You are here


การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน
สมัชชาครั้งที่: 
2
มติที่: 
9
ชื่อมติ: 
การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน
ผลการปฏิบัติงาน: 
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ที่มี รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ เป็นประธาน ได้แต่งตั้ง คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยมอบให้ นพ.กิจจา เรืองไทย เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะทำงานจากภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 15 คน และที่ปรึกษาอีก 5 คน เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 คณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ได้ประชุมครั้งแรก โดยได้มีการยกร่างแนวทางการขับเคลื่อนมติฯ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมทั้งวางเป้าหมายติดตามผลการดำเนินงานตามมติสมัชชาฯ และรายงานความก้าวหน้าต่อคณะอนุกรรมการฯ ต่อไป ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินงานคณะทำงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติการแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน มุ่งเน้นให้กลไกในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และชุมชน ได้เข้ามีบทบาทในการแก้ปัญหามากขึ้นโดยกำหนดกรอบดำเนินการ คือ 1. พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่ระดับอำเภอและตำบล โดยการพัฒนาความร่วมมือของกลไก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับจังหวัดจนถึงพื้นที่ สนับสนุนให้เกิดแผนปฏิบัติการจัดการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอและระดับตำบล พร้อมเชื่อมโยงกลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดที่มีการทำงานในประเด็นอุบัติเหตุทางถนนให้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนงานระดับจังหวัด เพราะเชื่อว่าการทำงานแบบภาคีเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมจะประสบความสำเร็จมากกว่า นอกจากนี้ ต้องทำการประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยและสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความร่วมมือและวางแนวทางการขยายผลจากพื้นที่ต้นแบบต่อไป                สำหรับแนวทางการคัดเลือกพื้นที่หรือจังหวัดต้นแบบนั้น คณะทำงานฯ กำหนดไว้ 3 แนวทาง คือ 1. เป็นพื้นที่ๆ สมัชชาสุขภาพจังหวัดนั้นๆ ให้ความสำคัญและเป็นประเด็นของสมัชชาสุขภาพจังหวัด (ขอนแก่น/บึงกาฬ/ลำปาง) หรือกลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดวางแผนที่จะทำงานในประเด็นนี้ 2. เป็นพื้นที่ๆ สถิติการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูงและมีจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำท้องถิ่นให้ความสำคัญและสนใจทำงานประเด็นนี้                กรอบดำเนินการในส่วนที่ 2. ผลักดันการปรับแก้กฎหมายหรือระเบียบที่เอื้อให้ท้องถิ่นและภาคประชาสังคม มีบทบาทในการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยประสานการทำงานร่วมกับกลไกของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อเสนอปรับแก้ไขระเบียบ การกระจายอำนาจและระเบียบด้านการเงิน การคลัง 3. ผลักดันให้เกิด “มาตรการองค์กร” ด้านความปลอดภัยทางถนนโดยการรณรงค์ประสานความร่วมมือหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้เกิดมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน 4. การติดตามความก้าวหน้า การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ อาทิ การจัดประชุมติดตามความก้าวหน้ากับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง การประสานข้อมูล การติดตามข่าว 5. การจัดประชุมคณะทำงาน สรุปผล และวางแนวทางขับเคลื่อนมติต่อเนื่อง 6. การสื่อสารกับสาธารณะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
เพื่อลดอัตราการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนให้เป็นไปตามวาระแห่งชาติและข้อตกลงที่ทำไว้กับสหประชาชาติ ขอให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการดังต่อไปนี้
รายละเอียด: 

1.1 ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเป็นกลไกหลักในการประสานทุกภาคส่วน  ให้มีส่วนร่วมในการทำงานด้านการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนโดยมีเป้าหมายให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตในปี 2563 ลดลงร้อยละ 50 ของอัตราการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตในปี 2553 ทั้งนี้ขอให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้

1.2 ให้มีคณะทำงานเฉพาะกิจในการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยมีกลไกความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้สามารถดูแลเยียวยาผู้ประสบภัยจากรถให้มีความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม

1.3 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดนโยบาย มาตรการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจังและต่อเนื่อง ครอบคลุมทั่วพื้นที่ทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน ผู้ใช้รถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย งดการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะที่ขับขี่ เป็น 100 % ภายในปี 2554

1.4 ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานลดอุบัติเหตุทางถนนร่วมผลักดันให้มีการเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ในอัตราที่เหมาะสมตามขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี)

1.5 ให้กรมการขนส่งทางบกร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผลักดันให้ยกระดับมาตรฐานการออกใบอนุญาตขับรถมีคุณภาพโดย ประกาศใช้หลักสูตรการอบรม 15 ชั่วโมงของกรมการขนส่งทางบก เน้นให้ความรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทักษะการขับขี่ สร้างความตระหนัก จิตสำนึก หน้าที่ในการขับขี่ที่ปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรความปลอดภัยบนท้องถนนและหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จัดให้มีการฝึกอบรม ทบทวนและตรวจสมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการขับขี่ในการต่อใบอนุญาตขับรถ ทั้งนี้สำหรับผู้ขับขี่รถสาธารณะและเพื่อการพาณิชย์ควรมีใบรับรองแพทย์ผ่านการคัดกรองของโรคหัวใจรุนแรง

1.6 ให้สภาองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมร่วมกับชุมชน ช่วยผลักดันการใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ให้เกิดแผนชุมชนด้านความปลอดภัย มาตรการทางสังคมและมาตรการท้องถิ่น เพื่อการขับขี่อย่างปลอดภัยและปฏิบัติได้จริง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน

1.7 ให้กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกันจัดทำหลักสูตรความปลอดภัยทางถนนและจัดให้มีการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพในสถานศึกษาทั้งในและนอกระบบทุกระดับ ภายใน 2 ปี และนำไปสู่การปฏิบัติจริงภายใน 5 ปี

1.8 ขอให้ผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จัดสถานที่และบริการฝึกปฏิบัติทักษะการขับขี่อย่างปลอดภัยและมีมาตรฐาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างครอบคลุมทุกอำเภอ

1.9 ดำเนินการลดระดับเพดานปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะทั่วไป เร่งรัดดำเนินการประกาศใช้นโยบายการปลอดแอลกอฮอล์ในกลุ่มผู้ขับรถเพื่อการพาณิชย์ และกลุ่มผู้ขับรถสาธารณะทุกประเภท โดยกำหนดให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมีค่าไม่มากกว่า 0 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ภายใน พ.ศ. 2554 และผลักดันให้มีการกำหนดระดับเพดานปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่อายุน้อย และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวให้ต่ำเป็นพิเศษ พร้อมกับเร่งรัดการบังคับใช้

1.10 สนับสนุนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการลดอุบัติเหตุทางถนน ให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน ครอบคลุม และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสร้างความตระหนักในการขับขี่อย่างปลอดภัยและต่อเนื่อง

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2553 พิจารณาแล้วเห็นว่าประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ควรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวาระความปลอดภัยทางถนนของโลก จึงได้ดำเนินการพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานความปลอดภัยทางถนนตามกรอบปฏิญญามอสโก ดังนี้

          1. สถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยนับว่ามีความรุนแรงสูงเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ประชาชาติสูง จากรายงานสถิติคดีอุบัติเหตุจราจรของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2552 เฉลี่ยปีละ 19.92 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในขณะที่องค์กรอนามัยโลกระบุว่า ประเทศที่มีรายได้ประชาชาติสูงมีอัตราการเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางถนน โดยเฉลี่ยปีละ 10 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ซึ่งหากพิจารณาเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจตามรายงานการศึกษาของกรมทางหลวงเมื่อปี 2550 พบว่ามีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกรวมทั้งสิ้นปีละ 232,855 ล้านบาท (มูลค่า ณ ปี พ.ศ. 2550) หรือประมาณร้อยละ 2.81 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ 

          2. แนวทางการดำเนินงานตามกรอบปฏิญญามอสโก เพื่อให้การดำเนินการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยมีเป้าหมายเชิงนโยบายที่ชัดเจนสอดคล้องกับเป้าหมายตามมาตรฐานสากล จึงควรดำเนินการ ดังนี้ 

             2.1 กำหนดให้การดำเนินการในช่วงทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2563 ให้มีเป้าหมายตามมาตรฐานสากลคือ อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของคนไทยลดลงครึ่งหนึ่ง หรือในอัตราที่ต่ำกว่า 10 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน 

             2.2 กำหนดแนวทางการดำเนินงานใน "ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน" เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ปี 2554 - 2563 จำนวน 8 ประการ ดังนี้

                   2.2.1 ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย โดยมีเป้าหมายให้ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ทุกคนต้องสวมหมวกนิรภัย 

                   2.2.2 ลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะ โดยมีเป้าหมายให้พฤติกรรมเมาแล้วขับของผู้ขับขี่ยานพาหนะลดลง 

                   2.2.3 แก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง จุดอันตราย โดยมีเป้าหมายให้จุดเสี่ยงทุกจุดได้รับการ แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด

                   2.2.4 ปรับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะให้ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะความเร็วของรถจักรยานยนต์ รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก

                   2.2.5 ยกระดับมาตรฐานยานพาหนะให้ปลอดภัยโดยเฉพาะมาตรฐานของรถจักรยานยนต์ รถกระบะ รถโดยสารสาธารณะ และรถบรรทุก

                   2.2.6 พัฒนาสมรรถนะของผู้ใช้รถใช้ถนน (Road users) ให้มีความปลอดภัย 

                   2.2.7 พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การรักษาและฟื้นฟูผู้บาดเจ็บ เพื่อให้การบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การรักษาและฟื้นฟูผู้บาดเจ็บได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว 

                   2.2.8 พัฒนาระบบบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนของประเทศให้มีความแข็งแรง เพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

  • ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2553 วันที่ 23 เมษายน 2553 มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552 เรื่อง การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • วันที่ 29 มิถุนายน 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้

          - เห็นชอบกำหนดให้ "ปี 2554 - 2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety)" เพื่อบูรณาการการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน 

          - ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจัดทำแผนปฏิบัติการ "ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563" โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่า 10 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี 2563 เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีทิศทางการดำเนินงาน และการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ชัดเจน

  • กรมการขนส่งทางบก ได้ดำเนินการเพื่อสนองนโยบายปีแห่งความปลอดภัยเพื่อให้ “คมนาคมปลอดภัย สังคมไทยเป็นสุข” รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานใน “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563” ซึ่งกำหนดให้มีการพัฒนาสมรรถนะของผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของคนไทยลดลงครึ่งหนึ่ง หรือในอัตราที่ต่ำกว่า 10 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี 2563 กรมการขนส่งทางบกจึงเตรียมพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และเนื้อหาการอบรม เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่ทุกชนิด นอกจากต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถแล้ว ยังต้องผ่านการอบรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการขับขี่อย่างปลอดภัย รวมทั้งมีวินัย และเคารพกฎจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุจากความประมาท

          กรมการขนส่งทางบกเตรียมปรับปรุงการสอบขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถยนต์สามลัอส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถบดถนน ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์ และใบอนุญาตขับรถใช้งานเกษตรกรรม หรือใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น ด้วยการเพิ่มชั่วโมงการอบรมจากเดิม 2 ชั่วโมง เป็น 4 ชั่วโมง โดยกำหนดให้มีการอบรมด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยทางหลวง จำนวน 2 ชั่วโมง มารยาทในการขับรถ 1 ชั่วโมง และการขับรถอย่างปลอดภัยอีก 1 ชั่วโมง ด้วยการบรรจุเนื้อหาให้น่าสนใจ และจำลองจากสถานการณ์จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่อย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการออกใบอนุญาตขับรถ

  • วันที่ 7 มกราคม 2554 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะสำนักงานเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้จัดทำโครงการจัดทำแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Map) ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำกรอบทิศทางในการจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนใน 10 ปีข้างหน้าที่สอดคล้องกับแนวทางสากลและบริบทของประเทศไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้นเพื่อให้มีกลไกกำกับการจัดทำแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานกำกับการจัดทำแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดยมี อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นที่ปรึกษาคณะทำงานฯ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นประธานคณะทำงาน และผู้อำนวยการสำนักบูรณาการสาธารณภัย อุบัติภัย และความปลอดภัยทางถนน เป็นเลขานุการคณะทำงาน ลงวันที่ 7 มกราคม 2554 คณะทำงานฯ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

          1. ให้ข้อเสนอแนะและกำกับดูแลการจัดทำแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Map) ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

          2. พิจารณาร่างแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Map) ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ก่อนเสนอคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนพิจารณาให้ความเห็นชอบ

          3. หน้าที่อื่นใดที่จำเป็น เพื่อให้การจัดทำแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Map) ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

  • ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ Data mining (CART, SPSS, SQL Server, และอื่น ๆ) ในการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุ โดยทำการรวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (โรงพยาบาล, กรมทางหลวง, ตำรวจ, และอื่น ๆ) และนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบที่มีประโยชน์ ปัจจัยต่าง ๆ และข้อมูลที่เป็นรูปธรรม เพื่อปรับปรุงสถานการณ์ด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
  • ปีงบประมาณ 2553-2554 สำนักงานขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าล้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี สถานีตำรวจท่าม่วง แขวงการทางกาญจนบุรี สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดกาญจนบุรี โรงพยาบาลพหลพยุหเสนา และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรี ได้ร่วมกันจัดทำโครงการชุมชนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าล้อ  อำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบ (นำร่อง) ในการสร้างนวัตกรรมด้านการดำเนินการป้องกันและแก้ไขการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยประชาชนในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่มีส่วนร่วม 3) 3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย และ 4) เพื่อส่งเสริมให้เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่โดยหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุน โครงการนี้เป็นการทำงานเชิงรุกหรือการต่อสู้ด้วยวิธีการสร้างความร่วมมือในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนระหว่างองค์กรภาครัฐและชุมชนภายใต้ขั้นตอน  ดังต่อไปนี้

          1. การกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนโดยการประเมินองค์กร      ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดกาญจนบุรีที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ

          2. การกำหนดกลยุทธ์/กลวิธีในการดำเนินการให้อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์มาตรฐานด้านความ  ปลอดภัยดังนี้

              2.1 ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement) ได้แก่

                    1) การบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การว่ากล่าวตักเตือนจนถึงการลงโทษปรับ

                    2) การจัดประชุมหรือเสวนาเรื่องกฎหมายเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนในเขตชุมชน

                    3) กำหนดมาตรการควบคุมกำกับพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนในระดับปัจเจกชนและกลุ่มคน

                    4) การจัดให้มีอาสาสมัครอำนวยความสะดวกประจำจุดหรือบริเวณพื้นที่ที่มีปัญหาการจราจร

              2.2 ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และมีส่วนร่วม (Education Public relation & Participation) ได้แก่

                   1) การอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนแก่ประชาชนโดยผ่านองค์กรเครือข่ายที่จัดตั้งอยู่ในชุมชน

                   2) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เผยแพร่

                   3) การจัดประชาคมประชาชนในชุมชนเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการ

                   4) จัดกิจกรรมรณรงค์อุบัติเหตุของมวลชนในพื้นที่เพื่อการประชาสัมพันธ์

             2.3 ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering) ได้แก่ (1) การสำรวจจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนเส้นทางจราจรในเขตพื้นที่นำร่อง และ (2) การประสานความร่วมมือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อดำเนินการปรับปรุง/แก้ไขจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน

             2.4 ยุทธศาสตร์ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency medical service) ได้แก่

                  1) การจัดให้มีศูนย์กู้ชีพตำบลโดยอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชน

                  2) การฝึกอบรม/ทบทวนอาสาสมัครในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน

                  3) สร้างระบบหรือรูปแบบการจัดการช่วยเหลือประชาชนในชุมชนทั้งในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง

            2.5 ยุทธศาสตร์ด้านการติดตามและประเมินผลและสารสนเทศ (Monitoring & Evaluating & Information) ได้แก่ (1) การจัดระบบฐานข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ เสียชีวิต ในห้วงเวลาก่อนและหลังจัดทำโครงการ และ (2) การจัดตั้งคณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการ

            2.6 ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งของชุมชน(Cooperative & Strength Community) ได้แก่ การกำหนดให้ชุมชนสร้างมาตรการควบคุมผู้ใช้รถใช้ถนนของชุมชน

  • กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดแผนงานเรื่องความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อสร้างความยั่งยืน ที่ไม่ใช่เฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น ดังนี้

                ระยะเริ่มต้น กระทรวงคมนาคมมุ่งเน้นในเรื่องของการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะ บริษัท ขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการการเดินทางทางถนน มีมาตรการในการกำหนดให้ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเป็นศูนย์ ซึ่งจะเห็นได้จากเทศกาลหลักทั้ง 2 เทศกาลที่ผ่านมา (ปี 2553) แม้จะมีอุบัติเหตุของบริษัทขนส่งเกิดขึ้น แต่ไม่พบผู้เสียชีวิตแม้แต่คนเดียว ซึ่งในทางปฏิบัติต้องเป็นเน้นเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าได้ผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

                แผนระยะกลาง มีเป้าหมายที่จะขยายผลไปยังรถร่วมเอกชน ซึ่งผู้ขับขี่รถเอกชนจะต้องมีระดับแอลกอฮอล์ 0% เช่นกัน และจะเป็นมาตรการบังคับใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ ส่วนกรมการขนส่งทางบกจะพัฒนาการจัดการไปสู่การควบคุมรถขนาดใหญ่ คือ รถบรรทุก และรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงมีการนำผู้ขับขี่เหล่านี้กลับมาอบรมและฝึกสอนวิธีการควบคุมยานพาหนะที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยให้มากขึ้น

            ในส่วนของจุดตัดรถไฟที่พบว่า เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนรถยนต์ค่อนข้างมากนั้น เนื่องจากมีจุดตัดกับถนนกว่า 2,000 แห่ง หรือเฉลี่ยแล้วทุกๆ 2 กิโลเมตรจะมีจุดตัด 1 จุด โดยส่วนใหญ่มาจากจุดตัดที่ก่อสร้างโดยท้องถิ่น ซึ่งการรถไฟยังไม่ได้อนุญาต อีกทั้งไม่มีเครื่องกั้น จึงจะมีการปรับปรุงระบบกันใหม่ ซึ่งการรถไฟฯ ก็ได้งบประมาณมาทำส่วนนี้แล้วเช่นเดียวกัน

                แผนระยะยาว จะเป็นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยกระทรวงฯ ได้จัดหลักสูตรความปลอดภัยทางถนนที่จะไปสอนนักเรียนในโรงเรียนทุกระดับ ซึ่งได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และจะทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันในเดือนสิงหาคมนี้ ด้วยความมุ่งหวังที่จะพัฒนาให้บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กในปีหน้านี้  ส่วนในปีนี้จะเริ่มต้นจากการพัฒนาครูผู้สอนก่อน โดยมีกรมการขนส่งทางบกเป็นหน่วยงานหลักที่จะไปอบรมครูอาจารย์

  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2555 รัฐบาลไทยใช้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เป็นกลไกหลักในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563 ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของ นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้อำนวยการสำนักบูรณาการสาธารณภัย อุบัติภัย และความปลอดภัยทางถนนในโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนปี 2555 จากนโยบายเน้นหนักของรัฐบาลที่ให้ดำเนินการลดอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือน้อยที่สุด โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มข้นตลอดทั้งปี ไม่เน้นเฉพาะช่วงเทศกาล โดยให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเป็นกลไกหลักมีหน้าที่ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศ และดำเนินการในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยขณะนี้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ประจำปี 2555 ซึ่งมีหลายจังหวัดได้ดำเนินการจัดทำแผนดังกล่าวแล้ว โดยให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด จัดประชุมอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง ให้คณะทำงานด้านข้อมูลอุบัติเหตุ ร่วมกับคณะทำงานทีมสืบสวนอุบัติเหตุ นำข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์และนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดพิจารณาสั่งการ เนื่องจากหากไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด จะทำให้ปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตกลายเป็นปัญหาสะสมและยากต่อการแก้ไข ทั้งนี้ รัฐบาลได้ขยายระยะเวลาโครงการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% ออกไปอีก 3 ปี ระหว่าง พ.ศ.2555 – 2557 จึงได้มอบหมายให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยขึ้นมารองรับ เพื่อให้มีอัตราการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในแต่ละปี การดำเนินงานที่สำคัญของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนตามกรอบแนวทางทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ดังนี้ 

          - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีการจัดทำแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Map) ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนและการดำเนินงานตามแนวทาง 5 เสาหลัก

          - ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 6 คณะ เพื่อให้สามารถดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แนวทาง และแผนงานเกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้พิจารณาตาม 5 เสาหลักของทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน และเพิ่มคณะอนุกรรมการด้านข้อมูลเข้ามาดำเนินการด้านการจัดการข้อมูลโดยเฉพาะ ดังนี้

          1. คณะอนุกรรมการด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน มี รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง เป็นประธาน อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นรองประธาน และ ผู้อำนวยการสำนักบูรณาการสาธารณภัย อุบัติภัย และความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ 

          2. คณะอนุกรรมการด้านถนนและการสัญจรอย่างปลอดภัย มี รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง เป็นประธาน อธิบดีกรมทางหลวง เป็นรองประธาน และ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

          3. คณะอนุกรรมการด้านยานพาหนะปลอดภัย โดยมี รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากรมภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธาน อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นรองประธาน และ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม ยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก เป็น อนุกรรมการและเลขานุการ

          4. คณะอนุกรรมการด้านผู้ใช้รถใช้ถนนปลอดภัย มีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือเทียบเท่า เป็นประธาน รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน และ ผู้บังคับการกองแผนงานกิจการพิเศษ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

          5. คณะอนุกรรมการด้านการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุ มี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์ เป็นประธาน นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน และ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ 

          6. คณะอนุกรรมการด้านการบริหารจัดการข้อมูลและการติดตามประเมินผล มี นายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธาน นายแพทย์ประจักษ์วิช เล็บนาค รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นรองประธาน และ ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

             การเสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน (Road Safety Work-related) นั้น ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้มีแนวทางในการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน รวมถึงการเดินทางไป-กลับ ระหว่างที่พักกับสถานที่ทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยในการเดินทางของแรงงานและเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจนมีผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน โดยคณะทำงานดังกล่าวมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย นักวิชาการ ร่วมเป็นคณะทำงาน มีหน้าที่เกี่ยวกับการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดทำแนวทางและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวเนื่อง ในการทำงาน นอกจากนั้นยังได้มีการศึกษารูปแบบการจัดตั้งสถาบันจัดการความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อให้เป็นหน่วยงานทางวิชาการในการรวบรวมองค์ความรู้ และศึกษาวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเบื้องต้นได้ประสานความร่วมมือและขอรับการสนับสนุนด้านวิชาการจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เพื่อจะได้มีการศึกษารูปแบบในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบต่อไป

  •  วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 สำนักอำนวยความปลอดภัย ได้รวบรวมรายงานข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงทั่วประเทศ ประจำเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยสรุปยอด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พบว่า มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางหลวง จำนวน 1,001 ราย มีผู้เสียชีวิต 243 คน เฉลี่ย 8 คนต่อวัน โดยมีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 1,229 คน เฉลี่ย 41 คนต่อวัน มีจำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุ 1,523 คัน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน 18 ล้านกว่าบาท โดยเป็นทรัพย์สินของกรมทางหลวง 9 ล้านกว่าบาท คิดเป็นร้อยละ 48.99 ของมูลค่าความเสียหาย ทั้งนี้ รถปิกอัพบรรทุก 4 ล้อ เกิดอุบัติเหตุมากสุด 173 คัน คิดเป็นร้อยละ 36.81 รองลงมา ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 96 คัน คิดเป็นร้อยละ 20.43 และรถบรรทุกมากกว่า 10 ล้อ (รถพ่วง) 57 คัน คิดเป็นร้อยละ 12.13 ส่วนพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด โดยเมื่อเเยกเป็นภาค พบว่า ภาคใต้เกิดอุบัติเหตุมากสุด 78 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 20.69 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.89 และภาคเหนือ ร้อยละ 16.45 และหากเปรียบเทียบกับเดือน พ.ค. 2554 พบว่า ในภาพรวมจำนวนอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 10.70 แต่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.90 ซึ่งอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุบัติเหตุเกิดอย่างรุนแรง สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ คือ การขับขี่รถด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด มีมากถึง 223 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 61.80 รองลงมาคือ หลับใน ร้อยละ 6.90 และการตัดหน้าระยะกระชั้นชิด ร้อยละ 5.57 ดังนั้นการแก้ปัญหาระยะสั้น จะร่วมกับกองบังคับการตำรวจทางหลวง บังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการตรวจจับความเร็วยานพาหนะที่วิ่งบนทางหลวง สำหรับมาตรการระยะยาว จะศึกษาวิจัยความเร็วยานพาหนะที่ปลอดภัยในการขับขี่แต่ละประเภทรถ และทางหลวง รวมทั้งการจำกัดความเร็วเฉพาะบริเวณ โดยเฉพาะในช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน และในช่วงเทศกาลต่าง ๆ1.11 ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดกำหนดแบบ และมาตรฐานทางสัญจรและทางเท้าที่เอื้อต่อความปลอดภัย และความสะดวกของผู้ใช้ทุกกลุ่ม รวมถึงเด็ก คนพิการ และผู้สูงอายุ
  • เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ และผู้ขอรับบัตรประจำตัวคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2557 ลงวันที่ 18 เมษายน 2557 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ทำความตกลงกับกรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่อบรมและออกหลักฐานแสดงการผ่านการอบรมสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการขอรับใบอนุญาตขับรถได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 โดยมีสาระสำคัญคือ การสอบใบขับขี่ใหม่นี้จะมุ่งเน้นข้อเขียนซึ่งเดิมทางกรมขนส่งทางบกได้รวบรวมไว้ 300 ข้อ โดยมีคำถามทดสอบ 35 ข้อ ซึ่งระบบการสอบใหม่จะปรับเปลี่ยนเป็น 1,000 ข้อและมีคำถามมาทดสอบถึง 50 ข้อ นอกจากนั้นยังมีเกณฑ์ทดสอบการผ่านข้อสอบเขียนจากเดิม 75% มาเป็น 90%  และการอบรมเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตามมาตรฐานสหประชาชาติกำหนด
  • เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช. ได้จัดเวที สช.เจาะประเด็น ครั้งที่ 2 หัวข้อ “วิกฤติอุบัติภัย ใครช่วยได้” เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ทว่าในเนื้องานมีการนำเสนอปมปัญหาที่ช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดการระดมสรรพกำลังและงัดสารพัดมาตรการมาป้องกันอุบัติเหตุ แต่กลับไม่ค่อยเห็นผล พร้อมทั้งเสนอแนะ วิธีอุดช่องโหว่เพื่อให้มาตรการเดินหน้าได้ อย่างมีประสิทธิภาพ นพ.ธนพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) กล่าวในเวที สช.เจาะประเด็น “วิกฤติอุบัติภัย…ใครช่วยได้” ว่า จากการทำงานด้านการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน พบว่าสถิติการเสียชีวิตยังทรงตัวไม่ลดลง โดยตามข้อมูลช่วงปี 2554 มีคนไทยเสียชีวิต 14,033 ราย ต่อมาในปี 2555 เสียชีวิตอยู่ที่ 14,059 ราย ขณะที่ปี 2555-2557 สถิติการเสียชีวิตยังอยู่สัดส่วนประมาณ 14,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 38 ราย ขณะที่ช่วงเทศกาลทั้งปีใหม่ สงกรานต์ยอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะเพิ่มเป็น 2 เท่า โดย 2 ใน 3 ของอุบัติเหตุมาจากช่วงที่มีการฉลองพร้อมทั้งเสนอมาตรการสำคัญ คือ ต้องตัด “วงจรของความเสี่ยง” ในการเกิดอุบัติเหตุ โดยการรณรงค์คนไทยให้ปรับพฤติกรรม ทั้งการขับรถเร็ว ความอ่อนล้าหรือการดื่มขณะขับรถ รวมถึงการตัดหน้ากะทันหัน อีกทั้งควรลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต ด้วยการรณรงค์ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมวก กันน็อค และเข็มขัดนิรภัย รวมทั้งแก้ไข ทางกายภาพ ได้แก่ ถนน รวมทั้งการบังคับ ใช้กฎหมาย ทั้งการตรวจจับ และการลงโทษที่เข้มงวดพร้อมกับการสร้างกระแสสังคมในการรณรงค์ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพราะอุบัติเหตุเกิดได้ ทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะ ถึงนี้ ที่จะต้องบูรณาการทุกหน่วยงานและองค์กรในการลดอุบัติเหตุ
  • เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ที่สถาบันบำราศนราดูร ศ.คลินิก เกียรติคุณ น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) บริษัทกลางคุ้มครองผู้สบภัยจากรถจำกัด และคณะทำงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด(สอจร.)เรื่อง การดำเนินงานความปลอดภัยทางถนน กระทรวงสาธารณสุข 2559 พร้อมมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ผู้รับผิดชอบงานด้านอุบัติเหตุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงเร่งดำเนินการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน โดยจัดการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางร่วมกันในการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร ซึ่งถือเป็นการทำงานแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายระยะสั้น คือลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงในเดือนเมษายนนี้ให้น้อยกว่าช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา และในระยะยาวลดอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรของคนไทยลดลงให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี 2563 โดยได้ดำเนินการเชิงรุก กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนนมีการจัดทำมาตรการองค์กรให้เจ้าหน้าที่ทุกคนยึดเป็นแนวปฏิบัติ เน้นการป้องกัน 3 พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิต คือดื่มไม่ขับ ไม่ขับรถเร็ว และสวมหมวกกันน็อก และคาดเข็มขัดนิรภัย เพื่อลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้ปรับแผนรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุจราจรจากทุกเทศกาลเป็นการรณรงค์ตลอดทั้งปีและได้ให้ทุกจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา หาจุดเสี่ยงจุดอันตรายในพื้นที่อย่างน้อยจังหวัดละ 5 จุด/ไตรมาสซึ่งไตรมาสแรกมีรายงานจุดเสี่ยงจำนวน 354 จุด โดยมีการแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว 256 จุด เช่น การเพิ่มไฟส่องสว่างในถนนที่มืด ติดไฟเตือนบริเวณทางร่วมทางแยก การปิดจุดกลับรถ เป็นต้น ตลอดจนรณรงค์สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลและวันหยุดยาวจะเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการด่านชุมชนทั่วประเทศ สกัดกั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง เมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย ออกสู่ถนนใหญ่ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวใช้ 4 มาตรการ ได้แก่ 1.มาตรการด้านการบริหารจัดการเปิดศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับกระทรวงและระบบบัญชาการในภาวะฉุกเฉินระดับเขต/จังหวัด ตั้งศูนย์จัดการข้อมูลการบาดเจ็บและฉุกเฉิน (Emergency & Trauma Admin Unit) ในโรงพยาบาลจังหวัด กำหนดผู้ประสานงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ทำงานร่วมกับศูนย์ความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่ 2.มาตรการด้านการจัดการข้อมูล โดยให้มีการบูรณการข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และ กระทรวงคมนาคม 3.มาตรการด้านการป้องกันได้แก่ การแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้ง มาตรการชุมชน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันคนในชุมชนของตนเองและมาตรการองค์กรเพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงของบุคลากรในหน่วยงานสาธารณสุขและผู้มารับบริการ และ4.มาตรการด้านการรักษาโดยเพิ่มคุณภาพการบริการตั้งแต่จุดเกิดเหตุไปจนถึงคุณภาพการรักษาในโรงพยาบาล หากดำเนินการทั้ง 4 มาตรการอย่างเข้มข้นตลอดทั้งปี จะสามารถลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรลดได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ปาฐกถาเรื่อง “แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนและหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชน” ในการสัมมนาเรื่อง “ถนน: สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่” จัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฎิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยมีนายนิกร จำนง ประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน ผู้แทนหน่วยงานด้านความปลอดภัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนครูและนักเรียนเข้าร่วมกว่า 300 คน สาระสำคัญของปาฐกถามีดังนี้ 

                ในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใหญ่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลและปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยจากอุบัติภัยและอุบัติเหตุต่างๆ ด้วยวิธีการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ 

                กระทรวงศึกษาธิการได้นำประสบการณ์จากประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอังกฤษมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนพร้อมทั้งจะร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 

                1. ปรับเนื้อหาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยและเข้มข้นมากขึ้นในระดับชั้นต่างๆ โดยจะจัดหาสื่อที่มีความสมบูรณ์และมีความพร้อมให้ครูนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้ทันที

                2. เพิ่มเมนูเรื่อง “ความปลอดภัยบนท้องถนน” ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยพัฒยนนาทักษะได้ทั้ง 4H กล่าวคือ Head-การวิเคราะห์ การตัดสินใจในการใช้รถใช้ถนน Heart-ความเคารพกฎระเบียบจราจร ความมีวินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การอดทนรอ ความมีน้ำใจ Hand-ทักษะในการขับขี่ การใช้ถนน Health-การป้องกันมลพิษจากการเดินทาง 

               3. การปรับสภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกโรงเรียน โดยจะให้โรงเรียนที่มีศักยภาพปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและการฝึกปฏิบัติ ทั้งภายในและบริเวณหน้าโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

               4. การจัดอบรมครู เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบจราจร และเพื่อให้ครูปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้

           โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการสัมมนา “ถนน : สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่” ระหว่างคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า สมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน และมูลนิธิอาชีวเวชศาสตร์ไทย 

  • เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ปาฐกถาเรื่อง “แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนและหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในกลุ่มเด็กและเยาวชน” ในการสัมมนาเรื่อง “ถนน: สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่” จัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฎิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยมีนายนิกร จำนง ประธานกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน ผู้แทนหน่วยงานด้านความปลอดภัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนครูและนักเรียนเข้าร่วมกว่า 300 คน สาระสำคัญของปาฐกถามีดังนี้

       ในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใหญ่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลและปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยจากอุบัติภัยและอุบัติเหตุต่างๆ ด้วยวิธีการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ

        กระทรวงศึกษาธิการได้นำประสบการณ์จากประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอังกฤษมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนพร้อมทั้งจะร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. ปรับเนื้อหาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยและเข้มข้นมากขึ้นในระดับชั้นต่างๆ โดยจะจัดหาสื่อที่มีความสมบูรณ์และมีความพร้อมให้ครูนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้ทันที
  2. เพิ่มเมนูเรื่อง “ความปลอดภัยบนท้องถนน” ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยพัฒยนนาทักษะได้ทั้ง 4H กล่าวคือ Head-การวิเคราะห์ การตัดสินใจในการใช้รถใช้ถนน Heart-ความเคารพกฎระเบียบจราจร ความมีวินัย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การอดทนรอ ความมีน้ำใจ Hand-ทักษะในการขับขี่ การใช้ถนน Health-การป้องกันมลพิษจากการเดินทาง
  3. การปรับสภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอกโรงเรียน โดยจะให้โรงเรียนที่มีศักยภาพปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและการฝึกปฏิบัติ ทั้งภายในและบริเวณหน้าโรงเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
  4. การจัดอบรมครู เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบจราจร และเพื่อให้ครูปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้

            โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการสัมมนา “ถนน : สู่ความปลอดภัยของคนไทยรุ่นใหม่” ระหว่างคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า สมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน และมูลนิธิอาชีวเวชศาสตร์ไทย 

  • เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
    • เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2559 ตามที่ประธานกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติเสนอดังนี้

            1. เห็นชอบข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายความปลอดภัยทางถนน จำนวน 5 ประเด็น ได้แก่ (1) เมาแล้วขับ (2) ขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนด (3) การได้มาซึ่งใบอนุญาตขับรถ (4) รถโดยสารสาธารณะ และ (5) การคาดเข็มขัดนิรภัย และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

                1.1 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขกฎหมายทั้ง 5 ประเด็น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ และข้อบังคับที่อยู่ในอำนาจหน้าที่เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560

                1.2 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน โดยให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

                1.3 ให้กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนโดยนำนโยบายประชารัฐมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในพื้นที่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

                1.4 ให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนร่วมกันรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างเข้มข้น จริงจัง ให้เกิดความตระหนักและเกิดเป็นวัฒนธรรมการใช้ถนนอย่างปลอดภัยโดยเร่งด่วน

          2. เห็นชอบในหลักการให้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2560-2563 และให้ใช้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2556-2559 เป็นแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพลางก่อน จนกว่าแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2560-2563 จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ให้พิจารณาปรับกรอบระยะเวลาการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2560-2563 ให้มีระยะเวลาสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ด้วย

  • ให้จัดหาเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมกรศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนแห่งชาติพิจารณาดำเนินการให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของแผนความต้องการและแผนการจัดสรรเครื่องมือดังกล่าว ตลอดจนเรื่องของคุณลักษณะเฉพาะและราคาที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงหลักความประหยัดและคุ้มค่า เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
  • ให้คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในลักษณะการบูรณาการเพื่อลดความซ้ำซ้อนโดยกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ ตัวชี้วัด และเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตั้งแต่กระบวนการจัดทำแผนจนถึงการประเมินผลการดำเนินงาน และพิจารณาถึงคุณสมบัติและความคุ้มค่าที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งานเครื่องตรวจวัดความเร็ว เพื่อความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานอย่างแท้จริง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

 

 

 

 

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
เพื่อให้มีการเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอย่างน้อยร้อยละ 30 ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในเมืองภูมิภาค
รายละเอียด: 

2.1 ขอให้รัฐบาลโดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมการขนส่งทางบก และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เอื้อให้ท้องถิ่นและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนา ควบคุม กำกับ ดูแลระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่หรือในระดับภูมิภาค

2.2 ขอให้กรมการขนส่งทางบก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และผู้ประกอบการ เร่งรัดกำหนดแบบและมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น รวมทั้งบังคับใช้อย่างจริงจัง ตลอดจนพัฒนาการดูแลเยียวยาผู้ประสบภัยให้มีความรวดเร็วและเป็นธรรม รวมทั้งจัดให้มีการทำคู่มือและรณรงค์ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิกับผู้โดยสาร

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้จัดทำโครงการ "ปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์" เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนและแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2552 - 2555 และเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 ประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้อนุมัติโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ และแต่งตั้งคณะทำงาน ตามคำสั่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ที่ 003/2553 ลงวันที่ 8 กันยายน 2553 โดยโครงการดังกล่าวมี วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

วัตถุประสงค์ :

1.1  เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในเรื่องการสวมหมวกนิรภัย

1.2  เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

1.3  เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีการนำเสนอแผนงาน/โครงการสนับสนุนส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย

1.4  เพื่อกำหนดกลไกกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยใน ทุกระดับ

เป้าหมาย ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง

การดำเนินงาน ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมหลักที่ 1  การผลักดันให้รัฐบาลประกาศให้ปี 2554 เป็นปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์

กิจกรรมหลักที่ 2  การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้ด้านการสวมหมวกนิรภัย

กิจกรรมหลักที่ 3  การบังคับใช้กฎหมาย

กิจกรรมหลักที่ 4  การผลิตหมวกนิรภัยและการออกแบบหมวกนิรภัย

กิจกรรมหลักที่ 5  การติดตามและประเมินผล

  • ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนและเป็นการสนับสนุนแนวทางการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ "ทศวรรษแห่งความ ปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554 - 2563" และเห็นชอบเปิดตัวโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงวันที่ 14 - 16 ธันวาคม 2553 ประกอบกับในปี 2554 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554 - 2563 ตามมติสมัชชาสหประชาชาติ และมติคณะรัฐมนตรี (29 มิถุนายน 2553) ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน จึงจำเป็นต้องเร่งกำหนดแนวทาง มาตรการในการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการให้เกิดประสิทธิผล
  • วันที่ 4 มกราคม 2554 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติที่ประชุมศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2553 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการและรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน คนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เสนอ ดังนี้

  1) ประกาศให้ปี 2554 เป็นปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์

  2) ให้หน่วยงานภาคราชการ องค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีมาตรการเพื่อรณรงค์ ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย ดังนี้

      2.1 ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งกำหนดให้บริเวณสถานที่ราชการเป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ในการขับขี่รถจักรยานยนต์

      2.2 ให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2546 ซึ่งกำหนดมาตรการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายความปลอดภัยทางถนนของ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้แล้ว โดยให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งกำชับให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ในสังกัดปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายความปลอดภัยทางถนน เรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายและให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการลงโทษทางวินัยต่อไป

      2.3 เพื่อเป็นการลดความสูญเสียในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กลุ่มเด็ก เยาวชน และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จึงเห็นสมควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้

            2.3.1  ให้กระทรวงแรงงานขอความร่วมมือจากสถานประกอบการในการส่งเสริมให้พนักงานสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งในการขับขี่รถจักรยานยนต์

            2.3.2  ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมให้สถานศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชนจัดให้มีมาตรการในการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยของบุคลากรในสังกัด นักเรียน และนักศึกษา

            2.3.3  ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการรณรงค์ ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยในสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

       2.4 ให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทบทวนมาตรฐานหมวกนิรภัยให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของ ประเทศไทย

       2.5 ให้กระทรวงสาธารณสุข จัดเก็บข้อมูลสถิติการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับการ ไม่สวมหมวกนิรภัย

       2.6 ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนจัดให้มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวก นิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์

  • กรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำโครงการ “ถึงจุดหมายปลอดภัย ใส่ใจเพื่อนร่วมทาง” เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกแก่ผู้ประกอบการขนส่ง และพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะให้ตระหนักและใส่ใจในการดูแลสภาพรถ รวมทั้งส่งเสริมการขับขี่ที่ปลอดภัยเพื่อลดสถิติอุบัติเหตุดังกล่าว และเพื่อเป็นการส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะอย่างยั่งยืน กรมการขนส่งทางบกยังได้ออกมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ โดยกำหนดให้ผู้ขับรถโดยสารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก “แอลกอฮอล์ต้องเป็นศูนย์” หากตรวจพบให้เปลี่ยนคนขับทันที รวมทั้งขอความร่วมมือให้สถานีขนส่งผู้โดยสารเข้มงวดกวดขันในเรื่องการตรวจ สมุดผู้ประจำรถเพื่อควบคุมจำนวนชั่วโมงการทำงาน โดยพนักงานขับรถต้องขับรถติดต่อกันได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง และต้องหยุดพักติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงจึงจะสามารถขับรถ ต่อไปได้ และขอความร่วมมือผู้ประกอบการ บขส., ขสมก. และเจ้าของรถร่วมบริการ ควบคุมดูแลคนขับรถให้มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและใส่ใจการให้บริการประชาชน
  • เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการลดอุบัติเหตุทางถนนด้วยใบอนุญาตขับรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
    • โครงการมั่นใจทั่วไทยรถใช้ GPS ได้ออกประกาศให้รถโดยสารสาธารณะและรถลากจูง ที่จดทะเบียนก่อนมกราคม 2559 จะต้องติดตั้ง GPS ให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 ส่วนรถโดยสารสาธารณะ รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนตั้งแต่มกราคม 2559 ต้องติดตั้ง GPS ทันที รวมทั้งรถบรรทุกขนาดใหญ่ตั้งแต่สิบล้อขึ้นไปทุกคันจะต้องติดตั้ง GPS ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 โดยขณะนี้กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างเร่งจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
    • โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ในการออกใบอนุญาตขับรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน เป็นโครงการพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาตขับรถรูปแบบใหม่ให้เป็นบัตรแบบพลาสติกที่มีแถบแม่เหล็ก มีคุณสมบัติในการป้องกันการปลอมแปลง เพื่อลดความเสี่ยงจากการนำไปใช้อย่างผิดกฎหมายอันก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนโดยจะนำมาใช้ร่วมกับเครื่อง GPS เพื่อควบคุมผู้ขับรถให้เกิดความปลอดภัย คาดว่าจะสามารถเริ่มออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2560 โดยในอนาคตจะกำหนดให้ใช้ใบอนุญาตขับรถแบบใหม่นี้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ สำหรับแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ จำนวน 533,729,089 บาท ซึ่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนได้มีมติ (21 เมษายน 2559) เห็นชอบให้จัดสรรเงินกองทุนฯ เพื่อการดำเนินโครงการในระยะเริ่มต้น
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีการประชุม ครั้งที่ 3/2555 โดยมีน.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธาน ที่ อาคารสุขภาพแห่งชาติ โดยมีระเบียบวาระสำคัญคือติดตามความคืบหน้าของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 พ.ศ.2553 เรื่อง การแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน พบว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีการบังคับใช้กฎหมาย และรณรงค์ให้การลดอุบัติเหตุเป็นวาระแห่งชาติ ขณะที่องค์การสหประชาชาติประกาศให้ ปี 2011-2020 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยบนท้องถนน แต่ปรากฏว่าการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ทำอย่างเข้มแข็ง ผู้ขับขี่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ขับขี่เร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด, เมาแล้วขับ, ไม่สวมหมวกกันน็อค, ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และไม่มีเข็มขัดนิรภัยสำหรับเด็ก
  • ได้จัดให้มีการรายงานต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 ในระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2557
เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: