You are here


มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน
สมัชชาครั้งที่: 
3
มติที่: 
1
ชื่อมติ: 
มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน
ผลการปฏิบัติงาน: 
ภายหลังสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้เข้าประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๓ ได้ให้การรับรองยุทธศาสตร์การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ คสช. ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ดังกล่าวต่อ ครม. โดย ครม. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินี้ และเห็นชอบต่อแนวทางการห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์เฉพาะกรณี และห้ามผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์ที่ใช้วัตถุดิบอื่นหรือใช้ผลิตภัณฑ์อื่นทดแทนได้ โดยใช้กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 21-22 ตุลาคม 2558 ในประชุมคณะทำงานวิชาการทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 ประเด็นมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ที่มี ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรีณย์กุล เป็นประธาน พบว่า แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมตินี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 จนถึงขณะนี้ผ่านมา 4 ปี ยังมีการนำเข้าแร่ใยหินโครโซไทล์ เพื่อผลิตสินค้าวัสดุก่อสร้างอยู่ต่อไป เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนยังไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมต้องการเห็นความก้าวหน้าของมาตรการในส่วนอื่นๆ ที่สำคัญควบคู่ไปด้วย ซึ่งการขับเคลื่อนเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่มาตรการห้ามผลิต ห้ามขายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงการผลักดันมาตรการอื่นๆ ให้ครอบคลุมอย่างครบวงจรด้วย ที่สำคัญคือ มาตรการควบคุมการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยอย่างแท้จริง ดังนั้นคณะทำงานฯ จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมติในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 อีกครั้ง โดยจะมีการเชิญหน่วยงานและองค์กรหลักที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินโครโซไทล์เป็นส่วนประกอบมาร่วมเพื่อให้ความเห็นอย่างรอบด้าน ก่อนเสนอเป็นมติต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ต่อไป เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2559 คณะทำงานขับเคลื่อน มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน มีการประชุมครั้งที่ 2/2559 คณะทำงานชุดนี้ มี ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล เป็นประธาน พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยได้หารือกันถึง การปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน และความคืบหน้าการดำเนินการของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่ประชุมเห็นชอบ ให้จัดกลุ่มการดำเนินการ ตาม (ร่าง)แผนปฎิบัติการฯ ดังกล่าว ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นการขับเคลื่อนทางกฎหมาย ระเบียบ และนโยบายของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การกำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัยใยหินในบรรยากาศการทำงาน 0.1 เส้นใย/ซีซี การปรับปรุง พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2535 ไม่ให้มีการใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบ พร้อมเพิ่มประเด็นการควบคุม การรื้อถอนซ่อมแซมอาคาร ที่มีวัสดุแร่ใยหิน ใน พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นต้น กลุ่มที่สอง คือกระบวนการสร้างความตระหนักรับรู้ให้แก่ประชาชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การศึกษาวิจัยโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน การจัดทำสื่อเผยแพร่ ผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึงการสื่อสาร ผ่านภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการรื้อถอนอาคารที่เหมาะสม ปลอดภัย จากการสัมผัสวัสดุก่อสร้างที่มีแร่ใยหินผสมอยู่ โดยแต่ละกิจกรรม ต้องมีการระบุกลุ่มเป้าหมายใช้ชัดเจน ทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้ใช้ และผู้บริโภค ทั้งนี้ ข้อสรุปของการหารือครั้งนี้ จะนำเสนอต่อ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพฯ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ มี รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นประธาน เพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ที่มีศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานต่อไป  เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ โดยเรียนเชิญ Dr.Yv Bonnier Viger จาก Quebec Canada ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากสูญเสียภรรยาเนื่องจากโรคจากเหตุใยหินและยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศแคนาดา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดประสบการณ์ แนวทางการทำงาน โดยมีตัวแทนจาก คณะทำงานขับเคลื่อนมติฯ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน คมส. กรมควบคุมโรค ตัวแทนจากพื้นที่นำร่องขับเคลื่อนการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน นักวิชาการ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบ เข้าร่วมสัมมนา ทั้งนี้ สช. ได้นำเสนอเส้นทางผลการขับเคลื่อนมติฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน (ปี 2553-2560) โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ การสนับสนุนการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคเหตุใยหิน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานนี้จะทำให้ทราบถึงจำนวนผู้ป่วย สถานการณ์ และแนวทางการสร้างระบบเฝ้าระวังของโรคเหตุใยหิน คาดว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่นำข้อมูลไปสู่การยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทย รวมทั้งประเด็นการขับเคลื่อนในระดับนโยบายที่ สช.พยายามประสานงาน ผลักดันการปรับปรุงประกาศให้แร่ใยหินที่เป็นวัตถุดิบ (ไครโซล์) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงฯ เป็นประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
รับรองยุทธศาสตร์ “การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ตามภาคผนวกท้ายมตินี้
ผลการปฏิบัติงาน: 

            สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 ได้ให้การรับรองยุทธศาสตร์ “การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำเสนอยุทธศาสตร์ “การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และพิจารณาเร่งรัดการดำเนินการดังนี้
รายละเอียด: 

2.1 ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการ

2.1.1 ควบคุมแร่ใยหินที่เป็นวัตถุดิบ (ไครโซไทล์) ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 อย่างเร่งด่วน ภายในปี 2554 ซึ่งจะห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง

2.1.2 กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสินค้าที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหิน

2.2 ให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นเพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ “การทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน”

2.3 ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นแกนกลางร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนามาตรการเพื่อควบคุมการรื้อถอน ซ่อมแซม ต่อเติมอาคารหรือวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบและการกำหนดมาตรการทิ้งขยะแร่ใยหิน โดยเฉพาะในกิจการก่อสร้างและการบริการติดตั้ง

2.4 ให้กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ

2.5 ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

2.5.1 ตรวจสอบและประกาศรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบให้สังคมรับรู้ และดำเนินการห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ

2.5.2 พิจารณาออกกฎ ระเบียบ หรือกฎหมายที่ควบคุมสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง

2.6 ให้กระทรวงการคลังพิจารณา เพิ่มอัตราภาษีการนำเข้าแร่ใยหิน และลดอัตราภาษีนำเข้าของสารที่นำมาใช้ทดแทนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขพิเศษที่จะไม่กระทบต่อการจัดเก็บภาษีของสารอื่นที่อยู่ในรหัสเดียวกัน

2.7 ให้สำนักนายกรัฐมนตรีปรับเพิ่มเกณฑ์ในระเบียบเดิม เรื่องการก่อสร้างอาคารของส่วนราชการ โดยกำหนดไม่ให้ใช้วัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบในการก่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซมอาคารใหม่อย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในข้อ 2.1.2 – 2.7 ปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี (ภายในปี 2555)

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติต่อไป โดยมีรายละเอียดที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายบางหน่วยงานเป็นการเฉพาะ ดังนี้
  1. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  2. มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปจัดทำแผนการยกเลิกการนำเข้า ผลิต และจำหน่ายแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบทุกชนิด ทั้งนี้ ให้กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการตามแผนด้วย แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
  3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปตรวจสอบว่า สาเหตุที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบอื่นเป็นส่วนประกอบแทนแร่ใยหินมีราคาสูงขึ้นเนื่องมาจากต้นทุนหรือการเพิ่มอัตราภาษี
  4. มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปศึกษาผลกระทบของแร่ใยหินที่มีต่อสุขภาพของผู้ใช้แรงงานที่ทำงานสัมผัสแร่ใยหินและผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน โดยให้จัดลำดับความสำคัญเพื่อจะได้กำหนดมาตรฐานในการป้องกันผู้ได้รับผลกกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้เสนอให้กำหนดกรอบระยะเวลาในการยกเลิกการนำเข้า ผลิตและจำหน่ายภายใน 2 ปี สำหรับผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคาลอนใหญ่และลอนคู่ ตามระยะเวลาที่ทีมนักวิจัยของ มสธ.เสนอ  โดยเสนอความเห็นไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อแผนและกรอบระยะเวลาในการยกเลิกการนำเข้า ผลิตและจำหน่ายแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบใน 5 ผลิตภัณฑ์ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และคณะรัฐมนตรีควรเร่งรัดดำเนินการและยืนยันหลักการสังคมไทยปลอดการใช้แร่ใยหินโดยเร็วที่สุด
  • เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2556 ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2556 ณ ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม ที่ประชุมมีมติยืนยันหลักการให้สังคมไทยปลอดการใช้แร่ใยหินโดยเร็วที่สุด โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่เสนอไปยังสำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี ให้ ครม. พิจารณาทบทวนแผนและกรอบระยะเวลาในการยกเลิกการนำเข้า ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคาลอนใหญ่และลอนคู่ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอกรอบระยะเวลา 5 ปี เป็น 2 ปี เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้งสองประเภทมีวัตถุดิบอื่นและผลิตภัณฑ์อื่นใช้ทดแทนแล้ว และมีบริษัทผู้ผลิตหลายรายที่ปรับเปลี่ยนมาผลิตกระเบื้องมุงหลังคาไร้แร่ใยหินได้แล้ว ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสุขภาพคนงานและผู้บริโภค รวมทั้งเตรียมเข้าสู่ตลาดการค้าต่างประเทศด้วย
  • เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้มีหนังสือตอบสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ขอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบจากแร่ใยหินที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดย สช.เสนอความเห็นที่มีสาระสําคัญ คือ 1) เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อสาระสําคัญตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่ขอให้ดําเนินการ ยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกผลิตภัณฑ์ 2) ยืนยันการดําเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554 และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2553 เรื่อง “มาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” โดยเสนอให้รัฐบาลประกาศนโยบาย ยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกผลิตภัณฑ์โดยทันทีเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดําเนินการเพื่อยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกประเภท
  • เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และมีมติรับทราบรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบจากแร่ใยหินของกระทรวงสาธารณสุขและมอบหมายรองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล) รับเรื่องนี้ไปกํากับดูแล โดยให้ตั้งคณะทํางานขึ้นประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรมเป็น หน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาและตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องในภาพรวมทั้งหมด เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน ทั้งในส่วนของประชาชนทั่วไป และผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการที่ใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ความเหมาะสม คุ้มค่า และความเป็นไปได้ในการใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้แร่ใยหิน แนวทางให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในกรณีที่มีการห้ามใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์แนวทางและมาตรการในการ ดําเนินการที่เหมาะสมในการใช้แร่ใยหิน/ยกเลิกการใช้แร่ใยหิน และผลกระทบจากการนําเข้าแร่ใยหิน เป็น ต้น และให้นําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ขณะนี้ยังไม่มีการตั้งคณะทํางานฯ ดังกล่าว
  • เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 คณะกรรมการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจคส.) ได้รับทราบมติการประชุมเตรียมการสําหรับ การประชุมอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-รัสเซีย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การค้าและการลงทุน ภายใต้การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ใน ประเด็นแร่ใยหินไครโซไทล์ที่รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นางนิศา ศรีสุวรนันท์) เป็น ประธาน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 ที่ว่า “ให้แจ้งฝ่ายรัสเซียว่าปัจจุบันไทยยังไม่มีแผนที่จะออกมาตรการ ห้ามนําเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์จากรัสเซีย เพียงแต่อยู่ระหว่างการศึกษารวบรวมข้อมูลผลกระทบอันตรายจากแร่ใยหินไครโซไทล์รวมถึงผลกระทบในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน และจะมีการประสานนัดประชุมร่วมกับฝ่ายรัสเซียภายใต้คณะทํางานเฉพาะกิจภายใต้คณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-รัสเซีย เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ต่อไป” ทั้งนี้คจคส. ได้ตั้งข้อสังเกตต่อมติการประชุมเตรียมการฯ ข้างต้นว่า ประเทศไทยควรมีสิทธิในการปกป้องสุขภาพของคนใน ประเทศ และควรแจ้งข้อเท็จจริงให้กับรัสเซียทราบ
  • เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมเพื่อติดตามผลการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าสหพันธรัฐรัสเซีย (นายเดนิส วีแมนทูรอฟ) มีประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ การแสดงความห่วงกังวลของรัฐมนตรีฯ ต่อแนวโน้มการห้ามนําเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ของไทยที่เกี่ยวข้องกับท่าทีของไทยในการเจรจาเพื่อทําความตกลงในความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนกับรัสเซีย ซึ่งประเทศไทยควรจะมีการเตรียมท่าทีให้พร้อมก่อนที่นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย (นายดมิทรีเมดเวเดฟ) จะมาเยือนไทยในระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2558 ทั้งนี้ในการประชุมของกระทรวงการต่างประเทศครั้งนี้ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมได้ชี้แจงว่า จะมีการประชุมหารือกับปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง คณะทํางานเฉพาะกิจภายใต้คณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-รัสเซีย และคณะทํางานที่จะแต่งตั้งขึ้นภายใต้การกํากับดูแลของ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557
  • เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติรับทราบความคืบหน้าในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 เรื่อง มาตรการทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน และมีมติ 1) ยืนยันการดําเนินการตามมาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยมอบฝ่ายเลขานุการแจ้งกระทรวงอุตสาหกรรม ขอให้เร่งรัดการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2553 เรื่อง“มาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” โดยให้เร่งรัดการยกเลิกการนําเข้า ผลิต และจําหน่ายแร่ใยหิน และผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบทุกชนิดโดยเร็ว ทั้งนี้อย่างช้าต้องไม่เกิน 2 ปี และ 2) ให้ฝ่ายเลขานุการจัดส่งเอกสารข้อแนะนําขององค์การอนามัยโลก “WHO position on Asbestos” ให้กระทรวงอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการ
  • เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 สช. ได้มีหนังสือแจ้งมติดังกล่าว พร้อมจัดส่งเอกสารข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว
  • เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ข้อสรุปจากการประชุมหารือทางวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กับผู้เชี่ยวชาญกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเรื่องแร่ใยหินไครโซไทล์และอนุสัญญารอตเตอร์ดัม

              (1) อนุสัญญารอตเตอร์ดัม หรืออนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้า สำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade: RC) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความพยายามร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกันในหมู่ภาคี 1 ในเรื่องสารเคมีอันตรายบางชนิดในการค้าระหว่างประเทศเพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี และเพื่อส่งเสริมการใช้สารเคมีอย่างไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสารเคมี และการแจ้งให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับชาติได้ทราบถึงการนำเข้าและส่งออก และการกระจายข่าวการตัดสินใจนี้ไปในหมู่ภาคีสมาชิก ปัจจุบันมีภาคีจeนวน 154 ภาคี ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญารอตเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545

              (2) ผลการประชุมใหญ่ภาคี (COP) ล่าสุดคือ ครั้งที่ 7 (COP7) เมื่อพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา พิจารณาเรื่อง แร่ใยหินไครโซไทล์ เป็นเรื่องสืบเนื่อง (ตั้งแต่การประชุม COP3) และCOP7 ยังหาฉันทมติในเรื่องการบรรจุแร่ใยหินไครโซไทล์เข้าในภาคผนวก III ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมไม่ได้ ที่ประชุมเห็นชอบให้นeเรื่องนี้ไปพิจารณาสืบเนื่องในการประชุมใหญ่ภาคีครั้งที่ 8 ต่อไปด้วย ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงจำนวนภาคีที่แสดงท่าทีคัดค้านการบรรจุไครโซไทล์เข้าในภาคผนวก III พบว่ามีจำนวนน้อยกว่าภาคีที่แสดงท่าทีสนับสนุนมากโดยใน COP7 มีภาคีสนับสนุนการบรรจุไครโซไทล์เข้าในภาคผนวก III 37 ภาคี ภาคีคัดค้าน 8 ภาคี และภาคีที่ต้องการข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม 1 ภาคี

              (3) กลไกและกระบวนการพิจารณากำหนดท่าทีของประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญารอตเตอร์ดัม อยู่ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ มีผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นประธาน (ตามคำสั่งล่าสุดที่ 11/2557 ประธานได้แก่ ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร) มีอธิบดีกรมควบคุมมลพิษหรือผู้แทน เป็นรองประธานอนุกรรมการ องค์ประกอบเป็นผู้บริหารหรือผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ 10 หน่วย ภาคเอกชน 2 องค์กร(ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมธุรกิจเคมี) ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มีผู้อำนวยการสำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษเป็นอนุกรรมการและเลขานุการในการประชุมคณะอนุกรรมการล่าสุดเพื่อเตรียมท่าทีของประเทศไทยสำหรับการเข้าประชุมใหญ่ภาคี ครั้งที่ 7 (COP7 ประชุมไปแล้วเมื่อพฤษภาคม 2558) ประเทศไทยได้กำหนดท่าทีว่า “ไม่เห็นด้วยในการบรรจุแร่ใยหินไครโซไทล์ไว้ในภาคผนวก III ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมยังมีความจำเป็นต้องใช้ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอันตรายและสารทดแทนแร่ใยหินไครโซไทล์”

              (4) ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาของประเทศไทย การจะกำหนดประเภทวัตถุอันตรายใดเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 42 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 นั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมมักจะอ้างอิงตามสารเคมีที่ถูกบรรจุไว้ในภาคผนวก III ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมเป็นสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้กำหนดแร่ใยหินที่อยู่ในกลุ่มแอมฟิโบล (Amphibole) ทั้งหมดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายแล้ว โดยไม่ต้องรอข้อมูลเรื่องอุบัติการณ์ผู้ป่วยในประเทศไทย เนื่องจากแร่ใยหินกลุ่มดังกล่าวได้ถูกบรรจุเข้าอยู่ใน ภาคผนวก III ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมแล้ว
                (5) ที่มาของเอกสารที่บริษัทโอฬารเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารของ International Chrysotile Association (ICA) ซึ่งเป็นสมาคมระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้มีการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ต่อไป โดย ICA สนับสนุนให้มีมาตรการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์อย่างปลอดภัย และพยายามเผยแพร่ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยของแร่ใยหินไครโซไทล์ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ในเอกสารข้างต้นให้ข้อมูลว่า ขณะนี้RC ระบุว่า ยังไม่มีการบรรจุแร่ใยหินไครโซไทล์เข้าในอนุสัญญารอตเตอร์ดัม

  • เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2558 ที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม ได้รับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง "มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน" โดยที่ประชุมมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งส่งรายงานของ "คณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบจากแร่ใยหิน" ซึ่งระบุถึงอันตรายจากการสัมผัสและสูดดมแร่ใยหิน พร้อมเอกสารจุดยืนของ องค์การอนามัยโลก ไปยังผู้แทนของ อนุกรรมการอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade: RC) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลไกภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำหน้าที่กำหนดท่าทีประเทศไทยในเวทีอนุสัญญารอตเตอร์ดัม

- การดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม

        จากมติ ครม. เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ เห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการตามแนวทางที่ ๒ ที่ได้นำเสนอ คือ ห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์เฉพาะกรณี และห้ามผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์ที่ใช้วัตถุดิบอื่นหรือใช้ผลิตภัณฑ์อื่นทดแทนได้ โดยใช้กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม และได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปจัดทำแผนการยกเลิกการนำเข้า ผลิต และจำหน่ายแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบทุกชนิด ทั้งนี้ ให้กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการตามแผน แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

         ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น ซึ่ง กรอ.ได้มีการดำเนินการแล้วดังต่อไปนี้

(๑) การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน ๕ ครั้ง

(๒) การศึกษา รวบรวมข้อมูลการควบคุมกำกับดูแลแร่ใยหินของต่างประเทศ เช่น

     ๒.๑ ประเทศสหรัฐอเมริกา  มี Asbestos Information Act of 1988 ที่ระบุว่าวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ (Asbestos-containing materials: ACM) หมายถึงวัสดุที่มีแร่ใยหินประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ ๑ และได้กำหนดให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนแก่ Environmental Protection Agency (EPA) เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบข้อมูลต่อไป นอกจากนี้ยังมีร่างกฎหมาย (Bill) ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมแร่ใยหินจำนวน ๒ ฉบับกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาในขณะนี้

     ๒.๒  สหภาพยุโรป  มีการกำหนดมาตรการควบคุมการรื้อถอนวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ มีการห้ามใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสหภาพยุโรป

     ๒.๓ ประเทศญี่ปุ่น  ยกเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน

      ๒.๔ ประเทศไต้หวัน กำหนดไว้ว่าจะยกเลิกการใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคา และกระเบื้องปูพื้น ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

(๓) การกำหนดผลิตภัณฑ์ที่จะศึกษาเพื่อทำแผนในการยกเลิกการนำเข้า ผลิตและจำหน่ายแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มีปริมาณการผลิตสูง หรือมีเทคโนโลยีการผลิตที่มีวัสดุอื่นทดแทน หรือมีผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันแต่ทำจากวัตถุดิบต่างชนิดกัน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง ๕ ชนิด ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง (ปูพื้น) ท่อซีเมนต์ส่งน้ำ กระเบื้องแผ่นเรียบ และผ้าเบรกและคลัทช์

(๔) ในระหว่างการศึกษา รวบรวมข้อมูล กรอ.ได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย และพบว่ามีข้อกังวลเกี่ยวกับผลการศึกษาตามข้อ (๓) ว่าจะมีความเป็นกลางหรือไม่ อย่างไร กรอ.จึงได้หารือร่วมกับรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกำกับตรวจสอบกระบวนการผลิต ที่กำกับดูแล แล้ว เห็นว่าควรว่าจ้างที่ปรึกษา/สถาบันการศึกษา ให้เป็นผู้ทำการศึกษาและนำเสนอกรอบระยะเวลาในการเลิกใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด กรอ.จึงได้อนุมัติเงินเหลือจ่ายในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จำนวน ๑.๖ ล้านบาท มาใช้เพื่อการนี้ โดย กรอ.ได้จัดทำขอบเขตและรายละเอียดเพื่อการว่าจ้างที่ปรึกษา และในที่สุด กรอ. ได้ทำสัญญาจัดจ้างที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เพื่อทำการศึกษาเชิงเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการลงทุน การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และผลกระทบต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะสามารถให้ข้อเสนอแนะในเรื่องแผนการยกเลิกการใช้แร่ใยหินใน ๕ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ท่อซีเมนต์ส่งน้ำ กระเบื้องแผ่นเรียบ และผ้าเบรก/คลัทช์ เรียบร้อยแล้ว

          ความคืบหน้าล่าสุด กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดให้มีการประชุมรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อโครงการจัดทำแผนในการยกเลิกการนำเข้า การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ไปแล้วรวม ๓ ครั้ง โดยได้ ร่าง แผนแม่บทในการยกเลิกการนำเข้าการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบแล้ว สำหรับ ๕ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเบื้องแผ่นเรียบ กระเบื้องยางปูพื้น ผ้าเบรกและคลัทช์ ท่อซีเมนต์ใยหิน และกระเบื้องมุงหลังคา ซึ่งทางคณะผู้ทำการศึกษาได้นำข้อมูลที่ได้จากการรับฟังความเห็นไปพิจารณาประกอบการจัดทำร่างแผนฯ และเสนอต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะมีการหารือกันระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนที่จะนำ ร่าง แผนแม่บทฯ ดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ใน ร่าง แผนแม่บทฯ นั้น มีข้อเสนอให้ยกเลิกการนำเข้าและผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีใยหินเป็นส่วนประกอบในระยะเวลาที่แตกต่างกันเนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ต้องใช้เวลาที่ต่างกันในการเตรียมตัวและปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อเลิกใช้ใยหิน ขึ้นอยู่กับประเภทผลิตภัณฑ์ โดยขณะนี้มีข้อเสนอให้ยกเลิกเร็วสุดอยู่ที่ ๑ ปีครึ่ง และผลิตภัณฑ์ทั้ง ๕ ประเภท ต้องไม่มีใยหินภายใน ๕ ปี

          สำหรับการดำเนินงานเพื่อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหินและได้ มอก. แล้ว ปัจจุบันมี ๒ กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเบื้องและท่อ ส่วนผ้าเบรกผ้าคลัตช์ไร้ใยหินขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการเรื่อง มอก. แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีใยหินเป็นส่วนประกอบนั้น หากจะยกเลิก มอก. ที่มีอยู่จะต้องรอข้อสรุปที่ชัดเจนจากมติคณะรัฐมนตรีก่อน

  • วันที่ 29 มีนาคม 2556 เครือข่ายภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายวันชัย มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนเป็นผู้แทนในการรับมอบ ทั้งนี้ในจดหมายมีเนื้อหาเพื่อเรียกร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทบทวนแผนการยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทยและให้ศึกษาผลกระทบของสารทดแทนอย่างรอบคอบก่อนมีการพิจารณาให้ดำเนินการใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อยและคนไทยทั้งประเทศ
  • เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จะเสนอนโยบายการกำหนดกรอบการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินใน 5 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยางปูพื้น กระเบื้องแผ่นเรียบ ท่อน้ำแรงดันสูง เบรก และคลัตซ์ โดยจะให้เวลาเอกชนปรับตัวในระยะเวลา 2-5 ปี
  • เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะออกประกาศให้กระเบื้องเซรามิกทุกประเภทต้องผ่านการตรวจสอบและต้องได้มาตรฐาน มอก.2508-2555 หลังจากผู้บริหารบริษัท บุญถาวรเซรามิก และบริษัทแกรนด์โฮมมาร์ท กรุ๊ป ผู้นำเข้ากระเบื้องเซรามิกรายใหญ่เข้าร้องเรียน ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างหาทางลดผลกระทบให้ผู้ประกอบการ เนื่องจากประกาศดังกล่าวกำหนดให้กระเบื้องทั้งที่ผลิตในประเทศและผู้นำเข้าต้องผ่านการทดสอบและได้รับ มอก. จากเดิมที่ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานบังคับ อย่างไรก็ตาม สมอ. ได้ยืนยันประกาศดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2556 คาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเดือนมิถุนายน และมีผลใน 180 วันหลังออกประกาศหรือประมาณเดือนธันวาคม 2556 ในเบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมจะพิจารณาแนวทางลดผลกระทบ เช่น การขยายระยะเวลามีผลบังคับใช้เป็น 360 วันหลังประกาศ หรือเรื่องปริมาณการนำของเข้าตรวจหรือการให้นำผลการทดสอบจากต่างประเทศมายืนยัน เป็นต้น
  • เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 กระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้พิจารณาแผนการยกเลิกใช้แร่ใยหินโครโซไทล์ของ กรอ.แล้ว และลงนามส่งเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้วเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556  ซึ่งหลังจากนี้ สลค.จะสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จัดวาระเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยจะกำหนดแนวทางยกเลิกใช้แร่ใยหินนี้ใช้กับสินค้า 5 รายการ โดยแผนดังกล่าวได้กำหนดแนวทางการเลิกใช้แร่ใยหิน 2 กลุ่มคือ 1) กระเบื้องแผ่นเรียบและกระเบื้องยางปูพื้นกำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบภายใน 2 ปี ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเตรียมออกกฎหมายบังคับให้ยกเลิกใช้ในช่วงเตรียมตัว 2 ปี และ 2) กระเบื้องมุงหลังคา ผ้าเบรก และคลัตซ์ ท่อซีเมนต์ใยหิน กำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบภายใน 5 ปี เนื่องจากยังขาดผลการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของแร่ใยหินที่มีผลต่อสุขภาพและมาตรการป้องกัน รวมทั้งยกเลิกใช้แร่ใยหินในสินค้าดังกล่าว มีผลกระทบวงกว้างต่อผู้บริโภค เศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้หาก ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว กรอ.จะต้องออกกฎหมาย เพื่อกำหนดแนวทางในการห้ามใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบ โดยกรอ.จะใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โรงงาน ในการกำหนดชนิด คุณภาพ อัตราส่วนของวัตถุดิบ แหล่งกำเนิดของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ผลิตในโรงงาน ซึ่งสามารถห้ามใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิตในโรงงานได้ ทั้งนี้ มีหลายฝ่ายมีแนวคิดให้ กรอ.เสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายกำหนดให้แร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย ที่จะห้ามไม่ให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออกหรือการมีไว้ในครอบครอง โดยปัจจุบันแร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไวัในครองครองต้องรับใบอนุญาต ซึ่ง กรอ.เห็นว่าควรห้ามใช้แร่ใยหินตาม พ.ร.บ.โรงงานมากกว่าการกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพราะยังมีผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ไม่สามารถใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ จึงห้ามนำเข้าไม่ได้
  • วันที่ 17 กรกฎาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้สอบถามกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงานเพื่อหาข้อสรุปแนวทางการยกเลิกการใช้ใน 5 ผลิตภัณฑ์ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมมีความคืบหน้าในการยกเลิกการใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาว่า จากที่มีกลุ่มเครือข่ายยกเลิกแร่ใยหินเข้าร้องเรียนกับทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดทาง คสช. ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานในฐานะเป็นหน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะควบคุมการใช้วัตถุดิบในการผลิตไปดำเนินการหาข้อยุติเรื่องดังกล่าวแล้ว เพื่อนำเสนอ คสช. พิจารณาตัดสินใจต่อเรื่องนี้อย่างไร
  • วันที่ 3 กันยายน 2557 กรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมที่จะเสนอเรื่องเร่งด่วนให้กับนาย จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้เร่งดำเนินการ มี 3 เรื่อง ได้แก่ การดำเนินการ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม (รง.4) การจัดการกากอุตสาหกรรม และการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ซึ่งทั้ง 3 เรื่องเป็นประเด็นที่ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายกำชับมาตั้งแต่ต้น สำหรับการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ยังคงยึดกรอบเดิมที่ได้สรุปเอาไว้แล้ว กับสินค้า 5 รายการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกกระเบื้องแผ่นเรียบและกระเบื้องยางปูพื้น กำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินดังกล่าวเป็นวัตถุดิบภายใน 2 ปี และกลุ่มที่ 2 กลุ่มกระเบื้องมุ่งหลังคา ผ้าเบรก และคลัตช์ ท่อซีเมนต์ใยหิน กำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบภายใน 5 ปี เป็นต้น
  • เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 กรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมนำเสนอแผนการยกเลิกนำเข้า ผลิตและจำหน่ายแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบทุกชนิดและกรอบเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินงาน โดยเสนอให้นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาภายในเดือนพฤศจิกายน 2557 ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะยังยึดกรอบเดิมตามที่ได้ข้อยุติก่อนหน้านี้ ที่จะยกเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ กับสินค้า 6 รายการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกกระเบื้องแผ่นเรียบและกระเบื้องยางปูพื้น กำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบภายใน 2 ปี และกลุ่มที่ 2 กลุ่มกระเบื้องมุ่งหลังคา ผ้าเบรก และคลัตช์ ท่อซีเมนต์ใยหิน กำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบภายใน 5 ปี เนื่องจากขณะนี้ทางกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) สามารถที่จะหาแร่บะซอลต์ มาทดแทนแร่ใยหินได้แล้ว พร้อมทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทดแทน อีกทั้งได้เตรียมแผนการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงอันตรายที่เกิดขึ้นกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบเป็นต้น
  • เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับหนังสือร้องเรียนและขอเข้าชี้แจงจากบริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด เรื่องการเสนอแผนการยกเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์กับสินค้า 6 รายการ และกำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบภายใน 5 ปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 หลังจากที่ กรอ. ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ได้มอบหมายให้ กรอ. ในฐานต้นเรื่องไปดำเนินการประสานกับผู้ร้องเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงถึงเหตุผลของการคัดค้าน ซึ่งจะต้องมีการหารือให้ได้ข้อยุติก่อนที่จะนำมาเสนออีกครั้ง
  • เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2558 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยความคืบหน้าการห้ามใช้แร่ใยหินในภาคอุตสาหกรรมว่า ประเทศไทยมีผู้ประกอบการผลิตกระเบื้อง ที่ใช้แร่ใยหินในกระบวนการผลิต 2 ราย แต่หากจะยกเลิกการใช้ทันที ตามข้อเรียกร้ององค์กรภาคประชาชน ด้วยการแก้ไขพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จะส่งผลให้รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนกระเบื้องที่มีแร่ใยหินทั่วประเทศ มูลค่าหลายแสนล้านบาท เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่สามารถยกเลิกการใช้ได้ทันที “การแก้ปัญหาที่เหมาะสมคือปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยขณะนี้ผู้ผลิตกระเบื้องทั่วโลก กำลังทยอยยกเลิกการใช้แร่ใยหิน และในไทยเหลือเพียง 2 ราย ที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตอีกทั้งยังไม่พบรายงานผู้ที่ได้รับอันตรายจากการใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน
  • เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติรับทราบความคืบหน้าในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ 2553 เรื่อง มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน และมีมติดังนี้
  1. ให้ฝ่ายเลขานุการจัดส่งเอกสารข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก “WHO position on AsbestosW ให้กระทรวงอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการ
  2. ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554 และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553 เรื่อง มาตรการสังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยเร็ว ทั้งนี้ไม่เกินสองปี
  • เดือนมีนาคม 2558 กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการใช้แร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมศึกษา ส่วนข้อเสนอเดิมที่จะทยอยยกเลิกการใช้แร่ใยหินในสินค้า 6 รายการหลักภายใน 2-5 ปี จะต้องนำกลับมาทบทวนใหม่
  • เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วม ได้รับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง "มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน" ที่ประชุมมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งส่งรายงานของ "คณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบจากแร่ใยหิน" ซึ่งระบุถึงอันตรายจากการสัมผัสและสูดดมแร่ใยหิน พร้อมเอกสารจุดยืนของ องค์การอนามัยโลก ไปยังผู้แทนของ อนุกรรมการอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade: RC) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลไกภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำหน้าที่กำหนดท่าทีประเทศไทยในเวทีอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีมติที่ประชุมดังนี้ 

          - มอบให้กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงไปยัง คณะกรรมการวัตถุอันตราย ถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินไครโซไทล์ตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกระทรวงสาธารณสุข ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีไปแล้ว เพื่อสนับสนุนให้คณะกรรมการฯ พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็น วัตถุอันตรายประเภทที่ ๔ หรือกลุ่มที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สสส. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค เร่งสื่อสารและทำความเข้าใจถึงอันตรายของแร่ใยหินไครโซไทล์ไปยังผู้จำหน่าย ผู้ใช้ และผู้รับเหมาก่อสร้างต่างๆ ซึ่งขณะนี้องค์กรวิชาชีพ เช่น สภาสถาปนิก สภาวิศวกร ต่างก็เห็นความสำคัญและผลกระทบทางสุขภาพของเรื่องนี้แล้ว

          - มอบให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ทำการทบทวนมติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การปรับค่ามาตรฐานความปลอดภัยใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ จากเดิมที่อนุญาตให้มีแร่ใยหินปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมที่ทำงานไม่เกิน ๕ เส้นใยต่ออากาศ ๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นค่ามาตรฐานตามที่ สมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐของสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ คือ ๐.๑ เส้นใยต่ออากาศ ๑ ลูกบาศก์เซนติเมตร เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งเสนอให้ ร่าง พ.ร.บ.ขยะแห่งชาติ พ.ศ. ... กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่มีแร่ใยหินต้องรับซื้อคืนขยะปนเปื้อน เป็นต้น

การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข

ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้มีการศึกษาผลกระทบของการใช้แร่ใยหินต่อสุขภาพคนทำงานในอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้อง เบรค คลัทช์ ท่อน้ำ และกระเบื้องยาง มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ แม้ต่อมาจะมิได้มีการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคทุกปี แต่มีการศึกษาอย่างยาวนานต่อเนื่องมาตลอดจนปี ๒๕๕๑ ก็ยังพบว่าคนงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้นมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับอันตรายจากฝุ่นใยหิน โดยผลการศึกษาเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยมหิดล ก็ให้ผลสอดคล้องกัน จึงสามารถสรุปได้ว่าการจัดลำดับความสำคัญของมาตรการป้องกันโรคในกลุ่มคนทำงานนั้น เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอไว้อยู่แล้วซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาที่กระทรวงสาธารณสุขศึกษามาโดยตลอด

สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ ครม. ได้มอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปศึกษา ดังที่กล่าวมาในมติข้อ ๒ ข้างต้นนั้น กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าน่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตามหากหน่วยงานที่มีบทบาทโดยตรงต้องการการสนับสนุนทางวิชาการ กระทรวงสาธารณสุขก็ยินดีให้การสนับสนุน

สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการรายยุทธศาสตร์นั้น ขอรายงาน ดังนี้

  1.  ยุทธศาสตร์ที่ การยกเลิกการใช้และป้องกันอันตรายโดยมาตรการทางกฎหมาย:

๑.๑ นอกเหนือจากการดำเนินงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาก่อนนำ ร่าง แผนแม่บทฯ เสนอต่อ ครม. ดังที่กล่าวมาข้างต้นในข้อ ๒.๑ แล้ว สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก WHO ให้จ้างผู้ศึกษาวิจัยทำการศึกษาเรื่อง Cost Benefit ของการที่จะใช้หรือไม่ใช้แร่ใยหินต่อ โดยได้ทำการศึกษาทั้งในภาคของผู้ผลิตและผู้ป่วย ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการศึกษาใกล้แล้วเสร็จ

๑.๒  มีการประสานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังความเสี่ยงซึ่งใช้อ้างอิงจากมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน (American Conference of Governmental Industrial Hygienists: ACGIH)

๑.๓ ในการดำเนินงานในระดับนานาชาตินั้น ในการจัดประชุมประเทศเครือข่ายตามโครงการ Strategic Approach to International Chemicals Management (SAICM) นั้น ประเทศไทยได้เสนอให้แร่ใยหินเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

๑.๔ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) โดยคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค ได้เคยเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการอันตรายจากแร่ใยหินไครโซไทล์เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค ต่อคณะรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งมาที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ว่านายกรัฐมนตรีพิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องดังกล่าวแล้วมีคำสั่งมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และนอกจากนี้ เมื่อ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค สป. ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ขึ้น เพื่อติดตามความก้าวหน้าความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการอันตรายจากแร่ใยหินไครโซไทล์เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยในการสัมมนาได้กล่าวถึงกรณีศึกษาการจัดการอันตรายจากแร่ใยหินในสาธารณรัฐไต้หวัน การดำเนินงานของภาครัฐเกี่ยวกับการจัดการอันตรายจากแร่ใยหินของประเทศไทยเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ความสำเร็จในการพัฒนาการผลิตสินค้าไร้แร่ใยหินของภาคเอกชนไทยในส่วนของกระเบื้องและผ้าเบรก รวมถึงกรณีศึกษาจากเทศบาลตำบลแม่ยาว เชียงรายในการเผยแพร่ข้อมูลความเป็นอันตรายจากแร่ใยหินและการรื้อถอน ซึ่งที่ประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นในประเด็นเรื่องความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่ต่างกันให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเฉพาะตระหนักถึงอันตรายจากแร่ใยหิน การให้ชุมชนท้องถิ่นเห็นความสำคัญและบรรจุเข้าในธรรมนูญสุขภาพหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น การบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของผู้ทำงานและผู้บริโภค และการพัฒนาในเรื่องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ทั้งนี้ คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค จะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนารับฟังความเห็นดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ยุทธศาสตร์ที่ การส่งเสริม สนับสนุนการใช้สารทดแทนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการเพื่อควบคุม ลด และเลิกใช้แร่ใยหิน: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการดำเนินการ ดังนี้

๒.๑ ได้ร่วมกับบริษัทคอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล (๑๙๙๔) จำกัด สร้างนวตกรรมผ้าเบรกไร้ใยหินสำเร็จครั้งแรกในไทย และติดตั้งให้กับแท็กซี่ ๕๐๐ คัน เพื่อรณรงค์และลดผลกระทบด้านมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเทคโนโลยีการพัฒนาผ้าเบรกดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น

๒.๒ ได้จัดทำโครงการวิจัยเบื้องต้นในการวิจัยและพัฒนาสารประกอบอนินทรีย์ประเภทโวลาสโทไนต์ (Wollastonite) เพื่อใช้ทดแทนใยหิน และโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อพัฒนาเส้นใยอินทรีย์สังเคราะห์เพื่อใช้ทดแทนใยหิน ซึ่งขณะนี้ทั้ง ๒ โครงการดังกล่าวกำลังอยู่ในการดำเนินงานในระดับห้องปฏิบัติการ

ยุทธศาสตร์ที่ การเผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์ให้กับสาธารณชนทราบ รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร:

๓.๑ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ดำเนินการออกประกาศ เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ไปแล้วรวม ๒ ฉบับ ซึ่งปัจจุบัน สคบ. ทำหน้าที่เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค และออกตรวจการดำเนินงานตามประกาศ โดยมีแนวทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในเรื่องอันตรายจากแร่ใยหิน และแนวทางการตรวจสอบการดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ทั้งที่ดำเนินการไปแล้วและกำลังจะดำเนินการ ดังนี้ ๑) ได้ให้ข้อสังเกตเรื่องความสำคัญของการให้ข้อมูลต่อผู้บริโภคเรื่องการใช้แร่ใยหินไว้ในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ ๖ ๒) จะมีการดำเนินการแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ และมีการให้ความรู้แก่ภาคประชาชนในโครงการ สคบ. สัญจร ๓) จะมีการเชิญกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ เช่น กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มาให้ความรู้ถึงอันตราย การกำจัด และวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินที่ถูกต้อง ๔) ได้มีการตรวจสอบผู้ผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินว่ามีการจัดทำฉลากสินค้าถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากหรือไม่ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากไม่มีการจัดทำฉลากสินค้าจะนำเสนอคณะกรรมการว่าด้วยฉลากพิจารณาต่อไป

๓.๒ แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์เพื่อใช้เผยแพร่ต่อสาธารณชนให้ทราบถึงอันตรายจากแร่ใยหิน

๓.๓ สช. ได้จัดเวที สช. เจาะประเด็น เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อสื่อมวลชนให้รับรู้และรับทราบถึงอันตรายและความจำเป็นในการที่จะต้องมีการควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ และได้สนับสนุนการจัดพิมพ์เอกสารเรื่องการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่มีแร่ใยหินอย่างปลอดภัยที่นักวิชาการร่วมกันพัฒนาขึ้น

๓.๔ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการผลิตเอกสารวิชาการเน้นให้บุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างได้ใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่สู่มือผู้บริโภคสินค้าโดยตรง รวมทั้งได้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากแร่ใยหินกับสินค้าในชีวิตประจำวัน และความรู้เรื่องการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่มีใยหินผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงทางช่องทางสื่อโทรทัศน์และการให้สัมภาษณ์สื่อวิทยุ และยังได้มีการเผยแพร่รายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องผ่านทาง website ของกระทรวงสาธารณสุข และมีการเชื่อมสู่ website ขององค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนข้อมูลทางสุขภาพอีกด้วย

๓.๕ องค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้ให้ข้อมูลจุดยืนของผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแร่ใยหินว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อขจัดโรคจากแร่ใยหิน (Asbestos-related diseases)

ยุทธศาสตร์ที่ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวินิจฉัยโรค:

๔.๑ สมาพันธ์อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้ร่วมกับ คคส. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค จัดประชุมร่วมกันระหว่างแพทย์และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนามาตรการ เรื่อง การแก้ไขและป้องกันปัญหาโรคเหตุแร่ใยหิน (Asbestos-related diseases: ARDs) ทั้งเชิงรุกและเชิงรับโดยผ่าน ๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ การสร้างความตระหนักต่อนายจ้างและลูกจ้าง (ได้หารือร่วมกับกระทรวงแรงงาน) การสร้างความตระหนักแก่แพทย์ที่ตรวจลูกจ้าง การสร้างช่องทางให้แก่แพทย์ที่ตรวจลูกจ้างที่สงสัยว่าเป็นโรคเหตุแร่ใยหินสามารถซักประวัติและรายงานเข้าระบบได้มากขึ้น เตรียมความพร้อมและสร้างความตระหนักของแพทย์เฉพาะทางเพื่อนำไปสู่กระบวนการวินิจโรคผู้ที่มีอาการต้องสงสัยว่าจะป่วยจากแร่ใยหิน (ในส่วนของแพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยนี้เบื้องต้นได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันมะเร็ง และสถาบันโรคทรวงอกเพื่อรายงานและสอบสวนหาข้อมูลเพิ่มเติมหากพบผู้ป่วยที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสแร่ใยหิน) และการพัฒนามาตรฐานการทำงานกับ Asbestos-containing materials (ACMs) อย่างปลอดภัย ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะทำในรูปแบบโครงการวิจัยเร่งด่วนสำหรับการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงที่รับสัมผัสแร่ใยหินในประเทศไทย

๔.๒ กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนทางวิชาการในการประชุม Asia Pacific Academic Consortium for Public Health และ International Symposium on Safety and Health at Work 2011 ประเทศเกาหลีใต้จัดขึ้น และได้มีการตกลงร่วมกันที่จะสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านการตรวจสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยโรค การตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงจะมีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติซึ่งจะมีการจัดประชุมเพื่อส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการเพื่อการป้องกันควบคุมและรักษาโรคมะเร็งที่เป็นสากลและทันสมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่รับสัมผัสสารก่อมะเร็งจากการทำงานอีกด้วย 

  • วันที่ 26 ธันวาคม 2555 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) มีข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งรัดให้ยกเลิกการนำเข้าวัตถุดิบแร่ใยหิน ยกเลิกการผลิตและการจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินและมีวัตถุดิบทดแทน ภายในปี 2556 โดยยกเลิกผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท ได้แก่ กระเบื้องแผ่นเรียบ กระเบื้องยางปูพื้น ผ้าเบรก และคลัตช์ท่อซีเมนต์ใยหิน และกระเบื้องมุงหลังคา
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2555 ผลการประชุมของคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน ครั้งที่ 1 จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ สธ. ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพโดยจะเน้นในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพซึ่งมีทั้งในและต่างประเทศ โดยเห็นว่ายังมีช่องโหว่ของข้อมูลจึงได้มอบหมายให้ไปรวบรวบข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรอบด้าน รวมทั้งกรณีตัวอย่างของผู้ป่วยที่ได้รับผลจากแร่ใยหินว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมกราคม 2556
  • วันที่ 17 เมษายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน มีสภาเครือข่ายกลุ่มผุ้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยในสมัชชาคนจน และเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-Ban) นำโดย นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการใช้แร่ใยหินและขอให้แบนการนำเข้าแร่ใยหินต่อ นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยทางกลุ่มมีความกังวลถึงผลการพิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน การมาเรียกร้องต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพราะต่างประเทศกว่า 56 ประเทศล้วนประกาศห้ามใช้แล้ว ถือว่าเป็นข้อมูลจำนวนมากที่เพียงพอต่อการประกาศว่าแร่ใยหินนั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย
  • เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน มี นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุม ผลการประชุมยังไม่มีข้อยืนยันได้ว่าแร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย เนื่องจากจ้อมูลทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ จึงมีมติให้นำข้อมูลที่ระบุได้ว่าแร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภคมาเพิ่มเติม และจะมีการประชุมอีกครั้งภายใน 1 เดือน ให้ได้ข้อสรุปเชิงวิชาการถึงผลกระทบจากแร่ใยหินต่อสุขภาพเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินต่อไป
  • มาตรการขับเคลื่อน “สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 ที่เห็นชอบตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ศึกษาแผนการยกเลิกนำเข้าและผลิตแร่ใยหินไครโซไทล์ให้กระทรวงอุตสาหกรรม  
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2555 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) มีข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งรัดให้ยกเลิกการนำเข้าวัตถุดิบแร่ใยหิน ยกเลิกการผลิตและการจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินและมีวัตถุดิบทดแทน ภายในปี 2556 โดยยกเลิกผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท ได้แก่ กระเบื้องแผ่นเรียบ กระเบื้องยางปูพื้น ผ้าเบรก และคลัตช์ท่อซีเมนต์ใยหิน และกระเบื้องมุงหลังคา
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2555 ผลการประชุมของคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน ครั้งที่ 1 จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ สธ. ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพโดยจะเน้นในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพซึ่งมีทั้งในและต่างประเทศ โดยเห็นว่ายังมีช่องโหว่ของข้อมูลจึงได้มอบหมายให้ไปรวบรวบข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรอบด้าน รวมทั้งกรณีตัวอย่างของผู้ป่วยที่ได้รับผลจากแร่ใยหินว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมกราคม 2556
  • วันที่ 17 เมษายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน มีสภาเครือข่ายกลุ่มผุ้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยในสมัชชาคนจน และเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-Ban) นำโดย นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการใช้แร่ใยหินและขอให้แบนการนำเข้าแร่ใยหินต่อ นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยทางกลุ่มมีความกังวลถึงผลการพิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน การมาเรียกร้องต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพราะต่างประเทศกว่า 56 ประเทศล้วนประกาศห้ามใช้แล้ว ถือว่าเป็นข้อมูลจำนวนมากที่เพียงพอต่อการประกาศว่าแร่ใยหินนั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย
  • เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน มี นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุม ผลการประชุมยังไม่มีข้อยืนยันได้ว่าแร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย เนื่องจากจ้อมูลทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ จึงมีมติให้นำข้อมูลที่ระบุได้ว่าแร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภคมาเพิ่มเติม และจะมีการประชุมอีกครั้งภายใน 1 เดือน ให้ได้ข้อสรุปเชิงวิชาการถึงผลกระทบจากแร่ใยหินต่อสุขภาพเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินต่อไป
  • มาตรการขับเคลื่อน “สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 ที่เห็นชอบตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ศึกษาแผนการยกเลิกนำเข้าและผลิตแร่ใยหินไครโซไทล์ให้กระทรวงอุตสาหกรรม 
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2555 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) มีข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งรัดให้ยกเลิกการนำเข้าวัตถุดิบแร่ใยหิน ยกเลิกการผลิตและการจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินและมีวัตถุดิบทดแทน ภายในปี 2556 โดยยกเลิกผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท ได้แก่ กระเบื้องแผ่นเรียบ กระเบื้องยางปูพื้น ผ้าเบรก และคลัตช์ท่อซีเมนต์ใยหิน และกระเบื้องมุงหลังคา
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2555 ผลการประชุมของคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน ครั้งที่ 1 จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ สธ. ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพโดยจะเน้นในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพซึ่งมีทั้งในและต่างประเทศ โดยเห็นว่ายังมีช่องโหว่ของข้อมูลจึงได้มอบหมายให้ไปรวบรวบข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรอบด้าน รวมทั้งกรณีตัวอย่างของผู้ป่วยที่ได้รับผลจากแร่ใยหินว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมกราคม 2556
  • วันที่ 17 เมษายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน มีสภาเครือข่ายกลุ่มผุ้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยในสมัชชาคนจน และเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-Ban) นำโดย นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการใช้แร่ใยหินและขอให้แบนการนำเข้าแร่ใยหินต่อ นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยทางกลุ่มมีความกังวลถึงผลการพิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน การมาเรียกร้องต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพราะต่างประเทศกว่า 56 ประเทศล้วนประกาศห้ามใช้แล้ว ถือว่าเป็นข้อมูลจำนวนมากที่เพียงพอต่อการประกาศว่าแร่ใยหินนั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย
  • เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน มี นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุม ผลการประชุมยังไม่มีข้อยืนยันได้ว่าแร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย เนื่องจากจ้อมูลทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ จึงมีมติให้นำข้อมูลที่ระบุได้ว่าแร่ใยหินส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภคมาเพิ่มเติม และจะมีการประชุมอีกครั้งภายใน 1 เดือน ให้ได้ข้อสรุปเชิงวิชาการถึงผลกระทบจากแร่ใยหินต่อสุขภาพเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินต่อไป
  • มาตรการขับเคลื่อน “สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 ที่เห็นชอบตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ศึกษาแผนการยกเลิกนำเข้าและผลิตแร่ใยหินไครโซไทล์ให้กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานการประชุมของกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้ระบุว่า ปัจจุบันมีผลการศึกษาในระดับโลกที่ชี้ถึงอันตรายจากแร่ใยหินว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับปิด จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ยกเลิกการนำเข้า ผลิตและใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ซึ่งผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขและ สช. ได้นำเสนอข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศที่เอกสารทางการชี้ชัดถึงอันตรายของแร่ใยหิน อาทิ องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on  Cancer: IARC) ระบุชัดว่า แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็งและวิธีการป้องกันอันตรายดีที่สุดคือ การยกเลิกการใช้ ขณะที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้แสดงจุดยืนเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในการใช้แร่ใยหินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง คณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้พิจารณาแล้วต่างมีความเห็นพ้องกัน ได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยควรยกเลิกการใช้แร่ใยหิน โดยเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่คณะกรรมาธิการฯ จะทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้เร่งการดำเนินงาน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการเห็นว่าการยกเลิกสามารถใช้เหตุผลของต่างประเทศประกอบการพิจารณาได้โดยไม่ควรต้องรอให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเพิ่มขึ้นในประเทศไทยก่อน เนื่องจากโรคดังกล่าวมีระยะเวลาฟักตัวนานและตรวจวินิจฉัยได้ยาก ประกอบกับประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถนำวัสดุทดแทนที่ปลอดภัยกว่าแร่ใยหินมาใช้ได้แล้ว 
  • วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 นักวิชาการคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนข้อเรียกร้องของเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-BAN) ที่เสนอต่อนายกรัฐมนตรี 3 ข้อ ได้แก่ 
  1. ยกเลิกการนำเข้าวัตถุดิบแร่ใยหินไครโซไทล์ภายในปี 2556
  2. ยกเลิกการผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์ในปี 2557
  3. ยกเลิกการนำเข้าสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไครโซไทล์ทั้งหมดภายในปี 2558

          ซึ่งจะมีการประชุมหารือเรื่องการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในวันที่ 15-16 สิงหาคม 2556

  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2556 แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คตส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดเสวนา “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ที่ประชุมมีความเห็นว่า กระทรวงสาธารณสุขควรเร่งสรุปผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินอย่างจริงจัง เพราะคณะรัฐมนตรีให้เวลาศึกษาข้อเท็จจริงมากว่า 2 ปีแล้ว แต่หากมีข้อสรุปว่า แร่ใยหินไม่เป็นอันตรายอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของรัฐบาล และหลังจากเวทีเสวนา เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแห่งประเทศไทยได้เตรียมเข้าพบปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอความชัดเจนเรื่องการศึกษาผลกระทบทางด้านสุขภาพในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีหลังใช้เวลาศึกษามากว่า 2 ปีแล้ว
  • วันที่ 31  กรกฎาคม 2556 ผลการประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน คริสโซไทล์ ได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยใช้แร่ใยหินหลายชนิด ขณะนี้ได้ห้ามใช้แล้ว 4 ชนิด ซึ่งมีหลักฐานปรากฎชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ ยังเหลืออีก 1 ตัวคือ คริสโซไทล์ ที่ต้องหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในบริบทของประเทศไทย พบว่าจากหลักฐานที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ จำนวนผู้ป่วยในประเทศไทยทีผ่านการตรวจวินิจฉัยมีน้อยมาก พบเพียง 12 ราย ในจำนวนนี้มีประวัติเกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน  5 ราย ดังนั้นที่ประชุมจึงมุ่งไปที่หลักฐานการวิจัยอ้างอิงจากต่างประเทศ ซึ่งในประเทศจะมีการปรับปรุงระบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งเรื่องการตรวจวินิจฉัย การคัดกรอง และการเฝ้าระวังโรคที่ไม่เฉพาะแต่โรคจากแร่ใยหินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพอื่นๆ ด้วยให้ข้อมูลเป็นที่น่าเชื่อถือ ครบถ้วนในการดูแลสุขภาพของประชาชนและผู้ใช้แรงงาน จากนั้นจะทำรายงานผลสรุปและให้ผู้แทนจากสมาคมอุรเวช กลี่นกรองวิชาการร่วมกับทีมเลขานุการก่อนแจ้งเวียนให้คณะกรรมการตรวจสอบความถูกต้องตามมติ หากไม่มีการแก้ไขจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในปลายเดือนสิงหาคม 2556
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2556 ข้อมูลจาก รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) กล่าวถึงผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุขที่มี นพ.ประดิษฐ์ สินธวรณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้มีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้คงการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ ซึ่งสวนทางกับการนำเสนอของ นพ.ชาญวิทย์  ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งสวนทางกับการยกเลิกการใช้แร่ใยหินทั่วโลก ทั้งนี้หากกระทรวงสาธารณสุขยังเสนอให้ใช้แร่ใยหินถือว่าขาดหลักจริยธรรมทางวิชาการและความน่าเชื่อถือจากสังคม ในเรื่องดังกล่าวคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินมาถึง 3 ปีแล้ว ด้าน ศ.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการคณะทำงานวิชาการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้อาจารย์ด้านอายุรแพทย์โรคปอดที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้สรุปมติการประชุม โดยอาศัยข้อมูลการศึกษาจากต่างประเทศที่แสดงให้เห็นผลของไครโซไทล์ต่อการเกิดมะเร็งในคนงานเหมือง คนงานในอุตสาหกรรมที่ใช้ไครโซไทล์และประชาชนที่รอบเหมืองหรือโรงงานดังกล่าว ทั้งนี้ได้มีการร่างมติและส่งเวียนให้คณะทำงานแล้ว แต่ยังไม่มีรายงานสรุปอย่างเป็นทางการแจ้งให้คณะทำงานทราบ หรือการนำเสนอรายงานสู่สาธารณะแต่อย่างใด
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2556 เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ดังนี้ 1) ขอคัดค้านมติของกระทรวงสาธารณสุขที่จะยังคงการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศ 2) ขอให้ นพ.ประดิษฐ์ แถลงต่อสาธารณชนว่าจะไม่เสนอคณะรัฐมนตรีให้คงการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ และ 3) ขอให้เปิดเผยผลการประชุมของคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน
  • วันที่ 24 ธันวาคม 2556 นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานการประชุมคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กล่าวถึงกรณีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีให้คงการใช้เร่ใยหินไครโซไทล์ ทั้งๆ ที่ผลการศึกษาของคณะทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าใช้แร่ใยหินมีผลกระทบต่อสุขภาพว่า ยืนยันว่าที่ประชุมคณะบริหาร สธ.ไม่ได้มีมติให้คงการใช้แร่ใยหิน เป็นเพียงให้มีการศึกษาผลกระทบการใช้ ซึ่งได้มีการซักถามในที่ประชุมว่า หากจะยกเลิกต้องใช้กฎเกณฑ์อย่างไร อย่างไรก็ตามคณะทำงานได้ศึกษาข้อมูลพบว่า แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์จะย่อยสลายไปภายใน 3 เดือน ซึ่งแตกต่างจากแร่ใยหินชนิดอื่นที่ประเทศไทยประกาศยกเลิกไปแล้ว 4 ชนิด ซึ่งมีการสะสมนาน 20 ปี
  • เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557 ในที่ประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน ซึ่งมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน มีมติว่า แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างชัดเจน ตามเอกสารยืนยันขององค์การอนามัยโลก และงานวิจัยทางด้านสาธารณสุขในประเทศไทยทุกแห่งต่างมีข้อสรุปตรงกันถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยข้อสรุปของที่ประชุมคือ การยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ซึ่งหลายหน่วยงานได้สนับสนุนในเรื่องนี้ เนื่องจากหลักฐานต่างๆ ได้เป็นที่ประจักษ์แล้ว โดยบริษัทผู้ผลิตกระเบื้องหลังคาส่วนใหญ่ได้ยกเลิกการใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่มีผลกระทบทางธุรกิจ
  • วันที่ 20 มีนาคม 2557 นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าจากที่ประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน ซึ่งมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ.เป็นประธาน โดยยืนยันชัดเจนว่าแร่ใยหินประเภท ไครโซไทล์ หรือไวท์ แอสเบสตอส ที่ยังคงมีการใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในส่วนของวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง มีอันตรายเท่ากับแร่ใยหินประเภทอื่นๆ ที่ได้ยกเลิกการใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยที่รายงานผลการประชุมนั้นระบุถึงข้อมูลจากนักวิชาการทางด้านสาธารณสุข ทั้งในประเทศและข้อมูลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ที่เห็นตรงกันว่าแร่ใยหินเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคทางเดินหายใจและโรคมะเร็งในมนุษย์ นพ.นพพรกล่าวต่อว่า ขณะนี้กรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อสรุปทั้งหมด ก่อนนำส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพของประชาชน พร้อมยื่นผลสรุปของคณะกรรมการฯให้ปลัด สธ.ลงนามรับรองผลการประชุม โดยจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ก่อนจะยื่นให้ รมว.สธ.เพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีการพิจารณายกเลิกการใช้อย่างถาวรต่อไป  นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังตั้งคณะกรรมการเพื่อเฝ้าระวัง เก็บข้อมูลเชิงลึกผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาระบบการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพิษภัยจากแร่ใยหินให้กับประชาชนทั่วไป และเฝ้าระวังการบริโภคแร่ใยหินที่มีอยู่ในท้องตลาดในเวลานี้ ซึ่งเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวคือไครโซไทล์ หรือไวต์ แอสเบสตอส หรือแร่ใยหินขาวที่ยังคงมีอยู่ในท้องตลาด โดยการแจ้งเตือนผ่านฉลากผลิตภัณฑ์ และเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อธุรกิจ นอกจากนี้ มีฉลากเตือนปรากฏบนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว ทางกระทรวงสาธารณสุขจะทำการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดกับสุขภาพของประชาชนให้มากขึ้น ทั้งนี้ ผลสรุปใหม่ที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุขจะมีผลให้เกิดการควบคุมการบริโภคผ่านฉลากเตือนบนผลิตภัณฑ์ และส่งผลให้วัสดุก่อสร้างประเภทกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง และท่อซีเมนต์ หลายรายการ กลายเป็นสินค้าควบคุมพิเศษ เพราะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน
  • เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยความคืบหน้าจากที่ประชุมคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงฯ ของกระทรวงสาธารณสุขโดยยืนยันชัดเจนว่าแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์หรือไวท์ แอสเบสตอส ยังคงมีการใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่กรมควบคุมโรคอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดก่อนส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและยื่นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้พิจารณายกเลิกการใช้อย่างถาวรต่อไป
  • เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2557 นางสมบุญ สีคำดอกแค ผู้ประสานงานเครือข่ายยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึงคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) เพื่อทวงถามถึงความคืบหน้าและเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศ ซึ่งยังอยู่ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ทางเครือข่ายฯ ต้องการให้ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
  • เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ประเทศไทย (ซีไอซี) ได้ยื่นจดหมายถึงคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ขอความเป็นธรรม กรณีที่เครือข่ายต่อต้ายแร่ใยหินได้เรียกร้องให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในอุตสาหกรรมไทย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการใดที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าแร่ใยหินไครโซไทล์ที่ใช้กันเป็นสาเหตุทำให้เกิดผู้ป่วยหรือมีผู้ที่เสียชีวิต แต่สิ่งที่ทุกภาคส่วนควรให้ความตระหนักคือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาที่มีความจำเป็นทุกภาคส่วน เพราะต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาขายกระเบื้องจะสูงกว่าเดิมถึง 50 % และจะเกิดการผูกขาดในตลาดของผู้ผลิตขนาดใหญ่
  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 หลังจากที่เครือข่ายยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทยได้เข้ายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าการยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินกับทางกระทรวงสาธารณสุชแล้วนั้น ได้รับการเปิดเผยจาก นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรคว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามและมีการยื่นผลสรุปของคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินเนื่องจากเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งมีความเห็นจากนักวิชาการรวมถึงรายงานสำคัญทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับอันตรายจากแร่ใยหิน โดยเฉพาะจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณา ทั้งนี้เครือข่ายฯ จะผลักดันเรื่องของการเรียกร้องให้มีการยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินเข้าสู่การรณรงค์ให้ความรู้กับภาคเอกชน ผู้บริโภค และประชาชนต่อไป
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2557 คณะกรรมการศึกษาผลกระทบสุขภาพจากแร่ใยหิน มีมติยืนยันยกเลิกการใช้เร่ใยหินทุกผลิตภัณฑ์ หลังพบอันตรายต่อปอด และปลัดกระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอกระทรวงอุตสาหกรรม โดยขอให้สำนักควบคุมวัตถุอันตรายของกรมโรงงาน พิจารณาใยหินเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และให้ปรับค่ามาตรฐายของฝุ่นใยหินในที่ทำงานให้เหลือ 0.1 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลบ.ซม. จากปัจจุบันที่สูงถึง 5 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลบ.ซม. สนับสนุนเทคโนโลยีการใช้วัสดุหรือสารทดแทน มาตรการป้องกันการรับสัมผัส ปรับปรุงวินิจฉัยและตั้งกองทุนผู้ได้รับผลกระทบจากใยหิน อย่างไรก็ตาม ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันยึดเวลา 5 ปี ทั้งนี้ไม่มีกำหนดว่าจะเริ่มเมื่อใด
  • เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557 นายเมธี อุทโยภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ (CIC) เปิดเผยว่า ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ขอชี้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับแร่ใยหินไครโซไทล์ยืนยันว่าสามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งในที่ประชุมใหญ่สมัชชาองค์การอนามัยโลก (World Health Assembly : WHA) มีมติยอมรับว่าแร่ใยหินแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน อีกทั้งองค์กรแรงงานระหว่างประเทศยังระบุว่าแร่ใยหินไครโซไทล์สามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย ขณะที่สหรัฐอเมริกา มีการใช้แร่ใยหินเพื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับในประเทศไทยยังคงมีความจำเป็นที่ยังต้องใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ เนื่องจากในปัจจุบันที่ยังไม่มีวัสดุใดมาทดแทนได้ทั้งในด้านคุณภาพความคงทนและราคา ดังนั้นศูนย์ข้อมูลฯ อยากวิงวอนให้ทุกภาคส่วนพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ในช่วงเวลาที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูลได้มีการชี้แจงเนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามจากกลุ่มต่อต้านในการยกประเด็นบิดเบือนถึงความเป็นอันตรายของแร่ใยหินไครโซไทล์ และพยายามผลักดันให้มีมาตรการยกเลิกการนำเข้าและการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย ทำให้ศูนย์ข้อมูลฯ เห็นว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียวโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
  • เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2557 หลังจากที่ศูนย์ข้อมูล ไครโซไทล์ออกมาให้ข่าวผ่านสื่อเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหินโดยมีการอ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยระบุถึงข้อมูลของทั้งสององค์กรดังกล่าวว่าแร่ใยหินบางชนิดไม่มีอันตรายที่อาจมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงนั้น นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับการให้ข้อมูลดังกล่าวว่า โทษของแร่ใยหินที่มีต่อสุขภาพนั้นร้ายแรงเกินกว่าที่นักวิชาการหรือองค์กรสากลระหว่างประเทศจะยอมรับได้ ดังนั้นกว่า 50 ประเทศทั่วโลกจึงได้ยกเลิกการใช้อย่างสมบูรณ์ และInternational Labour Organization (ILO) หรือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีคำแนะนำอย่างชัดเจนว่าจะระงับการใช้แร่ใยหิน การให้ข่าวเป็นสิทธิ์ เป็นการสื่อสารไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไรคงเป็นเรื่องของนโยบาย ทางกระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปทำการดูแลแรงงานในช่วงระยะเวลาที่รอการยกเลิก ซึ่งมีความชัดเจน เป็นคำสั่งจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยจะทำทั้งการเข้าไปตรวจสอบวินิจฉัย และติดตามผู้ป่วย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูล ต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลของกระทรวง ที่สำรวจโดยหลายสถาบันและนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย ล่าสุดในประเทศไทย พบผู้ป่วยแล้ว 4-6 ราย
  • วันที่ 2 ธันวาคม 2557 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 2 ธันวาคม 2557 คาดว่าจะมีวาระที่กระทรวงสาธารณสุขจะนำเสนอรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน
  • เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2557 กระทรวงสาธารณสุขรายงานผลศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยสรุปว่าแร่ใยหินทุกชนิด รวมทั้งไครโซไทล์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพก่อให้เกิดผล กระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการก่อให้เกิดโรคมะเร็งคือ ยิ่งสัมผัสแร่ใยหินมากจะยิ่งก่อให้เกิดโรคมะเร็งมาก โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ากลุ่มคนงานในเหมืองแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์เป็นโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจำนวนมาก ขณะที่ ครม.มีมติมอบหมาย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะทำงานเรื่องนี้ เช่น ผลกระทบที่มีต่อประชาชนทั่วไป และผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แร่ใยหิน ความเป็นไปได้ในการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน มาตรการเยียวยา และการหาวัสดุอื่นมาทดแทน ก่อนเสนอให้เสนอ ครม.ต่อไป
  • วันที่ 13 เมษายน 2558 เครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย หรือ ทีแบน ได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาลให้เปิดเผยผลการเจรจาเรื่องแร่ใยหิน ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2554 เรื่อง มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินฯ และห้ามผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินฯ ที่ใช้วัตถุดิบอื่นหรือใช้ผลิตภัณฑ์อื่นทดแทนได้นั้น จนปัจจุบันก็ยังไม่มีการออกประกาศหรือข้อบังคับ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องตัดสินใจ งขอเรียกร้องให้เปิดเผย ผลการเจรจา และออกแถลงการณ์ 1.ยืนยันข้อเสนอของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมติครม.ปี’54 ให้ยกเลิกนำเข้าใยหิน 2.ขอให้ครม.ให้สติม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ อย่าเอาชีวิตคนไทยแลกใยหินรัสเซีย 3.เรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ยกเลิกสินค้าใยหิน 4.ขอให้หน่วยราชการและองค์กรการกุศลระวังการรับสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นสินค้าบริจาค ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.57 ครม.รับทราบผลการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ จากแร่ใยหิน ตามที่สธ.เสนอและมอบหมายให้ม.ร.ว. ปรีดิยาธรไปดูแล โดยให้ตั้งคณะทำงานมีกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สธ. ศึกษาข้อเท็จจริงและให้นำเสนอ ครม. ซึ่งการตั้งคณะกรรมการดังกล่าว อาจมองได้ว่าประวิงเวลาให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินในไทยโดยไม่มีกำหนด
  • เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ในการประชุมหารือทางวิชาการกับผู้เชี่ยวชาญของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและสถาบันการศึกษา ถึงข้อเท็จจริงเรื่องแร่ใยหินไครโซไทล์และอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ได้มีข้อสรุปที่เสนอให้พิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเด็นดังต่อไปนี้ 

            1.1) ให้พิจารณาปรับค่ามาตรฐานความปลอดภัยในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 ที่ปัจจุบันอนุญาตให้มีแร่ใยหินปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมในการทำงานได้ไม่เกิน 5 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็น 0.1 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่สมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ในปัจจุบัน

            1.2) ให้พิจารณาการลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 162 ว่าด้วยแร่ใยหิน ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ของประเทศไทย เพื่อให้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันและควบคุม คุ้มครองคนงานเกี่ยวกับอันตรายที่มีต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากการสัมผัสแร่ใยหินจากทำงาน เช่น การใช้สารทดแทนที่ประเมินว่ามีอันตรายน้อยที่สุด การห้ามใช้แร่ใยหินหรือผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน ทั้งหมดหรือบางส่วนในกระบวนการทำงาน มีมาตรการป้องกันและควบคุมการปล่อยฝุ่นแร่ใยหินออกไปในอากาศ

            1.3) นำประเด็นเรื่องการรื้อถอนและจัดการขยะจากแร่ใยหินอย่างถูกต้อง โดยให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่มีแร่ใยหินต้องรับซื้อคืนขยะปนเปื้อน บรรจุใน ร่าง พระราชบัญญัติขยะแห่งชาติ พ.ศ.... ที่อยู่ระหว่างยกร่างทบทวนการกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการประชุมภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมรอบต่อไป ในประเด็นแร่ใยหินไครโซไทล์   สืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากแร่ใยหินโดยชัดเจนแล้ว และมีการใช้สารทดแทนตลอดจนสนับสนุนการวิจัยเรื่องสารทดแทนแร่ใยหินแล้ว ประเทศไทยจึงควรแสดงท่าทีสนับสนุนการบรรจุแร่ใยหินไครโซไทล์เข้าในภาคผนวก III ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม

  • เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2558 มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 เรื่อง มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน   ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบและมอบหมายคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาทบทวนปรับปรุงมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินตามความเหมาะสม โดยให้นำข้อเสนอทางวิชาการข้างต้น ไปพิจารณาด้วย
  • - เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 การประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ครั้งที่ 2/2558 ณ ห้องประชุมอาคารสุขภาพแห่งชาติ ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 มติ 1 มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยมี ศ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล   เป็นประธาน และเห็นชอบให้ คทง. ดำเนินการ ทบทวนปรับปรุงมติมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยนำข้อเสนอทางวิชาการจาก คสช. ไปพิจารณาและรายงานต่อคณะอนุกรรมการฯ เพื่อเสนอต่อ คมส. พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2558

- การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย

      กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ประสานกับสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร ของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เป็นแกนในการสื่อสารกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการควบคุมด้านการรื้อถอน ซ่อมแซมต่อเติมอาคารที่มีการใช้แร่ใยหินในวัสดุก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ ยังได้ช่วยเผยแพร่ข้อมูลในเอกสารเรื่องการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่มีแร่ใยหินอย่างปลอดภัย ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายและร้านค้าต่างๆ แล้ว

        นอกจากนี้ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย คือ พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ ที่มีประกาศกระทรวงเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งกิจการก่อสร้างถูกประกาศให้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยประกาศฯ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ออกข้อบังคับระดับท้องถิ่นออกมาก่อน แต่ที่ผ่านมาท้องถิ่นแจ้งว่าไม่มีความสามารถในการกำกับดูแลกิจการลักษณะนี้ จึงได้ทำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการสาธารณสุขผ่านคณะอนุกรรมการทบทวนประเภทกิจการว่าจะขอถอนกิจการก่อสร้างออกจากประกาศฯ ซึ่งการอนุญาตให้ถอนกิจการดังกล่าวออกไม่น่าจะเป็นผลดี

        สำหรับกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้แร่ใยหิน ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ได้กำหนดเรื่องการควบคุมแร่ใยหินไว้ในข้อ ๒๖ วัสดุก่อสร้างที่ใช้ภายในอาคารจะต้องไม่ทำให้เกิดสารแขวนลอยในอากาศอันอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ใยหิน ซิลิกา หรือใยแก้ว เว้นแต่จะได้ฉาบหุ้มหรือปิดวัสดุนั้นไว้เพื่อป้องกันมิให้เกิดสารแขวนลอยฟุ้งกระจายและสัมผัสกับอากาศที่บริเวณใช้สอยของอาคาร

         นอกจากนี้ ปัจจุบันมีกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งมีหมวดเรื่องการรื้อถอนทำลายโดยเฉพาะ โดยในอดีตเคยมีการเสนอเรื่องให้ระวังการฟุ้งกระจายของแร่ใยหินเข้าไปใส่ไว้ในหมวดนี้ แต่เมื่อคณะอนุกรรมการได้พิจารณาแล้ว แม้ว่าทุกคนจะเข้าใจถึงอันตรายของแร่ใยหิน แต่เนื่องจากเห็นว่าอาจมีสารอื่นๆ ที่เกิดจากการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่ก่อมะเร็งเช่นกัน จึงไม่ได้ใส่คำว่าแร่ใยหินลงไปแบบเฉพาะเจาะจง คณะอนุกรรมการจึงเสนอให้ใส่เป็นข้อความกว้างๆ ในหมวดนี้ว่า “ให้นายจ้างจัดให้มีวิศวกรกำหนดขั้นตอน  วิธีการ  และควบคุมดูแลการทำงานของลูกจ้างให้มีความปลอดภัย” ทั้งนี้ ปัจจุบันกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวอยู่ในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับค่อนข้างสูง และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับให้พ้นบทเฉพาะกาล เพื่อให้เป็นกฎกระทรวงที่ออกภายใต้ พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ โดยตรง และในขั้นตอนปรับนี้ก็จะเสนอเรื่องแร่ใยหินเข้าไปอีก

- การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ 

      กระทรวงพาณิชย์รับทราบมติในข้อนี้แล้ว แต่ต้องรอผลการศึกษาของกรมโรงงานอุตสาหกรรมในผลิตภัณฑ์ทั้ง ๕ ชนิดว่าจะกำหนดประเภทชนิดผลิตภัณฑ์ใดบ้างอย่างเป็นทางการเสียก่อน ทางกระทรวงพาณิชย์จึงจะสามารถดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปได้

      นอกจากนี้ ที่ผ่านมามีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ เรื่อง ผลการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  ครั้งที่ ๑ ภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย ที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ ซึ่งมีประเด็นเรื่อง การพิจารณาให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นภายใต้คณะอนุกรรมาธิการฯ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไคลโซไทล์ และจัดทำข้อเสนอแนะการใช้แร่ใยหินและผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย อยู่ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีการแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจดังกล่าวขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีการประชุม อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้มีการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) กับนายวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกำลังติดตามรายละเอียดการประชุมหารือดังกล่าวอยู่

       ทั้งนี้ สช. และคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ ได้ทำหนังสือไปยังกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงข้อสังเกตแล้วว่า มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ เรื่องการให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจฯ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ และจัดทำข้อเสนอแนะการใช้แร่ใยหินและผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยข้างต้นไม่สอดคล้องหรือไม่ตรงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ เรื่อง มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ เรื่อง มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน

  • กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับการประสานงานจากประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกแร่ใยหินรายใหญ่ ให้ประเทศไทยทบทวนมาตรการเรื่องการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยอ้างถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการค้าระหว่างสองประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุมเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เห็นชอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1 ภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมไทย-รัสเซีย ภายใต้ คณะอนุกรรมาธิการฯ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ และจัดทำข้อเสนอแนะการใช้แร่ใยหินและผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย 
  • ต่อมา ประธานคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (คจคส.) ที่ คสช.แต่งตั้ง ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพื่อให้ข้อสังเกตต่อการดeเนินงานเรื่อง แร่ใยหินไครโซไทล์ ที่มีความไม่สอดคล้องกันของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2555 เกี่ยวกับมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินด้วย

- การดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

  • ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ ๒.๒ ข้างต้น ยุทธศาสตร์ที่ ๓ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ไปแล้วรวม ๒ ฉบับ (ประกาศครอบคลุมสินค้าเฉพาะกระเบื้อง ท่อน้ำ เบรก และคลัทช์ เท่านั้น) ซึ่งปัจจุบัน สคบ. ทำหน้าที่เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และออกตรวจการดำเนินงานตามประกาศ อย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ สคบ. มีความมั่นใจเต็มที่ในการดำเนินงานออกตรวจ ติดตาม และให้ผู้ประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามประกาศฯ ดังกล่าว เพราะเป็นอำนาจโดยชอบธรรมของ สคบ. เนื่องจากศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาแล้วเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ให้ยกฟ้องคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางขอให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากทั้ง ๒ ฉบับ โดยศาลเห็นว่าการออกประกาศฯ ดังกล่าวเป็นอำนาจโดยชอบธรรม และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศเรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ไปแล้วรวม 2 ฉบับ โดยให้แสดงข้อความเตือนว่า “ระวังอันตราย สินค้านี้มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ การได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดมะเร็งและโรคปอด” ภายหลังออกประกาศมีบริษัทเอกชนที่ยังคงใช้แร่ใยหินฟ้องต่อศาลปกครอง ให้ สคบ. ยกเลิกคำสั่งดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการออกประกาศฯ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีอำนาจ ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการ มีความคลาดเคลื่อนในเรื่องข้อมูลของแร่ใยหิน อีกทั้ง การกำหนดให้ระบุคาเตือนทาให้ประชาชนเข้าใจว่าสินค้า มีอันตราย ทาให้ไม่สามารถขายสินค้าได้ ต่อมาศาลปกครองกลางได้มีคาพิพากษาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ให้ “ยกฟ้อง” โดยให้เหตุผลประกอบคาพิพากษา คือ การออกประกาศดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2552 อีกทั้งการออกประกาศมีการรับฟังข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับอันตรายของแร่ใยหินจากนักวิชาการ องค์การอนามัยโลก และจากรายงานทางการแพทย์ โดยการกำหนดให้ระบุข้อความและคำเตือนนั้น เพื่อมุ่งที่จะคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปที่ใช้สินค้าหรือมีความเกี่ยวข้องกับตัวสินค้า ซึ่งการกำหนดฉลากของสินค้าและจะเป็นประโยชน แก่ผู้บริโภคไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าประกาศดังกล่าวทาให้ประกอบการสูญเสียโอกาสในการแข่งขันในระบบธุรกิจแต่อย่างใด

- การดำเนินงานของกระทรวงการคลัง

      สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง เห็นว่าในทางปฏิบัตินั้น มาตรการภาษีจะไม่สามารถสกัดกั้นการนำเข้าแร่ใยหินได้ จึงควรใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีจะเกิดผลในทางปฏิบัติมากกว่า เนื่องจากแร่ใยหินตามประเภท ๒๕.๒๔ ได้มีการยกเว้นอากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ และได้ยกเว้นอากรตามความตกลงเขตการค้าเสรีในกรอบต่างๆ ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ในมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ซึ่งจัดเป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอยู่ด้วยแล้ว นอกจากนี้ ในส่วนของการลดอัตราภาษีนำเข้าของสารที่นำมาใช้ทดแทนที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ นั้น สศค. และกรมศุลกากรได้ตรวจสอบแล้วพบว่า สารที่นำมาใช้ทดแทนดังกล่าวส่วนใหญ่มีอัตราร้อยละ ๐-๕ ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว

      นอกจากนี้ จากมติคณะรัฐมนตรีอีกข้อหนึ่งที่มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปตรวจสอบว่า สาเหตุที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบอื่นเป็นส่วนประกอบแทนแร่ใยหินมีราคาสูงขึ้นเนื่องมาจากต้นทุนหรือการเพิ่มอัตราภาษี นั้น สศค. และกรมศุลกากรได้ตรวจสอบแล้วพบว่า สินค้าที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ทดแทนแร่ใยหินมีหลายชนิด ได้แก่ เส้นใยแก้วทอ เส้นใยเซรามิค เส้นใยยิปซั่ม เส้นใยคาร์บอน เส้นใยที่มีสภาพเป็นพลาสติก ใยขนสัตว์ ใยฝ้าย ดิน (เบโทไนท์) เซลลูโลส รวมถึงสารเคมี เช่น โพลีโพรไพลีน และโพลีเตตระฟลูออโรเอทิลีน ซึ่งส่วนใหญ่วัตถุดิบดังกล่าวมีอัตราอากรร้อยละ ๐-๕ ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างต่ำ และยังมีวัตถุดิบบางรายการ เช่น เส้นใยที่ได้จากธรรมชาติสามารถผลิตได้ในประเทศ ดังนั้น อัตราภาษีขาเข้าจึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้สินค้าที่ใช้วัตถุดิบอื่นเป็นส่วนประกอบแทนแร่ใยหินมีราคาสูงขึ้น การที่ต้นทุนสินค้าดังกล่าวมีราคาสูงขึ้นน่าจะเนื่องมาจากปัจจัยอื่น คือ การวิจัยและพัฒนาตลอดจนการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการผลิตใหม่เป็นหลัก

      สำหรับมติคณะรัฐมนตรีที่มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น ในส่วนความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เสนอว่าเห็นควรให้รัฐบาลส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อผลิตผลงานผลิตภัณฑ์ทางเลือกทดแทนการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยนั้น สศค. ได้ให้ข้อมูลว่า กระทรวงการคลังได้มีมาตรการภาษีส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา โดยได้หักเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละ ๑๐๐ หรือหักค่าใช้จ่าย ๒ เท่าสำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๙๗) พ.ศ. ๒๕๓๙

       ในส่วนความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เสนอให้กระทรวงการคลังและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพิจารณาร่วมกันถึงความเหมาะสมในส่วนของการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากแร่ใยหิน นั้น สศค. ได้ให้ข้อมูลว่าขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ. มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ... ซึ่งจะมีการจัดตั้งกองทุนภาษีและค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและชดเชยผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษอยู่แล้ว โดยกระทรวงการคลังได้มีการประชุมหารือร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่

  • กระทรวงการคลังได้อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ..ศ.... 

- การดำเนินงานของสำนักนายกรัฐมนตรี

       สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า เรื่องเกณฑ์การก่อสร้างอาคารส่วนราชการที่จะกำหนดให้ใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ไร้แร่ใยหินนั้น ปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยการดูแลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไปอยู่ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังแล้ว

        ซึ่งกรมบัญชีกลาง แจ้งว่า เนื่องจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕  และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นระเบียบที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้น โดยหลักการ ในการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ จึงต้องเสนอร่างระเบียบฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะส่งร่างระเบียบฉบับแก้ไขเพิ่มเติมไปยังสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณากลั่นกรองความถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเวลาระยะหนึ่งประกอบกับ ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๒ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร๐๕๐๕/ว๘๙ ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ กำหนดให้ส่วนราชการถือปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศหรือเป็นกิจการของคนไทย ตามข้อ ๑๖ ของระเบียบฯ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ อย่างเคร่งครัด ซึ่งระเบียบฯ ข้อ ๑๖ มีเนื้อหา ส่วนหนึ่งว่าด้วยเรื่องของการกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้าง กล่าวคือ ข้อ ๑๖(๒) กำหนดว่า “ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้าง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือเพื่อความสะดวกจะระบุเฉพาะหมายเลขมาตรฐานก็ได้” ซึ่งตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว เห็นว่า การกำหนดรายการในการก่อสร้างมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับยุทธศาสตร์ตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๒.๑.๒ เป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ กรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหิน ก็ย่อมมีผลผูกพันให้หน่วยงานผู้ออกแบบ (ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ หรือกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือกรมศิลปากร  หรือเอกชนผู้รับจ้างออกแบบ) ต้องกำหนดรายการในการก่อสร้างตาม มอก. ที่ประกาศบังคับใช้ด้วย ดังนั้น ในชั้นนี้ จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบฯ เนื่องจากกลไกที่มีอยู่ตามระเบียบฯ ดังกล่าว สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อยู่แล้ว

  • เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กลับไปทบทวนเรื่องการขึ้นทะเบียนแร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปทบทวนถึงผลดี ผลเสีย และแนวทางเยียวยาแก้ไขถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น  ตามหลักฐานข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ซึ่งจากการพิจารณาในเบื้องต้นเห็นว่า หากกำหนดให้แร่ไยหินเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 จะกระทบกับประชาชนอย่าง กว้างขวาง เนื่องจากตามกฎหมายได้ระบุอย่างชัดเจนว่าวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 จะต้อง ห้ามนำเข้า ส่งออก ผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองอย่างเด็ดขาด ดังนั้น จึงเห็นว่าควรดำเนินการไปตามแนวทางมติครม.เดิมที่ให้กำหนดให้มีกรอบเวลาการยกเลิกนำเข้าแร่ใยหินภายใน 2-5 ปี ตามชนิดของผลิตภัณฑ์ โดยกลุ่มแรกกระเบื้องแผ่นเรียบและกระเบื้องยางปูพื้น ให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบภายใน 2 ปี และกลุ่มที่ 2 กลุ่มกระเบื้องมุ่งหลังคา ผ้าเบรก และคลัตช์ ท่อซีเมนต์ใยหิน กำหนดให้ยกเลิกใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบภายใน 5 ปี แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่จะต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทนได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในแนวทางนี้จะใช้พ.ร.บ.กรมโรงงานในการห้ามนำเข้าแร่ใยหิน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนปรับตัว และส่งผลต่อประชาชนน้อยที่สุด
  • - เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 ที่ประชุม คมส. ซึ่งมี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ยังมีการพิจารณาเรื่อง “มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ซึ่งเป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย นพ.ปรีชา เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ได้รายงานความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคในการขับเคลื่อนมตินี้ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้กระบวนการยกเลิกการใช้แร่ใยหินตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปในส่วนของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และมีความอ่อนไหวต่อปัญหาการค้าระหว่างประเทศ สำหรับแนวทางที่ควรขับเคลื่อนเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน ก็คือขอให้ กระทรวงอุตสาหกรรม ขึ้นบัญชีแร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ ๔ คือห้ามนำเข้าหรือมีไว้ครอบครอง และมียุทธศาสตร์ในการลดปริมาณการใช้ที่ชัดเจน ขณะเดียวกันขอให้ กระทรวงมหาดไทย ควบคุมรื้อถอนก่อสร้างและกำจัดวัสดุเหลือใช้ที่มีแร่ใยหิน และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สนับสนุนการติดฉลากสินค้า เพื่อเตือนผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ในมุมมองของผู้แทนจาก คณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน ๓ สถาบัน (กกร.) นั้น เห็นว่า เรื่องนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมควรเข้ามารับผิดชอบ เพราะ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งควบคุมมาตรฐานสินค้าให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอยู่แล้ว แต่ก็ควรให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว ก่อนนำไปสู่การยกเลิกต่อไปในอนาคตด้วย   ที่ประชุม จึงขอให้กรมควบคุมโรค จัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิ การดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงผลกระทบในมิติต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ เพื่อเสนอผ่านช่องทางกระทรวงสาธารณสุข และประสานความร่วมมือ เพื่อลดการใช้แร่ใยหินต่อไป นอกจากนั้น ขอให้คณะทำงานขับเคลื่อนมติฯ จัดการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการลดการใช้แร่ใยหิน ตามข้อมูลและเหตุผล โดยใช้ผลการศึกษาของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับข้อมูลทางวิชาการด้านอื่นๆ ประกอบ เช่น ด้านอาชีวอนามัย ด้านการใช้วัสดุทดแทน
  • เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงพื้นที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมประชุมกับนายกเทศบาลตำบลแม่ยาว ภายหลังที่สำนักงานเทศบาลดำบลแม่ยาวได้ออกประกาศเทศบาลตำบลแม่ยาวเรื่อง กำหนดแนวทางการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนอาคารให้ปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน ซึ่งประกาศมาตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ทั้งนี้เพื่อรับฟังการดำเนินการของประกาศ เพราะปัญหาเรื่องแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อประชาชน และผู้ที่เข้าไปทำงานในการก่อสร้างบ้าน อาคาร รวมทั้งทุกอย่างที่มีแร่ใยหิน ซึ่งแร่ใยหินจะมีในกระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนคู่ ลูกฟูก กระเบื้องปูพื้น ฝ้าเพดาน ฦาผนัง ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรก ผ้าคลัชรถยนต์ และอีกหลายชนิด โดยการดำเนินการของเทศบาลตำบลแม่ยาว ถือว่าได้ผลเป็นรูปธรรมอย่างมาก มีการดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง การขออนุญาตดัดแปลงอาคารบ้านเรือน ที่สำคัญคือ มีการติดป้ายในเขตก่อสร้างว่ามีการขออนุญาต และคนที่ทำงานมีการป้องกันเป็นอย่างดี
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • มีการรายงานผลการดำเนินการแล้วในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และจะมีการรายงานอีกครั้งหนึ่งในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
  • เมื่อวันที่ 21-22 ตุลาคม 2558 ในประชุมคณะทำงานวิชาการทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 ประเด็นมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ที่มี ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรีณย์กุล เป็นประธาน พบว่า แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมตินี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 จนถึงขณะนี้ผ่านมา 4 ปี ยังมีการนำเข้าแร่ใยหินโครโซไทล์ เพื่อผลิตสินค้าวัสดุก่อสร้างอยู่ต่อไป เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนยังไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมต้องการเห็นความก้าวหน้าของมาตรการในส่วนอื่นๆ ที่สำคัญควบคู่ไปด้วย ซึ่งการขับเคลื่อนเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่มาตรการห้ามผลิต ห้ามขายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงการผลักดันมาตรการอื่นๆ ให้ครอบคลุมอย่างครบวงจรด้วย ที่สำคัญคือ มาตรการควบคุมการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยอย่างแท้จริง ดังนั้นคณะทำงานฯ จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมติในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 อีกครั้ง โดยจะมีการเชิญหน่วยงานและองค์กรหลักที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินโครโซไทล์เป็นส่วนประกอบมาร่วมเพื่อให้ความเห็นอย่างรอบด้าน ก่อนเสนอเป็นมติต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ต่อไป 
เอกสารหลัก: