You are here


การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสั...
สมัชชาครั้งที่: 
5
มติที่: 
3
ชื่อมติ: 
การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย
ผลการปฏิบัติงาน: 
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ประชุมมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 และมอบหมายให้ 1) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป  และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่ามติใดสมควรเสนอให้ คสช. พิจารณา ให้เสนอ คสช. พิจารณาต่อไป มติการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย มีข้อมติที่ “ขอให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกำลังคน้านสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่จัดทำ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกาสำหรับกำลังคนด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อขอรับการรับรองในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ตามความเหมาะสม” คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ที่มี นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธานได้เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าว และได้มีคำสั่งที่ 1/2556 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาและจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับกำลังคนด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ที่มี นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธาน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การผลิต การพัฒนา การสรรหากำลังคนด้านสุขภาพ พร้อมทั้งยก (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับกำลังคนด้านสุขภาพในทศวรรษที่ 21 จัดให้มีสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในทศวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) ตามมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย  และให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว โดยมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธานกรรมการ ศ.ร.อ.อ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว เป็นกรรมการและเลขานุการ มีกรรมการไม่เกิน 40 คน วาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี มีหน้าที่และอำนาจในการเชื่อมประสานองค์กร ภาคีเครือข่าย และสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม ประเมินผลความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) และมติสมัชชาสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพสู่การปฏิบัติจองฝ่ายต่างๆ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และรายงานต่อสาธารณะในช่องทางที่เหมาะสม สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการมอบหมายให้ประธานและเลขานุการพิจารณา เสนอประธาน คสช. แต่งตั้งต่อไป ทั้งนี้ให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งข้อสังเกตของคณะกรรมการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้ทราบด้วย มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557  
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ โดยมีองค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ ดังนี้
รายละเอียด: 

1.1 คณะอนุกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วน ได้แก่ สถาบันการศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ที่ผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ ผู้ใช้บุคลากรด้านสุขภาพ ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนนักศึกษา ผู้แทนสภาหรือองค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในสัดส่วนและจำนวนที่เหมาะสม  

1.2 คณะอนุกรรมการมีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับกระบวนการสรรหา การผลิต การวางแผนและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายด้านคุณภาพของการบริการในทุกระดับ ด้วยกระบวนการระดมสรรพปัญญา ประสบการณ์ และนวัตกรรม การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง  และการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี และเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์เพื่อขอการรับรองในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ตามความเหมาะสม  แผนยุทธศาสตร์นั้นยึดหลักการสำคัญ ได้แก่  การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตบุคลากรและผู้ใช้บุคลากรในระบบบริการสุขภาพภายใต้บริบทของประชาคมอาเซียน การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนตัวอย่างรวมถึงประสบการณ์ที่ดีระหว่างบุคลากรสุขภาพในสาขาต่างๆ การเพิ่มองค์ความรู้ด้านการบริหารงาน การบริหารความขัดแย้งและกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับสุขภาพ การส่งเสริมนวัตกรรมในการจัดการศึกษา  การสร้างจิตสำนึกสาธารณะ การเคารพในศักดิ์ศรี และให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในการจัดการศึกษาและการกระจายบุคลากรสุขภาพ การสนับสนุนให้มีงานวิจัยและนำผลมาใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน เป็นต้น

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556 การประชุมครั้งที่ 1/2556 ของคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ที่มี นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธานได้เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าว และได้มีคำสั่งที่ 1/2556 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาและจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับกำลังคนด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ที่มี นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธาน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การผลิต การพัฒนา การสรรหากำลังคนด้านสุขภาพ พร้อมทั้งยก (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับกำลังคนด้านสุขภาพในทศวรรษที่ 21 และเมื่อคณะอนุกรรมการฯ เสนอ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ฯ ต่อคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมการฯ จึงได้มีคำสั่ง 4/2556 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย  โดยมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธานคณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ
  • จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2556
  • จัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในทศวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) มีผู้แทนจากองค์กรภาคีต่างๆ ประมาณ 150 คน เข้าร่วมประชุม ได้แก่ เครือข่ายพื้นที่ สถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ องค์กรภาคเอกชน ภาคเอกชน ซึ่งที่ประชุมมีฉันทมติรับรองแผนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในทศวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) มีสาระสำคัญได้แก่

          1. วิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์ฯ : การศึกษา คุณภาพ เสมอภาค เพื่อสมรรถนะและหัวใจบุคลากรด้านสุขภาพ

          2. เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 

          Equity : มีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาและการจัดการศึกษา

          Integration : มีความร่วมมือระหว่างระบบการจัดการศึกษากับระบบสุขภาพ

          Innovation : มีนวัตกรรมและการวิจัยทั้งในด้านการจัดการศึกษาและการบริการ

          Responsiveness and Relevancy : มีแหล่งข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นและสอดคล้องกับวิถีแห่งสุขภาพและความต้องการของประชาชน

          Humanistic health care : มีการจัดบริการสุขภาพด้วยจริยธรรมและหัวใจความเป็นมนุษย์

       3. ดัชนีวัดผลสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์

  1. สัดส่วนการรับเข้าเรียนจากชนบทและเมือง
  2. ค่าใช้จ่ายต่อหัวที่เหมาะสมในการผลิตต่อบุคลากรในสถานศึกษา
  3. จำนวนงานวิจัยทางด้านการศึกษาและนวัตกรรมการบริการที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงการจัดการศึกษาและการบริการสุขภาพ
  4. บุคลากรที่ผลิตเพื่อรองรับการบริการทางสุขภาพในอนาคต มีคุณลักษณะ ทักษะและความรู้ ความสามารถ สอดคล้องกับความต้องการและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและสภาวิชาชีพ
  5. ทัศนคติและจิตสำนึกของผู้เรียนต่อการทำงานในชนบทและการเลือกทำงานในชนบท
  6. สัดส่วนการสมัครเข้าทำงานและการยังคงทำงานในชนบทและเมืองหลังจากจบการศึกษา
  7. ความพึงพอใจ การร้องเรียนของผู้รับบริการสุขภาพ/ผู้ใช้บัณฑิต โดยรวมถึงการบริการด้วยจริยธรรมและหัวใจของความเป็นมนุษย์
  8. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้บุคลากรด้านสุขภาพ วิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

     4. ประเด็นยุทธศาสตร์สู่วิสัยทัศน์ ประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่ (1) การกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับกำลังคนด้านสุขภาพ โดยใช้หลักฐานทางวิชาการ (2) การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้กำลังคนด้านสุขภาพ (3) การปฏิรูปการบริหารจัดการในสถาบันการศึกษา (4) การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการการเรียนการสอน (5) การจัดการความรู้ (6) การสร้างเครือข่ายสู่การปฏิรูปการศึกษากำลังคนด้านสุขภาพ

  • กลไกขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ โดยในแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย ที่ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานรัฐ สถาบันวิขาการ สภาวิชาชีพ กลุ่มสถาบันหรือสมาคมของสถาบันการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ องค์กรนักศึกษาวิขาชีพสุขภาพ ผู้ให้บริการสุขภาพ องค์กรภาคเอกชนด้านคุ้มครองผู้บริโภค อาสาสมัคร และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ด้วยจำนวนและสัดส่วนที่เหมาะสมและให้มีการจัดตั้งสำนักงานเลขานุการที่มีบุคลากรทำงานเต็มเวลา ให้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
  • เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 การประชุม คสช. ครั้งที่ 1/2557 ที่ประชุมเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในทศวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) ตามมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย และให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว โดยมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธานกรรมการ ศ.ร.อ.อ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว เป็นกรรมการและเลขานุการ มีกรรมการไม่เกิน 40 คน วาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี มีหน้าที่และอำนาจในการเชื่อมประสานองค์กร ภาคีเครือข่าย และสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม ประเมินผลความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) และมติสมัชชาสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพสู่การปฏิบัติจองฝ่ายต่างๆ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และรายงานต่อสาธารณะในช่องทางที่เหมาะสม สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการมอบหมายให้ประธานและเลขานุการพิจารณา เสนอประธาน คสช. แต่งตั้งต่อไป ทั้งนี้ให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งข้อสังเกตของคณะกรรมการให้คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้ทราบด้วย
  • วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561)
  • การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 เป็นการทำงานขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและเป็นกลไกทำงานภาพใหญ่ที่เชื่อมโยงหน่วยงานหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน ในการประชุมครั้งนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง กระบวนทัศน์ใหม่และยุทธศาสตร์การวางแผนและผลิตบุคลากรด้านสุขภาพในทศวรรษที่ 21
  • การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ 21 (พ.ศ.2557-2561) ในวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ซึ่งมีองค์ประกอบคณะกรรมการจากทุกวิชาชีพ รวมทั้งจากกระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลระบบสุขภาพ มีหน้าที่กำกับดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของบุคลากรด้านสุขภาพ โดยไม่ใช่เฉพาะการศึกษาเพื่อปริญญาหรือใบประกาศเท่านั้น ยังดูแลการศึกษาตลอดวิชาชีพหรือตลอดชีวิต ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ศ.นพ.จรัส สุวรรณแวลา และ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะที่ปรึกษา
  • การประชุมระดับชาติและนานาชาติเรื่อง การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2557 ผลการประชุมจะมีการตั้งมูลนิธิการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติขึ้นมาทำงานนี้ในระยะยาว 
  • เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ความก้าวหน้าเรื่องการปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดกระบวนรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อหาแนวทางปฏิรูปการศึกษากระบวนการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเสมอภาค ทั้งนี้แนวทางการผลิตบุคลากรสาธารณสุขจะมุ่งเน้นให้บุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน และเปิดให้ทุกวิชาชีพได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน โดยวิธีการเรียนรู้จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและใช้การมีประสบการณ์ตรงเพื่อสร้างการเรียนรู้ ในส่วนของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้จัดทำยุทธศาสตร์ปี 2557-2561 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ “มุ่งพัฒนาสังคมแห่งสุขภาพ ด้วยความรับผิดชอบตามมาตรฐานคุณภาพทางเทคนิคการแพทย์ อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสังคมสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน” เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง มีรายละเอียดของเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบงานบริการเทตนิคการแพทย์และมาตรฐานห้องปฏิบัติการให้มีความพร้อม 2) สร้างสมรรถนะเทคนิคการแพทย์เพื่อบริการและสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในมิติของวิชาชีพและร่วมพัฒนากับวิชาชีพอื่นๆ 3) ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 4) มุ่งเน้นการส่งเสริมธรรมาภิบาลและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการให้บริการและประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ 5) สร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นในการประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์ของสังคม
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้กระทรวงมหาดไทย สนับสนุนการคัดเลือก และให้ทุนบุคคลในพื้นที่เข้าศึกษาหลักสูตรด้านสุขภาพ ร่วมกับสถาบันการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และกำหนดกรอบอัตรากำลังและกลไกรองรับให้กลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ของตนเอง
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗
เอกสารหลัก: