You are here


การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
สมัชชาครั้งที่: 
3
มติที่: 
8
ชื่อมติ: 
การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม
ผลการปฏิบัติงาน: 
วันที่ 20 เมษายน 2554 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ.2553 มติที่ 8 การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เสนอ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ทำการศึกษาโครงการอนาคตไทย เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี พบว่า ปัญหาสุขภาพใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทย ได้แก่ ปัญหาท้องในวัยรุ่นและติดเชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาความรุนแรงในเด็ก และปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งได้เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายคือ ควรมีกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกระดับ และต้องลงทุนพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นครอบคลุมทุกจังหวัด พัฒนาระบบประเมินนโยบายและมาตรการ โดยต้องมีระบบติดตามประเมินผลเพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ในระยะสั้น ระยะกลางและยาว รวมถึงการผลักดันร่าง พ.ร.บ.อนามัยเจริญพันธุ์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงศึกษาธิการต้องร่วมกันพัฒนาศักยภาพเด็กและวัยรุ่นให้มีความรู้ทักษะการใช้ชีวิตพร้อมเพิ่มมาตรการให้นักเรียนหญิงอยู่ในโรงเรียนให้นานที่สุดและลดการตีตราแม่วัยรุ่น สำหรับกระทรวงสาธารณสุขควรพัฒนางานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น โดยร่วมกับสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พัฒนางานด้านการเข้าถึงถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดและบริการให้คำปรึกษาที่ป้องกันผลกระทบเรื่องต่างๆ ของผู้รับบริการ เช่น ไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลแต่สามารถบันทึกข้อมูลเพื่อประเมินผลได้ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 กระทรวงสาธารณสุขโดย นพ.กิตติพงศ์ แช๋เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เป็นวันแรกที่ พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประกาศใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คาดหวังว่าจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.จะสามารถลดจำนวนเด็กที่เกิดจากแม่อายุต่ำกว่า 20 ปีลงได้ 75% ทั้งนี้กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของ 5 กระทรวงหลักคือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษบ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข และมีการนำตัวแทนเยาวชนมาร่วมเป็นอนุกรรมการทั้งหมด 2 คน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ทั้งหมด 5 เรื่องสำคัญได้แก 1) สถานศึกษาต้องจัดให้มีการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างเหมาะสม ตลอดจนให้คำปรึกษา ช่วยเหลือและคุ้มครองวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษา รวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม 2) สถานบริการต้องให้ข้อมูลความรู้และจัดบริการอนามัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ 3) สถานประกอบกิจการต้องให้ข้อมูลความรู้และจัดบริการอนามัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการทางสังคม 4) การจัดสวัสดิการและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ 5) ให้ราชการท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อคุ้มครองสิทธิของวัยรุ่น อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.นี้จะมีการนำนโยบายที่เป็นประโยชน์เข้ามาเสริมในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี ระหว่างปี 2560-2569 ซึ่งจะมีการพูดคุยเพื่อเสริมยุทธศาสตร์จากคณะกรรมการ 5 กระทรวงดังกล่าวต่อไป
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เครือข่ายด้านสุขภาวะทางเพศของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันพิจารณาจัดตั้งกลไกร่วมในการดำเนินการ
รายละเอียด: 

1.1 แปลงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ และยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม สู่แผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมทุกระดับ รวมทั้งจัดทำมาตรการเร่งด่วนในการจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ ภายในปี พ.ศ.2554

1.2 ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนในระดับจังหวัด จัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นและเยาวชนทุกระดับ ดำเนินการติดตามประเมินผล ภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 และยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน

1.3 ประสานการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กรมอนามัยในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติได้มีการดำเนินการจัดประชุมอนุกรรมการทั้ง 7 คณะ เพื่อร่วมกันจัดทำแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ซึ่งองค์ประกอบของอนุกรรมการทั้ง 7 คณะประกอบด้วย ตัวแทนจากทุกภาคส่วน
  • กรมอนามัยได้มีการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหานี้แบบบูรณาการเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-ปัจจุบัน มีแผนและผลลัพธ์ได้แก่

           - คณะกรรมการ/คณะทำงานระดับจังหวัด

           - แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

           - แผนปฏิบัติการทุกจังหวัด 

          ซึ่งมีครบทั้ง 76 จังหวัด ยกเว้น กรุงเทพมหานคร 

  • วันที่ 16 มกราคม 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557) โดยส่งเสริมให้ครอบครัวอบอุ่นมีลูกเมื่อพร้อม สนับสนุนให้โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้เรื่องเพศศึกษา รวมทั้งการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน อีกทั้งส่งเสริมให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งเน้นการเข้าถึงการใช้บริการในกลุ่มวัยรุ่น จัดบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน พร้อมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่นทั้งในและนอกสถานศึกษา ด้วยการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น และระบบส่งต่อเพื่อเชื่อมโยงระหว่างชุมชน สถานศึกษา และคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลผ่านการดำเนินการโครงการ 1 โรงเรียน 1 โรงพยาบาล และอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกจังหวัดมีการจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานแก้ไขปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ระดับจังหวัด โดยเฉพาะประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและเยาวชน มีแผนยุทธศาสตร์และนำสู่การปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนอย่างยั่งยืน
  • กรมอนามัยได้มอบหมายให้ศูนย์วิชาการในสังกัดติดตาม ประเมินผล และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ในจังหวัดที่มีการดำเนินงานประมาณ 50 จังหวัด (ปี 2555)
  • เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ และขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557) เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น ส่งเสริมให้ครอบครัวมีลูกเมื่อพร้อม สนับสนุนให้โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้เพศศึกษา ส่งเสริมให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งเน้นการเข้าถึงการให้บริการในกลุ่มวัยรุ่น โดยจัดบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friendly Health Service : YFHS) ทั้งนี้ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ดำเนินงานแก้ไขปัญหาและพัฒนางานอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยใช้มาตรการและแนวทางการดำเนินงานในหลากหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัยได้ดำเนินการเฝ้าระวังการทำแท้งในประเทศไทยโดยโรงพยาบาลนำร่อง 134 แห่ง จาก 13 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่าร้อยละ 53 ของผู้ป่วยที่มาทำแท้งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและเยาวชน ร้อยละ 30 มีสถานภาพเป็นนักเรียนนักศึกษา และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้เกิดปัญหาวัยรุ่นต้องขาดโอกาสในการศึกษา และต้องรับภาระในการดูแลบุตรในขณะที่ตนเองยังไม่พร้อม ดังนั้นควรมีการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิการเข้าถึงอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ การดูแลหญิงหลังแท้ง การรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการแท้งที่ไม่ปลอดภัย และการป้องกันการทำแท้งซ้ำซาก อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นให้ดีขึ้น
  • เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 ในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติได้หารือในเรื่องการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งพบว่าหากสามารถสอนเด็กไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรถือเป็นการป้องกันที่ได้ผลดีที่สุด จะทำให้ปัญหาหมดไป แต่มีปัจจัยอื่นๆ หลายประการเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ด้านครอบครัว และบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ดังนั้น ยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการต่อไปคือ การให้วัยรุ่นเข้าถึงวิธีคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ รวมทั้งเป็นการป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์  ทั้งนี้ในที่ประชุมได้เสนอตั้งคณะทำงานจากภาคเอกชนและองค์กรต่างๆ บูรณาการการทำงาน ระดมความคิดเห็นหาช่องทางการสื่อสาร แก่ประชาชนใน 2 ประเด็นหลักเพื่อสร้างกระแสสังคมให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือกรณีหากตั้งครรภ์แล้วจะให้การช่วยเหลืออย่างไร กระทรวงสาธารณสุขจะร่วมทำงานกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และภาคีเครือข่าย
  • เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ที่ประชุมได้วางกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาการท้องไม่พร้อมที่จะเน้นใน 3 เรื่องหลักคือ 1) ให้ความรู้และการศึกษาที่ต่อเนื่องแก่เด็กและเยาวชนเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการท้องไม่พร้อม รวมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ใหญ่ว่าการห้ามไม่ให้เยาวชนมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องยากแต่ต้องแนะนำแนวทางการป้องกันที่ถูกต้อง 2) การใช้โซเซียลมีเดียเป็นสื่อกลางในการช่วยให้เยาวชนเข้าถึงแนวทางการป้องกันทั้งการเข้าถึงบริการและอุปกรณ์การป้องกัน อันจะเป็นแหล่งในการให้ความรู้ แจกฟรี หรือขายอุปกรณ์การป้องกันเพื่อแก้ปัญหาวัยรุ่นไม่กล้าเผชิญหน้าในการสอบถามข้อสงสัย และ 3) สถานที่ให้บริการแก่เยาวชน ต้องพัฒนาให้อยู่นอกโรงพยาบาล เป็นคลินิกต่างๆ โดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “คลินิกสุขภาพวัยรุ่น” ในส่วนงบประมาณในการดำเนินงานจะมาจาก 2 ส่วนได้แก่ งบประมาณส่งเสริมป้องกันโรค ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งนี้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จก่อนนำกลับมาเสนอคณะกรรมการชุดนี้อีกครั้งภายใน 60 วัน นอกจากนี้คณะกรรมการได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียบ กฎ และกฎหมายด้านอนามัยเจริญพันธุ์ทำการศึกษา ทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการคุมกำเนิดและการแก้ปัญหาท้องไม่พร้อม อาทิ การห้ามขายยายุติการตั้งครรภ์ แต่จะต้องหารือกับราชวิทยาลัยแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการออกข้อบ่งชี้ในการใช้และมาตรการควบคุมที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา การนำยาชนิดนี้ไปใช้ในทางที่ผิด จากนั้นจึงจะพิจารณาว่าควรเดินหน้าในเรื่องต่อไปหรือไม่ เพราะมีทั้งผลดีและผลเสีย
  • เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น  พ.ศ.2557-2561 มีเป้าหมาย 2 ประการคือ (1) ลดอัตราการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี จากเดิมในปี 2555 อัตรา 53.8 ต่อวัยรุ่นหญิง 1,000 คนให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อวัยรุ่นหญิง 1,000 คน (2) ลดอัตราการคลอดในหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี ลงร้อยละ 30 โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 3 ด้านคือ 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับทัศนคติสร้างความเข้าใจวัยรุ่น พ่อ-แม่ผู้ปกครองและสังคม โดยการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หอกระจายข่าว นิทรรศการ หนังสั้น การประกวดสื่อ จัดทำเวปไซด์ สร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มคือ กลุ่มวัยรุ่น ใช้สภานักเรียน สภานักศึกษาเป็นแกนขับเคลื่อน เพิ่มหลักสูตรเพศศึกษาภาคบังคับ ส่วนในกลุ่มของผู้ใหญ่คือ พ่อ-แม่ผู้ปกครอง คนในชุมชนขับเคลื่อนโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักพัฒนาชุมชน ผู้นำสตรี ผู้นำชุมชนร่วมกับการใช้เวปไซด์และสังคมออนไลน์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของวัยรุ่นให้เข้าถึงได้ง่าย มีบริการคุมกำเนิดที่หลากหลาย

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบการช่วยเหลือ ส่งต่อ ลดขั้นตอนในสั้นลง ช่วยเหลือวัยรุ่นได้เร็วขึ้น และไม่เกิดปัญหาซ้ำโดยมีบริการหลายช่องทาง เช่น ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) คลินิกวัยรุ่น และบริการปัญหาทางโทรศัพท์สายด่วน มีแนวทางให้ความช่วยเหลือกรณีตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยทีมสหวิชาชีพแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย เพื่อพิจารณาทางเลือกและมีระบบการส่งต่อ กรณีที่ต้องการตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์ตามเกณฑ์ของแพทยสภา รวมถึงการวางแผนการดำเนินชีวิตและมีระบบติดตามหลังช่วยเหลือทางโทรศัพท์และเยี่ยมบ้าน

  • เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 ผลการประชุมคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ วันที่ 10 กันยายน 2556 ดังนี้ ที่ประชุมให้ความสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1) การป้องกันการท้องไม่พร้อมโดยการทำความเข้าใจและให้ความรู้ทั้งครอบครัว และ การให้ความสำคัญกับระบบการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการป้องกันการแก้ปัญหาท้องไม่พร้อม 2) การกระตุ้นการเกิดในวัยที่เหมาะสมเพื่อทำให้โครงสร้างประชากรเกิดความสมดุล
  • เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ได้มีมติให้นำเนื้อหารายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.…. ฉบับนี้บรรจุในยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ.2558 ที่ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะสามารถปฏิบัติเป็นไปตามแผนได้
  • วันที่ 22 มกราคม 2558 ที่กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2558 ว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้ติดตามความก้าวหน้าเรื่องแนวทางการกระจายถุงยางอนามัย การป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น การส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ และติดตามความก้าวหน้าการขึ้นทะเบียนยายุติ    การตั้งครรภ์ และยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น  ทั้งนี้เพื่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และองค์กรเอกชน จัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ.2558 -2567 เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ให้เหลือครึ่งหนึ่ง ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.การเสริมสร้างทักษะชีวิตและเพศศึกษา รอบด้านแก่วัยรุ่น 2.การเสริมสร้างบทบาททางเพศ ครอบครัวและชุมชนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหา 3.จัดให้มีระบบบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร 4.จัดให้มีระบบช่วยเหลือดูแลและบำบัดฟื้นฟู ให้สวัสดิการทางสังคมแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตร 5.มีการสื่อสารและส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ค่านิยม ทัศนคติที่เหมาะสม และ6.จัดกลไกเชื่อมประสาน ขับเคลื่อนนโยบาย กำกับ ติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินผล ระดับประเทศและพื้นที่ ซึ่งหากเสร็จสมบูรณ์จะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน (กดยช.)เพื่อพิจารณาและเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีต่อไป พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับ สปสช. จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น โดยจัดทำยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและใช้อย่างครอบคลุมทุกกลุ่ม เนื่องจากในปี 2556 พบการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุ 10 -19 ปี จำนวน 15,295 คน คิดเป็นร้อยละ 12.1 จากจำนวนการคลอด ทั้งหมดของหญิงอายุดังกล่าว โดยได้มีการสนับสนุนค่าบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรกรณีใส่ห่วงอนามัย 800 บาท    ต่อรายและฝังยาคุมกำเนิด 2,500 บาทต่อราย นอกจากนี้ยังได้มีการเตรียมแจกถุงยางอนามัย 53.7 ล้านชิ้น และถุงยางอนามัยสำหรับสตรีจำนวน 1 แสนล้านชิ้น เพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ โดยจะแจกให้ในกลุ่มวัยรุ่นทั่วประเทศทั้งหมด 37 ล้านชิ้น
    8. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ได้มีการประชุม ครั้งที่ 2 / 2558 ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ สะพานขาว กรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาการดำเนินการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด การพัฒนาระบบเกลือเสริมไอโอดีนที่มีประสิทธิภาพ และการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมี นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น สืบเนื่องจาก ในแต่ละปีประเทศไทยมีแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์จำนวนสูงถึง 100,000 กว่าคน และหลายหน่วยงานได้บูรณาการทำงานร่วมกันตลอดจนมีกลไกการดำเนินงานที่มีแผนงานเป้าหมายเดียวกัน คือ ให้การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นมีจำนวนลดลงครึ่งหนึ่งในระยะเวลา 10 ปี นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2558-2567 ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้รับหมอบหมายให้ดูแลในเรื่องครอบครัว โดยให้ผู้ปกครองดูแลให้ความรักความอบอุ่น สร้างความเข้าใจแก่บุตรหลาน เพื่อจะได้ไม่ออกนอกบ้านไปทำพฤติกรรมต่างๆที่ไม่เหมาะสม เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และยังมีการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยได้เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
  • เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 ในการประชุมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 203/57-58 เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม ซึ่งได้มีการกล่าวถึง ความห่วงใยของนายกรัฐมนตรีในเรื่องปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ที่มีสถิติจำนวนมากขึ้น และด้านวิป สนช.เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ เข้าที่ประชุมในวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 เนื่องจากข้อมูลจากกรมอนามัย พบว่า วัยรุ่นหญิงที่มีอายุ 15 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมเพิ่มจาก 4 คนต่อวัน เป็น 9 คนต่อวัน นั้น ขณะนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯและกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการจัดทำ Master Plan เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ไม่พร้อม ที่เป็นแผนแบบ One Goal One Plan
  • เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 ที่รัฐสภาในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม ในการประชุมมีวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.... ซึ่งนำเสนอโดย นพ.เจตน์ ศิรธนานนท์ สมาชิก สนช. พร้อมด้วยสมาชิกร่วมลงชื่อ 54 คนเป็นวาระแรก ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการอภิปรายสนับสนุนและแสดงความเห็นเพิ่มเติม เช่น ประเด็นการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาที่เหมาะสมกับช่วงวัยที่ภาครัฐควรจะทำอย่างเข้มแข็งและเพียงพอ ทั้งนี้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการควรกลับไปพิจารณาดูว่าจะใช้เป็นต้นแบบผลักดันกับโรงเรียนอื่นๆ ได้อย่างไร และควรมีการพิจารณาควบคู๋ไปกับ ร่าง พรบ.อนามัยเจริญพันธุ์และมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้ร่างกฎหมายนี้สามารถแก้ไขปัญหาระดับชาติที่เป็นอยู่ขณะนี้ได้อย่างจริงจัง ซึ่งที่ประชุมได้แจ้งงต่อที่ประชุมว่า การเสนอ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เป็นการเสนอของสมาชิก สนช.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 14 วรรค 5 ซึ่งรัฐบาลอาจสามารถขอรับไปพิจารณาก่อน สนช. จะมีการลงมติพิจารณารับหลักการได้ ซึ่ง นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะรับร่างกลับไปพิจารณาในคณะรัฐมนตรีเป็นเวลา 20 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งและเสนอความเห็นกลับมายัง สนช.เพื่อพิจารณารับหลักการต่อไป 
  • เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ในงานประชุมระดับชาติเรื่อง สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 2 หัวข้อ เซ็กซ์เปิดในวัยรุ่น: เปิดพื้นที่เพิ่มความฉลาดรู้เรื่องเพศ โดยมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เป็นงานที่เกิดจาหความรวมมือกับ 5 หน่วยงานหลักตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุช กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยหน่วยงานต่างประเทศ อย่างองค์การกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติและเครือข่ายเยาวชนที่เข้าร่วมงาน ตามเป้าหมายกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าว่าภานในปี 2569 จะต้องลดแม่วัยรุ่นให้ได้ร้อยละ 50 ถึงแม้ว่ามี พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 แต่ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกรมอนามัย ถือเป็นฝ่ายเลขานุการในการขับเคลื่อน ประสานแต่ละหน่วยงานทำงานร่วมกันโดยอาศัยหลักการคือต้องป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นต้องมีการวางรากฐานให้ดีและควรมีการติดตามประเมินผลการทำงานทุก 6 เดือน เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 โครงการขับเคลื่อน พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดำเนินการ 1) จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานของอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร 2) ถอดบทเรียนจากการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friendly Health Services: YFHS) 3) ประเมินและรับรองโรงพยาบาลตามมาตรฐาน YFHS โดยขณะนี้มีโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75.6 ซึ่งในรอบ 6 เดือน การตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 16.8 จากเป้าหมายไม่เกินร้อยละ 10
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดร่วมกับองค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมดำเนินงานพัฒนาการเรียนการสอนเพศศึกษา (sexuality education) จริยธรรมและศีลธรรมและจัดให้มีระบบรองรับการแก้ปัญหานักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ในระหว่างการศึกษาโดย
รายละเอียด: 

2.1 พัฒนาศักยภาพและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องแก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและบุคลากรในสถานศึกษา รวมทั้งสร้างเครือข่ายผู้สอนเรื่องเพศศึกษา ให้ครอบคลุมทั้งในและนอกระบบการศึกษา

2.2 จัดให้มีกระบวนการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้าน (Comprehensive sexuality education) ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ โดยเริ่มให้มีการเรียนการสอนเพศศึกษาและจริยธรรมทางเพศตั้งแต่ปฐมวัย โดยการเพิ่มกิจกรรมนอกหลักสูตรและสร้างเสริมทักษะทางสังคม และให้มีระบบติดตามกระบวนการเรียนการสอนและหนุนเสริมโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.3 ให้สถานศึกษาปรับกระบวนการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ ให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้อง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มาตรา 15 และมาตรา 24 (6) เพื่อให้โอกาสนักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ได้รับการศึกษาจนจบหลักสูตร โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์

2.4 ให้สถานศึกษาร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบเป็นธุระในการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบที่หลากหลายโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกับองค์กรแพท (PATH) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาหลักสูตรเพศศึกษารอบด้าน เพื่อพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ความเข้าใจพฤติกรรมทางเพศและการดูแลสุขภาพทางเพศ และความเข้าใจเรื่องเพศให้สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรม ซึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนได้ประมาณ 16 คาบต่อปี
  • กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้มีการจัดทำโครงการส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นและเยาวชน โดยมีกิจกรรมหลักคือ การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งให้มีการจัดบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friendly Health Services: YFHS) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-2555 มีจังหวัดเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 76 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครจะเข้าร่วมโครงการในปี 2556 ผลการดำเนินงานได้มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาล เชื่อมโยงกับเครือข่าย ชุมชน โรงเรียน และโรงพยาบาล มีการประเมินตนเองเพื่อขอรับการประเมินและรับรองโรงพยาบาลตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชนจำนวน 91 แห่ง ซึ่งการเยี่ยมสำรวจและประเมินโรงพยาบาล จะเป็นการกระตุ้นให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในปี 2556  กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 1-12 จะมีการดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นและเยาวชนต่อเนื่อง โดยมีกิจกรรมหลักคือการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยการเยี่ยมสำรวจและประเมินรับรองโรงพยาบาลตามมาตรฐาน YFHS และการประกาศเกียรติคุณ/มอบรางวัลผลงานเด่นระดับประเทศ Youth Friendly Health Services Clinic Awards ในการประชุมวิชาการอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 การพัฒนาศักยภาพทีมประเมินฯ และผู้ให้บริการ โดยคาดหวังให้กลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีความเป็นมิตร ซึ่งจะมีส่วนช่วยป้องกันและลดปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย การตั้งครรภ์ไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ ปลอดจากความรุนแรงทางเพศ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ดำเนินการเชิงรุกโดยใช้รูปแบบสถานบริการที่เป็นมิตร โดยสถานศึกษาต้องมีหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับเด็กนักเรียนตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป
  • กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นเพื่อผลักดันให้เป็นกระบวนการของการตรวจราชการแบบบุรณาการระหว่างกระทรวง ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีกรมอนามัยเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับกรมควบคุมโรคและกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดตัวชี้วัดระดับกระบวนการของการตรวจราชการแบบบุรณาการ คือ 
  1. ภาคส่วนหลักทุกแห่งในระดับจังหวัดมีแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นที่มาจากแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการของจังหวัด
  2. ร้อยละ 50 ของสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. สอศ. และ สป.(สช. และ กศน.) มีการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้านต่อเนื่องและครอบคลุม
  3. ร้อยละ 30 ของโรงพยาบาล(รพศ. รพท. รพร. รพช.) ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัด “คลินิกวัยรุ่น” ผ่านเกณฑ์มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน
  4. ร้อยละ 30 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนปฏิบัติการและการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์  ในปีงบประมาณ 2555

        โดยผลของการตรวจราชการแบบบูรณาการระหว่างกระทรวง ตามนโยบายของรัฐบาล   พบว่า

  1. มีการจัดทำโครงการเชิงรุกเข้าไปในโรงเรียน โดยเร่งรัดสถานศึกษาให้มีการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้าน แต่ยังไม่ใช่วิชาที่บรรจุไว้ในหลักสูตรภาคบังคับ เพียงสอดแทรกเข้าไปในบางวิชา แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกระดับชั้นและทุกสถานศึกษา นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ และบริการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมาย พร้อมคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง กระทรวงศึกษาธิการ ควรมีการผลักดันการสอนเพศศึกษารอบด้านในเชิงนโยบาย
  2. มีการสนับสนุนโรงพยาบาลให้จัดคลินิกวัยรุ่นที่ได้มาตรฐาน  มีการเยี่ยมและพัฒนาโรงพยาบาลร่วมกับศูนย์อนามัยและ สคร.  พบว่าการดำเนินงานของโรงพยาบาลมีความก้าวหน้าและระดับของการพัฒนาที่มีความแตกต่างกัน มีโรงพยาบาลที่มีความพร้อมและเป็นต้นแบบให้โรงพยาบาลอื่นๆ ได้เรียนรู้การดำเนินงานคลินิกวัยรุ่น ในขณะที่โรงพยาบาลหลายแห่งมีความก้าวหน้าในการพัฒนาคลินิกวัยรุ่นในระดับหนึ่งและ โรงพยาบาลบางแห่งยังไม่มีการจัดบริการสำหรับวัยรุ่นอย่างเป็นรูปธรรม  บางแห่งบูรณาการ “คลินิกวัยรุ่น” ร่วมกับคลินิกให้คำปรึกษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ โดยมีเจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมการให้บริการที่เป็นมิตร  มีทัศนคติที่ดี เข้าใจวัยรุ่น วัยรุ่นไว้วางใจและช่วยแก้ปัญหาวัยรุ่นได้  มีการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงชุมชน ครอบครัว โรงเรียน และโรงพยาบาล และเตรียมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้  บางจังหวัดยังได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีของวัยรุ่น แต่ยังขาดกิจกรรมที่เน้นการป้องกันพฤติกรรม   ที่ไม่ดี เช่น ทักษะการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันตนเองจากการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ รวมทั้งระบบ
  3. มีการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์แบบบูรณาการในระดับจังหวัด ซึ่งบางจังหวัดมีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อมระดับจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการในแต่ละจังหวัด พัฒนาองค์ความรู้ และบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เยาวชนเรื่อง “รักอย่างไร รักให้เป็น” รู้จักรอ ป้องกันเชื้อโรคร้าย ในรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่นให้กับเยาวชนกลุ่มสนใจเรื่อง เพศ เอดส์
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณเพิ่มมากขึ้น โดยมีแผนปฏิบัติการและการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ บางจังหวัดมีการประสานงานในระดับพื้นที่ของ รพ.สต. ให้มีการจัดทำและนำเสนอข้อมูลสถานการณ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลสภาพปัญหา สถานการณ์ เพื่อใช้วางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกับสาธารณสุขและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  5. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เกือบทุกจังหวัดสนับสนุนให้สภาเด็กและเยาวชนมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ได้แก่ แผนการจัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชน ครอบครัว และจัดพื้นที่สำหรับเยาวชนได้แสดงออกอย่างเหมาะสม แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมกลุ่มวัยรุ่นทั้งจังหวัด

          ขณะนี้ทุกโรงพยาบาล (รพศ. รพท. รพช.) มีการจัดตั้งคลินิกที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น (Youth Friendly Health Services)  ทั้งนี้ปี 2556 จะมีการประเมินและรับรอง

  • กรมอนามัย และภาคีเครือข่ายมีความพยายามผลักดันการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ได้ศึกษาจนจบหลักสูตรโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ โดยบรรจุไว้ในร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ พ.ศ.....  (เดิมชื่อพ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.....) ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีและอยู่ในขั้นสำนักงานกฤษฎีกา
  • มีสถานการศึกษาที่มีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น มีการดำเนินงานจับคู่ระหว่างโรงพยาบาลและโรงเรียนที่โรงเรียนหนองสวง อ.ขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
  • เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556  ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายเสริมศักดิ์ พงศ์พานิช รมช.ศึกษาธิการได้หารือกับ นพ.ประดิษฐ์  สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เพื่อเตรียมลงนามความร่วมมือระหว่าง 2 กระทรวงในการแก้ปัญหาตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้ โดยโครงการความร่วมมือดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.มาก่อนหน้านี้แล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนหารือของทั้ง 2 กระทรวง เพื่อจัดทำรายละเอียดในบันทึกความร่วมมือ ซึ่งเบื้องต้นจะให้ สธ.ส่งแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียน โดยวางแผนให้โรงพยาบาลประจำแต่ละพื้นที่เป็นแม่ข่ายรับผิดชอบการส่งแพทย์ไปจัดอบรมให้ความรู้ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่โดยรอบ ทั้งนี้แม้ในหลักสูตรจะมีวิชาเพศศึกษาอยู่แล้ว แต่ถ้ามีผู้รู้เข้าไปอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมถึงในโรงเรียนก็น่าจะช่วยลดปัญหาได้
  • เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 จังหวัดอ่างทองดำเนินการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายแกนนำเยาวชนเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง มีผู้เข้ารับการอบรม 100 คน จากโรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนราชสถิตย์วิทยา โรงเรียนเทศบาล 1 วัดต้นสน โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่สุทธาวาส โรงเรียนเทศบาล 3 วัดชัยมงคล เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจปัญหา สาเหตุและผลกระทบของการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รู้เท่าทันสถานการณ์และป้องกันปัญหาได้อย่างถูกต้อง เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้มีทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเยาวชนด้วย
  • วันที่ 24 เมษายน 2558 จากเอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานเรื่องการผลักดันโรงเรียนมัธยมศึกษามีการสอนเพศศึกษา/พฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน ปรับปรุงเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้มีการบูรณาการงานดูแลสุขภาพวัยรุ่นให้ครอบคลุมทั้งงานด้านส่งเสริมและป้องกันปัญหาและการดูแลช่วยเหลือที่มีการเชื่อมโยงระหว่างสถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา ชุมชน โดยดำเนินการ ดังนี้ 
  1. ชี้แจงขั้นตอนการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน จำนวนโรงเรียนในพื้นที่ทั้งหมดที่มีการสอนเรื่องเพศศึกษา พฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน
  2. ปรับปรุงเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้การดูแลสุขภาพวัยรุ่น มีการบูรณาการงานที่ครอบคลุมทั้งงานด้านส่งเสริม ป้องกันปัญหาและการดูแลช่วยเหลือที่มีการเชื่อมโยงระหว่างสถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา และชุมชน
  3. พัฒนาแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองที่สอดคล้องตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักเรียน ป.5-6 และ ม.1-6
  4. พัฒนาคู่มือพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในวัยรุ่น จำนวน 4 เล่ม
  5. กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิตร่วมกันพัฒนาหลักสูตร Teen Manager เพื่อพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบงานวัยรุ่น
  6. จัดอบรมหลักสูตร Teen Manager จำนวน 170 คน ประกอบด้วย นักวิชาการจากศูนย์สุขภาพจิต/ศูนย์อนามัย และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค
  7. Teen Manager ดำเนืนการวางแผนแก้ไขปัญหางานสุขภาพของวัยรุ่นในระดับเขตและจังหวัด โดยขณะนี้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาร่วมเป็นเครือข่ายแล้ว จำนวน 152 แห่ง 
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายเด็กและเยาวชน
รายละเอียด: 

3.1 สนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับเด็กและเยาวชน โดยบรรจุไว้ในแผน 3 ปี และกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.2 สนับสนุนให้ชุมชนออกมาตรการทางสังคมที่สอดคล้องกับศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และบริบทของชุมชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น

3.3 ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ทุกแห่ง พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงานดังกล่าวที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว

3.4 ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ดำเนินการในเรื่องสุขภาวะทางเพศวัยเจริญพันธุ์ ผ่านการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

3.5 สนับสนุนและพัฒนาพื้นที่สื่อและกิจกรรมที่สร้างสรรค์เดิมและขยายพื้นที่สื่อ และกิจกรรมที่สร้างสรรค์ใหม่สำหรับเด็กและเยาวชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ส่วนใหญ่องค์กรกรปกครองส่วนท้องถิ่นบรรจุไว้ในแผน 3 ปี และมีการดำเนินงานเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่มีผลงานดี (Good practice) เช่น อบต.บางพลับ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เทศบาลตำบลวังชัย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น 
  • สำนักนายกรัฐมนตรีมีตัวชี้วัดระดับประเทศเรื่องท้องไม่พร้อม (ตรวจบูรณาการ KPI ระดับกระบวนการ)   
  1. ภาคส่วนหลักทุกแห่งในระดับจังหวัดมีแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ที่มาจากแผนยุทธศาสตร์แบบบุรณาการของจังหวัด
  2. ร้อยละ 50 ของสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. สอศ. และ สป. (สช. และ กศน.) มีการเรียนการสอนเพศศึกษารอบด้านต่อเนื่องครอบคลุม
  3. ร้อยละ 30 ของโรงพยาบาล (รพศ รพท.รพร.รพช.)ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัด “คลินิกวัยรุ่น”  ผ่านเกณฑ์มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน
  4. ร้อยละ 30 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนปฏิบัติการและดำเนินการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์  ในปีงบประมาณ 2555 
  •    
  • มีตัวอย่างการดำเนินงานที่ดี เช่น ที่ ตำบลชอนสมบูรณ์ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี มีการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ โดยมีพระครูใบฎีกาทรงพล ชยนฺนโท เจ้าอาวาสวัดศรีรัตนารามชอนสมบูรณ์ จังหวัดลพบุรี เป็นแกนนำในการเชื่อมโยงกัลยาณมิตรขับเคลื่อนประเด็น “เด็กดีชอนสมบูรณ์” ด้วยยุทธศาสตร์การเปิดพื้นที่ดีดี สร้างสรรค์ให้เกิดการปลูกฝังจิตสำนึกของเยาวชนให้รักถิ่นฐาน รักสิ่งแวดล้อม และรักวัฒนธรรมประเพณี อีกทั้งมีการขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยสุขภาวะวัยเจริญพันธุ์เฝ้าระวังการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในพื้นที่ นำร่องตำบลชอนสมบูรณ์ อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 ผลที่เกิดขึ้นคือ โรงเรียนชอนสมบูรณ์ได้จัดทำข้อตกลงร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี เพื่อพัฒนาเสริมภูมิคุ้มกันและทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชอนสมบูรณ์ยังได้พัฒนากลยุทธ์ของสถานบริหารเพื่อเข้าถึงใจวัยรุ่นมากขึ้น ขณะนี้ขยายผลไปครอบคลุมทุกตำบลในอำเภอหนองม่วง และเป็นต้นแบบการดำเนินงานของจังหวัดลพบุรีแล้ว
  • เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์ตรัง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ได้จัดงานสมัชชาป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อมจังหวัดตรัง ประจำปี 2557 ในหัวข้อ “รวมพล..ร่วมคิด...กำหนดทิศทาง...ท้องไม่พร้อม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในการทำงานด้านดังกล่าว ในการรวบรวมฉันทามติหยุดปัญหาคุณแม่วัยเยาว์ที่จะมีการรณรงค์ให้ปลูกฝัง โดยเริ่มตั้งแต่ครอบครัวและโรงเรียน รวมทั้งให้โอกาสเยาวชนที่พลาดกลับมามีที่ยืนในสังคม 
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีการสนับสนุนทรัพยากร ในการดำเนินงานในระดับพื้นที่ (องค์ประกอบอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ปี 2555 = 13 อำเภอ และจะผลักดันให้ครบทุกอำเภอ ภายในปี 2559)
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานดังนี้
รายละเอียด: 

4.1 ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรณรงค์สร้างทัศนคติเชิงบวกเรื่องเพศในสังคม รวมทั้งปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน ครอบครัวและชุมชนมีความรับผิดชอบในเรื่องเพศ รู้จักเคารพในบทบาทหญิงชาย ปลูกฝังจริยธรรมและศีลธรรม ตลอดจนดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในเรื่องเพศอย่างจริงจัง และสนับสนุนให้สนับสนุนให้เกิดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ปรากฏสู่สังคมให้มากขึ้น

4.2 ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนและองค์กรในชุมชนเพื่อการเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็งในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

4.3 ร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครองในและนอกสถานศึกษา เครือข่ายครอบครัวและชุมชน เครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความรู้ ทัศนคติในเรื่องเพศเชิงบวก จริยธรรมและศีลธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมทั้งการจัดทำแนวทางเพื่อส่งเสริมให้สามารถสื่อสารเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัย และสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

4.4 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดบริการที่หลากหลาย เป็นมิตรแก่วัยรุ่น สนับสนุนการทำงานของศูนย์พึ่งได้ (OSCC) ศูนย์บริการที่เป็นมิตร ศูนย์ให้คำปรึกษาที่ทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมง งานบริการสุขภาพของสถานศึกษาทุกระดับ และรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมให้แก่เด็กนักเรียน นักศึกษาทั้งระหว่างการตั้งครรภ์และหลังการตั้งครรภ์

4.5 ร่วมกับคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติและคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ เข้มงวดในการจัดการพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน ตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ เช่น การบังคับใช้กฎหมายห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เยาวชน การควบคุมจำนวนและความหนาแน่นของร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกพื้นที่ และการควบคุม การทำการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

4.6 สนับสนุน เร่งรัด และผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.... ให้สามารถประกาศใช้ได้ ภายในปี พ.ศ.2554

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและศูนย์สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการรณรงค์เรื่องเพศเชิงบวกขึ้นในชุมชน โดยจัดกิจกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือเปิดประเด็นพูดคุยเรื่องเพศในชุมชนและการผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อใช้ในการสื่อสารเรื่องเพศ ทั้งนี้การรณรงค์เรื่องเพศเชิงบวกมีเป้าหมายเพื่อปรับทัศนคติเรื่องเพศในสังคมไทย จากที่มองเรื่องเพศเป็นเรื่องสกปรก ลามก อันตราย อย่าไปเรียนรู้ เปลี่ยนให้เป็นเชิงและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นการเจริญเติบโตจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ โดย สสส. ได้เผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์โดยการเปิดบูธตามตลาดนัด ประชาคมหมู่บ้าน โรงเรียน ศาลาวัดทั่วประเทศ
  • ในปี 2553-2554 สำนักบริหารการสาธารณสุข ได้ร่วมกับองค์การแพธ และมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการให้บริการปรึกษาทางเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศและประสบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยบูรณาการกับศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาล 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สวรรค์ประชารักษ์ ขอนแก่นและ ศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบคัดกรอง รูปแบบการให้คำปรึกษาทางเลือก และระบบการส่งต่อทางสุขภาพและสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม ให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างครบวงจร ซึ่งโรงพยาบาลนำร่องทั้ง 5 แห่งนี้ ต่างก็ได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการตามความเหมาะสมและตามศักยภาพของการให้บริการ โดยมีศูนย์พึ่งได้เป็นจุดเชื่อมและบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยบริการต่างๆภายในโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม ได้อย่างเป็นองค์รวม จากผลการดำเนินงาน พบว่า โรงพยาบาลนำร่องทั้ง 5 แห่งนี้ สามารถให้บริการช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมถึง 231 โดยราย ในจำนวนนี้ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ 95 ราย ยุติการตั้งครรภ์ 108 ราย และไม่สามารถติดตามได้ จำนวน 28 ราย 
  • เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจึงได้ดำเนินโครงการสร้างแกนนำและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้นำทางความคิด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยมีกลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือผู้นำทางความคิด ซึ่งประกอบด้วย บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ให้บริการ ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ครู ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้ดูแล เจ้าหน้าที่คุ้มครอง ผู้ทำงานเกี่ยวกับวัยรุ่น บุคคลที่วัยรุ่นชื่นชม สื่อมวลชน ผู้นำทางสังคมและชุมชนภายในจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด กลุ่มเป้าหมายจังหวัดละ 150 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 11,550 คน โดยมอบหมายให้บ้านพักเด็กและครอบครัว เป็นผู้ดำเนินการ
  • เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนาเรื่อง “วัยรุ่นเชียงใหม่ปลอดจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ภายในปี 2559”  ณ โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยมีตัวแทนจากองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เพื่อหารือแนวทางผลักดันยุทธศาสตร์ลดปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมภายในปี 2559 และเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันหารือถึงแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่มีความพร้อมในประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งพบว่า มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ตั้งเป้าจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวและทำให้การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นลดลงและหมดไปภายในปี 2559 ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ถูกต้องและเหมาะสมให้ทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมจึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งเพื่อน ครอบครัว ครูอาจารย์และสถาบันการศึกษา รวมไปถึงสังคมที่จะร่วมกันให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมและจำเป็นต่อวัยรุ่นเพื่อลดปริมาณการตั้งครรภ์โดยที่ไม่พร้อมในสังคมไทยให้ได้ในอนาคต
  • เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2556 โครงการประสานสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายและกลไกการศึกษาสภาวการณ์และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน (Child Watch) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงผลการวิเคราะห์ปัญหาแม่วัยรุ่นว่า พบสาเหตุอย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่ 1.สภาพครอบครัวที่เปลี่ยนแปลง เด็กมาจากครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ขาดความอบอุ่น ครอบครัวแรงงาน-ย้ายถิ่น ถูกละเลยและไม่มีเวลาเอาใจใส่ลูกหลาน 2.เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียน ขาดครูที่ปรึกษาที่ให้ความสนิทไว้วางใจ มีผลต่อทั้งค่านิยมและพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศ ทั้งการยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง ตลอดจนการทำแท้งเมื่อท้องไม่พร้อมปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนหนึ่งมาจากการที่วัยรุ่นหญิงไม่สามารถควบคุมการใช้ถุงยางคุมกำเนิดของฝ่ายชายได้เสมอไป ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจของโครงการ Child Watch ในช่วงปี 2553-2555 พบว่าเด็กที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วและ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์มีเพียงร้อยละ 33.4 และ มีวัยรุ่นหญิงที่ระบุว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดเป็นอย่างดี เพียงร้อยละ 26.7 ดังนั้นการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ที่ได้ผลชะงัด จึงควรเน้นที่ตัววัยรุ่นหญิงให้เข้าใจและเข้าถึงอุปกรณ์คุมกำเนิดของเพศหญิงเป็นสำคัญ ส่วนการ ผลักดันการทำแท้งถูกกฎหมายในหลายประเทศกลับพบว่าไม่สามารถแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้มีประสิทธิภาพมากเท่ากับสองวิธีข้างต้น โครงการ Child Watch ร่วมกับ สสส. และภาคี จึงเสนอให้รัฐสกัดปัญหาแม่วัยรุ่นอย่างจริงจัง โดยการปฏิรูปผู้สอนในวิชา ที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต-เพศศึกษา การสอนให้เด็ก “รู้จักเท่าทันความเสี่ยง” จากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ให้เด็กรู้จักป้องกันตนเองและมี “ทักษะประเมิน ความเสี่ยง” และ “ทักษะการปฏิเสธ” การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ เหมาะสม และการทำให้อุปกรณ์คุมกำเนิดของเพศหญิงเข้าถึงง่าย ควบคู่กับการสอนเพศศึกษาเชิงจริยธรรม ให้เด็กเคารพเพศตรงข้าม และรู้จักชะลอการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กที่มาจากครอบครัวไม่สมบูรณ์ ขณะนี้ โครงการ Child Watch กำลังพัฒนากลไกการจัดการเชิงพื้นที่ให้เกิดศูนย์ศึกษาและขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนใน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศเพื่อขับเคลื่อนการแก้ถุงยางอนามัยสตรีปัญหานี้
  • วันที่ 8 มีนาคม 2557 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดนิทรรศการมีชีวิต “SEX วัยรุ่น..เลือกได้” เพื่อรณรงค์สื่อสารไปยังเด็ก เยาวชนให้ได้รับข้อมูลและกระตุ้นให้ฉุกคิด นำไปสู่การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  • กรมอนามัยร่วมกับ สช. จัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วย การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม 
  • กรมอนามัยได้เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ........... ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
  • สำนักกฤษฎีกาได้มีข้อทักท้วงในแง่ของความซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่เดิมแล้ว และเสนอแนะให้ออกกฎหมายที่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการอนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งมีสาระครอบคลุม 10 องค์ประกอบ รวมทั้งมีการกำหนดกลไกการทำงานให้ครอบคลุม
  • วันที่ 26 กันยายน 2556 มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องผู้หญิง (สคส.) เรียกร้องให้ออก พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ พ.ศ...... ให้ออกเป็นกฎหมายที่ชัดเจนด้วยการผลักดันเป็นร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 4 ภาค ก่อนที่จะรวบรวม ประมวลผลและแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ก่อนจะทำการขับเคลื่อนในกลุ่มนักการเมือง พรรคการเมือง กระทรวงที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเสนอได้ในเดือนกันยายน 2557 
     
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2557 กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งพัฒนาการบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ป้องกันการตั้งครรภ์ โดยเน้นการทำงานเชื่อมโยงร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่  ซึ่งจะเป็นหลักในการทำงานเชิงรุก ใช้ความเชี่ยวชาญเป็นเครือข่ายให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์แก่เด็กนักเรียน ส่วนสถานบริการสาธารณสุข ให้บริการเชิงรับ ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ เมื่อมีผลกระทบเกิดขึ้น ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดฯทั่วประเทศ ได้ตั้งคลินิกบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและใช้บริการด้านสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ที่ง่าย เร็ว อบอุ่น และปลอดภัย จากการรับฟังผลการดำเนินงานของรพ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ซึ่งได้เปิดให้บริการเมื่อ     พ.ศ.2555 พบว่าได้ผลดี อัตราการเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์ที่คลินิกเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว จาก 108  รายในปี 2556 เพิ่มเป็น 401 ราย ในปี 2557  ปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเพิ่มขึ้นเกือบ 11  เท่าตัว จากเดิม 18 ราย  เป็น 190 ราย โดยเป็นวัยรุ่นร้อยละ 50 และเป็นผู้ที่อยู่นอกพื้นที่อ.ห้วยราชร้อยละ 83  ขณะเดียวกันยังได้รับรายงานว่าโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนคุณธรรมหลายแห่ง เช่นที่โรงเรียนบ้านบุ ต.หนองพลวง  อ.จักราช จ.นครราชสีมา ว่านอกจากจะสามารถสร้างภูมิภูมิคุ้มกันเยาวชนไทย ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด หรือเรื่องเพศได้แล้ว ยังป้องกันปัญหาเด็กนักเรียนตั้งครรภ์ได้ด้วย   จึงมั่นใจว่าหากมีความร่วมมือกันทั้งครูกับหมอ และหน่วยงานอื่นๆ อย่างจริงจังแล้ว จะสามารถแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2557 ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ซึ่งมี 4 จังหวัดคือนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ และคณะ ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลห้วยราช อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ เพื่อรับฟังการดำเนินงานจัดบริการสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และคลินิกวัยรุ่น ตรวจเยี่ยมศูนย์เพื่อนใจทูบีนัมเบอร์วัน และโครงการพูดคุยในครอบครัว  เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 9 ได้พัฒนาระบบบริการ โดยจัดตั้งเครือข่าย   การดูแลและส่งต่อวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยในโรงพยาบาลทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 9 โดยใช้ทีมแพทย์อาสาจากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่าย  ใช้ยุทธศาสตร์ 4 ด้านคือ1.สร้างค่านิยมไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยรณรงค์ให้ความรู้ในกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้ปกครอง ครู ให้เข้าใจถึงพัฒนาการ พฤติกรรมของวัยรุ่น 2. สร้างค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย คุมกำเนิดที่ถูกวิธี และประสานความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในการสนับสนุนให้วัยรุ่นเข้าถึงการคุมกำเนิดที่เหมาะสม 3.ให้บริการฝากครรภ์ที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยตั้งใจและตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม แต่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อหลังรับคำปรึกษา เพื่อลดปัญหาเด็กทารกน้ำหนักตัวน้อย และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และ4. การให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน กรณีที่วัยรุ่นไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้  เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย 
  • วันที่ 23 มกราคม 2558 นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2558 ถึงสาระสำคัญของการประชุม สรุปได้ดังนี้ 1.ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยมุ่งเน้นที่การสร้างความรู้ความเข้าใจการศึกษากรณีต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.พนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาทำงานด้านนี้ จะต้องมีการตรวจสุขภาพจิต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางสภาวะจิตใจก่อนปฏิบัติงาน 3.ที่ประชุมพูดถึงการพิจารณาสนับสนุนเงินจากกองทุนคุ้มครองเด็กที่กระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ก็เพื่อต้องการให้มีการขับเคลื่อน ป้องกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ให้พื้นที่แก้ปัญหาให้ตรงกับประเด็นที่เกิดขึ้นจริง 4.คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ควรมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการขับเคลื่อน เพื่อให้การทำหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาครบถ้วนและครอบคลุมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 5.การประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กำหนดจะจัดขึ้นทุกๆ 3 เดือน 6.มีจังหวัดตัวอย่างที่ทำงานการแก้ปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นแล้ว ประสบความสำเร็จ คือ จ.สระแก้ว และ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งสามารถเป็นจังหวัดต้นแบบที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำมาขยายผลสู่จังหวัดอื่นๆ ซึ่งทั้งสองจังหวัดนี้มีกระบวนการจัดการในการแก้ไขปัญหา โดยการต้องดูเป็นรายกรณี เจาะลึกในแต่ละรายถึงต้นเหตุปัญหา เพื่อจะได้แก้ตรงจุด ทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลงได้อย่างน่าพอใจ
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดเวที สช.เจาะประเด็น “สานพลังสังคม...สกัดท้องวัยทีน” ที่ประชุมพบว่า การติดตามอัตราการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี ในปี 2556 พบว่า สัดส่วนอยู่ที่ 52 คน ต่อประชากรหญิงวัยเดียวกัน 1,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าค่ากลางที่ 50 คนต่อประชากรพันคน จากการสำรวจพบสัดส่วนมากในพื้นที่ จ.ชลบุรี และ จ.สมุทรสาคร อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสอบถามกลุ่มที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ประมาณเกือบร้อยละ 5 ถูกใช้กำลังบังคับจากฝ่ายชาย 2. กลุ่มวัยรุ่นที่เลือกมีเพศสัมพันธ์เอง โดยไม่ถูกบังคับลักษณะยินยอมพร้อมใจอีกร้อยละ 30 และ 3.กลุ่มที่ปล่อยให้บรรยากาศพาไป คือไม่ได้ตั้งใจจะมีเพศสัมพันธ์ แต่ด้วยบรรยากาศอีกร้อยละ 70 ซึ่งช่วงวันวาเลนไทน์จะพบกลุ่มนี้มาก เนื่องจากเทศกาล และบรรยากาศชักจูงง่าย อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพ่อแม่ ต้องรู้จักสื่อสารให้เป็น และกล้าที่จะคุยเรื่องเพศกับลูกโดยต้องหาโอกาสที่ดีในการสอน เช่น ในเทศกาลวาเลนไทน์ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสอนเรื่องเพศส่วนการสอนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนนั้น อยากให้มีการปรับการสอน เนื่องจากที่ผ่านมาหากสอนตามหลักสูตรจะเน้นความรู้แต่ในชีวิตเด็กใช้ทักษะทำให้ความรู้ที่ได้ไม่ทันกับการใช้งานของเด็ก แต่ไม่ใช่ความรู้ไม่สำคัญ
  • เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ศ.นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สตรีท้องไม่พร้อม และการแท้งที่ไม่ปลอดภัย จัดโดยมูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) ร่วมกับแพทยสภา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายงานอนามัยวัยรุ่น เขตสุขภาพที่ 9 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการให้บริการวัยรุ่นและสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม  โดยมีแพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุมกว่า 300 คน ศ.นพ.รัชตะได้ช้แจงว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญการส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ และเร่งจัดระบบป้องกันแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ เน้นการบูรณาการทำงานใกล้ชิด 7 กระทรวง เนื่องจากปัญหาและการแก้ไขต้องเชื่อมโยงกัน ได้แก่ สาธารณสุข พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาธิการ วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มหาดไทย  กระทรวงแรงงาน  และองค์กรเอกชน  โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ. 2558-2567 มี 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.การเสริมสร้างทักษะชีวิตและเพศศึกษารอบด้านแก่วัยรุ่น 2.การเสริมสร้างบทบาทครอบครัวและชุมชนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหา 3.จัดให้มีระบบบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร โดยกระทรวงสาธารณสุขเปิดคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาล 541 แห่ง ให้บริการให้คำปรึกษา ระบบการส่งต่อ บริการคุมกำเนิดฟรี เมื่อวัยรุ่นมีความจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จะได้รับสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับผู้มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาตรฐานสากล จะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศและขยายลงถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพื่อบริการในชุมชน ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น เนื่องจากในปี2556 พบวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ตั้งครรภ์ซ้ำมากถึง 15,295 คน โดยจัดทำโครงการถุงยางอนามัยแห่งชาติ ให้ประชาชนเข้าถึงทุกกลุ่ม ซึ่งจะแจกถุงยางอนามัย 53.7 ล้านชิ้น และแจกถุงยางอนามัยสตรี 1 แสนล้านชิ้น เฉพาะกลุ่มวัยรุ่นแจก 37 ล้านชิ้น เพื่อป้องกันทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกโรคและการตั้งครรภ์ด้วย และให้วัยรุ่นได้เข้าถึงการคุมกำเนิดกึ่งถาวร ทั้งยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 จัดให้มีระบบช่วยเหลือดูแลและบำบัดฟื้นฟูให้สวัสดิการทางสังคมแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตร 5.มีการสื่อสารและส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ค่านิยมทัศนคติที่เหมาะสม และ6.จัดกลไกเชื่อมประสาน ขับเคลื่อนนโยบาย กำกับติดตามเฝ้าระวัง ประเมินผล ระดับประเทศและพื้นที่ โดยตั้งเป้าหมายลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  • วันที่ 24 เมษายน 2558 จากเอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนามาตรฐานของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น (YFHS) เพื่อให้บริการวัยรุ่นและเยาวชน รวมทั้งเพื่อให้ภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ท้องถิ่น ชุมชนมีแนวทางการทำงานร่วมกัน เกิดการบูรณาการการทำงานและมีรูปแบบการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นรูปธรรมที่ยั่งยืน ปัจจุบันมีโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์ YFHS จำนวน 438 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 51.27 ของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (835 แห่ง) และมีอำเภอผ่านเกณฑ์การประเมินอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ จำนวน 320 อำเภอคิดเป็นร้อยละ 36.45 (จาก 878 อำเภอ) นอกจากนี้ได้ดำเนินโครงการ Be Sure (ให้ความรู้ด้านการคุมกำเนิดผ่านร้านขายยา) ปรึกษาได้ มั่นใจชัวร์แก่ร้านขายยาตามเป้าหมายเพื่อให้สามารถให้คำปรึกษาวัยรุ่นและประชาชนเกี่ยวกับการคุมกำเนิดชนิดต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  •  
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5
รายละเอียด: 
  • ได้รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 แล้ว
เอกสารหลัก: