You are here


มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ
สมัชชาครั้งที่: 
3
มติที่: 
6
ชื่อมติ: 
มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานและเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ตามแผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2557 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
  • 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพควรเพิ่มบทบาทในการป้องกัน และลดจำนวนประชาชนผู้บริโภคยาสูบให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้มีตัวชี้วัดผลสำเร็จที่ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ และงบประมาณที่ได้รับ

    2. ควรกำหนดยุทธศาสตร์ลดการนำเข้าใบยาสูบจากต่างประเทศ เนื่องจากใบยาสูบของต่างประเทศมีสารนิโคตินและทาร์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีโทษมากกว่าใบยาสูบที่ปลูกในประเทศ รวมทั้งเพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบภายในประเทศด้วย

    3. ควรกำหนดยุทธศาสตร์สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนการปลูกยาสูบ

  •  
  • กระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1239/2555 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2557 และอนุสัญญาการควบคุมยาสูบแห่งองค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) สั่ง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2555  เพื่อใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนและจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2557 โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ และผู้แทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการฯ และคณะกรรมการดำเนินการฯ ที่ประกอบด้วยที่ปรึกษาจากองค์กรพัฒนาเอกชน และกรรมการจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  • กรมควบคุมโรค ได้มีคำสั่งกรมควบคุมโรค ที่ 1569/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2557 สั่ง ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2555 เพื่อใช้เป็นกลไกในการติดตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 - 2557
  • กรมควบคุมโรค ได้มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบระหว่างกรมควบคุมโรค และภาคีเครือข่าย 35 องค์กร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2555 เพื่อสนับสนุนการจัดทำและร่วมดำเนินการตามแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติและมาตรการต่าง ๆ ตามอนุสัญญาการควบคุมยาสูบแห่งองค์กรอนามัยโลก รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมาย รณรงค์เผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การควบคุมยาสูบ
  • ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สนับสนุนการขับเคลื่อนมติสู่การปฏิบัติผ่านเครือข่ายสมัชชาจังหวัด 15 จังหวัด วิจัยเชิงปฏิบัติการ การนำมติสมัชชาสู่จังหวัด 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำพูน, จังหวัดพัทลุง, จังหวัดนครพนม, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดอำนาจเจริญ, จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดกาฬสินธุ์, จังหวัดสตูล, จังหวัดศรีษะเกษ, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, จังหวัดยะลา, จังหวัดระนอง, จังหวัดตรัง  และจังหวัดชุมพร                
  • เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2556 ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้จัดทำข้อเสนอรัฐบาลออกพระราชกำหนดแก้ พ.ร.บ.ยาสูบ ให้ผู้ปลูกยาเส้นพื้นเมืองขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพสามิต หวังนำเข้าระบบภาษี พร้อมเก็บภาษีผู้ประกอบการยาเส้นเพิ่มอีกซองละ 1 บาท หน้าโรงงาน เชื่อว่าสามารถเก็บภาษีเพิ่มได้กว่า 800 ล้านบาท และลดจำนวนผู้สูบได้กว่า 2 แสนคน
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 สมาคมผู้เพาะปลูก ผู้บ่มใบยาสูบจากภาคเหนือ เครือข่ายชาวไร่ยาสูบภาคอีสานและสมาคมชาวไร่ยาสูบภาคกลางตอนบน รวมถึงสมาคมผู้ค้าทั้งปลีก-ส่ง พร้อมเอกชนและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบรวม 12 องค์กร (ภาคียาสูบ) เตรียมส่ง “สมุดปกขาว” ถึงคณะรัฐมนตรี ชี้แจงปัญหาความล้มเหลวเชิงนโยบายของสาธารณสุขและข้อบกพร่องในร่างพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่กำลังผลักดันอยู่ วอนรัฐแตะเบรกหยุดร่างกฎหมายยาสูบ ในเนื้อหาสมุดปกขาวฉบับภาคีได้มีการชี้แจงถึง “9 เหตุผลที่รัฐบาลไม่ควรผ่านร่างพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ” อาทิ 1.กระบวนการจัดทำร่างไม่มีความโปร่งใส 2. อำพรางวัตถุประสงค์ในการผลักดันด้วยการใช้เยาวชน 3. เนื้อหาร่างก้าวล่วงและทับซ้อนอำนาจนิติบัญญัติของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 4. ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของธุรกิจและขัดรัฐธรรมนูญ 5. ขัดหลักกฎหมายที่ดีเพราะให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฎหมายลูกจำนวนมาก เป็นต้น นอกจากนี้ สมุดปกขาวยังมีการตอบโต้ข้อโต้แย้งจากฝั่งเอ็นจีโอบุหรี่เป็นรายข้อ ทั้งประเด็นกล่าวอ้างว่าไม่มีมาตราที่กระทบชาวไร่ยาสูบหรือร้านค้า อีกทั้งเหตุผลที่อ้างว่าไม่สามารถพูดคุยกับผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมเนื่องจากติดข้อบังคับขององค์การอนามัยโลกที่ห้ามการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม “นี่คือตัวอย่างของข้อโต้แย้งที่ไม่เป็นความจริง แนวทางปฏิบัติดังกล่าวเพียงกำหนดให้การติดต่อต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใสและเปิดเผย แต่ไม่มีส่วนใดเลยที่ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อ นี่คือสาเหตุที่เราต้องจัดทำสมุดปกขาวเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้ออกนโยบายและสังคมรับรู้ข้อมูลรอบด้านโดยหวังว่ารัฐบาลจะรับฟังและหยุดร่างกฎหมายที่จัดทำขึ้นด้วยอคติของสธ. ฉบับนี้ไว้ก่อน
  • เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 ที่ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี  ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ได้เร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติควบคุมบุหรี่ พ.ศ.... โดยลงนามในหนังสือเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว และตั้งคณะกรรมการติดตามผลกระทบกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ พร้อมเร่ง 8 กรมวิชาการจัดทำคู่มือการลดขั้นตอนการออกใบอนุญาตตามกฎหมาย 14 ฉบับ อาทิ การขึ้นทะเบียนยาตาม พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก การพิจารณาออกใบอนุญาตผู้ประกอบการ สนองนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี ให้เสร็จใน  2  เดือน
  • เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ  ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2559 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบในกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-18 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของธุรกิจยาสูบ แต่ละปีมีเยาวชนไทยที่เริ่มติดบุหรี่และกลายเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ประจำ 2-3 แสนคน ทดแทน กลุ่มผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตหรือเลิกสูบไป อีกทั้งเยาวชนยังสามารถเข้าถึงบุหรี่ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ โดยผลการเฝ้าระวังทางอินเตอร์เน็ตของกรมควบคุมโรคในเดือนมกราคม 2559 พบว่ามีเว็บไซต์ที่โฆษณาขายบุหรี่มากถึง 50 เว็บไซต์ บางเว็บไซต์มีผู้เข้าชมมากกว่า 2 ล้านครั้ง ทำให้ในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมาอัตราการสูบบุหรี่ใน กลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2547 พบร้อยละ 6.58 เพิ่มเป็นร้อยละ 8.25 ในปี 2557 เฉลี่ยร้อยละ 0.17 ต่อปี ทั้งที่ ในช่วงก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี 2534 – 2547 อัตราการสูบบุหรี่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.42 ต่อปี ที่ประชุมได้มอบให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนฯ และคณะกรรมการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การป้องกันมิให้เกิดผู้เสพรายใหม่และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบที่มุ่งเป้าไปยังเด็ก เยาวชน และนักสูบหน้าใหม่ เร่งรัดการศึกษา วิเคราะห์กระบวนการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน 3 มาตรการ ได้แก่ 1.เร่งรัดให้มีการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบบริเวณรอบสถานศึกษา และพื้นที่เสี่ยงที่เยาวชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย 2.การโฆษณา/การขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในการตลาดออนไลน์ โซเชียลมีเดีย โดยให้กรมควบคุมโรค ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา เฝ้าระวัง กำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการโฆษณาและการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านสื่อออนไลน์และระบบอินเตอร์เน็ต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ  กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กสทช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3.การกำหนดเรื่องบุหรี่เป็นตัวชี้วัดในการประเมินสถานศึกษาตามระบบการนิเทศและประเมินผลสถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการเสนอร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. .... ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากครม.เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกระทรวงสาธารณสุขในฐานะหน่วยงาน ผู้เสนอร่างกฎหมายพิจารณายืนยัน เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง จากนั้นจะเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เพื่อพิจารณาบรรจุเข้าสู่วาระของ สนช. ต่อไป รวมทั้งได้ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบการ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2559 ขึ้นกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ เฉพาะกรณีการติดต่อ หรือการขอเข้าพบระหว่างเจ้าหน้าที่  ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกับผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบเท่านั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้  ขณะนี้อยู่ระหว่างการลงประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลใช้บังคับต่อไป สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัดทุกจังหวัด   มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบในระดับพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 ตัวแทนภาคียาสูบประกอบด้วยสมาคมชาวไร่ยาสูบรวมจากภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และเครือข่ายชาวไร่ยาสูบภาคอีสานอีก 5 จังหวัด และเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบอีกกว่า 100 คน พร้อมด้วยสมาคมการค้ายาสูบไทยได้เดินทางเข้าพบ พญ.มยุรา กุสุมภ์ ที่ปรีกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามคำสั่งการของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ให้สาธารณสุขจัดการแก้ไขข้อขัดแย้งที่เป็นปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดจากร่างกฎหมายควบคุมยาสูบฉบับใหม่ที่ สธ. กำลังผลักดัน ทั้งนี้ภาคีขอยื่นข้อเรียกร้องให้สาธารณสุขทำการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ในร่างกฎหมายนี้ซึ่งล้วนแต่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการรับซื้อใบยา และราคาการรับซื้อใบยาก่อนนำเสนอ สนช. หากไม่มีการแก้ไข ทางภาคีฯ จะไม่ยอมรับร่างกฎหมายที่สร้างความขัดแย้งนี้ได้ และจะเดินหน้าเรียกร้องให้ร้านค้า 700,000 ราย และชาวไร่ยาสูบและครอบครัวกว่า 43,000 ครัวเรือนทั่วประเทศต่อสู้ต่อไป
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 เรื่อง มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

2.1 ให้หน่วยงานราชการปฏิบัติตามแนวทางของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก โดยเฉพาะมาตรา 5.3 การป้องกันการแทรกแซงนโยบายการควบคุมยาสูบของรัฐโดยอุตสาหกรรมยาสูบ โดยการกำหนดนโยบายหรือระเบียบภายในหน่วยงานเพื่อป้องกันการแทรกแซงดังกล่าว

2.2 ให้กระทรวงการคลังดำเนินการ

2.2.1 ปรับโครงสร้างภาษียาสูบ ให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันเพื่อทำให้ราคาขายปลีกยาสูบโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยขอให้พิจารณาจัดเก็บภาษีบุหรี่ซิกาแรต ทั้งตามสภาพและตามราคาขายปลีก รวมทั้งให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสูบปิดแสตมป์ยาสูบบนซองบรรจุยาเส้นที่ทำจากใบยาสูบพันธุ์พื้นเมืองด้วย และดำเนินการทยอยปรับขึ้นภาษียาเส้นและยาสูบประเภทอื่นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

2.2.2 ห้ามธุรกิจยาสูบทำกิจกรรมภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (Corporate Social Responsibility ; CSR)

2.3 ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง และกระทรวงสาธารณสุข ให้หลักประกันการเข้าถึงการบำบัดโรคติดบุหรี่รวมถึงการเข้าถึงการรับยา สมุนไพร แพทย์แผนไทยหรือบริการแพทย์ทางเลือกที่จำเป็นต่อการบำบัดโรคติดบุหรี่และสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในงานเลิกบุหรี่ในชุมชน

2.4 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารปรับปรุงกฎหมายเพื่อห้ามการโฆษณา และการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการประชาสัมพันธ์ การให้ทุนอุปถัมภ์จากอุตสาหกรรมยาสูบทางสื่อคอมพิวเตอร์ทั้งจากภายในและต่างประเทศ และออกกฎหมายจัดสรรเวลาในการนำเสนอโทษของยาสูบในทุกประเภทสื่อในสัดส่วนที่เหมาะสม

2.5 ให้กระทรวงวัฒนธรรม กรมประชาสัมพันธ์ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงกฎหมายเพื่อห้ามมีฉากสูบบุหรี่และการส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีประชาสัมพันธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ทางภาพยนตร์ โทรทัศน์และสื่อมวลชนต่างๆ และมีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา นักร้อง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สาธารณชน โดยการไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

2.6 ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรม ควบคุมกำกับองค์กรและเครือข่ายไม่ให้รับการสนับสนุนใดๆ จากบริษัทยาสูบทั้งภายในและต่างประเทศตามกฎหมาย

2.7 ให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุเรื่องโรคที่เกี่ยวกับบุหรี่เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนและหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาสูบในสถานศึกษา กำชับให้สถานศึกษาทุกแห่ง

  • ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษาและห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
  • ห้ามสูบบุหรี่ในขณะที่อยู่ในชุดของสถาบันหรือชุดนักศึกษา
  • ให้บุคลากรทางการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ นักการภารโรง ผู้นำทางศาสนา เป็นต้น เป็นแบบอย่างแก่นักเรียน นักศึกษา
  • สนับสนุนงบประมาณการผลิตสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านพิษภัยจากบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม และการวิจัยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

2.8 ให้กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ (คบยช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการ โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ

2.9 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับมีบทบาทร่วมในการควบคุมแหล่งผลิต วัตถุดิบในพื้นที่ และการใช้มาตรการทางกฎหมาย/ข้อบังคับอย่างจริงจัง

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553 มติ 6 “มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ” ต่อที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีมติเห็นชอบเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554
  • ได้มีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงกระทรวงมหาดไทย ขอความอนุเคราะห์มอบหมายภารกิจด้านการควบคุมยาสูบเป็นภารกิจเพิ่มเติมในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๔๔๒.๕/๑๐๑๓ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้มีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงกระทรวงมหาดไทย ขอความอนุเคราะห์มอบหมายภารกิจด้านการควบคุมยาสูบเป็นภารกิจเพิ่มเติมในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๔๔๒.๕/๑๐๑๓ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
  • บัญชีสมุนไพรในบัญชียาหลัก แห่งชาติ พ.ศ.2554 ได้บรรจุสมุนไพรหญ้าดอกขาวให้เป็นสมุนไพรช่วยเลิก บุหรี่แล้ว และในช่วงเดือนพฤษภาคม 2554 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ออกมาแถลงข่าวรับรองบริการเลิกบุหรี่ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว โดยที่ยา Nortripthylin เป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดการติด บุหรี่ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว (แต่ยังไม่ได้ขึ้น ทะเบียนด้วยข้อบ่งชี้ในการช่วยเลิกบุหรี่)
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมให้ผู้บริโภคลด และเลิกใช้ยาสูบ ฯ มีการนำ (ร่าง) คู่มือปฏิบัติการการให้บริการบำบัดผู้เสพยาสูบ (โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง) ที่จัดทำเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ทดสอบดำเนินการใน 3 พื้นที่นำร่องเพื่อชุมชนที่เป็นตัวอย่างของการเลิกบุหรี่ ได้แก่ ชุมชนบ้านหางไหล หมู่ 4 ตำบลมะต้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ชุมชนกระบี่ท่าเรือ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • มีโครงการนโยบายผลักดันให้มียาเลิกบุหรี่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยมีการกำหนดเป็นโครงการที่จะดำเนินการภายใน 3 ปีในกรอบโครงร่างการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยรายยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์หลักที่ 1 นโยบายสาธารณะสร้างสุข เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์หลักที่ 1.1  มีนโยบายสาธารณะในการควบคุมการบริโภค อาหาร เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  • กระทรวงสาธารณสุข อยู่ระหว่างการผลักดันคลินิก อโรคยา โดยบรรจุอยู่ในนโยบาย "มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทุกกลุ่มวัย เพื่อคนไทยสุขภาพดี"
  • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ในการปรับปรุงกฎหมายห้ามมีฉากสูบบุหรี่ และการส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีประชาสัมพันธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ทางภาพยนตร์ โทรทัศน์และสื่อมวลชนต่างๆ และมีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียง
  • กรมควบคุมโรคร่วมกับภาคีเครือข่าย บรรจุประเด็นการห้ามโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการประชาสัมพันธ์ การให้ทุนอุปถัมภ์จากอุตสาหกรรมยาสูบทางสื่อคอมพิวเตอร์ทั้งจากภายในและต่างประเทศไว้ในร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. ....
  • ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่ให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ 555 แห่งทั่วประเทศ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพคลินิกอดบุหรี่ในโรงพยาบาลแล้วกว่า 260 แห่งในปีงบประมาณ 2553 และขยายจำนวนอย่างต่อเนื่อง
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้วางระบบเพื่อให้บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ (1600 สายเลิกบุหรี่) ซึ่งศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติได้เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2552
  • เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพมีการดำเนินงานของเครือข่ายคลินิกฟ้าใส ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 234 แห่ง
  • ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันตามอนุสัญญาการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) เป็นอันดับที่ 36 จาก 169 ประเทศที่ลงนามแล้ว โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเป็นพันธะกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศรัฐภาคีต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าว อย่างเคร่งครัด
  • สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดเวที สช. เจาะประเด็น เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 เรื่อง “เจาะ 2 มาตรการคุมเข้มยาสูบ” โดยเฉพาะมาตรการคุมเข้มบุหรี่เถื่อนที่ทะลักเข้ามาให้ประเทศไทยและมาตรการห้ามผู้จำหน่ายยาสูบใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดด้วยกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)
  • กรมควบคุมโรค ได้ออกระเบียบกรมควบคุมโรค ว่าด้วยการาด้วยการติดต่อกับผู้ประกอบการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2555 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555เพื่อกำหนดมาตรการในการติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส
  • กรมควบคุมโรค ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้ทำข้อมูลเฉพาะ CSR โรงงานยาสูบ โดยมีโครงการกลุ่มศึกษาและเฝ้าระวังอุตสาหกรรมยาสูบ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทางวิชาการเรื่องพัฒนาโมเดลต้นแบบเครือข่ายเฝ้าระวังแบบบูรณาการกับเครือข่ายที่มีอยู่เดิม และพัฒนากระบวนการเฝ้าระวัง เตือนภัย และ ตอบโต้อุตสาหกรรมยาสูบ รวมถึง ประเมินผล ถอดบทเรียน และ จัดการความรู้ รวมถึงศึกษาและเฝ้าระวังอุตสาหกรรมสูบ
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีหนังสือถึงหน่วยงานในสังกัดให้ร่วมรับผิดชอบปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2557 โดยกำหนดเป็นมาตรการและแนวทาง/กิจกรรม ในการควบคุมและป้องกันการสูบบุหรี่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่สำคัญ ได้แก่ กำหนดให้เป็นปีกีฬาปลอดบุหรี่  ,การสร้างแนวร่วมในการรณรงค์ ในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและกีฬา , สร้างรางวัลโรงแรมปลอดบุหรี่
  • กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศ  เรื่อง  แนวทางการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2557 ในสถานศึกษา  ซึ่งเนื้อหาประกาศมีความสอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้แก่  การห้ามมิให้หน่วยงานสถานศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม  หรือรับการสนับสนุนใดๆ  จากผู้ประกอบธุรกิจยาสูบ  ซึ่งรวมถึงรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของผู้ประกอบธุรกิจยาสูบภายใต้นโยบาย  “ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท”  (Corporate Social Responsibility : CSR) , ให้สถานศึกษาต้องบรรจุเรื่องโรคเกี่ยวกับบุหรี่ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน , ให้สถานศึกษาทุกแห่งติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในสถานศึกษา  และห้ามมิให้มีการสูบบุหรี่ในสถานศึกษา  ตลอดจนกำชับให้นักเรียน  นักศึกษา  ห้ามสูบบุหรี่ขณะอยู่ในเครื่องแบบนักเรียน  นักศึกษา , ให้ผู้บริหารการศึกษา  ครู  อาจารย์  ตลอดจนบุคลากรในสถานศึกษาควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีโดยการเลิกสูบบุหรี่  , ให้การสนับสนุนงบประมาณในการผลิตสื่อนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อการเรียนรู้ด้านพิษภัยจากบุหรี่  และการวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในสถานศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน เพื่อพิจารณาแนวทางการติดตามสถานการณ์สารเสพติด, รวมถึงการกำหนดมาตรการการเฝ้าระวังในสถานศึกษา ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2555
  • กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่ง  แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในสถานศึกษา  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  เพื่อกำหนดมาตรการแนวทางการขับเคลื่อนการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในสถานศึกษา รวมทั้งแนวทางปฏิบัติ ,  กำกับดูแล  ตรวจสอบ  ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา  ในการป้องกันและไขปัญหาการสูบบุหรี่ในสถานศึกษาในสังกัด ตั้งแต่ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555
  • ด้านการกีฬา โรงงานยาสูบยังสนับสนุนทีมฟุตบอล TTM อย่างต่อเนื่อง ส่วนกีฬาอื่นๆไม่พบว่ามีการให้การสนับสนุน ด้านการท่องเที่ยว โรงงานยาสูบ ให้การสนับสนุนโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทุเรียนพื้นบ้านนนทบุรี ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ทางหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับในช่วงเดือน กรกฎาคม และสิงหาคม
  • กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแจ้งว่าอยู่ในระหว่างการพิจารณาประเด็นต่างๆ และ กม. ที่เกี่ยวข้อง
  • กระทรวงศึกษาธิการ มีประกาศกระทรวง ห้ามมิให้หน่วยงานสถานศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม  หรือรับการสนับสนุนใดๆ จากผู้ประกอบธุรกิจยาสูบ ซึ่งรวมถึงรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของผู้ประกอบธุรกิจยาสูบภายใต้นโยบาย  “ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท”  (Corporate Social Responsibility : CSR)
  • กรมควบคุมโรคร่วมกับภาคีเครือข่าย ผลักดันการห้ามธุรกิจยาสูบทำกิจกรรมภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (Corporate Social Responsibility; CSR) โดยบรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. .... 
  • ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) จัดประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 11 เรื่อง “การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ” (Against Tobacco Industry Interference) 
  • กรมควบคุมโรคได้จัดทำร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. .... และมีระเบียบกรมควบคุมโรคกำหนดวิธีปฏิบัติของข้าราชการกรมควบคุมโรค ในการติดต่อกับผู้ประกอบการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมี ภายใต้ข้อ 5.3 แห่งกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) เพื่อป้องกันการแทรกแซงนโยบายสาธารณะว่าด้วยการควบคุมยาสูบจากผู้ประกอบการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) อยู่ระหว่างการประสานนักวิจัย สำรวจการควบคุมแหล่งผลิต วัตถุดิบในพื้นที่ และการใช้มาตรการทางกฎหมาย/ข้อบังคับอย่างจริงจังในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
  • ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) จัดประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 11เรื่อง “การแทรกแซงของอุตสาหกรรมยาสูบ” (Against Tobacco Industry Interference) ระหว่างวันที่ 15 –17 สิงหาคม พ.ศ. 2555   ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โดยเผยแพร่แนวคิดนี้ให้กับผู้ประชุมอย่างกว้างขวาง
  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป อีกทั้งยังมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องที่ให้กระทรวงการคลังและสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ความสำคัญในการปราบปรามบุหรี่ต่างประเทศที่มีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้ราคาบุหรี่ดังกล่าวต่ำกว่าบุหรี่ที่มีจำหน่ายอยู่โดยทั่วไป และส่งผลให้เกิดการบริโภคเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกรณีการสำแดงราคานำเข้าของบุหรี่ต่างประเทศที่ต่ำกว่าปกติ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย
  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เป็นการปรับโครงสร้างภาษียาสูบ  พร้อมลงในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2555 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและลดการบริโภคยาสูบซึ่งมีผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยปรับอัตราจัดเก็บภาษีให้มีทั้งการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 87 และการจัดเก็บตามปริมาณ 1 บาทต่อมวนเป็นครั้งแรก โดยกรมสรรพสามิตต้องนำทั้งมูลค่าและปริมาณมาคำนวณภาษี หากการคำนวณระหว่างการจัดเก็บตามมูลค่าและการจัดเก็บตามปริมาณตัวใดสูงกว่ากันก็ให้เก็บภาษีในส่วนนั้น เพื่อแก้ปัญหาบุหรี่ราคาถูกเข้ามาตีตลาดและผู้ประกอบการแสดงมูลค่าต้นทุนบุหรี่ต่ำกว่าราคาเป็นจริง ทำให้ราคาบุหรี่ทั้งบุหรี่ในและต่างประเทศปรับขึ้นซองละ 7 - 9 บาท  อีกทั้งได้มีการปรับอัตราการจัดเก็บภาษียาเส้นพันธุ์เวอร์จิเนียร์, พันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์เตอร์กิช จากเดิมมีอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0.1 ปรับเป็นอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 10 แต่ยังยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากใบยาสูบพันธุ์พื้นเมืองอยู่และพบว่าเมื่อปรับอัตราภาษียาเส้นแล้วอัตราภาษียาเส้นยังคงต่ำกว่าอัตราภาษีบุหรี่ซองมากถึงประมาณ 9 เท่า 
  • กระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสือ ที่ สธ 0442.5/3465 ลงวันที่ 27 กันยายน 2555 เรื่องขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามประกาศกระทวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2553 ซึ่งได้ขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานและกระทรวงต่างๆ ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์และเฝ้าระวังมิให้มีการละเมิดสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2553
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2555 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าแสดมป์ยาสูบ พ.ศ.... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการ ครม. ไปประกอบการพิจารณาด้วย และดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวระบุให้ 1. กำหนดให้ยาเส้น จัดเก็บภาษีอัตราตามมูลค่าร้อยละ 10 อัตราภาษีตามปริมาณ  0.01 บาทต่อหนึ่งกรัม เศษของหนึ่งกรัมให้นับเป็นหนึ่งกรัม 2. กำหนดให้ยาเส้นที่ผู้เพาะปลูกต้นยาสูบทำจากใบยาที่ปลูกและหั่นเอง และได้ขายยาเส้นนั้นแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบ จัดเก็บภาษีอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 อัตราภาษีตามปริมาณ 0 บาทต่อหนึ่งกรัม เศษของหนึ่งกรัมให้นับเป็นหนึ่งกรัม
  • วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้ผ่านหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขรูปภาพ ข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัยและช่องทางติดต่อ เพื่อการยกเลิกยาสูบในฉลากของบุหรี่ซิกาแร็ต โดยเพิ่มขนาดของภาพคำเตือนมีสัดส่วนร้อยละ 85 ของพื้นที่ซอง จากร้อยละ 55 ของพื้นที่
  • วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556 ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับประเด็นการยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการติดต่อระหว่างผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้การติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบการกระทำได้เท่าที่จำเป็นเฉพาะการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือมาตรการอื่นใดตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบเท่านั้น เช่น การแจ้งรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ การขอรับหนังสือรับรองการแจ้งรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ ทั้งนี้จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกมาตรา 5.3 และระเบียบกรมควบคุมโรค พ.ศ. 2555 ว่าด้วยการติดต่อกับผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นต้นแบบ เนื่องจากระเบียบของกรมควบคุมโรคที่ใช้ในปัจจุบันใช้ในระดับกรมเท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมไปถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับนี้จะเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเกิดความโปร่งใส ประสิทธิภาพมากที่สุด ป้องกันการแทรกแซงนโยบายการควบคุมยาสูบของรัฐด้วย โดยที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานยกร่างฯ ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องและภาคประชาชน และเสนอร่างต่อที่ประชุมคณะกรรมการต่อไป 
  • วันที่ 21 พฤษภาคม 2556  กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ให้พิมพ์ฉลากรูปภาพและข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัย 4 สี ขนาดไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 บนซองบุหรี่ทั้ง 2 ข้าง โดยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2556 นี้  ซึ่งประกาศนี้ได้ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2556 และจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน ดังนั้นผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าบุหรี่ซิกาแร็ตทุกราย จะต้องปฏิบัติตามโดยรับต้นแบบภาพที่กรมควบคุมโรค และขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ออกแบบภาพคำเตือนไว้ทั้งสื้น 10 แบบ เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้นำจัดพิมพ์บนซองบุหรี่คละรูปแบบกัน รวมทั้งให้พิมพ์ช่องทางติดต่อเพื่อการเลิกยาสูบ สายด่วน 1600 ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งชี้แจงทำความเข้าใจผู้ประกอบการทุกรายเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวเดียวกันทั่วประเทศ โดยผ่อนผันให้บุหรี่ซิกาแร็ตที่ผลิตหรือนำเข้าก่อนวันที่ 2 ตุลาคม 2556 สามารถจำหน่ายได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2556 หากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ารายใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนผู้จำหน่ายที่ไม่แสดงฉลากตามที่กำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด ฟ้องร้องขอให้ศาลปกครองกลาง เพิกถอนประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงรูปภาพ ข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัยและช่องทางติดต่อเพื่อการเลิกยาสูบ ในฉลากของบุหรี่ซิกาแรด พ.ศ.2556
  • เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2556 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด ฟ้องร้องขอให้ศาลปกครองกลาง เพิกถอนประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงรูปภาพ ข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัยและช่องทางติดต่อเพื่อการเลิกยาสูบ ในฉลากของบุหรี่ซิกาแรด พ.ศ.2556 เนื่องจาก ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นการออกประกาศที่เกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้และยังเป็นการลิดรอนสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ฟ้องคดี เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าบุหรี่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ศาลจึงให้ทุเลาการบังคับใช้ประกาศไว้ก่อน จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอื่น
  • วันที่ 16 กันยายน 2556 กระทรวงสาธารณสุขเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการแสดงรูปภาพ ข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัยและช่องทางติดต่อเพื่อการเลิกยาสูบในฉลากบุหรี่ซิกาแรต 2556 โดยกระทรวงสาธารณสุขจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งฯ ต่อศาลปกครองสูงสุดอย่างเร่งด่วนใน 2 ประเด็น ดังนี้
  1. ขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ประกอบการบุหรี่ใช้รูปภาพข้อความคำเตือนฯ 10 ภาพชุดใหม่ได้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดในประกาศกระทรวงฯ คือ วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เนื่องจากการจัดพิมพ์ภาพคำเตือนชุดใหม่ บริษัทบุหรี่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับปรุงกระบวนการผลิตน้อยมาก
  2. ขอให้ศาลอนุญาตให้มีการดำเนินการจัดพิมพ์รูปภาพข้อความคำเตือนฯ ขนาดร้อยละ 85
  • วันที่ 26 กันยายน 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดขอให้พิจารณาการบังคับใช้กฎหมายขยายภาพคำเตือนข้างซองบุหรี่จาก 55 % เป็น 85 % ในวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ซึ่ง พญ.มากาเรต ชาย ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก สหพันธรัฐสวิสได้ส่งจดหมายถึงกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้การสนับสนุนในการเดินหน้าการออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าการควบคุมการบริโภคยาสูบของไทยขณะนี้ ทั้งการออกกฎระเบียบ กระบวนการและเงื่อนไขการโฆษณา การแสดงข้อความคำเตือนโทษพิษภัย รวมถึงการห้ามการโฆษณาที่จุดขาย เมื่อมีผลในทางปฏิบัติไทยจะเป็นประเทศแรกในโลกที่กำหนดให้พิมพ์ภาพคำเตือนบน ซองบุหรี่ขนาดใหญ่ถึงร้อยละ 85 ของพื้นที่ซอง และกฎหมายฉบับดังกล่าวสอดคล้องกับกฎหมายขององค์ การอนามัยโลก (WHO) ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนให้ใหญ่ขึ้นเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการว่าสามารถช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงได้ และองค์การอนามัยโลกได้เตรียมหลักฐานด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบของไทย  ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างรอคำสั่งศาลปกครองสูงสุด หลังจากได้ยื่นอุทธรณ์กรณีของบริษัท ฟิลิป มอริส และบริษัท เจทีไอ โดยได้เตรียมคำให้การและเตรียมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการชี้แจงต่อศาลปกครองสูงสุด
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2557 กรมควบคุมโรคได้เข้าหารือกับกรมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อขอให้ประกาศให้สินค้าประเภทบารากู่ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งหากสามารถออกประกาศได้จะทำให้การควบคุมสินค้าดังกล่าวทำได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถจัดการได้
  • วันที่ 18 ธันวาคม 2557 นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมด้วย ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันแถลงข่าวการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูล ฉบับใหม่ พ.ศ...... ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ โดยผนวกกฎหมายเดิม 2 ฉบับคิอ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู่ไม่สูบบุรหี่ พ.ศ.2535 ซึ่งใช้มานาน 22 ปี ให้สอดคล้องกับกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติ ดังเช่นภาคีสมาชิกอื่นๆ อีก 178 ประเทศ เพื่อให้มีความทันสมัยและตามทันกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ ของบริษัทบุหรี่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทใหม่ที่กฎหมายปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมเช่น บุหรี่ไฟฟ้า มอระกู่ เป็นต้น ทำให้ภาครัฐไม่สามารถมีเครื่องมือที่จะควบคุมปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีนักสูบหน้าใหม่เข้าไปแทนที่คนที่เลิกบุหรี่ ส่วนใหญ่เป็นเด็กและแนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้จำนวนนักสูบไม่ลดลงเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมามีคนไทยเลิกสูบบุหรี่ไปแล้วกว่า 5 ล้านคน แต่ก็มีเด็กใหม่ติดบุหรี่เข้ามาทดแทนในจำนวนใกล้เคียงกัน โดยดำเนินการปรับปรุงตามกระบวนการจัดทำกฎหมาย และผ่านการประชาพิจารณ์ทั้ง 4 ภาคในพ.ศ. 2555 ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนเห็นด้วย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2557 เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ สาระในกฎหมายฉบับใหม่นี้ ไม่มีประเด็นใดที่เป็นการกีดกันการค้า หรือขัดต่อกฎกติกาการค้าโลก (WTO) มีประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การปรับปรุงความหมายของผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ เช่น มอระกู่ มอระกู่ไฟฟ้า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ มีการให้ความหมายของการสื่อสารการตลาด ครอบคลุมถึงการส่งเสริมการขาย การแสดงที่จุดขาย (Point of Sale) การขายโดยใช้พริตตี้ การสร้างภาพลักษณ์ โฆษณาทางอินเตอร์เน็ต กำหนดอายุขั้นต่ำผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบเพิ่มขึ้นจากเดิม 18 ปี เป็น 20 ปี และห้ามขายบุหรี่แบบแบ่งซอง
  • เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2558 ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล และ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะประชุมเครือข่ายยาสูบ นายกสมาคมเครือข่ายยาสูบเบอร์เล่ย์ จ.สุโขทัย จ.เพชรบูรณ์ นายกสมาคมบ่มใบยาสูบ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.พะเยา และสมาคมผู้ประกอบการค้ายาสูบไทย เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจร่างกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ…. ซึ่งขณะนี้ได้เสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว
  • เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2558 ผศ.ปกป้อง ศรีสนิท ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองประธานคณะกรรมการพิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าวถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ…. ฉบับใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณา ว่าจากกรณีสภาหอการค้าอเมริกันแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจอเมริกัน-อาเซียน และสภาหอการค้าอเมริกันจากรัฐวอชิงตัน ส่งจดหมายถึง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่าง พ.ร.บ.นั้น ว่าอาจมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า จากกรณีร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้สามารถออกกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบได้ในอนาคตตามข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ข้อเท็จจริงคือ สหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศว่ากฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบไม่ขัดต่อกฎหมาย และประเทศสมาชิกสามารถออกกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบได้ ซึ่งตรงนี้เป็นการปกป้องสุขภาพของเด็กและเยาวชน ไม่ให้เข้าถึงจากการโฆษณาหรือภาพลักษณ์ แต่ไม่ได้เป็นการกีดกันทางการค้า
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ศาสตราจารย์ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยดร.โยนาส เทคเกิน (Dr.Yonas Tegegn) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO Representative to Thailand) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. .... ว่า  กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการออกพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ โดยปรับปรุงจากกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับคือ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และพ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เพื่อให้ข้อบังคับต่างๆ มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จุดประสงค์หลักคือปกป้องเยาวชนไทยไม่ให้เข้าถึงการบริโภคยาสูบง่าย ป้องกันกลยุทธ์การตลาดและผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ รวมทั้งคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก ที่ไทยร่วมลงนามกับ 180 ประเทศทั่วโลก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับจดหมายจากแพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน (Dr. Margaret Chan) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก และจากดร.เวอรา ลุยซา ดา คอสตา อี ซิลวา (Dr.Vera Luiza da Costa e Silva) เลขาธิการภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยทั้ง 2 ฉบับได้สนับสนุนการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลไทย ในการออกพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบดังกล่าว ซึ่งความคืบหน้าขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่อออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป ยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ห้ามขายบุหรี่หรือห้ามสูบ แต่เป็นการอนุญาตที่มีขอบเขต เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และป้องกันการตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อว่าบุหรี่เป็นของดี ทั้งนี้ ข้อความในจดหมายของผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ได้แจ้งว่า องค์การอนามัยโลกสนับสนุนร่างพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่กระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาลไทย ได้พัฒนามาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศให้ครอบคลุมตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก และชี้ว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้การควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทยเป็นผลยิ่งขึ้น เนื่องจากช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความพยายามของประเทศไทยในการลดอัตราการสูบบุหรี่ได้ผล แต่ยังมีข้อจำกัดในกลุ่มประชากรที่อยู่ในชนบทซึ่งยังมีปัญหาสูบบุหรี่สูง นอกจากนี้ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ยังได้กล่าวในจดหมายว่า “ดิฉันไม่แปลกใจที่เห็นปฏิกิริยาจากธุรกิจยาสูบหรือกลุ่มต่างๆ ที่บริษัทบุหรี่สนับสนุนองค์กรบังหน้าเช่นสมาคมผู้ค้าปลีก ออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ. ขณะเดียวกันจดหมายของ ดร.เวอรา ลุยซา ดา คอสตา อี ซิลวา เลขาธิการภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ ได้กล่าวว่า สำนักเลขาธิการฯ ขอสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ เพราะเป็นมาตรการที่เข้มแข็งในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก โดยประเทศไทยได้ลงสัตยาบันในอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ร่างพระราชบัญญัติใหม่นี้ จะทำให้มาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทยสอดคล้องและครอบคลุมตามข้อบัญญัติในอนุสัญญาฯ และยืนอยู่บนแนวทางการปฏิบัติที่ได้รับฉันทามติจากที่ประชุมของประเทศภาคีสมาชิกทั่วโลก มั่นใจว่าการดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องนี้จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ ที่จะคุ้มครองสุขภาพของประชาชนไทย” ด้านดร.โยนาส เทคเกิน ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ได้กล่าวแสดงความยินดีกับประเทศไทย สำหรับความสำเร็จในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่งประเทศไทยถือเป็นต้นแบบของการควบคุมการบริโภคยาสูบ ที่โดดเด่นและประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ซึ่งประเทศไทยได้นำนวัตกรรมใหม่ๆ ในการณรงค์เรื่องนี้ และกำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพเป็นระยะๆ จึงไม่แปลกใจที่ประเทศไทยมีการยกร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับใหม่ ที่ได้มีการปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้เป็นไปตามกรอบอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ และในนามขององค์การอนามัยโลก ขอสนับสนุนกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่อย่างเต็มที่
  • วันที่ 14 มีนาคม 2558 สมาคมผู้เพาะปลูก ผู้บ่มใบยาสูบจากภาคเหนือ เครือข่ายชาวไร่ยาสูบภาคอีสานและสมาคมชาวไร่ยาสูบภาคกลางตอนบน รวมถึงสมาคมผู้ค้าทั้งปลีก-ส่ง พร้อมเอกชนและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบรวม 12 องค์กรแสดงความขอบคุณรัฐบาลหลังจากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกลับไปที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อรับฟังความเห็นใหม่เน้นการมีส่วนร่วมกับภาคเกษตรและเอกชน รวมถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
  • เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ “การขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ...” โดยมีเครือข่ายหมออนามัย เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทย เครือข่ายยุวทัศน์ กทม. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องริชมอนด์ บอลล์รูม 1 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี 
  • เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ....  ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา  ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขไปดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการเสนอร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการภายในกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แล้วแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาต่อไป
  • เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2558 นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎ๊กา ก่อนที่จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและส่งต่อไปสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 
  • เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ปรับขึ้นค่าแสดมป์ยาสูบ บุหรี่ ซิกาแรต ทั้งอัตราภาษีตามมูลค่าและตามปริมาณ จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 87 หรืออัตราภาษีตามปริมาณ 1 บาทต่อ 1 กรัม และเศษของกรัมให้นับเป็น 1 กรัม ปรับเป็นอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 90 หรืออัตราภาษีตามปริมาณ 1.10 บาทต่อ 1 กรัม และเศษของกรัมให้นับเป็น 1 กรัม โดยให้เสียในอัตราที่คิดเป็นเงินศุงกว่าการปรับขึ้นอัตราค่าแสดมป์ยาสูบในครั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นการสนับสนุนนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบของรัฐ เพื่อลดการเข้าถึงของนักสูบหย้าใหม่และลดการบริโภคสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการบริโภคบุหรี่ ซึ่งปัจจุบันมีการบริโภคบุหรี่เพิ่มขึ่นเฉลี่ยร้อยละ 3-4 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป
  • เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ที่ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรคและศ.เกียรติคุณนายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิต เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกันแถลงข่าว "พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560" ว่าปัญหาการบริโภคยาสูบเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของประชาชนทำให้ป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร โดยคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่สูงถึงปีละกว่า 5 หมื่นคน  นอกจากนี้กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ยังทำให้นักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีโอกาสที่จะเป็นผู้เสพติดไปตลอดชีวิต  รวมทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเสพติดยาสูบ  ทำให้สูญเสียงบประมาณไปกับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการสูบบุหรี่ สูงถึง 74,884 ล้านบาท ดังนั้นรัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ขึ้น เพื่อเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยป้องกันเยาวชนไม่ให้เข้าสู่วงจรร้ายของการติดบุหรี่อันเนื่องมาจากกลยุทธ์การตลาดบุหรี่ที่หลากหลายขึ้น  และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเยาวชนและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่  ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญอีกอย่างคือ ประเทศไทยเข้าร่วมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO-FCTC) จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์เท่าทันกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ และแนวปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาดังกล่าว
  • เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติปรับโครงสร้าวภาษีสรรพสามิต เหล้า บุหรี่ และไพ่ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้หวั่นทำให้มีการกักตุนสินค้า รอให้มีผลตามกฏหมาย ก่อนซึ่งเบื้องต้น เหล้าจะปรับเพิ่มตามดีกรี หรือ ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ส่วนบุหรี่จะมีการจัดเก็บ อัตราภาษีต่อมวน และเก็บตามอัตราของราคาบุหรี่ และในเบื้องต้นที่กรมสรรพสามิตได้อธิบายต่อครม. ว่า กรณีของสุราไม่ได้จัดเก็บจากมูลค่าหรือราคาเท่านั้น แต่จะจัดเก็บจากดีกรีหรือความแรงของแอลกอฮอล์ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการดูแลสุขภาพของประชาชน และมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เก็บภาษีจากราคาหน้าโรงกลั่นมาเป็นตามราคาขายปลีก ส่วนบุหรี่ จะมีการเก็บภาษีทั้งในส่วนของมูลค่าหรือราคา และยังมีการจัดเก็บภาษีจากปริมาณหรือคิดอัตราภาษีต่อมวนด้วย
  • เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2560 กรมวรรพสามิตเตรียมประกาศ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 เรื่องการขึ้นภาษีบุหรี่ ตามที่3 สินค้า คือ เหล้า ยาสูบ หรือ บุหรี่ และไพ่ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต 2560 ฉบับใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.ย. 2560 คาดว่าจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ หรือในวันที่ 15 ก.ย. 2560 หลังจากนั้นกรมสรรพสามิตจะมีการแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราภาษีและพระราชบัญญัติอีกครั้ง
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะให้ความร่วมมือในการสนับสนุนมาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบ ดังนี้
รายละเอียด: 

3.1 สนับสนุน ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม เฝ้าระวังและติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใช้มาตรการทางสังคมไม่ให้อุตสาหกรรมยาสูบพัฒนาช่องทางใหม่ๆ ในการโฆษณา การส่งเสริมการตลาด และการให้ทุนอุปถัมภ์ โดยมีกลไกระดับจังหวัด

3.2 สนับสนุนการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ให้กระจายอย่างทั่วถึง โดยจัดสถานที่ปลอดบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ ทั้งในที่สาธารณะ ที่ทำงาน ศาสนสถาน สถานศึกษา บริษัท ห้างร้าน เอกชน โดยเฉพาะสถานที่ราชการ และส่งเสริมให้มีหมู่บ้านปลอดบุหรี่

3.3 ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนและดำเนินการตามมตินี้ และตาม “แผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557” ให้เป็นรูปธรรมในระดับพื้นที่

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สนับสนุนการขับเคลื่อนมติสู่การปฏิบัติผ่านเครือข่ายสมัชชาจังหวัด 15 จังหวัด วิจัยเชิงปฏิบัติการ การนำมติสมัชชาสู่จังหวัด 15 จังหวัด
  • สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบได้ดำเนินโครงการจิตอาสาเฝ้าระวังเตือนภัยยาสูบ รุ่นแรกรับสมัครสมาชิกจำนวน 100 คนเพื่อช่วยดำเนินการเฝ้าระวังในพื้นที่รับผิดชอบ
  • สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบได้ดำเนินการปฏิบัติการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมยาสูบโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนภายใต้การดูแล กำกับ โดยตรงของสำนักฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 เครือข่าย อาทิ เครือข่ายอัครสังฆมณฑลกทม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ เครือข่ายจิตอาสาฯ 
  • เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2557 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เปิดตัวโครงการรณรงค์จิตอาสาขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ “รวมพลัง ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ ในพื้นที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 100%” เพื่อรณรงค์เชิงสังคม กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิ์ตนเอง สิทธิ์ของผู้อื่น และไม่ละเมิดสิทธิ์การมีสุขภาพดี โดยให้ความรู้กับประชาชนอย่างเข้มข้นในช่วง 2 เดือน โดยตั้งเป้าหมายของการรณรงค์ลดจำนวนลงผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองลงได้ร้อยละ 10
  • วันที่ 22 ธันวาคม 2557 เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม จำนวน 124 รายชื่อ ที่ห่วงใยกับปัญหาสังคมไทยจากการบริโภคยาสูบ ขอยื่นหนังสือแสดงจุดยืนสนับสนุน การออกร่างพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและขอบคุณ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ. ที่ผลักดันกฎหมายดังกล่าว และเรียกร้องไปยังครม. เพื่อผ่านร่างพ.ร.บ.นี้ โดยเร็ว และผลักดันอย่างต่อเนื่อง 

กรมควบคุมโรคและเครือข่ายสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 4: การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ ฯ ซึ่งมีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

  1. มีโครงการนำร่องชุมชนฟ้าใส ดำเนินการโดยเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และเครือข่าย
  2. โครงการพัฒนาโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ 100% โดยดำเนินการจัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ 100%  โรงพยาบาลสามารถเป็นแกนนำการควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน และให้ความรู้กับเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสร้างชุมชนปลอดบุหรี่ได้ ซึ่งดำเนินการโดย เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพและเครือข่ายวิชาชีพแพทย์
  3. โครงการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ในสถานที่ราชการ โดยดำเนินการแจ้งขนส่งทั่วประเทศประชาสัมพันธ์พร้อมติดป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร ทั้งสิ้น  155 แห่ง ดำเนินการโดย กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
  4. มีแผนงานพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ/โครงการพัฒนาสถานประกอบการปลอดบุหรี่ โดยดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการรวมทั้งบูรณาการเชิงประเด็น เหล้า บุหรี่ อุบัติเหตุ และการพนัน เพื่อผลักดันให้เป็นโรงงานสีขาวร่วมไปกับการจัดทำคู่มือการดำเนินการและสร้างการมีส่วนร่วม ดำเนินการโดยสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  5. โครงการโรงพักปลอดบุหรี่เพื่อประชาชน (สถานที่ราชการ) โดยได้ดำเนินการประกาศนโยบาย ลด ละ เลิกบุหรี่ อบรมเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติตามโครงการ ดำเนินการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  6. โครงการรณรงค์สร้างกระแสสถานศึกษาปลอดบุหรี่ โดยมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ จำนวน 800,000 ราย สนับสนุนการดำเนินการโรงเรียนปลอดบุหรี่โดยบูรณาการกิจกรรมควบคุมยาสูบร่วมกับการป้องกันยาเสพติด ดำเนินการโดย สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.)
  7. โครงการสถานที่สาธารณะลดโรค ลดควันบุหรี่ เกิดการดำเนินการจัดสถานที่สาธารณะในพื้นที่เขตนำร่อง เป็นเขตปลอดบุหรี่อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีการรณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ จัดประชุมชี้แจงให้แก่ผู้ประกอบการ และจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายควบคุมยาสูบ ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร
  • กรมควบคุมโรคได้ดำเนินการจัดทำหนังสือไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติในระดับจังหวัด โดยนำไปผนวกเข้ากับแผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินการแจ้งให้หน่วยงานระดับจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติต่อไป
  • กรมควบคุมโรคมีแผนการการดำเนินการการ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.2555 – 2557 และมาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบตามมติคณะรัฐมนตรีสู่การปฏิบัติ ระดับจังหวัด ในเดือนมกราคม 2556
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ (คบยช.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และชุมชน สร้างแรงจูงใจในการดำเนินการตามมติและติดตามผลการดำเนินงานตามมตินี้
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ได้มีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงกระทรวงมหาดไทย ขอความอนุเคราะห์มอบหมายภารกิจด้านการควบคุมยาสูบเป็นภารกิจเพิ่มเติมในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ตามหนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0442.5/1013 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2555 และจากการประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2555 ในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2555 ผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รายงานความก้าวหน้าในการส่งหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย นั้น กระทรวงมหาดไทยจะใช้อำนาจการปกครองของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยใช้คำสั่งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประสานพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ประชุมเพื่อกำชับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
  • กรมควบคุมโรคขอความร่วมมือจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดซึ่งเป็นคณะกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด ในการบูรณาการงานควบคุมยาสูบของจังหวัดเข้าไปเป็นวาระหนึ่งเพื่อติดตามผลการดำเนินงานในการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5
รายละเอียด: 
  • มีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี 5 ในวันที่ 18 – 20 ธันวาคม 2555 ที่           ศูนย์ประชุมไบเทคบางนา
เอกสารหลัก: