You are here


เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย
สมัชชาครั้งที่: 
6
มติที่: 
2
ชื่อมติ: 
เป้าหมายในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 จำนวน 6 มติ โดยมอบหมายให้ :- 1. เลขาธิการตณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแจ้งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 ให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในมติที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป 2. คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) พิจารณาแสวงหาวิธีการผลักดันและขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 เพื่อให้บรรลุผลตามควรแก่กรณี หากเห็นว่า มติใดสมควรเสนอให้ คสช.พิจารณาก็ให้เสนอ คสช.พิจารณาต่อไป เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2559 การดำเนินงานแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อที่ยังไม่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะระบบข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อการคุกคามสุขภาพต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อ ประกอบกับสังคมที่อยู่อาศัยปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดทำร่าง พ.ร.บ.โรคไม่ติดต่อ พ.ศ..... ขึ้น เพื่อช่วยขับเคลื่อนการเฝ้าระวัง สอบสวน การลดการแพร่ระบาด การลดพฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อ เช่น การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย กลไกทางการตลาด เป็นต้น โดยจะมีการยกร่างประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ และปรับปรุงให้ครอบคลุมก่อนเสนอผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และคณะรัฐมนตรี พิจารณาได้ภายในปี 2559 นี้
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ รับรองตัวชี้วัด "9 เป้าหมาย" เบื้องต้น ในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ รวมถึงแหล่งข้อมูล วิธีการวัด และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวัด โดยให้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติตามผนวกแนบท้ายมตินี้
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติพิจารณาตั้งคณะกรรมการที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ได้แก่กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติและหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

2.1 บูรณาการยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติที่มีอยู่ให้เป็นยุทธศาสตร์ร่วมของประเทศ รวมทั้งจัดให้มีระบบติดตามและประเมินความก้าวหน้า

2.2 พิจารณา “9 เป้าหมาย” และเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐาน เพื่อปรับปรุงในการกำหนดเป้าหมายของประเทศ โดยกำหนดหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ที่มีกรมควบคุมโรค เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ แผนงานโรคไม่ติดต่อ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีกรรมการไม่เกิน 30 คน โดยให้มีหน้าที่และอำนาจตามเสนอ สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ มอบหมายให้ประธานและเลขานุการพิจารณาเสนอประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้งต่อไป 
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยการสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำหรือปรับปรุงแผนเป้าหมาย และดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับพื้นที่ โดยพิจารณาดำเนินการผ่านกองทุนสุขภาพในระดับพื้นที่ งบประมาณท้องถิ่น หรือแหล่งอื่นๆ เพื่อการดำเนินการที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีประสิทธิผล ทั้งนี้ ให้มุ่งเน้นการจัดการพฤติกรรมเสี่ยงหลักทั้ง 4 ปัจจัย (ให้สอดคล้องกับทุกกลุ่มบุคคลและทุกช่วงวัย) การคัดกรองโรค ภาวะเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ และการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน รวมถึงระบบติดตามและประเมินผล
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8
เอกสารหลัก: