You are here


การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
สมัชชาครั้งที่: 
2
มติที่: 
11
ชื่อมติ: 
การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
ผลการปฏิบัติงาน: 
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้จัดกิจกรรมสุขภาพแห่งชาติสัญจร ลงพื้นที่ดูงาน ณ วัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้ก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตั้งแต่ปลายปี 2554 จนเกิดเป็นธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุ+ ด้วยตระหนักถึงปัญหาของผู้สูงอายุที่ไม่รู้หนังสือจึงถูกบุคคลอื่น โดยมีการวางแผนพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบภายใต้สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อ ความศรัทธา และสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน สำหรับธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายนั้นได้ประกาศใช้เมื่อปี 2559 เกิดจากการทำประชาคมและมีฉันทมติของสภาผู้สูงอายุตำบล ประชาชน และกลุ่มองค์กรเครือข่ายว่าให้ธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาผู้สูงอายุให้เจริญก้าวหน้าโดยบูรณาการแผนงานโครงการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ให้พัฒนาไปสู่เป้าหมาย เป็นสังคมผู้สูงอายุตำบลที่มีกาย จิต สุขที่ยั่งยืน และถือได้ว่าเป็นธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุฉบับแรกของไทย
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
เห็นชอบในหลักการว่า รัฐมีหน้าที่จัดการดูแล ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงแลสะให้การรับรองหลักการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย เป็นการดูแลโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นหลัก โดยมีการดูแลโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานหลัก โดยมีการดูแลในสถานบริการดูแลผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและเอกชนจะเป็นส่วนสนับสนุนให้มีบทบาทที่เชื่อมโยงและสนับสนุนกันอย่างใกล้ชิด ไม่แยกส่วนจากกันและขอให้รัฐบาลกำหนดนโยบายการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเป็นวาระแห่งชาติ
ผลการปฏิบัติงาน: 

       สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552 มีฉันทามติต่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่อง “การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง” ซึ่งต่อมา คสช. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 รับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 รวม 11 มติ และให้นำเสนอเรื่องต่อ ครม. ซึ่ง ครม. ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 รับทราบมติของ คสช. ดังกล่าว ตามหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/4872 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2554 ซึ่ง สช. ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของ คสช. ได้ทำหนังสือแจ้งมติ ครม. ดังกล่าวให้กับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นการเฉพาะแล้ว 

  • คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 เพื่อนำไปขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีมติดังนี้
  1. เห็นชอบการจัดทำ “แผนปฏิบัติการผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว” ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554-2556) ซึ่งประกอบด้วย มาตรการดัชนี และระยะเวลาที่จะบรรลุผลได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และระบุหน่วยงานรับผิดชอบ โดยมีประเด็นหลักของแผนฯ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลระยะยาวในระดับท้องถิ่น 2) การดูแลระยะยาวที่ดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และ 3) การดำเนินการเพื่อสนับสนุนทางการเงิน/การคลัง 
  2. เห็นชอบมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการจัดทำแผนปฏิบัติการในภารกิจที่รับผิดชอบ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 เป็นต้นไป
  3. เห็นชอบอนุมัติหลักการให้กองทุนผู้สูงอายุสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการตามแผนฯ ในกรณีเร่งด่วนเฉพาะมาตรการที่มีความจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดผลตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนฯ เฉพาะปีงบประมาณ 2554 และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว พิจารณามาตรการกรณีเร่งด่วน และให้เสนอต่อ กผส. เห็นชอบก่อนสนับสนุนงบเร่งด่วนในการดำเนินงาน
  4. มอบหมายคณะอนุกรรมการฯ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ติดตามผลการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ กผส. ทราบ
  • กระทรวงสาธารณสุข มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 96/2554 ลงวันที่ 21 มกราคม 2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตามแผนปฏิบัติการผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นเลขานุการร่วม ทั้งนี้ได้แบ่งคณะทำงานย่อย 10 ชุด ตามภารกิจประเด็นงานย่อย 
  • สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกคำสั่งที่ 45/2554 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตามแผนปฏิบัติการผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยมี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ เป็นประธานคณะทำงานฯ มีตัวแทนกองทุนผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักกิจการสตรีและครอบครัว สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร เข้าร่วมเป็นคณะทำงานฯ ชุดนี้ด้วย โดยมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลโครงการที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการ ทั้งนี้เสนอใช้งบกองทุนผู้สูงอายุ
  • เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง วิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสุขภาพและสังคม โดยพิจารณาประเด็นย่อยร่วมด้วย เช่น ชุดบริการ ระบบการดูแล ระบบการเงินการคลัง และการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ รวมทั้งกำลังคนด้านสุขภาพและด้านอื่นๆ และนำเสนอบอร์ด สปสช. เพื่อพิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อให้เกิดระบบได้จริงในระยะเวลาที่เหมาะสมและกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนด ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้านผู้สูงอายุ เป็นประธาน นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นรองประธาน ส่วนอนุกรรมการประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสภาการพยาบาล ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลในบอร์ด สปสช. รองอธิบดีกรมการแพทย์ รองอธิบดีกรมอนามัย ผู้อำนวยการส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม เลขาธิการสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมชาติ
  • เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 ในการประชุม คณะกรรมการ สปสช. มีมติเห็นชอบ ‘แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง’ โดยให้ดำเนินการรูปแบบ community care  และได้มอบ สปสช.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการโดยใช้งบค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มผู้สูงอายุและงบกองทุนท้องถิ่น ในการตรวจคัดกรองและทำทะเบียน เพื่อจัดกลุ่มผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง ตลอดจนจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะทุพลภาพ เพื่อเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา จัดสรรงบเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาระบบบริการตามแผนยุทธศาสตร์ จัดให้มีแหล่งการคลังสำหรับจัดบริการดูแลระยะยาวที่ยั่งยืน และมอบหมายหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ทั้งนี้  ยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการคือ การคัดกรองผู้สูงอายุ และพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน การพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชนเพื่อการส่งเสริมป้องกัน การพัฒนาระบบการเงินการคลัง และชุดสิทธิประโยชน์ การพัฒนากำลังคนเพื่อการจัดบริการดูแลระยะยาวในชุมชน การสร้าง การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล การพัฒนากฎหมาย/ระเบียบ/ มาตรฐาน และการบริหารจัดการ งบประมาณที่คาดว่าจะต้องใช้ เริ่มจากในปี 2557 งบพัฒนาระบบตามยุทธศาสตร์ 2,701 ล้านบาท และงบบริการดูแลระยะยาว 2,109 ล้านบาท 
  • เมื่อที่ 24 เมษายน 2557 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) โดยคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. ... เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย
  • วันที่ 19 ธันวาคม 2557 ทิศทางและนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการดูแลผู้สูงอายุไทยรองรับสังคมสูงวัย การออกแบบระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพของนโยบาย รัฐบาลชุดนี้เน้น สังคมเกื้อกูลกัน ซึ่งขณะนี้กำลังมีการสร้างความร่วมมือโดยต้องเป็นการบูรณาการของ 5 กระทรวงหลักคือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย เน้นการดูแลตั้งแต่ระบบเริ่มต้นเข้าสู่การเป็นสูงอายุและยังสุขภาพดีอยู่ จนกระทั่งผู้สูงอายุเข้าสู่วาระเป็นผู้ป่วยแบบติดเตียง ด้วยการสร้างทีมหมอครอบครัวขึ้นมา ทั้งนี้ นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข อยากให้มีทีมหมอครอบครัวดูแลประชาชนทุกแห่ง โดยการออกแบบทีม หมอครอบครัว อาจจะมีทีมหมอประจำ ซึ่งมีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อทีมหมอได้โดยตรง โดยในปี 2558 จะมีเป้าหมาย การดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียงให้ชัดเจน ในเชิงปริมาณที่พอจัดการได้ โดยเน้นจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียงและยากจน โดยเป็นการออกแบบหลายโมเดล โดยหลักกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ดูแลอยู่หน่วยเดียวแต่เป็นผู้เชื่อมโยง หน่วยอื่นๆ เข้าด้วยกันด้วย ขณะนี้ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้มี การทำข้อเสนอขอแก้ไขระเบียบของกระทรวงมหาดไทยให้เอื้อต่อการดูแล ผู้สูงอายุ เพื่อหนุนให้ท้องถิ่นทำงานเพื่อ การดูแลผู้สูงอายุได้มากขึ้น
  • วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ครั้งที่ 2/2558 โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งมีผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบข้อเสนอระบบการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมการทำงานต่อเนื่องของผู้สูงอายุ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพดำเนินการ อีกทั้ง ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการแปรญัตติขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2559 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) พ.ศ. 2554 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2558 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบงานทะเบียนสมาชิก พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางการรับสมัครและรับเงินสะสมร่วมกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย โดยจะมีการทดสอบระบบการรับสมัคร และรับเงินสะสม เมื่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วเสร็จครบถ้วน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องอัตราค่าทำเนียมในการรับสมัครสมาชิกและรับเงินสะสม ซึ่ง กอช. จะต้องจ่ายให้แก่ธนาคารดังกล่าว โดยคาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2559 จะมีจำนวนสมาชิก กอช. ประมาณ 1.5 ล้านคน และในปีต่อ ๆ ไปคาดว่าจะมีสมาชิกฯ เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 5 แสนคน
  • เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยศาสตราจารย์นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 8“สุขภาพผู้สูงอายุไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน 2015” เพื่อพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่าย บุคลากรจากสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับทั่วประเทศ และประชาชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มวางระบบการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและชุมชนอย่างอบอุ่น ได้รับการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ ในปี 2558 นี้กระทรวงสาธารณสุข จะดำเนินการ ตรวจคัดกรอง/บริการทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุ จัดทำฟันเทียมทั้งปากในโครงการฟันเทียมพระราชทาน และฝังรากฟันเทียมให้ฟรี เนื่องจากผลการสำรวจพบผู้สูงอายุมีปัญหาไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ประมาณ 250,000 คน จัดระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยฝึกอบรมผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ หรือแคร์ เมนเนเจอร์(care manager) เบื้องต้นอบรมไปแล้ว 909 คน และฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน หรือ แคร์ กีฟเวอร์ (care giver) อบรมไปแล้ว 4,022 คน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของทีมหมอครอบครัว เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุและผู้อยู่ในระยะพึ่งพิง รวมทั้งผู้พิการ โดยแคร์ เมนเนเจอร์ 1 คนต่อแคร์ กีฟเวอร์ 5-7 คน และ แคร์ กีฟเวอร์ 1 คนดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 5-7 คน ซึ่งขณะนี้สามารถประเมินคัดกรองดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 6,394,022 คน ครอบคลุมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงและผู้พิการมากกว่า 32,000 คน
  • เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการตามที่กำหนด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 4 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อนุกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย 1.ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือผู้บริหารอื่นที่ได้รับหมาย เป็นประธานกรรมการ 2.ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่หรือผู้แทน 4.สาธารณสุขอำเภอในพื้นที่หรือผู้แทน 5.หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่หรือผู้แทน 6.ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข 7.ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพักพิงในพื้นที่ 8.ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยทำหน้าที่ พิจารณาจัดหา กำหนดอัตราการชดเชยค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  • . เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 จากการประชุมวิชาการประจำปีที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทอพ.) ซึ่งมีทั้งหมด 16 องค์กร และการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “ประชารัฐร่วมใจ สู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ” ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Ageing Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 โดย ๑ ใน 10 ของประชากรไทยเป็นประชากรที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป ปัจจุบันมีผู้สูงอายุประมาณ 10.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16 และคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ.2564 โดยมีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20 จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งไม่ได้หมายถึงสังคมของคนสูงวัยเท่านั้น แต่หมายถึงสังคมที่มีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น และวัยแรงงานขาดแคลน ต่อสถานการณ์ข้างต้น 16 องค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ซึ่งมีความร่วมมือในหลายเรื่องร่วมกันมาโดยตลอด ครั้งนี้ได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอ เพื่อเตรียมความพร้อมสังคมสูงวัยของประเทศไทยใน 2 เรื่องหลัก ประกอบด้วย เตรียมพร้อมของบุคคล และการเตรียมระบบรองรับ โดยในส่วนการเตรียมความพร้อมของบุคคล ประกอบด้วย การเตรียมด้านความรู้ และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง เนื่องจากพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 95 มีโรคประจำตัว รวมถึงให้เรียนรู้เรื่องการดำรงชีวิต และคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในอนาคต โดยจะกระตุ้นให้เกิดการออมให้มากขึ้น โดยมีคอนเซปต์สำคัญ คือ ให้เริ่มออมเงินตั้งแต่ในวัยทำงาน และจัดสรรเงินออมก่อนเป็นลำดับแรกที่เหลือจึงจัดสรรเป็นค่าใช้จ่าย ในส่วนของ 16 องค์กรของรัฐที่จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะ ได้เริ่มต้นส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆในการรองรับสังคมสูงวัยแล้ว ซึ่งบางเรื่องสามารถดำเนินการได้ทันที อาทิ คลังสมองที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่างๆ ที่เกษียณอายุแล้ว และมีความพร้อมที่จะนำประสบการณ์มาทำงานเพื่อส่วนรวม แต่ไม่มีผู้ดึงไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ทาง สศช. ซึ่งต้องการองค์ความรู้จากผู้มีความรู้ความสามารถมาทำงานเชิงสังคมอยู่แล้ว จากนี้จะมาพิจารณาบุคคลที่อยู่ในคลังสมองเหล่านี้ให้มาทำงานร่วมกันมากขึ้น สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขของสังคมสูงวัย โดยหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
  • เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 โดยมี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม และกรรมการ 28 คน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบูรณาการจัดทำมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุใน 3 เรื่อง หลักสูตรการดูแลและสถานดูแลผู้สูงอายุ และเห็นชอบในหลักการ การถ่ายโอนภารกิจการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 3 ภารกิจ ได้แก่ 1) การสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 2) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)  และ 3) งานอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
  • เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 โครงการเสริมสร้างศักยภาพศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงาน/ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ มีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวน 80 คน
  • เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                ซึ่งกระทรวงการคลังเสนอว่า 1) เนื่องจากประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่งและกำลังจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รัฐบาลจึงมีนโยบายและมาตรการที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้ได้รับสวัสดิการที่จำเป็นซึ่งการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่างๆ จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในระยะเวลาที่กำหนด มิเช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินนโยบายรัฐบาลให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีรายได้ของกองทุนผู้สูงอายุตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุซึ่งมีอำนาจหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในเรื่องดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ และ 2) เพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐภายใต้การบริหารจัดการด้านการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อบรรเทาภาระงบประมาณแผ่นดินในระยะยาว และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อกำหนดให้กองทุนผู้สูงอายุมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต รวมถึงเงินเบี้ยยังชีพที่มีผู้บริจาคเข้ากองทุนผู้สูงอายุ เพื่อให้กองทุนมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
  • เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                ซึ่งกระทรวงการคลังเสนอว่า 1) เนื่องจากประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่งและกำลังจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รัฐบาลจึงมีนโยบายและมาตรการที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้ได้รับสวัสดิการที่จำเป็นซึ่งการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่างๆ จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในระยะเวลาที่กำหนด มิเช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินนโยบายรัฐบาลให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีรายได้ของกองทุนผู้สูงอายุตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุซึ่งมีอำนาจหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในเรื่องดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ และ 2) เพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐภายใต้การบริหารจัดการด้านการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อบรรเทาภาระงบประมาณแผ่นดินในระยะยาว และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อกำหนดให้กองทุนผู้สูงอายุมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต รวมถึงเงินเบี้ยยังชีพที่มีผู้บริจาคเข้ากองทุนผู้สูงอายุ เพื่อให้กองทุนมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายละเอียด: 

2.1 เป็นเจ้าภาพประสานหน่วยงานระดับท้องถิ่น เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในชุมชน โดยให้มีผู้สูงอายุเป็นกรรมการอยู่ด้วยในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนกรรมการ และให้มีผู้รับผิดชอบโดยตรง พร้อมทั้งระบุภารกิจการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ในการจัดทำเทศบัญญัติ ข้อบัญญัติท้องถิ่น แผนพัฒนาท้องถิ่น 3 ปี และแผนพัฒนาท้องถิ่นประจำปี รวมทั้งให้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.2 จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมโดยแบ่งประเภทตามกลุ่มภาวะพึ่งพิงในทุกตำบล/ท้องที่ 

2.3 สนับสนุนค่าอุปโภคบริโภค ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยรวมทั้งส่งเสริมอาชีพหรือพิจารณาจัดสวัสดิการสังคมให้กับครอบครัวที่ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

2.4 จัดให้มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกลางวัน ศูนย์ดูแลพักพิงและฟื้นฟูสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนตามความต้องการของพื้นที่

2.5 ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดอาสาสมัครชุมชนดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในชุมชน

2.6 ต้องจัดให้ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชมรมผู้สูงอายุ สาขาสภาผู้สูงอายุ ภาคีสมัชชาสุขภาพ มีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายท้องถิ่น ด้านการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งการจัดทำเป็นเทศบัญญัติและข้อบัญญัติท้องถิ่น ตลอดจนการตรวจสอบ ติดตามประเมินผล

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งที่ มท. 0891.3/1983 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2550 เรื่องแจ้งหลักเกณฑ์แนวทาง “การจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ และคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ประกอบด้วย  4 แผนงานหลัก ดังนี้ 
  1.  แผนงานให้บริการด้านสุขภาพอนามัย
  2. แผนงานส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็งด้านองค์กรด้านผู้สูงอายุ และคนพิการ
  3. แผนงานส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ของผู้สูงอายุ และคนพิการ
  4. แผนงานด้านการบริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต 

          เพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้สูงอายุและคนพิการ จึงขอให้จังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอความร่วมมือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษาและนำหลักเกณฑ์ แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แผนงาน ไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นไป และ 2. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนงานและดำเนินการจัดสรรงบประมาณโดยกำหนดรายละเอียดและบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานเพื่อการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการตามแนวทางที่กำหนด

  • กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานเรื่องการส่งเสริมตำบลต้นแบบ ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เพื่อปรับใช้สำหรับพัฒนาสถาบันครอบครัว วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงวัยผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ รวมตัวเป็นชมรมผู้สูงอายุที่ช่วยสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ ขณะนี้ดำเนินการแล้ว ๑๑๘ ตำบล ซึ่งจะขยายในครอบคลุมทุกจังหวัดในปี 2555 ทั้งนี้ในปี 2558จะต้องมีตำบลต้นแบบ 30 %
  • กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประกาศให้ “การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” ซึ่งหมายถึง การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปดูแลผู้สูงอายุ (ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม เป็นกิจการที่เป็นอันตราย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 รายละเอียดเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 โดยมีการแจ้งให้ทราบผ่านเวทีประชุมสัมมนา รวมทั้งผ่านรายการวิทยุ/โทรทัศน์ จัดทำเอกสารเผยแพร่เพื่อเป็นข้อมูลให้องค์กรท้องถิ่นใช้เป็นแนวทางในการควบคุมกำกับกิจการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
  • กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดสำนักตรวจราชการ ตัวชี้วัดที่ 0308 ให้ดำเนินงานตามกระบวนการตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว  ซึ่งในปี 2554 มีจำนวน 118 ตำบล และมีเป้าหมายที่จะขยายในครอบคลุมทุกจังหวัดในปี 2555 และในปี 2558 จะต้องมีตำบลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวร้อยละ 30 จากอำเภอทั้งหมด(เป็นจำนวน 265 แห่ง)  ทั้งนี้ องค์ประกอบการดำเนินงานตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ประกอบด้วย 1) มีข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันโดยใช้ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล(Barthel ADL index) ซึ่งประยุกต์โดยกรมอนามัย 2) มีชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ 3) มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 4) มีบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่มีคุณภาพโดยบุคลากรสาธารณสุข 5) มีบริการส่งเสริมป้องกันทันตสาธารณสุขในระดับตำบล และ 6) มีระบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 (ติดบ้าน) และกลุ่มที่ 3 (ติดเตียง) มีตำบลต้นแบบที่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งมีการดำเนินงานโดยท้องถิ่นและได้รับโล่เกียรติคุณจากกรมอนามัยจำนวน14ตำบล ได้แก่ (1) อบต.บางสีทอง :ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (2) เทศบาลนครรังสิต:ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (3) อบต.ประศุก: ตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี (4) อบต.เนินพระ: ตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (5) อบต.สมอพลือ:ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี (6) อบต.ธงชัยเหนือ: ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา (7) อบต.นาแสง:ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ (8) อบต.สะอาด:ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (9) เทศบาลตำบลปทุมราชวงศา: ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ (10) อบต.สุขสำราญ: ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ (11) อบต.นางั่ว: ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์  (12)เทศบาลตำบลทาปลาดุก:ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (13) เทศบาลตำลทะเลทรัพย์ :ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร (14) อบต.แว้ง:ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีเป้าหมายปี 2554 ที่จะดำเนินการสร้างศูนย์สวัสดิการและอบรมการดูแลผู้สูงอายุ ณ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และสร้างเพิ่มอีก 3 ศูนย์ที่ จังหวัดเชียงราย นครราชสีมา และภูเก็ต (ระหว่างปี 2552-2556) เพื่อใช้เป็นสถานที่อบรม ให้ความรู้แก่บุคลากรด้านการดูแลและจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้มีการถ่ายโอนอำนาจให้ท้องถิ่น จึงมีศูนย์ดูแลพักพิงฯ เพียง 13 แห่ง และศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ จำนวน 2 แห่ง รวม 15 แห่ง ได้แก่ 
  1. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค ๒ กรุงเทพฯ
  2. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วง จ.นครราชสีมา
  3. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา
  4. สถานสงเคราะห์คนชราวัยทองนิเวศน์ จ.เชียงใหม่
  5. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านเขาบ่อแก้ว จ.นครสวรรค์
  6. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
  7. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านจันทบุรี จ.จันทบุรี
  8. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านลพบุรี จ.ลพบุรี
  9. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านนครปฐม จ.นครปฐม
  10. สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์)
  11. สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี จ.กาญจนบุรี (หลวงพ่อลำไยอุปถัมภ์)
  12. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านอู่ทองพนังตัก จ. ชุมพร
  13. สถานสงเคราะห์คนชราบ้านศรีตรัง จ.ตรัง
  14. ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุศรีสุคต จ.พิษณุโลก
  15. ศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุดินแดง กรุงเทพฯ (ถ่ายโอนให้มหาดไทย)

นอกจากนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังมีภารกิจในการอุปการะดูแลผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่

                        1. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพฯ

                        2. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

                        3. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี

                        4. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านทักษิณ จ.ยะลา

                        5. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จ. พระนครศรีอยุธยา

                        6. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านภูเก็ต จ.ภูเก็ต.

                        7. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

                        8. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขอนแก่น จ.ขอนแก่น

                        9. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี

                        10. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา

                        11. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง

                        12. ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม (ให้ทำหน้าที่ดูแลกลางวันด้วย แต่อาจไม่ใช่เฉพาะกรณีพึ่งพิง)

       และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 ได้กำหนดให้ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ทั้ง 12 แห่งมีบทบาทหน้าที่เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกลางวัน และดูแลชั่วคราว โดยให้บริการผู้สูงอายุทั่วไปด้วย

  • กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JIGA) ดำเนินการโครงการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการโดยชุมชนสำหรับผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการเชิงบูรณาการโดยชุมชนสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยได้มีการจัดทำโครงการย่อยเรื่อง “การจัดทำระบบฐานข้อมูลพื้นฐานสถานการณ์ด้านสุขภาพและสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่ พื้นที่ 4 ตำบล ต.บางสีทองจ.นนทบุรี   ต.ยางฮอม จ.เชียงราย  ต.สะอาด จ.ขอนแก่น  ต.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี (กรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมสุขภาพจิต)
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนโครงการศึกษาข้อกำหนดในการประเมินความจำเป็นของผู้สูงอายุเพื่อการจัดบริการสวัสดิการสังคม
  • คณะอนุกรรมการเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนประเด็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (กรมการแพทย์) ได้พัฒนาเครื่องมือ “แบบคัดกรองผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลระยะยาว” และเกณฑ์การประเมินฯ เรียบร้อยแล้ว
  • มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย จัดทำเครื่องมือ ADL ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในพื้นที่ และระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในงานผู้สูงอายุ ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาโปรแกรมและทดสอบการใช้งาน
  • กรมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประชุมเรื่องการจัดทำแบบประเมินผู้สูงอายุ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงแบบประเมิน แต่ยังไม่ได้ประชาพิจารณ์
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนงบประมาณซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุรายละ 10,000 บาท ทั้งนี้ให้จัดสรรงบประมาณนั้นมาสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาวได้ ในส่วนภูมิภาค และรายละ 12,000 บาท ในกรุงเทพมหานคร (พมจ.สนับสนุนภาวะพึ่งพิงเป็นพิเศษ) ซึ่งในปี 2555 ได้ตั้งงบประมาณช่วยเหลือ จำนวน 2,591 ราย และการปรับปรุงสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมผุ้สูงอายุ จำนวน 677 แห่ง ทั้งนี้งบประมาณที่จัดเตรียมไว้ทุกปีสามารถจัดสรรมาสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาวได้
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุแก่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,539 แห่ง รวม 7,961 คน และการสร้างกลไกอาสาสมัครท้องถิ่นดูแลในบ้าน
  • เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดประชุมระดมความเห็นเพื่อจัดทำร่างมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุ เพื่อให้สถานรับดูแลผู้สูงอายุของเอกชนต้องปฏิบัติตามมาตรฐานใน 6 ด้าน โดยจะร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดทำเป็นข้อกำหนดหนึ่งในการยื่นขอจดทะเบียนเปิดสถานรับดูแลผู้สูงอายุ ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 เดือน ในการจัดทำร่างดังกล่าวก่อนออกเป็นกฎกระทรวงได้ นอกจากนี้ยังเตรียมศึกษาเพื่อจัดทำร่างกฎหมายมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อบังคับใช้อย่างจริงจัง ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุ ที่จะจัดทำเป็นมาตรฐานเพื่อออกเป็นกฎกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยขอความร่วมมือจากภาคเอกชนที่เปิดสถานรับดูแลผู้สูงอายุ หลังพบว่า ที่ผ่านมามีสถานประกอบการหลายแห่งดำเนินการไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุ ในส่วนของผู้ดูแลผู้สูงอายุ แม้ขณะนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน ที่จัดทำหลักสูตรฝึกอบรม 420 ชั่วโมง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ ยอมรับว่า คนดูแลผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอ จึงเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดึงการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามาดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากการดูแลโดยชุมชนจะส่งผลดีต่อจิตใจผู้สูงอายุมากกว่า รูปแบบของสถานสงเคราะห์หรือสถานรับดูแล สำหรับมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุ มีทั้งหมด 6 มาตรฐาน ได้แก่ อาคารสถานที่ ต้องจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมเช่นเดินทางเข้าสู่แหล่งชุมชน และสถานพยาบาลได้สะดวก ทางเดินภายในอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 1เมตร 50 เซนติเมตร มาตรฐานห้องพักอาศัย ระดับพื้นที่จะต้องเป็นระนาบเดียวกันไม่มีธรณีประตู ประตูกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร การจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในห้องไม่ต่ำกว่า 15 ตารางเมตรขึ้นไป มาตรฐานอนามัยสิ่งแวดล้อม ต้องสะอาดตามสุขลักษณะ/ มาตรฐานผู้ให้บริการ มีอายุไม่ต่ำกว่า 25ปีบริบูรณ์และผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 420 ชั่วโมง มาตรฐานการจัดการ ต้องจัดทำข้อมูลส่วนตัวของผู้อาศัย ทั้งข้อมูลของญาติ สุขภาพ /และสุดท้ายมาตรฐานการบริการ เจ้าหน้าที่ต้องสามารถประสานงานและช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วยได้อย่างทันท่วงที
  • วันที่ 7 กันยายน 2555 ทางสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่องผู้สูงอายุดังต่อไปนี้ 

            - การสร้างเครือข่ายทางสังคมขึ้นมาให้การช่วยเหลือ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล จัดทีมอาสาสมัครเข้าไปให้การดูแลผู้สูงอายุตามบ้านเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ควบคู่ไปกับการดูแลระยะยาวซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานส่วนกลางของรัฐ

            - รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนด้านการเงินและการคลังด้วยการเร่งปรับปรุงบ้านพักคนชรา (Residential Home) และสถานบริบาล (Nursing Home) ที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ

            - การอุดหนุนงบประมาณเพื่อไปปรับปรุงสถานบริบาลของผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาวซึ่งดำเนินการโดยเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร

            - การสนับสนุนมาตรการทางด้านภาษีให้แก่ทั้งบุคคลและหน่วยงานที่ให้การดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว

  • วันที่ 15 มกราคม 2556 ในการสัมมนาเรื่อง “ผู้สูงวัยมุ่งสู่,,,อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว” อธิบดีกรมอนามัยได้ชี้แจงเป้าหมายเรื่องการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุพึงประสงค์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 มีตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 20 มีวัดส่งเสริมสุขภาพผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 รวมถึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุทั้งจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ชมรมผู้สูงอายุ วัด ชุมชน รวมถึงยกย่องเชิดชูเกียรติผู้สูงอายุดีเด่น วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ชมรมภาคเครือข่ายผู้สูงอายุดีเด่น เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลต่อไป 
  • เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีลูกขุนพลเมือง “ประเด็นการจัดระบบการดูแลระยะยาวในผู้สูงอายุ” ครั้งที่ 1/2558 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในฐานะคณะลูกขุนพลเมือง ซึ่งเป็นภาคประชาชนที่ได้รับการสุ่ม ตัวอย่างมาจากทั่วประเทศหลากหลายอาชีพ จำนวน 12 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 5 คน มีอายุระหว่าง 35-75 ปี มาร่วม กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ทั้งนี้ลูกขุนพลเมืองได้สะท้อนความคิดเห็นร่วมกัน ว่า ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวมีความจำเป็นต่อสังคมไทย ในหลายรูปแบบ อาทิ รูปแบบครอบครัวดูแล แบ่งเบาภาระเบื้องต้น ด้วยการทำบ้านให้เป็นห้องพยาบาล แต่ยังขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ หรือรูปแบบเครือข่ายในชุมชน ตั้งศูนย์ ฟื้นฟูชุมชน ศูนย์ดูแลกลางวัน ศูนย์อุปกรณ์ และรูปแบบสถานบริการ บ้านพักคนชรา สถานให้การช่วยเหลือในการดำรงชีวิต บ้านสงเคราะห์ หอดูแลระยะยาวในโรงพยาบาล สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และศูนย์บริบาล เป็นต้น ขณะเดียวกันลูกขุนพลเมืองได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่สำคัญขณะนี้คือ การขาดเจ้าภาพหลัก การคัดสรร องค์กรเจ้าภาพร่วม บุคลากร แหล่งทุนทรัพย์ รูปแบบการร่วมจ่ายและข้อยกเว้นของการจ่าย ส่วนทางออกของปัญหานั้นทางภาครัฐควรมีแผนชาติระยะยาวที่ครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ รูปแบบการบริการสุขภาพ การสนับสนุน อาชีพ การจัดหาและจัดสรรงบประมาณ บุคลากร ฐานข้อมูล ของผู้สูงอายุประเภทต่างๆ การร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตัวเองได้
  • วันที่ 19 มีนาคม 2558 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร การดำเนินงานของทีมหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุนั้น ในพื้นที่ก็มีการจัดระบบการดูแลอยู่ก่อนแล้ว โดยได้แบ่งผู้สูงอายุในพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มติดสังคม ที่มีสุขภาพแข็งแรง ชอบออกมาทำกิจกรรมกับคนวัยเดียวกันนอกบ้าน 2.กลุ่มติดบ้าน ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่ยอมออกไปไหน และ 3.กลุ่มติดเตียง ซึ่งมีอาการเจ็บป่วย จำเป็นต้องได้รับการดูแล โดยพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์มีประมาณ 700 หลังคาเรือน รวม 6,000 กว่าคน เป็นผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงประมาณ 50 กว่าคน ซึ่งที่ผ่านมา รพ.สต.และ อสม.ก็ทำงานร่วมกับชมรมผู้สูงอายุในท้องถิ่นในการจะออกไปเยี่ยมบ้านดูแลตามปกติ โดยพยายามให้ผู้ป่วยติดบ้านออกมามีกิจกรรมภายนอก นอกจากนี้ รพ.สต.ทะเลทรัพย์มีศูนย์ Day Care ที่คอยดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้ว เมื่อลูกหลานต้องไปทำงานก็จะพาผู้สูงอายุมารับฝากดูแล ลักษณะแบบไปเช้าเย็นกลับ ในศูนย์มีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สูงอายุทำ แต่ปัญหาคือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านเขาก็ยังคงติดบ้านอยู่ ต่อให้ลูกหลานพาออกมาอยู่ที่ศูนย์ได้ทำกิจกรรมเขาก็ไม่ชอบ เขาอยากได้อะไรมากกว่านั้น จึงรู้สึกว่าอยู่บ้านเฉยๆ ดีกว่า ไม่อยากออกมา สุดท้ายจึงริเริ่มพัฒนาโดยอบรมให้ผู้สูงอายุติดบ้านเป็น Care Giver เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ซึ่งปรากฏว่าเขาชอบที่จะได้ไปดูแลคนอื่น จึงยกระดับศูนย์ Day Care เป็นวิทยาลัยการดูแลผู้สูงอายุ โดยอบรมผู้สูงอายุทั้งหมดของ อ.ปะทิว ตามหลักสูตรของกรมอนามัยให้เป็น Care Giver รุ่นแรกแล้ว 43 คน จำนวนนี้ 12 คนเป็นผู้สูงอายุพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งจากท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่กำลังศึกษาในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว” นายเหมือนหมั้น กล่าวว่า ผู้สูงอายุติดบ้านที่เป็น Care Giver นั้น จะทำงานในลักษณะอาสา ไม่ได้ต้องการค่าตอบแทน ให้การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเสมือนญาติ
  • เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนผู้สูงอายุ เพื่อการพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ (กลุ่มเข้มแข็ง)เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จากชมรมผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็งเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ให้มีประสิทธิภาพ ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ การประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จากชมรมผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็ง เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ให้มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมศักยภาพกลุ่มผู้นำองค์กร ชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็ง ตามนโยบาย ของกระทรวงฯ ที่ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนที่กระทรวงฯขับเคลื่อนการดำเนินงานตั้งแต่การเตรียมความพร้อมประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ การเสริมพลังภูมิปัญญาผู้สูงอายุ การสร้างความสุขให้ผู้สูงอายุ การเสริมสร้างสังคมผู้สูงอายุไทยให้มีคุณภาพ และการขับเคลื่อนงาน ด้านผู้สูงอายุสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (สนง.พมจ.) ผู้แทนจากชมรมผู้สูงอายุ คณะกรรมการศูนย์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเครือข่ายการดำเนินงานในระดับพื้นที่ เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ และเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง รวมจำนวน ๑๕๐ คน
  • เมื่อวันที่ ๒ เม.ย. ๕๘ เวลา ๑๐.๐๐ น. ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมแถลงข่าว “รัฐ-ราษฎร์ร่วมใจ ห่วงใยดูแลผู้สูงอายุ” โดยมี นายยงยุทธ  ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมงาน เพื่อบูรณาการงานของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ ระดับตำบล และอำเภอ ในทุกจังหวัดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทุกภาคส่วนที่ดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ได้ตระหนักถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยในอีกไม่เกิน ๑๐ ปีข้างหน้า โดยมีการดำเนินงานเพื่อรองรับสังคมสูงอายุตาม   พันธกิจของแต่ละหน่วยงาน และมีการบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุเพียงบางหน่วยงานเท่านั้น ดังนั้น การทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบบูรณาการในครั้งนี้ จึงเป็นการเชื่อมโยงงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ๖ กระทรวงหลัก ให้สามารถดำเนินงานการดูแล คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้อย่างเป็นระบบ และครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อม โดยมีคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมดำเนินงานเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุเริ่มตั้งแต่ ) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ ) สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ต่างๆ ) สนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยใช้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ ) ส่งเสริม สนับสนุนการปรับสภาพแวดล้อม และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ และสถานที่สาธารณะในชุมชน ) สนับสนุนการจัดกิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมทางวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ )สนับสนุนการมีส่วนร่วมของในชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุ ) ส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุ และ ) ประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลาง และระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
  • เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2558 พลตำรวจเอก อดุลย์  แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ 246/2557-2558 ว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กำลังดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  โดยคาดว่าจะบูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ไปตามโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพทั่วประเทศ เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร สถานที่ และความรู้เชิงวิชาการ ในขณะที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จำนวน 878 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรมและให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะ“ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุจังหวัดชลบุรี” เป็นต้นแบบของศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุอย่างครบวงจร ทั้งนี้ การบูรณาการประสานการทำงานร่วมกันในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ย่อมจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สูงอายุในระยะยาวต่อไป
  • เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดทำรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลรอบ 1 ปี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2557 – 12 กันยายน 2558 มีผลการดำเนินงานดังนี้ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมการขยายผลการดำเนินงานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (บ้านกลางของผู้สูงอายุ) ประกอบด้วย (1) การจัดอบรมแนวทาง วิธีการการดำเนินงานบ้านกลางฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่หน่วยงานหลัก และเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างกลไกการดูแลช่วยเหลือและป้องกันปัญหาทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 จำนวน 5 รุ่น มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 1,141 คน และ (3) การประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2 ครั้ง
  • เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/2559 เพื่อพิจารณาการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุโครงการนำร่องบางละมุง จังหวัดชลบุรี และการดำเนินโครงการการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในระยะต่อไป โดยมีผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กรมบัญชีกลาง กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สภากาชาดไทย และบริษัท แอลพีเอ็นดีแวลลอปแมนท์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประชุม  สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นการกำหนดแนวทางการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ในการจัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ และแสวงหารูปแบบดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี มีการออกแบบสร้างและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อาคาร ที่อยู่อาศัย ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เอื้อต่อ การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งที่ประชุมได้คัดเลือกพื้นที่โครงการบ้านพักเพื่อผู้สูงอายุนำร่องที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่ก่อสร้าง 50 ไร่ งบประมาณ 796,000,000 บาท จำนวน 600 ยูนิต ขนาด 33 ตารางเมตร 300 ยูนิต และขนาด 40 ตารางเมตร 300 ยูนิต ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี โดยใช้รูปแบบแนวทางการดำเนินงานของสวางคนิเวศ จังหวัดสมุทรปราการ สภากาดชาดไทย และบริหารจัดการโดยใช้มูลนิธิภายใต้ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) นอกจากนี้ จะมีการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีเป้าหมายที่จะก่อสร้างบ้านพักผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 4,650 ยูนิต ในระยะที่ 1 (พ.ศ.2560-2561) จะดำเนินการหลายพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอ บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ส่วนในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2562) จะดำเนินการในพื้นที่อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก อำเภอขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อสร้างและพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจรต่อไป
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการสาธารณสุข การดำเนินงานโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ จัดหาบริการในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 48,355 คน จากเป้าหมายที่ได้รับจัดสรร 150,000 คน
  • เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) โดยให้กระทรวงการคลังหารือร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และให้รับข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อาทิ การนำที่ราชพัสดุมาสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ต้องพิจารณาความเหมาะสมทางผังเมืองในการกำหนดพื้นที่พักอาศัยและโดยที่มาตรการดังกล่าวยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน โดยการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุบนที่ราชพัสดุเป็นการดำเนินการโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุบนพื้นที่อื่นที่ให้นำหลักการของโครงการบ้านมั่นคงและบ้านประชารัฐมาใช้นั้น จะมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย ดังนั้นในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว กระทรวงการคลังจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ต่อไปไปพิจารณาด้วย
  •  
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียด: 

3.1 พิจารณาปรับปรุงเพิ่มเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจากอัตราของผู้สูงอายุทั่วไป ทั้งนี้ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน

3.2 ร่วมกันพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้ความรู้ต่างๆ เช่น เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การจัดการดูแล การพัฒนาบุคลากร งบประมาณให้สามารถจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในครอบครัวและชุมชน

3.3 ให้สถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่ต้องการบริการทางการแพทย์/การพยาบาลขึ้นทะเบียนกับกองประกอบโรคศิลปะ เพื่อการกำกับการดูแลให้ได้ตามมาตรฐาน

3.4 ส่งเสริม สนับสนุนการฝึกอบรมความรู้และทักษะ และสร้างจิตสำนึกในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ให้แก่ญาติและบุคลากรกลุ่มที่ไม่ใช่วิชาชีพ  เช่น อาสาสมัคร สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น  ส่วนผู้ดูแลที่ได้รับการว่าจ้างได้รับการพัฒนาให้ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรวิชาชีพนั้นๆ

3.5 จัดให้มีบุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการการบริการดูแลระยะยาว (Care manager) โดยคำนึงถึงความแตกต่าง และความต้องการที่หลากหลาย

3.6 สนับสนุนให้หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิดำเนินการดูแลสุขภาพ ฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่บ้าน สนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเมื่อจำเป็น

3.7 พัฒนาศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุให้จัดบริการการดูแลระยะยาว ทั้งบริการด้านสุขภาพ และสังคม ให้มีมาตรฐาน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ  เพื่อเป็นศูนย์สาธิตให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เรียนรู้และขยายผล

3.8 ศึกษาผลกระทบจากนโยบายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนข้อ 1.8 เรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ข้อ 1.8.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600  บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอขอมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบปรับอัตราการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552
  • กระทรวงมหาดไทย ได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2552 และมีคำสั่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดทำงบประมาณเงินสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุก 3 เดือน
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2554 กระทรวงมหาดไทยได้เสนอเรื่อง การกำหนดอัตราเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อขอมติจากคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอดังนี้

          1) การกำหนดอัตราเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

          2) การกำหนดให้ใช้วงเงินประมาณการงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 งบเงินอุดหนุน แผนงานสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 52,228,143,600 บาท (เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 จำนวน 16,219,821,600 บาท)

  • วันที่ 20 กันยายน 2555 ทีดีอาร์ไอได้เปิดเผยผลการศึกษาเรื่องการประมาณการงบประมาณสำหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน ที่ได้รับมอบหมายจากสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยากอยู่กับครอบครัวจึงควรจัดสวัสดิการที่เอื้อให้อยู่กับครอบครัวได้ โดยรัฐดูแลผู้สูงอายุที่ไม่มีครอบครัว ไม่อยากอยู่ หรือครอบครัวไม่พร้อม การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุควรมีการดูแลทั้งในด้านจิตใจและร่างกาย ในภาพรวมแม้สวัสดิการที่ผู้สูงอายุได้รับจะดีขึ้นจากการแจกเบี้ยยังชีพและการรักษาพยาบาลแต่ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อนของการได้รับสวัสดิการ ซึ่งต้องแก้ไขและกระจายให้เกิดความเสมอภาค และขยายประโยชน์เพิ่มเติมให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน และ/หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง ให้สามารถดำรงชีพขั้นพื้นฐานได้ โดยปัจจุบันมีผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงราว 1-1.4 แสนคน การจัดสวัสดิการสังคมจะต้องคำนึงถึงความเพียงพอและความซ้ำซ้อน โดยเป็นระดับสวัสดิการที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ส่วนความซ้ำซ้อนเกิดจากการออกแบบโครงการมากกว่าหนึ่งโครงการ แต่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกันหรือทับซ้อนกัน ทำให้ประชาชนบางกลุ่มสามารถรับสวัสดิการได้มากกว่าหนึ่งโครงการจนเกิดความไม่เท่าเทียมกัน จึงเป็นสิ่งที่ควรป้องกันและแก้ไข การศึกษาได้เสนอชุดทางเลือกของสวัสดิการผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการผู้สูงอายุได้มากขึ้น อันได้แก่

     

            2 4,085

            3

            เมื่อพิจารณาถึงภาระด้านงบประมาณของแต่ละชุดโครงการนั้น ประมาณการว่าในช่วงปี 2555-2564 ค่าใช้จ่ายของสวัสดิการผู้สูงอายุ สำหรับชุดสวัสดิการรูปแบบที่ 1 มีจำนวน 1.7-4.6 แสนล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 1.7-5.0 และ 1.7-5.1 แสนล้านบาท ในรูปแบบที่ 2 และ 3 ตามลำดับ การดำเนินการในระยะเริ่มแรกรัฐควรจัดสรรสวัสดิการในรูปแบบที่ 1 ก่อน เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีพได้ในระดับพื้นฐาน และหากรัฐมีรายได้มากเพียงพอจึงค่อยขยับเพิ่มสวัสดิการในรูปแบบที่ 2 และ 3 ในภายหลัง ทั้งนี้ ภาระค่าใช้จ่ายของชุดสวัสดิการผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับรายได้ของภาครัฐหรือเทียบกับรายได้ประชาชาติ พบว่า หากเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวเฉลี่ยถึงร้อยละ 7 ต่อปี (ในรูปตัวเงิน) งบประมาณสวัสดิการผู้สูงอายุจะคิดเป็นร้อยละ 7.9-10.2 ของรายได้ภาครัฐ และร้อยละ 1.6-2.4 ของรายได้ประชาชาติ แล้วแต่จะใช้ชุดสวัสดิการรูปแบบที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลา ตามการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของผู้สูงอายุในโครงสร้างประชากร จะเห็นได้ว่า หากรัฐจัดสรรสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบแล้ว (รูปแบบที่ 3) รัฐจะมีภาระค่าใช้จ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 0.3-0.9 ของรายได้ภาครัฐ และร้อยละ 0.03-0.22 ของรายได้ประชาชาติในช่วงปี 2555-2564

            3 1. มาตรการในการหารายได้มารองรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ผ่านการปฏิรูประบบภาษี ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ภาครัฐแล้ว ยังช่วยสร้างความเป็นธรรมด้านภาษีได้อีกด้วย  2. การปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และ 3. การสร้างภาคีสังคมนอกเหนือจากภาครัฐ ให้เข้ามามีบทบาทในการให้สวัสดิการผู้สูงอายุ อันเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับภาครัฐได้

            การปฏิรูประบบภาษีนั้นจะช่วยให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างฐานข้อมูลผู้เสียภาษีเพื่อช่วยตรวจสอบและติดตามการเสียภาษี ซึ่งสามารถดำเนินการร่วมกับฐานข้อมูลบัตรประชาชน และควรมีการสร้างแรงจูงใจและบทลงโทษด้วย (เช่น ผู้ที่ไม่ยอมให้ข้อมูลรายได้อาจพิจารณาในเรื่องการต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น) การขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมผู้ที่สมควรเสียภาษีแต่ยังไม่ได้เสียภาษี โดยมีระบบการประเมินภาษีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม นอกจากนี้ ควรทบทวนการลดหย่อนและยกเว้นภาษี การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม และระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนการบริหารจัดการที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและลดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งประกอบด้วยการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของสิทธิสวัสดิการ การบริหารจัดการเพื่อเข้าถึงผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม และการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุ สำหรับการสร้างภาคีด้านสวัสดิการผู้สูงอายุนั้น สามารถทำผ่านความร่วมมือกับองค์กรอิสระและองค์กรภาครัฐอื่นๆ  คณะผู้วิจัยได้ประมาณการรายได้ของรัฐที่จะเพิ่มขึ้นจากการปฏิรูประบบภาษี พบว่า การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มกลับไปสู่อัตราปกติที่ร้อยละ 10 จะส่งผลต่อการเพิ่มของรายได้รัฐมากที่สุด และเพียงแค่รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มรายการเดียวก็สามารถนำไปจัดสรรให้แก่สวัสดิการผู้สูงอายุได้เกือบทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติคงทำได้ยาก จึงควรเพิ่มเติมด้วยมาตรการอื่น เช่น จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักความเสมอภาคทางภาษีและมาตรการอื่น ๆ รวมทั้งทบทวนการลดหย่อนและยกเว้นภาษีอย่างเป็นระบบ ซึ่งมองว่าปัจจุบันเป็นการลดหย่อนมากเกินไป และล้วนเป็นการลดขนาดของฐานภาษี ทำให้รัฐเก็บภาษีได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะค่าลดหย่อนหลายประการที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีรายได้สูง เช่น การซื้อกองทุน RMF และ LTF ควรพิจารณาลดผลประโยชน์ส่วนนี้ให้เหลือเท่าที่จำเป็น  สิ่งที่น่ากังวลสำหรับคนวัยทำงานปัจจุบันซึ่งมีภาวะอยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น และในอีก 10-20 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นผู้สูงอายุ ควรเตรียมความพร้อมด้วยการเก็บออมเพื่อนำมาใช้จ่ายเพิ่มเติมจากสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเพียงพอตามที่ต้องการในวัยสูงอายุ

  • กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งคณะทำงานฯ มีการกำหนดประเด็นเนื้อหาในหนังสือคู่มือการดูแลผู้สูงอายุสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีการวางแผนการจัดทำหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และอยู่ระหว่างการเตรียมจัดประชุมเพื่อจัดทำร่างหลักสูตร การฝึกอบรมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และขณะนี้อยู่ระหว่างการประชุมเพื่อกำหนดบทบาทภารกิจ อสม. เชิงรุกดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและทำหลักสูตร อสม. เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดโครงการเสริมสร้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) มีบทบาทดูแลผู้สูงอายุกลุ่มที่พึ่งตนเองได้ไม่ได้ ในปี พ.ศ. 2554-2556 และจัดโครงการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) ในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 1,539 แห่ง รวม 7,961 คน
  • สภาการพยาบาล มีหลักสูตรวิชาชีพ ได้แก่ หลักสูตรพยาบาลผู้สูงอายุ หลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ หลักสูตรพยาบาลผู้เชี่ยวชาญผู้สูงอายุ และหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลผู้สูงอายุ โดยทำหน้าที่กำกับมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ 
  • วันที่ 28 มกราคม 2556 คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิเรื่อง “ร่างกฎหมายสวัสดิการผู้สูงอายุ” โดยได้เปิดรับฟังความคิดเห็นซึ่งเป็นการอภิปรายในเชิงแนวคิดในประเด็นสำคัญ ได้แก่ สิทธิผู้สูงอายุ  เงินสวัสดิการดำรงชีพ การกำหนดฐานอายุผู้สูงอายุตามร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว กลไกการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งที่ประชุมมีสาระสำคัญดังนี้

          - ระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในทางปฏิบัติมีปัญหาค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องแก้กฎหมาย ทั้งนี้ต้องเขียนระบุให้ชัดเจน ตั้งแต่วัตถุประสงค์กองทุน ที่มากองทุน กระบวนการที่จะนำไปใช้และรายละเอียดในขั้นตอนต่างๆ 

          - การดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุของภาครัฐยังไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง อาจเนื่องมาจากแผนปฏิบัติการไม่ชัดเจน ดังนั้นควรมีพื้นที่ให้กับคนในชุมชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

          - ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวควรกำหนดฐานอายุของผู้สูงอายุให้มีความยืดหยุ่น ในส่วนของแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองและส่งเสริมผู้สูงอายุตามมาตรา 16 ในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้มีการดำเนินการจนได้เป็นแผนฉบับปรับปรุงแล้วประกอบด้วย ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุ การบริหารจัดการงานผู้สูงอายุ อาจกล่าวได้ว่ามียุทธศาสตร์ค่อนข้างกว้าง ครอบคลุม และเป็นแผนที่มองถึงผู้สูงอายุในอนาคตด้วย แต่ปัญหาที่พบคือ เรื่องปัญหาสุขภาพพบว่าช่องทางพิเศษไม่สามารถให้บริการอย่างเร่งด่วนได้จริง จึงควรวางแผนการบริการครบวงจรในจุดเดียว นอกจากนี้เรื่องบทบาทของท้องถิ่น ซึ่งท้องถิ่นหลายพื้นที่อ้างว่าข้อบัญญัติที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อการนำเงินของท้องถิ่นเองมาใช้ ซึ่งเรื่องนี้ควรต้องพิจารณาและมีการกำกับดูแลด้วย

          - การผลักดันกฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุ ควรจะระบุให้ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ที่ผู้สูงอายุจะได้รับ เพราะหากระบุไว้กว้างจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงกลุ่มผู้สูงอายุคนพิการที่ต้องระบุสิทธิรองรับและการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ให้ชัดเจน 

          - ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต้องมีการกำหนดให้มียุทธศาสตร์และมาตรการหลัก มาตรการย่อย และกลไกระดับชาติและระดับภูมิภาครองรับสวัสดิการผู้สูงอายุรวมถึงควรมีหน่วยวิชาการมาสนับสนุนเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุด้วย หากจะแก้ไขกฎหมายควรจะแก้กฎหมายฉบับปัจจุบันโดยเน้นทางเลือกที่หลากหลาย

  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 12 ศูนย์ ดำเนินการโครงการให้การอบรมแก่บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมและการดูแลผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งที่ผ่านมาได้อบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 1,539 แห่ง
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงสาธารณสุข มีการพัฒนากำลังคนด้านการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ระบุหน้าที่ว่าเป็นผู้จัดการการบริการดูแลระยะยาว 
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีเป้าหมายปี 2554 ที่จะดำเนินการสร้างศูนย์สวัสดิการและอบรมการดูแลผู้สูงอายุ ณ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และสร้างเพิ่มอีก 3 ศูนย์ที่ จังหวัดเชียงราย นครราชสีมา และภูเก็ต (ระหว่างปี 2555-2556) เพื่อใช้เป็นสถานที่อบรม ให้ความรู้แก่บุคลากรด้านการดูแลและจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดให้มีกองทุนผู้พิการจังหวัด 
  • กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีแผนจะดำเนินการจัดทำศูนย์ต้นแบบส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ที่ศูนย์อนามัยที่5 นครราชสีมา
  • มีนาคม 2555 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทองได้ลงนามข้อตกลงการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ โดยมีนพ.ชลอ ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง  ท้องถิ่นอ่างทองและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอ่างทองร่วมลงนามในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่บุคคลในพื้นที่ได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้คนพิการ ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในเขตพื้นที่จังหวัดอ่างทอง เป็นการลงนามในข้อตกลงร่วมกันเพื่อดำเนินการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ โดยจัดสรรงบประมาณ 5 บาทต่อรายหัวประชากรในจังหวัด จำนวน 975,535 บาท และ อบจ.อ่างทองสมทบงบประมาณอีก 975,535 บาท รวมเป็นเงินในการจัดตั้งกองทุนฯ 1,951,170 บาท ซึ่งประชาชนสิทธิบัตรทองจะได้รับการดูแลฟื้นฟูจากกองทุนฯ ส่งผลให้ได้รับบริการฟื้นฟูอย่างทั่วถึงและลดอัตราการพิการลง
  • มีนาคม 2555 จุฑารัตน์ แก้วกัญญา มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ได้เสนอรายงานการศึกษาทบทวนกฎหมายและกลไกที่พัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการจัดสวัสดิการและความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ จากการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้อย่างกระจัดกระจาย ซึ่งปรากฏในกฎหมายหลายฉบับโดยแยกตามประเภทเนื้อหาของกฎหมายออกเป็น 7 ข้อใหญ่ได้แก่ (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2) นโยบายของรัฐบาล (พ.ศ.2554) (3) กฎหมายที่เกี่ยวกับรายได้ของผู้สูงอายุ (4) กฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ (5) กฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ (6) กฎหมายที่กำหนดรับรองอายุเกินหกสิบปีให้ยังสามารถประกอบอาชีพได้ และ (7) การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ) ซึ่งแม้ว่าจะมีกฎหมายที่กำหนดเรื่องต่างๆ เหล่านั้นไว้ก็ตาม การจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุตามกฎหมายของประเทศไทยก็ยังไม่เอื้ออำนวยรัฐเข้าไปดำเนินการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เนื่องจากประสบปัญหาทั้งด้านกฎหมายซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในเนื้อหา และปัญหาข้อเท็จจริงที่ประเทศไทยประสบปัญหาของอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น และอัตราส่วนการเกิดของประชากรรุ่นใหม่ลดลง ย่อมทำให้อัตราการพึ่งพาสูงขึ้นตามไปด้วย สภาพเช่นนี้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ประเทศไทยจะต้องประสบกับปัญหาผู้สูงอายุมีจำนวนมากเกิดกว่าที่ประชากรวัยทำงานจะสามารถดูแลได้และสภาพสังคมที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม

            ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงควรดำเนินการดังนี้ (1) กำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุขึ้นใหม่ไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อกำหนดให้ผู้สูงอายุได้รับการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐโดยทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐให้มีอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน (2) กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในกฎหมายดังกล่าว โดยกำหนดอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจเด็ดขาดในด้านการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุในท้องถิ่นและชุมชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ อันเป็นการสอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกำหนด และเพื่อแก้ไขปัญหาด้านข้อเท็จจริงและเพื่อเป็นการลดภาระในการพึ่งพาจากรัฐได้ในระยะยาวต่อไป จึงควรดำเนินการดังนี้ (1) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐติดตามและทำสถิติจำนวนผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องเพื่อแจ้งให้หน่วยงานอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมงานด้านการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อที่หน่วยงานเหล่านั้นจะได้กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับให้ผู้สูงอายุได้รับการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่อง (2) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคเอกชน ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือกันทางสังคมมากขึ้นโดยเฉพาะต้องรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ไม่ควรให้เลือนหายไปจากสังคมไทย (3) สร้างและกระจายงานออกไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้คนในวัยทำงานในท้องถิ่นมีงานทำโดยไม่ต้องอพยพมาทำงานในภาคกลาง ซึ่งส่งผลให้บุตรหลานในวัยทำงานมีงานทำอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ และมีเวลาดูแลบุพการีและผู้สูงอายุในครอบครัวนั้นด้วย

  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2555 คณะทำงานการสาธารณสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองผู้บริโภค และคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุข สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดสัมมนาเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยท้องถิ่นและชุมชน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
  • เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบบริการระยะยาวดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงรวมทั้งกลุ่มอายุอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน ซึ่งร่วมหารือกับกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สถานทูตญี่ปุ่นประจำ ประเทศไทย สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กองการต่างประเทศ และผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (ไจก้า) และกระทรวงสาธารสุข ความว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเร็วที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง อัตราส่วนประชากรวัยสูงอายุเท่ากับ 1 ใน 2 ของประชากรเด็ก เกิดสภาวะการพึ่งพิงทาง สังคมมากขึ้น ผู้สูงอายุในอนาคตจะมีผู้ดูแลลดน้อยลง ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 8.1 ล้านกว่าคน หรือประมาณร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศที่มีประมาณ 64 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า วัยปลายประมาณร้อยละ 9.8 หรือ 8 แสนคน ทั้งนี้ผู้สูงวัยมักจะมีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะโรคเรื้อรัง คาดว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 12.4 ในปี 2568 หรือกว่า 1 ล้านคน ในอีก 12 ปีข้างหน้า โดยจะเร่งพัฒนาจัดหารูปแบบการจัดบริการระยะยะยาวแก่ผู้สูงอายุ โดยให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแล สามารถลดภาระครอบครัว ลดอัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้สูงอายุมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีอยู่กับครอบครัว เบื้องต้นนำร่องต้นแบบที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
  • วันที่ 15 พฤษภาคม 2556 ในการประชุมระดับชาติโครงการพัฒนารูปแบบบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำยุทธศาสตร์ระดับชาติโดยบูรณาการร่วมกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน มี 2 มาตรการคือ มาตรการระยะสั้นเน้นการจัดบริการการดูแลระยะยาวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่วนในระยะยาวมียุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยการเพิ่มจำนวนบุตรเฉลี่ยของหญิงไทยให้สูงขึ้นจาก 1.5 เป็น 2.1 เพื่อให้โครงสร้างประชากรมีความสมดุล ลดภาระครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ และเน้นการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตยาวนานมากขึ้น ทั้งนี้มอบหมายให้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้อำนวยการโครงการ และ นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้จัดการโครงการ นำร่องดำเนินการ 6 แห่งได้แก่ ขอนแก่น เชียงราย สุราษฎร์ธานี นนทบุรี นครราชสีมา และกรุงเทพมหานคร โดยเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนารูปแบบบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย ได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง พ.ศ.2550-2553 ในพื้นที่เดิม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่กับครอบครัว ชุมชน อย่างอบอุ่นตลอดไป
  • วันที่ 24 เมษายน 2558 จากเอกสารแถลงผลการดำเนินงานโดย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินงานการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำาหรับผู้สูงอายุ ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์หลัก และมีผลการดำเนินการดังต่อไปนี้ การคัดกรองผู้สูงอายุและพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน มีการสำรวจคัดกรองและประเมินความต้องการของผู้สูงอายุเพื่อรับบริการ LTC ตามชุดสิทธิประโยชน์ในพื้นที่นำร่อง ณ ธันวาคม 2557 มีผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองและประเมินแล้ว จำนวน 41,000 คน เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 3,600 คน คิดเป็นร้อยละ 8.78 ของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองและประเมิน และมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุโดยผู้เชี่ยวชาญ

            มีการชี้แจงและอบรมการใช้โปรแกรมดังกล่าวให้กับพื้นที่นำร่อง และเริ่มมีการนำโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองใช้ในพื้นที่ ด้านการพัฒนาระบบบริการในชุมชนเพื่อการป้องกันการดูแลผู้สูงอายุโดยเชื่อมโยงกับระบบบริการในสถานบริบาล ดำเนินโครงการนำร่องพัฒนาระบบและจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนผ่านกลไกการขับเคลื่อน 2 รูปแบบคือ กลไกระดับอำเภอ (District Health System: DHS) และกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่/ตำบล โดยมีเป้าหมาย ณ เมษายน 2558 คือขยายพื้นที่ดำเนินการให้ครบทุกจังหวัดๆ ละ 1-3 อำเภอๆ ละ 1-3 ตำบล ปัจจุบันผลงานคือ มีข้อมูล 76 จังหวัด 112 อำเภอ การพัฒนาระบบการเงินการคลังและชุดสิทธิประโยชน์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ “ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” เป็นการเฉพาะ โดยตั้งเป้าหมายการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 80,800 ราย วงเงิน  949.41 ล้านบาท

            ด้านการพัฒนากำลังคน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับกรมอนามัยจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ช่วยผู้ดูแล (Care Giver: CG) และผู้จัดการการดูแล (Care Manager: CM) ณ ธันวาคม 2557 มีผู้ช่วยผู้ดูแล (Care Giver: CG ที่ ผ่านการอบรมแล้วทั้งสิ้น 495 คน และมีผู้จัดการการดูแล (Care Manager: CM ที่ผ่านการอบรมแล้ว 134 คน และด้านการสร้างการจัดการความรู้และการติดตามประเมินผล สำ านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุน หน่วยงานวิจัย/ศูนย์วิชาการให้ดำเนินการศึกษาวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ การถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และประเมินความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศและการสนับสนุนการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ

            การพัฒนากฎหมาย/ ระเบียบ/มาตรฐาน และการบริหารจัดการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานและบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 รวมทั้ง การจัดทำคู่มือสนับสนุนส่งเสริมศูนย์ ดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที

  • เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 4 สระบุรี ร่วมกับเทศบาลตำบลบางสีทอง จ.นนทบุรี จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Worker) หลักสูตร 120 ชั่วโมง แก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งเทศบาลตำบลบางสีทองเป็นพื้นที่นำร่องโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) โดยมี นายอภิสิทธิ์ วรรณตุง ท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานเปิดงานอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Worker) ผู้เข้าอบรมกว่า 70 คน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมงาน ได้แก่ Mr.Yoshito Enomoto ประธาน JICA ประจำประเทศไทย,นพ.ประพันธ์ ปลื้มภานุวัฒน์ หน.หน่วยปฐมภูมิ รพ.พระนั่งเกล้า,นพ.วิชัย รัตนพันธ์พานิชย์ ผอ.รพ.บางกรวย,ปลัดอาวุโส อำเภอบางกรวย,รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด,สสอ.ผอ.รพสต.,ดร.พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ จากกรมอนามัย ผู้แทนจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.นนทบุรี,ศูนย์สิรินธร กระทรวงสาธารณสุข,บ้านนนทภูมิ,ผู้แทน อบจ.และเกษตรตำบลบางสีทอง ทั้งนี้ตำบลบางสีทอง เป็น 1 ใน 6 พื้นที่นำร่องในการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร JICA ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2550-2560 ปัจจุบันการดำเนินงานมีความก้าวหน้าไปมาก มีการจัดตั้งศูนย์ Day care ในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและคนพิการจำนวน 2 แห่ง รวมถึงมีการให้บริการเชิงรุกในชุมชนร่วมกับหน่วยราชการในพื้นที่จำนวนมาก บางสีทองวันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความหวัง ที่จะได้เห็นต้นแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสดงศักยภาพในการจัดบริการด้านการดูแลผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 ในที่ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ครั้งที่ 4/2558 ที่ห้องราชา 2 ชั้น 11 โรงแรมปริ้นท์พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีพลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประชุมสมัชชาสุขภาพผู้สูงอายุระดับชาติ ปี พ.ศ.2558 ภายใต้แนวคิด "สังคมสูงวัย จะสร้างพลังอย่างไรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1)การส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ 2)บทบาทภาคเอกชนในยุคสังคมสูงวัย 3)การจัดการการสัญจรและระบบขนส่งสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ 4)ความพร้อมด้านวัฒนธรรม และ 5)พลังผู้สูงอายุไทยต้นแบบผู้สูงวัยอาเซียน โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และได้เห็นชอบ ให้เสนอรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2557 ต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาแนวทางการพัฒนาบทบาทการดำเนินงานของกองทุนผู้สูงอายุ โดยมีข้อสังเกตให้กองทุนผู้สูงอายุปรับปรุงการดำเนินงานให้ครอบคลุมในทุกมิติ อีกทั้งให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกและกระบวนการดำเนินงานของกองทุนผู้สูงอายุ โดยศึกษารูปแบบการกระจายอำนาจการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุในระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน รวมทั้งการระดมทุนหรือแสวงหาทรัพยากรแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ

              ในที่ประชุมยังได้พิจารณาประเด็นการขยายโอกาสการทำงานให้กับผู้สูงอายุ และการปรับนิยามผู้สูงอายุไทย ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ซึ่งที่ประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นและแนวทางการดำเนินการที่หลากหลาย โดยให้มีการศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายในการเปลี่ยนแปลงนิยามผู้สูงอายุให้รอบด้าน เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิของผู้สูงอายุ รวมทั้งนำข้อเสนอมาตรการการขยายอายุการทำงานไปทบทวน ศึกษาเพิ่มเติม และพิจารณากำหนดแนวทาง การดำเนินงานขยายโอกาสการทำงานให้กับผู้สูงอายุ เพื่อนำมาเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
                ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในประเด็นดังกล่าว รวมทั้ง ขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเตรียมการรองรับสังคมสูงวัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

  • เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดประชุมพัฒนาการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care “รวมพลังขับเคลื่อน สังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” ภาคเหนือ  ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่ โดยมีผู้บริหารจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และผู้รับผิดชอบงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ทั้งในระดับเขต จังหวัด และพื้นที่ และเครือข่าย 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ประมาณ 1,200 คน ร่วมประชุม  กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล (Long Term Care) จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน เป็นบริการเชิงรุกให้บริการถึงบ้าน เน้นการส่งเสริมสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพจากหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มีการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) หลักสูตร 70 ชม. เช่น การช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการใช้ยาในผู้สูงอายุ เป็นต้น เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงตำบลละไม่น้อยกว่า 10 คน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ขณะนี้ได้อบรมไปแล้วทั่วประเทศประมาณ 5,000 คน พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนในครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเป็นอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมต่อเนื่องและกลับมาพึ่งตนเองได้
  • มีนาคม 2559 จากรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนนิงานตามนโยบายรัฐบาลรอบ 18 เดือน ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2558 – 31 มีนาคม 2559 โดย กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีผลการดำเนินงานดังนี้ ได้จัดประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2559 เมื่อ มีนาคม 2559 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) เป็นประธานในการประชุม ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันนโยบายและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติ โดยการประชุมครั้งนี้มีสาระสำคัญประกอบด้วย คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติประกาศยกย่อง ดร.เสนาะ อูนากูล ผู้สูงอายุที่เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมเป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี 2559 การมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ตรงตามกำหนดเวลา การเพิ่มโอกาสการทำงานให้กับผู้สูงอายุ บูรณาการหน่วยงานและทุกภาคส่วนด้วยการกระจายงานสู่บ้าน ชุมชน ส่งเสริมให้มีการจ้างงานอย่างต่อเนื่องในภาคเอกชนรวมถึงการผลักดันนโยบายในการขยายอายุเกษียณราชการ นโยบายดังกล่าวเพื่อเร่งสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและการคุ้มครองทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุต่อไป
  • เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดทำบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) แบบบูรณาการในพื้นที่ ซึ่งทั้งสี่ฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล) สามารถจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบบูรณาการในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการบริการด้านการแพทย์เชิงรุกในพื้นที่โดยบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่
  • มกราคม 2559 จากรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลครั้งที่ 1/2559 (12 กันยายน 2558 – 31 มกราคม 2559) ในโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care ปี 2559 มีผลการดำเนินงานดังนี้
  • สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ค้นหากลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในตำบลเป้าหมาย 1,092 อปท. ซึ่งได้ผลสำรวจแล้ว จำนวน 860 อปท. พบกลุ่มติดบ้าน 161,996 ราย และกลุ่มติดเตียง 29,355 ราย
  • จัดการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) หลักสูตร 70 ชม. ให้เสร็จใน 28 กุมภาพันธ์ 2559 โดยในระยะเร่งด่วนนี้ได้จัดอบรม 2 วัน และอบรมต่อให้ครบตามหลักสูตรต่อไป เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ตำบลละไม่น้อยกว่า 10 คน ในตำบลพื้นที่เป้าหมายกำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนจะดูแลผู้สูงอายุ 10 คน
  • ส่งเสริมให้คนในครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงเป็นอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมต่อเนื่อง
  • จัดทำแผนการดูแลระยะยาว (Care Plan) สำหรับผู้ที่ต้องได้รับการดูแล โดยร่วมกับ อปท. รพ.สต. รพ.แม่ข่าย อสม./อผส. ชมรมผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ร่วมวางแผนการดูแลเฉพาะรายให้มีความเหมาะสม
  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการจัดสรรงบประมาณลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559
  • กุมภาพันธ์ 2559 จากรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลครั้งที่ 2/2559 (12 กันยายน 2558-29 กุมภาพันธ์ 2559) ในโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care ปี 2559 มีผลการดำเนินงานดังนี้
    • จัดการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) หลักสูตร 70 ชม. ให้เสร็จใน 28 กุมภาพันธ์ 2559 โดยในระยะเร่งด่วนนี้ได้จัดอบรม 2 วัน และอบรมต่อให้ครบตามหลักสูตรต่อไป เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ตำบลละไม่น้อยกว่า 10 คน ในตำบลพื้นที่เป้าหมายกำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนจะดูแลผู้สูงอายุ 10 คน มีผู้ผ่านการพัฒนาศักยภาพ Care Giver แล้ว จำนวน 5,079 คน
    • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกล สัตยาทร ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ลงนามใน ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราการชดเชยค่าบริการตามที่กำหนด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 4 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อนุกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย 1.ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือผู้บริหารอื่นที่ได้รับหมาย เป็นประธานกรรมการ 2.ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่หรือผู้แทน 4. สาธารณสุขอำเภอในพื้นที่หรือผู้แทน 5.หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐในพื้นที่หรือผู้แทน 6.ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข 7.ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพักพิงในพื้นที่ 8.ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมายเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยทำหน้าที่พิจารณาจัดหา กำหนดอัตราการชดเชย ค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  • มีนาคม 2559 จากรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลครั้งที่ 3/2559 (12 กันยายน 2558 - 31 มีนาคม 2559) ในโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care ปี 2559 มีผลการดำเนินงานดังนี้
    • ขับเคลื่อนและพัฒนาการดำเนินงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” 4 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคกลาง ณ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ณ จังหวัด เชียงใหม่ ผู้เข้าร่วม 5,367 คน
  • มีนาคม 2559 จากรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนนิงานตามนโยบายรัฐบาลรอบ 18 เดือน ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2558 – 31 มีนาคม 2559 โดย กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีผลการดำเนินงานดังนี้
    • การขยายผลระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน (บ้านกลางผู้สูงอายุ) เพื่อสร้างเสริมความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ห้แก่บุคลากรศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เพื่อสามารถให้บริการแก่ผู้สูงอายุในรูปแบบที่เหมาะสมตามบริบททางสังคมของผู้สูงอายุ และถ่ายทอดเทคโนโลยี และวิธีการดำเนินงานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (บ้านกลางของผู้สูงอายุ) ให้แก่หน่วยงาน ส่วนภูมิภาค และเครือข่ายผู้สูงอายุให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่ดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ จำนวน 1,028 แห่ง ประกอบด้วย พื้นที่เก่า 878 แห่ง พื้นที่ใหม่ 150 แห่ง มีผลการดำาเนินงาน ดังนี้
      1. ดำเนินการเสริมสร้างความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากรของบ้านกลาง และเร่งรัดจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของ พมจ. ทั้ง 76 จังหวัด จังหวัดละ 20,000 บาท งบประมาณ 1,520,000 บาท
      2. ขยายผลการดำเนินงานบ้านกลางผู้สูงอายุ 120 พื้นที่
      3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างกลไกการดูแลช่วยเหลือและป้องกันปัญหาทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ พมจ. อปท. และ อผส. โดยมีเนื้อหาในการบรรยายให้ความรู้ได้แก่ แผนการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางสังคมรายบุคคล (Social Care Plan) แนวทางการดำเนินงานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (บ้านกลางผู้สูงอายุ) การประยุกต์ใช้มาตรฐานบ้านพัก (Residential Home) สู่การปรับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 รุ่น ณ โรงแรมปริ๊นตั้น ปาร์ค สวีท กทม. รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 11-13 พ.ย. 2558 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 125 คน รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 17-19 พ.ย. 2558 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 122 คน
      4. จัดประชุมติดตามผลการดำเนินงานชุมชนร่วมเย็น ผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ พมจ. อปท. และ อผส. โดยมีเนื้อหาการบรรยายให้ความรู้ ได้แก่ แผนการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหารายบุคคล (Social Care Plan) การติดตามปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานปี 2558 และแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ที่มีผลงานดีเด่นด้านการดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยได้ดำเนินการแล้วจำนวน 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2558 ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 105 คน รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 15-17 ธ.ค. 2558 ณ โรงแรมเชียงใหม่ ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 100 คน
      5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างกลไกการดูแลช่วยเหลือและป้องกันปัญหาทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ผู้เข้ารับการอบรมได้แก่ พมจ. อปท. และ อผส. โดย มีเนื้อหาในการบรรยายให้ความรู้ ได้แก่ แผนการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางสังคมรายบุคคล (Social.Care.Plan).แนวทางการดำเนินงานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุใน ชุมชน (บ้านกลางของผู้สูงอายุ) การประยุกต์ใช้มาตรฐานบ้านพัก (Residential Home) สู่การปรับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 13-15 ม.ค. 2559 ณ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กทม. มีผู้เข้ารับการ อบรม จำนวน 133 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอาสาสมัครดูผู้สูงอายุ มี ความรู้ความเข้าใจระบบกลไก แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน (บ้านกลางของผู้สูงอายุ) ทำให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและประชาชนในชุมชน รวมทั้งสามารถตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุที่ครอบคลุมทุกมิติ ส่งผลต่อผู้สูงอายุอย่างทั่วถึงเท่าเทียม และยกระดับให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
      6. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-5 ก.พ. 2559 ณ โรงแรมดุสิต ปริ๊สเซส จ.นครราชสีมา มีผู้เข้ารับการอบรม 85 คน ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ และมีแนวทางในการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุ สามารถจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางสังคมรายบุคคล (Social Care Plan)
      7. ขยายผลกลไกการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนแล้ว 217 พื้นที่ คิด เป็น ร้อยละ 33.18
      8. ส่งเสริมระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว โดยใช้กลไกระดับพื้นที่เป็นหลัก เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิผู้สูงอายุการคุ้มครองทางสังคม การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะยากลำบาก การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ และสนับสนุนการประกอบอาชีพและการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุแก่ประชาชนทั่วไปให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาเพื่อการประกอบอาชีพมากขึ้น ทั้งนี้ ผส. ได้ให้การสนับสนุนการรวมกลุ่ ประกอบอาชีพผ่านกองทุนผู้สูงอายุ
  • กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 30 เมษายน 2560 โครงการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care ได้ดำเนินการดังนี้
    • ชี้แจงการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้แก่ภาคีเครือข่าย 210 คน
    • พัฒนาฟื้นฟูทักษะของผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) 390 คน
    • พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านกฎหมายสาธารณสุขในการควบคุมการประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในระดับท้องถิ่น 108 คน ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
    • พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตามแนวทางความร่วมมือ 4 กระทรวงหลัก
    • จัดนิทรรศการสนับสนุนการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในเขตเมือง
    • ตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40.3 จากเป้าหมายร้อยละ 50 ของตำบลที่เข้าร่วมโครงการ
    • อบรม Care Manager 3,379 คน (เป้าหมาย 3,480 คน) Care Giver 5,792 คน (จากเป้าหมาย 13,920 คน)
    • จัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุ (Care Plan) 14,341 คน (จากเป้าหมาย 150,000 คน)
  • กรมกิจการผู้สูงอายุ กรระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษญ์ ได้จัดประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดหลักสูตรเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างมีประสิทธิภาพและผู้เข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพเรื่อง กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ ซึ่งมีผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 100 คน นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนงบประมาณให้กับศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม 12 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)
  • เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2560 กรมกิจการผู้สูงอายุได้จัดประชุมชคณะอนุกรรมการบูรณาการจัดทำมาตรฐานดูแลผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/2560
  • ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ได้ดำเนินการปรับปรุงบ้านแล้ว 850 แห่ง และปรับปรุงสถานที่ 45 แห่ง

 

ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลิตและธำรงรักษาบุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด พยาบาลด้านเวชปฏิบัติชุมชน พยาบาลด้านผู้สูงอายุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และบุคลากรระดับผู้ช่วยวิชาชีพ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • กระทรวงสาธารณสุข อยู่ระหว่างการศึกษากำลังคนด้านการดูแลระยะยาวและส่งเสริมการพยาบาลที่บ้าน
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีแผนสร้างศูนย์สวัสดิการและอบรมการดูแลผู้สูงอายุอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์สาธิตการอบรมดูแลผู้สูงอายุ
  • สภาการพยาบาล จัดทำรายงานข้อเสนอการจัดบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้สถานศึกษาทุกระดับจัดให้มีหลักสูตรด้านการดูแลผู้สูงอายุ
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • มีหลักสูตรการพยาบาลผู้สูงอายุในบางสถาบันการศึกษา
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดให้มีหลักสูตรด้านการดูแลผู้สูงอายุ
  • กระทรวงศึกษาธิการได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2559 – 31 พฤษภาคม 2560 ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ดังนี้
    • วิทยาลัยชุมชนจัดการศึกษาและให้บริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพและคุณภาพชีวิต หลักสูตรเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุแก่กลุ่มเป้าหมายนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ 20 จังหวัดที่วิทยาลัยชุมชนตั้งอยู่ โดยในปี 2559 มีผู้รับบริการหลักสูตรอนุปริญญา สาขาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนจำนวน 26 คน ผู้รับบริการกิจกรรมหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 590 คน และผู้รับบริการกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ชุมชน โครงการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 879 คน/ 12 ชุมชน
    • โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สำนักงาน กศน. โดย กศน.อำเภอ/เขตและ กศน.ตำบล จัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัยและความต้องการ เน้นให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเอง เพื่อจะได้ไม่เป็น “ผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง) ในบั้นปลายชีวิต เห็นคุณค่าของตัวเอง รวมทั้งให้เยาวชนและคนวัยทำงานตระหนักและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุเกิดการเกื้อกูลระหว่างวัยภายในครอบครัวและชุมชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25,787 คน
    • โครงการจัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน กศน.จัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุตามโครงการจัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการผู้สูงอายุ จำนวน 154 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงขับเคลื่อนการจัดอบรมในพื้นที่ รายละเอียดการดำเนินงาน 2 หลักสูตร ดังนี้ (1) หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง เพื่อสนับสนุนระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของกระทรวงสาธารณสุข และการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในชุมชน มีผู้เข้ารัยการอบรมจำนวน 4,700 คน และ (2) หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง สำหรับการสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ประชากรวัยแรงงาน มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 840 คน
ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุข สภาการพยาบาล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทยร่วมกันจัดทำมาตรฐานและกลไกระดับชาติในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง แบบมีส่วนร่วมจากชุมชน ท้องถิ่นและผู้สูงอายุ ตลอดจนการกำกับมาตรฐานดังกล่าวให้ครอบคลุมทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • สภาการพยาบาล ได้แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการกำหนดระบบและหลักเกณฑ์มาตรฐานกิจการการให้บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ และพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและอบรมด้านการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน" คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดระบบและหลักเกณฑ์มาตรฐานกิจการการให้บริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ และพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและอบรมด้านการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านได้มีการประชุมและได้กำหนดกรอบในการพิจารณาข้อเสนอการจัดบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดทำ (ร่าง) มาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุเสร็จแล้ว และจะมีการดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะต่อไป
  • กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานสถานบริบาล และอยู่ในขั้นตอนของกองการประกอบโรคศิลปะ และมีแนวโน้มการส่งเสริมการทำศูนย์ดูแลพักพิงรายวัน (Day Care) ในชุมชนโดยเชื่อมโยงกับกับงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 ในการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 โดยมี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม ที่ประชุมได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบูรณาการจัดทำมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุใน 3 เรื่อง หลักสูตรการดูแล และสถานดูแลผู้สูงอายุ และที่ประชุมเห็นชอบในหลักการเรื่องการถ่ายโอนภารกิจการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 3 ภารกิจคือ 1) การสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 2) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) 3) งานอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4
ผลการปฏิบัติงาน: 

            ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ได้มีการติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในเรื่องนี้ ที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • การขับเคลื่อนงานมีการดำเนินงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติการฯ ไม่ได้กระตุ้นให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการเร่งด่วนเป็นภารกิจสำคัญ เป็นเพียงการสนับสนุนในภารกิจที่เกี่ยวข้อง และเมื่อพิจารณาผู้รับประโยชน์จากแผนปฏิบัติการฯ ยังขาดความชัดเจนในการวัดผลลัพธ์
  • เสนอให้ คมส. ประสานกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วม
  • ศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อประเด็นปฏิรูประบบประกันสังคม 
เอกสารหลัก: 
เอกสารมติ: