You are here


นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สมัชชาครั้งที่: 
1
มติที่: 
3
ชื่อมติ: 
นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
เห็นชอบกับข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามภาคผนวกแนบท้ายมตินี้
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2551 ได้ให้ฉันทามติเห็นชอบต่อข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2551 ซึ่งมีทั้งสิ้น 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นแบบใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) การปฏิรูประบบความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) การศึกษา 4) เศรษฐกิจ 5) การปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม 6) สุขภาพ การแพทย์ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
  • มติ คสช. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552 เห็นชอบให้เสนอมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 พ.ศ.2551 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 รับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2551 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคแจ้งต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติด้วย
  • เมื่อวันที่ 17-18 มิถุนายน 2557 ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 นอกจากการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติฯ แล้ว ยังได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนฯ การขับเคลื่อนของหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้อง พบว่า มีการดำเนินการโดยกลไกสมัชชาสุขภาพกลุ่มจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ร่วมกับสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนา ติดตาม ทบทวนข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีข้อเสนอดังนี้

           1. การจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นแบบใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

               1.1 รูปแบบการปกครองพิเศษที่เหมาะกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อาจมีได้ 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

                   1) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) -คงท้องถิ่นเดิม

                   2) ทบวงการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   3) สามนคร-คงท้องถิ่นเดิม

                   4) สามนคร-เลิกท้องถิ่นเดิม

                   5) มหานคร-คงท้องถิ่นเดิม

                   6) มหานคร-เลิกท้องถิ่นเดิม

          จึงเสนอให้เครือข่ายสมัชชาสุขภาพใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับประชาสังคมชายแดนต้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจเลือกรูปแบบการจัดการตนเอง (Limited Autonomy) ภายใต้รัฐธรรมนูญและอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย โดยให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดโดยตรงจากประชาชน ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค เพื่อสะท้อนสิทธิในการกำหนดใจตนเองในพื้นที่

              1.2 ให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ประสานกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำการศึกษารูปแบบของ “สมัชชาประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้” (Chamber of Southern Border Provinces-CSBP) หรือสภาประชาชนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และนำเสนอผลการศึกษาให้กับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อนำไปดำเนินการต่อ

               1.3 ให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาคมองค์กรบริหารส่วนตำบล และสันนิตบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยเร่งรัดให้รัฐบาลดำเนินการตามมติสมัชชาปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2554 และมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ.2554

               1.4 ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันการศึกษาทำการศึกษารูปแบบสภาผู้รู้ทางศาสนา หรือปราชญ์ชาวบ้านในระดับตำบลโดยการสนับสนุนงบประมาณจาก ศอ.บต. และเสนอผลการศึกษาไปยังรัฐบาลเพื่อกำหนดนโยบาย

               1.5 ให้กระทรวงยุติธรรม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จัดทำแผนการพัฒนาระบบกฎหมายอิสลามและกฎหมายตามประเพณีหรือระบบยุติธรรมทางเลือก ระบบยุติธรรมชุมชน และให้มีการพิจารณาโครงสร้างระบบยุติธรรมโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

               1.6 ให้กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ทบทวนขั้นตอนการเข้าถึงระบบยุติธรรมชุมชนเพื่อลดความยุ่งยากและความซ้ำซ้อนให้กระทรวงยุติธรรมประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่และการเข้าถึงศูนย์อำนวยความเป็นธรรมภาคประชาชน

               1.7 ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของสภาองค์กรชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้านให้มีศักยภาพในเรื่องกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น

               1.8 ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง พัฒนาศักยภาพของสภาองค์กรชุมชนระดับตำบลเพื่อให้เป็นกลไกหลักในการเชื่อมโยงระบบย่อยที่ประกอบด้วยระบบผู้นำ ระบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ระบบยุติธรรม ระบบการศึกษา ระบบราชการ ระบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบการจัดการความขัดแย้งและความมั่นคงในชุมชน รวมทั้งระบบสวัสดิการสังคมบนฐานของชุมชน

          2. นโยบายด้านการปฎิรูประบบความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

              2.1 จัดตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์

                   2.1.1 ให้ ศอ.บต. และ กอ.รมน. ประชาสัมพันธ์ผ่านคลื่นกระแสหลักและรองในพื้นที่ ให้ประชาชนได้รับทราบและใช้ช่องทางในกลไกปัจจุบัน เพื่อการร้องเรียนเมื่อได้รับความไม่เป็นธรรม

                   2.1.2 ให้คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์เพิ่มบทบาทการทำงานเชิงรุกและให้ ศอ.บต. ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ทบทวนโครงสร้างรวมถึงบทบาทภารกิจของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ภาคประชาชน ทุกตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อบูรณาการกระบวนการรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสองหน่วยงาน

                   2.1.3 ให้สภาประชาสังคมชายแดนใต้ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ผลักดันให้เกิดคณะกรรมการอิสระเพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์และไต่สวนข้อเท็จจริง

             2.2 จัดตั้งศาลแผนกคดีครอบครัวและมรดกมุสลิม เป็นแผนกหนึ่งในศาลยุติธรรม

                  2.2.1 ให้สช.และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผลักดันให้รัฐบาลเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลามเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็วที่สุด

                 2.2.2 ขอให้สำนักจุฬาราชมนตรีร่วมกับสมัชชาสุขภาพกลุ่มจังหวัดและสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ผลักดันการเสนอร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลามต่อรัฐบาลปัจจุบันและฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาในพื้นที่

                 2.2.3 เมื่อผ่านการพิจารณาให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาเพิ่มขยายขอบเขตพื้นที่การใช้พระราชบัญญัติจัดตั้แผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลามให้ครอบคลุมจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

             2.3 ให้มีบทบัญญัติเรื่องทนายความ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วยดาโต๊ะยุติธรรมและการประนีประนอมไกล่เกลี่ย บรรจุอยู่ในหลักกฎหมายวิธีบัญญัติด้วย

                 2.3.1 ให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัดจัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลามอย่างเร่งด่วนโดยให้กำหนดบทบาทของทนายความ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ช่วยดาโต๊ะยุติธรรมให้ชัดเจน

            2.4 ให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางกฎหมายอิสลามในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกมากขึ้น

                2.4.1 ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จัดทำหลักสูตรร่วมเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรทางกฎหมายอิสลามในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีเป้าหมายผลิตไม่ต่ำกว่า 50 คนต่อปี

                2.4.2 ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ผลักดันให้สถาบันการศึกษาของรัฐที่มีคณะนิติศาสตร์ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรควบคู่ระหว่างนิติศาสตร์ทั่วไปและนิติศาสตร์อิสลามรวมทั้งให้ผลักดันการรับรองวิชาชีพนิติศาสตร์อิสลาม

            2.5 ให้มีการจัดตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 1 ศูนย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือพื้นที่ใกล้เคียง

                2.5.1 ให้กระทรวงยุติธรรมจัดตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ที่เป็นเอกเทศและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ชายแดนใต้และให้ความรู้เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องของนิติวิทยาศาสตร์แก่ประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

     3. นโยบายด้านการศึกษา

          3.1 ปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาในพื้นที่ โดยให้มีหน่วยงานระดับอำเภอและจังหวัดทำหน้าที่ดูแลและจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา และให้บุคคลในพื้นที่ที่เข้าใจศาสนาอิสลามและมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในพื้นที่เป็นอย่างดีเป็นหัวหน้าหน่วยงาน

               3.1.1 ให้สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชนสรรหาผู้บริหารในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และจังหวัดที่มีการศึกษาตามวิถีมุสลิมที่มีความเข้าใจมิติพหุวัฒนธรรมและมีความเข้าใจในระบบและพื้นที่ที่มีการศึกษาตามวิถีมุสลิม

               3.1.2 ให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาการจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาเอกชนในพื้นที่ที่มีการศึกษาวิถีมุสลิม

          3.2 ให้พิจารณาเพิ่มเงินอุดหนุนแก่โรงเรียนตาดีกาและสถาบันการศึกษาปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนโดยคำนวณเงินอุดหนุนเป็นรายหัว

               3.2.1 ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาโรงเรียนตาดีกาและสถาบันการศึกษาปอเนาะ ทั้งนี้ควรเป็นแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

          3.3 จัดตั้งกองทุนก็ยืมที่ปราศจากดอกเบี้ยสำหรับโรงเรียนตาดีกา และสถาบันการศึกษาปอเนาะและจัดให้มีกองทุนเพื่อการศึกษาที่ปราศจากดอกเบี้ยในระดับบัณฑิตศึกษา

               3.3.1 ให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการคลังทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนตาดีกาและสถาบันการศึกษาปอเนาะ บัณฑิตศึกษา ทั้งนี้อาจจะเป็นความร่วมมือกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือมีรูปแบบความร่วมมือกับกระบวนการซากาตในวิถีอิสลาม

               3.3.2 ให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการคลังจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนตาดีกา สถาบันการศึกษาปอเนาะและระดับบัณฑิตศึกษา

           3.4 ให้โรงเรียนทุกโรงเรียนจัดตารางการเรียนการสอนที่เอื้อให้เด็กได้ปฏิบัติศาสนกิจของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม

           3.5 เปิดโอกาสให้โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สามารถกำหนดวันศุกร์และวันเสาร์หรือวันสำคัญทางศาสนาอื่นๆ เป็นวันหยุดเรียนประจำสัปดาห์ของโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม

                3.5.1 ให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้วันสำคัญทางศาสนาของทุกศาสนาเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ

           3.6 ให้บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับสันติศึกษา วิถีชีวิตท้องถิ่นและศาสนาเปรียบเทียบในหลักสูตรแกนกลาง

                3.6.1 ให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุเนื้อหากระบวนการสันติภาพเพิ่มในหลักสูตรแกนกลาง

                3.6.2 ให้กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตด้านสันติศึกษาแก่บุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างชัดเจน

           3.7 สนับสนุนให้มีโรงเรียนพิเศษหรือห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนเพื่อจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิเศษในพื้นที่

                3.7.1 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์การจัดการการศึกษาให้แก่เด็กพิเศษในพื้นที่ทั่วประเทศ

      4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ

         4.1 ให้มีการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจชายแดนใต้เพื่อเสนอแนะแนวนโยบายทางด้านเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ

             4.1.1 ให้ ศอ.บต.จัดให้มีคณะกรรมการของสภาพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใต้ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานรัฐคือ พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชน สาธารณสุขจังหวัด กรมการค้าระหว่างประเทศ อบจ. เทศบาล อบต. คณะกรรมการอิสลาม หอการค้า ตัวแทนสมัชชาสุขภาพแต่ละจังหวัด สภาองค์กรชุมชน ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ โดยใช้กลไกสมัชชาจังหวัดในการคัดเลือกเข้ามาเป็นคณะกรรมการฯ เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกำกับติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาในการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            4.1.2 ให้ ศอ.บต. จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการค้าขายชายแดนเพื่อเตรียมพร้อมรองรับ AEC

            4.1.3 ให้รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมพัฒนาระบบโลจิสติกการขนส่งทางบกและทางทะเลเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

            4.1.4 ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเพื่อรองรับอาเซียนในทุกจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

            4.1.5 ให้ ศอ.บต. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดยกระดับและพัฒนากลไกการตลาดภาคประชาชนเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งระดับพื้นที่ ระหว่างประเทศ และนานาชาติ

      4.2 ให้บัญญัติกฎหมายให้มีองค์กรหรือสถาบันจัดการทรัพยากรที่เป็นอิสระที่มีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น ตัวแทนองค์กรประมงพื้นบ้าน ตัวแทนองค์กรประมงพาณิชย์ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ออกนโยบายและมาตรการในการจัดการทรัพยากรในทะเล

           4.2.1 ให้ ศอ.บต. ตั้งคณะทำงานด้านการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทะเลโดยมีองค์ประกอบของคณะทำงานมาจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและตัวแทนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ทำหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

       4.3 ให้ออกกฎระเบียบคุ้มครองผู้บริโภคอาหารฮาลาล และจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาลในพื้นที่เพื่อเรียกความเชื่อมั่นและมาตรฐานของอาหารฮาลาลในประเทศไทย และต้องบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิมในประเทศไทยให้ได้รับการคุ้มครองบริโภคอาหารฮาลาลตามหลักการของอิสลาม โดยหากมีการปลอมแปลงและปนเปื้อนในอาหารฮาลาลจะต้องมีการรับผิดชอบโดยผู้ประกอบการในทางกฎหมาย

            4.3.1 ให้อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานีประสานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดอื่นๆ ผลักดันให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารฮาลาลเป็นอนุกรรมการที่ทำหน้าที่ในการร่างกฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารฮาลาลและดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาล

       4.4 บัญญัติกฎหมายให้สหกรณ์อิสลามเป็นประเภทหนึ่งของรูปแบบสหกรณ์และให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้หลายประเภทมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

           4.4.1 ให้ ศอ.บต. ผลักดันให้มีการดำเนินการตามข้อเสนอฯ

       4.5 ให้รัฐจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บผลิตผลทางการเกษตรและประมง เช่น ยุ้งฉาง ห้องเย็น และอื่นๆ ที่จำเป็น

   5. นโยบายด้านการปฏิรูปสังคม ประเพณีวัฒนธรรม

       5.1 ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดระเบียบสังคมให้สอดคล้องตามหลักการศาสนาโดยกำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติดและอบายมุข

           5.1.1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับชุมชนกำหนดพื้นที่ปลอดยาเสพติดและแหล่งอบายมุขและร่วมกันกำหนดมาตรการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเร่งด่วน

           5.1.2 ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับองค์กรทางศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกมาตรการและข้อบังคับตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดและการจัดระเบียบแหล่งอบายมุข

           5.1.3 ให้ศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดไปจัดตั้งแหล่งเรียนรู้และศูนย์บำบัดยาเสพติดโดยใช้หลักศาสนบำบัด

           5.1.4 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำแผนยุทธศาสตร์และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแก้ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง

     5.2 กำหนดให้วันรายออีดิลฟิตรี (วันตรุษละศีลอด ตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวาลตามปฏิทินอิสลาม) วันรายอดีดิลอัฎฮา (วันตรุษเชือดสัตว์พลีเนื่องในพิธีฮัจ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ตามปฏิทินอิสลาม) และวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามเป็นวันหยุดราชการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

     5.3 ให้วันศุกร์หรือวันใดวันหนึ่งในหนึ่งสัปดาห์เป็นวันที่งดเว้นการซื้อขายสุราและให้สถานบันเทิงหยุดบริการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ให้เป็นไปโดยความสมัครใจและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่

          5.3.1 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดมาตรการบังคับทางกฎหมายและสังคมไปยังผู้ประกอบการให้งดเว้นการจำหน่ายสุราและหยุดบริการสถานบันเทิงในวันสำคัญทางศาสนาทุกศาสนา

     5.4 ให้กระทรวงหรือหน่วยงานต้นสังกัดอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้มุสลิมได้รับการยกเว้นในการเข้าร่วมพิธีกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอื่น ตามความเหมาะสมของบริบทในพื้นที่นั้นๆ

          5.4.1 ให้มีมติของคณะรัฐมนตรีตามความเห็นของจุฬาราชมนตรี พ.ศ.2525 เพื่อยกเว้นการเข้าร่วมพิธีกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอื่นของชาวไทยมุสลิม

     5.5 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะกรรมการออิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยจัดให้มีหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตคู่และเข้าใจถึงสิทธิของสามีภรรยา การอบรมเลี้ยงดูบุตรตามหลักการศาสนา กองทุนครอบครัว รวมถึงการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพของครอบครัว

         5.5.1 กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งรัดแผนงานและโครงการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยให้ประสานความร่วมมือกับองค์กรทางศาสนาที่มีอยู่ในพื้นที่

     5.6 ให้กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมจัดให้มีรายการโทรทัศน์ วิทยุ สำหรับการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวเป็นการเฉพาะ

         5.6.1 ให้ ศอ.บต. เป็นเจ้าภาพในการประสานงานและขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างสถาบันครอบครัวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

         5.6.2 ให้กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและสถานีโทรทัศน์วิทยุทุกช่อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดทำผังรายการที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว

     5.7 ให้รัฐออกกฎหมายอนุญาตให้มีกองทุนประกันภัยที่สอดคล้องกับหลักการศาสนาและจัดให้มีกองทุนซะกาต เป็นสวัสดิการสังคมโดยมีกฎหมายรองรับ

         5.7.1 ให้สภาประชาสังคมชายแดนใต้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและสำนักจุฬาราชในตรี เป็นกลไกในการขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.ซะกาต โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างและประชาพิจารณ์

     5.8 ให้กระทรวงวัฒนธรรมจัดให้มีสถาบันพัฒนาผู้นำศาสนาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

         5.8.1 ให้ ศอ.บต. ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อการบูรณาการเนื้อหาและวิธีการในกระบวนการพัฒนาผู้นำ

     5.9 ให้มีศูนย์วัฒนธรรมและภาษามลายูปัตตานี ซึ่งครอบคลุมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการใช้ภาษามลายูปัตตานี ตลอดจนมีการตรวจสอบการใช้ภาษามลายูปัตตานีให้มีความถูกต้อง

        5.9.1 ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับ ศอ.บต. สนับสนุนสถาบันภาษามลายูไทยแลนด์ ให้มีบทบาทการพัฒนาภาษามลายูสู่ความเป็นสากล

     5.10 ให้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสื่อมวลชนในท้องถิ่น โดยเน้นเรื่องเนื้อหาการใช้ภาษามลายูปัตตานี และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อให้มีการสื่อสารความจริงที่น่าเชื่อถือ

         5.10.1 ให้ ศอ.บต. เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติในการพัฒนาแผนแม่บทสื่อมวลชนท้องถิ่น สื่อเพื่อสันติภาพ

   6. นโยบายด้านสุขภาพ การแพทย์ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

     6.1 ให้รัฐมีการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของทุกศาสนาที่สอดคล้องกับพหุวัฒนธรรมของประชาชนอย่างเป็นองค์รวม ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ

         6.1.1 ให้กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบาย และแนวทางการจัดบริการสุขภาพของสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีการบริการในมิติของหัวใจความเป็นมนุษย์ด้านจิตวิญญาณ ตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นตัวกำกับ โดยเน้นผู้ป่วยหรือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบพหุวัฒนธรรมและมีการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับชุมชนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรับกระบวนการพัฒนาสุขภาพด้วยการใช้หลักการศาสนานำการพัฒนาสาธารณสุข

         6.1.2  ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ/หน่วยบริการทุกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 และเครือข่ายภาคประชาชนด้านการเยียวยา เน้นการบริการในมิติด้านหัวใจเป็นหลักสำคัญ

         6.1.3 ให้ ศอ.บต. ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมสนับสนุนให้ภาครัฐและท้องถิ่นที่นับถือศาสนาพุทธในพื้นที่ไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย หรือประเทศอื่นๆ โดยจัดสรรโควต้าปกติและโควต้าพิเศษสำหรับข้าราชการก่อนเกษียณอายุ

      6.2 ให้รัฐมีการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐานและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน ศาสนา วัฒนธรรมและวิถีชีวิต โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่

          6.2.1 ให้ รพ.สต.ทุกแห่งจัดบริการสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านคณะกรรมการบริหารและพัฒนาที่มาจากภาคประชาชน

          6.2.2 ให้ ศป.สช. สนับสนุนงบประมาณการเสริมสร้างสุขภาพแก่กองทุนสุขภาพตำบลผ่าน อบต. อปท. ร่วมกับ ศป.สช.

          6.2.3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น สนามเด็กเล่น ลานกีฬาออกกำลังกาย

          6.2.4 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีบทบาทการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะโดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ และให้มีแผนงาน/โครงการรองรับบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ด้วย

       6.3 ให้กระทรวงสาธารณสุขมีการพัฒนาระบบบริหารงานสาธารณสุข เช่น การกำหนดนโยบายและการวางแผน ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ละระบบการสนับสนุนอื่นๆ เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบข้อมูลสารสนเทศ ที่สอดคล้องกับบริบทที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

          6.3.1 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกับโรงพยาบาลกำหนดหลักสูตรสอนเสริมแบบติวเข้มและเสริมทักษะหน้างาน

          6.3.2 ให้คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลระดับจังหวัดทำหน้าที่ด้านการบริหารจัดการอัตรากำลังคนด้านสาธารณสุข

          6.3.3 ให้กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแนวทางกระบวนการคัดสรรและการบรรจุบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพที่ชัดเจนโดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง

          6.3.4 ให้กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญ เร่งรัดและกำกับติตตามมาตรการความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

       6.4 ให้รัฐสร้างหลักประกัน สร้างกลไกความคุ้มครองให้เกิดสุขภาวะ เพื่อให้การบริการพื้นฐานด้านสุขภาพที่ต้องอาศัยโครงสร้างและกลไกของรัฐ เช่น การเฝ้าระวัง การควบคุมโรค การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทาสุขภาพ การนิเทศติดตามประเมินผล การวิจัยและพัฒนา ยังคงดำเนินการได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์สอดคล้องกับบริบททางสังคมและมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมให้พื้นที่สามารถร่วมดำเนินการได้ในระยะยาว

          6.4.1 ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญและติดตามกำกับการจัดการสุขภาวะของชุมชนเนื่องจากจะเป็นการกระจายอำนาจที่แท้จริง

          6.4.2 ให้มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA, EIA) ตามที่กฎหมายกำหนดจากหน่วยงานภายนอกที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างกว้างขวาง และชุมชนมีส่วนร่วม

          6.4.3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น

          6.4.4 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนควบคุมดูแลและแผนงบประมาณเพื่อการสนับสนุน อบต./เทศบาล ในการจัดระบบ EMS และการสาธารณภัยระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความเตรียมพร้อมในระดับพื้นที่ยามฉุกเฉิน

          6.4.5 ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

 

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียด: 

2.1 นำเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการผลักดันข้อเสนอเพิ่มแนวทางการพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งด้านการบริหารจัดการ บุคลากร การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อให้รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติ

2.2 เผยแพร่ ประสาน สนับสนุนและผลักดันให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรวิชาการ องค์กรวิชาชีพ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในทุกภาคส่วน ทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว

2.3 ติดตามผลการดำเนินงานและงบประมาณ ตามข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรายงานความคืบหน้าต่อสมัชชาสุขภาพทุกปี

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คสช. ได้บรรจุแนวทางการพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ในยุทธศาสตร์ด้านที่ 6 สุขภาพ การแพทย์ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว
  • คณะรัฐมนตรีรับทราบตามมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)  ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันพุธที่ 27 มิถุนายน 2555 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ 1-6 รับไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้  

           1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่เสียชีวิตและทุพพลภาพจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขอรับการจัดสรรงบประมาณ จากเงินงบกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2558

          2. แนวทางการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งกองกำลังประจำท้องถิ่น (อส.) และกำลังประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้   ประกอบด้วย  โครงฝ่ายทหารปฏิบัติหน้าที่ประจำกองร้อย  อส. การก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมกองกำลังประจำถิ่น  และกำลังประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตำบลท่าสาป  อำเภอเมือง จังหวัดยะลา    และการเพิ่มกรอบอัตรากำลังพลสมาชิก อส. ให้แก่จังหวัดชายแดนภาคใต้

         3. ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพิ่มเติม  (ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษา พร้อมครุภัณฑ์ประจำอาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาวิทยาเขตสตูล จำนวน 1 หลัง)

         4. โครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล  ร่องน้ำปัตตานี

         5. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์มัสยิดกลาง จังหวัดสงขลา

         6. แก้ไขเพิ่มเติมการจ่ายเงินยังชีพรายเดือนผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

       กรณีเรื่องการพิจารณากำหนดวันหยุดราชการประจำปีเพิ่มเติม ให้วันคริสมาสต์เป็นวันหยุดราชการประจำปี เพิ่มเติมอีก 1 วัน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และให้วันตรุษอีดิ้ลฟิตรี  วันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา และวันตรุษจีนเป็นวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดสงขลาด้วย  และเรื่อง การทำบันทึกความเข้าใจ (MOU)  ความร่วมมือว่าด้วยทุนการศึกษาระหว่าง ศอ.บต. กับองค์กร Muhammadiyah  มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดทำรายละเอียดเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

  • สช.ได้จัดส่งมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 ให้แก่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ ศูนย์การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักนายกรัฐมนตรี กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงศึกษาธิการ
  • ในปี 2552 สช.ได้มีการประสานการทำงานกับกลไกพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายซึ่งมี ดร.สุกรี หวังปูเต๊ะ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จังหวัดปัตตานี เป็นแกนในการขับเคลื่อน ติดตามและรายงานผล ร่วมกับนักวิชาการที่ร่วมพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในแต่ละยุทธศาสตร์
  • ในปี 2553 ได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นแกนประสานงาน ศอ.บต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินี้สู่การขับเคลื่อน จัดตั้งกลไกวางแผนการขับเคลื่อนและจัดการสื่อสารสาธารณะผ่านเวทีสาธารณะ สื่อวิทยุชุมชนและสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยได้มีการประชุมร่วมกับ ผู้อำนวยการ ศอ.บต. (นายภาณุ อุทัยรัตน์) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ซึ่งตกลงกันที่จะใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานร่วมกัน
  • วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ทีมติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการประชุมเพื่อวางแผนการทำงานการติดตามมติฯ ผลการประชุมมีการวางแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้  

           1) ประเด็นข้อเสนอในการจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นแบบใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย อ.ศรีสมภพ

           2) ประเด็นข้อเสนอนโยบายด้านการปฏิรูประบบความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้ นำทีมโดย อ.มูฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ

           3) ประเด็นข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา นำทีมโดย อ.อิบรอฮิม ณรงค์รักษา

           4) ประเด็นข้อเสนอนโยบายด้านเศรษฐกิจ

           5) ประเด็นข้อเสนอนโยบายด้านการปฎิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม นำทีมโดย อ.สุกรี หลังปูเต๊ะ

           6) ประเด็นข้อเสนอด้านสุขภาพ การแพทย์ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย นำทีมโดย สสจ.ปัตตานี

ทั้งนี้แต่ละทีมจะมีการทบทวนมติสมัชชาฯ และจะมีการจัดเวทีวิชาการ

  • สมัชชาสุขภาพภาคใต้ประชุมติดตามมติฯ อย่างต่อเนื่อง ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 โดยมีข้อเสนอดังนี้

          1. การจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นแบบใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

             1.1 ให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติประสานกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำการศึกษารูปแบบของ “สมัชชาประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้” (Chamber of Southern Border Provinces-CSBP) หรือสภาประชาชนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำเสนอผลการศึกษาให้กับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อนำไปดำเนินการต่อ

            1.2 ให้สำนักงานปฏิรูปร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล และสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เร่งรัดให้รัฐบาลดำเนินการตามมติ สมัชชาปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2554 และมติสมัชชาปฏิรูป พ.ศ.2554

            1.3 ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาและวิทยาลัยอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันการศึกษาทำการศึกษารูปแบบสภาผู้รู้ทางศาสนาหรือปราชญ์ชาวบ้านในระดับตำบลโดยการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเสนอผลการศึกษาไปยังรัฐบาลเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย

            1.4 ให้กระทรวงยุติธรรมจัดทำแผนการพัฒนาระบบกฎหมายอิสลามและกฎหมายตามประเพณี หรือระบบยุติธรรมทางเลือก ระบบยุติธรรมชุมชน และให้มีการพิจารณาโครงสร้างของระบบยุติธรรมโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

            1.5 ให้กระทรวงยุติธรรมทบทวนขั้นตอนการเข้าถึงระบบยุติธรรมชุมชนเพื่อลดความยุ่งยาก ความซ้ำซ้อน  และประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่และการเข้าถึงศูนย์อำนวยความเป็นธรรมภาคประชาชน

            1.6 ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของสภาองค์กรชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้านให้มีศักยภาพในเรื่อง กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการตนเองของชุมชน ท้องถิ่น

            1.7 ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง พัฒนาศักยภาพของสภาองค์กรชุมชนระดับตำบลเพื่อให้เป็นกลไกหลักในการเชื่อมโยงระบบย่อยที่ประกอบด้วยระบบผู้นำ ระบบการปกครองท้องถิ่น ระบบยุติธรรม ระบบการศึกษา ระบบราชการ ระบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบวัฒนธรรม ระบบการจัดการความขัดแย้งและความมั่นคงในชุมชน รวมทั้งระบบสวัสดิการสังคมบนฐานของชุมชน

        2. นโยบายด้านการปฏิรูประบบความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

            2.1 ให้ ศอ.บต.ประชาสัมพันธ์ผ่านคลื่นกระแสหลักและเครือข่ายสื่อในพื้นที่  ให้ประชาชนได้รับทราบและใช้ช่องทางนี้ในการร้องเรียนเมื่อได้รับความไม่เป็นธรรม

            2.2 ให้คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์เพิ่มบทบาทการทำงานเชิงรุกและให้ ศอ.บต.ร่วมกับกระทรวงยุติธรรมทบทวนโครงสร้างรวมถึงบทบาทภารกิจของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ภาคประชาชน ทุกตำบล อำเภอ จังหวัด เพื่อบูรณาการกระบวนการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของทั้งสองหน่วยงาน

            2.3  ให้รัฐบาลเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลามเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็วที่สุด

            2.4 ให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ทำหนังสือทวงถามผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลามไปที่รัฐสภา

            2.5 ขอให้สำนักจุฬาราชมนตรี ร่วมกับสมัชชาสุขภาพกลุ่มจังหวัด และ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ เร่งรัด ติดตามการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลาม ต่อรัฐบาลปัจจุบัน และฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภาในพื้นที่

            2.6 เมื่อผ่านการพิจารณาให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาเพิ่มขยายเขตพื้นที่การใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลาม  ให้ครอบคลุมจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

            2.7 ให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัดการจัดตั้งแผนกศาลครอบครัวและมรดกอิสลามอย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับหลักกฎหมายอิสลามที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความคดีแพ่งและมรดกตามหลักกฎหมายอิสลาม

            2.8 ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จัดทำหลักสูตรร่วมเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรทางกฎหมายอิสลาม ในระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก โดยมีเป้าหมายผลิตไม่ต่ำกว่า 50 คนต่อปี

            2.9 ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ผลักดันให้สถาบันการศึกษาของรัฐที่มีคณะนิติศาสตร์ ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรควบคู่ระหว่างนิติศาสตร์ทั่วไปและนิติศาสตร์อิสลามรวมทั้ง ให้ผลักดันการรับรอง วิชาชีพนิติศาสตร์อิสลาม

           2.10 ให้กระทรวงยุติธรรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ชายแดนใต้ และให้ความรู้เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องของนิติวิทยาศาสตร์แก่ประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้  และให้มีการตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ ที่เป็นเอกเทศหรือภายในหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานความมั่นคง

       3. นโยบายด้านการศึกษา

          3.1 ให้สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน  สรรหาผู้บริหารในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และจังหวัดที่มีการศึกษาตามวิถีมุสลิม  ที่มีความเข้าใจมติพหุวัฒนธรรม  และมีความเข้าใจในระบบและพื้นที่ที่มีการศึกษาตามวิถีมุสลิม

          3.2 ให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาการจัดตั้ง คณะกรรมการการศึกษาเอกชนในพื้นที่ที่มีการศึกษาตามวิถีมุสลิม

          3.3 ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนตาดีกาและสถาบันศึกษาปอเนาะ  ทั้งนี้ ควรเป็นแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

          3.4 ให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการคลังทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนตาดีกา และสถาบันการศีกษาปอเนาะ และระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้อาจจะเป็นความร่วมมือกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือมีรูปแบบความร่วมมือกับสถาบันการเงินอิสลามอื่นๆ ในวิถีอิสลาม

          3.5 จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนตาดีกา  สถาบันศึกษาปอเนาะและระดับบัณฑิตศึกษา

          3.6 ให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้วันสำคัญทางศาสนาของทุกศาสนาเป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ

          3.7 รัฐควรมีนโยบายสนับสนุนทุนการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตด้านสันติศึกษาแก่บุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างชัดเจน

         3.8 ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์การจัดการการศึกษาให้แก่เด็กพิเศษในพื้นที่ทั่วประเทศ

    4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ

         4.1 เสนอให้มีคณะกรรมการของสภาพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใต้  ซึ่งมีองค์ประกอบจากหน่วยงานรัฐ คือ พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด กรมการค้าระหว่างประเทศ อบจ. เทศบาล อบต. คณะกรรมการอิสลาม หอการค้า ตัวแทนสมัชชาสุขภาพแต่ละจังหวัด สภาองค์กรชุมชน ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ โดยใช้กลไกสมัชชาจังหวัดในการคัดเลือกเข้าเป็นคณะกรรมการฯ เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกำกับติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาในการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         4.2 ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้(ศอ.บต.)  จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการค้าชายแดนเพื่อเตรียมพร้อมรองรับ AEC : Asian Economic Community

         4.3 ให้รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมพัฒนาระบบโลจิสติกการขนส่งทางบกและทางทะเลเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

         4.4 ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ และสนับสนุนการจดทะเบียนแรงงาน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อรองรับอาเซียนในทุกจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

         4.5 ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.)  ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและสำนักงานพาณิชย์จังหวัด  ยกระดับและพัฒนากลไกการตลาดภาคประชาชน  เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งระดับพื้นที่ ระหว่างประเทศและนานาชาติ

         4.6 ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งคณะทำงานด้านการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทะเล  โดยมีองค์ประกอบของคณะทำงานมาจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและตัวแทนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ทำหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายอย่างเป็นธรรมและนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

         4.7 ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารฮาลาลเป็นอนุกรรมการ  ที่ทำหน้าที่ในการร่างกฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารฮาลาลและดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาล

         4.8  ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีหนังสือเร่งรัดการดำเนินการตามมติฯ

         4.9 ให้ตลาดกลางสินค้าเกษตรรับผิดชอบในการจัดเก็บผลิตผลทางการเกษตรและประมง

    5. นโยบายด้านการปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม

       5.1 ให้รัฐบาลกำหนดให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกของประเทศในการแก้ปัญหายาเสพติด และปัญหาอบายมุข และให้มีมาตรการการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและเร่งด่วน

       5.2 ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับองค์กรทางศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ออกมาตรการและข้อบังคับตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดและการจัดระเบียบแหล่งอบายมุข

       5.3 ให้ศูนย์พลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด ไปจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ และศูนย์บำบัดยาเสพติดโดยใช้หลักศาสนบำบัด

       5.4 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ จัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ปัญหายาเสพติด

       5.5 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดมาตรการบังคับทางกฎหมายและสังคม ไปยังผู้ประกอบการให้งดเว้นการจำหน่ายสุรา  และหยุดบริการสถานบันเทิงในวันสำคัญทางศาสนาทุกศาสนา

       5.6 ให้มีมติของคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ เรื่อง การยกเว้นในการเข้าร่วมพิธีกรรม หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอื่น ตามความเหมาะสมของบริบทในพื้นที่นั้นๆ

       5.7 กระทรวงสาธารณสุข  และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เร่งรัดแผนงานและโครงการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยให้ประสานความร่วมมือกับองค์กรทางศาสนาที่มีอยู่ในพื้นที่

       5.8 ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เป็นเจ้าภาพในการประสานงานและขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างสถาบันครอบครัวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

       5.9 ให้กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรมและสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง    กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดทำผังรายการที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวโดยใช้สื่อภาษาไทยและภาษามาลายูกลาง

       5.10 ให้สภาประชาสังคมร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นกลไกในการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติซะกาต  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างและประชาพิจารณ์

       5.11 ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)  ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพหลัก ในการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาผู้นำ  เพื่อการบูรณการเนื้อหาและวิธีการในกระบวนการพัฒนาผู้นำ

       5.12 ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดำเนินการให้มีศูนย์วัฒนธรรมและภาษามลายูท้องถิ่น  มีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการใช้ภาษามลายูท้องถิ่น

       5.13 ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)  เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์   สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ  ในการพัฒนาแผนแม่บทสื่อมวลชนท้องถิ่น เพื่อความเป็นเอกภาพ บูรณาการของเนื้อหาและพัฒนากระบวนการพัฒนาแผนแม่บทสื่อมวลชนท้องถิ่น

    6. นโยบายด้านสุขภาพ การแพทย์ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

      6.1 ให้กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบาย  และแนวทางการจัดบริการสุขภาพของสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ให้มีการบริการในมิติของหัวใจความเป็นมนุษย์ด้วยจิตวิญญาณ ตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นตัวกำกับ  โดยเน้นผู้ป่วยหรือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบพหุวัฒนธรรม (spiritual safety suffiency  standard  sustainable health care )  และมีการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับชุมชน    ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรับกระบวนการพัฒนาสุขภาพด้วยการใช้หลักการศาสนานำการพัฒนาสาธารณสุข

      6.2 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ/หน่วยบริการทุกระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์สุขภาพจิตที่ ๑๕  และเครือข่ายภาคประชาชนด้านการเยียวยา  เน้นการบริการในมิติด้านจิตใจเป็นหลักสำคัญ

      6.3 ให้ศอ.บต ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมสนับสนุนให้ ภาครัฐและท้องถิ่น  ที่นับถือศาสนาพุทธในพื้นที่ไปปฏิบัติธรรม ที่ประเทศอินเดียหรือประเทศอื่นๆ  โดยจัดสรรโควต้าพิเศษสำหรับข้าราชการก่อนเกษียณอายุ  และข้าราชการนอกประจำการ

      6.4 ให้รพ.สต.ทุกแห่ง จัดบริการสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน  ผ่านคณะกรรมการบริหารและพัฒนาที่มาจากภาคประชาชน

      6.5 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่จังหวัด  ๕  ชายแดนภาคใต้  มีบทบาทการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะโดยใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ  และให้มีแผนงาน/โครงการรองรับบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

      6.6 ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกับโรงพยาบาลกำหนดหลักสูตรสอนเสริมแบบติวเข้มและเสริมทักษะหน้างาน

      6.7 ให้คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลระดับจังหวัด ทำหน้าที่ด้านการบริหารจัดการอัตรากำลังคนด้านสาธารณสุข

      6.8 ให้กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแนวทางกระบวนการคัดสรรและการบรรจุบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพที่ชัดเจนโดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง

       6.9 ให้กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญ เร่งรัดและกำกับติดตามมาตรการความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

       6.10 ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญและติดตามกำกับการจัดการสุขภาวะของชุมชนเนื่องจากจะเป็นการกระจายอำนาจที่แท้จริง

       6.11 ให้มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA , EIA)ตามที่กฎหมายกำหนด จากหน่วยงานภายนอก ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างกว้างขวาง และชุมชนมีส่วนร่วม

       6.12 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น

       6.13 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ) .มีส่วนร่วมและมีบทบาทในการสนับสนุนควบคุมดูแล องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการจัดระบบ EMS ระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความเตรียมพร้อมในระดับพื้นที่ยามฉุกเฉิน

       6.14 ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับประชาชนที่มีอายุ ตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

  •  เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2556 สภาประชาสังคมชายแดนใต้ รับเป็นเจ้าภาพร่วมกับสมัชชาสุขภาพภาคใต้ในการขับเคลื่อนมติฯ
  • เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับนักวิชาการแต่ละประเด็น ทบทวน ข้อเสนออีกครั้ง ก่อนรายงานในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6
  • เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบูรณาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 3/2559 โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานที่ประชุม ได้มีการรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ตลอดจนทบทวนแนวทางการดำเนินงานปี 2558 โดยในปีที่ผ่านมาคณะกรรมการได้ดำเนินงานตามนโยบายขับเคลื่อนเพื่อการแก้ปํญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ครอบคลุมสถานศึกษา 4,600 แห่ง ครูและบุคลากรทางการศึกษา 77,000 คน และนักเรียนนักศึกษากว่า 1 ล้านคน ทั้งนี้ มีโครงการสำคัญที่ช่วยพัฒนาคุณภาพและเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา อาทิ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กด้วยระบบเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ทำให้ผลการเรียนและผลการสอบ O-NET ของนักเรียนทุกระดับชั้นสูงขึ้น, การพัฒนาและลดภาระของครู เพื่อให้ครูมีเวลาสอนมากขึ้น และจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วย, โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามโปรแกรมวิทยาศาสตร์-กีฬา และศิลป์-กีฬา เพื่อให้เด็กได้เรียนสายวิชาการควบคู่กับกีฬาที่มีความถนัด ปี 2558 ได้รับนักเรียน ม.4 เข้าร่วมโครงการในโปรแกรมวิทยาศาสตร์-กีฬา ที่จังหวัดยะลา และโปรแกรมวิทยาศาสตร์-กีฬา และศิลป์-กีฬา ที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีแผนจะขยายการเรียนการสอนให้ครอบคลุมทุกจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งเตรียมการให้ทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และส่งเสริมโอกาสสู่การประกอบอาชีพด้วย, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้เข้าไปดำเนินการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนที่ออกนอกระบบการศึกษาและนักเรียนในสถาบันการศึกษาที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดจนประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ ส่วนแนวทางการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีงบประมาณ 2559 มีจุดเน้นที่สำคัญ 6 ประการ คือ 1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษา 3) การส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา 4) การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ 6) การเสริมสร้างการศึกษาเพื่อความมั่นคง พร้อมทั้งจะดำเนินการประสานและบูรณาการงานตามกลุ่มภารกิจงานที่ 4 การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง

 

 

  

 

ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้ภาคีสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียด: 

3.1 ร่วมกันผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มแกนนำ และผู้นำชุมชน นำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติในพื้นที่

3.2 เผยแพร่และสร้างกระบวนการให้ประชาชนทุกคน หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้รับรู้ เข้าใจ เห็นใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความเห็นร่วมและให้การสนับสนุนต่อนโยบายดังกล่าว

ผลการปฏิบัติงาน: 

สช.ได้ประสานงานกับ สจรส. รับทราบว่ามีผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทั้ง 6 โดยมีเรื่องที่สำคัญดังนี้

1) แนวนโยบายด้านการจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

1.1 การจัดตั้งทบวงการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ : รัฐสภาได้ให้เห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ .ไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า “กพต.”  ทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดให้มีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  เรียกโดยย่อว่า “ศอ.บต.”  เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มีฐานะเป็นนิติบุคคล

1.2 การจัดให้มีสมัชชาประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ในร่างพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ… ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสมาชิกจำนวน 49 คน จากผู้แทนที่เลือกกันเองจากทุกภาคส่วน มีหน้าที่ให้ความเห็นต่อนโยบายและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

2) แนวนโยบายด้านการปฏิรูประบบความยุติธรรม

   การจัดตั้งศาลแผนกคดีครอบครัวและมรดกมุสลิม : ได้มีการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกและการพิจารณาคดี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลามและอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามและการปรับปรุงการพิจารณาคดีในศาล รวมทั้งอำนวยความสะดวกความยุติธรรมนอกศาล และการให้มีศาลเฉพาะในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดกด้วย โดยอนุกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนในกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยองค์กรด้านการศาสนาอิสลามและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

3) แนวนโยบายด้านการศึกษา

3.1 การปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาในพื้นที่ : กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการจัดตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา ตั้งแต่ปี 2552 ส่วนในระดับอำเภอจะตั้งในทุกอำเภอของ 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา โดยในจังหวัดสตูลและสงขลา จะมีเฉพาะสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด

3.2 การสนับสนุนโรงเรียนตาดีกาและสถาบันศึกษาปอเนาะ : กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ 3) ..2552 เป็นหลักเกณฑ์การให้อุดหนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ ที่ (1) ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งจากผู้อนุญาต และดำเนินการถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย (2) มีจำนวนผู้เรียนตามประมวลการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับอนุญาตรวมกันไม่น้อยกว่า 25 คน (3) เปิดดำเนินการสอนอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันไม่น้อยกว่า 3 ปี (4) กรณีที่สถานศึกษาปอเนาะที่เคยเปิดสอนในระบบโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนอกระบบมาก่อน และขอเลิกล้มกิจการมาขอจัดตั้งเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะ ให้นับเวลาเกื้อกูลจากโรงเรียนเดิมมาด้วย ในการขอรับการอุดหนุน

4) แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ

4.1 การคุ้มครองผู้บริโภคอาหารฮาลาล : สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ออกระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล .. 2552 กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกิจการฮาลาล ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฮาลาลตามนโยบายของคณะกรรมการ มีฝ่ายกิจการฮาลาล ทำหน้าที่ด้านการตรวจสอบและวินิจฉัยเบื้องต้นในการออก คำรับรองฮาลาล เสนอต่อคณะกรรมการ มีการจัดตั้งสถาบันฮาลาลแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ด้านการวิจัยและพัฒนา นอกจากนั้นยังมีการกำหนดประเภทการรับรอง การขอการรับรอง   การออกหนังสือรับรอง การควบคุมมาตรฐาน และการร้องคัดค้าน ค่าธรรมเนียมและบทกำหนดโทษ

4.2 การบัญญัติรับรองสหกรณ์อิสลาม : คณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 เห็นชอบสนับสนุนสถาบันการเงินชุมชนในระบบอิสลาม (Islamic micro credit) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยกำหนดเป็นนโยบายรัฐบาลให้ส่วนราชการ องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนสถาบันการเงินระดับชุมชน (จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) และกลุ่มธรรมชาติทางการเงินระดับชุมชน (ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) ในระบบอิสลาม ทั้งด้านความรู้ การบริหารจัดการและงบประมาณ

5) แนวนโยบายด้านการปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม

5.1 การจัดให้มีกองทุนซะกาต : ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 เห็นชอบต่อ ร่างกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้การดำเนินการและการจัดการซะกาตต้องสอดคล้องกับบัญญัติศาสนาอิสลาม และการจัดเก็บซะกาตหรือการรับบริจาคเงินต้องดำเนินการบนพื้นฐานความสมัครใจ กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาตมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานและการจัดการกองทุนซะกาต รวมทั้งการกำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการ และวางระเบียบ หลักเกณฑ์การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต ประกอบด้วย เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์กรต่างประเทศ เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้ เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนจาการชำระบัญชีของกองทุนซะกาต และผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว

5.2 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการนำเสนอนโยบายสาธารณะในโครงการวิจัยเรื่อง “ภาษามลายูท้องถิ่นในประเทศไทย : การพัฒนาภาษา การวางแผนและกำหนดนโยบายเพื่อการศึกษาและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสำรวจการใช้ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติต่อภาษาต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยมุสลิม 2) เพื่อพัฒนาภาษามลายูท้องถิ่นในประเทศไทย รวมทั้งบุคลากรและเครือข่ายให้สามารถใช้อัตลักษณ์ทางภาษาท้องถิ่นเป็นเครื่องมือจัดการศึกษามาตรฐานคุณภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และเพื่อการสื่อสารมวลชนที่มีประสิทธิภาพ และ 3) เพื่อกำหนดบทบาทของภาษาในท้องถิ่น และภาษาอื่นๆ ในชีวิตของคนไทยมลายูในการจัดการศึกษาแบบพหุภาษาต่อเยาวชน ทั้งนี้ ศ.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยครั้งนี้

6) แนวนโยบายด้านสุขภาพ การแพทย์ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

    การสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ : สช. ได้สนับสนุนกลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี ดังนี้

6.1 ในปี 2552 จัดทำโครงการสมัชชาสุขภาพประเด็นจังหวัดปัตตานีว่าด้วยความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชนโดยกระบวนการเยียวยาสังคม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิด แผนการเยียวยาสังคม ซึ่งเป็นแผนที่เกิดจากความร่วมมือจากภาคีต่างๆ โดยการใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นเครื่องมือ เลือกพื้นที่นำร่องใน พื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ (1) ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง (2) ตำบลลุโบะยิไร อำเภอมายอ (3) ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง บทเรียนที่ได้จากการดำเนินงาน คือ (1) การทำงานกับชุมชนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะพัฒนาให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งกระบวนการนั้นเป็นเรื่องที่ยาก    (2) แผนสุขภาพชุมชนเกิดขึ้นจากการระดมความคิดจากชุมชนอย่างเป็นกระบวนการ (3) การจัดทำแผนชุมชนจะต้องมีการประชาสัมพันธ์และสร้างกระแสไปพร้อม ๆกัน (4) การสร้างสัญญาประชาคม (Social contract) ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบและเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตามสัญญาเป็นสิ่งสำคัญ

6.2 ในปี 2553 จัดสมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี โดยได้กำหนดประเด็นเชิงนโยบาย รวม 5 ประเด็น คือ (1) สุขภาวะในพื้นที่พหุวัฒนธรรม  (2) การพัฒนาสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก (3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครอบครัวและชุมชนเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง (4) การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ   (5) การส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ และการป้องกันปัญหายาเสพติด

6.3 ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) ได้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานผ่านสื่อประชาสัมพันธ์คือ จดหมายข่าว ศบ.สต. ในเดือนตุลาคม 2552 – กันยายน 2553 มีผลดำเนินงานดังนี้

      1) สู่สังคมสันติสุขภาวะ : ศบ.สต. กับการพัฒนาสุขภาพบนบริบทวิถีชีวิตและความศรัทธา

      2) ผู้นำศาสนาและศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ต้นแบบสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสุขภาพในชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้

  • ภาคีเครือข่ายได้พัฒนานวัตกรรม “ภาคีสื่อสารสายสัมพันธ์สร้างสุข” เพื่อให้เกิดสันติสุขโดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม โดยนำแผนสุขภาพของชุมชนเป็นประเด็นหลักในการขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรม มีกิจกรรมการอบรมศาสนธรรมบำบัดโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และกระบวนการสานเสวนาโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้มีการบูรณาการหลักสูตรรูปแบบ “ศาสนธรรมบำบัดในกระบวนการสานเสวนา”
  • สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานีได้ทดลองนำมาปฎิบัติจริงในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดปัตตานีได้แก่ อำเภอเมือง  อำเภอยะรัง และอำเภอมายอ ด้วยความร่วมมือระหว่าง อบต.กับชุมชนโดยกระบวนการเยียวยาสังคมภายใต้แผนสุขภาพชุมชน มีขั้นตอนการทำงานที่เริ่มด้วยกระบวนการพัฒนาศักยภาพแกนนำ จัดทำร่างแผนสุขภาพในชุมชนแบบบูรณาการโดยใช้การวิเคราะห์จากงานวิชาการเป็นฐาน จัดทำประชาพิจารณ์แผนสุขภาพชุมชนเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และจัดให้ทำบันทึกลงนามความร่วมมือระหว่าง อบต.กับชุมชน
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2554 สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการที่ผ่านการให้สัตยาบันร่วมกันขององค์กรประชาสังคม 20 องค์กร มีเป้าหมายที่จะมีองค์กรในภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมกับภาครัฐในการร่วมกำหนดทิศทางและมาตรการในการแก้ปัญหาอย่างจริงจังบนฐานของแนวทางสันติวิธี พลังความรู้ สติปัญญา และพลังแห่งคุณธรรม ทั้งนี้มีการดำเนินการในนโยบาย 10 ประการ ดังนี้

           1) สนับสนุนให้องค์กรชุมชน องค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายมีความเข้มแข็ง

           2) สนับสนุนให้มีเครือข่ายกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ชายแดนใต้

           3) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งมูลนิธิกองทุนชุมชน

           4) จัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับชายแดนใต้ให้เป็นปัจจุบัน

           5) สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดช่องทางการสื่อสารทั้งในระดับพื้นที่ นอกพื้นที่ และสากล

           6) จัดให้มีสถาบันพัฒนาบุคลากรทางการเมืองของจังหวัดชายแดนใต้ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพในการรับใช้ประชาชนและสังคมเพื่อเป็นแบบอย่างแก่นักการเมืองทั่วประเทศ

           7) ส่งเสริมการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับระบบงานยุติธรรม

           8) สนับสนุนและส่งเสริมการแก้ปัญหา พัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยยึดหลักชุมชนเป็นศูนย์กลาง เป็นฐานและเป็นแกนขับเคลื่อน

           9) ส่งเสริมวิถีชีวิตชุมชนตามอัตลักษณ์ ศาสนา และวัฒนธรรม

         10) ร่วมกันดำเนินการผลักดันให้มีระบบการบริการจัดการพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรูปแบบการปกครองพิเศษร่วมกันดำเนินการผลักดันให้มีระบบการบริการจัดการพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรูปแบบการปกครองพิเศษที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและบริหารจัดการตนเองได้จริงที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและบริหารจัดการตนเองได้จริง

  • เดือนมีนาคม-เมษายน 2553 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีผลดำเนินงานดังนี้

           - การประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553 มีสาระสำคัญดังนี้ 1) รายงานข้อมูลการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2554 ตามแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในประเด็นการจัดทำคำของบประมาณเพิ่มเติมปีงบประมาณ 2553 ขอสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากโครงการต้นกล้าอาชีพ โดยโครงการที่ขอเพิ่มเติมเป็นโครงการฝีกอบรมอาชีพให้กับแรงงานในพื้นที่เน้นการยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่า 64,000 บาท/ปี เพื่อยกระดับให้มีรายได้ 120,000 บาท/ปีใน 696 หมู่บ้าน

           - การประชุมสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2553 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้เสนอโครงการตรวจสุขภาพให้กับผู้นำศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อกระทรวงสาธารณสุข

           - ศอ.บต.ร่วมกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และเครือข่ายวิทยากรสันติวิธี จัดกิจกรรม “ปอเนาะสัมพันธ์ ร้อยดวงใจให้แดนใต้” จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 80 คน ในเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2553 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้โต๊ะครูและผู้ช่วยโต๊ะครูที่ผ่านการอบรมได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนสันติวิธีในสถาบันปอเนาะอย่างกว้างขวางต่อไป

  •  วันที่ 24 สิงหาคม 2554 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ออกประกาศเรื่อง แบ่งส่วนงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2554 

         

         

เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: