You are here


ผลกระทบจากสื่อต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว
สมัชชาครั้งที่: 
1
มติที่: 
9
ชื่อมติ: 
ผลกระทบจากสื่อต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาการ องค์กรวิชาชีพ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในทุกภาคส่วน ทุกระดับพิจารณา
รายละเอียด: 

1.1 ผลักดันกองทุนในการผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวโดยเป็นการจัดตั้งกองทุนขึ้นใหม่จากการใช้เงินกองทุนที่มีอยู่แล้ว หรือการใช้มาตรการทางนโยบายเพื่อระดมเงินทุนโดยรัฐจัดให้ มีการรวบรวมข้อเสนอเรื่องแนวทางและรูปแบบของกองทุนที่มีความเป็นไปได้

1.2 ร่วมกันผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวทุกรูปแบบ โดยให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม เข่น การสร้างเกมคอมพิวเตอร์ในเชิงสร้างสรรค์ การสนับสนุนรายการสื่อสาธารณะที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน ใช้เทคโนโลยีให้กับเด็กพิการเพื่อให้เข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง เป็นต้น รวมทั้งกำหนดให้สื่อทุกแขนงต้องเปิดโอกาสให้เด็กเยาวชนและครอบครัวมีส่วนร่วมการเสนอความคิดเห็น ความต้องการ และร่วมผลิตรายการสื่อทุกแขนง หรือจัดฝึกอบรมเด็กและเยาวชนให้เรียนรู้กระบวนการผลิตสื่อแบบมืออาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้สำหรับเด็ก เพื่อส่งเสริมเด็กและเยาวชนในกระบวนการเรียนรู้การผลิตสื่อสร้างสรรค์ในท้องถิ่นหรือชุมชน เรียนรู้เท่าทันสื่อแบบบูรณาการและเหมาะสมกับวัย

1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไกด้านการเรียนรู้เท่าทันสื่อ การพัฒนาและติดตามสื่อสำหรับเด็กเยาวชน และครอบครัวระดับชาติ จังหวัด ชุมชน และครอบครัว โดยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคการศึกษา นักวิชาการ ภาคประชาชน เครือข่ายเด็กเยาวชนและครอบครัว เครือข่ายสื่อท้องถิ่น กำหนดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษาทุกระดับ และเวทีการเรียนรู้เรื่องสื่อ การเลือกรับสื่อ และการรู้เท่าทันสื่อ ให้แก่เด็กเยาวชนและครอบครัว

1.4 รณรงค์ให้สื่อมวลชนตระหนักถึงบทบาทในการผลิตสื่อรายการวิทยุและโทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ สื่อพื้นบ้านที่ดีมีคุณค่าต่อเด็กและเยาวชนไทยโดยคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งรับผิดชอบผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็กและเยาวชนจากรายการวิทยุและโทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดความรุนแรงยั่วยุสร้างอคติทางเพศ หรืออคติต่อคนบางกลุ่ม มีการจัดผังรายการให้เป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว

1.5 จัดตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนอาทิ ภาคการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ วัฒนธรรม ผู้แทนเยาวชนและครอบครัวอาสาสมัครและผู้ประกอบการ เพื่อควบคุม กำกับดูแล สื่ออินเตอร์เน็ท และเกมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ

1.6 ให้มีกลไกในการติดตามการดำเนินงานตามกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายควบคุมเกมคอมพิวเตอร์ และเกมออนไลน์ โดยให้มีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาสังคม และผู้แทนเด็กและเยาวชน

1.7 สร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการควบคุมและคัดกรองสื่อรวมถึงโฆษณาที่อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของเด็กและเยาวชน เช่น ระบบการจัดประเภทสื่อตามกลุ่มอายุโดยคำนึงถึงเรื่องเพศ ความรุนแรง การใช้ภาษาให้ถูกต้อง โดยมีองค์กรและกลไกรับผิดชอบที่ชัดเจนและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

1.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการวิจัยประเมินผลกระทบจากสื่อและการวิจัยและพัฒนาสื่อสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
  • เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2554 ณ โรงแรมรีเจนท์ พาเลซ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน (ศสอ.) ร่วมกับ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีตุ้มโฮมพลังเครือข่ายอีสาน ผลักดันกองทุนสื่อดี โดยเชิญเครือข่ายสื่อหลายจังหวัดอีสานตอนล่างร่วมระดมสมองร่างตุ๊กตา พระราชบัญญัติสื่อสร้างสรรค์ฉบับใหม่ หวังเป็นกองทุนหนุนคนทำสื่อดีผลิตงานสร้างสรรค์แทนที่สื่อร้ายที่กำลังครอบงำสังคมอย่างหนัก โดยเนื้อหาของการประชุมครั้งนี้ มีเป้าหมาย 2 ประการ คือ 1. เป็นการให้ความรู้กับเครือข่ายถึงสถานการณ์ด้านสื่อในปัจจุบันและชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากการจัดตั้งกองทุนนี้สำเร็จ 2. เป็นการหาแนวร่วมและแกนนำในการขยายแนวคิดนี้ให้ออกสู่วงกว้างมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การล่ารายชื่อ 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
  • เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ..... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
  • วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน ภาคเหนือ จัดเวทียกร่างแผนงานสภาสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการพัฒนาสภาสื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม 5 ชั้น 5 ศูนย์ราชการ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเครือข่ายวิทยุ นักวิชาการ สภาเด็กและเยาวชน องค์กรที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน หน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายภาคประชาสังคม รวมทั้งที่ปรึกษาจากส่วนกลางได้แก่นายเชษฐา มั่นคง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ในฐานะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยมหิดล และนายอัมพร วาภพ ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน ภาคอีสาน (ศสอ.) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและวางแผนการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายกว่า 50 คน การประชุมครั้งนี้เป็นภารกิจหลักของโครงการพัฒนาสภาสื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว โดยการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) ซึ่งมีพื้นที่การดำเนินงาน 5 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดน่านและจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีการขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาวะเด็กเยาวชนอย่างมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม ในการผลักดันนโยบาย พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ฉบับภาคประชาชนงานสื่อเด็กเยาวชนในพื้นที่ทั้ง 5 จังหวัด สืบเนื่องจากจากเวทีระดมความคิดเห็นต่อร่าง พรบ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กได้นำแนวคิดเรื่องสภาสื่อสร้างสรรค์มานำเสนอให้กับภาคี เครือข่ายภาคเหนือ เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งนำมาสู่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนงานสภาสื่อสร้างสรรค์ในระดับพื้นที่รวม 5 พื้นที่นั้น ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ที่คณะทำงานยกร่างสภาสื่อสร้างสรรค์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดขึ้นเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสื่อที่ส่งกระทบต่อเด็กและเยาวชน รวมทั้งสถานการณ์ความต้องการ และความจำเป็นในการผลักดันให้เกิดกลไกพัฒนาเด็กเยาวชนในรูปแบบสภาสื่อ โดยผ่านการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และต้นทุนสำคัญเพื่อวางระบบการดำเนินงาน และสุดท้ายคือการการเชื่อมโยงการทำงานในพื้นทีเพื่อกำหนดโครงสร้างรองรับการดำเนินงาน และเข้าถึงแหล่งทุนสนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่ง “กองทุนสื่อสร้างสรรค์” เป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างความตื่นตัวของคนในท้องถิ่นได้พัฒนาเป็นกลไก มีคนที่ร่วมขับเคลื่อนการทำงานสื่อในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และช่วยทำให้องค์กรที่ทำงานสื่อ เกิดการร่วมกลุ่มเป็นเครือข่ายสื่อเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อการปฏิรูปสื่อ ที่ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ติดตามผลกระทบจากสื่อทั้งสื่อดี สื่อร้าย รวมถึงผลักดัน พรบ.กองทุนส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในช่วงท้ายการประชุมคณะทำงานยกร่างสภาสื่อสร้างสรรค์ จังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกันยื่นหนังสือคัดค้าน พรบ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ฉบับ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมี นายไพทูรย์ รัตน์เลิศลพ วัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้รับมอบแทนผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ และ นางมยุรี ยกตรี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยาน
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2555 ตามที่ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 2 ครั้งที่ 6 (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2555 จะมีการพิจารณาเรื่องด่วนเรื่องที่ 23 ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.... โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอนั้น ขณะเดียวกันภาคประชาชนได้มีการยื่นร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่เสนอจากภาคประชาชน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2555 โดยมีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 รับการยื่นเรื่องจาก นายศุภชัย ไตรไทยธีระ ตัวแทนเยาวชนจากศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคอีสานและเครือข่ายภาคประชาชนที่รวบรวมรายชื่อประชาชนกว่า 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ฉบับประชาชน โดยมีสาระสำคัญที่ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหากฎหมายประกอบกับร่างฉบับที่กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการ เนื่องจากสาระสำคัญยังไม่ครอบคลุมถึงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ขาดความเท่าเทียมในการเข้าถึงกองทุน ขณะที่คณะกรรมการผู้ดูแลกฎหมายจำนวน 8 คน ไม่ระบุถึงคุณสมบัติที่ให้ภาคประชาชนเข้าร่วมเป็นกรรมการ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวกลุ่มสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนและเครือข่ายได้ร่วมต่อสู้เพื่อเสนอให้เกิดเป็นรูปธรรมแล้วกว่า 10 ปี 
  • วันที่ 16 มกราคม 2556 เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว เข้าพบประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอบคุณที่บรรจุวาระร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ฉบับประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และมีจุดยืนและข้อเสนอดังนี้ 1. ขอบคุณที่ให้โอกาสภาคประชาชนเสนอกฎหมายและบรรจุร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อฯ ฉบับประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 2. ขอเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรสนับสนุนหลักการสำคัญจากร่าง พ.ร.บ.กองทุนสื่อฯ ฉบับประชาชน ให้มีความเป็นอิสระในการบริหารงานไม่ถูกครอบงำจากฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ และคงไว้ซึ่งเนื้อหาส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนทุกระดับ 3. ในขั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกว้างขวางที่สุด เพื่อข้อมูลรอบด้านเป็นประโยชน์กับประชาชนแท้จริง
  • เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อสังเกตต่อ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ..... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร จากการศึกษาของ คปก. ได้ตั้งข้อสังเกตแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลักคือ

           1. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เห็นว่า วัตถุประสงค์ของกองทุนควรครอบคลุมปัจจัยในการพัฒนาและเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย การผลิตและการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ของสังคม การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เท่าทันสื่อของเด็ก เยาวชนและประชาชน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ ด้านที่มาของเงินในกองทุนฯ เห็นควรให้จัดสรรเงินแก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ โดยกำหนดสัดส่วนที่แน่นอนของเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเป็นประจำทุกปี เพื่อความมั่นคงและต่อเนื่องของการดำเนินการตามภารกิจของกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คปก.มีความเห็นว่า แนวทางการตรากฎหมายโดยการกำหนดให้กิจการขององค์กรตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรนั้นๆ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายกองทุนเงินทดแทนนั้นจะทำให้องค์การต่างๆ ตามกฎหมายนั้นไม่อยู่ในมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงไม่ควรบัญญัติไว้ในลักษณะดังกล่าว และอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญอีกด้วย

            2. คปก. เห็นด้วยกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนฯ ในการออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้คำนึงถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับผู้รับการสนับสนุนและความเท่าเทียมเป็นธรรมของการเข้าถึงการสนับสนุนจากกองทุนของคนด้อยโอกาสในกลุ่มต่างๆ 

               สำหรับกรณีรองประธานกรรมการกองทุนฯ คปก. พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า คณะกรรมการกองทุนฯ จะเป็นองค์กรที่กำหนดนโยบายหลักเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นอกจากมีองค์ประกอบให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการและให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นรองประธาน คปก. เห็นด้วยกับการเสนอให้มีรองประธานอีกตำแหน่งหนึ่งที่มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกองทุนฯ

          3. การกำหนดให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่ชัดเจน คปก. เห็นควรให้มีสมัชชาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ และสภาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (มาตรา 33 – มาตรา 39) เพื่อเป็นกลไกเสนอนโยบายในการจัดทำข้อเสนอและนโยบาย รวมทั้งทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับงานสื่อต่างๆ ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ให้คนทั่วไปตรวจสอบการบริหารงานของกองทุน การมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนะต่อทิศทางการบริหารจัดการและการดำเนินงานของกองทุน อย่างไรก็ตามรูปแบบการทำงานของสมัชชาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติและสภาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ไม่ควรมีความซับซ้อนและควรให้คณะกรรมการกองทุนฯ นำรายงานและข้อเสนอที่ได้จากการจัดสมัชชาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติประจำปีมาพิจารณาในการให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของกองทุนด้วย เพื่อการเรียนรู้ของสังคม การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เท่าทันสื่อของเด็ก เยาวชนและประชาชน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการเรียนรู้ของสังคม การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เท่าทันสื่อของเด็ก เยาวชนและประชาชน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

  • เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 เครือข่ายเด็กเยาวชนได้เข้าหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้เร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นเครื่องมือผลิตสื่อสร้างสรรค์ เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ
  • เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้รับหลักการร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อฯ  ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย  176  ไม่เห็นด้วย  1 งดออกเสียง 5   พร้อมตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯเพื่อศึกษาร่างพระราชบัญญัติ 15   คน  กำหนดแปรญัตติ  7  วัน โดยให้เวลากรรมาธิการวิสามัญฯ ศึกษาให้แล้วเสร็จ 30 วัน
  • มิถุนายน 2553 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เห็นความสำคัญ การผลักดันวาระสื่อสร้างสรรค์ และจัดสรรคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยใหม่ จึงเกิดเป็นคลื่น 105 เอฟเอ็ม โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้สนับสนุน ทำให้เป็นสื่อวิทยุเพื่อสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับเนื้อหาที่อยู่ในรายการวิทยุ สถานี 105 เอฟเอ็ม จะมีการจัดแบ่งช่วงตามเวลาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ช่วงเวลา 06.00-08.00 น. และ 15.00-18.00 น. จะเป็นช่วงเวลาสำหรับเด็กระดับชั้นอนุบาล-ประถมศึกษา จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการเล่านิทาน เพลงประกอบนิทาน ช่วงเวลา 20.00-24.00 น. จะเป็นช่วงเวลาสำหรับครอบครัว มีการถามตอบปัญหาทุกประ เภทที่เกิดขึ้นในครอบครัว เช่น การติดเกม สัมพันธภาพระหว่างสามี ภรรยา การหย่าร้าง เป็นต้น เกิดเป็น "ขบวนการคนตัวเล็ก" เครือข่ายสมาชิกที่สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อเด็กและครอบครัวมากขึ้น
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2551 สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ พ.ศ.2551 ประกาศในราชกิจกจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 กำหนดให้มีคณะกรรมการสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นรองประธานคณะกรรมการ และปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการในการดำเนินงานด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อคณะรัฐมนตรี
  • วันที่ 4 มีนาคม 2552 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยมีการเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณาจำนวน 3 ฉบับ คือ ร่างของคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ร่างของนายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และร่างของนายเจริญ จรรย์โกมล  ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ประชุมมีมติให้นำทั้ง 3 ร่าง มาพิจารณาพร้อมกัน โดยใช้ร่างของนายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ เป็นหลัก
  • วันที่ 18 มีนาคม 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2552 โดยมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานเพื่อร่วมกันระดมความเห็นและกำหนดแนวทางในการขจัดสื่อร้าย ขยายสื่อดี ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 5 ชุดเพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 2) คณะอนุกรรมการปราบปรามสื่อที่เป็นภัยต่อสังคม 3) คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 4) คณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด และ 5) คณะอนุกรรมการศูนย์ปฎิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  • เดือนพฤษภาคม 2552 คณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้คณะกรรมการสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ได้จัดการประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการจัดทำยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยได้บรรลุถึงยุทธศาสตร์หลัก ๕ ด้าน กล่าวคือ (1) ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (2) ยุทธศาสตร์การสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (3) ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมวัฒนธรรมการบริโภคสื่ออย่างเหมาะสม (4) ยุทธศาสตร์การกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการสื่อทุกแขนงอย่างเป็นระบบ (5) ยุทธศาสตร์การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักสำหรับทุกภาคส่วนในสังคม
  • เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้คณะกรรมการสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ต่อคณะกรรมการสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดทำยุทธศาสตร์หลักในการทำงานเป็น ๔ ยุทธศาสตร์หลัก กล่าวคือ (1) ยุทธศาสตร์ในการปราบปรามสื่อที่เป็นภัยต่อสังคมไทย (2) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา ส่งเสริมให้เกิดสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึง การพัฒนาพื้นที่ในการเข้าถึงและใช้สื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ (3) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความเข้มแข็งในการเรียนรู้เท่าทันสื่อ และ (4) ยุทธศาสตร์ในการพัฒนากลไกในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนและกลไกด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง การปฏิรูปกฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยมีการนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  • เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตและการประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
  • เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2558 รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้ นางนิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2558 ดยที่ประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์แห่งชาติ พ.ศ.2551 และผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานและรองประธานในคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ อีกทั้งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 61/2558 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 และเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในการขับเคลื่อนนโยบายและภารกิจพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.๒๕๕๘ การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในวาระเริ่มแรก และบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อีกทั้งยังพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติอีกด้วย
  • วันที่ 23 มิถุนายน 2558 พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 19 กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ได้แก่ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ นางสิริกร มณีรินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รองศาสตราจารย์ ดร.พนา ทองมีอาคม นายปราโมช รัฐวินิจ นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป และนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน พร้อมกันนี้ ยังมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกรุงเทพมหานคร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยกระทรวงวัฒนธรรมเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยในที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในประเด็นบทบาทและภารกิจของคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ซึ่งประกาศใช้บังคับเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นผู้บริหารและกำกับการทำงานของกองทุนฯทั้งนี้ พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ เตรียมวางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานให้ประสานและควบคู่ไปกับการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อไป
  • เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัลมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ "เด็กไทยกับไอทีปี ๓" เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การขยายสื่อดีให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้แก่เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้และผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และนักเรียน นักศึกษาร่วมเป็นเกียรติในงาน ณ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กรุงเทพฯ
  • เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 9 คน ดังนี้ 1. ด้านกฎหมาย นายสมชาย หอมลออ (อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย) 2.ด้านศิลปวัฒนธรรม นายนิมิต พิพิธกุล (ประธานมูลนิธิหุ่นสายเสมาศิลปะเพื่อสังคม) 3. ด้านการศึกษา นางปิยาภรณ์มัณฑะจิตร (กรรมการเลขานุการและผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล) 4. ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว รองศาสตราจารย์สุริยเดวทรีปาตี (ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล) 5. ด้านสุขภาพจิต นางพรรณพิมล วิปุลากร (รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต) 6. ด้านคนพิการและผู้สูงอายุ นายประพจน์ เภตรากาศ (ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ) 7. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี (ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. ด้านสื่อสารมวลชน นายพิภพ พานิชภักดิ์ (อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย) และรองศาสตราจารย์มาลี บุญศิริพันธ์ (รับจ้างอิสระ)
  •  
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานข้อเสนอดังกล่าวต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมสมัชชาสุขภาพครั้งที่สอง
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ตั้งแต่ปี 2551 กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อสื่อสารทำความเข้าใจกับภาคประชาชนผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจกับเครือข่ายภาคสังคม การสื่อสารความเข้าใจไปยังโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกรุงเทพมหานคร ตลอดจนภาคเอกชนและประชาชน และการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างและกลไกในการจัดทำระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อในกลุ่มภาคสังคม สำหรับช่องทางในการมีส่วนร่วมผ่านทางเว็บไซต์ www.me.or.th นั้น มี 3 ช่องทางด้วยกัน คือ 1) ทางกระดานสนทนาทางหน้าเว็บไซต์ 2) ช่องข้อเสนอเสนอ ติชม ทางด้านขวามือของจอภาพ 3) การร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์ ภาคประชาชน ซึ่งสามารถระบุจำนวนผู้ใช้บริการได้จากจำนวนผลโหวตที่ปรากฎ ซึ่งข้อมูลผลโหวตดังกล่าวนั้นสามารถนำไปประกอบการพิจารณาของผู้ประกอบการด้านสื่อ ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในการนำไปพัฒนารายการโทรทัศน์ของตนตนได้ เนื่องจากผลโหวตดังกล่าว ถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อรายการดังกล่าวได้
เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: