You are here


การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจั...
สมัชชาครั้งที่: 
7
มติที่: 
1
ชื่อมติ: 
การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง
ผลการปฏิบัติงาน: 
เครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีฉันทามติเรื่อง การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง ในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 24-26 ธันวาคม 2557 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธานที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2557 จำนวน 5 มติ และให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ความเห็นต่อการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557  เรื่อง “การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง” ณ ห้องประชุมสานใจ 1/2  ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ปัจจุบันภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งระดับชาติ จังหวัด และท้องถิ่น เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รอบตัว ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมเพิ่มขึ้นทุกขณะ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ผ่านมายังขาดการบูรณาการและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนร่วมกัน มติสมัชชาสุขภาพฯ จึงมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่นท้องที่ ชุมชน และครอบครัว เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานแก้ปัญหาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตามยุทธศาสตร์เพื่อบูรณาการกลไกการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง (พ.ศ.2558-2560) จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาระบบสนับสนุนกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง 2) ด้านการป้องกันและคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง 3)ด้านการเฝ้าระวังภัยจากปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว และ 4) ด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือเยียวยาแก่เด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
เห็นชอบร่างข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อบูรณาการกลไกการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว จากปัจจัยเสี่ยง (พ.ศ.2558-2560) ตามภาคผนวกแนบท้ายมตินี้
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีฉันทามติเรื่อง การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง ในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 24-26 ธันวาคม 2557 
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ระดับชาติ
รายละเอียด: 

2.1 ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาจัดตั้งคณะทำงานบูรณาการนโยบายและกำกับดูแลกลไกการคุ้มครองด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยเลขานุการของคณะกรรมการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ โดยมีหน้าที่สร้างความเชื่อมโยงเชิงนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน คณะกรรมการและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยกำกับดูแลให้สามารถคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยงตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎหมายแต่ละฉบับได้อย่างทั่วถึง ลดความซ้ำซ้อนบางส่วน และเพิ่มการสนับสนุนงานซึ่งกันและกันของหน่วยงาน และการปฏิบัติงานตามนโยบายของคณะกรรมการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัวในระดับต่างๆ พร้อมทั้งติดตาม ประเมินผลการทำงานของกลไกการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อบูรณาการกลไกการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง ตามภาคผนวกแนบท้ายมตินี้ ภายใน ปี พ.ศ.2558
2.2 ขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถดำเนินงาน และสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายที่ทำงานด้านการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งจากภาครัฐ และภาคประชาสังคม ตลอดจนศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีทรัพยากรในการปฏิบัติงานที่เพียงพอและเป็นไปตามมาตรฐานการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยงที่กำหนดในกฎหมายแต่ละฉบับ
2.3 ขอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชนและครอบครัว จากปัจจัยเสี่ยง ในระดับต่างๆ อย่างครบถ้วน

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 ในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ครั้งที่ 2/2558 ณ ห้องประชุมอาคารสุขภาพแห่งชาติ ที่ประชุมได้รายงานการทำงานร่วมกับหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย โดยกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 หนังสือที่ มท 0891.3/ว 4798 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2558  ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่อง การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 โดยมีมติที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 มติ ได้แก่  มติ 7.1 การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง   มติ 7.3 การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน มติ 7.4 การจัดการสเตอรอยด์ที่คุกคามสุขภาพคนไทย  โดยให้จังหวัดรวบรวมรายงานการผลการดำเนินการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ ภายในวันที่ 30  ตุลาตม 2558    
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ระดับท้องถิ่น
รายละเอียด: 

3.1 ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร จัดตั้งคณะทำงานบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว ระดับจังหวัดร่วมกับตัวแทนหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) /สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร เป็นฝ่ายเลขานุการ คณะทำงานมีบทบาทหน้าที่ จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบูรณาการระดับจังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อบริหารจัดการ และติดตามประเมินผล ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ทั้งในเขตเมืองและชนบท เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้สามารถเป็นกลไกระดับพื้นที่ที่ส่งเสริมความเป็นครอบครัวดูแลป้องกันปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ให้มีความเป็นอิสระมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อบูรณาการกลไกการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง (พ.ศ.2558-2560) ตามภาคผนวกแนบท้ายมตินี้
3.2 ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและสนับสนุนการปฏิบัติงานของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ด้านการคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยมุ่งเน้นให้ครอบคลุมงาน ๔ ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการส่งเสริมและพัฒนา 2) ด้านการป้องกัน 3) ด้านการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงในเด็ก เยาวชน และครอบครัว อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ และ 4) ด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือเยียวยา

ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10
ภาคีเครือข่าย (ผู้เสนอประเด็น): 
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
ภาคีเครือข่าย (ผู้พัฒนาประเด็น): 
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
ภาคืเครือข่าย (ผู้ขับเคลื่อนประเด็น): 
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาคีเครือข่าย (ผู้กำกับติดตามประเด็น): 
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง: 
สุขภาพเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน
เอกสารหลัก: