You are here


ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน
สมัชชาครั้งที่: 
6
มติที่: 
5
ชื่อมติ: 
ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 จำนวน 6 มติ โดยมอบหมายให้ :- 1) เลขาธิการตณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในมติที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป และ 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่า มติใดสมควรเสนอให้ คสช.พิจารณาก็ให้เสนอ คสช.พิจารณาต่อไป เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธานที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2556 จำนวน 8 มติ และให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป  เมื่อวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้สนับสนุนงบประมาณในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การขับเคลื่อนระบบการจัดการอาหารในโรงเรียนและชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ณ ห้องประชุมริมธาราแกรนด์ โรงแรมสวนป่ารีสอร์ท จ.สุรินทร์ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 203 คน จากพื้นที่เป้าหมาย 12 พื้นที่ตำบลในจังหวัดสุรินทร์ การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนาระบบการจัดการอาหารในโรงเรียนโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการอาหารในโรงเรียนในระดับพื้นที่ในโรงเรียนและชุมชน นำไปสู่การวางแผนเชื่อมโยงการจัดการอาหารในโรงเรียนกับเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ ความปลอดภัยด้านอาหาร ความมั่นคงด้านอาหาร อาหารศึกษา และวัฒนธรรมการกินพื้นบ้านของสุรินทร์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป  เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 สช.จับมือกับ สสส., สกว., จังหวัดสุรินทร์และภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ 12 จังหวัดอีสาน ร่วมเรียนรู้สู่การปฏิบัติการในพื้นที่ : การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง (Learning experience) การจัดการระบบอาหารในโรงเรียนและชุมชนจังหวัดสุรินทร์... สู่การขยายผลทางนโยบายและการปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อยกระดับและขยายผลพื้นที่ขับเคลื่อนให้ครอบคลุมทุกอำเภอ ของ จ.สุรินทร์ และจังหวัดอื่นๆ ด้วย
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
รัฐบาลโดยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมผู้ปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลักดันให้ “ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน” เป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ระเบียบวาระของจังหวัด และระเบียบวาระของท้องถิ่น
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอชื่นชมกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัยที่ยินดีเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานกับ สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กรมควบคุมโรค ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคประชาชน เร่งรัดพัฒนาและดำเนินการให้ได้ตาม“มาตรฐานการจัดการอาหารในโรงเรียนและคู่มือการพัฒนาไปสู่มาตรฐาน” และ “มาตรฐานอาหารในโรงเรียน”ให้เพิ่มความสำคัญกับคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และอาหารศึกษา พัฒนาระบบสนับสนุน กำกับ ติดตาม ประเมินผลและส่งเสริมการนำมาตรฐานไปใช้ในโรงเรียนทุกสังกัดและรายงานต่อคณะกรรมการอาหารแห่งชาติรับทราบ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 4-14 มีนาคม 2557 กระทรวงศึกษาธิการได้ทำการสุ่มประเมินหลังจากโรงเรียได้รับค่าอาหารกลางวันเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ได้รับเพียง 13 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 20 บาท ซึ่งภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556 สนับสนุนงบประมาณทั้งสิ้น 24,775,999,200 บาท ส่งผลให้นักเรียนได้รับประโยชน์จำนวน 5,800,469 คน พบว่ามีเพียงร้อยละ 20 ของโรงเรียนเท่านั้นที่สามารถจัดอาหารกลางวันมีคุณภาพได้มาตรฐาน ที่เหลือยังต้องปรับปรุงทั้งคุณภาพ ปริมาณ และความสะอาด กรมอนามัยได้ผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการสร้างความเช้าใจให้เกิดขึ้นกับภาคีที่เข้าร่วม เช่น การถ่ายทอดและนำชุดความรู้ สื่อ นวัตกรรม และอาหารปลอดภัย รวมทั้งขยายผลแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการในชุมชน ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน จากปี 2556 ที่มีอยู่ 706 แห่งเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 300 แห่ง ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ อย่างน้อยภาคละ 1 จังหวัด 
  • เมื่อวันที่ศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมไมด้า 2 โรงแรมไมด้า ซิตี้ รีสอร์ท แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี ได้มีการประชุม“เครือข่ายขับเคลื่อนประเด็นระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน เพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนระบบการจัดการอาหารในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประชุมมีข้อเสนอดังนี้ ขอมติคณะรัฐมนตรีในการออกนโยบายการจัดการอาหารตามมาตรฐาน การจัดการอาหารโรงเรียน ซึ่งในรายระเอียดของมาตรฐานจะรวมไปถึงมาตรฐานระบบการจัดการอาหารโดยผู้ดูแลหลักควรเป็นสำนักโภชนาการร่วมกับกรมอนามัย และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรฐานอาหารผู้ดูแลหลักควรเป็นกรมอนามัย ร่วมกับสถาบันโภชนาการ อาหารรอบรั้วโรงเรียนผู้ดูแลหลักควรเป็น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสนับสนุนให้มีนักโภชนาการท้องถิ่นผู้ดูแลหลักควรเป็น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เกี่ยวข้อง
  • เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557  การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานระดับจังหวัด  การประชุมครั้งที่ 1/ 2557 ณ. ห้องประชุมเอราวัณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ โดยมีประเด็นหารือในเรื่อง 1) เป้าหมาย และตัวชี้วัดโครงการ  2)เรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานและคณะอนุกรรมการประเด็น 3) การพิจารณาพื้นที่เข้าร่วมโครงการ และ 4) แผนดำเนินการฯ  กรอบการใช้จ่ายงบประมาณ บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ
  • เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานระดับจังหวัด  การประชุมครั้งที่ 2/ 2558 ณ.สวนป่ารีสอร์ท จังหวัดสุรินทร์ มีประเด็นหารือในเรื่อง 1) การวางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ซึ่งจะมีการจัดการประชุม 3 ครั้ง 2) เป้าหมายและกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ: ครอบคลุม 12 ตำบล และ 3) การจัดเวทีเครือข่ายในพื้นที่นำร่องจังหวัดสุรินทร์ 
  • วันที่ 24 เมษายน 2558 จากเอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานเรื่องการติดตามและประเมินคุณภาพอาหารกลางวันนักเรียน จำนวน 40 จังหวัด รวม 109 แห่งพบว่า มี 38 แห่ที่มีการจัดอาหารได้มาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย โดยจัดอาหารได้หลากหลายครบ 5 หมู่ และมีการจัดทำเมนูอาหารหมุนเวียน ที่เหลืออีก 71 แห่ง ยังต้องมีการปรับปรุงจัดทำเมนูอาหารตามมาตรฐานโภชนาการ การปรุงและการประกอบอาหาร การตักอาหาร การตรวจสอบคุณภาพอาหารและการประเมินคุณค่าทางโภชนาการ
  • เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการโภชนาการ ในฐานะที่ปรึกษากรมอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ตามที่ภาครัฐได้เพิ่มงบประมาณค่าอาหารกลางวันให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาจาก 13 บาทเป็น 20 บาทต่อหัวนั้น จากการศึกษาพบว่า เงิน 20 บาท สามารถจัดหาอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับเด็กนักเรียนได้อย่างเพียงพอ แต่หลังจากเพิ่มงบฯ ค่าอาหารกลางวันแล้ว กรมอนามัย กระทรวงศึกษาธิการและ สสส. ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามว่าแต่ละโรงเรียนมีการจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพให้กับนักเรียนหรือไม่ โดยพิจารณาจากคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับและสุขาภิบาลอาหารพบว่า ดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่การประกอบอาหารในโรงเรียนมากกว่าร้อยละ 50 ไม่ได้มาตรฐานไม่สะอาดทั้งในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการของอาหารกลางวันนั้นต้องมีสารอาหารครบ 5 หมู่ ไม่ทำรสหวานจัด เค็มจัด มันจัด และควรมีผัก ผลไม้ทุกวัน แต่ในความเป็นจริงกลับมีน้อยมาก จากการวิเคราะห์พบว่า เกิดจากศักยภาพของผู้ที่รับผิดชอบเรื่องอาหารกลางวันเด็กที่ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ตั้งแต่ผู้บริหารโรงเรียน แม่ครัว ครู ที่ยังขาดทักษะในการทำอาหารให้เด็ก จึงควรเร่งดำเนินการแก้ไข
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พัฒนากฎระเบียบหรือแนวทางที่เอื้อต่อการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการจัดทำแผนพัฒนาระบบการจัดการอาหารของนักเรียนในโรงเรียนทุกสังกัดอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ดังนี้
รายละเอียด: 

3.1 วางแผนร่วมกับโรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่เกี่ยวข้องทบทวนและปรับปรุง    กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการจัดอาหารกลางวันให้นักเรียนทุกคนพัฒนาระบบในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล องค์ความรู้ งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ภายใต้ข้อมูลและสถานการณ์ที่เหมาะสมของภาวะเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร ความมั่นคงทางอาหารและอาหารศึกษา ให้สอดคล้องกับความเชื่อ ศาสนาและวัฒนธรรมการบริโภคของพื้นที่

3.2 ทบทวนการบริหารจัดการอาหารเสริม(นม)โรงเรียนที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียนโดยมอบให้โรงเรียนและหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดำเนินการควบคุม กำกับ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การขนส่ง การจัดเก็บ การจ่ายแจก และการตรวจสอบคุณภาพ

3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคการเกษตรในพื้นที่โดยสนับสนุน การสร้างแหล่งอาหารทางการเกษตรในพื้นที่และใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากพื้นที่

3.4 ส่งเสริมการใช้ “มาตรฐานการจัดการอาหารในโรงเรียนและคู่มือการพัฒนาไปสู่มาตรฐาน” และ “มาตรฐานอาหารในโรงเรียน”ที่พัฒนาในมติข้อ ๒ และพัฒนากลไกควบคุมระบบสุขาภิบาล คุณภาพอาหาร และการตลาดอาหารในโรงเรียนโดยเน้นให้มีผักและผลไม้ให้เพียงพอ มิให้มีการจำหน่ายและบริการอาหารประเภทไขมัน น้ำตาล โซเดียมสูงเกินมาตรฐานและส่งเสริมการอ่านฉลากอาหาร

3.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง แม่ครัว ผู้ประกอบการ ครู บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน และเยาวชนผ่านการให้ความรู้และส่งเสริมกระบวนการทำโครงงานหรือวิจัยกลุ่มแก่นักเรียนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสมด้วยตัวเอง พัฒนาทักษะการเฝ้าระวังทางโภชนาการ และการติดตามตรวจสอบระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน เน้นขั้นตอนการจัดซื้อ จัดจ้าง และการใช้วัตถุดิบให้ครบตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาดูงานการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในเรื่อง “อาหารโรงเรียนเปลี่ยนชุมชน” ณ เทศบาลตำบลเมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์  เทศบาลตำบลเมืองแกได้สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนส่งเสริมคุณภาพอาหารกลางวันเด็ก โดยให้ชุมชนและผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม จนกลายเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ ด้วยการทำระบบครัวกลาง โดยการสำรวจและขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่และรับซื้อผลผลิตมาปรุงอาหารโดยแม่ครัวกลางที่จ้างมาเพียงกลุ่มเดียวโดยใช้สูตรอาหารจากโปรแกรม Thai School Lunch  จากการดำเนินการทำให้เด็กๆ เมืองแกได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัยจากแหล่งผลิตที่ไว้ใจได้ นับว่าเป็นท้องถิ่นต้นแบบที่นำแนวทางของธรรมนูญสุขภาพเป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายร่วมกัน นำมาสู่การสร้างการมีส่วนร่วม
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานวิชาการ ชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียนและเยาวชน ศึกษาเพื่อหารูปแบบและจัดตั้งกลไกการจัดการ การตรวจสอบ การประเมินผล การควบคุมคุณภาพอาหารในโรงเรียนให้เหมาะสมกับสภาวะของนักเรียนบริบทของพื้นที่โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมและหลักศาสนา
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 4-14 มีนาคม 2557 กระทรวงศึกษาธิการได้ทำการสุ่มประเมินหลังจากโรงเรียนได้รับค่าอาหารกลางวันเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ได้รับเพียง 13 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 20 บาท ซึ่งภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556 สนับสนุนงบประมาณทั้งสิ้น 24,775,999,200 บาท ส่งผลให้นักเรียนได้รับประโยชน์จำนวน 5,800,469 คน พบว่ามีเพียงร้อยละ 20 ของโรงเรียนเท่านั้นที่สามารถจัดอาหารกลางวันมีคุณภาพได้มาตรฐาน ที่เหลือยังต้องปรับปรุงทั้งคุณภาพ ปริมาณ และความสะอาด
  • วันที่ 14 มีนาคม 2558 สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้จัดแผนการตรวจสุขาภิบาลอาหารสถานศึกษาในพื้นที่เขตประจำภาค ปึการศึกษา 2/2557 ตามโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมฯได้ออกตรวจโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนเอกชน และมหาวิทยาลัย ทางด้านกายภาพ ด้านเคมี เฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ความสะอาดของภาชนะและอุปกรณ์ สุขลักษณะของผู้สัมผัสอาหาร ตรวจคุณภาพน้ำดื่ม วัดอุณหภูมิตู้แช่นม ตู้แช่อาหาร รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคระบาดตามฤดูกาล และด้านสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ประจำภาคปีการศึกษา 2/ 2557 การจัดแผนตรวจสุขาภิบาลอาหารดังกล่าวได้มีการดำเนินการ อย่างต่อเนื่องโดยตรวจทางด้านกายภาพและห้องส้วม ตรวจความสะอาด ของภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร และสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสอบด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (test kit) ตรวจสอบบ่อดัก ไขมันให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเดือนมีนาคม 2558 กำหนดตรวจในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น และให้คำแนะนำตามสุขลักษณะที่ถูกต้องต่อไป เพื่อให้บุคลากร คณะผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานของกรุงเทพมหานคร
  • วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 นายทรงวุฒิ มลิวัลย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรณรงค์และพัฒนาการสร้างเครือข่ายโครงการอาหารกลางวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายในการดำเนินงาน และการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารกลางวันในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งทำให้บุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันและนักประชาสัมพันธ์ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน อย่างแท้จริง ในการประชุมดังกล่าวจะมีการเสวนาแนวทางการดำเนินโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. ปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กไทยในปัจจุบันและแนวคิดงานส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน การดำเนินงานสู่ความสำเร็จของโรงเรียนต้นแบบอาหารกลางวัน. ตลอดจนแนวทางการติดตามการดำเนินโครงการทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตและโครงการพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดีในโรงเรียน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันและนักประชาสัมพันธ์ จำนวน 366 คน. กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 2 คน. รวมทั้งสิ้น 384 คน
  • เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดการประชุมปฏิบัติการโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี รุ่นที่ 1-4 โดยมี นายพะโยม ชิณวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธาน ณ ห้องประชุมโรงแรมรอยัลฮิลล์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครนายก ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี จำนวน 184 คนจาก 184 โรงเรียน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดีและร่วมแลกแปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ลดภาวะทุพโภชนาการของเด็กในวัยเรียน และรับนโยบายในการบูรณาการงานให้เข้ากับโครงการอื่นๆ เช่น โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวพระราชดำริ 
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ.เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ภาควิชาการ และภาคประชาชน พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ประกอบด้วยฐานข้อมูล กลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านโภชนาการ ความปลอดภัยด้านอาหาร คุณภาพอาหาร ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของเด็กและข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้องของเด็ก ระบบติดตามและประเมินผล การส่งเสริมการวิจัยและการสื่อสารสู่สาธารณะ
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทบทวนและปรับปรุงระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา ให้ครอบคลุมโรงเรียนทุกสังกัดอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ กำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชัดเจน และกำหนดแนวทางดำเนินงาน กำกับดูแล และติดตามประเมินผล โดยให้ความสำคัญกับอาหารในด้านคุณภาพอาหารความปลอดภัยด้านอาหาร ความมั่นคงทางอาหารให้มีปริมาณที่เพียงพอและอาหารศึกษา
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8
เอกสารหลัก: