You are here


การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล
สมัชชาครั้งที่: 
5
มติที่: 
2
ชื่อมติ: 
การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล
ผลการปฏิบัติงาน: 
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ประชุมมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 และมอบหมายให้ 1) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป  และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่ามติใดสมควรเสนอให้ คสช. พิจารณา ให้เสนอ คสช. พิจารณาต่อไป เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2556 รับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง “การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล” เพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการจัดการและควบคุมดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาวะของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าชีวมวล และได้มีมติให้จัดประชุมร่วมโดยเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นประธานการประชุม เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติดังกล่าวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ประชุมมีมติเรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยได้มอบหมายให้ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในฐานประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพ รวบรวมการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าใน 12 จังหวัด ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบการดำเนินการของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าใน 12 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุดรธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และชุมพร ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพลังงานและแผนแม่บทพลังงานชีวมวลจังหวัด โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้ให้ปรับปรุงบัญชีประเภทกิจการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและกรมโยธาและผังเมือง ร่วมกันหาข้อสรุปในการแยกประเภทกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลออกมาให้ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานการอนุญาต การประเมินผลกระทบ และการกำหนดโซนนิ่งพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในผังเมืองไม่ให้กระทบต่อวิถีชุมชนและเกษตรกรรม ส่วนคณะกรรมการสาธารณสุขอยู่ระหว่างกำหนดให้โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อเพชรบูรณ์ สุขภาพตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ส่วนกรมควบคุมมลพิษให้มีมาตรการเฝ้าระวังในระดับพื้นที่และจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมหากมีปัญหาเกิดขึ้นด้วย ขณะที่ สช.อยู่ระหว่างสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในระดับชุมชน (CHIA) เพื่อให้การอนุมัติโครงการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นไปอย่างรอบคอบ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และแผนการขับเคลื่อนมติฯ ตามที่ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอนั้น สช.ได้ประสานงานการทำงานกับหน่วยงานรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันนำมติคณะรัฐมนตรีนี้ไปขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาพลังงานและแผนแม่บทพลังงานชีวมวลระดับจังหวัด การจัดแบ่งประเภทโรงไฟฟ้าตามกฎหมายโรงงานและการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมือง การพัฒนามาตรการทางกฎหมายที่ให้มีการนำมาตรการต่างๆ ตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ได้รบการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (ประเภทเชื้อเพลิงแข็ง) การพิจารณากำหนดให้กิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 การส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในระดับชุมชน (Community Health Impact Assessment : CHIA) เป็นเครื่องมือ                   นอกจากนี้มี 2 ประเด็นที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเพิ่มเติมคือ ให้กระทรวงพลังงานเร่งรัดให้มีการลด ละ เลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล และประเด็นเรื่องการประกาศให้มีการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งได้มอบให้กระทรวงพลังงานและ สกพ. ปรับปรุง CoP ให้ครอบคลุมการจัดการมลพิษให้รอบด้านมากขึ้น รวมทั้งมอบหมายให้กรมอนามัยศึกษาผลกระทบจากโรงไฟฟ้า แล้วนำมาพิจารณาประกอบการประกาศเป็นกิจการที่เป็นอันตรายตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ต่อไป 
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพิจารณาเร่งรัดดำเนินการดังนี้
รายละเอียด: 

1.1 ขอให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาศักยภาพในการรองรับการพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลในภาพรวมของจังหวัด จัดทำแผนพัฒนาพลังงานและแผนแม่บทพลังงานชีวมวลของแต่ละจังหวัด โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาและอนุญาตโครงการโรงไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่

1.2 ขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงมาตรฐานและหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมือง เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล

1.3  ขอให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ปรับปรุงบัญชีประเภทอุตสาหกรรมประเภทกิจการโรงไฟฟ้า โดยให้แบ่งเป็นประเภทย่อย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดมาตรการควบคุมและการป้องกันผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล

1.4  ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทบทวนปรับปรุงประกาศหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการออกใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาต ให้ครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้

(1)  กำหนด ที่ตั้งและระยะห่างที่ชัดเจนและเหมาะสม ระหว่างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีขนาดกำลังผลิตต่าง ๆ กับชุมชน สาธารณสถาน แหล่งน้ำสาธารณะ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และโรงไฟฟ้าชีวมวลโครงการอื่น โดยให้มั่นใจได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน

(2) ปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าชีวมวล ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์คุณภาพน้ำทิ้งและอากาศเสียที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้า คุณภาพเชื้อเพลิง ประสิทธิภาพของเตาเผา ตะแกรงดักฝุ่นละออง รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันและลดผลกระทบ

(3) จัดทำแผนสนับสนุนให้มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล และมีมลพิษต่ำ

(4) เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในเรื่องการจัดเก็บเชื้อเพลิงและขี้เถ้าในระบบปิด และมาตรการในการขนส่งเชื้อเพลิงและขี้เถ้าให้สามารถป้องกันฝุ่นปลิวได้

(5) ให้มีมาตรการลงโทษทางแพ่งและอาญา รวมถึงการเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบการที่ขาดคุณสมบัติหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมาย เพื่อเปิดเผยให้สาธารณะได้รับทราบ

(6) ให้มีการจัดตั้งกองทุนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือ เยียวยา รวมถึงการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล

(7) ให้เปิดเผยข้อมูลผลการปฏิบัติตามแผนและมาตรการป้องกันและลดผลกระทบของโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สาธารณะได้รับทราบ

(8) ห้ามใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล

(9) ให้มีการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อย่างมีคุณภาพในทุกขั้นตอน โดยปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 56 57 58 59 66 และ 67

1.5 ขอให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาคู่มือและแนวทางการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล  เผยแพร่และสร้างความเข้าใจในการศึกษาข้อมูล และการมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในระดับชุมชน (Community Health Impact Assessment: CHIA) ทั้งก่อนการอนุญาต การติดตามตรวจสอบ และการเฝ้าระวัง

1.6 ขอให้กรมอนามัย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังนี้

(1) ศึกษาและจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อควบคุมป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล

(2) เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวดกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้การประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การสร้างและประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลในทุกขนาดจำเป็นต้องมีแผนป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ

(3) สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อควบคุมกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล ติดตาม และประเมินผล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน

1.7 ขอให้สำนักงานปลัดกระทรวง (สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ที่ 1 – 16) และกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและสนับสนุนอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังตรวจสอบ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าชีวมวล รวมถึงสนับสนุนการจัดทำแผนเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ที่ คสช. แต่งตั้งได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบ ได้แก่ 
    • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตต่ำกว่า 10 เมมกกะวัตต์
    • กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาสถานะสุขภาพของชุมชนบริเวณโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดอุบลราชธานี และอยู่ระหว่างพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อศึกษาการประกาศให้การประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
    • กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีการปรับโครงสร้างให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคมาอยู่ภายใต้สังกัดกรมควบคุมมลพิษเข้ามารับผิดชอบทำหน้าที่เฝ้าระวังในระดับพื้นที่และจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ในกรณีมีปัญหาร้องเรียนซึ่งมาตรการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับสาระสำคัญตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
    • คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติให้จัดประชุมร่วมโดยเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ประธาน คสช. เป็นประธานการประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติดังกล่าวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 
  • เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2556 รับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่อง “การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล” เพื่อสนับสนุนให้เกิดมาตรการจัดการและควบคุมดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาวะของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าชีวมวล และได้มีมติให้จัดประชุมร่วมโดยเชิญผู้แทนจากคณะกรรมการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นประธานการประชุม เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติดังกล่าวร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ประชุมมีมติเรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยได้มอบหมายให้ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในฐานประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพ รวบรวมการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าใน 12 จังหวัด ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบการดำเนินการของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าใน 12 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุดรธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และชุมพร ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพลังงานและแผนแม่บทพลังงานชีวมวลจังหวัด โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้ให้ปรับปรุงบัญชีประเภทกิจการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและกรมโยธาและผังเมือง ร่วมกันหาข้อสรุปในการแยกประเภทกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลออกมาให้ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานการอนุญาต การประเมินผลกระทบ และการกำหนดโซนนิ่งพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในผังเมืองไม่ให้กระทบต่อวิถีชุมชนและเกษตรกรรม ส่วนคณะกรรมการสาธารณสุขอยู่ระหว่างกำหนดให้โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ส่วนกรมควบคุมมลพิษให้มีมาตรการเฝ้าระวังในระดับพื้นที่และจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจดคุณภาพสิ่งแวดล้อมหากมีปัญหาเกิดขึ้นด้วย  ขณะที่ สช.อยู่ระหว่างสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในระดับชุมชน (CHIA) เพื่อให้การอนุมัติโครงการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นไปอย่างรอบคอบ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2556  การดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้จัดทำแนวทางในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นหลักเกณฑ์การปฏิบัติ (Code of Practice: COP) เป็นหลักปฏิบัติของโรงไฟฟ้าชีวมวลในการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกลไกในการควบคุมและกำกับโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ 
  • เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3/2556 มีมติต่อมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ดังนี้

            (1) เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ปรับปรุงตามเสนอ

            (2) เห็นชอบแผนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล

            (3) เห็นชอบให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ ข้างต้น พร้อมแผนการขับเคลื่อนฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป

  • เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3/2556 มีมติต่อมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ดังนี้

            (1) เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ปรับปรุงตามเสนอ

            (2) เห็นชอบแผนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล

            (3) เห็นชอบให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติฯ ข้างต้น พร้อมแผนการขับเคลื่อนฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป

  • เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ฝ่ายสังคมและกฎหมาย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2556 วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ประธานกรรมการ เสนอ ที่เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมทั้งแผนการขับเคลื่อนมติฯ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติฯ ที่เกี่ยวข้องต่อไปยกเว้นประเด็นการห้ามใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล และให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศให้โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ และให้ดำเนินการ ดังนี้

          (1) การห้ามใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล (ตามมติฯ ข้อ 1.4 (8) มอบหมายให้กระทรวงพลังงานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการในการลดและเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลให้ชัดเจนโดยเฉพาะในโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีขนาดกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวมต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์

         (2) การให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศให้โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข (กรมอนามัย) ร่วมกับกระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการปรับปรุงการจัดทำประมวลหลักการปฏิบัติงาน (COP) โดยให้มีมาตรการควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอย่างครอบคลุมด้วย และให้กรมอนามัยในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาความเหมาะสมในการออกประกาศตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้การประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อไป

  • เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2556 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่องการป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และแผนการขับเคลื่อนมติฯ ตามที่ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอนั้น สช.ได้ประสานงานการทำงานกับหน่วยงานรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันนำมติคณะรัฐมนตรีนี้ไปขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้แก่
  1. การจัดทำแผนพัฒนาพลังงานและแผนแม่บทพลังงานชีวมวลระดับจังหวัด
  2. การจัดแบ่งประเภทโรงไฟฟ้าตามกฎหมายโรงงานและการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมือง การพัฒนามาตรการทางกฎหมายที่ให้มีการนำมาตรการต่างๆ ตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ได้รบการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (ประเภทเชื้อเพลิงแข็ง)
  3. การพิจารณากำหนดให้กิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
  4. การส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในระดับชุมชน (Community Health Impact Assessment : CHIA) เป็นเครื่องมือ

            นอกจากนี้มี 2 ประเด็นที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเพิ่มเติมคือ ให้กระทรวงพลังงานเร่งรัดให้มีการลด ละ เลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล และประเด็นเรื่องการประกาศให้มีการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งได้มอบให้กระทรวงพลังงานและ สกพ. ปรับปรุง CoP ให้ครอบคลุมการจัดการมลพิษให้รอบด้านมากขึ้น รวมทั้งมอบหมายให้กรมอนามัยศึกษาผลกระทบจากโรงไฟฟ้า แล้วนำมาพิจารณาประกอบการประกาศเป็นกิจการที่เป็นอันตรายตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ต่อไป

  • วันที่ 24 ธันวาคม 2557 กรมควบคุมมลพิษได้มีการกำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษของโรงไฟฟ้าชีวมวลไว้ แต่การติดตามเฝ้าระวังที่ดีควรมาจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนด้วย ซึ่งทางกรมควบคุมมลพิษมีการจัดทำคู่มือการเฝ้าระวังอย่างง่ายให้ประชาชนได้ศึกษา เช่น การดูจากฝุ่นละอองและน้ำที่มีสีเปลี่ยนแปลงไป
  • เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการตั้งทีมวิชาการลงพื้นที่ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลกระทบด้านสุขภาพระหว่างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ และมากกว่า 10 เมกะวัตต์ คาดว่า ผลการศึกษาน่าจะมีข้อสรุปชัดเจนในปี 2558
  • เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 คณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้ทำ HIA ของโครงการโรงไฟฟ้าขยะ 2 โรง ที่ จ.หนองคาย และ จ.สระบุรี หวั่นสุขภาวะชุมชนและสภาพแวดล้อมย่ำแย่ เตรียมระดมทุกภาคส่วน ร่วมกันวางกรอบการตัดสินใจที่เหมาะสมกับโรงไฟฟ้าขยะทั่วประเทศ ป้องกันผลกระทบและลดความขัดแย้งในพื้นที่ นพ.วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558 ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบการจัดทำ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) ตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ 2 แห่ง ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยชุมชนของ บริษัท หนองคายน่าอยู่ จำกัด ตั้งอยู่ที่ ต.โพนสว่าง อ.เมือง จ.หนองคาย กำลังการผลิต 4.9 เมกะวัตต์ และ โครงการโรงไฟฟ้าขยะจากสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและไม่เป็นอันตรายของบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย จ.สระบุรี กำลังการผลิต 9.4 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้มีการทำงานในระดับนโยบายภาพรวม เพื่อสร้างกรอบการพัฒนาและตัดสินใจที่เหมาะสม รวมถึงลดผลกระทบที่อาจจะตามมา และเป็นการลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในรายพื้นที่ โดยให้ทำงานร่วมกับคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่มี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธาน โดยอาจจะจัดเวทีหารือร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนในพื้นที่ หน่วยราชการ นักวิชาการ ภาคเอกชน จัดทำข้อมูลทางวิชาการ โครงสร้าง กระบวนการ รูปแบบมาตรฐานของโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย เพื่อนำไปสู่กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพต่อไป 
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ได้จัดให้มีการรายงานต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 ในระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2557
เอกสารหลัก: