You are here


การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
สมัชชาครั้งที่: 
3
มติที่: 
3
ชื่อมติ: 
การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2560 โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติรับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 เรื่อง “การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก” ที่กรมอนามัยอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแนวทางและมาตรการขับเคลื่อน พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อ 8 กันยายน 2560 โดยจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อประกาศแนวทางตามกฎหมายฯ ในช่วงเดือนตุลาคม 2560 และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ภายในเดือนมีนาคม 2561 รวมถึงจะมีการรณรงค์ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้มีการจัดการสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

1.1 ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก

1.1.1 ดำเนินการควบคุมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2551 โดยใช้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เป็นเครื่องมือและสร้างการมีส่วนร่วมที่นำไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะการให้ความรู้ การสร้างกระแสและการเฝ้าระวังการตลาดจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาช

1.1.2 พัฒนาและผลักดันร่างพระราชบัญญัติการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พ.ศ..... ให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2555 โดยจัดให้มีกลไกดำเนินการ และใช้หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2551 เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานขั้นต่ำ ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพิจารณาทุนการดำเนินงานจากภาษีการนำเข้าหรือรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผสมจากต่างประเทศในลักษณะเดียวกับกองทุนสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นแบบอย่างความสำเร็จของไทยและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ

1.1.3 พัฒนากลไกการปฏิบัติ ระบบการติดตามประเมินผล และระบบการรายงานผล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งระดับท้องถิ่น จังหวัด ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ

1.2 ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี กรมบัญชีกลาง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการขยายสิทธิการลาคลอด และพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการลาคลอดให้เป็น 180 วัน รวมถึงการได้รับค่าจ้างระหว่างลา ในกรณีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และให้จัดมาตรการหรือสวัสดิการในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่สตรีที่คลอดบุตรและอยู่ระหว่างการให้นมบุตรในสถานประกอบกิจการและสถานที่ทำงาน รวมทั้งพิจารณามาตรการการลดหย่อนภาษี และการประกาศเกียรติคุณให้แก่สถานประกอบกิจการที่เป็นแบบอย่างของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และเห็นควรให้ประกาศใช้มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติให้เป็นมาตรฐานกลางของประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พม. ดำเนินการโดยนำมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์และเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพของศูนย์เด็กเล็ก 
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2555 สช. ได้จัดการประชุมปรึกษาหารือมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ประชุมมีการหารือ 4 ประเด็น ดังนี้ 
  1. ร่างพระราชบัญญัติการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ..... ที่ประชุมมีมติดังนี้ 1) การตั้งกลไกการขับเคลื่อน  กลไกการขับเคลื่อนเป็น 2 ช่องทางโดยทำคู่ขนานไปพร้อมกัน ช่องทางที่ 1 ภาครัฐโดยกรมอนามัย -กระทรวง-ครม-สภา ช่องทางที่ 2 ภาคประชาชน-สภา โดยกรมอนามัยแต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการพัฒนาและผลักดันร่าง พรบ.การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ..... มีนายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่ปรึกษา รองปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบดูแลกรมอนามัยเป็นประธาน ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง   โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2) ร่าง พรบ. ที่ประชุม มอบหมายให้ แพทย์หญิงนิพรรณพร วรมงคล แพทย์หญิงยุพยง แห่งชาวนิช  แพทย์หญิงหญิงนภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล และคณะ ทบทวนเนื้อหาสาระ ความครอบคลุม ในร่างพรบ.ที่ อ.วรรณา  ได้จัดทำไว้ และ 3) กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม จัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
  2. การศึกษาความเป็นไปได้ขยายวันลาคลอด 180 วัน ที่ประชุมมีมติเสนอให้มีการทบทวนองค์ความรู้และหาโจทก์วิจัย ได้แก่ หลักสิทธิมนุษยชน (ILO/CRC) กฎหมายต่างประเทศ และ กฎหมายในประเทศ โดย.แพทย์หญิงยุพยง จะประสานกับ อ.ศุวิมล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และนายแพทย์ศิริวัฒน์ จะประสาน Hitapp
  3. รูปแบบการรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 เดือน ธันวาคม 2555 จะนัดหารือในการประชุมครั้งต่อไป
  4. กรณีการละเมิดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดฯของบริษัท ดูเม็กซ์ ของแจกสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพ ตามโครงการส่งเสริมพัฒนารอบด้านเพื่อลูกรักแข็งแรงและมีความสุข ที่ประชุมมีมติขอให้กรมอนามัยจัดทำหนังสือถึงสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพ โครงการส่งเสริมพัฒนารอบด้านเพื่อลูกรักแข็งแรงและมีความสุข ขอความร่วมมือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดฯ
  • เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2556 ในการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 4  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวติดต่อกัน 6 เดือน ให้ได้ร้อยละ 60 ภายในปี 2558 หรือให้เด็กทารกกินนมแม่อย่างเดียวติดต่อกัน 6 เดือน ให้ได้ 4.8 แสนคน นอกจากนี้มีนโยบายขอความร่วมมือจากบริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายนมเด็ก ไม่ให้มีการส่งเสริมการขายหรือทำการตลาดในกลุ่มหญิงหลังคลอด มีนโยบายสนับสนุนให้ขยายสิทธิข้าราชการหญิงลาคลอดต่อเนื่องจาก 90 วันเป็น 180 วัน หนุนการขยายสิทธิให้พ่อลางานเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกหลังคลอดและได้รับค่าจ้างจาก 15 วันเป็น 30 วัน และสนับสนุนให้สถานประกอบการจัดมุมนมแม่ให้พนักงานสามารถปั๊มน้ำนมไปให้ลูกระหว่างทำงานได้
  • เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้แม่หลังคลอดที่มีประมาณปีละแปดแสนราย เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนให้ได้ร้อยละ 60 ภายในปี 2558 จึงได้มีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกระดับทั้งในสังกัด และนอกสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขเป็นพื้นที่ปลอดนมผง
  • เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเรื่องมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการทำการตลาดและการโฆษณานมสำหรับทารกและเด็กเล็ก ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ประกอบด้วย
  1. ไม่ควรส่งเสริมหรืออนุญาตให้มีกิจกรรมด้านการขายและการตลาดทุกด้านเพื่อส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ขวดนม จุกนม ไม่ควรแสดงผลิตภัณฑ์ และสื่อที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยกเว้นสื่อที่ได้รับอนุญาต  
  2. .ไม่ควรมีการสาธิตหรืออนุญาตให้มีการสาธิตการใช้นมดัดแปลงสำหรับทารกและอาหารทารก โดยบริษัท ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย ในสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
  3. ไม่ควรรับบริจาคหรือรับการสนับสนุนใดๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ภายใต้หลักเกณฑ์นี้ รวมทั้งการใช้เครื่องมือสิ่งของอื่นๆที่ใส่ชื่อเครื่องหมายบริษัทหรือสื่อใดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นี้หรือบริษัทผู้ผลิตที่สื่อความหมายถึงผลิตภัณฑ์ภายใต้หลักเกณฑ์นี้  
  4. บุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุข ควรปกป้องส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และไม่ควรเป็นตัวแทนของผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายอาหารทดแทนนมแม่และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 
  • เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน พ.ศ.2557 สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ได้จัดประชุมเครือข่ายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการรับโภชนาการอย่างสมวัย  เพื่อจัดตั้งเครือข่ายนมแม่ (TABFA) ในการขับเคลื่อนต่อไปการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก” และให้เสนอต่อ ครม.
  • เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557 สช. ได้จัดให้มีการประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อติดตามการดำเนินงานตามมติ 3.3 การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ. การตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก
  • เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกำกับดูแลและควบคุมการทำการตลาดและการโฆษณานมสำหรับทารกและเด็กเล็ก 
  • เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ในการเสวนาเรื่อง” เดินหน้าอย่างไรให้ถูกทาง นานาทรรศนะว่าด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก”  ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน แต่การควบคุมโฆษณานมผงไม่ควรปิดกั้น ต้องมีการให้ข้อมูลเพื่อให้คุณแม่ทั้งหลายใช้ประกอบการตัดสินใจ จึงมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐฟังเสียงให้รอบด้านทั้งนักวิชาการและบรรดาคุณแม่ด้วย นอกจากนี้ในที่ประชุมยังมีข้อเสนอแนะให้คุณแม่ทั้งหลายควรมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับนมผง อาหารเสริมจากบุคลากรทางการแพทย์และอื่นๆ 
  • เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 กรมอนามัยได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 27 องค์กร แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำไปประกอบร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ..... พร้อมการปรับปรุงแก้ไขบางประเด็นเพื่อประโยชน์ต่อพ่อแม่ และเด็กมากที่สุดก่อนที่จะนำร่างฯ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบในปี 2557  นี้ 
  • เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ภายหลังหารือกับผู้แทนจากสมาพันธ์เครือข่ายนมแม่แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยตัวแทนแม่ นักวิชาการ และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อแสดงความขอบคุณที่กระทรวงสาธารณสุข ผลักดันร่างพ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ... ว่า กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญต่อกฎหมายฉบับนี้ และจะผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนต่อไป ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งกรมอนามัยได้จัดขึ้นในวันนี้ มีภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ตัวแทนจากบริษัทผู้ประกอบการ กุมารแพทย์ สมาคมโภชนาการ เครือข่ายนมแม่ แม่ที่ให้นมบุตร ร่วมแสดงความคิดเห็นในแต่ละมุมมอง เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างรอบด้าน นำไปประกอบการพิจารณา ปรับปรุงแก้ไข ร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กไทย หลังจากนั้นจะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามเห็นชอบเพื่อเสนอที่ประชุมครม. คณะกรรมการกฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามกระบวนการจัดทำกฎหมายต่อไป และได้มอบหมายให้กรมอนามัย จัดทำแนวทางสนับสนุนให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดมุมนมแม่ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้บุคลากรเจ้าหน้าที่ในสังกัดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นต้นแบบแก่หน่วยงานอื่นๆ ต่อไป และให้ติดตามสนับสนุนให้เกิดมุมนมแม่ในสถานประกอบการอื่นๆ ทั่วประเทศด้วย
  • เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 นายแพทย์ดนัย ธีวันดา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการดำเนินงานของกรมอนามัย  ขณะนี้ โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งคลินิกนมแม่ และไม่มีการขายผลิตภัณฑ์นมผงในโรงพยาบาล รวมทั้งได้อบรมพยาบาลเป็นมิสนมแม่ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้หญิงหลังคลอดให้นมบุตรภายใน 2 ชั่วโมงหลังคลอด และให้คำปรึกษาในรายที่มีปัญหา เช่นมีน้ำนมน้อย หัวนมบอด เป็นต้น นอกจากนี้ ได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และสสส.  ส่งเสริมให้สถานประกอบการขนาดใหญ่จัดมุมนมแม่ ขณะนี้ดำเนินการได้ประมาณร้อยละ 20-30 โดยหญิงหลังคลอดบุตรของไทยที่มีข้อจำกัดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่นติดเชื้อเอชไอวี เด็กแพ้โปรตีนในน้ำนมแม่ มีจำนวนน้อยมาก ไม่ถึงร้อยละ 1 ที่เหลือกว่าร้อยละ 99 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
  • เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 นพ.ประพัฒน์ โสภณาทรณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ได้เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขมีการทบทวนการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในการนำเข้าสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรี
  • วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 ความคืบหน้าการผลักดัน ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก และเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ….  กรมอนามัยรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ทั้งประชาชน ภาคเอกชน และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และได้ส่งร่างพ.ร.บ.ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสธ. ก่อนเสนอให้ รมว.สธ.นำเข้าครม. และดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการนิติบัญญัติ
  • วันที่ 17 มีนาคม 2558 นายแพทย์ประพัฒน์ โสภณาทรณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มอุตสาหกรรม ผู้ผลิตอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พร้อมทั้งกลุ่มแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านแม่และเด็ก ออกมา แสดงความคิดเห็นคัดค้านร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องว่า “ประเด็นใหญ่ที่ ผู้คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่เห็นด้วยคือ ร่างฯ นี้ ให้อำนาจแก่ สธ. มากเกินไป ในการบังคับใช้กฎหมาย โดยภาพรวมร่าง พ.ร.บ. มีขอบเขตเนื้อหาที่กว้างเกินไป และให้อำนาจดุลพินิจแก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งเห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเอ็นจีโออยู่มากอีกทั้งยังมีการกีดกัน ผู้ได้รับผลกระทบออกจากกระบวนการจัดทำร่างกฎหมายด้วย ซึ่งที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยแพทย์และ ผู้เชี่ยวชาญด้านแม่และเด็กหลายท่าน ยังได้มีข้อกังวลหลายสิ่งที่จะกระทบกับหลายส่วนด้วยกันเช่นการกำหนดขอบเขตของกฎหมายที่กว้างเกินไป การกำหนดเงื่อนไขในการห้ามนำเสนอข้อมูลแก่แพทย์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่มารดา รวมการห้ามกล่าวถึง หรือห้ามโฆษณา ฯลฯ ซึ่งอาจมีผลทำให้กลุ่มคนที่จำเป็นต้องใช้นมผสมเลี้ยงลูก สูญเสียโอกาสได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน และอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดจากการขาดความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงดูลูกของตนเอง และที่แย่กว่านั้นคือในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสบางกลุ่ม เมื่อไม่มีความที่ถูกต้อง ก็อาจจะหลงผิด หันไปพึ่งสินค้าจำพวกนมข้น หรือผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพ ราคาถูก หรือเชื่อตามคำยุยง ร่ำลือ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กที่บริโภค ผลิตภัณฑ์นั้นๆ
  • วันที่ 24 เมษายน 2558 จากเอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่า เรื่องการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.... กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำ Fact Sheet เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน หน่วยงานระหว่างประเทศ องค์การอิสระ (NGO) เข้าใจในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว นอกจากนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 มี ผู้เข้าร่วมรับฟังแสดงความคิดเห็น จำนวน ทั้งหมด 569 คน ประกอบด้วยผู้แทนสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง องค์กรวิชาชีพทางด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรอิสระและเครือข่ายภาคประชาสังคม ผลการประเมินความพึงพอใจต่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้ พบว่า ผู้ร่วมประชาพิจารณ์ส่วนใหญ่พึงพอใจต่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในระดับดีและดีมาก ร้อยละ 87.4 มีเพียงร้อยละ 2.7 ยังไม่พึงพอใจ มีข้อเสนอซึ่งควรปรับปรุงในหมวด 3 มาตรา 3, มาตรา 17 (4) (8) และหมวด 8 มาตรา 35 ซึ่งได้ปรับแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ในหมวดและมาตราตามข้อเสนอแนะตามที่ได้ทำประชาพิจารณ์ จากนั้นได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ประชุมองค์กรวิชาชีพทางด้านการแพทย์อีกครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. โดยกำหนดจัดประชุมในวันที่ 23 มีนาคม 2558 และได้ปรับแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวตามมติที่ประชุมองค์กรวิชาชีพด้านการแพทย์แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรัฐมนตรีลงนามเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ปัจจุบันมีทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 6 เดือน มีค่าเฉลี่ยกินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 70.28 จากเป้าหมายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
  • เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558 ศ.นพ.รัชตะ  รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันแม่แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญการพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในการพัฒนาคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ปีนี้เน้นหนัก 2 เรื่อง คือ          1.โครงการฝากครรภ์ได้ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ รณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีปีละประมาณ 8 แสนคน ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์หรือก่อนอายุครรภ์ 3 เดือน ยิ่งเร็วยิ่งดี เด็กจะได้รับการดูแลครบถ้วนทั้งสารอาหารที่จำเป็น ไม่เป็นโรคกรรมพันธุ์ เช่น ธาลัสซีมีย และฝากครบ 5 ครั้งตามนัด ล่าสุดในปีนี้ มีหญิงฝากครรภ์อายุครรภ์ก่อน 3 เดือนร้อยละ 60 จะรณรงค์ให้ได้สูงกว่าร้อยละ 80 เรื่องที่ 2.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวติดต่อกัน 6 เดือน ไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น หลังจากนั้นจึงให้กินนมแม่ร่วมกับอาหารอื่นจนถึง 2 ปี ตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลก ในปีนี้ตั้งเป้าให้ได้ร้อยละ 30  ขณะนี้นักวิชาการอยู่ระหว่างการศึกษาว่าน้ำที่เด็กกินเข้าไป มีผลให้เด็กได้สารอาหารจากนมแม่น้อยลงหรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการโฆษณาของบริษัทผลิตภัณฑ์นมผง อวดอ้างสรรพคุณว่ามีสารช่วยให้เด็กฉลาด แข็งแรง ทำให้แม่เข้าใจผิด พลาดโอกาสทองเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วง 2 ปีแรกเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนาสูงสุด จึงเร่งผลักดันกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในเดือนสิงหาคมนี้

กระทรวงสาธารณสุข มีการดำเนินงานดังนี้ 

  • กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย ร่วมกับ กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย UNICEF และองค์การอนามัยโลก จัดทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบการให้เป็นรูปธรรม โดยมีความเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ มีเป้าหมายอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง วิธีการดำเนินงาน ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดหาและคัดเลือกสถานประกอบการที่มีมุมนมแม่ รวมทั้งสนับสนุนให้ความรู้แก่ผู้รับผิดชอบทุกฝ่าย โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพได้ส่งเสริมด้านวิชาการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ และร่วมกับหน่วยงานข้างต้นจัดทำคู่มือการดำเนินงานขึ้น เพื่อให้ผู้รับผิดชอบมุมนมแม่ในสถานประกอบการดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตลอดจนเผยแพร่นโยบายและข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายโครงการนมแม่ลงสู่ระดับตำบล ปี 2554 โดยจัดทำโครงการตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อให้ท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ติดต่อกันนาน 6 เดือน เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กไทย โดยนำร่องใน 5 ภาคๆ ละ 1 จังหวัดๆ ละ 1 ตำบล โดยภาคเหนือที่ ต.ริมปิง จ.ลำพูน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต.เกาะเอ้ จ.อุบลราชธานี ภาคใต้ที่ ต.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ภาคตะวันออกที่ ต.บ้านค่าย จ.ระยอง ภาคกลางดำเนินการที่ ต.สวนกล้วย อ.สวนกล้วย จ.ราชบุรี เพื่อเป็นตำบลต้นแบบของประเทศ ทั้งนี้ได้ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นศูนย์เรียนรู้ ด้วยการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์โดยแกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำระบบเฝ้าระวัง แผนงานโครงการ และมาตรการทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และให้ อบต.เป็นศูนย์ประสานการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุชุมชน

- เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังนี้

                1. กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรเอกชน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด

            2. กำหนดห้ามมิให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายซึ่งนมดัดแปลง นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง และนมสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกหรือเด็ก ทำการโฆษณา จำหน่าย แจกตัวอย่าง บริจาคให้ ฯลฯ ซึ่งนมตามที่กำหนด

            3. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายซึ่งนมดัดแปลง นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง และนมสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกหรือเด็ก ต้องให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มบุคคลที่กำหนดตามความเป็นจริง และห้ามมิให้ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ปิดบัง อำพราง เป็นต้น

            4. กำหนดหลักเกณฑ์การแสดงฉลากอาหารสำหรับทารกและเด็กรวมทั้งต้องแสดงข้อความตามที่กำหนด

            5. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่าย

            6. กำหนดให้หน่วยบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ตามที่กำหนด ตลอดจนกำหนดห้ามมิให้บุคลากรดังกล่าวกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนด

  • เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559 ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงผลจากการทำทีมประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 69 ณ อาคารองค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา สมาพันธ์รัฐสวิตเซอร์แลนด์ หัวข้อหนึ่งในการประชุมคือ โภชนาการมารดา ทารก และเด็กเล็ก ซึ่งเนื้อหาแนวทางการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ขององค์การอนามัยโลก แนะนำให้ประเทศออกกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดที่ไม่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์นมผสม อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็กรวมถึงเครื่องดื่มจนถึง 3 ปี โดยครอบคลุมตั้งแต่การโฆษณา การลดแลกแจกแถม การประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมโดยตัวแทนบริษัท และการส่งเสริมการตลาดผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกนี้เป็นการตอกย้ำว่า ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ...... ที่กระทรวงสาธารณสุขผลักดันอยู่เพื่อคุ้มครองเด็กไทยให้มีโอกาสได้กินนมโดยไม่ถูกแทรกแซงจากการส่งเสริมการตลาดของบริษัทนมผสมนั้น มีเนื้อหาสอดคล้องตามมาตรฐานสากล
  • เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2559 นพ.วขิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และวันแม่แห่งชาติปี 2559 กรมอนามัยขอประกาศเป็นองค์กรต้นแบบส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และขณะนี้กรมฯ อยู่ระหว่างการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.... เพื่อควบคุมผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่าย ทำการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กอย่างเหมาะสม ไม่มีการโฆษณา ซึ่งขณะนี้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อร่างผ่านผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 3 แสนบาท ส่วนบุคลากรทางการแพทย์จะมีโทษสูงสุดถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 ได้ดำเนินการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560
  • กระทรวงแรงงานได้รายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 31 พฤษภาคม 2560 เรื่องการพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคม ได้มีการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาแรงงานตลอดช่วงชีวิตโดยดำเนินการศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐมและสมุทรปราการ เพื่อจัดสวัสดิการแรงงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน โดยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูบุตรของผู้ใช้แรงงานให้แรงงานสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่มีความกังวลใจและห่วงใยบุตรหลาน เป็นต้นแบบการจัดสวัสดิการแรงงานเพื่อครอบครัวของลูกจ้างที่นายจ้างนำไปจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการ ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ปัจจุบันมีเด็กเล็กที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ฯ จำนวน 1,585 คน และดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการอย่างยั่งยืน โดยการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการจัดสวัสดิการมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการผ่านสื่อต่างๆ เช่น แผ่นพับ คู่มือ วิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ หรือสิ่งอื่นๆ ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อให้แรงงานหญิงได้มีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสายใยรักแห่งครอบครัวของลูกจ้าง มีสถานประกอบกิจการได้รับการส่งเสริมการจัดตั้งมุมนมแม่จำนวน 235 แห่ง
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจะให้ความร่วมมือในการสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.... และส่งเสริมจิตสำนึกแก่สังคมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งเสริมขยายสิทธิการลาคลอดบุตรของพนักงานหญิงในสถานประกอบกิจการโดยความสมัครใจ พัฒนากระบวนการติดตามเฝ้าระวังการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เช่น กระทรวงแรงงาน สถาบันการศึกษาทุกระดับ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เครือข่ายโภชนาการสมวัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก เป็นต้น
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กรมอนามัย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย (UNICEF) และแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. .ให้เป็นกฎหมาย ในขั้นแรก จะจัดทำหนังสือคู่มือถามตอบประเด็นสำคัญที่ว่า ทำไมประเทศไทยจะต้องมีการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อสื่อสารให้คนไทยทราบถึงการพิทักษ์สิทธิเด็ก การคุ้มครองให้ได้รับอาหารที่เหมาะสม
  • วันที่ 9 สิงหาคม 2554 เครือข่ายนักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กประกอบด้วย โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 30 คน เสนอนโยบายด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กต่อรัฐบาลใน 4 ประเด็น คือ 1.ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2.สนับสนุนคุณภาพอาหารกลางวันเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย 3.การตลาดอาหารในสถานศึกษา และ4.สนับสนุนให้เกิดการบริโภคอาหารปลอดภัย สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ 1. ผลักดัน พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กหรือควบคุมการตลาดของนมผง 2. ผลักดันให้ออกกฎหมายควบคุมการตลาดอาหารในสถาบันการศึกษา เพื่อจำกัดการจำหน่ายขนมและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในโรงเรียน 3. ผลักดันให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใหม่ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย 2551 และ 4. การแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535 โดยปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุน และแก้ไขกฎระเบียบการนำเงินกองทุนมาสนับสนุนให้เด็กไทยทุกคนได้รับอาหารกลางวันที่เพียงพอและมีคุณภาพ ที่สำคัญจะต้องทบทวนมติ ครม.วันที่ 13 พ.ค. 2552 เพื่อเพิ่มงบค่าอาหารกลางวันจากเดิมคนละ 13 บาทต่อวัน เป็น 15 บาทต่อวัน ทั้งนี้จะมีการยื่นข้อเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ต่อไป
  • กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับมูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร องค์การยูนิเซฟประเทศไทย และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ให้การสนับสนุนและเชิญชวนให้สถานประกอบการเอกชนทุกแห่งในประเทศจัดสวัสดิการให้ผู้ใช้แรงงานผู้หญิงที่อยู่ในช่วงหลังคลอด ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ติดต่อกัน โดยจัดมุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อให้แม่มีเวลาบีบน้ำนมให้ลูกและมีที่เก็บนมแม่ ส่งเสริมให้เด็กทารกกินนมแม่ติดต่อกัน 6 เดือน ขณะนี้มีบริษัทเอกชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 701 แห่ง
  • เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556  นพ.ดนัย ธีวันดา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้า พ.ร.บ.การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรูปแบบการละเมิดหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ หรือ CODE ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ โดยหลังทำประชาพิจารณ์ก็จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม สธ. ก่อนจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง คาดว่าภายในปี 2557 จะสามารถเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้า ครม.ได้ นอกจากนี้ สธ.ยังตั้งเป้าว่าจะส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก ให้ได้ร้อยละ 60 ภายในปี 2558 หรือให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรกให้ได้ 4.8 แสนคน รวมถึงส่งเสริมให้มารดาให้นมแก่ลูกหลังอายุ 6 เดือน พร้อมอาหารตามวัยเป็นระยะเวลา 2 ปี ทั้งนี้ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้เรียกร้องให้เร่งผลักดัน ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ประกาศให้มีผลบังคับใช้เร็วที่สุด
  • เมื่อวันที่ 29  สิงหาคม 2557 มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยร่วมกับตำบลนมแม่ เทศบาลตำบลท่าม่วง ประชาชน จัดกิจกรรมประกาศ “สัญญาประชาคม” ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันรณรงค์ ส่งเสริม สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มากที่สุด พร้อมทั้งประกาศความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่ายและภาคประชาสังคมผลักดัน “พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (CODE)” ทั้งนี้ในเวทีสัญญาประชาคม CODE ของชาวท่าม่วงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะบอกให้ทราบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์และมีคุณค่ากับตัวแม่และเด็กมากกว่า และเป็นการประกาศเจตนารมณ์ว่าด้วยชาวท่าม่วงจะร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มากที่สุด
  • เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558 องค์กรจากหลายภาคส่วนรวม 39 องค์กร ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ จึงตัดสินใจรวมตัวในชื่อ สมาพันธ์เครือข่ายนมแม่แห่งประเทศไทยหรือในชื่อย่อว่า “เครือข่ายท้าบฟ้า” (TABFA- Thai Alliance for Breastfeeding Action) โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า เด็กไทยทุกคนต้องได้กินนมแม่และได้รับอาหารที่เหมาะสมตามวัย โดยประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ โดยมีสาระสำคัญ: หากการมีโอกาสได้ศึกษาและติดตามกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและโฆษณานมผงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ได้มีการทุ่มทุนมหาศาล เพื่อสร้างมายาคติที่บิดเบือนข้อเท็จจริงมากมายหลายประเด็นด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งล้วนแต่ละเมิดหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยเรื่องการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ที่ประกาศโดย สมัชชาสุขภาพโลก (World Health Assembly) ตั้งแต่ปี 2524 เช่น การแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์และของขวัญฟรีให้แก่แม่ การติดต่อทำการตลาดกับแม่โดยตรง ทั้งในศูนย์การค้า โรงพยาบาล การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ฯลฯ การใช้สถานบริการสาธารณสุขเป็นที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ เช่น การจัดแสดงสินค้าเพื่อจำหน่ายในคลินิก รวมถึงการแจกคูปองเป็นส่วนลดราคานมผงและจัดส่งนมผงถึงบ้าน เป็นต้น อีกทั้ง  “กติกา” ที่สำคัญในการกำกับดูแลการส่งเสริมการตลาดและการโฆษณานมผงให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามหลักสากล ซึ่งต้องช่วยกันเร่งผลักดันก็คือ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องพ.ศ. … ที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำและได้ผ่านการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2553 และคณะรัฐมนตรีได้รับรองมติดังกล่าวในปี 2554 อย่างไรก็ตาม ด้วยความเย้ายวนของผลประโยชน์อันมหาศาลที่อยู่เบื้องหลังตลาดนมผงเลี้ยงทารก ที่หากทำให้คนไทย “ลืมนมแม่” ไปได้สนิทใจ ก็จะมีจำนวนผู้บริโภคขั้นต้นเท่ากับทารกที่เกิดใหม่ในประเทศไทยแต่ละปี คือ 8 แสนคน คูณด้วยเม็ดเงินค่านมผงที่ว่ากันว่ามีตัวเลขขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่นบาทต่อครอบครัวต่อปี หรือเท่ากับเกือบ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี จะทำให้ร่างกฎหมายนี้ “แท้ง” ไปได้ง่ายๆ ทั้งที่เนื้อหาสาระในร่างกฎหมายไม่ได้มีอะไรเกินเลยไปกว่าสิ่งที่รองอธิบดีกรมอนามัยยืนยัน นั่นคือเป็นเพียงแต่ควบคุมวิธีการส่งเสริมการตลาดให้เป็นไปตามหลักสากล ซึ่งประเทศต่างๆ นำมาพัฒนาเป็นกฎหมายมานานถึง 30 ปีแล้ว ทั้งนี้ คาดว่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคมนี้ น่าจะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ชี้ชะตาร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะกำลังจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะรัฐมนตรีตามลำดับ
  • เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 180 วัน ซึ่งเป็นการกำหนดรายละเอียดบางอย่างให้มีความชัดเจน เช่น การบริจาคของผู้ประกอบการนมผงลักษณะใดทำได้หรือทำไม่ได้ การจะให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคโดยตรงต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เป็นต้น โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการธุรกิจนมผงจำนวนมากใช้กลยุทธ์การโฆษณาและการตลาดที่ละเมิดประกาศสาธารณสุข ที่ออกตามหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast milk Substitutes) ของสมัชชาอนามัยโลก ส่งผลให้แม่เข้าใจผิดว่านมผงดีเท่านมแม่ และการบริโภคนมแม่ไม่เพียงพอ ต้องมีนมผงด้วย และต่อมาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 ได้มีฉันทมติ เรื่อง “การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก” หลายภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนมติ จนเป็นพลังหนุนให้กรมอนามัยยกร่างกฎหมายเพื่อควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกมาเป็น พ.ร.บ.การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 หรือ พ.ร.บ.นมผง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน 60 วัน คือ วันที่ 9 กันยายน 2560 นี้ กฎหมายนี้จะมีผลให้แนวทางการส่งเสริมการตลาดที่บริษัทนมผงเคยดำเนินการอยู่เดิมไม่สามารถดำเนินการได้อีก เช่น การติดต่อกับมารดาที่ตั้งครรภ์โดยตรง การแจกนมผงที่โรงพยาบาลให้มารดานำกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน หรือการให้ข้อมูลที่เกินความเป็นจริงต่างๆ เป็นต้น โดยกรมอนามัยได้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเอกชนและสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ อบรมให้ความรู้ที่ตรงกัน รวมทั้งมีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อบังคับใช้กฎหมายด้วย
  • เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัด เวที สช.เจาะประเด็น ครั้งที่ 3/2560 “หยุด!! โฆษณา ฆ่าน้ำนมแม่” ที่ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ สื่อสารผลสำเร็จจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่การปฏิบัติ หนุนการใช้กฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก กรมอนามัยกำลังเร่งออกประกาศรองรับการดำเนินการตาม พ.ร.บ. นี้ภายใน 180 วัน ซึ่งเป็นการกำหนดรายละเอียดบางอย่างให้มีความชัดเจน เช่น การบริจาคของผู้ประกอบการนมผงลักษณะใดทำได้หรือทำไม่ได้ การจะให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคโดยตรงต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เป็นต้น โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการธุรกิจนมผงจำนวนมากใช้กลยุทธ์การโฆษณาและการตลาดที่ละเมิดประกาศสาธารณสุข ที่ออกตามหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast milk Substitutes) ของสมัชชาอนามัยโลก ส่งผลให้แม่เข้าใจผิดว่านมผงดีเท่านมแม่ และการบริโภคนมแม่ไม่เพียงพอ ต้องมีนมผงด้วย และต่อมาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 ได้มีฉันทมติ เรื่อง “การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก” หลายภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนมติ จนเป็นพลังหนุนให้กรมอนามัยยกร่างกฎหมายเพื่อควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกมาเป็น พ.ร.บ.การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 หรือ พ.ร.บ.นมผง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน 60 วัน คือ วันที่ 9 กันยายน 2560 นี้ กฎหมายนี้จะมีผลให้แนวทางการส่งเสริมการตลาดที่บริษัทนมผงเคยดำเนินการอยู่เดิมไม่สามารถดำเนินการได้อีก เช่น การติดต่อกับมารดาที่ตั้งครรภ์โดยตรง การแจกนมผงที่โรงพยาบาลให้มารดานำกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน หรือการให้ข้อมูลที่เกินความเป็นจริงต่างๆ เป็นต้น โดยกรมอนามัยได้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเอกชนและสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ อบรมให้ความรู้ที่ตรงกัน รวมทั้งมีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อบังคับใช้กฎหมายด้วย
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 แล้ว
เอกสารหลัก: