You are here


นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะของแรงงานนอกระบบ
สมัชชาครั้งที่: 
1
มติที่: 
12
ชื่อมติ: 
นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะของแรงงานนอกระบบ
รายละเอียดมติ: 
ข้อที่: 
1
ชื่อรายการ: 
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รายละเอียด: 

1.1 ร่วมกันกำหนดนิยาม คำจำกัดความของ “แรงงานนอกระบบ” และสนับสนุนการพัฒนาฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติงาน โดยมีกระทรวงแรงงานเป็นแกนกลางรับผิดชอบดำเนินงานร่วมกับภาคีอื่น

1.2 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายการทำงานในความปลอดภัย ด้านอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระหว่างเครือข่ายและหน่วยงานทางวิชาการ เช่น กรมควบคุมโรค กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ฯลฯ เพื่อสามารถสนับสนุนด้านวิชาการแก่บุคลากรสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มแรงงานนอกระบบ

1.3 ส่งเสริมและพัฒนาจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่กลุ่มแรงงานนอกระบบรวมทั้งผู้ว่าจ้างและเจ้าของสถานประกอบการ และจัดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านแรงงานและการให้คำปรึกษา เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • นางสุนทรี หัตถีเซ่งกิ่ง เครือข่ายหญิงอีสานและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (HomeNet Thailand) ได้นำเสนอบทความวิชาการเรื่อง "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการผลักดันนโยบายเพื่อการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ" ในงานสัมมนาวิชาการประจำสถาบันเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีแห่งการก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย 1) ได้ทบทวนวรรณกรรมพบว่า ในขณะนี้มีการให้คำนิยามของคำว่า "แรงงานนอกระบบ" ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ กระทรวงแรงงาน ให้ความหมายว่า "คือผู้มีงานทำ มีค่าตอบแทนหรือรายได้จากการทำงาน ไม่มีสภาพเป็นลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน" สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความหมายว่า "ผู้มีงานทำที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 10 คน ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ผู้ที่ช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่มีค่าจ้าง ทั้งนี้ไม่รวมลูกจ้างและข้าราชการในภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ" ในขณะที่สำนักงานประกันสังคม ได้ให้ความหมายว่า "หมายถึงผู้ที่มีงานทำ มีรายได้และไม่อยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับปัจจุบัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ก. กลุ่มที่มีการทำงานหรือรับจ้างและมีรายได้ เช่น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับจ้างทำของ ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้และเลี้ยงสัตว์ ลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวหรือเป็นฤดูกาล ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน อันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และ ข. ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีลูกจ้าง เช่น คนขับรถรับจ้างทั่วไปทั้งที่เป็นรถของตนเอง หรือรถเช่า หาบเร่แผงลอย ช่างเสริมสวย ช่างตัดผม ช่างซ่อมรองเท้า หรือร้านขายยา ทนายความ แพทย์เป็นบุคคลที่ไม่ได้รับราชการ และไม่มีเงินเดือนประจำ 2) ข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ รวม 5 เรื่อง คือ 2.1 การมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบตามมาตรฐานแรงงานสากล ซึ่งปัจจุบันกำลังขับเคลื่อนให้มี พรบ.คุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน 2.2 การขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ เพื่อเป็นหลักประกันในเรื่อง อุบัติเหตุและบาดเจ็บจากการทำงาน ความเจ็บป่วย การคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร การว่างงาน ทุพพลภาพ ชราภาพและการเสียชีวิต ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 40 ของ พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 2.3 การพัฒนาสิทธิประโยชน์และการบริการของระบบหลักประกันสุขภาพ ให้มีมิติเรื่องอาชีวอนามัยและสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน โดยขณะนี้ HomeNet ดำเนินการใน 10 เทศบาล/อบต. ทั่วประเทศ 2.4 การผลักดันนโยบายสวัสดิการชราภาพและกองทุนออมเพื่อการชราภาพ เพื่อให้เป็นหลักประกันในยามชราของแรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไป และ 2.5 การพัฒนานโยบายและงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ HomeNet ได้ดำเนินการแล้วใน 55 เทศบาล/อบต.ทั่วประเทศ
  • เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2552 คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และแผนงานคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ประสานความร่วมมือจัดงานรณรงค์และทำข้อเสนอต่อรัฐบาล ในการปกป้องคุ้มครองให้แรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้านได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจในระดับการรับรู้ เรียนรู้ทางสังคม เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในชาติ และภูมิภาค โดยจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ”อนาคตแรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้าน กับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิกฎหมายแรงงานไทย“ ในโอกาสนี้ กลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ เครือข่ายแรงงานทำงานบ้าน มูลนิธิร่วมมิตรไทย –พม่า มูลนิธิ MAP มูลนิธิเพื่อนหญิง ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน ได้รวบรวมข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน รวม 6 ข้อ คือ 1) ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน โดยบัญญัติว่าต้องคุ้มครองแรงงานที่ทำงานบ้านอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกับแรงงานในภาคส่วนอื่น 2) ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดการตรวจสอบ ดูแลความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เช่น ต้องให้นายจ้างจัดหาความจำเป็นขั้นพื้นฐานให้แก่ลูกจ้างทำงานงานตามความเหมาะสมกับฐานะของผู้ว่าจ้าง ได้แก่ การจัดหาที่พักอาศัยที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ มีอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด เป็นต้น 3) ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้จัดให้นายจ้างนำพาลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่การมีบัตรประกันสังคม เพื่อสวัสดิการทางสังคมของลูกจ้างและครอบครัวในอนาคตและเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 4) ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้คุ้มครองสิทธิและกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างทำงานบ้านที่เป็นเด็ก ทั้งนี้ ห้ามมิให้นายจ้างจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีและห้ามมิให้แรงงานเด็กทำงานบ้านเกินวันละ 8 ชั่วโมง 5) ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้จัดทำระบบการคุ้มครองทางทะเบียนลูกจ้างแรงงานทำงานบ้านโดยให้นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้างได้ทำการแจ้งการจ้างลูกจ้างต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการติดตาม คุ้มครองจากพนักงานตรวจแรงงาน อีกทั้งสามารถทราบตัวเลขที่แท้จริงของแรงงานในภาคส่วนนี้ได้อย่างเป็นระบบ 6) ขอให้รัฐบาลจัดทำนโยบายแผนและงบประมาณ เพื่อการส่งเสริม พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างทำงานบ้าน เช่น การจัดทำหลักสูตรและฝึกอบรม การให้บริการ การทำอาหารอย่างอาชีพ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการไปฝึกอบรม และการไปศึกษา นายจ้างต้องอนุญาตให้ไปตามคำร้องขอจากลูกจ้าง และต้องจ่ายค่าจ้างเสมือนการมาทำงานให้กับนายจ้างตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้
  • เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้จัดงานเสวนา “แรงงานนอกระบบกับความมั่นคงทางสุขภาพ” โดยมี ศิรินา ปวโรฬารวิทยา รองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นประธานเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอันนำไปขับเคลื่อนสู่การสร้างสุขภาวะสวัสดิการที่ดีให้กับแรงงานนอกระบบ และได้ร่วมกันกำหนดนิยาม “แรงงานนอกระบบ”
  • เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอดังนี้    

            (1) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป

            (2) อนุมัติให้ถอนร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 พ.ศ. .... (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552) ออกจากชั้นการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

            (3) มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ พิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และกรอบอัตรากำลังเพิ่มเติมให้แก่หน่วยงาน ดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลตามแผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย ในการสร้างระบบความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมให้แก่แรงงานนอกระบบ และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2554

  • เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
  • เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ปรากฎในแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ต่อไป
  • คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ปี 2555 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในการประชุมครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอดังนี้

           (1) เร่งรัดดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2553 ที่ได้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้วให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 14 มิถุนายน 2555 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้

                1.1  กระทรวงมหาดไทย (มท.) อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแก่แรงงานต่างด้าว โดยให้อยู่ในราชอาณาจักรถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2555 เพื่อไปดำเนินการพิสูจน์สัญชาติและไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 รวมทั้งให้ มท. ออกประกาศรับรองการใช้เอกสารแทนหนังสือเดินทางและกำหนดเงื่อนไขรองรับการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อไปพิสูจน์สัญชาติในประเทศของตน รวมทั้งออกประกาศยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ให้สามารถใช้หนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลเพื่อขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลา 2 ปี สามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี และสามารถทำงานเป็นกรรมกรหรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกายได้ (ในกรณีประกาศฉบับเดิมไม่ครอบคลุมถึง)

               1.2  สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการรับตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี ให้แก่แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ณ ศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่ตั้งขึ้นหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือในสถานที่อื่นๆ ตามความเหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้างที่จะพาแรงงานต่างด้าวไปดำเนินการโดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท และสามารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียว ค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาทเช่นกัน

               1.3  กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแก่แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับการขยายเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2555 โดยแรงงานต่างด้าวชำระค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพในอัตราที่ สธ. กำหนด

               1.4  กรมการจัดหางาน ดำเนินการพิจารณาอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับการขยายเวลาการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2555 โดยแรงงานต่างด้าวต้องยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและดำเนินการเร่งรัดให้แรงงานต่างด้าวดังกล่าวเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด เมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วให้ยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานใหม่ โดยชำระค่าขอและค่าธรรมเนียมในอัตราที่กฎหมายกำหนดและให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในช่วงเวลาที่ทับซ้อนกัน

               1.5  สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม

               1.6  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวที่ไม่พิสูจน์สัญชาติและลักลอบทำงานรวมทั้งนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้นำพาและผู้ให้ที่พักพิงแรงงานต่างด้ด้าวผิดกฎหมาย

ในระหว่างที่ดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติไปพลางก่อนได้

        (2) การพิสูจน์แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและได้รับอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ซึ่งใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ 14 มิถุนายน 2555 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้

              2.1  มท. ดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รับรองการใช้เอกสารแทนหนังสือเดินทางของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขรองรับการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อไปพิสูจน์สัญชาติในประเทศของตน รวมทั้งออกประกาศยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา โดยมิให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาใช้บังคับกับแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วให้สามารถใช้หนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลเพื่อขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลา 2 ปี สามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี และสามารถทำงานเป็นกรรมกรหรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกายได้

              2.2  กระทรวงการต่างประเทศ มอบอำนาจให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการรับตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี ให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและสามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี

              2.3  สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการจัดส่งเจ้าหน้าที่ในจำนวนที่เหมาะสมเพื่อรับตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี ให้แก่แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและสามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ณ ศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่ตั้งขึ้นหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือในสถานที่อื่นๆ ตามความเหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้างที่จะพาแรงงานต่างด้าวไปดำเนินการ โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท และสามารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียวค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาทเช่นกัน

             2.4  สธ. ดำเนินการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ

             2.5  กรมการจัดกางาน พิจารณาอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและได้รับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู้ในราชอาณาจักร โดยแรงงานต่างด้าวต้องยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎหมายกำหนด และยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานในช่วงเวลาที่ทับซ้อนกัน

             2.6  สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม

             2.7  ตช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวที่ไม่พิสูจน์สัญชาติและลักลอบทำงานภายหลังสิ้นสุดการผ่อนผันให้อยู่ในราขอาณาจักรแล้ว รวมทั้งนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้นำพาและผู้ให้พักพิงแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

             ในระหว่างที่ดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แรงงานพม่า ลาว และกัมพูชา ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติไปพลางก่อนได้

      (3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐจากอัตราปกติ 2,000 บาทเหลือ 500 บาท และสามารถอยู่ต่อได้อีกครั้งเดียวค่าธรรมเนียมในอัตราปกติ 500 บาทเช่นกันโดยให้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 4 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับซึ่งเท่ากับระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตทำงานโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้

           3.1  มท. ออกกฎกระทรวงมารองรับในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวในอัตรา 500 บาท และสามารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียว ค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท เช่นกัน โดยให้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 4 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้

           3.2  สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการดังนี้

                 3.2.1 กรณีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชานำเข้าโดยถูกต้องตามกฎหมาย ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี เมื่อแรงงานต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกำหนดระยะเวลาอนุญาตแล้วหากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อทำงานให้สามารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท

                 3.2.2 กรณีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท และสามารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียว ค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาทเช่นกัน

       (4) การขยายระยะเวลาการเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 เห็นควรให้ขยายเวลาจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ออกไปอีก 1 ปี โดยให้กรมการจัดหางานออกกฎกระทรวงมารองรับการดำเนินการ

           ทั้งนี้กรอบระยะเวลาการดำเนินการให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการได้ทันทีนับแต่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยไม่ต้องรอการยืนยันจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

  • เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในโอกาสให้การต้อนรับ น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติและคณะ ในโอกาสเข้าหารือแนวทางการคุ้มครอง ส่งเสริม และการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ โดยมีนายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะผู้บริหาร เข้าร่วม ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงานเห็นความสำคัญของแรงงานนอกระบบ ต่อไปต้องมีคณะทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินงานเรื่องของแรงงานนอกระบบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ภาครัฐก็ต้องปรับตัวเองให้เป็นฝ่ายสนับสนุน ส่วนข้อเท็จจริงคณะทำงานแรงงานนอกระบบต้องช่วยกันขับเคลื่อนการทำงาน บริหารจัดการ  ส่วนเรื่องของอาสาสมัครแรงงาน มอบให้ปลัดกระทรวงแรงงาน ดำเนินการพิจารณารับข้อสังเกตต่างๆ มาเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป สำหรับข้อเสนอนโยบายเพื่อการคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ประกอบด้วย ให้คงคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ (คนช.) และเสนอให้เป็นมติคณะรัฐมนตรี  เร่งรัดให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553  พิจารณาให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ การปรับปรุงกลไกบริหารจัดการและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมแรงงานนอกระบบ ตามระบบประกันสังคมมาตรา 40  ฯลฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แรงงานนอกระบบได้มีหลักประกันสังคมมากที่สุด อาทิ สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาหน่วยบริการชุมชน ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้จูงใจและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ สังคมปัจจุบัน เป็นต้น นอกจากนี้ ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ยังได้เสนอให้พิจารณาทบทวนการคัดเลือก แต่งตั้ง การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครแรงงาน (อสร.) และศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ  รวมถึงสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรแรงงานนอกระบบระดับชาติและระดับปฏิบัติการ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงการคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งภายในชุมชน/องถิ่น จังหวัดและระดับชาติ  พิจารณา ทบทวน และปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้านให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และขอให้มีคณะกรรมการประสานยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบภายในกระทรวงทั้งในระดับกระทรวงและระดับจังหวัด
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เชิญ นางสาวอรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ พร้อมคณะ มาประชุม แลกเปลี่ยน เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันขับเคลื่อน ‘งาน’ แรงงานนอกระบบ ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับ ปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชนที่ยากจน เร่งรัดให้ทุกหน่วยได้เข้าไปช่วยเหลือ สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ ขณะนี้กระทรวงแรงงาน ต้องมีความชัดเจนให้ได้ว่า กลุ่มแรงงานนอกระบบที่อยู่ในข่ายความยากจน ที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นลำดับแรกๆ นั้นอยู่ที่ไหน โดยภาพรวมกลุ่มแรงงานนอกระบบที่มีอยู่ในขณะนี้ราว 25.1 ล้านคน ทราบว่าอยู่ในภาคการเกษตรแล้ว 15 ล้านคน จึงจำเป็นต้องเร่งสำรวจเพื่อทำให้แรงงานนอกระบบ ที่อยู่ในข่ายจะต้องได้รับการดูแลคุ้มครอง ได้‘มีตัวตน’ ที่ชัดเจนเพื่อจะได้ ‘เข้าถึง’ บริการและการช่วยเหลือจากภาครัฐ ให้มีความมั่นคงในเรื่องรายได้และ อาชีพ เป็นลำดับแรก ซึ่งจะให้กลไกของคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และดำเนินงานให้ทุกภาคส่วนไปในทิศทางเดียวกัน เริ่มที่จังหวัดที่อาสาสมัครและมีความพร้อมและได้ให้ผู้รับผิดชอบไปปรับแผนยุทธศาสตร์ให้ชัด-กระชับ ขึ้น
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 ปลัดกระทรวงแรงงานมอบหมายให้แรงงานจังหวัดลงพื้นที่ ทุกจังหวัดลงพื้นที่พบประชาชน เร่งดำเนินการสำรวจจำนวนที่แท้จริงแรงงานนอกระบบว่าทำงานอยู่ในอาชีพใดบ้าง เพื่อทำให้แรงงานนอกระบบที่อยู่ในข่ายได้รับการดูแลคุ้มครอง เข้าถึงบริการ และได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐให้มีความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ พร้อมผลักดันให้อาสาสมัครแรงงาน (อสร.) มีส่วนร่วมดำเนินการสำรวจแรงงานนอกระบบ แรงงานจังหวัดทุกจังหวัด อาจประสานขอความร่วมมือกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ทราบจำนวนแรงงานอกระบบที่แท้จริงโดยเร็ว เมื่อทราบจำนวนที่แท้จริงแล้วว่าอยู่ในอาชีพใดบ้าง อาจประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยเหลือแรงงานนอกระบบที่อยู่ในภาคการเกษตร และประสานกระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือแรงงานนอกระบบในภาคการผลิตอีกทางหนึ่ง สำหรับในส่วนของการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนนั้น กระทรวงแรงงาน มีกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบ และอุปกรณ์ในการผลิตหรือขยายการผลิตเพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่ผ่านมาการเข้าถึงกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านอาจทำได้ยากจึงอาจมีการปรับเปลี่ยนระเบียบขั้นตอนให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ พร้อมมอบนโยบายการปฏิบัติราชการให้แก่แรงงานจังหวัดว่า แรงงานจังหวัดทุกจังหวัดต้องเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือพร้อมสนับสนุนแรงงานนอกระบบที่มีความพร้อมและความต้องการ  พร้อมช่วยเหลือบุคคลพื้นที่สูงตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงแรงงานดำเนินการ โดยสำรวจสถานภาพ ข้อมูลบุคคล ประสานพัฒนาชุมชนเพื่อให้ทราบข้อมูลตัวเลขที่แท้จริง เพื่อสร้างอาชีพ พัฒนาฝีมือ พร้อมฝึกงานให้บุคคลพื้นที่สูงได้อยู่อย่างยั่งยืนเป็นระบบ และขอให้แรงงานจังหวัด ดำเนินการเรื่องแรงงานต่างด้าวบนแนวทาง “การบริหารแรงงานต่างด้าว ควรอยู่บนพื้นฐานความเพียงพอกับความต้องการของภาคธุรกิจ ในจำนวนที่ฝ่ายความมั่นคงดูแลและควบคุมได้ ขณะเดียวกันก็ไม่กระทบต่อวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของคนไทย”
  • เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ในการประชุมไตรภาคีระหว่างประเทศเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนกิจกรรมระดับรากหญ้าสำหรับผู้ใช้แรงงานนอกระบบที่ด้อยโอกาส ณ โรงแรมอีสติน กรุงเทพฯ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึง ประเทศไทยได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญต่อประชาชนคนทำงานในทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ ซ่งเป็นกลุ่มคนทำงานส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม ส่งผลให้ประสบปัญหาในการทำงาน ชาดความมั่นคงในการทำงาน ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขาดโอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือ ขาดความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้กระทรวงแรงงานรับรู้ถึงสภาพปัญหาจึงได้กำหนดนโยบายและการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาแรงงานนอกระบบทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายด้านแรงงานที่สำคัญของรัฐบาล ทางด้านการปฏิบัตินั้นกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบปี 2555-2559 พร้อมกับจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และได้ตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้ปัญหาของแรงงานนอกระบบได้รับการแก้ไขและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานของกระทรวงแรงงานเพื่อเชื่อมโยงระบบการทำงานเพื่อดูแลแรงงานนอกระบบ อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะเสริมสร้างทักษะให้แรงงานนอกระบบ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะให้ความรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กรมการจัดหางานจะจัดหางานให้เพื่อนำแรงงานนอกระบบเข้าสู่แรงงานในระบบ และสำนักงานประกันสังคมจะให้ความรู้เรื่องสิทธิที่จะได้รับการประกันในกรณีต่างๆ เป็นต้น
  • กันยายน 2558 กระทรวงแรงงานได้จัดทำรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (รอบ 12 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2558) เรื่องแรงงานนอกระบบ กระทรวงแรงงานได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ” ขึ้น ณ สำนักงานแรงงานจังหวัด โดยมีภารกิจในการจัดทำเรื่องแรงงานนอกระบบในพื้นที่จังหวัด เพื่อจัดทำแผนแก้ไขปัญหา รวมทั้งบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ สถานการณ์และแก้ไขปัญหาของแรงงานนอกระบบ โดยจะเน้นการลงพื้นที่พบประชาชน สำรวจจำนวนและอาชีพของแรงงานนอกระบบเพื่อช่วยเหลือแรงงานนอกระบบให้ได้รับความคุ้มครอง ดูแลและสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งมั่นคงทางอาชีพและรายได้แก่แรงงานนอกระบบ โดยให้อาสาสมัครแรงงาน (อสร.) เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ รวมถึงมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานเข้าไป ดูแลขับเคลื่อนการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานอย่างจริงจัง  การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด (76 จังหวัด) กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ได้จัดทำข้อมูลทะเบียนแรงงานนอกระบบตามแบบที่กำหนด ซึ่งระบุชื่อ ที่อยู่ เพศ อายุ การประกอบอาชีพ และความต้องการช่วยเหลือ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ นอกจากนี้ ศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดทุกแห่งอยู่ระหว่างวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบและจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณ/ เชิงคุณภาพ โดยการประสานหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายแรงงานนอกระบบเข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา โดยจัดประชุม สัมมนา พร้อมจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด และจัดส่งข้อมูลมายังหน่วยงานผู้รับผิดชอบในส่วนกลาง รวมถึงอยู่ระหว่างจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุ้มครองและพัฒนาแรงงานนอกระบบ ประจำปี 2558 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่าย องค์กรที่เกี่ยวข้อง และใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สถานการณ์เป็นฐานข้อมูลเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทาง/วางแผนดำเนินการโดยเร็ว โดยให้มุ่งเน้นการยกระดับรายได้ของแรงงานนอกระบบให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ความคืบหน้าการดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสร้างและพัฒนาเครือข่ายแรงงานนอกระบบ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพด้านคอมพิวเตอร์ IT เพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านแรงงานได้อย่างรวดเร็ว และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยใช้การประสาน ส่งเสริม ขยายผลให้ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงาน องค์กร และกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่เข้ามาเป็นเครือข่ายแรงงานนอกระบบ และเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายโดยจัดประชุมชี้แจงเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาแรงงานนอกระบบ ประจำปี 2558 และวิเคราะห์สถานการณ์ของแรงงานนอกระบบ
  • เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ในการประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ที่มี หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานที่ประชุม เปิดแผนถึงนโยบายส่งเสริม สนับสนุน ดูแล และคุ้มครองแรงงานนอกระบบโดยเฉพาะผู้รับงานไปทำที่บ้านให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อให้แรงงานนอกระบบมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบกับกรมการจัดหางานมีภารกิจส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านและกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน กู้ยืมเพื่อเป็นทุนซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิตหรือขยายการผลิต และเตรียมการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งตามนโยบายของรัฐบาล โดยดำเนินการขอความร่วมมือจังหวัด/เขตพื้นที่ ประชาสัมพันธ์การให้บริการเงินกู้กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนฯ ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านและรับจดทะเบียนกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน รวมถึงเร่งรัดการปล่อยกู้เงินกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านแก่กลุ่มผู้รับงานฯ อย่างน้อยหน่วยงานละ 1 กลุ่ม
  • มีนาคม 2559 จากรายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรักการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน (12 กันยายน 2558-31 มีนาคม 2559) มีผลการดำเนินงานดังนี้ กระทรวงแรงงานได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนนอกระบบ” ขึ้น ณ สำนักงานแรงงานจังหวัด โดยมีภารกิจในการจัดทำเรื่องแรงงานนอกระบบในพื้นที่จังหวัด เพื่อจัดทำแผนแก้ไขปัญหา รวมทั้งบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ สถานการณ์และแก้ไขปัญหาของแรงงานนอกระบบ โดยจะเน้นการลงพื้นที่พบประชาชน สำรวจ จำนวนและอาชีพของแรงงานนอกระบบเพื่อช่วยเหลือแรงงานนอกระบบให้ได้รับความคุ้มครอง ดูแลและสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งมั่นคงทางอาชีพและรายได้แก่แรงงานนอกระบบ โดยให้อาสาสมัครแรงงาน (อสร.) เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ รวมถึงมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานเข้าไปดูแลขับเคลื่อนการดำเนินงานของอาสาสมัครแรงงานอย่างจริงจัง การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดให้ครบ ทุกจังหวัด (76 จังหวัด) กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ได้จัดทำข้อมูลทะเบียนแรงงานนอกระบบตามแบบที่กำหนด ซึ่งระบุชื่อ ที่อยู่ เพศ อายุ การประกอบอาชีพ และความต้องการช่วยเหลือ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ นอกจากนี้ ศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดทุกแห่ง อยู่ระหว่างวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบและจัดท ารายงานผลการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณ/ เชิงคุณภาพ โดยการประสานหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เข้ามามีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์ปัญหา โดยจัดประชุม สัมมนา พร้อมจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ เสนอขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด และจัดส่งข้อมูลมายังหน่วยงานผู้รับผิดชอบในส่วนกลาง รวมถึงอยู่ระหว่างจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม คุ้มครองและพัฒนาแรงงานนอกระบบ ประจำปี 2558 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่าย องค์กรที่เกี่ยวข้อง และใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สถานการณ์เป็นฐานข้อมูลเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทาง/วางแผนดำเนินการโดยเร็ว โดยให้มุ่งเน้นการยกระดับรายได้ของแรงงานนอกระบบให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลแรงงานนอกระบบให้เป็นปัจจุบัน มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบจังหวัด และแผนปฏิบัติการส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนา แรงงานนอกระบบจังหวัดประจำปี 2559 เพื่อการดำเนินงานแรงงานนอกระบบในพื้นที่
  • เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2559 นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560 – 2564 รุ่นที่ 3 ณ โรงแรมปริ๊นซ์ตั้น พาร์ค สวีท กรุงเทพฯ ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560 -2564 จัดขึ้นเพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555 – 2559) และปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน ให้มีความครอบคลุมทั้งมิติภารกิจของหน่วยงาน(Function) มิติของพื้นที่(Area) และมีแนวทางการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและพื้นที่ที่ชัดเจน จากนั้นจะมีการรวบรวมความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับสมบูรณ์ และนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการประสานแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบและคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติต่อไป
ข้อที่: 
2
ชื่อรายการ: 
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมสำหรับแรงงานนอกระบบโดย
รายละเอียด: 

2.1 สนับสนุนงบประมาณ และพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้ความสามารถจัดบริการอาชีวอนามัยให้แก่แรงงานนอกระบบ ตั้งแต่การบริการในระดับปฐมภูมิและระบบการส่งต่อ

2.2 บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงแรงงาน ในการดูแลและจัดบริการสุขภาพสำหรับแรงงานนอกระบบและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มแรงงานนอกระบบ ชุมชน ให้เข้ามามีบทบาทในการสร้างสุขภาวะของแรงงานนอกระบบ

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 กระทรวงการคลัง ได้จัดประชุมเวทีนโยบายสาธารณะ เรื่อง ระบบบำนาญแห่งชาติถ้วนหน้า...เพื่อประชาชนอย่างยั่งยืนโดยมีการพิจารณาและเตรียมออกกฎหมายระบบบำนาญแห่งชาติ ดูแลประชาชนที่เป็นแรงงานนอกระบบและผู้ที่ยังไม่ได้สิทธิบำนาญจากภาครัฐ โดยระบบบำนาญแห่งชาติจะมีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เข้ามาดูแลโดยครอบคลุมแรงงานนอกระบบและผู้ที่ยังไม่ได้สิทธิบำนาญ ซึ่งกำหนดการออมเป็นบัญชีส่วนบุคคลเช่น วัย 20-60 ปีออมขั้นต่ำ 100 บาทต่อเดือน และภาครัฐสมทบเป็นขั้นบันได ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะสามารถประกาศเป็นพระราชบัญญัติได้ในช่วงต้นปี 2553 นี้
  • วันที่ 8 กันยายน 2552 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นทางเลือกนโยบายในการสร้างหลักประกันสุขภาพครอบครัวผู้ประกันตนในระบบหลักประกันสังคม เพื่อพิจารณากรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ศึกษาความเหมาะสมของการขยายสิทธิประกันสังคมให้กับคู่สมรส และบุตรของผู้ประกันตน ประมาณ 5.8 ล้านคน จากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ของ สปสช. ย้ายมาอยู่ในระบบประกันสังคม โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม อาทิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นักวิชาการระบบสาธารณสุข นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เป็นต้น โดยมีข้อสรุปจากการประชุม 4 ข้อ คือ 1) หลักการสำคัญของการพัฒนานโยบายใดๆ คือ นโยบายนั้นควรสามารถแก้ไขปัญหาที่ดำรงอยู่และพัฒนาระบบให้ดีขึ้น สำหรับนโยบายการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่คู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนนั้น ขาดความชัดเจนว่ามีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาอะไร และอาจสร้างปัญหาจนกระทบสิทธิด้านการรักษาพยาบาลของประชาชนที่มีอยู่เดิม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการ และระบบการจัดบริการ 2) สำนักงานประกันสังคมควรขยายความคุ้มครองสิทธิประกันสังคมอื่นๆ ที่ไม่ใช่กรณีเจ็บป่วยให้แก่กลุ่มที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครอง เช่น แรงงานนอกระบบ และเป็นข้อเรียกร้องของประชาชน ไม่ควรจะดำเนินการในด้านหลักประกันสุขภาพซึ่งมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นปัญหาในปัจจุบัน 3) เสนอให้มีการทบทวนความเหมาะสมนโยบาย ในการขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่คู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตน และ 4) อย่างไรก็ตาม หากต้องดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวข้างต้น เห็นควรเสนอให้สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของคู่สมรสและบุตรผู้ประกันตนอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ สปสช. เช่นเดิม ส่วนการบริหารสิทธิประกันสังคมอื่น ๆ ให้ สปส. เป็นผู้ดำเนินการ ในระยะยาว อาจพิจารณาโอนการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนไปที่ สปสช. ด้วยเช่นกัน
  • จากการทำงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และอบต. ด้วยกระบวนการรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานแก่ผู้ทำการผลิตที่บ้าน ทั้งนี้ได้ผลักดันให้เป็นนโยบายการสร้างหลักประกันในการคุ้มครองและดูแลแรงงานนอกระบบอย่างยั่งยืนให้เป็นนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในทั้ง 4 ภูมิภาค เหนือ กลาง ใต้ อีสานซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานของ มูลนิฯ นั้นองค์กรปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เข้าใจ และเห็นความสำคัญในการทำงานส่งเสริมสุขภาพความปลอดภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานนอกระบบ และได้กำหนดให้มีแผนงานและงบประมาณเพื่อกิจกรรมดังกล่าว มีจำนวน 12 อบต. ที่มีความเข้มข้นในการทำงานร่วมกับสถานีอนามัยและผู้นำกลุ่มแรงงานนอกระบบ ในรูปคณะทำงานพื้นที่ และจำนวน 4 อบต. ที่จัดตั้งศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ จำนวน 1 อบต.มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และจำนวน 1 อบต. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากกระบวนการผลิตของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และผลจากการทำงานอย่างเข้มข้นของ อบต.และคณะทำงานเหล่านี้ก่อให้เกิดพื้นที่ต้นแบบ 12 แห่งที่มีองค์ประกอบของผู้นำกลุ่มที่มีศักยภาพและความเข้มแข็งในการทำงานด้านสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน และการรณรงค์กฎหมายนโยบาย กลุ่มแรงงานนอกระบบที่มีกิจกรรมพัฒนาสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน มีความเข้าใจและตระหนักในเรื่องสิทธิแรงงาน สวัสดิการทางสังคม เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยมีการดำเนิน งานอาชีวอนามัย ในการบริการสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ และองค์กรปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วม มีบทบาทให้การสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพ
  • เมษายน 2554 กระทรวงแรงงานได้จัดกิจกรรมโครงการกระทรวงแรงงานพบประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านแรงงานอย่างรวดเร็วและให้ข้อมูลการประกันตนตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
  • วันที่ 29 พ.ย. 2554 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ปรากฏในแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ต่อไป
  • เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2556 ในการประชุมปรึกษาหารือร่วม 8 กระทรวงคือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคม รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมการบินพลเรือน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อร่วมกันจัดระบบประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยได้แบ่งคนกลุ่มดังกล่าวเป็น 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ ที่ต้องใช้วีซ่าในการเข้าเมือง เข้ามาเรียนและเข้ามาทำงานระยะยาว 2) กลุ่มต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และ 3) กลุ่มที่ข้ามพรมแดนเข้ามาใช้บริการ สำหรับ 2 กลุ่มแรกต้องมีการทบทวนกระบวนการของการออกใบอนุญาตทำงาน วีซ่า ต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นคือ ต้องมีใบผ่านการตรวจสุขภาพและหลักฐานการมีหลักประกันสุขภาพในกรณีที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาขั้นตอน ส่วนกลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาแบบผิดกฎหมาย ลักลอบเข้ามาทำงาน เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องรับภาระคนกลุ่มนี้ และได้ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนกระตุ้นให้เข้ามาซื้อบัตรประกันสุขภาพ ส่วนกลุ่มที่สาม แนวทางการแก้ปัญหาน่าจะเป็นมาตรการของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุขที่เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำความตกลงในเรื่องการดูแลในระยะสั้น เช่น มีกองทุนสุขภาพเข้ามาดูแล ส่วนระยะยาวจะพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพที่จะพัฒนาโดยมีหลักประกันสุขภาพในประเทศนั้นๆ
  • เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557 กลุ่มงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณากำหนดอัตราการขายบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งได้มีการหารือร่วมกับกรมจัดหางานและแรงงานพิจารณาบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคประมงว่า ควรลดค่าบัตรประกันสุขภาพออกเป็นช่วงๆ ทุกๆ 3 เดือนครั้งละประมาณ 500 บาท แต่สำหรับผู้ซื้อบัตรครั้งแรงจะต้องเสียค่าตรวจสุขภาพจำนวน 600 บาท ทั้งนี้เป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับการจดทะเบียนแรงงานของกรมจัดหางานที่ได้มีการปรับมาเป็นทุกๆ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม แรงงานต่างด้าวกลุ่มอื่นจะกำหนดให้การซื้อบัตรประกันสุขภาพเป็นไปตามระยะการขอสัญญาจ้างงานปีละ 1 ครั้ง ในอัตรา 2,200 บาท ทั้งนี้จะมีการเสนอให้ที่ประชุมรับรองในการประชุมก่อนการประกาศใช้
ข้อที่: 
3
ชื่อรายการ: 
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายการจัดการสุขภาวะของแรงงานนอกระบบ โดย
รายละเอียด: 

3.1 สนับสนุนกระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อประเด็นแรงงานนอกระบบในทุกมิติ

3.2 ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐในการพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตลอดจนความปลอดภัยในการทำงาน

3.3 สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในชุมชน โดยกำหนดที่มาของกองทุนและการจัดการที่เหมาะสม และสนับสนุนการร่วมจ่ายสมทบตามศักยภาพ และบริหารจัดการกองทุนร่วมกันของทุกฝ่าย คือ แรงงานนอกระบบ ผู้ว่าจ้าง กองทุนหมู่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับการดูแลความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบในทุกด้าน อาทิ สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน การประกันราคาผลผลิต และให้กู้ยืมเงินเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตทีดี

3.4 สนับสนุนงบประมาณหรือจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินการและการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ให้แก่แรงงานนอกระบบ

ผลการปฏิบัติงาน: 
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน 10 แห่ง และหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในชุมชน สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งแรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในการทำงาน วันที่ 23 ธ.ค. 54 นายดนัย สารพฤกษ์ หัวหน้าศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในชุมชน จังหวัดลำพูน เป็นประธานในการประชุมสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุชุมชน และสื่อสารมวลชน ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในชุมชน ณ ศูนย์ฝึกอาชีพเทศบาลตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อสร้างกระแสชุมชนให้กลุ่มแรงงาน หน่วยงาน องค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ได้รับรู้และตระหนักถึงการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในชุมชน ด้วยรูปแบบต่างๆ ของการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารสาธารณะ พร้อมนำเสนอความเคลื่อนไหวกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ในการดูแลคุณภาพชีวิตแรงงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  • ธันวาคม 2554 แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยความร่วมมือกับสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ได้ร่วมกันผลักดันเชิงนโยบายเพื่อให้สำนักงานหลักปันระกันสุขภาพแห่งชาติให้ขยายการให้บริการครอบคลุมมิติอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน โดยได้ดำเนินโครงการนำร่องจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงานในชุมชนสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบใน 2 จังหวัดคือ ลำพูนและขอนแก่น ปัจจุบันได้มีการจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจในเป้าหมายร่วมและทิศทางการทำงานกับจังหวัดนำร่องไปแล้ว และทั้งสองจังหวัดได้จัดทำแผนปฏิบัติการเสนอการดำเนินงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ที่กำหนดร่วมกันของปี 2555 แล้ว นอกจากนี้ในกลุ่มแรงงานในระบบได้ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพได้ดำเนินงานโครงการนำร่องจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกลุ่มประกันสังคมโดยดำเนินการในพื้นที่ 1 เขตของ สปสช. (สระบุรี ระยอง ราชบุรี และกรุงเทพฯ) ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2554 ผลในภาพรวมทำให้เกิดการเข้าถึงบริการของกลุ่มประกันสังคมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกันตนของสถานประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ไม่เคยได้รับการตรวจสุขภาพ และมีหน่วยบริการหลายแห่งที่สามารถจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกลุ่มผู้ประกันตน โดยใช้ผลการตรวจสุขภาพเป็นพื้นฐาน
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2555  เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมกับแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สสส.  จัดประชุมคณะทำงานการจัดสัมมนากลุ่มย่อย “นโยบายเพื่อการคุ้มครองและการสร้างหลักประกันทางสังคม อาชีพ และรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบ” เพื่อเตรียมการจัดทำข้อเสนอและจัดเวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบในวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพ ทั้งนี้แม้ที่ผ่านมารัฐบาล รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553,  พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ.2554 (มาตรา 40) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533,  และพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554  แต่ยังพบว่าไม่บรรลุผลในการนำกฎหมายหรือนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ  กลไกการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐยังขาดการมีส่วนร่วม ทำให้กลุ่มแรงงานนอกระบบไม่อาจเข้าถึงสิทธิและการคุ้มครองได้  รวมทั้งในระยะยาวยังคงต้องคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงในการดำรงชีวิตในบั้นปลายของแรงงานนอกระบบที่ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการขนาดเล็กหรือนอกสถานประกอบการ มีรายได้น้อย ไม่มีความมั่นคงด้านรายได้ และมีหนี้สินมาก โดยในส่วนของ พ.ร.บ.ผู้รับงานไปทำที่บ้านฯ มีผลบังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554  ซึ่งกระทรวงแรงงานฯต้องออกกฎหมายรอง 14 ฉบับ แต่ขณะนี้ประกาศใช้ได้เพียง 6 ฉบับซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของคำสั่งและกฎระเบียบต่างๆ  ส่วนกฎหมายรองอีก 8 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของแรงงานผู้รับงานไปทำที่บ้านยังไม่มีวี่แววว่าจะประกาศใช้ได้เมื่อใด ในด้าน พ.ร.ฎ.เงินสมทบและประโยชน์ทดแทน มาตรา 40 ฯ หรือโครงการประชาวิวัฒน์  ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2554  โดยมีการขยายสิทธิการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ 2 ทางเลือกคือ  1.จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือนรัฐบาลอุดหนุน 30 บาท ได้สิทธิประโยชน์ 3 กรณีคือ เงินชดเชยการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  และกรณีเสียชีวิต  2.จ่าย 100 บาทรัฐบาลสมทบ 50 บาท ได้ประโยชน์ 3 กรณีและบำเหน็จชราภาพ  ซึ่งขณะนี้มีแรงงานนอกระบบสมัครเข้าเป็นสมาชิกราว 840,000 คน  มีปัญหาใหญ่เรื่องการจ่ายเงินสมทบที่มีภาระยุ่งยากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และยังไม่ครอบคลุมกรณีชราภาพซึ่งแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่อยากได้บำนาญ รวมทั้งยังไม่มีหลักประกันที่รัฐร่วมจ่ายตลอดไป สำหรับ พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 (กอช.) ซึ่งรับสมาชิกสัญชาติไทยอายุระหว่าง 15-60 ปี จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่า 50 บาท ไม่เกิน 1,100 บาทต่อเดือน โดยรัฐจ่ายเงินสมทบให้ตามระดับอายุตามอัตราส่วนจำนวนเงินที่สมาชิกจ่าย  มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่ 12 พฤษภาคม 2554  แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ถูกปรับลดงบประมาณจาก 1,000 ล้านบาทเหลือ 225 ล้านบาท และอยู่ระหว่างศึกษาการโอนย้ายกองทุนและเตรียมการบังคับใช้ พ.ร.บ.  ซึ่งข้อจำกัดคือไม่ใช่การออมภาคบังคับ และแรงงานนอกระบบส่วนมากก็ยังไม่เข้าใจเรื่องความซ้ำซ้อนของสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพในประกันสังคม มาตรา40 กับ กอช. ปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีข้อเสนอจากที่ประชุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายแรงงานนอกระบบ คือ ในประเด็นพ.ร.บ.ผู้รับงานฯ ให้ประสานองค์กรที่เป็นหลักอยู่เพื่อร่วมขับเคลื่อนการออกกฎหมายรองที่เป็นประโยชน์ต่อคนงานโดยเร็ว และเสนอว่าให้มีกองทุนพัฒนาแรงงานนอกระบบ เพื่อพัฒนาศักยภาพตอบสนองแรงงานนอกระบบได้ทุกกลุ่ม ส่วนเรื่องประกันสังคมมาตรา40  เสนอให้มีรูปแบบการเก็บเงินที่เหมาะสม สะดวกไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายโดยให้องค์กรของชุมชนมีส่วนร่วม ให้มีการผ่อนผันกรณีขาดส่งเงินสมทบ  ให้ได้ค่าชดเชยขาดรายได้โดยไม่จำกัดว่าต้องนอนโรงพยาบาล 2 วัน  และให้ร่วมกันผลักดัน พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับ 14,624 ชื่อของแรงงานเพื่อเป็นหลักประกันเรื่องรัฐร่วมจ่าย สำหรับ กอช. เสนอให้ติดตามผลักดันให้รัฐบาลปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ที่เกิดขึ้นแล้ว  โดยต้องให้ความรู้เพื่อสร้างความชัดเจนเรื่องความซ้ำซ้อนกรณีบำนาญชราภาพ  และต้องผลักดันให้มีการรวมกองทุนในระยะต่อไป นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานนอกระบบ 2555-2559  ที่กระทรวงแรงงานโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ 1.ขยายขอบเขตการคุ้มครองและสร้างหลักประกันความมั่นคงทางสังคม  2.เสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาสมรรถนะแรงงานนอกระบบเพื่อขยายโอกาสการมีงานทำ และ 3.เพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ  ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่กำหนดให้มีการหารือร่วมกันต่อไปคือเรื่ององค์กรของแรงงานนอกระบบ และอาสาสมัครแรงงาน (อสร.)
ข้อที่: 
4
ชื่อรายการ: 
ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดตั้งกลไกในการติดตามการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและสร้างหลักประกันทางสังคมแก่แรงงานนอกระบบ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานรับไปทำที่บ้าน พ.ศ.2547 และให้รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่สอง
รายละเอียด: 
  • เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีผลการดำเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ สรุปได้ดังนี้
    • การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานในการศึกษา รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าตอบแทนและแนวทางส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน จำนวน 1 คณะ ได้แก่ (1)  คณะอนุกรรมการคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนางานที่รับไปทำที่บ้าน (2) คณะอนุกรรมการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในงานที่รับไปทำที่บ้าน และ (3) คณะทำงานด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
    • การพิจารณายกร่างประกาศ กฎกระทรวง และประกาศคณะกรรมการฯ ตามอำนาจหน้าที่มาตรา 28 (2) จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ...... (2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของหญิงมีครรภ์หรือเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่า 15 ปี พ.ศ.... (3) ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือประเภทงานที่ห้ามผู้จ้างงานจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ..... (4) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจ่ายค่ารักษาพยาบาลค่าฟื้นฟูสมรรถภาพและค่าทำศพ พ.ศ..... และ (5) ร่างประกาศคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน เรื่องการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ..... รวมทั้งเห็นชอบให้มีการสนับสนุนทุกมิติในการดำเนินงานของผู้รับงานไปทำที่บ้าน การจัดหาพื้นที่ให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านจำหน่ายสินค้า และการส่งเสริมการรวมกลุ่ม เป็นต้น
    • การให้สินเชื่อหรือเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านในลักษณะของกองทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นการให้บริการด้านกองทุนสำหรับให้กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิตหรือใช้ขยายการผลิตเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ โดยผู้รับงานไปทำที่บ้านรวมกลุ่มในการขอกู้เงินภายในวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบื้ยต่ำร้อยละ 3 ต่อปี ปัจจุบันมีกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านจดทะเบียนจำนวน 593 กลุ่มจากทั่วประเทศ มีสมาชิกจำนวน 5,190 คน มีกลุ่มสมาชิกขอกู้เงินจำนวน 256 กลุ่ม เป็นเงิน 21,811,000 บาท และอยู่ระหว่างผ่อนชำระจำนวน 109 กลุ่ม ในกลุ่มงาน 8 ประเภท เช่น งานตัดเย็บเสื้อผ้า งานประดิษฐ์ เครื่องหนัง งานปัก ถัก ทอ งานอาหารและแปรรูปอาหาร เป็นต้น
  1.  
ผลการปฏิบัติงาน: 
  • เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 คณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมและรับทราบข้อสรุปข้อเสนอของเวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ รวม 4 ข้อ คือ (1) เสนอปรับปรุงสิทธิประโยชน์มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จาก 3 กรณี (คลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย) เพิ่มเป็น 5 กรณี (เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร และชราภาพ) เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และให้เกิดความคุ้มค่ากับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องจ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว จำนวน 3,360 บาทต่อปี (2) ให้รัฐบาลจ่ายเงินจำนวน 2,000 บาท (ตามโครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ) ให้แก่แรงงานนอกระบบที่สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในปี 2552 โดยเงิน 2,000 บาท จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม (ไม่ได้จ่ายให้แรงงานนอกระบบนำไปใช้จ่าย) เพื่อลดภาระแรงงานนอกระบบในการจ่ายเงินสมทบปีแรก (3) ในปีต่อๆ ไป ควรกำหนดเป็นกฎหมายให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เช่นเดียวกับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่รัฐบาลจ่ายให้ (4) ควรแก้ไขกฎหมายให้การใช้จ่ายเงินสมทบ กรณีมาตรา 40 สามารถจ่ายเป็นรายเดือนแทนการจ่ายคราวเดียว จำนวน 3,360 บาทต่อปี 
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2552 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
  • เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมและมีมติเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ…. โดยจะขยายสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) จาก 3 กรณี เป็น 5 กรณี ได้แก่ กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต เงินชดเชยการขาดรายได้ระหว่างการเจ็บป่วยรักษาในโรงพยาบาล 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินครั้งละ 1,000 บาท ปีละ 2 ครั้ง และให้สิทธิประโยชน์กรณีเงินบำเหน็จชราภาพ รวมทั้งยังเห็นชอบให้ขยายสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 (ผู้ประกันตนในระบบปกติ) ครอบคลุมไปถึงคู่สมรสและบุตรด้วย เพื่อให้ได้รับสิทธิ 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ซึ่งคู่สมรสที่จะได้รับสิทธิดังกล่าว จะต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรส
  • เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการขยายความคุ้มครองประกันสังคมแก่คู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขไปพิจาณาดำเนินการต่อไป และอนุมัติให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามร่างมาตรา ๑ จากเดิม “ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา” เป็น “ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา” และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
  • วันที่ 2 กันยายน 2552 สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ….ฉบับที่นายไพฑูรย์ แก้วทอง และคณะเป็นผู้เสนอ และฉบับที่นายสถาพร มณีรัตน์ และคณะเป็นผู้เสนอ และลงมติรับหลักการในวาระที่ 1 โดยใช้ฉบับของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ตั้งกรรมาธิการ 36 คน ระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน
  • เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2553 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "แรงงานนอกระบบกับความมั่นคงทางสุขภาพ" หลังจากที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาตินำเสนอมติ เรื่องนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแรงงานนอกระบบต่อคณะรัฐมนตรีรับทราบผล และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินงานตามมติหลายประการ เช่น การกำหนดนิยามของคำว่าแรงงานนอกระบบ ให้ชัดเจน โดยยึดคำนิยามของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหลักเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการกำหนดนโยบายและปฏิบัติงาน รวมทั้งยังมีการผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบเช่น ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.... ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภานานแล้ว นอกจากนี้มีแผนผลักดันให้มีการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาในมาตรา 40 โดยขยายสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน จาก 3 กรณี เป็น 5 กรณี คือ การคลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต เจ็บป่วย และชราภาพ รวมทั้งการปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบจากรายปี ปีละ3,360 บาท เป็นรายเดือน เดือนละ 280 บาท และการขยายสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนตามระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมไปถึงคู่สมรสและบุตร ทั้งนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีความเห็นร่วมกันว่ารัฐบาลควรร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับแรงงานนอกระบบและเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้เท่ากับแรงงานในระบบ เพื่อความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะต้องมีการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอให้วุฒิสภาเร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านก่อนเป็นอันดับแรกที่ครอบคลุมแรงงานกว่า 10 ล้านคน
  • เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ..... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ พิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และกรอบอัตรากำลังเพิ่มเติมให้แก่หน่วยงานดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลตามแผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย ในการสร้างระบบความคุ้มครองและหลักประกันทางวังคมให้แก่แรงงานนอกระบบและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ถอนร่างพระราชกฤษฎีกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 พ.ศ..... (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552) ออกจากชั้นการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 คณะกรรมการอำนวยการแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2555-2559 มีนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบระยะ 5 ปี ขยายความร่วมมือและบูรณาการการดำเนินงานในเรื่องแรงงานนอกระบบทั้งอาชีพ สุขภาพและสวัสดิการต่างๆ โดยนำร่องแรงงานนอกระบบภาคเกษตรกรรมและหัตถกรรม รวมถึงการเร่งผลักดันให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งจะมีการศึกษารูปแบบการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป ทั้งนี้ร่างยุทธศาสตร์มี 3 ด้านได้แก่ 1. การขยายขอบเขตการคุ้มครองและสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต 2. เสริมสร้างความรู้สมรรถนะคนทำงานเพื่อขยายโอกาสมีงานทำ 3. เพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ โดยจะมีการนำร่างยุทธศาสตร์นี้ไปจัดเวทีประชาพิจารณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเดือนสิงหาคม 2554 จะนำร่างยุทธศาสตร์และผลประชาพิจารณ์เสนอต่อปลัดกระทรวงแรงงานเพื่อพิจารณาเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศใช้ต่อไป
  • เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดเวที สช.เจาะประเด็นเรื่อง “สุขภาพแรงงานนอกระบบ: ความจริงที่ถูกลืม” มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพกล่าวถึงจำนวนแรงงานนอกระบบที่มีจำนวนสูงเป็น 2 ใน 3 ของแรงงานทั้งประเทศ แต่ปัญหาคือ แรงงานนอกระบบถูกละเลย ค่าแรงถูกเอารัดเอาเปรียบมาก แตกต่างจากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 แต่ความเป็นจริงติดขัดมาตลอดกลายเป็นกระดาษ รวมทั้งมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533  ในส่วนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกล่าวถึง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 ว่าขณะนี้มีการเร่งผลักดันกฎหมายลูก 14 ฉบับ เมื่อปี 2554 ประกาศใช้ไปแล้ว 6 ฉบับได้แก่ 1.คำสั่งกระทรวงแรงงานเรื่องการแต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน 2. คำสั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องมอบหมายอำนาจหน้าที่ของพนักงานตรวจแรงงาน 3. เรื่องการออกแบบคำร้องและคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน 4. เรื่องการออกบัตรประจำตัวพนักงานตรวจแรงงาน 5. ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และ 6. ระเบียบกรมสวัสดิการว่าด้วยเรื่องการรับคำร้องและการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงาน สำหรับอีก 8 ฉบับคาดว่าภายใน 2 เดือน ร่างกฎกระทรวงเรื่องการกำหนดงานที่มีลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์และร่างกฎกระทรวงเรื่องการกำหนดงานที่ห้ามผู้จ้างงานหรือผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งอยู่ระหว่างรอข้อมูลเชิงวิชาการจะแล้วเสร็จ ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่าแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แล้ว ดังนั้นหากต้องการดึงกลุ่มแรงงานนอกระบบในส่วนผู้ทำงานอิสระเข้าร่วมในประกันสังคม ควรมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่จูงใจ อย่างในส่วนการรักษาพยาบาลมีกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ อยู่แล้ว ควรไปเพิ่มสิทธิอื่นมากกว่า อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบของกลุ่มแรงงานที่รับงานไปทำที่บ้านคือ สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมจนส่งผลต่อสุขภาพ เช่น การนั่งนานย่อมมีปัญหาต่อหลัง หรือการสูดดมสี ล้วนปัญหา ซึ่ง สปสช.ได้ร่วมกับท้องถิ่นจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบันครอบคลุมร้อยละ 99 ทั่วประเทศ หรือ 7,700 แห่ง ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน
เอกสารหลัก: