You are here


พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ
สมัชชาครั้งที่: 
5
มติที่: 
7
ชื่อมติ: 
พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ
ผลการปฏิบัติงาน: 
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ประชุมมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 และมอบหมายให้ 1) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป  และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่ามติใดสมควรเสนอให้ คสช. พิจารณา ให้เสนอ คสช. พิจารณาต่อไป สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในนามฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ได้ร่วมกับเครือข่ายสังฆะพัฒนาพุทธชยันตี 4 ภาค และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือและจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 ณ อาศรมธรรมทายาท จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1-2 มีนาคม 2557  ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว จ.ปทุมธานี โดยได้มีการจัดทำแผนการขับเคลื่อนใน 4 ระดับ คือ 1) การแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ที่อาพาธ 2) การสร้างเสริมและป้องกันโรคพระสงฆ์ 3) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (วัดส่งเสริมสุขภาพ) และ 4) การหนุนเสริมบทบาทสงฆ์ต่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชนและสังคม ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560 มราประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ชุดใหม่ ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ 16/2560 ขึ้นมาทำหน้าที่แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่หมดวาระลง โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมสานใจ ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ที่ประชุมได้มีการติดตามมติสมัชชาแห่งชาติเรื่อง “พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ” โดยมอบหมายให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานหลักไปปรับแผนยุทธศาสตร์ชาติพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือน และนำเสนอต่อที่ประชุม คมส. ครั้งต่อไป โดยให้ยึดหลักการสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1.พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย 2.ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฎฐากพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย 3.บทบาทพระสงฆ์กับการเป็นแกนนำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นแนวทางที่คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ, สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ร่วมกันวางไว้  
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนองงานคณะสงฆ์) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม สถาบันวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนและภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
รายละเอียด: 

1.1 พัฒนาแนวทางการปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ ให้สอดคล้องกับพระธรรมวินัยและสถานการณ์ด้านสุขภาพ

1.2 ร่วมกับเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนวัดส่งเสริมสุขภาพ  เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์และชุมชน

1.3 ดำเนินการและพัฒนาการขึ้นทะเบียนพระสงฆ์ และจัดทำระบบฐานข้อมูลพระสงฆ์ทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านสิทธิและสวัสดิการอันพึงมีพึงได้ของพระสงฆ์ โดยให้คำนึงถึงความถูกต้องของสถานะความเป็นพระสงฆ์

1.4 ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาองค์กรคณะสงฆ์ และเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา โดยมีภิกษุเป็นแกนนำ ในการดำเนินการเพื่อดูแลสุขภาพตนเองและพระสงฆ์ในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการ สร้างสุขภาวะของชุมชน โดยคำนึงถึงการพัฒนาจิต เช่น การทำสมาธิภาวนา การเดินจงกรม ทั้งนี้ให้มีการสนับสนุนภิกษุได้เข้าศึกษาเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1.5 ร่วมกับองค์กรชุมชน ในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในพื้นที่ ให้ครอบคลุมและทั่วถึง

1.6 ร่วมกับคณะสงฆ์  กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยสงฆ์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับ “พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ” ไว้ในหลักสูตรต่างๆของพระสงฆ์ ได้แก่ หลักสูตรการอบรมพระสังฆาธิการ  หลักสูตรของมหาวิทยาลัยสงฆ์ หลักสูตรพระธรรมจาริก และหลักสูตรพระสงฆ์นักพัฒนา

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประสานกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนได้พัฒนาแนวทางการปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ที่สอดคล้องกับพระธรรมวินัยและสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เชื่อมโยงกับกิจวัตร 10 อย่างของพระสงฆ์ ทั้งนี้ พระทองถมฯ ได้ยกร่างแผนการทำงานและองค์ประกอบของคณะกรรมการ (เฉพาะแผนระยะที่ 1 แล้วเสร็จภายใร 1 ปี) โดยมีการตั้งคณะทำงานที่มีองค์ประกอบจากผู้มีความรู้ด้านธรรมวินัยและด้านสุขภาพมาดำเนินการยกร่างแนวทางปฏิบัติ จัดทำประชาพิจารณ์และปรับปรุงตามข้อคิดเห็น และดำเนินการตีพิมพ์และเผยแพร่โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพระพุทธศาสนา กรมอนามัยและสสส. นอกจากนี้ยังหาทางผลักดันการใช้แนวทางไปสู่การปฏิบัติ และเสนอผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเจ้าภาพในการขยายผลโดยเสนอต่อมหาเถรสมาคมกำหนดเป็นนโยบาย อีกทั้งจัดทำหลักสูตรพระวิทยากร เพื่อถ่ายทอดหลักสูตรอย่างน้อยจังหวัดละ 1-2 ทีมร่วมกับทีมสาธารณสุข และมีการติดตามประเมินผล
  • เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ในงานแถลงข่าว “สงฆ์ไทยไกลโรค เข้าพรรษานี้ อย่าลืมตักบาตร ถาม (สุขภาพ) พระ” โดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ส่งผลให้เกิดมติมหาเถรสมาคม เรื่อง พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ โดยจะมีการขับเคลื่อนร่วมกันต่อไป คือ ความร่วมมือในการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ ฆราวาส และหน่วยบริการสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพที่นำเอาหลักพระธรรมวินัยเป็นตัวนำ และใช้ความรู้ทางสุขภาพเป็นตัวเสริม ซึ่งในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์จะมี 3 มิติที่เกี่ยวข้อง คือ 1.พระสงฆ์กับการสร้างเสริมและดูแลสุขภาพตนเอง 2.ฆราวาส ชุมชนและบุคลากรทางสุขภาพ ควรมีข้อปฏิบัติในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อย่างไรที่เหมาะสมตามหลักพระธรรมวินัย และ 3.บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำของชุมชนด้านสุขภาพ โดย สช. จะร่วมสนับสนุนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม  ซึ่งในเดือน ส.ค. และ ก.ย. นี้ วางแผนไว้ว่าจะมีเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ก่อนเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และประกาศให้ภาคีเครือข่ายรับทราบในสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 ในเดือน ธ.ค. นี้
  • เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ในงานแถลงข่าว “สงฆ์ไทยไกลโรค เข้าพรรษานี้ อย่าลืมตักบาตร ถาม (สุขภาพ) พระ” โดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีตัวอย่างการทำงานที่เป็นรูปธรรมเชิงพื้นที่ และทำงานเชิงรุกในมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้พระนิสิตมีความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพระในฐานะนักสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promoter) ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของคณะสงฆ์เพื่อเป็นแกนนำเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา ปัจจุบันมีพื้นที่เรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยและคณะสงฆ์ทั้งสิ้น 20 จังหวัด ทำให้เกิดชุดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย รวมถึงร่วมกับกลุ่มพระสังฆะในการจัดการความรู้ให้ฆราวาสเรื่องสุขภาวะพระสงฆ์ ผ่านโครงการสร้างพระธรรมทายาทนักพัฒนาสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ เป็นต้น
  • คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) โดยสำนักสมัชชาสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ร่วมกับเครือข่ายพุทธชยันตี 4 ภาคและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อทบทวนมติฯ และจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 ครั้งที่ 2 วันที่ 1-2 มีนาคม 2557 และ ครั้งที่ 3 วันที่ 8 เมษายน 2557 โดยมีประเด็นการประชุมดังนี้

            1) การวิเคราะห์ จุดเด่น  ข้อจำกัด  โอกาส และปัจจัยคุกคาม ของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 มติ 7  พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ  

            2) การจัดทำแผนการขับเคลื่อนและการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

            3) การเชื่อมโยงกับ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ ของกรมอนามัย

            4) (ร่าง)แผนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสมัชชาสุขภาพ 5.7 พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ

  • ในระยะแรก สช. ได้ประสานงานกับกรมอนามัยเพื่อเร่งรัดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งกรมอนามัยได้มีการตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์วัดส่งเสริมสุขภาพโดยกรรมการมาจากเครือข่ายพระสงฆ์ให้ความสำคัญและเข้าร่วมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้ยกร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ออกมาแล้ว 
  • กระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์วัดส่งเสริมสุขภาพ โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มภารกิจการพัฒนาสาธารณสุขเป็นประธาน มีอธิบดีกรมอนามัย เป็นเลขานุการ กรรมการประกอบด้วย หน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้มีการจัดแผนยุทธศาสตร์ฯ เสร็จแล้ว มีวิสัยทัศน์ว่า “พระสงฆ์ไทยมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นและเป็นต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพพระสงฆ์ของอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2560” มียุทธศาสตร์การพัฒนารวม 5 ประการ คือ 
  1. พัฒนาแนวทางการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์
  2. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาองค์กรคณะสงฆ์
  3. ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้วิจัยพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 
  5. พัฒนาระบบควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ
  • มีการพัฒนาพื้นที่นำร่องระดับอำเภอใน 4 ภาค คือ 1) ภาคกลาง ที่จังหวัดจันทบุรี 2) ภาคใต้ ที่หาดใหญ่ จ.สงขลา  3) ภาคเหนือ ที่อำเภอสารภี จ.เชียงใหม่ และ 4) ภาคอีสาน ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยมีเป้าหมายการพัฒนาคือ ระบบฐานข้อมูลและสิทธิและสวัสดิการของพระสงฆ์ที่เป็นอยู่ โดยงานพัฒนาโมเดลได้มอบหมายให้หลวงตาแชร์ ประสานกับพื้นที่เป้าหมาย นอกจากนี้งานพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายได้มอบหมายให้ท่านจอม เป็นผู้ยกร่างแนวทางการทำงาน ปัจจุบันพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าที่ถือเป็นต้นแบบคือที่ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และเริ่มดำเนินการในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 
  • กรมอนามัยได้กำหนดให้งานการสร้างสุขภาวะพระสงฆ์อยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 ให้พระสงฆ์เข้าร่วม โดยมอบหมายให้ท่านจอมเป็นผู้ประสานงานและค้นหาพื้นที่ที่น่าสนใจ ซึ่งได้วางแผนการทำงานออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ทำการถอดบทเรียนบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำวัดที่มีการดำเนินการอยู่ ปัจจุบันดำเนินการที่ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.อุบลราชธานี และ จ.สงขลา ระยะที่ 2 การขยายผล โดยการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำวัดเพื่อขยายผลพื้นที่ต้นแบบ
  • ปัจจุบันมีบทเรียนการทำงานที่องค์กรชุมชนทำงานเพื่อดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ กิจกรรมที่น่าสนใจคือ ค้นหาบทเรียน และจัดเวทีวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำโครงการวัดสร้างสุข เป็นการเชื่อมกันระหว่างวัดกับโรงงาน โดยเป็นการทำ CSR ของโรงงานในการรณรงค์ พัฒนา ทำความสะอาดและช่วยเหลือพระ และทำให้คนทั่วไปต้องการที่จะร่วมทำบุญ หรือมีการจัดทำ road show ในการทำข้อมูลดูแลพระสงฆ์และมีทีมไปให้ความรู้กับชาวบ้านในการดูแลพระสงฆ์ เป็นต้น
  • มหาวิทยาลัยสงฆ์ ได้มอบหมายให้ พระบุญช่วยฯ เป็นแกนกลางในการวิเคราะห์หลักสูตรอบรมพระสงฆ์ต่างๆ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพมากน้อยเพียงใร
  • เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยมี ผศ.ดร.ภก.นพ.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธาน และมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนพระสงฆ์จากทั่วประเทศ และนักวิชาการเข้าร่วม เวทีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาสุขภาวะพระสงฆ์อย่างจริงจัง โดยทาง มหาเถรสมาคม ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินงานเรื่องนี้แล้ว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการขับเคลื่อนมติสมัชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2554 เรื่อง “พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ” ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ จะเป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในการสร้างสุขภาวะให้กับพระสงฆ์ในปัจจุบันที่ต้องเผชิญปัญหาท้าทายหลายเรื่อง ทั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความเครียด พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อมในวัด ฯลฯ โดยเนื้อหาหลักๆ มี 5 หมวดสำคัญ ได้แก่ บททั่วไปและคำนิยาม, การดูแลและเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย (ทางกาย จิต สังคม ปัญญา), การดูแลและเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์โดยชุมชนและสังคม, พระสงฆ์กับการดูแลและเสริมสร้างสุขภาวะของชุมชนและสังคม และการขับเคลื่อนธรรมนูญสู่การปฏิบัติ ใจความสำคัญคือ ต้องสะท้อนความห่วงใยต่อสุขภาพ และกระตุ้นให้พระหันมาดูแลสุขภาวะของตนเองด้วย”
    พระครูอมรชัยคุณ เจ้าอาวาสวัดสุชัยคณาราม จังหวัดนครราชสีมา หรือ หลวงตาแชร์ เสนอว่า ควรนำแผนดำเนินงานที่ได้ทำไปแล้ว เช่น โครงการพระสงฆ์ไทยไกลโรคเข้ามาอยู่ในธรรมนูญฯ นี้ด้วย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบจากทางมหาเถรสมาคมต่อไป
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน/ภาคี/เครือข่าย ที่ให้บริการด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะสงฆ์ ชุมชน และภาคประชาชน ในพื้นที่ ดำเนินการ
รายละเอียด: 

2.1 พัฒนาระบบและรูปแบบการบริการด้านสุขภาพ  การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง การติดตามเยี่ยมและการดูแลพระสงฆ์ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทุพพลภาพ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

2.2 รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในการถวายสังฆทาน ด้วยอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นโทษต่อสุขภาพพระสงฆ์ และหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่ที่จะก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนเรื่องการถวายอาหารแด่พระภิกษุ ซึ่งทำให้พระสงฆ์มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค และให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับประเภทของอาหารที่ควรถวายแด่พระภิกษุ ควรเป็นเมนูสุขภาพอาหารไทยที่ไม่ใส่กะทิ ส่วนกลุ่มขนมอาจเป็นขนมไทยที่ไม่หวานมากและถ้าเน้นผลไม้ได้จะดีกว่าน้ำอัดลม บุหรี่ และเครื่องดื่มชูกำลัง สามอย่างหลังควรงด ขณะนี้ประเด็นเรื่องนี้ สสส.และกรมอนามัย ได้เข้ามาให้การช่วยเหลือ อีกทั้งทางสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติกำลังนำเรื่องนี้ปรึกษากับสำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม เพื่อนไปสู่เกณฑ์การปฏิบัติต่อพระสงฆ์ทั้งประเทศ 
  • เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ประชุมได้หารือถึงการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์และวัต จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมือปี 2554 พบว่าพระสงฆ์มีปัญหาสุขภาวะทางกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนร้อยละ 43.1 ซึ่งติดก่อนบวช และมีการรณรงค์ให้ชาวบ้านเลิกถวายบุหรี่กับพระ ที่ประชุมเห็นควรสนับสนุนให้สร้างเสริมสุขภาวะที่ดีแก่พระสงฆ์และขอให้ สสส. รณรงค์อย่างจริงจัง 
  • กระทรวงสาธารณสุขได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์วัดส่งเสริมสุขภาพ โดยมีกรมอนามัยเป็นหน่วยเลขานุการ ซึ่งได้มีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อกลางปี 2556 
  • เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายของพระที่ไม่ผิดจริยวัตร โดยเบื้องต้นจะเน้นเรื่องการบิณฑบาตว่าจะทำอย่างไรให้พระได้ออกกำลังกายอย่างถูกต้องไปด้วย เนื่องจากเวลาบิณฑบาตของในบาตรจะหนักมาก ควรจะมีวิธีการแก้ให้รับบาตรอย่างถูกต้องอย่างไร โดยให้รับบาตรได้เร็วและเดินให้เร็วขึ้น ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการหารือร่วมกันอีกครั้งนอกจากนี้ยังมีแนวคิดอีกว่าทำอย่างไรให้พระที่อยู่ ในวัดได้ออกกำลังกาย ซึ่งเบื้องต้นวางแนวคิดไว้ดังนี้คือ หากเป็นวัดในต่างจังหวัดก็จะให้พระกวาดลานวัด แต่ถ้าเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ก็จะให้พระได้ขี่จักรยานรอบวัดแทน อย่างไรก็ตาม เรื่องการปั่นจักรยานนั้นจะต้องมีการกำหนดท่านั่งปั่นให้เรียบร้อย ซึ่งไม่ใช่วิธีนั่งคร่อมจักรยานและไม่ต้องนุ่งโจงกระเบน หรืออาจใช้วิธีการเดินจงกรมก็ได้ อกจากนี้ ยังมีการหารือถึงเรื่องอาหารของพระด้วยว่าทำอย่างไรให้พระได้ฉันอาหารอย่างมีคุณภาพ ซึ่งทั้งหมดจะจัดทำออกมาเป็นบทเรียนเพื่อที่จะให้พระมีสุขภาพที่ดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ คาดว่าน่าจะเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557 
  • โรงพยาบาลสงฆ์ได้จัดทำหลักสูตรการถวายความรู้พระสงฆ์ เครือข่ายด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานสาธารณสุขในระดับพื้นที่ที่มีการดำเนินงานในเรื่องนี้อีกหลายพื้นที่ อาทิ ที่จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
  • วันที่ 27 ธันวาคม 2558 กรมอนามัยได้มีการดำเนินงานโดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพครอบคลุม 5 แนวทาง ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2557-2560 ได้แก่ 1.พัฒนาแนวทางการบริการสุขภาพที่มาคุณภาพในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 2.ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาองค์กรคณะสงฆ์ และเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาในการดูแลสุขภาพตนเองและพระสงฆ์ในพื้นที่รับผิดชอบ 3.ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ 4.ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ วิจัย พัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ และ 5.พัฒนาระบบควบคุม กำกับ ติดตามประเมินผลการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ  นอกจากแผนยุทธศาสตร์ข้างต้นแล้ว ยังได้จัดหลักสูตรพระสงฆ์แกนนำด้านการพัฒนาสุขภาวะด้วย อันประกอบด้วย กิจกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม ทั้งน้ำดื่ม อาหาร ขยะ อุบัติภัยและจราจร กิจกรรมการป้องกันควบคุมโรค กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมสุขอนามัย กิจกรรมแนวทางปฏิบัติของพระสงฆ์ที่สอดคล้องกับพระธรรมวินัย และสถานการณ์สุขภาพที่เชื่อมโยงกับกิจวัตร 10 อย่างของสงฆ์ กิจกรรมพระสงฆ์กับการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ และกิจรรมบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน
  • เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 ในงานแถลงข่าว “สงฆ์ไทยไกลโรค เข้าพรรษานี้ อย่าลืมตักบาตร ถาม(สุขภาพ)พระ” โดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  จากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ส่งผลให้เกิดมติมหาเถรสมาคม เรื่อง พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ โดยจะมีการขับเคลื่อนร่วมกันต่อไป คือ ความร่วมมือในการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ ฆราวาส และหน่วยบริการสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพที่นำเอาหลักพระธรรมวินัยเป็นตัวนำ และใช้ความรู้ทางสุขภาพเป็นตัวเสริม ซึ่งในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์จะมี 3 มิติที่เกี่ยวข้อง คือ 1.พระสงฆ์กับการสร้างเสริมและดูแลสุขภาพตนเอง 2.ฆราวาส ชุมชนและบุคลากรทางสุขภาพ ควรมีข้อปฏิบัติในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อย่างไรที่เหมาะสมตามหลักพระธรรมวินัย และ 3.บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำของชุมชนด้านสุขภาพ โดย สช. จะร่วมสนับสนุนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งในเดือน ส.ค. และ ก.ย. นี้ วางแผนไว้ว่าจะมีเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ก่อนเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และประกาศให้ภาคีเครือข่ายรับทราบในสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 ในเดือน ธ.ค. นี้
  • เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560 มราประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ชุดใหม่ ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่ 16/2560 ขึ้นมาทำหน้าที่แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่หมดวาระลง โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมสานใจ ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ได้รายงานผลการดำเนินงานว่า กรมอนามัยมีการขับเคลื่อน 2 แนวทางหลักคือ 1) โครงการพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพ ที่ทำอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี กลไกหลักเป็นการอบรมพระอาสาสมัครสุขภาพประจำวัด (พระ อสว.) แต่พบว่าทำไปได้เพียง 3,000 วัดจาก 30,000วัด ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญของเจ้าอาวาสของแต่ละวัดเป็นหลัก และ ๒.ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ที่อยู่ระหว่างการยกร่าง เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้บริการของสถานบริการสาธารณสุข เพื่อเอื้อให้พระสงฆ์ได้เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข สามารถรับบริการได้ทุกสถานบริการสาธารณสุขของรัฐและเอกชนที่เป็นเครือ ข่ายบริการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้บริการของสถานบริการสาธารณสุข เพื่อเอื้อให้พระสงฆ์ได้เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข สามารถรับบริการได้ทุกสถานบริการสาธารณสุขของรัฐและเอกชนที่เป็นเครือข่ายบริการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพในพื้นที่
  • เครือข่ายสงฆพัฒนาพุทธชยันดี 4 ภาค มีแผนที่จะทำการศึกษาเชิงลึกถึงสถานการณ์การดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่อาพาธ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และปัญหาอื่นๆ ที่มี เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพให้แก่พระภิกษุสงฆ์อาพาธที่เอื้อต่อพระธรรมวินัยและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของพระภิกษุเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำเป็นข้อมูลเชิงนโยบายเสนอต่อ สปสช. เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้บริการสุขภาพแก่พระสงฆ์
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทุกแห่ง และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทำการศึกษาวิจัยและสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ รวมทั้งพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับพระสงฆ์
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • จัดเวทีวิชาการ “สุขภาพกับพระสงฆ์” ประจำปี โดยให้มีการทบทวนนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ระบบการดูแลสุขภาพที่แต่ละวัดมีอยู่ และการสร้างเครือข่ายนักวิจัยเพื่อสุขภาวะพระสงฆ์ โดยมอบหมายให้ พระอมรมิตร เป็นผู้ออกแบบเวทีวิชาการ
  • ทางเครือข่ายสงฆพัฒนาพุทธชยันดี 4 ภาค มีแผนที่จะทำการศึกษาวิจัย เพื่อ 

            1) ศึกษาสถานการณ์ในการดำเนินชีวิตของพระภิกษุในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งในกลุ่มพระสังฆาธิการ พระลูกวัด ในเขตเมืองและชนบท ในกลุ่มที่มีสุขภาพปกติ ผู้ที่กำลังอาพาธ และผู้ที่อาพาธระยะสุดท้ายหมดทางรักษาแล้ว ทั้งผู้ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลและไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาล รวมทั้งผู้ที่เคยเป็นพระและลาสิกขาไปเพื่อรักษาโรค

            2) ศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการให้บริการสุขภาพแก่พระภิกษุสงฆ์ของโรงพยาบาลในทุกระดับ ทั้งในระดับผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และระบบการติดตามเยี่ยมดูแลพระอาพาธที่วัด

            3) ศึกษารูปแบบการให้บริการสุขภาพที่จัดขึ้นพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน (ศรีลังกา เมียนมาร์)

            4) ศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน หรือเอกชน ในการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์และพระที่อาพาธแล้ว 

            5) หาข้อมูลเบื้องต้นในความเป็นไปได้ในการพัฒนาวัดรองรับพระอาพาธที่เข้าตรวจรักษาในโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล ชุมชนและคณะสงฆ์

ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ เปิดโอกาสให้พระสงฆ์มีส่วนร่วมเป็นคณะทำงานหรือคณะกรรมการในการพัฒนาระบบสุขภาวะของชุมชน
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ในภาพรวมยังมีข้อจำกัดในการรวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นภาพว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้เปิดโอกาสให้พระสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานพัฒนาสุขภาวะของชุมชน แต่อย่างใดก็ตาม พบว่า มี อปท. หลายแห่งที่ดำเนินการสอดคล้องกับมตินี้ ดังเช่น (1) ตำบลขอนสมบูรณ์ มีการทำงานร่วมกันระหว่างพระสงฆ์กับ อบต.ขอนสมบูรณ์ ในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และงานด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน (2) อำเภอสารภี ที่ร่วมกันจัดทำธรรมนูญสุขภาพอำเภอสารภี (3) จังหวัดนครราชสีมา ที่มีการขับเคลื่อนงานการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์และชุมชนร่วมกันระหว่าง อปท. กับเครือข่ายสังฆะพัฒนา เป็นต้น 
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะสงฆ์ และเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา
รายละเอียด: 

6.1 พัฒนารูปแบบ แนวทาง กระบวนการเรียนรู้  ส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์และชุมชน โดยมีพระสงฆ์เป็นแกนนำ

6.2 ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการพัฒนาวัดให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนงานที่จะกำหนดขึ้นร่วมกัน

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 26 – 27 ธันวาคม 2556 สช.และเครือข่ายสังฆพัฒนาได้ประชุมเพื่อยกร่างแผนการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เรื่อง พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ สู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นการจัดทำกรอบการทำงานของเครือข่ายสังฆพัฒนาในการนำไปประสานงานหรือกระตุ้นหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตามมติ
  • ในปัจจุบันมีการรวมตัวกันของพระสงฆ์เป็นเครือข่ายสังฆพัฒนาพุทธชยันดี 4 ภาค เพื่อร่วมกันทำงานในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการ ระยะ 3 ปี ไปขอรับการสนับสนุนไปที่ สสส. นอกจากนั้น ก็เข้าร่วมดำเนินการกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์วัดส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ส่งเสริมสนับสนุน และนำประเด็น “พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ต่อไป
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • มีพื้นที่หลายพื้นที่ที่มีการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพนี้ ตัวอย่างเช่น
  1. เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดสระบุรี กำลังขับเคลื่อนงานเพื่อให้เกิดธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์
  2. เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา จัดทำโครงการดูแลสุขภาพพระสงฆ์แบบบูรณาการโดยร่วมกับเครือข่ายสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะสงฆ์จังหวัดทั้งสองนิกาย แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์แบบบูรณาการ และได้ตรวจสุขภาพให้กับพระสงฆ์ในพื้นที่อำเภอนำร่อง 7 อำเภอ จำนวน 2000 รูป
  3. กรมอนามัย สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์วัดส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ทุกจังหวัดของประเทศไทย
  4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนโครงการเสริมพลังเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง (พัฒนาต้นแบบพื้นที่เรียนรู้การแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ในกลุ่มพระสงฆ์) เป็นต้น
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ได้จัดให้มีการรายงานต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 ในระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2557 
เอกสารหลัก: