You are here


สุขภาวะชาวนา : การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชาวนา
สมัชชาครั้งที่: 
8
มติที่: 
1
ชื่อมติ: 
สุขภาวะชาวนา : การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชาวนา
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2559 โดยมี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม ได้มีมติ เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558 จำนวน 5 มติ และให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสหพันธ์สมาคมชาวนาไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เครือข่ายชาวนาเกษตรอินทรีย์รายย่อย สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภาคประชาสังคมในพื้นที่ เป็นต้น ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานราชการ เช่น กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการพัฒนาชุมชน กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น รวมทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เครือข่ายผู้บริโภค องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคธุรกิจ เพื่อดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะชาวนา ได้แก่ ส่งเสริมการผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและการตัดต่อพันธุกรรม ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สนับสนุนการใช้หลักการตลาดนำการผลิต เสริมสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว (นบข.) และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด พิจารณาการปรับปรุงกลไกและโครงสร้างของคณะกรรมการ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับชาวนา โดยมีผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้แทนสหพันธ์สมาคมชาวนาไทย และองค์กรของชาวนาอื่น ๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้สภาเกษตรกรระดับจังหวัด ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเครือข่ายชาวนารุ่นใหม่ กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยจากธรรมชาติที่เข้าใจวิถีการดำรงชีวิตแบบชาวนา ปราชญ์ชาวบ้าน มหาวิชชาลัยชุมชนชาวนาเกษตรกร เป็นต้น โดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ในการเรียนรู้เพื่อยกระดับสร้างความร่วมมือ และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาองค์กรชาวนาทุกระดับทุกพื้นที่ให้มีคุณภาพ เช่น การจัดทำแผนชุมชนทุกหมู่บ้านให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ การจัดการฐานทรัพยากรการผลิตข้าวโดยชุมชน (ดิน น้ำ ป่า) ศูนย์ข้าวชุมชน ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ข้าว ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมด้านกสิกรรม ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะชาวนาทั้งในและนอกระบบ เป็นต้น
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติพิจารณาร่างข้อเสนอยุทธศาสตร์ในเอกสารสมัชชาสุขภาพ ๘ / หลัก ๒ / ผนวก ๑ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10
เอกสารหลัก: