You are here


การพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะของเด็ก เยาวชน และครอบครัว
สมัชชาครั้งที่: 
2
มติที่: 
10
ชื่อมติ: 
การพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะของเด็ก เยาวชน และครอบครัว
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เร่งรัดการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมครอบครัว2557
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพหลัก ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรที่ทำงานด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และตัวแทนเด็กและเยาวชนจากสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย เพื่อ
รายละเอียด: 

2.1 ทำการศึกษาวิจัยกลไกและรูปแบบ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ  ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของกลไกการสร้างเสริมสุขภาวะของเด็ก เยาวชนและครอบครัว

2.2 พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมกลไกการขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพของเครือข่ายด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว

2.3 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัวที่มีประสิทธิผล โดยให้นำความเห็นและข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 มาประกอบการพิจารณา และนำเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาระเบียบวาระของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 ทั้งนี้การดำเนินการตามข้อ 2.1 – 2.3 มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างกว้างขวาง

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • คณะทำงานสมัชชาสุขภาจังหวัดระนองจัดเวทีติดตามมติสมัชชาสุขภาพปี๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลน้ำจืด อ.กระบุรี จ.ระนองวันที่ 7 กันยายน 2553 "นายสุชีพ พัฒน์ทอง อาจารย์สมพวง สีสิน"และคณะทำงานฯนำเสนอทบทวนกระบวนการสมัชชาสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2550 และทบทวนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 1 ปี 2551 มติที่ 1 เรื่องการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะของเด็กเยาวชนและครอบครัว ผลจากการจัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดระนองครั้งที่ 1 ทางคณะทำงานฝ่ายวิชาการได้ประมวลผลการพิจารณาร่างมติตามประเด็นที่ได้ประชุม ที่ประชุมได้รับรองมติดังต่อไปนี้ 

            1) ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระนองร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาทุกระดับ สถาบันศาสนา และสถาบันครอบครัว เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนและแต่งตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะของเด็ก เยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนองอย่างมีส่วนร่วมและมีประสิทธิภาพ

1.1 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัวให้มีประสิทธิผล

1.2 พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมการขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพของเครือข่ายด้าน เด็ก เยาวชน และครอบครัว

            2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ท้องที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง ระดมทุนและเทคโนโลยีพัฒนาการศึกษา โดยใช้หลักสูตรชุมชนท้องถิ่น บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับชุมชนและโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างสมาชิกที่มีคุณภาพในสถาบันสังคม และส่งเสริมบทบาทความสัมพันธ์ที่ดีของสถาบันครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูสมาชิกให้เป็นคนดีมีคุณภาพ ให้เยาวชนมีส่วนร่วมและมีจิตสำนึก และเป็นต้นแบบที่ดีงามแก่เด็กและเยาวชน ตั้งแต่ระดับประถมวัย โรงเรียนของรัฐบาล เอกชน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย (อุดมศึกษา) วิทยาเขตต่างๆ บรรจุหลักสูตรเพศศึกษาในโรงเรียนมัธยม (6 ด้าน)เพื่อให้เด็กมีทักษะเอาตัวรอดในสังคม ให้คณะกรรมการการศึกษา ให้ภาครัฐเข้มงวดกวดขันแรงงานต่างด้าวซึ่งมีจำนวนมาก

            3) ให้เครือข่ายครอบครัวและศูนย์พัฒนาเด็กและครอบครัว เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / ท้องที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม คุ้มครอง ดูแลฟื้นฟูสร้างพื้นที่ และร่วมรณรงค์เผยแพร่กระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นเรื่อง ระเบียบวินัย จริยธรรม คุณธรรม ให้กับเด็กช่วงอายุ 3-4 ปี สร้างสุขภาวะครอบครัว ด้วยการลดเหล้า บุหรี่ การพนัน และความรุนแรงให้สมาชิกในครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ควรมีการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และเพิ่มสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ดูแลสุขภาพตามวิถีพอเพียง ร่วมมือกันรักษาสภาพแวดล้อมและสังคม ผลิตสื่อรณรงค์เผยแพร่ หรือพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนร่วมกันสร้างธรรมนูญโรงเรียนขึ้นและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่เป็นสุข เช่น ให้โรงเรียนจัดสมัชชาคุณธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนทุกๆปี เพิ่มสภาเด็กและเยาวชนระดับหมู่บ้านและตำบล ผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเสนอสื่อ มีโปรแกรมเรื่องเด็กและเยาวชน  ให้นักเรียน/นักศึกษาในสถานศึกษาแบ่งเวลาทำกิจกรรมต่างๆ

            4) ให้สำนักงานจังหวัดระนองร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และสนับสนุนส่งเสริม เพิ่มบาทของเครือข่าย องค์กรเด็กและเยาวชนและครอบครัวที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับท้องถิ่นและจังหวัดให้มีบทบาท และมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและจังหวัด

            5) ให้เสนอให้เป็นวาระเร่งด่วนในการพัฒนาจังหวัดระนองต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์จังหวัดระนอง (กบจ)

            6) ให้นำเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาระเบียบวาระของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3

            7) เพิ่มมิติด้านศาสนา/ให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว

            8) จำแนกกลุ่มเป้าหมายในระบบโรงเรียน/นอกโรงเรียน

            9) ให้เยาวชนมีส่วนร่วมและมีจิตสำนึก/และครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู

            10) การให้สื่อวิทยุต่อเนื่องและเป็นระบบ

            11) ภาคธุรกิจ เช่น โทรศัพท์มือถือ สื่อไม่เหมาะสม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไข

            12) การสื่อสารและการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การใช้ภาษาไทย เด็กได้รับสื่อโดยไม่มีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำชี้แนะ

            13) ให้สำนักงานจังหวัดระนอง/อปท กำหนดนโยบาย

            14) จัดตั้งองค์กรอิสระดูแลเยาวชน

            15) สถาบันครอบครัวให้มีความอบอุ่นแข็งแรงความพร้อมของพ่อแม่

            16) เสนอให้มีการนำมติไปใช้และปฏิบัติจริงตามที่เสนอ

  • เมื่อวันที่ 22-23 มีนาคม 2558 กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดการประชุมสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2558 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ ข้อสรุปที่ประชุมมีดังนี้ ที่ประชุมร่วมกันกำหนดข้อเสนอสมัชชาครอบครัวระดับชาติ ประจำปี 2558 โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการให้ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว อาทิ การผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเอกชน จัดพื้นที่สำหรับการดูแลเด็กเล็ก เด็กปฐมวัย หรือจัดให้มีสถานที่เลี้ยงเด็กที่มีมาตรฐาน ราคาถูกในชุมชนและสถานประกอบการ การผลักดันให้เกิดระบบดูแลช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาและเรื่องกฎหมาย การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดให้มีมาตรการการทำงานที่เอื้อต่อครอบครัวโดยใช้มาตรการแรงจูงใจ เช่น สิทธิประโยชน์ด้านภาษี มาตรการด้านเวลาการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมการรวมตัวเป็นกลุ่มช่วยเหลือกันเองและการเป็นเครือข่ายของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เพื่อสร้างอัตลักษณ์เชิงบวก และเสริมพลังให้ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมีความมั่นใจในคุณค่าของตนเองมากยิ่งขึ้น 
  • เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้สรุปรายงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัว ทั้งนี้ได้มาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนามาตรการส่งเสริมสัมพันธภาพของครอบครัว ครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2558 และ ครั้งที่ 3 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ผลการดำเนินงานมีดังนี้ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) การเคหะแห่งชาติ และกรมอนามัย ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมสัมพันธภาพครอบครัว โดยมีกรุงเทพมหานครเป็นสักขีพยาน ซึ่งมาตรการส่งเสริมสัมพันธภาพครอบครัวเป็นการเชื่อมโยงประเด็นการทำงานหรือเป็นการบูรณาการการทำงานหลายหน่วยงานเพื่อให้ครอบครัวหรือสมาชิกในครอบครัวหมดปัญหาด้วยเล็งเห็นผลของการดำเนินงานตามมาตรการนี้ว่า จะสามารถแก้ไขปัญหาได้หลายมิติ อาทิ มิติครอบครัวพ่อแม่ลูกที่ต้องพลักพรากจากกันด้วยแรงกดดันด้านเศรษฐกิจจะได้อยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม ตอบสนองต่อภารกิจการสร้างครอบครัวเข้มแข็งด้านการส่งเสริมสัมพันธภาพ มิติทางเศรษฐกิจ การช่วยเหลือและรับภาระเรื่องบุตรให้กับครอบครัว ทำให้ครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวแรงงานที่เป็นกำลังหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มีผลิตภาพการทำงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติโดยรวมสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มิติทางประชากรเป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงลบต่อการมีบุตรเพิ่มขึ้น และมิติการพัฒนาเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้และพัฒนาเด้านต่างๆ ตั้งแต่ในวัยแรกเกิด ซึ่งเป็นช่วงการสร้างรากฐานเซลสมองในส่วนที่เป็นบานความรู้สึกนึกคิดที่สำคัญ โดยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ทั้งกาย สติปัญญาและอารมณ์ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสามารถสร้างครอบครัวใหม่ที่มีคุณภาพ 
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
เห็นชอบต่อข้อเสนอของสมัชชาครอบครัวแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว พร้อมทั้งขอให้สนับสนุนกระบวนการสมัชชาครอบครัวแห่งชาติ เป็นกลไกนโยบายสาธารณะเพื่อการผลักดันการป้องกัน แก้ไขปัญหา และส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของเด็ก เยาวชนและครอบครัว
เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: