You are here


การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน
สมัชชาครั้งที่: 
7
มติที่: 
3
ชื่อมติ: 
การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ และกรมประมง เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หน่วยงานวิชาการ และหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีให้เสร็จภายใน 3 เดือน หลังเสนอมติต่อคณะรัฐมนตรี
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 ในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสังคมและสุขภาวะ ครั้งที่ 2/2558 ณ ห้องประชุมอาคารสุขภาพแห่งชาติ ที่ประชุมได้รายงานการทำงานร่วมกับหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย โดยกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 หนังสือที่ มท 0891.3/ว 4798 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2558  ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่อง การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 โดยมีมติที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 มติ ได้แก่  มติ 7.1 การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง   มติ 7.3 การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน มติ 7.4 การจัดการสเตอรอยด์ที่คุกคามสุขภาพคนไทย  โดยให้จังหวัดรวบรวมรายงานการผลการดำเนินการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ ภายในวันที่ 30  ตุลาตม 2558    
  • เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติและเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ป 2559-2568 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอ ดังนี้
  1. อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
    ปี 2559-2568 เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
  2. เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ 2 ระยะ โดย 

          2.1 ระยะเริ่มต้น 3 ปี (2559-2561) เป็นโครงการรณรงค์การกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี  ในปีพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งเสด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตลอดจน ในปีพุทธศักราช 2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา

          2.2 ระยะที่ 2 เป็นการขับเคลื่อนตามมาตรการของแผนยุทธศาสตร์ในระยะเวลาที่เหลือ (2562-2568) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ ส่งผลให้การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเกิดความยั่งยืน และผลักดันให้เป็นการดำเนินงานในแผนงานปกติในอนาคตต่อไป

     3. สนับสนุนงบประมาณการขับเคลื่อนตามมาตรการของแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้สามารถดำเนินการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนในอนาคต

     4. มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขนำแผนดังกล่าวมาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการตามกรอบระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล (ถึงเดือนกรกฎาคม 2560) ทั้งนี้ กิจกรรมใดที่เป็นการดำเนินการ
ซึ่งเกินกว่ากรอบระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ให้นำเรื่องดังกล่าวบรรจุไว้ในแผนปฏิรูปเพื่อให้รัฐบาลชุดต่อไปที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินพิจารณาดำเนินการต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามนัยมติคณรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 เรื่อง การเสนอโครงการที่ต้องขออนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการงานโครงการแก้ไขปัญหาและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในปีพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตลอดจนในปีพุทธศักราช 2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา พร้อมกันนี้ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์“ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี พ.ศ. 2559-2568” ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 ตั้งเป้าใน 10 ปีข้างหน้า คนไทยจะติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ น้อยกว่าร้อยละ1 หรือ 6แสนราย กลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดี ได้รับการคัดกรองและรักษา ลดอัตราการเสียชีวิตลง ร้อยละ 50 ชุมชนมีความตระหนัก มีส่วนร่วมแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน มีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ปลาที่บริโภคปลอดโรคพยาธิ โดยปลาธรรมชาติมีพยาธิน้อยกว่า ร้อยละ 1 โดยใช้ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ปลาปลอดพยาธิ 2.คนปลอดพยาธิ โดยการคัดรกองพยาธิใบไม้ตับ และรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน 3.คัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ 4.การส่งต่อและรักษาหวังผลรักษาหายขาด ตลอดจนการรักษาแบบประคับประคอง และ5.ระบบสนับสนุน ด้วยการจัดทำฐานข้อมูล รอบรมบุคลากร การวิจัยและการให้ความรู้กับประชาชน เป็นต้น สำหรับการดำเนินงานในปี 2560 จะขยายพื้นที่ดำเนินการจาก 84 ตำบลเป็น 190 ตำบล ใน 27 จังหวัดที่มีอัตราการติดเชื้อสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง พร้อมทั้งตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปให้ได้ 129,200 ราย ตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี ในประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป 160,000 ราย รักษาด้วยการผ่าตัดผู้ป่วยใหม่ 800 ราย การดูแลประคับประคอง 7,500 ราย จัดการเรียนการสอน และจัดการสิ่งแวดล้อมและสิ่งปฏิกูล ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 190 ตำบล

ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
เพื่อให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอให้หน่วยงานต่างๆภายในกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการในประเด็นต่อไปนี้
รายละเอียด: 

2.1 กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป เป็นแกนหลักในการผลักดัน ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี พัฒนาองค์ความรู้ จัดระบบเฝ้าระวังโรค ตรวจคัดกรอง สนับสนุนด้านวิชาการในการป้องกันควบคุมโรค และติดตามความก้าวหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ฯร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม

2.2 กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พัฒนาระบบทะเบียนมะเร็งท่อน้ำดีและสนับสนุนวิชาการ การฝึกอบรมบุคลากร ผลักดันการคัดกรอง วินิจฉัย รักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีให้ได้ในระยะแรกเริ่ม

2.3 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในพื้นที่ตำบลจัดการสุขภาพ ให้เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน มีความรู้ในการป้องกันโรค  จัดกระบวนสร้างสุขนิสัย และร่วมกับผู้นำท้องถิ่นจัดกิจกรรมรณรงค์ ตลอดจนทำตัวเป็นแบบอย่างในพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ที่นำไปสู่การป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่

2.4 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการในการตรวจวินิจฉัย การคัดกรอง และการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยมีบุคลากรที่มีทักษะทั้งในด้านการป้องกันควบคุมโรค เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและให้มีระบบในการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดให้มีการฝึกอบรมศัลยแพทย์เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดที่มีปัญหา ให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพื่อการตรวจรักษาในพื้นที่ของตนเองได้และไม่เป็นภาระด้านการเงินกับผู้ป่วยและครอบครัว

2.5 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานด้านมะเร็งสกลนคร อโรคยศาลวัดคำประมง และสถานพยาบาลที่มีความพร้อมด้านแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เป็นโรงพยาบาลนำร่ององค์กรภาคีเครือข่ายและจิตอาสา ซึ่งมีบทบาทและเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) ผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้สมุนไพรไทยและภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ร่วมกับการดูแลแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

2.6 กรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านอาหาร/ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านให้มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและขอความร่วมมือมิให้มีการจำหน่ายอาหารเมนูปลาดิบ (ปลาน้ำจืดมีเกล็ด) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนพยาธิใบไม้ตับสู่อาหาร และสนับสนุน ส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีข้อบัญญัติหรือมาตรการสังคมในการกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในปี 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตลอดจนในปี 2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม ผลักดันให้ปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นวาระประเทศ โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการทศวรรษกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี พ.ศ. 2559-2568 มีเป้าหมายใน 10 ปีข้างหน้า คนไทยจะติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับน้อยกว่า 6 แสนราย กลุ่มเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีได้รับการคัดกรองและรักษา ลดอัตราการเสียชีวิตลงร้อยละ 50 จาก 40 ต่อแสนประชากร เหลือ 20 ต่อแสนประชากร ด้วย 5 มาตรการ คือ1.ปลาปลอดพยาธิ 2.คนปลอดพยาธิ 3.การคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ 4.การส่งต่อและการรักษาหวังผลรักษาหายขาด การรักษาแบบประคับประคอง และ5.ระบบสนับสนุน อาทิ การจัดทำฐานข้อมูล การวิจัย ให้ความรู้ประชาชน เป็นต้น สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ จะดำเนินการในหน่วยบริการทุกระดับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยระดับปฐมภูมิให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตรวจคัดกรองพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่งต่อประชาชนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติเสี่ยงไปโรงพยาบาลชุมชนเพื่อคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี ให้การรักษาด้วยยาถ่ายพยาธิ ติดตามผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทุกรายให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อซ้ำ ลงข้อมูลผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ การรักษา และผลการตรวจ พยาธิในปลา สุนัขและแมว ในฐานข้อมูลอีสาน โคฮอร์ท (Isan-cohort) ระดับทุติยภูมิ ให้โรงพยาบาลชุมชนคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยอัลตร้าซาวด์ ส่งรักษาต่อในกรณีพบว่าสงสัยเป็นมะเร็งท่อน้ำดีไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษาและโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และลงข้อมูลในฐานข้อมูล อีสาน โคฮอร์ท ส่วนระดับตติยภูมิให้โรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการรักษาและโรงพยาบาลศรีนครินทร์  ที่ได้รับการส่งต่อตรวจเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย รักษาด้วยการผ่าตัดและยาเคมีบำบัด ฝึกอบรมทีมผ่าตัด รวมทั้งให้คำปรึกษาทางเว็บไซต์ และการลงข้อมูลในฐานข้อมูลอีสาน โคฮอร์ท
  • เมื่อวันที่ 2-4 สิงหาคม 2560 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดการประชุมวิชาการโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2560 พต้อมมอบรางวัลตำบลจัดการสุขภาพดีเด่นระดับชาติ ณ โรงแรมอวานี จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขมุ่งลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามยุทธศาสตร์ที่ต้องการให้ทุกหมู่บ้านปลอดจากโรคพยาธิใบไม้ตับในปี 2568 และยกย่องเชิดชูตำบลจัดการสุขภาพดีเด่นระดับชาติในการป้องกัน ควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามแนวคิดประชารัฐที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเองตามบริบทพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและยั่งยืน ได้แก่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยแนวคิด “เจ้าท่า โมเดล” ที่เด่นด้วยการตรวจอุจจาระ ค้นหาผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับและคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาของประชาชนด้วย
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
3. ขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ในพื้นที่กำหนดเรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญ และสนับสนุนงบประมาณให้ภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริม ป้องกัน ควบคุมและแก้ไข ปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่เสี่ยง และติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมในแต่ละพื้นที่ ในการส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นออกข้อบัญญัติหรือมาตรการสังคมในการกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การรักษาความสะอาดในที่สาธารณะ รวมทั้งมีระบบการเฝ้าระวังการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในท้องถิ่น ตลอดจนแก้ไขปัญหาเรื่องพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่เสี่ยงตามศักยภาพและสถานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง
ข้อที่: 
5
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการในประเด็นต่อไปนี้
รายละเอียด: 

5.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น เพื่อให้เด็กเตรียมอนุบาล วัยเรียน วัยรุ่น มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและมีค่านิยมในการกินอาหารที่ปลอดภัยไม่กินอาหารเสี่ยงและปรุงดิบ

5.2 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) สถาบันอุดมศึกษา การศึกษาอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น เพื่อให้นักศึกษา และประชาชน มีความรู้และเกิดความ ตระหนักและมีค่านิยมไม่กินอาหารปรุงดิบ

ข้อที่: 
6
ชื่อรายการ: 
ขอให้กระทรวงคมนาคม มีมาตรการในการจัดการสิ่งปฏิกูลที่มีประสิทธิภาพในระบบคมนาคมขนส่งทางบกและทางน้ำ โดยเฉพาะทางรถไฟ รถประจำทางและเรือโดยสาร
ข้อที่: 
7
ชื่อรายการ: 
ขอให้สถาบันอุดมศึกษา ร่วมกับกรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมควบคุมโรค กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมมือศึกษาวิจัยทางสังคม พฤติกรรม นิเวศวิทยา การเกิดโรคและการรักษา และการได้มาซึ่งความรู้อันจะนำไปสู่การกำจัดปัญหานี้รวมถึงส่งเสริมการนำผลวิจัยไปใช้กำหนดนโยบาย มาตรการสังคมและท้องถิ่น
ข้อที่: 
8
ชื่อรายการ: 
ขอให้กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนการขับเคลื่อนทางสังคมและสื่อสารสาธารณะ ร่วมกับองค์กรอื่นๆให้ประชาชนรับรู้เข้าใจ ตระหนักถึงภาวะเสี่ยง ป้องกันตนเองจากการติดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม
ข้อที่: 
9
ชื่อรายการ: 
ขอให้สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้จัดสมัชชาสุขภาพในระดับพื้นที่ ส่งเสริมและติดตามผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าในพื้นที่ของตนเอง
ข้อที่: 
10
ชื่อรายการ: 
ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8
เอกสารหลัก: