You are here


สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
สมัชชาครั้งที่: 
9
มติที่: 
4
ชื่อมติ: 
สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้            1. เห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 เรื่อง การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองเพื่อสุขภาวะ และมอบหมายให้คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาดำเนินการ โดยนำข้อเสนอแนะจากกรรมการไปพิจารณาร่วมด้วย และนำมารายงานให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรับทราบความคืบหน้าต่อไป            2. เห็นชอบให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 จำนวน 4 มติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป            3. มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ แจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 พ.ศ.2559 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนของมติที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควร เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานปัญญา เพื่อขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ภาคกลาง-ตะวันตก ณ ห้องประชุมทวารวดี 1 โรงแรมไมด้าทวารวดีแกรนด์ จังหวัดนครปฐม มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 100 คน ที่ประชุมมีการนำเสนอรายละเอียดของแต่ละมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทั้ง 4 ประเด็นได้แก่ น้ำดื่มปลอดภัยสำหรับประชาชน การจัดการและพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนและเมืองเพื่อสุขภาวะ การสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัยด้วยการบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม และสานพลังปราบยุงลายโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน โดยเน้นหนุนเสริมการทำงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ซึ่งขับเคลื่อนมติอยู่ปัจจุบันให้เกิดพลังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยกลไกประชารัฐ ตัวแทนภาครัฐ วิชาการ ประชาสังคม ทำงานอย่างสอดคล้องเป็นทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจให้ภาคีเครือข่าย และแลกเปลี่ยนสถานการณ์ และความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด มีการประเมินสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ แผนงาน กิจกรรม และงบประมาณของแต่ละหน่วยงานที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้เห็นต้นทุนของจังหวัด ก่อนร่วมกันออกแบบกิจกรรมการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม โดยจะมีการติดตามความก้าวหน้าและนำมาสรุปเป็นความรู้ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกันต่อไป
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้ ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพและองค์กรสุขภาพภาคประชาชน โดยการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันดำเนินการพัฒนามาตรการของพื้นที่ ในการดำเนินการปราบยุงลายอย่างครบวงจร ทั่วถึง และยั่งยืน โดยเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยให้กับประชาชน เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว ใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบของทุกภาคส่วน ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับชุมชน
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และ สถาบันบำราศนราดูร ร่วมกันแถลงข่าวโครงการ “ประชารัฐร่วมใจปราบยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก และรณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียน 2017” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1 สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี โดยมีนิทรรศการและสาธิต 100 วิธีปราบยุงลาย พร้อมรณรงค์โรงพยาบาลสะอาดปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย: Clean and Green Hospital การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 จึงได้มีมติเรื่อง การสานพลังปราบยุงลายโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่ให้ความสำคัญกับความร่วมแรงร่วมใจของคนในพื้นที่ระดับชุมชน ที่อยู่อาศัย วัด โรงเรียน และที่ทำงานของตนเอง ช่วยกันจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึงสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งด้วย นอกจากนั้น กลุ่มอาเซียนซึ่งพบปัญหาผู้ป่วยไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ราย กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” (ASEAN Dengue Day) โดยปีนี้ ได้กำหนดประเด็นสารการรณรงค์ คือ “United Fight Against Dengue หรือ “ประชารัฐร่วมใจปราบยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน กำหนดให้การปราบยุงลายเป็นเป้าหมายการดำเนินงาน โดยเชื่อมโยงกลไกการปราบยุงลายของจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสุขภาพนั้น ๆ รวมถึงการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง หรือสำนักงานป้องกันควบคุมโรค หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานด้านสาธารณสุขภาครัฐทุกระดับในจังหวัด
รายละเอียด: 

3.1 สนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิชาการ และกระบวนการในการปราบยุงลายอย่างมีส่วนร่วม เช่น การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์ความรู้ในเรื่องโรคติดต่อนำโดยแมลง  ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ สำนักงานปกครองจังหวัด สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ภาคีเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน และหน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.2 ประสานความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานปกครองจังหวัด สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ทำให้เกิดแผนการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจนในทุกระดับ

3.3 ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการเรียนการสอน หรือการอบรมเกี่ยวกับการปราบยุงลายในท้องถิ่น

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมรณรงค์และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกตามแผนปฏิบัติการ “โครงการกรุงเทพฯ เขตปลอดยุงลาย” ณ บริเวณชุมชนเพชรเกษม 21 และขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
  • เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรม “สัปดาห์ฆ่ายุงลาย” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย แจกทรายเคลือบสารกำจัดลูกน้ำยุงลายพร้อมโลชั่นทากันยุง
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการปราบยุงลาย
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้ สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และภาคประชาชน
รายละเอียด: 

5.1 ร่วมกันพิจารณาดำเนินการโดยกระบวนการสมัชชาสุขภาพพื้นที่ ให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับจังหวัดเพื่อ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน”

5.2 ดำเนินงานกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในบ้าน รอบบ้าน และพื้นที่สาธารณะ  อย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง และต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการทางธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมกลุ่มสร้างเครือข่าย หมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น 

5.3 สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำข้อกำหนดท้องถิ่น (ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือเทศบัญญัติ) ให้มีมาตรการปราบยุงลายโดยชุมชน พร้อมทั้งปฏิบัติตามอย่างจริงจัง เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การกำจัดขยะ ในทุกพื้นที่ อย่างเป็นระบบ ทั่วถึง และยั่งยืน เป็นต้น

5.4 เข้าร่วมในระบบสุขภาพอำเภอ  ในการประสาน ติดตาม ประเมินผล สนับสนุนการขับเคลื่อนในพื้นที่ทุกระดับอย่างจริงจัง อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำธรรมนูญสุขภาพระดับตำบล และกลไกอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน เป็นต้น

5.5 สนับสนุนให้นำมาตรการปราบยุงลายโดยชุมชน กำหนดไว้ในธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • .เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ที่ อบต.ห้วยน้ำขาว อ.คลองท่อม จ.กระบี่ นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมคณะ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาดูงานตำบลต้นแบบจัดการไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน และกระบวนการจัดการของธนาคารขยะ ที่เกิดจากความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่างภาครัฐ หน่วยงานด้านสาธารณสุขทุกระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน สถานศึกษา และภาคประชาชน ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ใช้หลักการทำงานของ “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ” และ “ตำบลจัดการสุขภาพ” เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ แกนนำชุมชนและภาคประชาชน เข้ามามีส่วนในการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและประเมินผล” เพื่อมุ่งสู่ตำบลต้นแบบจัดการโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน สำหรับชุมชนใน ต.ห้วยน้ำขาว ได้มีการดำเนินงานที่เข้มแข็งและมีความร่วมมือจากเครือข่าย ดังนี้ 1.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช (สคร.11) เป็นเจ้าภาพหลัก เชิญเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดปัญหา ได้แก่ หน่วยงานสารณสุขระดับเขต อำเภอและตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน สถานศึกษาและภาคประชาชน 2.อบต.ห้วยน้ำขาว เป็นเจ้าภาพหลัก ในการประชุมจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตำบล ซึ่งในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาชุมชน โดยกำหนดให้โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาอันดับ 1 3.การดำเนินงานที่สอดคล้องกับ “มาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดย อบต.ห้วยน้ำขาว จัดทำโครงการบ้านสะอาด ปลอดโรคติดต่อ มีการประกวดและประกาศเกียรติคุณแก่บ้านและหมู่บ้านต้นแบบ โดยมีนายอำเภอคลองท่อม เป็นประธาน และ 4.การร่วมมือจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชน โดยพบว่าชุมชนใช้วิธีทางกายภาพ เช่น การเก็บ คัดแยกขยะในชุมชนและโรงเรียน และวิธีทางชีวภาพ เช่น การใช้ปลาหางนกยูงกินลูกน้ำ และมีการจัดตั้ง “ธนาคารขยะชุมชน” โดยเริ่มจากผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 เป็นแกนนำร่วมกับเครือข่าย สร้างจิตสำนึกเรื่องความสะอาดและเสียสละ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะคืนเป็นสวัสดิการชุมชน และช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค ชุมชนมีการขับเคลื่อนกิจกรรมสู่การปฏิบัติ จากการจัดการขยะโดยชุมชน ส่งผลให้เกิดการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ สิ่งแวดล้อมชุมชนดีขึ้น และยังส่งผลให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลงอย่างยั่งยืน ค่าดัชนีลูกน้ำในชุมชนลดลง รวมทั้งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงตามไปด้วย ทั้งระดับตำบลและในชุมชนเอง เช่น ในหมู่ที่ 7 บ้านนา จากปี 2558 พบผู้ป่วย 12 ราย ปี 2559 ผู้ป่วยลดลงเหลือ 2 ราย และปี 2560 ยังไม่มีผู้ป่วย ส่วนใน ต.ห้วยน้ำขาว จากที่เคยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในปี 2558 จำนวน 52 ราย ลดลงเหลือ 15 รายในปี 2559 และในปี 2560 นี้ พบเพียง 6 ราย
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานหลัก ประสานงาน กับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ องค์กรด้านศาสนาอื่น ๆ และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และประชาสังคมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
รายละเอียด: 

6.1 จัดทำแผนปฏิบัติงานและแนวทางการดำเนินงาน ในการปราบยุงลายแบบบูรณาการทุกภาคส่วนโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ให้เสร็จภายใน 1 ปี

6.2 ประสานและสนับสนุนการปราบยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงาน มีการติดตาม ประเมินผล และรายงานผลเป็นระยะ อย่างน้อยปีละสองครั้ง และเผยแพร่ต่อสาธารณะ

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ณ โรงแรมลีการ์เดนท์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
  • เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2560 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ป้องกัน ควบคุมโรคติตต่อนำโดยยุงลาย ณ โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีฟัวข้อการแลกเปลี่ยนดังนี้ 1) เป้าหมายแนวทางด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระยะปฏิรูป พ.ศ.2560-2564 2) ภาพอนาคตของระบบเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 3) ผลประเมินแผนยุทธศาสตร์ระบบเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกภาพรวมประเทศ พ.ศ.2559-2560 และ 4) แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือเทศบัญญัติ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น สถานที่ก่อสร้าง สถานที่รกร้างว่างเปล่า สถานที่รวบรวมขยะ แค้มป์คนงานก่อสร้าง ที่พักอาศัยชั่วคราว และบ้านเช่า เป็นต้น สนับสนุนให้เกิดการบังคับใช้อย่างจริงจัง
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการดำเนินการวิจัยและพัฒนา “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” และเผยแพร่ข้อมูลผลงานวิจัยให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ข้อที่: 
9
ชื่อรายการ: 
ขอให้ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และกรุงเทพมหานครโดยสำนักอนามัย ส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์ การสานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐานด้วยกลไกเครื่องมือ บุคลากรที่มีอยู่ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนด้วย
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 กรมควบคุมโรคได้จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง “กำจัดลูกน้ำยุงลาย ก่อนออกกำลังกายทุกวันพุธ” ณ โรงเรียนไผทอุดมศึกษา เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
  • เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ที่สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และนายแพทย์ชยนันท์ สิทธิบุศย์ รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร ร่วมแถลงข่าว “ประชารัฐร่วมใจปราบยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก และรณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียน 2017”
  • เมื่อวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2560 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้ชุดชอฟต์แวร์ “ทันระบาด” เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ปี 2560 ณ โรงแรมไมด้า กรุงเทพฯ
  • เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข  อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อม ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์  ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวสื่อรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ ชุด “เอาจริง  ให้ยุงสิ้นลาย” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ประชาชนและตระหนักถึงอันตรายของยุงลาย รวมถึงวิธีการกำจัดยุงลายที่ถูกต้อง เป็นการเปิดตัวสื่อรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ ชุด “เอาจริง ให้ยุงสิ้นลาย   โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อเพื่อารสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม โดยร่วมดำเนินงานสร้างสรรค์ ผลิต และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ตามโครงการดังกล่าว จากนั้นได้จัดทำโฆษณาขึ้น 4 เรื่อง เผยแพร่ลงสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และดิจิทัลต่างๆ ได้แก่ 1.เรื่องขยายพันธุ์  2.เรื่องไม้แบต หนึ่งในวิธีกำจัดยุงลายโดยใช้ไม้ช๊อตยุง  3.เรื่องฟันปลอม  และ 4.เรื่องฝาโอ่ง  โดยเนื้อหาต้องการสื่อถึงความน่ากลัวของการแพร่พันธุ์ยุงลายและวิธีป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อไม่ให้ยุงลายวางไข่ได้  ซึ่งโฆษณาชุดนี้ได้เผยแพร่สู่ประชาชนเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อภาพเคลื่อนไหวบนป้ายกลางแจ้ง เช่น ตามรถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้าใต้ดิน สื่อบนรถเมล์ และสื่อดิจิทัล  
ข้อที่: 
10
ชื่อรายการ: 
ขอให้ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10
เอกสารหลัก: