริการและให้นักศึกษาได้ฝึกงาน ในอนาคตคงจะใช้มูลนิธิการแพทย์พื้นบ้านที่ได้ตั้งขึ้นแล้วช่วยขยายผล  และ 3) ผศ.พิเชษฐ์ เวชวิฐาน หัวหน้าสาขาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร.อีสาน อยู่ระหว่างการรองบประมาณการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและการจัดหาครุภัณฑ์ต่างๆ เนื่องจากบัญชีเงินบริจาคของหลวงปู่แฟ๊บประมาณ 10 ล้านยังอยู่ในขั้นตอนทางศาลเรื่องจัดการมรดกซึ่งคงไม่สามารถนำมาสร้างรพพท.ทั้งหมด  พระอาจารย์ศรีฐาน (พระลูกชาย) ซึ่งรักษาการที่วัดป่าดงหวายก็ไม่สามารถใช้เงินบริจาคของวัดเพื่อ รพพท. ได้ทั้งหมดเพราะยังต้องสมทบทุนเรื่องอื่นๆ ด้วย ส่วนบ้านดินนั้นพระอาจารย์ที่จะสร้างบริจาคได้ย้ายไปอยู่วัดอื่นแล้วเนื่องจากปัญหาที่ตั้งของวัดเดิม ส่วนสถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทยที่ยศเส ที่ได้งบจาก สบส.และกรมวิทย์ฯ จะเปิดบริการราวเดือนสิงหาคม 2555

  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีเป้าหมายพัฒนาการแพทย์แผนไทย ในปี 2555 จำนวน 3 เรื่องหลักได้แก่ 1) ให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งมีบริการการแพทย์แผนไทยครอบคลุมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) เปิดโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยจำนวน 10 แห่ง ให้บริการตรวจรักษาทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และในชุมชนด้วยแพทย์แผนไทยรักษาด้วยยาแผนไทย ทั้งยาเดี่ยวและยาตำรับ เป็นทางเลือกประชาชนอย่างครบสูตร ผสมผสานกับแผนปัจจุบัน ประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง ได้แก่ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี รพ.พระปกเกล้าจันทบุรี จ.จันทบุรี โรงพยาบาลชุมชน 7 แห่ง ได้แก่รพ.สมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จ.แพร่,รพ.เทิง จ.เชียงราย,รพ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี,รพ.วังน้ำเย็น รพ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว, รพ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ, รพ.ท่าโรงช้าง จ.สุราษฎร์ธานี และที่ กทม. 1 แห่ง คือ รพ.การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานที่ยศเส และ 3) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาแนวทางการเบิกค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยใน สำหรับโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย 1 ชุด มีอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เป็นประธาน เพื่อศึกษาแนวทางเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคต่างๆ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยจะศึกษาในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย 13 แห่ง ซึ่งรวมของมหาวิทยาลัย3 แห่งด้วย ถือเป็นการปูทางครั้งแรกของประเทศเนื่องจากยังไม่เคยมีการกำหนดมาก่อน คาดว่าจะประกาศใช้ทันในปีนี้ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยทั้ง 10 แห่งนี้ จะบูรณาการบริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยให้สอดรับกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น เอกซเรย์ ตรวจเลือด การส่งต่อผู้ป่วย โดยมีแพทย์แผนไทยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องดำเนินการ มีบริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ใช้ยาแผนไทยทั้งยาเดี่ยวและสูตรตำรับที่มีส่วนผสมสมุนไพรหลายตัว ที่มีทั้งนอกและในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ รักษาผู้ป่วยได้หลายระบบ เช่น โรคสะเก็ดเงินเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคที่เกี่ยวกับโลหิตสตรี โรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและโครงสร้างเป็นต้น และรักษาได้ทุกสิทธิสวัสดิการทั้งรักษาด้วยยา และการนวด การอบ การประคบสมุนไพร
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2555 ในการประชุมเสวนา “เราจะช่วยกันฟื้นฟูอนุรักษ์และปลูกป่าสมุนไพรเพื่อประโยชน์ของชุมชนได้อย่างไร” ณ วัดป่าประชาสโมสรบ้านเชียงเหียน จ.มหาสารคาม ในการเสวนา นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวว่าปัจจุบันแบ่งสมุนไพรเป็น 3 กลุ่ม 1.สมุนไพรที่กำลังจะสูญพันธุ์ 2.สมุนไพรที่มีคุณค่าทางการวิจัย 3.สมุนไพรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยฯพยายามอนุรักษ์ทั้ง 3 กลุ่มให้คงอยู่ ขณะนี้กำลังรวบรวมภูมิปัญญาและตำรับยาต่างๆที่ถูกบันทึกไว้ในใบลาน ใบข่อย โดยสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้เกิดการยอมรับว่า สมุนไพรที่อยู่ในตำรับยาต่างๆสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง และส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มเติมในเขตอนุรักษ์ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำการตลาดกลางสมุนไพร ซึ่งขณะนี้มีอยู่ที่ภาคเหนือที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ภาคอีสานได้แก่ จ.มหาสารคาม และ จ.อุบลราชธานี และภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อสร้างเครือข่ายการติดต่อซื้อขายสมุนไพรและพัฒนาองค์ความรู้ โดยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายนำสมุนไพรมาใช้อย่างกว้างขวางแทนยาแผนปัจจุบัน เพื่อลดปริมาณและค่าใช้จ่ายจากการใช้ยา และจะนำระบบแพทย์แผนไทยบรรจุในโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยมากขึ้น"
  • วันที่ 25 กันยายน 2555 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ ได้รับการสนับสนุนพื้นที่บริเวณยศเส จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้รับจัดสรรงบประมาณกว่า 8 ล้านบาทจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สำหรับออกแบบปรับปรุงเพื่อดำเนิน “โครงการอาโรคยศาล : ศูนย์อภิบาลผู้ป่วยเรื้อรังแบบครบวงจร” หรือ “โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานยศเส” นั้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการตามแบบแพทย์แผนไทยครบวงจร ตั้งแต่การตรวจและการรักษาด้วยการนวด อบ ประคบ และยาสมุนไพร โดยมีแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านจากจังหวัดต่างๆทั่วประเทศมาเป็นอาจารย์หมอผู้ทำการรักษา

    - กองการประกอบโรคศิลปะ และคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยเร่งเผยแพร่กฎหมาย เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนการสอนแบบรับมอบตัวศิษย์ รวมทั้งการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยทุกประเภท

  • มีการดำเนินงานใน 2 รูปแบบ

          1) คณะอนุกรรมการพัฒนาและจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบ ดำเนินการจัดตั้งในรูปแบบเอกเทศ เป็นรูปธรรมชัดเจนที่ จังหวัดสกลนคร และมีการเตรียมการที่จังหวัดเชียงราย และสงขลา 

          2) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จัดตั้งในรูปแบบบูรณาการในสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข 9 แห่ง   

  • เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559 ที่ รร.มิราเคิล แกรนด์ กทม. ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุริยะ วงศ์คงคา-เทพ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดนโยบายการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกสู่ภูมิภาค มีผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 700 คน โดย ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล ได้บรรยายพิเศษว่า ปัจจุบันกระแสสังคมทั่วโลกมีความสนใจและฟื้นฟูใช้ประโยชน์จากการแพทย์ดั้งเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่การแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมด เช่นศาสตร์การแพทย์แผนไทยที่เป็นการดูแลสุขภาพองค์รวม สอดคล้องกับวิถีชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็น 1 ใน 13 สาขาหลักที่จะเร่งรัดพัฒนาให้เป็นทางเลือกของประชาชน และยังเป็น 1 ใน 5 เรื่องหลักที่เร่งรัดปฏิรูป เพื่อบรรลุระบบสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอีก 20 ปีข้างหน้า และเป้าหมายสุขภาพระดับโลก ประกอบด้วย เอกภาพการบริหารจัดการ การเงินการคลังด้านสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันปัจจัยเสี่ยง การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และการใช้ภูมิปัญญาไทย การแพทย์แผนไทยพัฒนาสุขภาพ นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ด้านบริการสุขภาพ บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ยาและผลิตภัณฑ์ยาเพื่อสุขภาพ งานบริการวิชาการและงานวิจัย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ได้บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาสมุนไพรต่อยอดทั้งด้านการรักษาและผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1.ผลักดันให้เกิดแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย (พ.ศ.2560–2564) 2. ผลักดันเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพ เชื่อมโยงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ให้เกิดระบบการแพทย์ที่เอื้อซึ่งกันและกัน เพิ่มทางเลือกให้ประชาชน 3.ส่งเสริมการวิจัยเพื่อสร้างการยอมรับและเชื่อมั่นให้กับประชาชน และ 4.จัดตั้งกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นครั้งแรก เพื่อการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม นำร่อง 12 จังหวัด ในปี 2559 กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมพัฒนาการแผนแผนไทยฯ มีแผนดำเนินงาน ดังนี้ บูรณาการพัฒนาสมุนไพรไทย เพื่อความยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการแข่งขัน พัฒนากลไกระดับชาติ เพื่อกำกับทิศทางการพัฒนาภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร จัดทำแผนยุทธศาสตร์ภูมิปัญญาไทย 5 ปี (พ.ศ.2560–2564) ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ และนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยสู่การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  • เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2559 นายสุภัทร จำปาทอง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมหารือการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทย ครั้งที่ 1/2559 การประชุมครั้งนี้เพื่อรับทราบวัตถุประสงค์การประชุม การจัดการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยจองกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและพิจารณาแนวทางการพัฒนาจัดการศึกษาด้านการแพทย์แผนไทย ควบคุมปริมาณ คุณภาพ และมาตรฐานการผลิตกำลังคน การผลิตบุคลากรในสถาบันการศึกษา สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ประกอบด้วย การศึกษาต่อเนื่องหลังปริญญาตรี แพทย์แผนไทยเชี่ยวชาญ ตลอดจนการผลิตบุคลากรสายงานอื่นด้านการแพทย์แผนไทย ระดับวิชาชีพและระดับอาชีวศึกษา (นักเกษตรกรรมสาขาทรัพยากรธรรมชาติสมุนไพร วิศวกรในโรงงานยาสมุนไพร เป็นต้น) การประชุมครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุขด้านระบบสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค แพทย์แผนไทย และศูนย์กลางด้านการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอแนวทางการปฏิรูปให้สอดคล้องกับนโยบาย 4 Excellences และ Health in All Policy โดยครอบคลุมระบบบริการสุขภาพทุกระดับ ทั้ง 3 ระยะ (Pre-hospital care, Hospital care, Post hospital care) นำไปสู่เป้าหมายคือ ประชาชนสุขภาพดี ลดป่วย ลดตาย ลดแออัด ลดส่งต่อ ดูแลต่อเนื่องนอกจากนี้รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวอีกว่า เป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการคือผลักดันแพทย์แผนไทยเข้ามาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันได้มีการสอนอยู่แล้ว แต่จะเพิ่มหรือปรับเนื้อหาสาระในแต่ละระดับชั้นอย่างเหมาะสมได้อย่างไร และในส่วนของอาชีวศึกษาจะต้องเป็นผู้ควบคุมกลไกในการผลิตยา ก็จะได้พิจารณาในเนื้อหาสาระที่เหมาะสม  ส่วนในเรื่องของหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งจะมีการประชุมพิจารณาในครั้งต่อไป 
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 โครงการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ มีการดำเนินงานดังนี้
    • พิจารณาตำรับยาในกลุ่มโรคโลหิตสตรี “ยาบำรุงน้ำนม”
    • จัดทำรายละเอียดตำรับยาแผนไทยแห่งชาติกลุ่มโรคโลหิตสตรีระดูสตรี 10 ตำรับ
    • พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) ข้อมูลตำรับยาในกลุ่มโรคเด็กและกลุ่มโรคโลหิตระดูสตรี รวม 14 ตำรับ
    • จัดทำหลักเกณฑ์ดังนี้
      • หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ตำรับยาแผนไทย)
      • หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ตำราการแพทย์แผนไทย)
    • ได้รายการตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยที่เตรียมประกาศเป็นของชาติ 4 รายการ 209 ตำรับ
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 คณะทำงานพัฒนาแนวทางการเบิกค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยในด้านการแพทย์แผนไทย (DRGs) ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยให้โรงพยาบาลร่างแนวทางการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน CPD 5 กลุ่มโรคได้แก่ สะเก็ดเงิน อัมพาต หลังคลอด COPD มะเร็งตับ และแต่งตั้งคณะทำงานฯ เพิ่มเติมเนื่องจากมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มอีก 1 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลแม่ลาว จ.เชียงราย
  •  
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สถาบันสุขภาพวิถีไทย ได้ศึกษาด้านภาคประชาชนการจัดการเรียนการสอนแพทย์แผนไทยประเภท ก.   ในภาคใต้และภาคเหนือ  พบว่า ภาคใต้ปัญหาขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละที่ สถานที่สอนอยู่ตามวัด และสถานศึกษาบางแห่ง  เนื่องจากมาตรฐานการศึกษายังไม่ชัด ทำให้การเรียน การสอนเหมือนเดิม  ในภาคเหนือ สถานที่สอนดี กลุ่มที่เรียน จะนำไปใช้ในธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ วิธีการเรียน จะใช้แบบแผนปัจจุบันมากขึ้น
  • สถาบันสุขภาพวิถีไทยร่วมกับสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ศึกษาสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย ประเภท d ในผู้เข้าสอบเพื่อขึ้นทะเบียนการประกอบโรคศิลปะในภาคกลาง พบว่าผู้ที่มาสอบส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาตรี หรือกำลังเรียนปริญญาตรี
เอกสารหลัก: