You are here


วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ
สมัชชาครั้งที่: 
8
มติที่: 
5
ชื่อมติ: 
วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2559 โดยมี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม ได้มีมติ เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558 จำนวน 5 มติ และให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้           1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอดังนี้              1.1 เห็นชอบร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (Political Declaration of the High Meeting of the General Assembly on Antimicrobial Resistance) ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในการจัดการกับปัญหาการตื้อยาด้านจุลชีพ โดยจะมีการรับรองร่างปฎิญญาฯ ในการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการตื้อยาต้านจุลชีพ (United Nations General Assembly (UNGA) High-level Meeting on Antimicrobial Resistance) ในวันพุธที่ 21 กันยายน 2559 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา             1.2 ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการต่างประเทศร่วมับรองร่างปฎิญญาดังกล่าว        2. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฎิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพที่ไม่ใช้สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2560 โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติรับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘ เรื่อง “วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ” โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อยู่ระหว่างเตรียมการจัดงานเปิดตัวแผนปฏิบัติงานการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย พ.ศ.2560-2564 และเตรียมลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันเดินหน้าแผนปฏิบัติงาน วันที่ 23พฤศจิกายน 2560 ทำให้เรื่องนี้ขับเคลื่อนในวงกว้างอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
๑. ขอให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอคณะรัฐมนตรีผ่านคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้การจัดการปัญหาแบคทีเรียดื้อยาเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้หน่วยงาน องค์กร และภาคีที่เกี่ยวข้อง สามารถประสานงานอย่างบูรณาการ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทยตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้

           - เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 เป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติ

           - มอบหมายให้ สธ.ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564

           - มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง รับไปดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป

                 สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 -2564 เป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับแรกของไทยที่เน้นการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งจะเป็นกรอบการทำงานให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของไทยในการร่วมแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในระดับโลก และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ (High Level Meeting on Antimicrobial Resistance) ภายใต้การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ (United Nations General Assembly : UNGA) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 21 กันยายน 2559 นี้ โดยแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว  ยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยา และความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน และยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารและพัฒนากลไกระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืน

  • เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559 แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 -2564 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 นั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มีเป้าหมายลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาร้อยละ 50 ลดการใช้ยาต้านจุลชีพในคนและในสัตว์ลงร้อยละ 20 และ 30 และประชาชนมีความตระหนักรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 20 ภายใน 5 ปี
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นเจ้าภาพหลัก ประสานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจด้านสุขภาพ ดำเนินการให้มีกลไกกลางระดับชาติ เพื่อจัดการปัญหาวิกฤติการณ์แบคทีเรียดื้อยา ทำหน้าที่
รายละเอียด: 

2.1 บูรณาการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การจัดการแบคทีเรียดื้อยาของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี

2.2 จัดให้มีศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อใช้ในการจัดการปัญหาวิกฤติการณ์แบคทีเรียดื้อยาทั้งในระดับประเทศและจังหวัด โดยทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสื่อสารกับผู้กำหนดนโยบาย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสั่งใช้และจ่ายยาต้านแบคทีเรีย รวมถึงประชาสังคมและประชาชนทั่วไป

2.3 สนับสนุนการดำเนินการตามแผนฯ ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผล รวมทั้งสื่อสารการดำเนินการตามแผนฯ อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 22 เมษายน 2559 นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการฯ อย. ได้เป็นประธานเปิดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย พ.ศ.2559-2561 ณ โรงแรมิราเคิลแกรนด์ พร้อมกันนี้ ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการฯ อย. เป็นประธานเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย พ.ศ.2559-2561 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับ อย.
  • วันที่ 22 เมษายน 2559 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีรับฟังความเห็นต่อร่าง “แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑” โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สช. กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร 
    ระบบการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาของประเทศไทย จึงต้องปรับตัวในเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานมากขึ้นด้วย ร่าง “แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑” ฉบับนี้ ได้ผ่านกระบวนการทำงาน ทั้งจากระดับ บนลงล่าง คือในส่วนของหน่วยงานที่กำกับดูแลและขับเคลื่อนนโยบาย และจากระดับ ล่างขึ้นบน คือพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ผ่านกลไก สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยคาดว่า จะนำไปสู่การนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙ เพื่อกำหนดให้การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นวาระแห่งชาติ และสามารถปฏิบัติการขับเคลื่อนโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยราชการ สถานพยาบาล ร้านขายยา ชุมชน และประชาชน ฯลฯ 
             
    ร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ  1.การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ทางห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาล และทางระบาดวิทยาในโรงพยาบาล ชุมชน และสิ่งแวดล้อม 2.การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ 3.การป้องกัน ควบคุม AMR และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในสถานพยาบาล 4.การป้องกันและควบคุม AMR การใช้ยาต้านจุลชีพในการเกษตรและสัตว์เลี้ยง และการทำความเข้าใจกับเกษตรกร 5.การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน 6.การพัฒนาโครงสร้างและกลไกของการทำงานเชิงบูรณาการ การติดตามประเมินผล และประสานความร่วมมือภายในประเทศและต่างประเทศในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ฯ นี้ เน้นการนำสู่การปฏิบัติ (action-oriented) เมื่อยุทธศาสตร์ฯ นี้ผ่าน ครม. แล้ว ก็จะมีคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ให้มีความยั่งยืนต่อไป
  • เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสม ส่วนยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง ทุกระดับ เร่งรัดดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยตั้งเป้าระหว่างปี 2560-2564 จะลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะลงร้อยละ 20 ลดการเจ็บป่วยจากเชื้อดื้อยาร้อยละ 50 ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมบัญชีกลาง และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่จะพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานดังนี้ 1) ระดับต้นน้ำ โดยจัดระบบการควบคุมกำกับการผลิต/การนำเข้าและการกระจายยาที่มีคุณภาพ รวมถึงการจัดการยาที่มีคุณภาพในโรงพยาบาล โดยการกำกับดูแลของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด 2) ระดับกลางน้ำ โดยให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบ มีการจัดการเชื้อดื้อยา การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น และ 3) ระดับปลายน้ำ โดยการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและประชาชนในเรื่องการใช้ยาที่เหมาะสม
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาด้านจุลชีพ (AMR) ในสถานบริการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560

            1) ประชุมถ่ายทอดนโยบายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ RDU

            2) ประชุมการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) โรงพยาบาลต้นแบบ 24 แห่งจาก 12 เขตสุขภาพ

            3) ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิชาการ RDU สำหรับครูในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ

            4) โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปที่ดำเนินการและผ่าน RDU ขั้นที่ 1 จำนวน 718 แห่งจากโรงพยาบาลเป้าหมาย 896 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80

  • เมื่อวันที่ 5-9 ธันวาคม 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เข้าร่วมประชุมสภามนตรี องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) การดำเนินการของประเทศไทยในเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR)  ด้วยประเทศไทยตระหนักถึงภัยคุกคามของ AMR ต่อความมั่นคงอาหารและสุขภาพของมนุษย์ ทั้งนี้ได้พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อควบคุม ป้องกัน และแก้ปัญหาเรื่อง AMR โดยยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ ฉบับแรกของประเทศไทยได้ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ.2560-2564 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขอไทยในการร่วมมือแก้ปัญหา AMR ระดับนานาชาติ
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นกลไกติดตาม สนับสนุน และร่วมดำเนินการผลักดันในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ และแผนปฏิบัติการ และร่วมดำเนินการขับเคลื่อนแผนดังกล่าวสู่การปฏิบัติ
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมัชชาสุขภาพจังหวัด ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการระดับจังหวัดอำเภอ และภาคประชาสังคม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ติดตามสนับสนุนและร่วมดำเนินการขับเคลื่อนในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้เกิดการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล และการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ร่วมสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ประชาสังคม โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งร่วมเฝ้าระวังปัญหาการใช้และการจ่าย/จำหน่ายยาต้านแบคทีเรียที่ไม่สมเหตุผลหรือผิดกฎหมาย ทั้งนี้ให้ครอบคลุม การป้องกันและการรักษาพยาบาล ในคน สัตว์ และการใช้ในภาคเกษตรกรรม
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการควบคุมตามกฎหมายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียดื้อยาและยาต้านแบคทีเรีย เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันบังคับใช้และปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการจัดการวิกฤติการณ์แบคทีเรียดื้อยาตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของยามนุษย์ ยาสัตว์ และสารเคมีที่ใช้ในพืช
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559 “วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ” ซึ่งถือเป็นปัญหาระดับโลก ที่ขยายวงมาถึงประเทศไทยแล้ว โดยในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 ต้องการให้มีการจัดการปัญหาอย่างบูรณาการ มีกลไกหลักคือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะประสาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันผลักดันประเด็น วิกฤติการณ์เชื้อดื้อยาฯ ให้เป็นวาระแห่งชาติ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ปี 2559-2561 โดยต้องเปิดรับฟังความคิดเห็น ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกรมประชาสัมพันธ์ สนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพและด้านการเกษตร และเครือข่ายร้านยาคุณภาพ ในการร่วมกันสร้างความตระหนักรู้และความเข้มแข็งแก่ภาคประชาชนและเกษตรกร ผ่านการฝึกอบรมและการพัฒนาชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเอง การใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล การรู้เท่าทันการโฆษณายา การใช้สมุนไพรทางเลือก
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และสภาวิชาชีพ พัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา เรื่องสุขอนามัย การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงความแตกฉานด้านสุขภาพ เพื่อลดความเจ็บป่วย และสามารถดูแลตนเองในโรคพื้นฐานได้โดยไม่ต้องใช้ยาต้านแบคทีเรีย และหากจำเป็นต้องใช้ยา ก็ควรมีความรู้เรื่องเชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างเหมาะสม
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานประสานหรือสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เช่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสถาบันการอุดมศึกษา ร่วมกันกำหนดวาระสำคัญของการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชื้อแบคทีเรียดื้อยา พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนาดังกล่าว รวมทั้งต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในวงกว้างให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
ข้อที่: 
9
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้มีการพัฒนาระบบงานในสถานพยาบาลและภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้หมายรวมถึงบุคลากร สถานที่และทรัพยากร เพื่อเร่งรัดและสนับสนุนการจัดการปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
รายละเอียด: 

9.1 หน่วยงานรัฐที่มีสถานพยาบาลในกำกับและกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานควบคุมกำกับสถานพยาบาลเอกชน ร่วมกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

9.2 หน่วยงานรัฐที่มีสถานพยาบาลสัตว์ในกำกับและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานควบคุมกำกับสถานพยาบาลสัตว์เอกชน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

9.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับวงจรการผลิตภาคปศุสัตว์ ประมง และเกษตร จัดให้มีระบบการรับรองกระบวนการผลิต พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

 

ข้อที่: 
10
ชื่อรายการ: 
ขอให้สภาวิชาชีพด้านสุขภาพ องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพ และภาคการศึกษา ด้วยการสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ
รายละเอียด: 

10.1 พัฒนาแนวทางปฏิบัติในการใช้ยาต้านแบคทีเรียในระดับต่าง ๆ ตลอดจนแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อ และเผยแพร่แนวทางปฏิบัติผ่านช่องทางที่หลากหลายไปสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง รวมถึงสนับสนุนให้บุคลากรด้านสาธารณสุขปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ

10.2 สร้างความตระหนักในหมู่บุคลากรด้านสุขภาพ ถึงความสำคัญของการเลือกใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล และผลกระทบจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียเกินความจำเป็น

10.3 เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของกำลังคนด้านสุขภาพทุกสาขา[1] ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อ พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจกำลังคนด้านสุขภาพในการทำงานด้านการควบคุมโรคติดเชื้อ

10.4 สนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์แก่บุคลากรสุขภาพและประชาชนเพื่อให้เกิดการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล

10.5 สนับสนุนให้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขาเพื่อมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความตระหนักรู้ถึงปัญหาเชื้อดื้อยา มีเจตคติที่จะใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างรับผิดชอบ และมีสมรรถนะในการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผล

 

[1] กำลังคนด้านสุขภาพ หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่มีบทบาทด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งรวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข บุคลากรสายสนับสนุน บุคคลากรทางการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก อาสาสมัครด้านสุขภาพต่างๆ แกนนำและเครือข่ายสุขภาพ ตลอดจนบุคคลต่างๆที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

ข้อที่: 
11
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาต้านแบคทีเรีย จัดทำแนวปฏิบัติขององค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิต นำเข้า ขาย โฆษณาหรือส่งเสริมการขายยา เพื่อลดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่สอดคล้องกับเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยา และมีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง และเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดระบบเพื่อติดตามและเฝ้าระวังการปฏิบัติขององค์กรและบุคลากร อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ข้อที่: 
12
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10
เอกสารหลัก: