You are here


การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที
สมัชชาครั้งที่: 
5
มติที่: 
9
ชื่อมติ: 
การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที
ผลการปฏิบัติงาน: 
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ที่ประชุมมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 และมอบหมายให้ 1) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป  และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่ามติใดสมควรเสนอให้ คสช. พิจารณา ให้เสนอ คสช. พิจารณาต่อไป ที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้มีคำสั่ง คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ 1/2556 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 (ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน) ในคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ เป็นผู้แต่งตั้งคณะทำงานจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ “กรณีเด็กไทยกับไอที” โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สยมพร ศิรินาวิน เป็นประธานคณะทำงานกรรมการจากคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ ร่วมเป็น รองประธานและทีมเลขานุการคณะทำงานกระทรวงวัฒนธรรม คณะทำงานฯ จัดทำคู่มือคำแนะนำสำหรับประชาชนเรื่องการเล่มเกมคอมพิวเตอร์และการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น การสัมมนาวิชาการเครือข่ายคนทำงานเพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประเด็น “เด็กไทยกับไอที” เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2556 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ผลงานทางวิชาการด้านไอทีที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน และร่วมกันเสนอมาตรการ/แนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาการใช้ไอทีที่ไม่เหมาะสม และในการเสริมสร้างการใช้ไอทีในเชิงสร้างสรรค์ โดยกำหนดหัวข้อย่อยสำหรับการสัมมนาเป็น  3 ประเด็น  ประกอบด้วย  1) นโยบายสาธารณะด้านไอทีกับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน : กรณีการแจกแท็บเล็ตและแลปท็อป 2)  ไอทีกับผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว  และ 3) พื้นที่สาธารณะกับการให้บริการด้านไอที : กรณีร้านเกม / อินเทอร์เน็ต  ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ อาคาร D องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)  ถนนวิภาวดีรังสิต  หลักสี่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ทำการศึกษาโครงการอนาคตไทย เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี พบว่า ปัญหาสุขภาพใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทย ได้แก่ ปัญหาท้องในวัยรุ่นและติดเชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาความรุนแรงในเด็ก และปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งได้เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในเรื่องปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนคือ รัฐบาลควรกำหนดปัญหาเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติและกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบเพราะปัญหาเด็กติดเกมระดับชาติ เพื่อให้กำหนดนิยาม เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเวลาที่เด็กเล่นเกมเท่าไรจึงเรียกว่าติดเกม และเฝ้าระวังประเมินผลเพื่อสร้างองค์ความรู้และสื่อสารสังคมเพื่อสร้างความตระหนัก ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนมติฯ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 การสัมมนาวิชาการเครือข่ายคนทำงานเพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติประเด็น “เด็กไทยกับไอที” เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2556 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ผลงานทางวิชาการด้านไอทีที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน และร่วมกันเสนอมาตรการ/แนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาการใช้ไอทีที่ไม่เหมาะสม และในการเสริมสร้างการใช้ไอทีในเชิงสร้างสรรค์ โดยกำหนดหัวข้อย่อยสำหรับการสัมมนาเป็น  3 ประเด็น  ประกอบด้วย  1) นโยบายสาธารณะด้านไอทีกับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน : กรณีการแจกแท็บเล็ตและแลปท็อป 2)  ไอทีกับผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว  และ 3) พื้นที่สาธารณะกับการให้บริการด้านไอที : กรณีร้านเกม / อินเทอร์เน็ต  ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ อาคาร D องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)  ถนนวิภาวดีรังสิต  หลักสี่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ที่มี รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นประธาน ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานขับเคลื่อนมติเด็กกับสื่อ” โดยมี ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก เป็นประธาน ทั้งนี้ เพื่อสร้างกลไกการทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2 ประเด็น ได้แก่ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “ผลกระทบจากสื่อต่อเด็กเยาวชนและครอบครัว” และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เรื่อง “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชม. : กรณีเด็กไทยกับไอที” ให้มีความต่อเนื่อง ภารกิจหลักของคณะทำงานฯ จะบูรณาการการทำงานร่วมกับประเด็นเด็กกับสื่อออนไลน์ ของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่กำลังขับเคลื่อนเรื่องนี้ และจะมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขับเคลื่อนงานเด็กกับสื่อออนไลน์ ที่มาจากหลายภาคส่วนมารองรับ รวมถึงผลักดันให้มี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กในการใช้สื่อออนไลน์  โดย คณะทำงานฯ มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสานใจ 1/2 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดกรอบของการทำงาน ครอบคลุมการคุ้มครอง ทั้งกลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี และกลุ่มเยาวชน อายุ 18-25 ปี ตามกฎหมาย พร้อมทั้งยังได้ร่วมกัน เสนอหน่วยงานและองค์กร ที่จะมาเป็นคณะอนุกรรมการฯ ขับเคลื่อนงานเด็กกับสื่อออนไลน์ เพื่อเป็นกลไกการทำงานในระยะยาว ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ รวมถึงนักวิชาการ และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการนัดประชุมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในวันที่ 30 มี.ค.นี้ต่อไป เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559 คณะอนุกรรมการธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสื่อออนไลน์ในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และคณะอนุกรรมาธิการฯ เข้าพบเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการใช้สื่ออนไลน์ของเด็กและเยาวชนอย่างสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการใช้สื่อออนไลน์ให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และไม่ผิดกฎหมาย การหารือกับ สปท. ในครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากในการระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางที่จะสามารถดำเนินการร่วมกันได้ ที่ผ่านมา มีหลายหน่วยงานที่ขอความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการในการปลูกฝังเด็กและเยาวชนในเรื่องต่างๆ เพราะทุกหน่วยงานต้องการเริ่มที่เด็กและเยาวชนก่อนทั้งสิ้น แต่กระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถทำทุกอย่างพร้อมกันได้เนื่องจากไม่มี Content จึงขอให้หน่วยงานดังกล่าวร่วมมือกันในการจัดหาหรือจัดทำ Content มาให้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินนโนบายนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น กรณีสื่อออนไลน์ ขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำ Content ที่จะใช้สอนนักเรียนเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อที่กระทรวงศึกษาธิการจะได้นำสื่อดังกล่าวมาประยุกต์กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ทันที นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการมีหน่วยงานในสังกัดที่หลากหลาย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นต้น ทำให้ Content ของแต่ละกลุ่มมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน อีกทั้งต้องการให้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงมีความเป็นรูปธรรมสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง จึงได้มอบให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ต่อไป เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559 ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ครั้งที่ 2/2559 ที่มี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พ.ศ 2560 - 2564 โดยมอบหมายให้คณะทำงานรับข้อเสนอแนะที่ประชุมประกอบการดำเนินการในรายละเอียดให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ โดยมีนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กดยช. เป็นประธาน ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการด้านสื่อออนไลน์และแกนนำเด็กและเยาวชน พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ที่ กดยช. ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการให้เงินอุดหนุนตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดแก่เด็กแรกเกิดจนครบอายุ 3 ปี รายละ 600 บาท ต่อคนต่อเดือน รวมทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดทำระบบการติดตามประเมินในเชิงความคุ้มค่าและผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียด: 

1.1 ส่งเสริม สนับสนุน ร่วมดำเนินการ และติดตามการดำเนินงานของ “คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ” เพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามจุดมุ่งหมายของคณะกรรมการฯ คือ “ขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี สร้างภูมิคุ้มกัน และ พัฒนาปรับปรุงกฎหมายด้านสื่อให้มีความทันสมัย”

1.2 ร่วมกันดูแล ติดตาม และประเมินผลนโยบายการแจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตแก่นักเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และมีการดูแลป้องกันผลเสียต่อเด็กและเยาวชน

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับคณะทำงานจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กรณีเด็กไทยกับไอที กระทรวงวัฒนธรรม จัดเวทีระดมสมองขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านไอที แก้ปัญหาเด็ก-เยาวชนติดเกม โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคีเครือข่ายเด็กและเยาวชนเข้าร่วม ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่น ฮอลล์ อาคารเรียนรู้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต ที่ประชุมได้หารือกันถึงการประกอบกิจการร้านเกมที่ภาครัฐควรส่งเสริมให้เกิดร้านเกมสีขาวและปรับปรุงเงื่อนไขการขอรีบใบอนุญาตให้เข้มงวดมากขึ้น โดยให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการพิจารณา พร้อมกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการให้บริการ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงไอซีทีและกระทรวงวัฒนธรรมอยู่ระหว่างดำเนินการปิดช่องว่างของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวมถึงการกำหนดเรทติ้งเกมให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก นอกจากนี้มีข้อเสนอให้มีมาตรฐานการบริการในร้านเกม กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานราคาขั้นต่ำ แบ่งโซนการเรียนรู้ในร้าน เพื่อให้ร้านเกมดีๆ ดำรงอยู่ได้ อีกทั้งการสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเด็กและเยาวชนมีความรู้เท่าทันสื่อ มีห้องเรียนสำหรับครอบครัว โดยกำหนดเป็นข้อบังคับให้สถานศึกษาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้มีการขับเคลื่อนของส่วนอื่นๆ ตามมา และเน้นการประสัมพันธ์ในสื่อกระแสหลักมากยิ่งขึ้น
  • เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดการประชุมติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 มติ 9 การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที  ซึ่งได้มีการหารือเรื่องกลไกเพื่อขับเคลื่อนมติต่อเนื่อง ควรเป็นกลไกที่คนเข้าร่วมในกลไกเป็นตัวแทนจากหน่วยงานแต่มาเข้าร่วมโดยระบุตัวบุคคล (ไม่ใช้การระบุตำแหน่ง) เพื่อให้ได้คนที่ต้องการทำจริง และทำต่อเนื่อง และกลไกนี้ควรใช้หน่วยงานใหญ่เป็นร่ม เพื่อให้สามารถสร้างความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ได้จริง นอกจากนี้ กลไกขับเคลื่อน ควรมีแกนประสานเป็นวงเล็ก ไม่เกิน 10 คน เพื่อให้มีความคล่องตัวในการประสานงาน ในส่วนงานจัดทำข้อมูล กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับเกมและการใช้สื่อออนไลน์ ที่คณะทำงานแต่งตั้งภายใต้คณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัยแห่งชาติ ยังไม่บรรลุภารกิจ แต่ต้องหมดวาระไปแล้วดังนั้น ทีมงานจาก มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี จะช่วยกันสรุป รวบรวม กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวกับเกมและการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อนำมาใช้วางแนวทางการทำงานขับเคลื่อนต่อไป และในส่วนเนื้อหามติข้อ 5 เรื่องการสร้างพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชน มีหลายหน่วยงานที่มีการดำเนินงานอยู่ในระดับจังหวัด ขอให้แต่ละหน่วยที่มีข้อมูลอยู่สรุปข้อมูลส่งให้กองเลขา ในส่วน สช.จะหาข้อมูลจากกลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดอีกทางหนึ่ง
  • เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน  2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พ.ศ.2560-2564 และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดตั้งศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการกรณีเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ ร่วมกับหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง. เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน  2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พ.ศ.2560-2564 และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดตั้งศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการกรณีเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ ร่วมกับหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  • เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ที่ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนมติเด็กกับสื่อ ที่มี ดร.ธีรารัตน์ พันทวีวงศ์ธนะอเนก เป็นประธาน ที่ประชุมได้ร่วมกันถอดบทเรียนสรุปผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบรูปธรรมการขับเคลื่อนที่หลากหลายทั้งการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในการใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งได้ทำการศึกษา กฎหมายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อประกอบการยกร่างกฎหมายต่อไป รวมถึงการจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์และกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง นอกจากนี้ยังมีการทำงานเชิงรุก ซึ่งคณะทำงานฯ ได้นำเสนอให้คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (สคบ.) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าควบคุมฉลาก โดยให้ระบุข้อแนะนำการใช้ เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด เด็กอายุระหว่าง 2-5 ปี ไม่ควรใช้เกินวันละ 1 ชั่วโมง และให้ผู้ปกครองมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กระหว่างรับสื่อ รวมทั้งไม่ควรเปิดสื่อในระหว่างรับประทานอาหารและก่อนนอน ขณะเดียวกันตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายี รวมถึงขับเคลื่อนประเด็นร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน องค์กรยูนิเซฟประจำประเทศไทย รวมทั้งผู้ประกอบการค่ายมือถือ AIS DTAC และ TRUE
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
รายละเอียด: 

2.1 ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นแกนประสานการดำเนินการแบบสหสาขาระดับชาติ  เพื่อรวบรวมข้อมูลวิชาการ งานวิจัย องค์ความรู้ ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย และการดำเนินการของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับ “เด็กไทยกับไอที” อันจะนำไปสู่ทิศทางการดำเนินการและการติดตามผลอย่างบูรณาการ การเผยแพร่ความรู้และทำความเข้าใจร่วมกัน ให้เสร็จสิ้นภายในปี ๒๕๕๖

2.2 ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ประกอบการด้านไอที พัฒนากระบวนการทางเทคโนโลยี และดำเนินการใช้ในการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตและการเล่นเกมของเด็ก โดยขอให้ กสทช. สนับสนุนงบประมาณจากกองทุน กสทช.

2.3 มอบหมายสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ดำเนินการร่วมกับ คณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการด้านไอที สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และโรงเรียน พัฒนาและควบคุมการดำเนินการร้านเกม/อินเทอร์เน็ต ให้เป็นสถานที่ปลอดภัย สร้างสรรค์ และเป็นมิตรกับเด็ก เยาวชนและครอบครัวอย่างครอบคลุมทั่วถึง

2.4 ร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อปท. ผู้ประกอบการด้านไอที สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นประจำปี เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามากำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน

2.5 ร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อปท. ผู้ประกอบการด้านไอที สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นประจำปี เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามากำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน

2.6 ร่วมกับสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการจัดตั้งสภาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คำสั่ง คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ ๑/๒๕๕๖  ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ (ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน) ในคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ  เป็นผู้แต่งตั้งคณะทำงานจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกรณีเด็กไทยกับไอที โดย ศ.เกียรติคุณ พญ. สยมพร ศิรินาวิน เป็นประธานคณะทำงาน  กรรมการจากคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ ร่วมเป็น รองประธาน และทีมเลขานุการคณะทำงานกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งคณะทำงานฯ จัดทำคู่มือคำแนะนำสำหรับประชาชน เรื่องการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ และการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น
  • ที่ประชุมคณะทำงานจัดการข้อมูลฯ มีมติ เห็นชอบ ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีเด็กไทยกับไอที  ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2557 โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิศักดิ์  ผลิตผลการพิมพ์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีหน้าที่ ดำเนินการศึกษา ประชาพิจารณ์ และจัดทำข้อเสนอการปรับปรุง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย เกี่ยวข้องกับกรณีเด็กไทยไอทีให้เท่าทันเทคโนโลยีและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ให้มากขึ้นตามมติ 5.9 การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24  ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที ข้อ 2.3 และข้อ 7และเห็นชอบแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา กรณีเกมคุกกี้รัน
  • เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2556 กระทรวงวัฒนธรรมได้เปิดตัวโครงการเด็กไทยกับไอที เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันและรู้จักเลือกรับปรับใช้สื่อไอทีให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสื่อไอทีที่มีต่อเด็กและเยาวชน เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองช่วยกันดูแลบุตรหลานให้ห่างไกลสื่อไอทีที่เป็นภัย ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภารกิจของคณะทำงานจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กรณีเด็กไทยกับไอที ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านเด็กและเยาวชนกับสื่อไอทีในปัจจุบัน
  • เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2557 กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับ บริษัทโชว์ไร้ขีด จำกัด ประกาศผลและมอบรางวัลการประกวดคลิปวิดีโอ “เด็กไทยกับไอที” ภายใต้แนวคิด “ระเบิดไอเดีย ระดมความกล้า ท้าทำคลิป” โดยคัดเลือกสุดยอดคลิปสร้างสรรค์จากฝีมือเยาวชนจากผลงานที่ส่งเข้าประกวดกว่า 144 ผลงานจากทั่วประเทศ รับรางวัลถ้วยเกียรติยศจากกระทรวงวัฒนธรรม เกียรติบัตร และทุนการศึกษารวม 200,000 บาท กิจกรรมนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม คณะทำงานของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสื่อไอทีต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกลุ่มเยาวชน ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เยาวชนรู้เท่าทัน รู้จักเลือกรับและปรับใช้สื่อไอทีให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
  • วันที่ 1 กรกฏาคม 2557 ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินงานดังนี้ คณะทำงานฯ เด็กไทยกับไอทีได้ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมดำเนินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในมิติวัฒนธรรมให้เด็กและเยาวชนทั่วประเทศทุกอำเภอในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว โดยดำเนินงานร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิตและมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย นอกจากนี้ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลดำเนินโครงการเกมสมดุลชีวิตสมดุล สร้างโมเดลโรงเรียนต้นแบบในการป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในบริบทแวดล้อมของโรงเรียนทุกภาคส่วน ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาร่วมกันในการทำงานซึ่งกำลังทดลองในห้าโรงเรียนพื้นที่นำร่อง ซึ่งหากได้โมเดลโรงเรียนต้นแบบดังกล่าวแล้วจะมีการขยายผลขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวในภาพรวมของประเทศต่อไป
  • วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 คณะทำงานจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดการประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม และร่วมกันขับเคลื่อนงานในภาพรวมเกี่ยวกับประเด็นเด็กไทยกับไอทีที่ถือเป็นวาระเร่งด่วนของประเทศตามมติคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 มติ 9 ประเด็น “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที” เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเสนอฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในภาพรวมของประเทศต่อไป
  • เมื่อวันที่ 17-19 ตุลาคม พ.ศ.2557 เปิดตัวโครงการ “เด็กไทยกับไอที ปี 2” เดินหน้ารณรงค์ส่งเสริมการสร้างสื่อปลอดภัยที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม และสนับสนุนให้เยาวชนรู้จักใช้สื่อไอทีให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม  ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมและคณะทำงานจัดทำข้อมูลฯ กับองค์กรเอกชนผู้ประกอบธุรกิจด้านเกม และสื่อสารสนเทศประเภทต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน รู้เท่าทันและรู้จักเลือกรับปรับใช้สื่อไอทีให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสื่อไอทีที่มีต่อเด็กและเยาวชน โดยเชิญชวนเยาวชนอายุ 12-25 ปี โชว์พลังความคิดสร้างสรรค์ผ่านคลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 3 นาที ภายใต้หัวข้อ “ค่านิยมไทยสร้างสังคมไทยเป็นสุข” ชิงรางวัลถ้วยเกียรติยศและทุนการศึกษารวมกว่า 200,000 บาท อีกทั้งจะร่วมออกบูธจัดกิจกรรมภายในงาน “ไทยแลนด์ เกม โชว์ บิ๊ก เฟสติวัล 2014”
  • . เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 กระทรวงวัฒนธรรมได้จ้ดทำร่างยุทธศาสตร์พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2560 = 2564 ซึ่งร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2560-2564 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ จำนวน 40 คน
  • เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560 ได้จัดงานสมัชชาเด็กและเยาวชนว่าด้วยสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เครือข่ายยุวทัศน์กรุงเทพฯ และภาคีเครือข่ายเข้าร่วมในพิธี
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กสทช. ประสานงานกับ อปท. สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการด้านไอที และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียด: 

3.1 จัดทำ เผยแพร่ และสนับสนุน แนวทางและคำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง ครู และชุมชน เกี่ยวกับการใช้สื่อไอที เล่นเกม และอินเทอร์เน็ต ที่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน  รวมถึงข้อเสียและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น  ตลอดจนการป้องกันและการวินิจฉัยเด็กที่อาจมีปัญหาจากการใช้ไอทีและเด็กติดเกม  

3.2 พัฒนาวิธีการและกระบวนการบำบัดเด็กติดเกม/อินเทอร์เน็ต ตามบริบทของสังคมไทยโดยคำนึงถึงมิติด้านสมาธิและจิตใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในรูปแบบสหวิชาชีพ

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดทำโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการ เพื่อพัฒนาการและเชาว์ปัญญาในเด็กไทย นำร่อง  9 อำเภอใน 4 จังหวัด คือ เชียงราย สุรินทร์ พระนครศรีอยุธยา และภูเก็ต โดยมีเป้าหมายให้เด็กไทยมีระดับสติปัญญาหรือไอคิวเกิน 100 ในปี 2559 
  • คณะทำงานจัดการข้อมูลจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ “กรณีเด็กไทยกับไอที” ได้ดำเนินการจัดทำคู่มือแนะนำสำหรับผู้ปกครองเรื่องการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กและวัยรุ่น
  • เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2557 ณ ห้องประชุมสุชน 1 ชั้น 2 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข อ.เมือง จ.นนทบุรี คณะทำงานจัดการข้อมูลประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ “กรณีเด็กไทยกับไอที” นำโดย รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หัวหน้าสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะ ขับเคลื่อนมติฯ ข้อ 3.2 พัฒนาวิธีการและกระบวนการบำบัดเด็กติดเกมและอินเตอร์เน็ตฯ โดยได้เตรียมประชุมผู้เชี่ยวชาญ และจัดทำโครงการค่ายเกมสมดุล..ชีวิตสมดุล IT for Life Summer Camp วัตถุประสงค์เพื่อบำบัดรักษาเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาการติดเกมและอินเตอร์เน็ต  ได้แก่ เด็กและเยาวชน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 จำนวน 50 คน และผู้ปกครอง  โดยได้การจัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนจัดกิจกรรมพัฒนา วิธีการและกระบวนการบำบัดเด็กติดเกม/อินเทอร์เน็ตตามบริบทของสังคมไทยกลุ่มเป้าหมาย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ
  • เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์จากการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พ.ศ.2560-2564 และจัดตั้งศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการกรณีเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการสื่อสารออนไลน์ร่วมกับหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการประสานงานกับ กสทช. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย (โดย อปท.) สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เครือข่ายครอบครัวในชุมชน เครือข่ายเด็กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชน เครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ประกอบการด้านไอที ร่วมกำหนดมาตรการและดำเนินการพัฒนาศักยภาพโรงเรียน ครอบครัวและชุมชน ในการเฝ้าระวัง ดูแล ป้องกัน ส่งเสริมสนับสนุนและแก้ปัญหา โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้การใช้ไอทีอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงมหาดไทย (โดย อปท.) ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สสส. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด โรงเรียน วัดและศาสนสถานอื่น และชุมชน จัดหาพื้นที่และกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนทั้งภายในอาคารและกลางแจ้ง เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์ ได้ทำความดีและมีความภูมิใจในตนเอง มีการพัฒนาการใช้ไอทีในทางที่เหมาะสม สร้างสรรค์และใช้คอมพิวเตอร์ทำงานนอกเวลาอย่างปลอดภัย
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกหลักในการกำหนดมาตรการ และดำเนินการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมาย ในการควบคุมกำกับดูแลธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งติดตามและประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กและเยาวชน
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ที่ประชุมคณะทำงานจัดการข้อมูลฯ มีมติ เห็นชอบ ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีเด็กไทยกับไอที  ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2557 โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิศักดิ์  ผลิตผลการพิมพ์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีหน้าที่ ดำเนินการศึกษา ประชาพิจารณ์ และจัดทำข้อเสนอการปรับปรุง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมาย เกี่ยวข้องกับกรณีเด็กไทยไอทีให้เท่าทันเทคโนโลยีและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ให้มากขึ้นตามมติ 5.9 การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24  ชั่วโมง : กรณีเด็กไทยกับไอที ข้อ 2.3 และข้อ 7และเห็นชอบแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา กรณีเกมคุกกี้รัน
  • คณะทำงานกลุ่มย่อยด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ "กรณีเด็กไทยกับไอที"  ประชุม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2557 เพื่อพิจารณาจัดทำร่าง ข้อเสนอการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับ หรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ "กรณีเด็กไทยกับไอที " และผลักดันให้เกิดนโยบายควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ต และ การเล่นเกม ของเด็กอายุ  ต่ำกว่า 13 ปี ในประเด็น ควบคุมเวลาเล่น กำหนดการใช้เงิน การลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัว
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันการศึกษา ฯลฯ สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กและเยาวชน จากนโยบายสาธารณะด้านไอที โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้ กสทช. มีบทบาทสนับสนุนและประสานหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน ในด้านของสื่อกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ สื่อไอทีและสื่อประเภทอื่นๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของ เด็กและเยาวชน
ข้อที่: 
9
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
รายละเอียด: 

9.1 ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเช่น กองทุน กสทช. กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานที่ทำให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง ได้รับประโยชน์และปลอดภัยจากการใช้ไอที รวมทั้งกิจกรรมสร้างสรรค์ทดแทนอย่างต่อเนื่องทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมดำเนินการในระดับพื้นที่แบบบูรณาการ     

9.2 ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการใช้สื่อไอทีอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ในเด็ก เยาวชน และครอบครัว ให้ครอบคลุมทุกระดับ

 

ข้อที่: 
10
ชื่อรายการ: 
ขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลประจำปี และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานเรื่องเด็กไทยกับไอที ให้ประชาชนรับทราบอย่างกว้างขวางในทุกระดับ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 9-10 สิงหาคม 2560 มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพครู ศึกษานิเทศก์ แกนนำเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อดิจิตัลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความเป็นพลเมือง เพื่อพัฒนาศักยภาพครูให้สามารถใช้ข่าวสาร สื่อ และแหล่งเรียนรู้รอบตัว โดยเฉพาะสื่อดิจิตัลเป็นเครื่องมือจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กนักเรียนในการตอบโจทย์ Head Heart Hand ได้
ข้อที่: 
11
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6
รายละเอียด: 
  • ได้รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 แล้ว
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กล่าวรายงานในงานเวทีสิทธิเด็ก ครั้งที่ 26 ภายใต้หัวข้อ "BE SMART & SAFE ONLINE : ก้าวทันสื่อ รู้ทันสิทธิ...ออนไลน์” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชน มีทักษะในการเข้าถึงสื่อ และสามารถวิเคราะห์ประเมินสื่อจากอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน มีสาระสำคัญดังนี้ นสังคมปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุคที่สื่อออนไลน์มีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนและยากต่อการควบคุม การพัฒนาและเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการเข้าถึงสื่อ และสามารถวิเคราะห์ประเมินสื่อจากอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน และเป็นการป้องกันเด็กและเยาวชนจากภัยร้ายที่แฝงมากับสื่อและเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ ประกอบกับมติสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปี 2558 ในหัวข้อ "การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชน” ซึ่งกลไกระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น สามารถส่งเสริมสนับสนุนการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และเครือข่ายสิทธิเด็ก ประเทศไทย จึงกำหนดจัดงานเวทีสิทธิเด็กครั้งนี้ขึ้น ระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย. 58 ภายใต้หัวข้อ "BE SMART & SAFE ONLINE : ก้าวทันสื่อ รู้ทันสิทธิ...ออนไลน์” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ได้มาจากการระดมความคิดของผู้แทนเด็กและเยาวชน ที่มารวมตัวกัน โดยข้อเสนอดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นการใช้สื่อออนไลน์ อย่างเหมาะสมและถูกต้อง สะท้อน ถึงสถานการณ์ ผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบในการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ภัยจากสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะเว็บไซด์ลามก ความรุนแรง การพนัน เกม และสิ่งผิดกฎหมาย ทำให้เด็กและเยาวชนอาจถูกชักชวน ชี้นำ เลียนแบบ หรือทำในสิ่งที่อาจขัดต่อกฎหมาย วัฒนธรรม ศีลธรรม ซึ่งเข้าข่ายไม่เหมาะสมโดยอาจตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ เป็นการสร้างภูมิคุมกันที่ดีที่สุดให้กับเด็กและเยาวชน ควบคู่ไปกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับบุคคลแวดล้อมที่สำคัญ คือ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้อง ให้ตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อออนไลน์ อย่างเหมาะสม
  • เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ที่มี รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นประธาน ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานขับเคลื่อนมติเด็กกับสื่อ” โดยมี ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก เป็นประธาน ทั้งนี้ เพื่อสร้างกลไกการทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2 ประเด็น ได้แก่ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “ผลกระทบจากสื่อต่อเด็กเยาวชนและครอบครัว” และมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 เรื่อง “การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชม. : กรณีเด็กไทยกับไอที” ให้มีความต่อเนื่อง ภารกิจหลักของคณะทำงานฯ จะบูรณาการการทำงานร่วมกับประเด็นเด็กกับสื่อออนไลน์ ของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่กำลังขับเคลื่อนเรื่องนี้ และจะมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขับเคลื่อนงานเด็กกับสื่อออนไลน์ ที่มาจากหลายภาคส่วนมารองรับ รวมถึงผลักดันให้มี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กในการใช้สื่อออนไลน์
  •           โดย คณะทำงานฯ มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสานใจ 1/2 อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดกรอบของการทำงาน ครอบคลุมการคุ้มครอง ทั้งกลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี และกลุ่มเยาวชน อายุ 18-25 ปี ตามกฎหมาย พร้อมทั้งยังได้ร่วมกัน เสนอหน่วยงานและองค์กร ที่จะมาเป็นคณะอนุกรรมการฯ ขับเคลื่อนงานเด็กกับสื่อออนไลน์ เพื่อเป็นกลไกการทำงานในระยะยาว ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ รวมถึงนักวิชาการ และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการนัดประชุมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในวันที่ 30 มี.ค.นี้ต่อไป
  • เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนมติเด็กกับสื่อ ครั้งที่ 2/2559 ที่มี ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก เป็นประธาน ที่ประชุมมีการนำ (ร่าง) แผนการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี (พฤษภาคม 2559- เมษายน 2560) มาหารือเพื่อสรุปนวทางการดำเนินงานและงบประมาณที่จะมารองรับ โดยเห็นชอบแผนปฏิบัติงาน 4 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ส่งเสริมเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ 2. พัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี 3. พัฒนาระบบเฝ้าระวัง และ 4. ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ที่ประชุมมอบหมายให้ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแกนหลักในโครงการต่างๆ นำเสนอรายละเอียด แผนงานโครงการ ขั้นตอนการทำงาน และงบประมาณที่ต้องใช้ในที่ประชุมครั้งหน้า เพื่อเริ่มขับเคลื่อนอย่างจริงจัง พร้อมกันทุกประเด็นในเดือนพฤษภาคม 2559 นอกจากนี้ ยังได้มอบให้แต่ละหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันเด็กจากสื่อออนไลน์ นำความก้าวหน้าและผลสำเร็จ จากการดำเนินงานตามภารกิจงานของแต่ละหน่วยงาน เสนอต่อคณะทำงานฯ เป็นระยะๆ เพื่อให้หน่วยงานอื่นๆ รับทราบ และเป็น จุดรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันเด็กจากสื่อออนไลน์ไว้ที่เดียวกัน นำไปสู่การบูรณาการการทำงาน ลดช่องว่างและความซ้ำซ้อนอีกด้วย
เอกสารหลัก: