You are here


โรคติดต่ออุบัติใหม่
สมัชชาครั้งที่: 
2
มติที่: 
6
ชื่อมติ: 
โรคติดต่ออุบัติใหม่
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการโรคติดต่ออุบัติใหม่ระดับชาติ โดยให้มีองค์ประกอบครบถ้วนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งภาครัฐอื่นๆ ภาคเอกชน หน่วยงานวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการ ให้แล้วเสร็จในหนึ่งปี ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ต้องประกอบด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุมยุทธศาสตร์ต่างๆ ได้แก่
รายละเอียด: 
  1. การพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคประชาชน
  2. การเตรียมความพร้อมในด้านงบประมาณ เวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในสัตว์และในคน ในระดับประเทศ จังหวัดและท้องถิ่น
  3. การสื่อสารสาธารณะต้องเสนอข้อเท็จจริง ไม่ปิดบังและให้ความเข้าใจอย่างถูกต้องทั้งระดับชาติและระดับชุมชน ในการรองรับโรคติดต่ออุบัติใหม่
  4. การสร้างจิตสำนึกในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
  5. การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อรองรับวิกฤตที่เกิดการระบาดใหญ่ของโรคที่เกี่ยวข้องระดับวิชาการและปฏิบัติการ
  6. การค้นหาและการตรวจพบเพื่อการรับมือกับอาวุธชีวภาพ
  7. การทบทวนปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมาย
  8. การจัดการสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า และการควบคุมสัตว์จรจัด เช่น สุนัข แมว เป็นต้น
  9. พัฒนาการจัดการด้านสุขาภิบาล การเฝ้าระวังและควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • วันที่ 14 มกราคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ มีมติการประชุมดังนี้

           1. คณะรัฐมนตรีมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 105/2552 ลงวันที่ 25 เมษายน 2552 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ โดยมี พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ มีอธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ 

             1.1 กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก และการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกำกับดูแลให้บรรลุวัตถุประสงค์ รวมทั้งกำหนดมาตรการการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ

             1.2 ดำเนินการบูรณาการงบประมาณและการประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการตามยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่

             1.3 อำนวยการจัดระบบการประสานงานและการสื่อสารการปฏิบัติในช่วงวิกฤต เช่น กรณีเกิดการระบาดของโรค สนับสนุนให้มีการเตรียมความพร้อม รวมทั้งการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

             1.4 วางกรอบนโยบายในการประสานสนับสนุนความร่วมมือกับองค์การนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รวมทั้งการให้ความร่วมมือตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีพันธะสัญญากันไว้แล้ว

             1.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใด ตามที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความจำเป็น

             1.6 ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

        2. ให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินและจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 3 โดยมีอธิบดีกรมควบคุมโรค และอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธาน โดยมีผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นรองประธาน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ

  • จากการประชุมร่วมของคณะผู้บริหารกรมควบคุมโรคและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ได้พิจารณาเห็นชอบให้ “คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์” เป็นกลไกดำเนินการ แทนการเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกลไกคณะกรรมการโรคติดต่ออุบัติใหม่ระดับชาติ ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552 โดยขอให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552 มติ 6 โรคติดต่ออุบัติใหม่ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์ มี รองนายกรัฐมนตรี (ที่ได้รับมอบหมาย) เป็นประธานกรรมการ มีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ที่ได้รับมอบหมาย) อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมปศุสัตว์ และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม คณะกรรมการฯ มีจำนวน 68 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 3 คน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ 44 คน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถาบันวิชาการ 16 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กทม.) 1 คน ผู้แทนหน่วยงานอิสระ (สสส.) 1 คน ผู้แทนสมาคมธุรกิจเอกชน 2 คน คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

           - กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในการเตรียมความพร้อม ป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์

           - อำนวยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณในการเตรียมความพร้อม ตลอดจนบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง กำกับและติดตามผลการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

            - อำนวยการควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ระบาดในภาวะวิกฤต กำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและผู้ทีได้รับผลกระทบ

            - กำหนดกรอบนโยบายในการประสานสนับสนุนความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และการให้ความร่วมมือตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศตามพันธะสัญญา

            - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล ตามความจำเป็น เพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใดๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

            - ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

  • วันที่ 25 มิถุนายน 2553 ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำกรอบแนวคิดแผนยุทธศาสตร์ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออุบัติใหม่ ฉบับที่ 3 มีข้อสรุปการประชุมดังนี้ ให้ขยายกรอบระยะเวลาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ออกไปอีก 3 เดือน เนื่องจากยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ ได้เพิ่มเนื้อหาของโรคติดต่ออุบัติใหม่ร้ายแรงอื่นๆ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบให้ใช้แผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่นี้ เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติโรคติดต่ออุบัติใหม่ด้วย ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ขยายกรอบเวลาในการจัดทำแผนฯ ทั้งนี้ให้หารือผู้บริหารระดับสูงพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
  • วันที่ 2 สิงหาคม 2553 ได้มีการหารือกับผู้บริหารระดับสูง เรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์ (พ.ศ. 2555-2559) โดยมีข้อสรุปว่า ปรับชื่อแผนยุทธศาสตร์ เป็น “แผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่ แห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559)” ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ คือ

           1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ในสัตว์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม

           2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค และการรักษาพยาบาลในคน

           3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการความรู้ วิจัย และพัฒนา

           4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบและกลไกการจัดการเชิงบูรณาการ

           5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเตรียมความพร้อม และการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน

  • วันที่ 16 สิงหาคม 2553 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 มติ 6 โรคติดต่ออุบัติใหม่ ตามมติของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2553 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ดังนี้

           1. มอบหมายให้ “คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาด และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์” ซึ่งตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 111/2553 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2553 เป็นกลไกดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 โดยขอให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2552 โรคติดต่ออุบัติใหม่ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ ทั้งเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการ บทบาทการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการภายในระยะเวลา 1 ปี และการจัดทำข้อเสนอจัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อจัดการปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมต่อไป

           2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ การแพทย์การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดระบาดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

  • วันที่ 28 สิงหาคม 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ    (พ.ศ. 2556 – 2559) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป
  • วันที่ 22 มีนาคม 2556 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559) โดยใช้กลไกคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ แต่งตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 149/2555 เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการอนุกรรมการฯ ที่แต่งตั้งขึ้นตามความจำเป็นและตามภารกิจ เนื้อหามาตรการต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ฯ จะผลักดันไปตาม Road Map เพื่อนำเข้าสู่แผนปฏิบัติงานหน่วยงานต่างๆ จากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และมีการประสานไปยังหน่วยงานเครือข่ายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อรับทราบความต้องการของแต่ละพื้นที่และบริบทต่างๆ แล้วรวบรวมจัดทำ Operation Plan โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายทุกภาคส่วนที่มีการดำเนินงานอยู่เดิม เพื่อติดตาม ป้องกัน และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหัวใจสำคัญของแผนฯ เป็นเรื่องการป้องกันโรคจากสัตว์สู่คน และการระบาดของโรคติดต่อจากคนสู่คน เพราะเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ต่างๆ ที่เกิดระบาดใหญ่ส่วนมากล้วนเป็นเพราะเชื้อโรคสามารถกลายพันธุ์นำไปสู่การเป็นโรคที่เกิดการระบาดใหญ่ถึงคนได้ เช่น โรคไข้หวัดนกกลายพันธุ์กลายเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่  ทั้งนี้มีการดำเนินการที่สำคัญดังนี้

           1) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Road map) เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559)

           2) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ (Operation Plan) โดยแบ่งการประชุมออกเป็น 3 ครั้ง ในพื้นที่ส่วนกลางและกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางและภาคใต้

           โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกส่วนราชการมีส่วนร่วมดำเนินการผลักดันและบูรณาการยุทธศาสตร์ในแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559) โดยใช้แผนปฏิบัติงานที่จะนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและครบถ้วนสมบูรณ์

  • เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 ที่ กระทรวงสาธารณสุข นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2558 ติดตามการจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อให้มีความครอบคลุมกว้างขวาง เช่นไข้หวัดนก อีโบลา ซาร์ส ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2012 โรคเมอร์ส รวมถึงโรคติดต่อใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมกำชับให้คงระบบเฝ้าระวังโรคเมอร์ โรคอีโบลาและโรคอุบัติใหม่ต่างๆอย่างต่อเนื่องเข้มข้น รวมทั้งผู้เดินทางจากพื้นที่ติดโรค พร้อมให้ความรู้และวิธีปฏิบัติการแก่ประชาชน นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนยกระดับความมั่นคงและความเป็นเลิศด้านควบคุมโรคของประเทศ พ.ศ.2558-2562 เพื่อรองรับสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อจากพฤติกรรมเสี่ยง และโรคจากการประกอบอาชีพ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยรวม เช่น การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ในปี 2552 ที่สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ มากกว่า 28,000 ล้านบาทจีดีพีลดลงร้อยละ 0.1-0.3 ซึ่งไทยมีจุดแข็งในงานควบคุมโรค คือมีการวางรากฐานและพัฒนาระบบมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง มีทั้งโครงสร้างระบบบริการสาธารณสุขเป็นเครือข่ายระดับพื้นที่และชุมชนทั่วประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมทำงานเฝ้าระวังโรค ความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ มาตรการทางกฎหมายที่สำคัญ เช่น พรบ.โรคติดต่อ และเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านระบาดวิทยาภาคสนาม ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทั้งนี้ คณะกรมการฯ ได้มีการประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556–2559) ครึ่งแผน พบว่าทั้ง 5 กระทรวงหลัก สามารถแปลงแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งมีกิจกรรมดำเนินการสอดคล้องกับแผนและยุทธศาสตร์ เช่น การเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โรคอุบัติใหม่ ตรวจสุขภาพสัตว์ป่า ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยงซ้อมแผนเตรียมรับโรคติดต่ออุบัติใหม่ สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน เป็นต้น
  • เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายอนันต์ ลีลา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ยาสูบกรณีที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่ประชุมมีมติ 2 เรื่อง คือ 1) ให้กรมควบคุมโรคสื่อสารเจตนารมณ์และสาระสำคัญที่แท้จริงตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ไปยังเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ และ 2) ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาผลกระทบและกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ยาสูบในระยะยาว นำข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องมาศึกษาวิเคราะห์ผลที่อาจจะกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.นี้ รวมทั้งมาตรการช่วยเหลือในระยะยาว ซึ่งจะดำเนินการให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2559 เพื่อเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการอีกครั้งภายใน 1 เดือน ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
  • เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเรื่อง แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564) ดังนี้
    • เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ต่างๆ เช่น โรคซาร์ส โรคเมอร์ส ไวรัสซิกา ซึ่งได้มีการปรับปรุงจากแผนฉบับก่อนโดยเพิ่มเติมประเด็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ และการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
    • ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฯ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป รวมทั้งให้ความเห็นของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงศึกษาธิการที่เห็นควรจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ระดับพื้นที่เพื่อผลักดันไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ควรมีการเผยแพร่และถ่ายทอดแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวให้แก่หน่วยงานทุกภาคส่วน ทุกระดับ รวมถึงประชาชนได้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงของสุขภาพคน สัตว์ และระบบนิเวศ ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคระบาทที่มีความเกี่ยวข้องระหว่างคนกับสัตว์ ทั้งโรคติดต่อและโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหาร ตลอดจนควรมีการควบคุมการใช้ยาจ้านแบคทีเรียอย่างเหมาะสม โดยให้ความรู้แก่ประชาชน ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย สำหรับงบประมาณในการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว ให้กระทรวงสาธารณสุขแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ส่วนค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณพ.ศ.2560 ให้ดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณพ.ศ.2560 ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
    • เมื่อแผนยุทธศาสตร์ชาติ ประกาศใช้แล้ว ให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการในข้อ 1 จัดทำข้อเสนอในการจัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อจัดการปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วม รวมทั้งดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการ โดยเป็นกลไกที่มีอำนาจสั่งการในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ตามมติคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกและการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 105/2552 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 ซึ่งมี พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ นั้น ให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินและจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 3 โดยมีอธิบดีกรมควบคุมโรค และอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานร่วม โดยมีผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นรองประธาน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ ประกอบกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552 ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่ (พ.ศ.2555-2559) ขึ้น ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 301/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559) โดยประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ 33 คน ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผู้แทนสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และผู้แทนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

           - อำนวยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 และงบประมาณในการเตรียมความพร้อม ป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์

           - แต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคล ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 ตามความจำเป็น

           - ประสานงาน ติดตาม กำกับ และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

           - ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

  • ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ วันที่ 12 มกราคม 2554 มีมติที่ประชุม ดังนี้

            1) ให้ใช้แนวทางจัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2554-2559) โดยเป็นคำสั่งระดับกระทรวงมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ลงนามในคำสั่ง ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข และเสนอให้เพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ตามแผนยุทธศาสตร์ฯ โดยให้นำแนวทางและรายชื่อคณะทำงานปรึกษาอธิบดีกรมควบคุมโรค รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบ และปลัดกระทรวงสาธารณสุข

            2) กำหนดขนาดของคณะทำงานฯ ให้มีหน่วยงานหลักฯ ที่มีผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ เสนอชื่อคณะทำงาน “คณะกรรมการยกร่างการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2554-2559)” เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป และที่ประชุมเสนอชื่อ/กลุ่มบุคคลเพื่อเขียนแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ สัตว์ป่า และระบบการเลี้ยง ผู้รับผิดชอบ ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง การป้องกัน ควบคุมโรค และการรักษาในคน(พิจารณาเรื่อง สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม) ผู้รับผิดชอบคือ กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ (นพ. พจน์ อินทลาภาพร โรงพยาบาลราชวิถี) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการความรู้ วิจัย และพัฒนา ผู้รับผิดชอบคือ สวทช. นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบและกลไกการจัดการเชิงบูรณาการ (พิจารณา เรื่อง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ; ธนาคารแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าไทย, การท่องเที่ยว, การพัฒนาปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย) ผู้รับผิดชอบคือ กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นพ. พรเพชร ปัญจปิยะกุล) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเตรียมความพร้อม และการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน (พิจารณาประเด็นเรื่อง การเงินการคลัง, stockpile & Logistic , การสั่งการบัญชาการ (command) , การประสานงานกับกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ) ผู้รับผิดชอบคือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นพ. พรเพชร ปัญจปิยะกุล) สำนักการแพทย์ฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค เสนอชื่อ ผู้แทนจากสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผู้แทนจากสำนักโรคติดต่อทั่วไป และผู้แทนจากสถาบันบำราศนราดูร

           ที่ประชุมเสนอเพิ่มเติม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ Risk communication และพิจารณา เรื่อง เตรียมการให้ความรู้กับประชาชนผ่านทางเครือข่ายสังคม (Social network) และการสร้าง key massages ใน Wikipedia / Google

            3) หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และร่วมการทำประชาพิจารณ์ ดังนี้

              - กระทรวงสาธารณสุข : กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม (GPO) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน

              - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : กรมปศุสัตว์

              - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

              - กระทรวงมหาดไทย : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร (สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ ฯลฯ)

              - กระทรวงกลาโหม

              - สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

              - สำนักงบประมาณ

              - สำนักนายกรัฐมนตรี : กรมประชาสัมพันธ์

              - กระทรวงการต่างประเทศ

              - กระทรวงศึกษาธิการ : โรงเรียนมัธยม อุดมศึกษา

              - มหาวิทยาลัย : คณะแพทยศาสตร์

              - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

              - กระทรวงคมนาคม : การบินไทย องค์การขนส่งมวลชน

              - กระทรวงพลังงาน : การไฟฟ้า การประปา

              - กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

              - กระทรวงแรงงาน : สำนักงานประกันสังคม

              - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

              - กระทรวงการคลัง : กรมบัญชีกลาง

              - ภาคเอกชน - สมาคมต่างๆ เช่น โรงแรม ท่องเที่ยว รพ.เอกชน สภาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล

              - ภาคประชาชน : NGO  สื่อมวลชน

  • วันที่ 2 มีนาคม 2554 มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 301/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2554-2559) มีองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ คือ ประธานฯ นายศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองประธาน นายสุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

            2.1 อำนวยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2554-2559 และงบประมาณในการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ และโรคระบาดร้ายแรงในมนุษย์

           2.2 แต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคลในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ. 2554-2559 ตามความจำเป็น

           2.3 ประสานงาน ติดตาม กำกับ และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2554-2559 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

           2.4 ปฏิบัติหน้าทีอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

  • วันที่ 17 มิถุนายน 2554 กระทรวงสาธารณสุขได้ออกคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 301/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559) คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 531/2554  และ 645/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559) เพิ่มเติม และคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 735/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559) โดยมีนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธาน นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ และนายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ เป็นรองประธานคณะทำงาน คณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ จำนวน 54 ท่าน โดย ร.ต.อ. รุ่งเรือง กิจผาติ เป็นเลขานุการ และนางมนัญญา ประเสริฐสุข เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่โดยย่อ ดังนี้
  1. จัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2559) และแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่
  2. ประสาน สนับสนุน ให้การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ติดตาม กำกับ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ
  4. ประสานงาน จัดหางบประมาณ และทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
  5. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานตามความจำเป็น
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

      ทั้งนี้องค์ประกอบของคณะทำงานมาจากหลายภาคส่วน ซึ่งมีที่มาจากคณะกรรมการอำนวยการฯ ที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

  • เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล ผลการประชุมมีดังนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ โดยมี นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และกำหนดบทบาทหน้าที่หลักคือ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในการเตรียมความพร้อม ป้องกันควบคุม และแก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งกำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ
  • แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2556 - 2559) ฉบับที่ 3 หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการปฏิบัติงานตามภารกิจของตน ตลอดจนได้มีการประสานงานเพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์และดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในทางคู่ขนาน ซึ่งผลการดำเนินงานมีดังนี้
                1.  การดำเนินงานขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ อาทิ

                           1.1  การเสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ

                           1.2  เตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหา  โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2556 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

                           1.3  จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ จำนวน 8 ชุด ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

                           1.4  การจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic route map) เตรียมความพร้อม ป้องกัน และ แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2556 - 2559) โดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในระดับผู้อำนวยการสำนัก/กอง จากส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556

                          1.5   การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการแม่บท (Operation plan) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ ระดับภาค โดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 ครั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ในเดือนมีนาคม - เมษายน 2556

                     2.  การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้แก่

                         2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยกรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้

                              - จัดประชุมการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว วันที่ 25 ธันวาคม 2556

                              - ร่วมจัดประชุม Collaboration One Health Projects by Epidemiological Teams at the Provincial and District Level in Thailand : Learning from field Experiences และ     ร่วมจัดนิทรรศการเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว ในการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พ.ศ.2556 เมื่อวันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2556

                              - ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์ One Health (www.thaionehealth.org) ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

จัดตั้งศูนย์ความร่วมมือสุขภาพหนึ่งเดียว ณ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค

                              - การดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน

                       2.2  ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการระบบการเลี้ยง และสุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่า ให้ปลอดโรค

                             - กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ดำเนินงานด้านการจัดการระบบการเลี้ยง และสุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่า ให้ปลอดโรค ตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน

                       2.3  ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบจัดการความรู้ และส่งเสริมการวิจัยพัฒนา

                             -  กรมควบคุมโรค ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อวันที่ 10 - 11 มกราคม 2556

                             -  ดำเนินงานพัฒนาระบบจัดการความรู้ และส่งเสริมการวิจัยพัฒนาตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน

                      2.4  ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการเชิงบูรณาการและเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โดย กรมควบคุมโรค และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการ ดังนี้

                             - การจัดทำแผนประคองกิจการของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน

                             - ผลักดันให้มีการซ้อมแผนการเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของหน่วยงานในกำกับ

                             - การเตรียมความพร้อมด้านวัสดุ เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกัน พร้อมทั้งฝึกซ้อมการใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้อง

                             - ดำเนินงานพัฒนาระบบบริหารจัดการเชิงบูรณาการและเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน

                       2.5  ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ความเสี่ยงของโรคติดต่ออุบัติใหม่

                             - ดำเนินงานด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ความเสี่ยงของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน

  • เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 นายยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 ว่า ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทุกประเทศรวมทั้งไทยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในทวีปแอฟริกาตะวันตก ซึ่งไทยได้มีมาตรการในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างเข้มแข็ง ผลการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ระบาดไม่พบผู้ป่วยแม้แต่รายเดียว ขณะนี้สถานการณ์การระบาดของใน 3 ประเทศแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน จนถึงปัจจุบันพบผู้ป่วย 22,894ราย เสียชีวิต 9,177ราย แนวโน้มการพบผู้ป่วยรายใหม่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง แต่ยังไม่อาจนิ่งนอนใจได้ คณะกรรมการฯ ยังคงให้ดำเนินมาตรการต่างๆในการป้องกันโรคนี้ต่อไปอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง รวมถึงเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคไวรัสเมอร์สโควี รวมทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่อื่นๆ ที่มีแนวโน้มรุนแรงและเกิดบ่อยขึ้นทุก 2-3 ปี นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายกำจัดโรคติดต่อเดิมคือ โรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี 2563 และการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน เช่นไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิปาห์ที่มีค้างคาวเป็นพาหะ ข้อมูลในปี 2556 กรมอุทยานแห่งชาติฯได้เฝ้าระวังและสุ่มตรวจในค้างคาว 16 ชนิด รวม 1,399 ตัวอย่างใน 15 จังหวัด พบเชื้อไวรัสนิปาห์ 21 ตัวอย่างหรือร้อยละ 1.5 ของตัวอย่างทั้งหมด แม้จะยังไม่พบโรคนี้ในคนและปศุสัตว์อื่นๆ แต่ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เช่นไม่กินผลไม้ที่ถูกค้างคาวกัดทิ้งไว้ รวมทั้งแนะนำนักท่องเที่ยวที่ชมถ้ำค้างคาว ต้องระมัดระวังไม่สัมผัสกับค้างคาวหรือมูลค้างคาว เพราะอาจติดเชื้อไวรัสนี้ได้ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการเฝ้าระวังร่วมกัน ทั้งในสัตว์ป่า ปศุสัตว์ และในคน แนวโน้มโรคอุบัติใหม่ที่ต้องเฝ้าระวังติดตามจะเป็นโรคจากสัตว์สู่คน ดังนั้นคณะกรรมการชุดนี้ จึงมีองค์ประกอบที่มาจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงทรัพยากรฯ และคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อร่วมกันเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนให้มากที่สุด แต่หากเกิดขึ้นก็จะร่วมกันสร้างระบบในการรองรับผู้ป่วย ทั้งด้านการเฝ้าระวัง การรักษา การวินิจฉัย และการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดในวงกว้าง  ดังนั้นการสร้างสมรรถนะพื้นฐานทั้งด้านกำลังคน อุปกรณ์ที่จำเป็นและโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการ
  • เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2559 พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2559 ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย เพื่อติดตามความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการฯ wfhร่างแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2564) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 24 กลยุทธ์ 49 มาตรการ และ 230 แนวทางการดำเนินงาน ซึ่งมีหน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งหมด 33 หน่วยงาน เช่น ศึกษาธิการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรและสหกรณ์ มหาดไทย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สภากาชาด และสาธารณสุข ร่วมขับเคลื่อนแผนดังกล่าวเพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดการป่วย การตาย และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้มีการพิจารณาความสอดคล้องและจัดลำดับความสำคัญ สำหรับรายการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนระหว่างแผนระยะสั้นของรายการที่ปรากฏในแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ หรือโรคระบาด พ.ศ. 2559 – 2561 ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กับแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ (EID Package) โดยมีรายการดังนี้ 1.ห้องปฏิบัติการ 2.ห้องแยกสำหรับสังเกตอาการ/รอส่งต่อ ผู้เดินทางที่สงสัยป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ 3.ห้องแยกผู้ป่วยชนิดความดันลบ และ4.ครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการ โดยใช้งบประมาณ 396 ล้านบาท ซึ่งจะเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาอีกครั้ง ก่อนเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี ส่วนรูปแบบการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์รับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ ได้แก่ ยา วัคซีน อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย และวัสดุอุปกรณ์ป้องกันควบคุมสัตว์พาหะ โดยผลิตภัณฑ์ที่ควรพัฒนาในอันดับแรก ได้แก่ ชุดป้องกันร่างกาย (PPE)  เพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง และนวัตกรรมป้องกันควบคุมยุง เช่น สมุนไพรไล่ยุงที่ออกฤทธิ์ในการไล่ยุงได้นาน มีความปลอดภัยกับสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวดำเนินการประสบผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้โมเดลนี้ จะมีการนำไปปรับใช้ในการพัฒนายาและวัคซีนในการรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกาและโรคเมอร์สในอนาคตต่อไป
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้คณะกรรมการฯ เสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการโรคติดต่ออุบัติใหม่แบบบูรณาการและข้อเสนอกลไกฯ ต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณานำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป และให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เพื่อให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559) ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 735/2554 จำนวน 54 คนเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว

            ยุทธศาสตร์หลักของแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และการป้องกัน ควบคุมโรคในคน สัตว์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม รวมถึงห้องปฏิบัติการ และการรักษาในคน
  2. ยุทธศาสตร์การจัดการระบบการเลี้ยงและสุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่า ให้ปลอดโรค
  3. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ และการวิจัยพัฒนา
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ และกลไกการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ทั้งในการเตรียมความพร้อม และการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่
  5. ยุทธศาสตร์การสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์
  • วันที่ 2 มีนาคม 2555 คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ได้เผยแพร่ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559) ซึ่งแผนฯ ฉบับนี้ ได้บูรณาการแนวคิดและทิศทางในการจัดทำแผนให้สอดคล้องกับทั้งยุทธศาสตร์ภายในประเทศ และพันธะสัญญาในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 แผนยุทธศาสตร์สำหรับโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2553 และกรอบการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ร่วมกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแผนงาน โครงการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งจะทำให้การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผลมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้อยู่ระหว่างการรอปรับปรุงคำสั่ง โดยสาระสำคัญมียุทธศาสตร์ดังนี้

            ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคให้เป็นสุขภาพหนึ่งเดียว

            ยุทธศาสตร์ที่ 2 จัดการระบบการเลี้ยงสัตว์ สุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่าให้ปลอดโรค

            ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบจัดการความรู้ และส่งเสริมการวิจัยพัฒนา

            ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการเชิงบูรณาการและเตรีมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

            ยุทธศาสตร์ที่ 5  การสื่อสารความเสี่ยง และประชาสัมพันธ์

  • วันที่ 28 สิงหาคม 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2556 – 2559) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป
  • เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ที่สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ฉบับใหม่ และหารือนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์แก่ผู้แทนจากโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกว่า 100 คน ในเรื่องพระราชบัญญัติโรคติดต่อฉบับใหม่ที่มีการปรับปรุงจากของเดิมที่ใช้มา 35 ปี ให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งพระราชบัญญัติฯฉบับนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลภาคเอกชนใน 2 ส่วนคือ 1.การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดยมีนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้แทน  ในส่วนระดับจังหวัดจะเลือกผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดนั้นๆและแต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด   2.การเฝ้าระวังโรค ที่กำหนดให้โรงพยาบาลเอกชน ต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขเมื่อพบผู้ป่วยโรคที่กำหนดไว้ภายในเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะโรคติดต่อร้ายแรง รวมทั้งการตั้งหน่วยปฏิบัติการโรคติดต่ออย่างน้อยเขตละ 1 หน่วยหรืออำเภอละ 1 หน่วย เพื่อเข้าไปดำเนินการสอบสวนควบคุมโรค  ทั้งนี้เป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางแผนปฏิบัติงานและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค
  • เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559 ที่กระทรวงสาธารณสุข ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล วกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่า การประชุมครั้งนี้มีเรื่องพิจารณาสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ 1. (ร่าง) ประกาศกระทรวงฯ ชื่อ อาการสำคัญ ของโรคติดต่ออันตราย ตามมาตรา 6 (1) ได้เพิ่ม 6 โรคติดต่ออันตรายที่ยังไม่เคยพบในประเทศไทยคือ โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ ไข้ลาสซา ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก และไข้เวสต์ไนล์ รวมโรคเดิมที่มีอยู่เป็น 12 โรค  2. (ร่าง)ประกาศกระทรวงฯ ชื่ออาการสำคัญโรคติดต่อที่เฝ้าระวัง ตามมาตรา 6(1) ได้เพิ่มโรคติดต่อที่เฝ้าระวังอีก 23 โรค จากเดิมมี 34 โรค รวมเป็น 57 โรค ซึ่งการเพิ่มชื่อโรคติดต่ออันตราย และโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมโรคให้เร็ว เป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนและประเทศไทยมีมาตรการป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ยังมีการพิจารณา (ร่าง) ประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้น ตามมาตรา 7(1) ด้วย ซึ่งจะมีการปรับปรุงแก้ไขในเนื้อหาเพื่อให้ครอบคลุม สะดวกแก่ผู้ปฏิบัติ และเสนอแก่คณะกรรมการฯ อีกครั้ง ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามต่อไป ส่วนอีก 2 เรื่องที่ผ่านการพิจารณาดังกล่าวข้างต้น จะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อลงนาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
เอกสารหลัก: